"ครอบครัวกลางถนน"
ศิลา โคมฉาย คือนามปากกาของ วินัย บุญช่วย เรียนจบปริญญาตรีจากมหาลัยรามคำแหง ในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519
เริ่มเขียนหนังสือโดยใช้ชื่อสกุลจริง "วินัย บุญช่วย" แต่พอหลัง 6 ตุลา กลับจากป่า ก็เขียนเรื่อสั้นมาจำนวนหนึ่ง 6-7 บรรณาธิการ คือ เสถียร จันทิมาธร จึงใช่ชื่อ"ศิลา โคมฉาย" เขาเป็นผู้ที่เขียนหนังสือได้หลากหลายตั้งแต่งานวิจารย์ กีฬา วิจารณ์เพลง วิจารย์หนัง ซึ่งก็จะใช้นามปากกาอื่น ๆ
"ครอบครัวกลางถนน" เป็นเรื่องราวของสองสามีภรรยาวัยกลางคนชนชั้นกลาง ซึ่งใฝ่ฝันจะประกอบกิจการของ ตนเอง ทั้งคู่คิดว่านอกจากมีบ้านและรถยนต์แล้ว มีความจำเป็นต้องเพิ่มพูนฐานะทำให้ทั้งคู่ต้องใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในรถยนต์ และบนท้องถนนในเมืองหลวง
ด้วยวัย 38 ปีเศษ ทุกๆ วันเมื่อกลับถึงบ้านราว 5 ทุ่ม จึงแทบไม่เหลือเรียแรงจะทำสิ่งใดอีก สำหรับเขาการมีรถเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นที่พักพิงอาศัยในสัดส่วยเวลาพอๆ กับที่บ้านและที่ทำงานเลยที่เดียว...
เรื่องราวสะท้อนการใช้รถแทนบ้านทั้งกิจกรรมต่างๆ อาทิการเล่นเกมส์ ปลูกต้นไม้ หรือแม้กระทั่งการมีเพศสัมพันธ์..
กวีซีไรต์ปี พ.ศ. 2535 ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ
"มือนั้นสีขาว"
ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ ชื่อจริงคือ กิิตติศักดิ์ มีสมสืบ เป็นชาวชัยนาท(ไวท์)
ใช้ชีวิตในวัยเด็ก เรียนชั้นประถม มัธยมตอนต้นที่อำเภอไพศาลี จ.นครสวรรค์ เรียนต่อที่เพาะช่าง จบ ปวส.เอกจิตรกรรมสากล ศึกษาศิลปะวรรณกรรมและปรัชญาจาก จ่าง แซ่ตั้ง และกวีคนสำคัญของประเทศ
"บัง"
ข้ามสะพานผ่านเข้าใจเมือง
ตึกรามเขื่องค้ำง้ำเงื้อม
รถราหลายหน้าแตกต่าง
หลายรูปหลายร่างหลายรุ่น
ดั่งมดน้อยวิ่งวุ่นระหว่างตึก
..พ่อหยุดรถกึกกะทันหัน
รถข้าหน้าชนกันกระชั้นชิด
ทุ่มเถียงกูถูกมึงผิ
กระทบกระทั่งมิยั้งคิดเคียดแค้นเคือง
ละเมิดกฎ เขียน แดง เหลือง
รถราวุ่นไปทั้งเมือง คุณพระช่วย
มาลา คำจันทร์ กวีซีไรต์ ปี พ.ศ. 2534
" เจ้าจันทร์ผมหอม"
มาลา คำจันทร์ เป็นนามปากกาของ เจริญ มาลาโรจน์ เป็นชาวเชียงราย ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่อ.สันป่าตอง จ. เชี่ยงใหม่จบการศึกษาจากวิทยาลัยครูเชียงใหม่ และรับราชการเป็นครู 11 ปี และจบปรญญาตรี คณะศึกษาศาสตร ม.เชียงใหม่ และ ปริญญาโท วิชาจารึกภาษาไทย คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร เคยเป็นอาจารย์ที่ม.หอการค้า และม.เชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นนักเขียนอิสระ ...
เจ้าจันทร์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน เป็นนวนิยายขนาดสั้น
เป็นเรื่องราวของเจ้าหญิงล้านนาผู้มีคนรักอยู่แล้ว แต่ถูกเจ้าพ่อกับเจ้าแม่คลุมถุงชน พระธาตุอินทร์แขวน เป็นพระธาตุอยู่ในประเทศพม่า การเดินทางครั้งนี้เป็นเรื่องพิสูจน์หัวใจของตนเองและชายผู้ที่ถูกบังคับในแต่งงานด้วย
พระธาตุอินทร์แขวนนั้นตามตำนานเล่าว่าผู้ใดที่ปูปมลอดพระธาตุได้ จะสมหวังในสิ่งใดก็ตามที่ตั้งใจไว้ และในการเดินทางไปบูชาพระธาตุครั้งนี้ ผู้ที่เจ้าพ่อเจ้าแม่เห็นดีเห็นงามให้แต่งด้วยนั้นให้สัจจะว่าหากเจ้าจันท์ปูผมหอมลอดพระธาตุได้เขายินดีจะให้เจ้าจันทร์แต่งงานกับคนรัก..
อัญชลี วิวัธนชัย กวีซีไรต์ ปี พ.ศ. 2533
"อัญมณีแห่งชีวิต"
อัญชลี วิวัธนชัย หรือ นามปากกา อัญชัน เกิดที่ฝั่งธนบุรี กทมฯ เดิมชื่อ่ อัญชลี สุธรรมพิทักษ์ ปัจจุบันอยู่ในสหรัฐอเมริกา จบการศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนราชินีบน กทมฯตอนปลายจากเตรียมอุดมศึกษา ปริญญาตรีคณะอักษรศาสตร์จุฬาฯ ปริญญาโท ที่ซิตี้ยูนิเวอร์ซิตี้ออฟนิวยอร์ก
อัญมณีแห่งชีวิต
ประกอบด้วยเรื่องสั้น 11 เรื่อง เนื้อเรื่องมีหลากหลาย เสนอปัญหาต่างๆ ของชีวิต ตั้งแต่ปัญหาส่วนบุคคล ปัญหาครอบครัว สังคม จนถึงปัญหาที่กล่าวถึงวัฎจักรแห่งชีวิตอันเป็นสัจธรรม "อัญชัน" เสนอแนวคิดเหล่านี้โดยใช้กลการประพันธ์ที่แยบยลสอดคล้องกับเหนื้อหา มีลีลาเฉพาะตัวที่ละเียด ประณีต ลึกซึ้งและละเมียดละไม ...
"งานเขียนประเภทเรื่องสั้น เป็นงานเขียนมุ่งเน้นเรื่องราวความเป็นจริงของสังคมทั้งด้านดีและร้ายเพื่อให้เห็นข้อเปรียบเทียบซึ่งกันและกัน และเป็นข้อคิดของผู้อ่านจะได้ทราบความดีชั่วจากการนำเสนอผ่านพฤติกรรมตัวละครในเรื่องสั้น แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่ามีงานเขียนจำนวนมามักนำเสนอภาพความรุนแรง เช่น การฆ่า การทารุณกรรม ความกลัว ฯลฯ ความรุนแรงเหล่านี้เป็นด้านมืดในวรรณกรรม:เสาวลักาณ์ อนันตศานต์,2548:157-158
พฤติกรรมด้านมืด พบมากในวรรณกรรมปัจจุบันเพื่อสะท้อนแง่มุมบางแง่มุมของสังคมที่มีภาพลบ ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าที่เหี้ยมโหด การช่มชืนหรือการทารุณกรรม เพราะพฤติกรรมเหล่านี้มีอยู่จริงในสังคม แต่คนในสังคมมักจะไม่นำมาพูดกันอย่างโจ่งแจ้ง เพราะคิดว่าไม่เหมาะสม ดังนั้นวรรณกรรมปัจจุบันจึงเป็นตัวแทนด้านลบแล้วสะท้อนภาพของสังคมออกมาเผยแพร่อย่างมากมาย
พฤติกรรมด้านมือ คือ พฤติกรรมของตัวละครที่แสดงความโหดร้ายออกมา ซึ่งได้แก่ การฆ่า การทารุณกรรม การแสดงความเกลียดชัง และความหวาดกลัว : เสาวลักษณ์ อนันตศาสต์,2548:157-158....
อัญชัน นักเขียนที่มีความสามารถในการอธิบายหรือใช้ภาษาเพื่อให้เกิดจินตนการ งานเขียนของเธอมักสะท้อนภาพสังคมในมุมมองที่แปลกจากนักเขียนคนอื่น เธอสามารถที่นำมุมเล็ก ๆ ในสังคมมาขยายเป็นเรื่องราวที่ผู้อ่านรู้สึกสะเทือนไปตามอังกษรที่เธอเรียบเรียง...
" อัญมณีแห่งชีวิต เป็นงานเขียนที่สะท้อนสังคมด้านมืด แสดงทัศนะเรื่องราวแง่มุมของสังคมให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงความสำคัญของด้านมืดที่สังคมไม่แก้ไขและไม่ยอมทำความเข้าใจ อัญชันเสนอภาพลบของสังคมได้อย่างชัดเจนสร้างบรรยากาศและอารณ์หลากหลายทั้งอ่อนหวาน เศร้า กร้าว แกร่างง โหดร้าย แม้กระทั้งสยองขวัญ...(คณะกรรมการตัดสินรางวัลซีไรต์, 2533
จิระนันท์ พิตรปรีชา กวีซีไรต์ ปี พ.ศ.2532
"ใบไม้ที่หายไป"
จิระนันท์ เป็นชาวจังหวัดตรัง จบมัทธยมจากเตรียมอุดมศึกษา เข้าศึกษาต่อคณะวิทยาศาสตร์ แผนกเภสัช จุฬาฯ และได้รับเลือกให้เป็นดาวจุฬาฯ
ในปี พ.ศ. 2516 เป็นหนึ่งในผู้นำนักศึกษาที่ร่วโครงการส่งเสริมประชาธิไตย ของศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตย(ศสป)..และต้องหนีเข้าไปเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หลังจากเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 หลายปี จิระนันท์มีชื่อจัดตั้งในป่าว่า "สหายใบไม้" จากนั้นไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา
ชีวิตครอบครัว สมรสกับ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล หรือสหายไท อดีตผู้นำนักศึกษาที่ร่วมต่อสู้มาด้วยกัน..
นอกจากนี้เรื่องราวชีวิตของเธอกับสามีได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ เรื่อง 14 ตุลา สงครามประชาชน..
"ใบไม้ที่หายไป"
"อลังการแห่งดอกไม้"
สตรีมีสองมือ มั่นยึดถือในแก่นสาร เกลียวเอ็นจักเป็นงาน มิใช่ร่านหลงแพรพรรณ
สตรีมีสองตีน ไว้ป่ายปีนความาใฝ่ฝัน ยืนหยัดอยู่ร่วมกัน มิหมายมั่นกินแรงใคร
สตรีมีดวงตา เพื่อเสาะหาชีวิตใหม่ มองโลกอย่างกว้างไกล มิใช่คอยชม้อยชวน
สตรีมีดวงใจ เป็นดวงไฟไม่ผันผวน สร้างสมพลังมวล ด้วยเธอล้วนก็คือคน
สตรีมีชีวิต ล้างรอยผิดด้วยเหตุผล คุณค่าเสรีชน มิใชปรนกามารมณ์
ดอกไม้มีหนามแหลม มิใช่แย้มคอยคนชม บานไว้เพื่อสะสม ความอุดมแห่งแผ่นดิน...
นิคม รายยวา กวีซีไรต์ พ.ศ. 2531
"ตลิ่งสูง ซุงหนัก"
นิคม รายยวา เป็นชาวสุโขทัย จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางเศรษฐศาสจร์ จาก มหาวทิยาลัยธรรมศาสตร์ ทำงานเกี่ยวกับปิโตรเลียมในกรุงเทพฯ ระยะหนึ่ง แล้วเปลี่ยนไปทำงานอุตสาหกรรม น้ำมันปาล์มทางภาคใต้ ..ปัจจุบันหันมาเรียนรู้จากเกษตรกรในท้องถิ่นดั้งเดิม เพื่อทำสวนยางพารา
ตลิ่งสูง ซุงหนัก เป็นเรื่องความผูกพันระหว่างคนกับช้าง คำงายรักพลานสุดซึ่งเป็นช้างที่พ่อมีความจำเป็นต้องขายเพื่อเอาเงินมารักษาตัว เพราะไม่มีทางเลือก ..คำงายบุตรชายซึ่งรักพลายสุดมากได้แกะสลักช้างไม้ที่สง่างามเหมือนพลายสุด เขาอุทิศทั้งกายและใจทั้งหมดในการแกะช้างไม้นั้น และในขณะเดียวกันเขาก็คิดว่าเป็นวิธีเดียวที่เขาจะได้ใกล้ชิดช้างที่เขารัก เขาจึงได้สมัครเป็นควาญช้างรับจ้างพ่อเลี้ยงโดยรับเป็นควาญของพลายสุดรับจ้างลากซุงเขาเกิดความคิดว่า มิใช่พลายสุดเท่านั้นที่กำลังลากซุง เขาเองและทุกชีวิตต่างก็กำลังลากซุงด้วยกันทั้งนั้นเพราะความอยาก หิวโหยเขาพยายามทำงานอยางขยันขันแข็งต่อไปและหวังว่าวันหนึ่งจะได้พลายสุดกลับคืนมา โดยแลกกับช้างไม้ที่เขาพยายามแกะสลักแต่ในที่สุดได้เกิดอุบัติเหตุขึ้น ร่างคำงายได้ถูกซุงบททับทำให้สิ่งที่เขาคิดไว้กลายเป็นความฝัน
ไพฑูรย์ ธัญญา กวีซีไรต์ ปี พ.ศ. 2530
"ก่อกองทราย"
ไพฑูรย์ ธัญญา เป็นนามปากกาของ ธัญญา สังขพันธานนท์ เป็นชาวพัทลุง จบการศึกษา กศ.บ.จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา จบกศ.ม.จากมหาวทิยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ พิษณุโลก เคยเป็นครูสอนชั้นประถม ที่พัทลุง และสุโขทัย ก่อนจะสอนวิชาวรรณกรรมวิจารณ์ที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ระดับ 8 และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ก่อกองทราย เป็นหนังสือประกอบด้วยเรื่่องสั้นรวม 12 เรื่อง ของ ไพฑูรย์ ธัีญญา มีลักษณะที่แสดงให้เห็นถึงชีวิตและธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสากล ดังเช่นมนุษย์ทั่วไปในโลกพึงจะเป็น และในขณะเดียวกันก็มีสีสันของท้องถิ่นและความเป็นไทย ทั้งในด้านถ่อยคำและการใช้ฉากอันเป็นท้องเรื่อง
เนื้อเรื่องมีความหลากหลายแสดงปัญหาและแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิตหลายเรื่อง เช่น คนบนสะพาน บ้านใกล้เรื่อนเคียง และเพื่อบุณย์ ได้สะท้อนธาตุแท้ของคนส่วนเรื่อง คำพยากรณ์ และนกเขาไฟ ได้เน้นความคิด ความเชื่อของคนในชนบทที่แสดงถึงสัจธรรมของชีวิตโดยแท้จริง ตลดอจนถึงสำนวนที่ใช้สามารถให้ผู้อ่่านได้สัมผัสอย่าง สมจริง
อังคาร กัลยาพงศ์ กวีซีไรต์ปี 2529
"ปณิธานกวี"
อังคาร กัลยาณพงศ์ เป็นทั้งกวีและจิตรกร เป็นชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ศึกษาศิลปะที่เพาะช่าง และที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ท่านได้เป็นผู้ได้รับการยอมรับในฐานะเป็นจิตรกรและกวี เป็นกวีที่คงความเป็นไทย ทั้งในด้านความคิดและรูปแบบ อีกทั้งยังเป็นกวีที่มีความคิดเป็นอิสระ ไม่ถูกร้อยรัดด้วยรูปแบบที่ตายตัว จึงนับเป็นกวีผู้บุกเบิกกวีนิพนธ์ยุคใหม่
" การวาดรูปกับการแต่งบทกวีต้องใช้ความคิดกับจินตนาการ อาจจะผิดกันในเรื่องเทคโนโลยีกับเทคนิค แต่ใช้จิตใจดวงเดียวกัน ทั้งงานเขียนรูปและเขียนหนังสือก็ต้องอาศัยมโนคติ บางคนเขาเรียก อิมเมจิเนชั่น ต้องมี จินตนาการความคิด เหมือนคนที่สร้างนครวัด เขาต้องมีภาพมาก่อนว่าทำอย่างไรจึงจะมีปราสาทขึ้นมา ถ้าเรามีมโนภาพกว้างใหญ่ไพศาล เราก็สามารถสร้างสรรค์อะไรที่ใหญ่โตขึ้นมา ถ้ามีมโนภาพคับแคบก็สร้่างสรรค์อะไรอยู่ในกะลาเท่านั้น"
" คนอื่นเขาอาจจะไปทำขนมครก ไปรับเหมาทางด่วน ไปทำอะไรก็ได้ แต่ดวีต้องเป็นกวีอยู่ทุกลมหายใจ คือโดยหลักจริง ๆ แล้วผมยังเขียนบทกวีแยู่เรื่อย ๆ จะชำระของที่ดูไม่ค่อยเรียบร้อยให้เรียบร้อย ให้หมดจดขึ้น มีถ้อยคำที่ลงตัว คือพูดง่ายๆ ว่า ถ้าเราตายไปแล้ว เราก็หมดโอกาสที่จะเปิดฝาโลงขึ้นมาชะระโคลงของเราให้เรียบร้อย คนที่เขียนกวี ถ้าบทกวีชิ้นใดไม่สมบูรณ์ ก็เหมือนเราไปปรโลกแล้วยังมีห่วงอยู่"
ใครจะอาจซื้อขายฟ้ามหาสมุทร
แสนวิสุทธิ์โลกนี้ที่พระสร้าง
สุดท้ายกายวิภาคจะจากวาง
ไว้ระหว่างหล้าและฟ้าต่อกัน
เรามิใช่เจ้าของฟ้าอวกาศ
โลกธาตุทั่วส้ินทุกสรวงสวรรค์
มนุษย์์มิเคยนฤมิตตะวันจันทร์
แม่แต่เม็ดทรายนั้นสักธุลี
สภาวะสรรพสิ่งทุกส่วนโลกนี้
ควรที่สำนึกค่าทิพย์วิเศษวิศาล
อนุรักษ์ดินน้ำฟ้าไว้ตลอดกาล
เพื่อเหนือทิพยสถานวิมานแก้วไกวัลย์
ทุ่งนาป่าชัฏช้าอรัญญิกาลัย
เทือกผาใหญ่เสียดดาวดึงส์สวรรค์
เนื้อเบื้อเสือช้างลิงค่างนั้น
มดแมลงนานพันธุ์ทั้งจักรวาล
เสมอเสมือนเพื่อสนิทมิตรสหาย
เกิดร่วมสายเชี่ยววัฏฏะสังสาร
ชีพหาค่าบ่มิได้นับกาลนาน
หวานเสน่ห์ฟ้าหล้าดาราลัย
ถึงใครเหาะเหินวิมุตติสุดฝั่งฟ้า
เดือนดาริกาเป็นมรคายิ่งใหญ่
แต่เราขอรักโลกนี้เสมอไป
มอบใจแด่ปฐพีทุกชีวีวาย
จะไม่ไปแม้แต่พระนิรพาน
จะวนว่ายวัฎฎะสังสารหลากหลาย
แปลค่าแท้ดาราจักรมากมาย
ไว้เป็นบทกวีแดจักรวาล
เพื่อลบทุกข์โศก ณ โลกมนุษย์
ที่สุดสู่ยุคสุขเกษมศานต์
วานั้นฉันจะป่นปนดินดาน
เป็นฟอสซิลทรมานอยู่จ้องมอง
สิ้นเสน่ห์วรรณศิลป์ชีวิตเสนอ
ละเมอหาค่าทิพย์ไหนสนอง
อเนจอนาถชีวีทุกธุลีละออง
สยดสยองแก่ถ่านเถ้าเศร้าโศกนัก
แล้งโลกกวีที่หล้าวูบฟ้าไหว
จะไปรจนารุ้งมณีเกียรติศักดิ์
อำลาอาลัยมนุษย์ชาติน่ารัก
จักมุ่งนฤมิตจิตจักรวาล
ให้ซึ้งซาบกาพย์กลอนโคลงฉันท์
ไปทุกชั้นอินทรพรหมพิมานสถาน
สร้างสรรค์กุศลศิลป์ไว้อนันตกาล
นานช้าอมตะอกาลิโก
กฤษณา อโศกสิน กวีซีไรต์ พ.ศ.2528
"ปูนปิดทอง"
กฤษณา อโศกสิน เป็นนามปากกาที่แพร่หลายมากที่สุดของ สุกัญญา ชลศึกษ์ นักประพันธ์สตรี ผู้นับได้ว่า ประสพความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยม ในด้านการประพันธ์นวนิยาย จนสามารถเรียกได้ว่า ประสพความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยม ในด้านการประพันธ์นวนิยาย จนสามารถเรียกได้ว่า "ราชินีนักเขียนนวนิยาย" ก็คงจะไม่มีผู้ใดกล้าคัดค้าน
สุกัญญา ชลศึกษ์ เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนราชินี หลังจากจบการศึกษาก็ได้เข้าทำงานเป็นเจ้าหน้าที่เสมียนใน กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อมาศึกษาต่อในคณะพาณิชยศาสจร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์ เธอเลิกเรียนกลางคันด้วยความที่ใจรักงานเขียนมากกว่า และยังมุ่งมั่นที่จะเป็นนักเขียนต่อไป
กฤษณา อโศกสิน เป็นนักประพันธ์ สตรีที่ประสพความสำเร็จยอดเยี่ยมในด้านการประพันธ์นวนิยายได้มุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงานด้วยความประณีต แสดงกลวิธีในการเสนอเรื่อง ตัวละคร ฉาก ชื่อเรื่อง ชื่อตัวละคร ภาษาอันสละสลวย และแนวความคิดที่อุดมด้วยลักษณะวณณศิลป์และสุนทรียภาพ ตามทฤษฑีแห่งการสร้างสรรค์วรรณกรรม อีกทั้งยังได้แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์กันแล้วว่า เป็นผู้ที่มีอุดมคติและมีความรับผิดชอบต่อสังคม ในฐานะนักประพันธ์ โดยการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในเรื่องผลกรรมดีกรรมชั่วของมนุษย์ มาสอดแทรก เป็นส่วนประกอบในการสรรค์สร้างนวนิยาย ทำให้ผลงานได้รับความนิยมอย่างสูงจากประชาชนและจากวงการวรรณกรรม
"ปูนปิดทอง"
สองเมือง มธุรา ชายโสดวัยสามสิบห้าปีพระเอกของเรื่อง เจ้าของคฤหาสน์ ติดลูกไม้หลังใหม่ ดำเนินธุรกิจหลายอย่าง ซึ่งสาวในสังคมไฮโซ พยายาม "จับ"โดยไม่ได้รับรู้ถึงตัวแดงในบัญชีของเขา พ่อแม่ของสองเมืองแยกทางกันตั้งแต่ เขายังเล็ก และทิ้งไว้ที่โรงเรียนประจำ ที่ซึ่งเขาได้รู้จักเพื่อน ชือ่ สกรรจ์ ผุ้มีครอบครัวแตกร้าวไม่ต่างจากเขา พ่อแม่ของสองเมืองและสกรรจ์ ต่างก็เป็น
"คนติดลูกไม้"เป็นลูกผู้ดี แต่ก็แต่างงานกันได้ไม่นานก็ต้องหย่าร้างกัน ทว่าสกรรจ์ไม่เข้ามแข็งและต่อสู้ชีวิตอย่างสองเมือง สุดท้าย ฉกรรจ์จึง ต้องจบชีวิตด้วยโรคพิษสุราเรื้อรัง
สกรรจ์มีน้องสาวต่างมารดาชื่อว่าบาลี ซึ่งเป็นผู้หญิงเพียงคนเดี่ยวที่สอง เมืองรักด้วยความบริสุทธิ์ใจ บาลีเป็นผู้หญิงสมัยใหม่ หลังจากที่พ่อแม่ ของบาลีแยกทางกันแม่ของบาลีก็พาบาลีไปอยู่เมืองนอก ใช้ชีวิตอย่าง อิสระ ส่วนพ่อก็มีเมียเล็กเมียน้อยอีกมากมาย
สองเมืองกับบาลีตัดสินใจทดลองอยู่ด้วยกัน แต่หากนนั่นเป็นความต้องการของบาลีที่พยายามที่จะรักษาแผลในใจของสองเมือง ทว่ากลับกลายเป็นต่างคนต่างช่วยเหลือประคับประคองชีวิตกันและกัน
สองเมืองเองก็มีน้องต่างมารดาอีกสองคน คื อปลอดกับเรืองราม ซึ่งถูกทอดทิ้งเช่นกัน จนมีคำว่า "สวะสังคม"ออกจากปากผู้เป็นพ่อ ทั้ง ๆ ที่สองเมืองพยายามส่งเสียเลี้ยงดูน้องทั้งสองแต่ก็ดูเหมือนจะทำคุณบูชาโทษจน ถูกทั้งสองพาพวกยกเค้า แต่ก็ต้องถูกจับเข้าคุก สองเมืองกับบาลีจึงต้องรับ ภาระดูแลลูกสองคนของเรื่องราม
เรื่องราวอันเลวร้ายของสองเมืองและบาลีได้จบลงด้วยการเริ่มต้น เมื่อ ทั้งสองร่วมกันฝ่าฝันอุปสรรค และแต่งงานกันในที่สุดจนมีลูกน้อยอันเกิดจาก ความรัก เมือได้เป็นผู้ให้กำเนิดชีวิต ทั้งสองจึงพยายามชดเชยในสิ่งที่ เขาไม่เคยได้รับจากผู้เป็นพ่อแม่เลย..
วาณิช จรุงกิจอนันต์ กวีซีไรต์ ปี พ.ศ. 2527
"ซอยเดียวกัน"
วาณิช จรุงกิจอนันต์ เป็นชาวสุพรรณ จบการศึกษาคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร และเดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริก
วาณิช เสียชีวิตเมือ ปี 35 ด้วยโรคลูคีเมียเฉียบพลัน
"ซอยเดียวกัน"
....ผมพยายามพยายามเพ่งมองเธอทางด้านหลัง เธอไม่รู้สึกตัวเพราะมัวแต่ชะเง้อดูว่ารถวิทยาลัยมาหรือัง พอเห็นรถของวิทยาลับวิ่งมาแต่ไกลดูเธอค่อยแจ่มใสขึ้น ขยับตัวอย่างผ่อนคลายและจังหวะนั้น เธอหันหน้ามาทางผมเราสบตากัน และอาจเป็นเพราะผมตั้งใจเอาไว้ก่อนแล้วก็ได้ ผมจึงไม่รีรอที่จะส่งยิ้มออกไป
เหมือนตาฝาด ผมเห็นเธอยิ้มตอบผม ผมหันไปมองข้างหลังเพื่อให้แน่ใจว่าเธอไม่ได้ยิ้มกับคนอื่น ไม่ เธอยิ้มให้ผมจริงๆ ทุกคนที่รอรถเมลอยู่ไม่มีใครสนใจใคร ผมหันกลับมาหาเธออีกครั้ง เธอมีรอยยิ้มมากกว่าเดิมขณะที่ก้าวขึ้นรถของทางวิทยาลัย ผมมองตามรถนั้นจนลับสายตา รู้สึกว่าโลกสว่างไสวดว่าทุกวัน หางนกยูงสีแดงสดจ้านั้น เหมือนจะแย้มยิ้มเริงรื่นไปกับผมด้วย
ผมแทบไม่เป็นอันเรียนเลยในวันนั้น กระสับกระส่วนรอเวลาสี่โมงเย็นเพื่อจะนั่งรถกลับมารอรถวิทยาลัยของเธอที่จะพาเธอกลับมา แต่วันนี้ผมรอเก้อเพราะเธอไม่ได้กลับมากับรถของวิทยาลัยด้วย เธออาจติดธุระที่ไหนจนกลับไม่ทันรถของวิทยาลัยก็ได้ ผมปลอบใจตัวเองขณะเดินเข้าบ้าน ผมอารมณ์ดีเป็นพิเศษจนพี่ชายแปลกใจ เพราะคิดอยู่ตลอดเวลาว่าจะพูดดับเธอว่าอย่างไรดีในวันรุ่งขึ้น ที่นี้เธอรู้จักผมแล้ว เธอยิ้มให้ผมแล้ว เธอคงไม่รับเกียจที่จะพูดจากับผม เราจะรู้จักกันอย่างเป็นทางการในวันรุ่งขึ้น
ผมตื่่นเช้ากว่าทุกวัน เมือมาเดินเกร่ออยู่แถวสะพานไม้สักพักหนึ่ง ผมเห็นผ้าเช็ดหน้าสีขาวผืนหนึ่งตกอยู่ ผมจำผ้าแบบนี้ได้ถนัด เป็นผ้าเช็ดหน้่าที่เธอชอบถือ ผมหยิบมันขึ้่นมาด้วยความดีใจ ผ้าเช็ดหน้าสีขาวมีคราบน้ำค้างและเปื้อนดิน บางที่เธออาจทำตกไว้ตั้งแตาเมือคือนนี้ก็ได้ เพราะผมคิดวาเธอคงกลับบ้านดึกเมืองคืนที่ผ่านมา ผมรอเธออยู่สักครึ่งชั่วโมง จนกระทั่งสายมาก ผมคิดว่าเธออาจไปวิทยาลัยแต่เช้าก็ได้ในวันนี้หรือบางที่เธออาจหยุดเรีรย ผมคิดขณะเดินไปขึ้นรถเมล์อย่างเหงาๆ แต่ก็ปีติใจที่เก็บผ้าเช็ดหน้าผืนน้อยได้ ผมจะเอามันไปคืนแก่เธอเมือพบกัน ทีนี้ผมจะไม่เก้อจนเกินไป เพราะมีสิ่งที่เป็ื่อให้เราได้ทำความรู้จักอย่างเป็นกิจจะลักษณะมากขึ้น ผมพับผ้เช็ดหน้าผืนนั้นใส่หนังสือเรียไว้อย่างเรียบร้อย
ผมกลับมาบ้านในตอนเย็นเร็วกว่าปกติ เพราะไม่ต้องการพลาดรถของวิทยาลัยที่จะพาเธอกลับบ้าน มานั่งรอที่ป้ายรถเมล์เหมือนเคย..เอ๊...ผ้าเช็ดหน้าผืนนี้ของคุณหรือเปล่าครับ..คิดว่าคุนคงยังไม่ตั้งใจจะทิ้งผ้าเช็ดหน้าผืนนี้นะครับ...ผมคิดว่าผ้าเช็ดหน้าสีขาวผืนนี้เป็นของคุณนะครับ...ผมวนเวียนคิดอยูแต่ว่าจะพูดประโยคไหนกับเธอที่เข้าท่าที่สุด แต่ผมก็ไม่มีโอกาสจะพูดเหมือนที่ตั้งใ เพราะแม้กระทั้งบรถของวิทยาลัยของเธอผ่านไปแล้ว จนเกือบหกโมง เธอก็ยังไม่กลับมา
รถตำรวจเปิดหวอวิ่งเข้าำปในซอยบ้านผมสองคัน มีคนพลุกพล่านผิดปกติ ตีกันอีกละซิ ผมนึกในใจขณะที่เดินเข้าซอยหย่างหงอยเหงา
มีเสียงจ้อกแจ้กกันตั้งแต่ปากซอยว่ามีคนตาย ผู้คนโดยเฉพาะเด็กๆ วิ่งเข้าไปดูทางซอยลึก เมือมองไปข้างหน้าผมจึงเห็นผู้คนเป็นร้อยชุมนุมกันอยู่ที่สะพานไม้ รถของมูลนิธิร่วมกตัญญูวิ่งผ่านผมไป
มีใครตายที่สะพานนั่นแน่ๆ แล้ว ซอยระยำนี่มันช่างไม่น่าอยู่เลย นี้เป็นหนที่สามแล้วที่ปมเห็นเหตุการ์ทำนองนี้ ครั้งที่แล้วจิก็โก๋แทงกันตายก็ำใกล้ๆสะพานไม้แห่งนี้ ผมคิดว่าจะชวนพี่ย้ายบ้านไปอยู่ที่อื่นเมื่อเรียนจบ เพราะเบื่อความเป็นซอยทรชนของที่นี่เต็มที่ แต่วูบหนึ่งผมคิดว่าผมจะยังไม่ย้ายไปไหนจนกว่าจะได้รู้จักกับเธอ และถ้าอะไรเป็นเหมือนที่ผมฝัน ผมอาจไม่ย้ายไปไหนเบลยก็ได้
ผมตั้งใจจะเดินเข้าบ้านโดยไม่แวะดูการเก็บศพซึ่งคิดว่าคงอยู่ในคูน้ำนั้น แต่เมื่อแว่วๆ ไทยมุงพูดว่าคนตายเป็นผู้หญิงทำให้ผมเบียบเสียดเข้าไปดูกับเขาบ้าง
ผมออกมารอรถเมล์สายกว่าปกติ ไม่ได้เสียเวลาแม้แต่นิดเีดียวที่สะพานไม้แห่งนั้น แวะซื้อหนังสือพิมพ์ที่ร้านปากซอย รูปของเธอคนที่ผมอยากรู้จัก เธอคนที่ผมฝันถึงปรากฎอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับ พร้อมด้วยพาดหังและรายงานข่าวอยางพิสดาร ที่นี้ผมก็รู้จักเธอผู้อยู่ในซอยเดียวกับผมแล้ว รู้ว่า เธอชื่ออะไร มาจากไหน อยู่กับใคร แต่จะมีประโยชน์อะไรอีกเล่า....
คมทวน คันธนู กวีซีไรต์ ปี พ.ศ.2526
"นาฎกรรมบนลานกว้าง"
คมทวน คันธนู เป็นนามปากกา ประสาทพร ภูสุศิลป์ธร สำเร็จการศึกษา ปริญญาตรีจาก คณะวารสารศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เมื่อสำเร้จการศึกษาได้ทำงานนิตยสาร และหนังสือพิมพ์หลายแห่ง..ปัจจุบันเป็นนักเขียนอิสระ
เสียงเพลงช้าเจ้าหงส์ลอยหลงเือื้อน
ภาพสงกรานต์กลางเดือนยังเหมือนฝัน
เป็นต้นเสียงสื่อสารในงานนั้น
ตาต่อตาต้องกันก็เอียงอาย
เพียงคืนวันผ่านไม่นานนัก
พร้อมความรักแรกพลันได้ผันผาย
เจ้าทิ้งนามากรุงหวังมุ่งสบาย
ลืมปู่ย่ตายายลืมไร่นา
ลืมเสียงแคนแล่นแตบ่แลเหลียว
ลืมข้าวเหนียวปลาแดกเหมือนแปลกหน้า
ลืมกระทั่งยอดกระถินที่ิชินชา
ลืมเปลงแดดแผนกล้าอยู่กลางลาน
อัศศิริ ธรรมโชติ กวีซีำไรต์ ปี พ.ศ.2524
"ขุนทองเจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง"
อัศศิริ ธรรมโชติเป็นชาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อจบการศึกษาแล้วได้เริ่มทำงานกับผู้ผลิตหนังสือ"ประชากร"ระยะหนึ่ง ก่อนจะโยกย้ายไปประจำ "ประชาชาติ"สยามรัฐรายวัน"..และหวนคือนสู่ "สยามรัฐ"กระทั่งปัจจุบัน
ขุนทอง...เจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง"ซึ่งเป็นการรวมเรื่องสั้นครั้งแรกและได้รับรางวัลสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ปี พ.ศ. 2524 ประกอบด้วยรวมเรื่องสั้น 13 เรื่องโดยเนื้อหารวมๆ-ายในเล่ม เ็ฯเรื่องสั้นที่สะท้อนภาพสังคมในแง่มุมตาง ๆ เช่น "เธอยังมีชีวิตอยู่อย่างก็ในใจฉัน"ดอกไม้ที่เธอถือมา ขุนทอง..เจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง เป็นเรื่องจากหตุการณ์การเมืองหลัง 14 ตุลา16 และ6 ตุลา 19 เรื่อง แล้้วหญ้าแพรกก็แหลกลาญ เป็นเรื่อการต่อสู้กับอำนาจ ..บนท้องน้ำเมือยามค่ำ เสนอปัญหาความยกาจนและจริยธรรมของมนุษย์.. ถึงคราจะหนีไปไกลจากลำคลองสายนั้น เป็นเรื่องของโสเภณีที่ไม่ต้องการให้ลูกสาวอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เลวร้าย.. เส้นทางของหมาบ้า เสนอกิเลสตัณหาความบ้าคลั่งของมนุษย์... ในกระแสธารแห่งกาลเวลา สะท้อนการศักษา.. เมื่อลมฝนผ่านมา เป็นเรื่องเกี่ยวกับสาธารณสุข...เมื่องยามเย็นย่ำของวันอันร้าย,เสียแล้วเสียไป,เช้าวันต้นฤดูฝน บอกเล่าเรื่องราวของคนยากจนทังชนบทและในสังคมเมื่อง ...รถไฟครั้งที่ 5 เรื่องพ่อส่งลูกสาวมาเป็นโสเภณี
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีซีไรต์ พ.ศ.2523
"เพียงความเคลื่อนไหว"
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เป็นชาวจังหวัดกาญจนบุรี จบการศึกษาคณะนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชั่วเหยี่ยวกระหยับปีกกลางเปลวแดด ร้อนที่แผดก็ย่อนเพลาพระเวหา
พอใบไม้ไหวพลิกริดริกมา ก็รู้ว่าวันนี้มีลมวก
เพียงกระเพื่อมเลื่อมรับวับวับไหว ก็รู้ว่าน้ำใสใช่กระจก
เพียงแววตาคู่นั้นสั่นสะทก ก็รู้ว่าในหัวอกมีหัวใจ
โซ่ประตูตรึงผูกถูกกระชาก เสียงแห่งความทุกข์ยากก็ยิ่งใหญ่
สว่างแวบแปลบพร่มาไรไร ก็รู้ได้ว่าทางยังพอมี
มือที่่กำหมัดชื้นจนชุ่มเหงื่อ ก็ร้อนเลือดเนื้อถนัดถนี่
กระหืดหอบฮวบล้มแต่ละที ก็ยังดีที่ได้สู้ได้รู้รส
นิ้วกระดิกกระเี้ยได้พอให้เห็น เรี่ยวแรงที่แฝงเร้นก็ปรากฎ
ยอมหญ้าแยงหินแยกหยัดระชด เกียรติยศแห่งหญ้าก็ระยับ
สี่สิบปีเปล่าโล่งตลอดย่าน สี่สิบล้านไม่เคยเขยื้อนขยับ
ดินเป็นทรายไม้เป็นหินจนหักพับ ดับและหลับตลอดถ้วนทั้งตาใจ
นกอยู่ฟ้านกหากไม่เห็นฟ้า ปลาอยู่น้ำย่อมปลาเห็นน้ำไม่
ไส้เดื่อนไม่เห็นดินว่าฉันใด หนอนย่อมไร้ดวงตารู้อาจม
ฉันนั้นความเปื้อยเน่าเป็นของแน่ ย่อมเกิดแก่ความนิ่งทุกสิ่งสม
แต่วันหนึ่งความเน่าในเปือกตม ก็ผุดพรายให้ซมซึ่งดอกบัว
และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฎ เป็นความงดความงามใช่ความชั่ว
มันอาจขุ่นอาจข้นอาจหม่นมัว แกีก็เริ่มจะเป็นตัวจะเป็นตน
พอเสียงร่ำรัวกลองประกาศกล้า ก็รู้ว่าวันพระมาอีกหน
พอปีนเปรี้ยงแปลบไปในมณฑล ก็รู้ว่าประชาชนจะชิงชัย
คำพูน บุญทวี กวีซีไรต์คนแรกของไทยเมื่อ พ.ศ. 2522
"ลูกอีสาน"
คำพูน บุญทวี เดิมชื่อ คูน เป็นชาว ต.ทรายมูล อ. ยโสธร จ.อุบลราชธานี ปัจจุบันเป็นอ. ทรายมูลจ.ยโสธร จับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่อมาเดินทางเข้ากรุงเทพ เป็นกรรมกรรับจ้างรายวันที่ท่าเรื่อคลองเตย..กระทั่งสอบเป็นครูได้บรรจุที่ภาคใต้ สอนหนังสืออยู่ 11 ปี จึ่งเปลี่ยนมาเป็นผู้คุมเรื่อนำ ..
เขาเขียนนวนิยายเรื่อง"เจ็กบ้านนอก"โดยใช้นามปากกาว่า กิมหลั่น และร่วมกันทำสำนักพิมพ์โป๊ยเซีย เพื่อพิมพ์หนังสือของครอบครัว..
ลูกอีสาน เป็นการนำเรื่องราวจากประสบการณ์ที่ผู้เขียนพบเห็นถ่ายทอดในรูปนิยายโดยได้เขียนเป็นตอนๆ ประมาณ 36 ตอน เพื่อพิมพ์ในนิตยสารฟ้าเมืองไทย ช่วงปีพ.ศ.2518-2519
ลูกอีสาน ใช้วิธีการเล่าเรื่องโดยผ่านเด็กชายคูนซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในถ่ินชนบทของอีสานแถบที่จัดได้ว่าเป็นถิ่นที่แห้งแล้งแห่งหนึ่งของไทยผู้เขียนได้เล่าถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจน ความเชื่อของชาวอีสาน รวมไปถึง การบรรยาย ถึงสภาพความเป็นไปตามธรรมชาติของผู้คนและสภาพแวดล้อม เช่น การเกี้ยวพาราสีกัน ของทิดจุ่น และพี่คำกอง จนท้ายที่สุดก็ได้แต่งงานกัน การออกไปจับจิ้งหรีดของคูน การเดินทางไปหาปลาที่ลำน้ำชีเพื่อนำปลามีทำอาหารและเก็บถนอมเอาไว้กินนานๆ ด้วยการทำปลาร้า เป็นต้น นอกจากนั้น ยังแทรกความสนุกสนาน เพลิดเพลิน จกาการทำบุญตามประเพณี ไว้หลายตอน ด้วยเช่นกัน ได้แก่ การจ้างหมอลำหนู ซึ่งเป็นหมอลำ ประจำหมู่บ้าน ลำคู่กับหมอลำฝ่ายหญิง ที่ว่าจ้างมาจากหมู่บ้านอื่น ทั้งกลอนลำ และการแสดงออก ของหมอลำทั้งสอง สร้างความสนุกสนาน ครึกครื้น แก่ผู้ชมที่มาเที่ยวงาน อย่างมาก ลูกอีสาน เป็นการถ่ายทอดเรื่องราว จากประสบการณ์ ด้วยภาษาที่ตรงไปตรงมาและแสดงให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ของชาวอีสานว่า ต้องเผชิญ กับความยากลำบากอยางไร การเรียนรู้ ที่จะอดทน เพื่อเอาชนะ กับความยากแค้น ตามธรรมชาติ ด้วยความมานะบากบั่น ความเอื้อารี ที่มีให้กันในหมู่คณะความเคารพในระบบอาวุโส สิ่งเหล่านี้ ปรากฎอยู่ในแต่ละตอนของลูกอีสานรวมทั้งการแทรกอารมณ์ขันลงไปด้วย..