Vajrayana


   นักบวชในศาสนาฮินดูปราชญ์ในศาสนาพราหมณ์ซึ่งโจมตีทั้งคำสอนของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งในหลายสิ่งและหลายเหตุผล ที่ทำให้พุทธศาสนาสาบสูญไปจากชมพูทวีป
    พราหมณ์ศังกราจารย์ ได้ประกาศศาสนาฮิดูอย่างเข้มแข็งและเอาจริงเอจัง โดยใช้วิธี “กลืน”พระพุทธศาสนาเข้ากับฮินดู ด้วยการเลียนแบบ เช่น การมีวัด มีสงฆ์เหมือนพระพุทธศาสนา และปลูกฝังความเชื่อที่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นอวตารของพระนารายณ์ ปางที่ 9 ชื่อว่า “พุทธาวตาร” ซึ่ง ศังกราจารย์ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งกับการปลูกฝังความเชื่อนี้ ประชาชนไม่เห็นความแตกต่างระหว่างพุทธกับฮินดู…
   ศาสนาฮินดูก็คือศาสนาพรหมณ์เดิม โดยประมาณปี  พ.ศ. 1,300 นักบวชไศวะได้นำหลักธรรมและปรัชญาในศาสนพุทธนิกายมหายานมาปรับให้เข้ากับศาสนาพราหมณ์ และตั้งชื่อเรียกใหม่ว่า ศาสนาฮินดู  ashvagosa-nagarjuna
   เป็นที่รู้กันว่า ศาสนาพุทธนั้นเป็นศาสนาเดียวในอินเดียที่ไม่ขึ้นต่อระบบวรรณะ ซึ่งก็คือการต่อต้านหรือคัดค้านความเชื่อที่มีมาแต่ก่อน
  ด้วยอัจฉริยภาพทั้งของพระศาสดาและเหล่าอัครสาวกในระยะเริ่มแรกพุทธศาสนาจึงได้รับการตอบรับและเจริญรุ่งเรื่องอย่างรวดเร็วในดินแดนชมพูทวีปประกอบกับการได้รับความอุปถัมภ์จากกษัตริย์ และการอุปถัมภ์จากกษัตริย์หรือบุคคลในสังคมชั้นสูงยังเป็นปัจจัยสำคัญของความเจริญรุ่งเรื่องทั้งในชมพูทวีปและดินแดนอื่นๆ ที่พุทธศาสนาแพร่เข้าไปถึง..
  การกำเนิดมหายาน เป็นวิวัฒนาการก้าวกระโดด และมีความสำคัญอย่างยิ่งในประสวัติศาสตร์ของพุทธศาสนา
   คำสอนและอุดมการณ์ของมหายานตั้งอยู่บนรากฐานแห่งความเชื่อในองค์พระพุทธเจ้าพระโพธอสัตว์(ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า)อีกทั้งเทพอีกหลายองค์
   อันที่จริงแล้วพระนามของพระโพธิสัตว์เล่านี้เป็นนามธรรมของคุณสมบัติ ซึ่งเป็นนามธรรม แต่ก็เช่นเดียวกับคำสอนในศาสนาทั้ง เมื่อกาลเวลาล่วงเลยไป ผู้คนพากันหลงลืมนามธรรม ยึดมั่นในรูปธรรม ไม่นำพาคุณสมบัติ ทว่าไปยึดติดในรูปสมบัติเมื่อนามธรรมถูกสมมติให้มีตัวตน เป็นพระโพธิสัตว์ มี่ฐานะเท่ากับเทพเจ้าองค์หนึ่ง และเมือเป็นเทพเจ้าก็ต้องได้รับการบูชากราบไหว้ เซ่นสรวง..
   เมื่อเทพเจ้าทั้งชายหญิงเกิดขึ้นมามายพร้อมกับพิธีกรรมเซ่นสรวงอันละเมีอยละไมเช่นนี้ บรรดาสมณะหรือภิกษุสงฆ์ก็พากันสนใจพิธีกรรมเหล่านี้ยิ่งขึ้น การศึกษาพระธรรมวินัยก็ย่อหย่อนงไปเป็นเงาตามตัว และเหนือสิ่งอื่นใด การประกอบพิธีกรรมเซ่นสรวงนานาชนิดนั้น นำมาซึ่งลาภสัการะอย่างมากและง่ายดาย
   เหตุการเสื่อมของพุทธศาสนาในอินเดีย
ประวัติศาสตร์ให้บทเรียนว่า สถาบันหรือขนบธรรมเนียมใดๆ ก็ตามซึ่งระยะเริ่มต้น อาจจมีคุณูปการหรือประโยชน์ต่อสังคม แต่เมือกาลเวลาได้ล่วงเลยไป หากสถาบันหรือขนบธรรมเนียมนั้น ๆ ไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เกมาะสมกับกาละเทศะ สถาบันหรือขนบธรรมเนียมดังกล่าว  อาจกลายเป็นอุปสรรคสิ่งขัดขวางต่อการเจริญก้าวหน้าของสังคมนั้นๆ
    พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เกิดในอินเดียศาสนาเดียวที่ไม่เข้าไปข้องเกี่ยวกับวัตรปฏิบัตทางสังคม พุธศาสนาไม่มีบทบัญญัติเป็นกิจจะลักษณะในเรื่องเกี่ยวกับการเกิด การตาย หรือการแต่งงานของพุทธศาสนิกชน พุทธศาสนาให้เสรีภาพในกิจกรรมเหล่านี้แก่พุทธศาสนิกชนอย่างสมบูรณ์
ในทัศนะของปราชญ์บางท่าน(นลินกฺษ ทัตต)เห็นว่า แม้ในระยะเริ่มแรกแห่งการก่อตั้งและเผยแผ่จะเป็นผลดีแก่พุทธศาสนา แต่ในกาลไกลแล้วเมืองวัตรปฏิบัติของศาสนิกหย่อนยาน เปิดโอกาสใหผู้มีทัศนะและความเชื่อถือแปลกแยกเข้ามาปะปนทำลายเอกภาพ
   นลินากฺษ ทัตต แสดงความเห็นไว้วา การวางตนไม่เข้าแทรกแซงกิจการทางสังคมในระยะแรกๆ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่พรุทธองค์และสานุศิษย์ผู้ปรีชาญาณของพระองค์ยังดำรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น เป็นผลดี แต่เมื่อเวลากาลล่วงเลยมาแล้ว ลัทธิความเชื่อตลอดจนพิธีกรรมเก่า ๆ ของพราหมณ์ที่มีมาแต่โบราณ จึงคืนชีพขึ้นมาอีก
  แก่นแห่งพุทธ ได้ถูกกระพี้แห่งศาสนาพราหมณ์ปกปิด หรือบดบัง อย่างแทบจะมองไม่เห็น โดยเฉพาะจาสามัญชนคนธรรมดา
   พฤติกรรมทำนองเดียวกันได้เกิดในประเทศอื่นที่พุทธศาสนาได้แผ่ไปถึง เมื่อพุทธสาสนาได้เข้าไปประดิษฐานเป็นเวลานาน ทั้งได้รับความเทิอทูลสัการะอย่างสุงจากประชาชน แต่ในขณะเดียวกันอิทธพลของวัฒนธรรม ตลอดจนลัทธิความเชื่อถือ เดิมของท้องถิ่นก็เข้าผสมปนเปกับคำสอนอันแท้จริงของพุทธศานา อยางจะแยกกันไม่ออก
   ความตกต่ำทางมาตรฐานของสงฆ์ ตราบใดที่คณะสงฆ์มีสมาชิกที่ทรงความรู้ความสามารถเป็นประทีปทางปัญญาให้แก่ปวงชน ตราบนั้นพุทธศาสนาก็อยู่ในฐานะสูงส่ง ..เมื่อหลังพุทธปรินิพพานไม่นานก็ปรากฎตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า ได้มีความย่อหย่อนเกิดขึ้นทั้งในทางระดับภูมิปัญญา และวัตรปฎิบัติ จนเกิดการสังคายนากันเป็นระยะ ๆ ตลอดมา 


    ลัทธิตันตระ เป็นวิวัฒนการขึ้นต่อมาของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน  ความเชื่อลัทธิทางศาสนานั้น มีอิทธิพลอย่างมากมายต่อพฤติกรรมในชีวิตของมนุษยื พิธีกรรมหรือวัตรปฏิบัติ อันเกิดจากความเชื่อทางศษสนามากมายหลายกรณี ซึ่งแรกเริ่มเดิมที เกิดจากเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์อันดีงาม เป็นบุญกุศล แต่พอกาลเวลาล่วงเลยไปกิเลสของกลับแปรเปลี่นให้พิธีกรรมหรือ วัตรปฏิบัติเหล่านั้น หัสเหปในทางที่เลวร้าย…

   ตันตระอันเป็น วิวัฒนาการขึ้นต่อมาในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ความเชื่อและวัตรปฏิบัติที่นำ พุทธศาสนาไปสู่ความหายนะขั้นสุดท้ายในประเทศอินเดีย
  ตันตระประกอบด้วยคำสอนหลัก  5 ประการ ชื่อว่า  5 ม  คือ เหล้า – มัทยะ   เนื้อ – มางสะ  มัตสยะ – ปลา   มุทรา - ท่าทาง   ไมถุน - การเสพสังวาส     ทุกวันนี้ “ตันตระ” ก็ยังมีอยู่ทั่วไปในโลก
     เป็นเวลากว่า 4 ศตวรรษที่ ชาวอินเดียทั้งประเทศซึ่งเดิมนับถือ พราหมณ์ฮินดู และ พุทธ ต่างก็กตอยู่ในความครอบงำของลัทธิตันตระไม่เฉพาะแต่สามัญชน หากชนชั้นสูงรวมทั้งชนชั้นผู้ปกครองด้วยเช่นกัน

 
 
“How India Lost Buddhism?”
“ในขณะที่ความเสื่อมทางศีลธรรมและจิตใจกำลังมาสู่ประชาชาติอินเดียดังได้พรรณามานี้ การแบ่งแยกถือชั้นวรรณะตามศาสนาพราหมณ์ก็กระหน่ำทำให้ชีวิตสังคมอ่อนเปลี้ยลงอย่างที่สุด และในขณะที่ความ “เร้นลับ” ของลัทธิ “ตันตระ” กำลังทำmahmood_ghaznawi ให้สมองของประชาชนหมดสมรรถภาพอยู่นั้น กองทัพอันเกรียงไกรของมุสลิมก็เคลื่อนขบวนมาจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คล้ายกับมรสุมใหญ่ที่กำลังพัดมาเพื่อทำความสะอาดให้แก่สิ่งโสโครกทั้งหลาย บรรดาโบสถ์วิหารและทรัพย์สมบัติเครื่องบูชาอันมีค่ายวดยิ่ง ซึ่งสะสมกันไว้ตั้งร้อย ๆ ปี ได้ถูกทำลายพินาศลงด้วยน้ำมือของพวกรุกรานมุสลิม ปฏิมาของพระโพธิสัตว์และเทพยดา ทั้งหญิงชาย ได้ถูกเหวี่ยงลงจากแท่นบูชาและเผาผลาญไม่มีเหลือ ไม่มีสิ่งใดเป็นเครื่องศักดิ์สิทธิ์ สำหรับนักรบมุสลิมผู้กระหายอำนาจและทรัพย์สมบัติเหล่านี้ “มนตร์” และพิธีกรรมต่าง ๆ ทางลัทธิ “ตันตระ” ที่เชื่อกันว่า “ขลัง” ยิ่งนักนั้นปรากฏว่าไม่สามารถให้ความคุ้มครองได้ บรรดา “ผู้สำเร็จ” และ “อาจารย์” องค์สำคัญ ๆ ต่างพากันยืนมือเท้างอต่อหน้ากองทัพมุสลิม ในที่สุดขณะที่พวก “ตันตระ” กำลังประกอบพิธีกรรมและสวด “มนตร์” อยู่อย่างไม่ลืมหูลืมตา แผ่นดินทางอินเดียภาคเหนือก็ตกไปอยู่ในกำมือของมุสลิมอย่างราบคาบ”
โดย พระภิกษุ ดร. อานันท์ เกาศัลยายน…
 

 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)