วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555
Nalanda
นาลันทา
เป็นชื่อเมือง ๆ หนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ ประมาณ 16 กิโลเมตร(1 โยชน์) ในปัจจุบันเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ห่างจากกรุงราชคฤห์ไหม่ประมาณ 12 กิโลเมตร ห่างจากเมืองปัตนะรัฐพิหาร ประมาณ 90 กิโลเมตร
หลวงจีนฟาเหียนซึ่งจาริกมาสืบศาสนาในชมพูทวีป ราว พ.ศ.944-953 บันทึกว่าได้พบเพียงสถูปองค์หนึ่งที่นาลันทา แต่ต่อมาไม่นาน กษัตริย์ราชวงศ์คุปตะที่1 ซึ่งครองราชย์ประมาณ พ.ศ. 958-998 ได้ทรงสร้างวัดอันเป็นสถานศึกษาขึ้นแห่งหนึ่งที่เมืองนาลันทา และกษัตริย์พระองค์ ต่อไ มาในราชวงศ์ได้สร้างวัดอื่น ๆ เพิ่มขึ้นในโอกาสต่างๆ จนมีถึงวัด อยู่ในบริเวฯใกล้เคียงกัน ในที่สุดได้มีการสร้างกำแพงใหญ่อันเดียวล้อมรอบ ทำวัดทั้ง 6 วัดรวมเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว เรียกว่า นาลันทามหาวิหาร และได้กลายเป็นศูนบ์กลางการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ แห่งสำคัญยิ่งที่นักประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน เรียกกันโดยทั่วไปว่ “มหาวิทยาลัยนาลันทา”
พระเจ้าหาษาวรรธนะ มหาราชพระองค์หนึ่งของอินเดีย ได้ทรงเป็นองค์อุปถันของมหาวิทยาลัยนาลันทา
นาลันทาเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาฝ่ายมหายาม และเพราะความมีกิติศัพท์เรลื่องลือมากจึงมีนักศึกษาเดินทางมาจากประเทศต่าง อาทิ จีน ญี่ปุ่น เอเซียกลาง สุมาตรา ชวา ทิเบต และมองโกเลีย เป็นต้น หอสมุดของนาลันทาใหญ่โตและมีชื่อเสียงทั่วโลก
อย่างไรก็ดี ในระยะหลังนาลันทาหันไปสนใจการศึกษาพุทธศาสนาแบบตันตระ ที่ทำให้เกิดความย่อหย่อนและหลงเพลินทางกามารมณ์ เซ่งเมือพระที่ควรงดเว้นเรื่องกามตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนากลับหันมาเสพกาม… ทำให้เหล่าอุบาสก อุบาสิกา เริ่มเกิดการเสื่อมศรัทธา ในขณะที่พราหมณ์เริ่มที่จะปรับตัว เพื่อต่อสู้กับการเจริญเติบโตของพุทธศาสนา จากลัทธิพรากมณ์ที่ไม่มีนักบวช ก็มี ไม่มีวัด ก็มี จากการเข่นฆ่าบูชายันต์สัตว์ ก็หันมานับถือสัตว์บางประเภทและประกาศไม่กินเนื้อ เช่น วัว …
การล่มสลายของมหาวิทยาลัยนาลันทา
กองทัพมุสลิมเติร์กได้ยกมารุกรานรบชนะกษัตริย์แห่งชมพูทวีปฝ่ายเหนือ และเข้าครอบครองดินแดนโดยลำดับ ทัพมุสลิมเผาทำลายวัดและปูชนียสถานในพุทธศาสนา และสังหารผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา นาลันทามหาวิหารก็ถูกเผาผลาญในช่วงเวลานี้
พระถังซัมจั๋ง หรือ หลวงจีนฮวนซังเดินทางเข้ามาสืบพระพุทธศาสนายังประเทศอินเดีย ท่านได้เดินทางตามเส้นทางสายผ้าไหมเข้ามาสู่แค้วนแคชเมียร์ ซึ่งได้รับการต้อนรับจกากษัตริย์แห่งแค้นให้พำนักและทรงอนุญาตให้คัดลอกคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ท่านพำนักอยู่ที่แคว้นนี้เป็นเวลา @ ปี หลังจากนั้นจึงเดินทางต่อมายังแคว้นปัญจาบ เข้าสู่อินเดียเหนือ ไปสู่เมืองมถุรา และเมืองต่างๆ ในลุ่มน้ำคงคา เข้าเยี่ยมสถานที่สำคัญต่างๆ ทางพุทธศาสนา และได้เข้าศึกษาพระธรรมคำสอนเพื่อเติมในมหาวิทยาลัยนาลันทา เป็นเวลา 5 ปีหลังจาก และพำนักจำพรรษาที่มหสวัทยาลัยนาลันทา.. หลวงจีนฮวนซังหรือพระถังซัมจั๋งเดินทางกลัมาถึงซีอานรวามเวลาทั้งสิ้น 17 ปี ระยะทางกว่า 15,000ไมล์
บันทึกของพระถังซัมจั๋ง
“…ศูนย์กลางของพุทธศษสนานิกายมหายาน เจริญรุ่งเรืองอยู่ที่เมืองสารนาถ พุทธคย และนาลันทา
… พุทธคยานั้นมีทั้งพระสงฆ์นิกายหินยานของลังกาและพระสงฆ์ในนิกายมหายานของอินเดีย นิกายสางมิตียะซึ่งเป็นนิกายย่อยแตกออกมาจากนิกายเถรวาท เจริญรุ่งเรื่ออยู่ในนแคว้นคุชราต พระสงฆ์ในนิกายนี้มีบทบาทที่สำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ไปยังสารนาทและศราวัสตีทางทิศตะวันออก ชาวพุทธทั้งมหายานและหินยานในอินเดีย นอกจากจะมีความนิยมในการสร้างวัดเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปแล้ว การสร้างสถูปขนาดใหญ่เพื่อบรรจุพระสารีริกธาตุก็ยังควเป็นที่นิยมของชาวพุทธอยู่เสมอ ๆ แต่เนื่องจากที่พระสารีกธาตุของพระพุทธองค์เริ่มหาได้ยากมาขึ้น ชาวพุทธจึงนิยมบรรจุหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า คาถาเยธมา และพระพุทธรูปไว้ในสถูป และแม้ว่าจะมีการสร้างวัดกลางแจ้งขึ้นเป็นจำนวนมากแล้วก็ตา ความนิยมในกาสร้างวัดดด้วยการเจาะถ้ำเป็นคูหาและสร้างวิหารครอบไว้ด้านหน้า ก็ยังคงเป็นที่นิยมของพุทธศาสนิกชนนิกายมหาน..
… เมืองสารนาถเป็นศูนย์กลางของประติมากรรม มีกุฎิพระสงฆ์ในนิกายสางมิตียะเรียรายกันอยู่ถึง 1,500 หลัง นอกจากนี้ยังพบพระสงฆ์นิกายนี้ที่เมืองศราวัตติในอินเดียภาคเหนืออีกด้วย ถ้ำอชัตาทางตะวันออกเป็นศูนย์กลางของงานจิตรกรรม ซึ่งส่งอิทธิพลให้กับพระพุทธศาสนาในแคว้นคันธารารฐและเกาะลังกา อาณาจักรวัลภีแห่งแคว้นคุรชราตทางตะวันตก มีวัดทางพุทธศาสนามากกว่า 100 แห่งมีพระสงฆ์นิกายสางมิตียะประมาณ 6,000 รูป…
…บามิยาน เป็นเมืองสำคัญทางพุทธศาสนาสายมหายาน ที่มีความวดวามโรแมนติกเป็นอย่างมาก วัดวาอารามทุกวัดสร้างโดยการเจาะเข้าไปในหน้าผาหินทรายที่มีความยาวเป็นไมล์ โดยทำเป็นคูหาเรียงรายกันเป็นแถวดูเหมือนรังผึ้ง ภายนอกสร้างวิหารครอบไว้ด้านหน้า ภายในคูหานอกจากภาพสลักรูปพระพุทธเจ้าแล้ว ที่ผนังคูหาเหล่านี้ยังมีภาพจัตกรรมแบบเดียวกับจิตรกรรมในถ้ำอลันตา…
ในบรรดาคูหาที่เป็นโบลสถ์วิหารและกุถฎิเหล่านี้มีอยู่ 2 คูหาที่มีขนาดใหญ่มาก ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปทาองคำขนาดใหญ๋ ที่มีความสวยงามและสมบูรณ์ หล่อดขึ้นจากสำรัด ขนากสูง 120 ฟุต และ 175 ฟุตตามลำดับ
… บามิยาน เป็นจุดพักแรมของพ่อค้า กองคาราวานสินค้าและนักจาริกแสวงบุญ มีฝูงชนมากมายแออัดตามตลาดนัด มีสินค้าที่หลากหลายให้เลือกซื้อหากลับไปยังบ้านเมืองของตน มีนัเล่านิทานจำอวด ผู้คนที่สนุกสนานและมีความสงบสุข…
ในคูหาถ้ำทางด้านล่างตรงพระบาทขององค์พระ เป็นที่พำนักของพระภิกษุสงฆ์ มีภาพจัตรกรรมฝาผนังอยู่ภายใน เป็นภาพพระโพธิสัตว์ในคติมหายาน ภาพแสดงปางปรินิพพาน ภาพพระพุทธเจ้สพ้นองค์ ภาพสุริยประภาและจันทรประภา ภาพเทวดาและนางฟ้า….
ต่อมาในราชวงศ์หมิง ได้นำ การเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎกของหลวงจีนฮวนจัง มาประพันธ์เป็นวรรณกรรม ซึ่งเป็นวรรณกรรมเรื่องเยี่ยมและยิ่งใหญ่หนึ่งในสี่ของจีน คือ พระถังซำจั๋ง และศิษศ์ทั้งสาม คือ หงอคง (อู้คง) หมายถึง สุญญตา คือความว่างอันเป็นสมาธิขั้นสูงของผู้บรรลุธรรม "โป็ยก่าย" (ปาเจี้ย) แปลว่า ศีลแปด และ "ซัวเจ๋ง"(ซาเซิง) หมายถึงพระผู้ใฝ่แสวงปัญญา..
เป็นวรรณกรรมที่ต้องการสะท้อนความไม่พอใจต่อความอ่อนแอ ไ้ร้ความสามรถของชนชั้นปกครอง ที่ปล่อยให้ต่างชาติรุกรานแผ่นดิน และต่อต้านการกดขี่ข่มเหงประชาชนของนักการเมืองในสมัยนั้น โดยผู้กเรื่องเชื่อมโยงการเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎกในชมพูทวีปของพระุถังซัมจั๋ง
ผู้แต่งให้พวกเขาได้ต่อสู้กับปีศาจร้าย คือความเลวร้ายที่ท่านจ้องเผชิญ ทำให้เห็นถึงวัตรปฏิบัติ และความมุมานะ อุทิศชีวิตฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อค้นหา แปล และเผยแผ่พระสัจธรรมในพุทธศาสนาในจีน ทำให้เรื่องราวของพระถังซัมจั๋งเป็นที่ศรัทธาทั้งในหมู่ชาวพุทธ และชาวโลก ทั้งในฐานะนักเดินทาง นักภาษาศาสตร์ และผู้รอบรู้พระพุทธศาสนา...
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น