วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สงครามร้อยปี(Hundred Years’War)..ว่าด้วยเรื่องดินแดน

   เป็นความขัดแย้งระหว่างสองราชวงศ์คือ ราชวงศ์วาลัวส์ อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศส เมือผู้สืบเชื้อสายราชวงศ์กาเปเดียงสิ้นสุดลง


   ขณะที่ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสและอังกฤษ ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทเป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และมีรากฐานจากบริเวณอองซู และนอร์มังดีในฝรั่งเศส  ทหารฝรั่งเศสเป็นผู้ร่วมต่อสู้ทั้งสองฝ่าย โดยมีเบอร์กันดีและอากีแตนสนับสนุนฝ่ายแพลนทาเจเน็ท

     ราชวงศ์กาเปเซียง คือราชวงศ์ที่ปกครองฝรั่งเศสในสมัยกลาง ปัจจุบันราชวงศ์กาเปเซียงที่ยังมีพระชนม์ชีพและถือพระราชสมบัติอยู่ คือ กษัตริย์แห่งสเปนและแกรนด์ดุ๊กแห่งลักเซมเบิร์กผ่านทางราชวงศ์บูร์บง บรรพบุรุษของราชวงศ์กาเปเซียง คือ ตระกูลรอแบร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นเคานต์แห่งปารีสในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก ปัจจุบันคือฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 และ 10 ตระกูลรอแบร์อำเษกกับราชวงศ์คาโรลินเจียน ราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกขณะนั้น ทำให้ตระกูลรอแบร์บางคนได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ด้วย แต่ใน ค.ศ. 987 ราชวงศ์กาโรแล็งเซียงสิ้นสุดลงในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก อูก กาแป เคานต์แห่งปรารีสที่สืบเชื้อสายจากตระกูลรอแบร์นั้น ได้ขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์กาเปเซียงราชวงศ์กาเปเซียงในสายตรงฝรั่งเศสสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1328 ด้วยการสิ้นสพระชนม์ของพระเจ้าชาร์ลที่ 4 ที่ทรงไร้ทายาท
     แม้พระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ราชวงศ์กาเปเตียงจะทรงมีพระโอรสถึงสามองค์ซึ่งทั้งสามพระองค์ก็ได้เป็นกษัตริย์ แต่กลับไม่มีพระองค์ใดมีทายาทเลย พระนางอิซาเลลา พระขนิษฐาของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 ทรงอภิเษกกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ และมีพระโอรสเป็ฯพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ดังนั้น พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงทรงเป็นพระญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของพระเจ้าชาร์ลส์ที่จะขึ้นครองบัลลังก์ฝรั่งเศส

     เมื่อปี ค.ศ. 1066 เมื่อ ดยุควิลเลียมแห่งนอร์มังดียกกองทัพมารุกรานอังกฤษพระองค์ทรงได้รับชัยชนะต่อสมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ และขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ
    ในฐานะดยุคแห่งนอร์มังดี วิลเลียมยังคงขึ้นกับกษัตริย์ฝรั่งเศสซึ่งต้องสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์ฝรั่งเศส
    การแสดงความสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์โดยกษัตริย์อีกองค์หนึ่งเป็นการกระทำที่เหมือนเป็นการหยามศักดิศรี พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษจึงพยายามเลี่ยง   ทางฝ่ายราชวงศ์กาเปเตียงก็ไม่พอใจที่กษัตริย์ประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นเจ้าของดินแดนภายในราชอาณาจักรละพยายามหาทางลดความอันตรยของฝ่ายอังกฤษต่อความมั่นคงของฝรั่งเศส
    หลังจากสงครามกลางเมือง (สงครามอนาธิปไตย The Anarchy) ราชวงศ์อองซูขึ้นมามีอำนาจแทนราชวงศ์แองโกล-นอร์มัน ในสมัยที่รุ่งเรื่องที่สุดของราชวงศ์อองซูนั้น ปกครองทั้งอังกฤษ และดินแดนในฝรั้งเศส ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่มีเนื้อที่มากกว่าพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสเอง ดินแดนเหล่านี้เรียกรวม ๆ ว่าจักรวรรดิอองซู
    พระมหากษัตริย์อังกฤษแห่งราชวงศ์อองซุยังคงต้องแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส
   พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศสจึงทรงใช้ความอ่อนแอของพระเจ้าจอห์นทั้งทางกฎหมายและทางการทหาร ยึดดินแดนต่าง ๆ มาเป็นของฝรั่งเศส ราชวงศ์อองซูสูญเสียดินแดนนอร์มังดีทั้งหมดและลดเนื้อที่ครอบครองในฝรั่งเศสเหลือเพียงในบริเวณบางส่วนของแกสโคนี  ขุนนางอังกฤษยังคงต้องการครอบครองดินแดนเหล่านี้

     เมือสิ้นราชวงศ์กาเปเซียง แม้ว่า พระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ ทรงเป็นพระนัดดาของพระเจ้าชาลส์ที่ 4 เป็นพระญาติชายที่ใกล้ชิดที่สุดทางสายพระโลหิต(พระญาติทางฝ่ายมารดา) จึงเป็นผู้มีสิทธิจะครองบัลลังก์มากที่สุด
     แต่ขุนนางฝรั่งเศสไม่ต้องการให้กษัตริย์อังกฤษมาปกครองฝรั่งเศสจึงอ้างกฎบัตรชาลลิคของชนแฟรงก์โบราณว่า การสืบสันติวงศ์จะต้องผ่านทางผู้ชายเท่านั้น และให้ฟิลิปเคานท์แห่งวาลัวส์ ที่สืบเชื้อสายจากพระเจ้าฟิลิปที่ 3 ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าฟิลิปที่ 6 เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์วาลัวส์ซึ่งเป็นสาขาของราชวงศ์กาเปเซียง ในปีค.ศ. 1331 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ 3 ทรงยินยอมที่จะสละสิทธิ์ในบัลลังก์ฝรั่งเศสทั้งมวลแต่ครองแคว้นกาสโคนี
      ในค.ศ. 1333 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงทำสงครามกับสกอตแลนด์ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสตามสัญญาพันธมิตรเก่า(Auld Alliance สัญญาสันติภาพเพื่อการประสานการป้องกันทางทหารร่วมกันในการต่อต้านอังกฤษ ระหว่าง สกอตแลนด์และฝรั่งเศส) พระเจ้าฟิลิปที่ 6  ทรงเห็นโอกาสจึงนำทัพบุกยึดแค้วนกาสโคนี แต่พระเจ้าเอ็ดวาร์ที่ 3 ทรงปราบปรามสกอตแลนด์อย่างรวดเร็ว และหันมาตอบโต้พระเจ้าฟิลิปได้ทัน นี้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามร้อยปี

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ยวนฉาง

  paragraphparagraph_664
             หลวงจีน เหี้ยนจัง หรือยวนฉาง หรือที่รู้จักกันในนามว่า "พระถังซำจั๋ง" จะไปสืบพระไตรปฎกที่อินเดีย(พูดกันแบบภาษาชาวบ้านว่าไปไซที คือไปแดนตะวันตก)ได้จาริกจากรุงจีน ผ่านทาง โยนก คันธาระ กัศมีระ (คือ อัฟกานิสถาน ปากีสถาน และอินเดียพายัพปัจจุบัน) ที่เมืองจีนเวลานั้นตรงกับรัชสมัยพระเจ้าถังไทจง
           หลวงจีนเหี้ยนจังได้ศึกษาที่มหาวิทยาลัย”นาลันทา”จนจบแล้วสอนทีนั้นระยะหนึ่ง จึงนำคัมภีร์พระไตรปิฎกเป็นต้น  จำนวนมาก เดินทางกลับมาถึงเมืองเชียงอาน ฉางอาน ท่านได้รับการต้อนรับยกย่องอุปถัมภ์อย่างดีจากองค์พระจักรพรรดิ์ และทำงานแปลพระไตรปิฎกสังสอนธรรมกระทั้งมรณะภาพ
     พระเสวียนจั้ง (ค.ศ. 602-664) หรือเป็นที่รู้จักในยายไซอิ๋วว่า พระถังซัมจั๋ง เป็นพระที่บำเพ็ญ ศีล สมาธิ ปัญญา มาแต่เยาว์ แต่ยังมีสิ่งที่ค้างอยู่ในใจ คือการเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎก ณ ชมพูทวีปเมืองเติบใหญ่ขึ้นจึงได้ออกเดินทาง โดยได้เขียนเป็นบัญทึกการเดินทางไว้ด้วย ซึ่งบันทึกการเดินทางไว้ด้วย หรือ จดหมายเหตุการเนทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง โดยจะเล่าถึงการเดินทางที่ไปพบปะกับภูมิประเทศที่แตกต่างออกไป สภาพผู้คน วัฒนธรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ รวมไปถึงการทหาร การเมืองการปกครอง 

    ต่อมาสมัยหมิง อู๋เฉิงเอิน ได้ประพันธ์เรื่อง “ไซอิ๋ว” อันเป็นเทพนิยายที่ประสบความสำเร็จมากทีสุดเรื่องหนึงของจีนนำเรื่องพระถังซัมจั๋ง มาเป็นเค้าเรื่อง สมมุติเรื่องราว ความยากลำบากและอุปสรรคต่างๆ นานา ที่พระถังซัมจั๋งและบริวารทั้งสามได้พบในระหว่างเดินทางไกลไปอัญเชิญพระไตรปิฎก
   อู๋เฉิงเอิน (ค.ศ. 1506-1582) สมัยราชวงศ์หมิง เกิดในมลฑลเจียงซู เป็นคนมีพรสวรรค์ตั้งแต่เด็ก มีความสนใจในเรื่องราวต่าง ๆ อย่างกว้างขวางและมากความสามารถในศิลป์แขนงต่าง ๆ เขาเขียน “ไซอิ๋ว” เสร็จสิ้นในช่วงบั้นปลายของชีวิต โดยทำการเก็บเกี่ยวประสบการณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตั้งแต่วัยหนุ่ม
  ไซอิ๋วจึงเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนสะภาพสังคมในสมัยนั้น เกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมต่าง ๆ ในสังคมโดยให้เปรียบเป็นภูมิผีปีศาจต่าง ๆ ทำการขัดขวางการเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นฝ่ายคุณธรรม โดยตัวละครที่สำคัญนั้นคือ “ไซอิ๋ว”ผู้ไม่กลัวเกรงต่ออำนาจ ความโหดร้ายของเหล่า ภูติ ผี ปีศาจ 420

   ไซอิ๋ว เป็นการเล่านิยายต่าง ๆ หลายสิบเรื่อง แต่ละเรื่องไม่เหมือนกันแต่ก็มีความต่อเนื่องกัน ประกอบด้วยเรื่องราวของเทพี ภูตผีปีศาจ ยักษ์ต่างๆ รวม 100 ตอน เรื่องแต่ละเรื่องสามารถแยกกันเป็นเรื่องโดยอิสระและสามารถเชื่อมโยงกันได้ตลอดเรื่อง ประกอบเข้าเป็นโลกแห่งเทพนิยายที่มหัศจรรย์ 
   จากการเดินทางสู่นาลันทาตามเส้นทางสายไหม ของหลวงจีน เหี้ยนจัง ต้องผ่านพบอุปสรรและความลำบาก โดยความมุ่งมั่นในพุทธศาสนา จึงสำเร็จการศึกษาจากนาลันทาและนำพระไตรปิฎกเขามาเผยแผ่ในประเทศจีน สู่ การเดินทางในเทพนิยาย ของหลวงจีน เหี้ยนจัง หรือ พระถังซัมจั๋ง นั้น โดยมีศิษย์ทั้งสาม เป็นผู้ต่อสู้กับอธรรมที่เกิดในสังคมจีนในช่วงเวลานั้น การสร้างวีรชนคนกล้าที่เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ปาฎิหารย์ ให้ช่วยเหลื่อการนำธรรมะกลับมาช่วยสังคมจีนในขณะนั้น โดยผ่านอุปสรรคและเล่ห์เหลี่ยม ของเหล่าอธรรม โดยไม่หวาดหวั่น จึงเป็นการเดินทาง อีกครั้งของหลวงจีนเหี้ยนจัง ที่มีอิทธิพลและมีความสำคัญต่อสังคมชาวจีนในเวลาต่อมา การเดินทางทั้งสองครั้งของพระถังซำจั๋งนั้นสงผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชาวจีนเป็นอย่างมากดังที่กล่าวมาร

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พุทธและฮินดู

 ความกลมกลืนในความขัดแย้ง

        สังคมอินเดียประกอบด้วยชนหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา และมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนความเชื่อทางศาสนาที่ต่างกัน แต่ก็เข้ากันและผสมผสานกันได้เป็นอย่างดี เพราะประชาชนมอิสะในการเชื่อ และการเสดงออกซึ่งพฤติกรรมทางความเชื่ออย่างเสรี มีทั้งตรึงเครียด และหย่อนยานในทางปฏิบัติ มีความสุดโต่ง ในหลายรูปแบบ เช่น การเคร่งคระปฏิบัติ จนทรมานร่างกาย ชนิที่มนุษย์ธรรมดาทั่วไปแทบทนไม่ได้ และเสพสุขฟุ้งเฟ้อบรมสุขาวกับมิใช่อยู่ในเมืองมนุษย์
การสังเวยบูชาผีสางเทวดา ด้วยสิ่งของไปจนถึงชีวิตมนุษย์การดำเนินชีวิตของชาวอินเดีย ตั้งแต่เกิดจนตายต้องเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนา ครอบครัวอินเดียเป็นครอบครัวรวม ทั้งญาติโดยสายเลือด และโดยการสมรส จะอาศยรวมอยู่ในเรือนเดียวกัน มีสิทธิในสมบัติของบรรพบุรุษเท่า ๆ กัน บรรดาลูกเลี้ยง คนรับใช้ ข้อทาสบริวารต่าง ๆ ก็นับเป็นสมาชิกในครอบครัวเช่นกัน ดังนั้นครอบครัวฮินดูจึงเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ และเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม
ระบบวรรณะ เป็นระบบที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อชาวอินเดียเป็นอย่างมาก ชาวฮินดุมีความเชื่ว่าระบบวรรณะเป็นบรรชาของพระเจ้า มีลักษณะเป็นสากล
เมื่อศาสนาพุทธเกิดขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปฏิรูปสังคมฮินดูอยางมากในทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่ความเชื่อ พฤติกรรมและแนวทางดำรงชีวิต การเมืองการปกครอง ตลอดจนสถานภาพของบุคคลในสังคมก็มีการเปลี่ยแปลงด้วย
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงประกาศสังสอนแก่ชาวอินเดยในสมัยพุทธกาลเป็นคำส่งสอนทีปฏิเสธความเชื่อถือและพิธีกรรมทางศาสนาของชาวอินเดียทีนับถือฮินดู และลัทธิความเชื่อต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมากมายในสมยนั้น
การคัดค้านเรื่องระบบวรรณะของพระพุทธเจ้า นับเป็นเรื่องใหญ่ของสังคอินเดียในสมัยนั้น พระองค์ทรงเป็นผู้นำในการเลิกถือชั้นวรรณะทำให้ระบบวรรณะ ซึงฝังรากลึกต้องสั่นคลอน
พระพุทธองค์ทรงพบกับการต่อต้านอยางหนักจากพวกวรรณะพราหมณ์ โดยพาะจากพรหมณ์ปุโรหิต ผู้มีอาชีพประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ พุทธศานาสามารถแก้ปัญหาเรื่องระบบวรรณะได้มาในสมยพุทธกาล และสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แต่เมืองพุทธศาสนเสื่อมลงในเวลาต่อมาก็เกิดการร่วมกันต่อต้านพุทธศาสนาจากพวกนอกศาสนา และมีการฟื้นผู สนับสนุนระบบวรรณะให้เฟื่องฟูในสังคมดังเดิม กษัตริย์สมัยนั้นใช้ความเชื่อเรื่องเทวกำเนิดของระบบวรรณะเพื่อรักษาสถานภาพทางสังคมของกลุ่มพระผู้ประกอบพิธีทางศสนาของลัทธิต่าง ๆ และทำให้ฐานะของกษัตริย์มั่คงขึ้นอีกครั้งเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันดังกล่าว ระบบวรรณะจึงยังยืนต่อมา
สังคมพุทธและฮินดู นั้นหากดูผิวเผินแล้วน่าจะไปด้วยกันได้ แต่แท้จริงเข้ากันได้เพียงหลวม ๆ เท่านั้น เมือพุทธศาสนาแพร่ขายไปในดินแดนต่าง ๆ ซึ่งเคยรับอิทธิพลของศาสนพราหมณ์ฮินดูอยูก่นแล้ว จึงกลายเป็นการผสมผสานกนระหว่างพุทธศาสนากับฮินดู ซึ่งจะห็นได้ในสังคมไทยในอดีต อันเป็นสังคมทีผสมผสานกันระหว่างพุทธกับพราหมณ์ จนยากที่จะแยกกันได้ กระทั่งปัจจุบัน







Comparative History

แนวการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ
แนวการวิเคราะห์ลักษณะนี้ไม่ได้เริ่มที่ทฤษฎีหรือให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยการตั้งข้อสมมติฐานในลักษณะต่างๆ แต่ให้ความสนใจกับการเปรียบเทียบวิวัฒนาการของสังคมตั้งแต่สองสังคมขึ้นไป
ผลงานการวิเคราะห์ลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ กล่าวคือ มีการหาข้อมูลมาสนับสนุนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ ปัจจัยที่ให้ความสนใจมากก็คือปัจจัยที่นักวิเคราะห์กระบวนการทางสังคมเพิกเฉย ได้แก่เรื่อง สถาบัน วัฒนธรรม และผู้นำ ตลอดจนรูปแบบต่าง ๆ ของการพัฒนาทางการเมือง
Moore ได้แบ่งกระบวนการที่จะนำบ้านเมืองไปสู่ความทันสมัย 3 รูปแบบคือ การปฏิวัติประชาธิปไตย โดยนายทุนและชนชั้นกลางอย่างในอังกฤษและอเมริกา เริ่มเปลี่ยนแปลงโดยชนชั้นสูงเช่นในเยอรมันและญี่ปุน และการเปลี่ยนแปลงขบวนการชาวไร่ชาวนาอย่างในรัสเซีย และจีน
Black ได้แบ่งขั้นของการเปลี่ยนแปลงไปสูความทันสมัยเป็น 4 ขั้น ซึ่งทุกสังคมจะต้องวิวัฒนาการไปตามขึ้นต่าง ๆ ดังนี้คือ
- การประสบกับสิ่งท้าทายจากความเป็นทันสมัย
- ผู้นำที่มีความเป็นทันสมัยผนึกกำลังเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
- มีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและสังคมจากสังคมชาวไร่ชาวนาแบบชนบท เป็นสังคมอุตสาหกรรมเมืองขึ้นมา
- บูรณภาพแห่งสังคมซึ่งจะเกี่ยวกับการจัดระเบียบโครงสร้างทางสังคมใหม่เพื่อให้รับกับความเป็นทันสมัย
Huntington ให้ความสำคัญกับสถาบันทางการเมืองมาก โดยเขาได้ชี้ให้เห็นว่าสังคมทีเป็นทันสมัยกับสังคมที่พัฒนาแล้วนั้นแตกต่างกันที่สถาบัน กล่าวคือ สังคมที่เป็นทันสมัยอาจมีโครงสร้างทางสังคม เศษฐกิจและการเมืองที่หลายหลากและสลับซับซ้อนสุง มีอำนาจทางเมืองที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยมีเหตุมีผล เป็นอำนาจทางการเมืองแห่งรัฐ มีกฎหมายที่บังคับใช้หรือให้ความเสมอภาคกับบุคคลทุกคนในสังคมและมีการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระดับสูง กระบวนการนี้จะมีผลให้แรงกดดันหรือความตึงเครียดอันเนื่องมาจากการที่ประชาชนเรียกร้องจะเพิ่มมากขึ้น ในการที่สังคมจะอยู่รอดต่อไปได้จึงจำเป็นต้องพัฒนาตนเองโดยการปรับปรุงให้สถาบันทางการเมืองเพียงพอทีจะสนองตอบต่อข้อเรียกร้องที่เพิ่มขึ้นให้ได้
จึงอาจกล่าวได้ว่า เสถียรภาพทางการเมืองขึ้นกับสัดส่วนระหว่างประสิทธิภาพของสถาบันทางการเมือง กับอัตราการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นอง
แนวการศึกษาแบบประวิศาสตร์เปรียบเทียบนี้เริ่มศึกษาที่วิวัฒนาการของสังคม พยายามที่จะจัดแบ่งวิวัฒนาการนี้ออกเป็นแบบแผนต่าง ๆ แล้วสร้างข้อสมมติฐานว่าความแตกต่างกันในแต่ละแบบแผนนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยตัวใดบ้าง แนวการศึกษาแบบนี้จึงให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์ มากกว่าการคิดค้นระบบทฤษฎีที่เป็นนามธรรม หรือหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยการคำนวณเชิงปริมาณ ด้วยเหตุนี้ผลสรุปต่าง ๆ ของแนวการวิเคราะห์แบบนี้จึงมักจะต้องมีการอธิบายกันเป็นตัวอักษร ซึ่งง่ายที่คนโดยทั่วไปจะเข้าใจกว่าการอธิบายโดยใช้ตัวเลขทางคณิตศาสตร์ที่ค่อนข้างจะสลับซับซ้อน










วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

นะบี

   




  นบีมุฮัมมัด

นบีมุฮัมมัดเกิดที่นครมักะหฺ  ค.ศ. 570 บิดาเป็นชาวเผ่ากุเรซ ได้เสียชีวิตตั้งแต่ ทารกยังอยู่ในครรภ์ มารดาเป็นชาวเผ่า ซุหฺเราะหฺ เมือเกิดมาผู้เป็นปู่จึงขนานนามว่า มุฮัมมัด
    เมื่อเกิดเพียงไม่นาน ต้องไปอาศัยกับแม่นำ ซึ่งเป็นประเพณีตั้งเดิมของชาวอาหรับ เมื่อต้องการให้บุตรของตนเติบโตในชนบท เพื่อสัมฟัสกับวัฒนธรรมของชาวอาหรับพื้นเมือง
   เมื่ออายุ 6 ขวบสูญเสียมารดา จึงมาอยู่ในอุปการะของปู่  สองปีต่อมาปู่สิ้นชีวิต จึงมาอยู่ในอุปการะของลุง ซึ่งเป็นผู้มีเกิยรติคนหนึ่งในเผ่ากุเรช
   มุฮัมมัดไม่รู้หนังสือเหมือนกับชาวอาหรับทั่งไป ท่านอ่านและเขียนไม่ได้ ในวัยหนุ่มได้รับการยกย่องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์ แต่งงานเมื่ออายุ 25 กับเศรษฐีนีผู้เป็นหม้าย ผู้ได้ยินกิตติศัพท์แลห่งคุณธรรม และความสามารถในการค้าขาย และมีอายุแก่กว่า ท่าน 15 ปี ทั้งสองได้ใช้ชีวิตครองคู่กันเป็นเวลา 25 ปีมีบุตรีด้วยกับ 4 คน
    อายุ 30 ปี ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในสหพันธ์ฟุดูล อันเป็นองค์การพิทักษ์สาธารณภัยประชาชน
    อายุ  35 ปี เกิดมีกรณีขัดแย้งในการบูรณะกะอฺบะหฺ ในเรื่องที่ว่าผู้ใดที่จะเป็นผู้นำหิน  อัลฮะญัร อัลอัสวัด ไปประดิษฐานไว้ที่เดิม อันเป็นเหตุให้คนทั้งเมืองเกือบจะรบราฆ่าฟันกันเอง เพราะแย่งหน้าที่อันมีเกียรติ หลังจากถกเถียงในที่ประชุมเป็นเวลานาน จึงมีมติว่า ผู้ใดก็ตามที่ที่เป็นครแรกที่เข้ามาใน อัลมัสญิด อัลฮะรอม ทางประตูบะนีชัยบะหฺ ในวันนั้นจะเป็นผู้ชี้ขาดว่าจะทำอย่างไร ปรากฎวาม มุฮัมมัด เป็นคนเดินเข้าไปเป็นคนแรก ท่านจึงมีอำนาจในการชี้ขาด โดยท่านเอาผ้าผืนหนึ่งปูลง แล้วท่านก็วางหินดำลงบนฝืนผ้านั้น จากนั้นก็ให้หัวหน้าตระกูลต่าง ๆ จับชายผ้ากันทุกคน แล้วยกขึ้นพร้อม ๆ กัน เอาไปใกล้ ๆ สถานที่ตั้งของหินดำนั้น แล้วท่านก็เป็นผู้นำหินดำนั้นไปประดิษฐานไว้ ณ ที่เดิม
 
       เมื่ออายุ 40 ปี ท่านได้รับ วะฮฺยู(การวิวรณ์)จากอัลลอหฺพระผู้เป็นเจ้า ในถ้ำฮิรออ์ ซึ่งอยู่บนภูเขาลูกหนึ่งนอกเมืองมักะหฺ โดยทูตสวรรค์ญิบรลเป็นผู้นำมาบอกเป็นครั้งแรก เรียกร้องให้ท่านรับหน้าที่เป็นผู้เผยแผ่ศาสนาของอัลลอหฺ ตามที่ศาสดามูซา(โมเสส)และอีซา (เยซู) เคยทำมา นั้นคือประกาศให้มาลมนุษย์นับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว ท่านได้รับพระโองการติดต่อกันเป็นเวลา 23 ปี พระโองการเหล่านี้รวบรวมขึ้นเป็นเล่นเรียกว่าคัมภีร์ อัลกุรอาน
  นมุสลิมถูกคว่ำบาตรไม่สามารถทำธุรกิจกับผู้ จนต้องอดอยากเพราะขาดรายได้และไม่มีที่จะซื้ออาหาร
  ปีที่ 5 หลังสาส์นอิสฃาม สาวกกลุ่มหนึ่งต้องหนีออกจากมักกะหฺเข้าลี้ภัยในอบิสสิเนีย
  ปีที่ 10 หลังสาส์นอิสลาม เป็นปีแห่งความโศกเศร้า เนื่องจาก ภรรยาของผู้เป็นลุงผู้ให้การอุปการะได้เสียชีวิต

 ปีที่ 11 ชาวมะดีนะหฺ 6 คน เข้าพบท่านศาสดาเพื่อขอรับอิสลาม ในปีที่ 12 ชาวมะดีนะหฺ 12 คน เข้าพบท่านศาสดาเพื่อทำสัญญาอัลอะกอบะหฺครั้งที่ 1  โดยให้สัตยาบันว่าจะเคารพภักดีอัลลอหฺเพียงองค์เดียว และในปีที่ 13 มีชาวมะดีนะหฺ 75 คน เข้าพบท่านศาสดาเพื่อทำสัญญา อัลอะกอบะหฺ ครั้งที่ 2 โดยให้สัตยาบันว่าพวกเขาจะสนับสนุนและช่วยเหลือท่าน ศาสดาพร้อมทั้งบรรดาศอฮาบะหฺที่อพยพไปอยู่ที่มะดีนะหฺ
   ท่านศาสดาอพยพจากมักกะหฺโดยมีอะบูบักรฺร่วมเดินทางไกลด้วย มุสลิมจึงถือเอาการอพยพเป็นจุดเริมของศักราชอิสลาม ซึ่งเรียกว่า ฮิจญเราะหูศักราช
   ท่านจัดการทั้งปวงที่มะดีนะห์ เวลาผ่านไป 8-10 ปี เมื่อพร้อมแล้ว ท่านจึงนไกลังคน 10,000 ยกไปมักกะห์ พวกมักกะห์ออกมายอมสยบ ท่านสัญญาจะนิรโทษให้ ในการเข้าเมืองมักกห์ครั้งนี้ทั้งสอลฝ่ายมีผู้ล้มตายเพียง 30 คน ท่านนบีมุฮัมมัดจัดการการปกครองในมักกะห์เรียบร้อย แล้วเผยแพร่อิสลามต่อไป และในอีก 2 ปีต่อมาจึงขยายเข้าสู่ซีเรียและอิรัก
   เมือท่านอายได้ 65 ปี จึงเสด็จสู่สวรรค์ โดยชาวมุสลิมถือว่าท่านขึ้นสู่สวรรค์ที่เมืองเยรูซาเล็ม






     นิตยสาร TIME ฉบับวันที่ 15 กรกฎาคน 1974 หน้า 32-33 ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง Who Were History 's Great Leaders? ใครคือผู้นำ ที่ยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์? โดยนักจิตวิเคราะห์ชาวอเมริกัน คือ จูลส์ มาสเซอร์แมน Jules Masserman โดยวางเกณฑ์กล้าง ๆ ในกาคัดเลือไว้ว่าผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลได้นั้น จะต้องปฏิบัติหน้าที่ 3 ประการต่อไปนี้ได้สำเร็จ นั่นคือ
     1 ให้ความเป็นอยู่ที่ดีแก่ผู้ใต้ปกครอง
     2 สร้างระเบียบทางสังคมที่่ทำให้คนที่อยู่อาศัยในนั้นมีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
     3 สร้างระบบความเชื่ออย่างหนึ่งให้แก่สังคม

นายจูลส์ มาสเซอร์แมนได้ให้ความเห็นโดยอาศัยหลักเกณฑ์ดังกล่าว และสรุปว่าผู้ที่ปฏิบัติได้ครบหลักเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อ และดีกว่านั้น คือ นบีมุหัมหมัด
      หลังจากนั้นอีกสี่ปี  ในปี ค.ศ. 1978 มีหนังสืออกมาอีกเล่มชือ The 100 - A Ranking of The Most Influential Persons in History 100 ลำดับบุคคลผุ้มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งเปขียโดย ไมเคิล เอช.ฮาร์ท  Michael H. Hart นักดารารศาสตร์ชาวอเมริกันและเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดเล่นหนึ่งในเวลานั้น หนังสือเล่นนนี้ได้จัดลำดับบุคคลสำคัญ ๆ ในแขนงสาขาต่าง ๆ จำนวน 100 คนที่เห็นว่าเป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ โดย 10 อันดับแรก มีดังนี้

1 นบีมุฮัมมัด                                                       6 เซนต์ ปอล
2 ไอเเซค นิวตัน                                                  7 ไซหลุน
3 พระเยซูคริสต์                                                   8 โยฮาน กูเต็นเบิร์ก
4 พระพุทธเจ้า                                                     9 คริสโตเฟอร์  โคลัมบัส
5 ขงจื้อ                                                    และ    10 อับเบิร์ต ไอน์สไตน์






และได้แสดงความเห็นไว้หลายแงหลายมุม อาทิ
- เป็นผู้เดียวในประวัติศาสตร์โลกที่ประสบความสำเร็จสูงสุดทั้งในด้านศาสนาและด้านโลกวัตถุ ( หน้า 4,33)
- เป็นผู้ที่รวมอาหรับได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โดย ตัวท่านเองและความศรัทธาอันแข็งแกร่งในพระเจ้าทที่แท้จริงแต่เพียงพระองค์เดียว(หน้า 34-35)
- เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอิสลาม "ประการแรก นบีมุฮัมมัดมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอิสลาม ในคริสตศาสนานั้นผู้มีบทบาทในการพัฒนาศาสนาคริสต์คือ เซนต์ ปอล ที่เป็นผู้พัฒนาวิชาการคริสตศาสนาและเป้ฯผู้เปลี่นยแปลงศาสนาที่สำคัญและเป็นผู้เขียนเนื้อหาส่วนใหญ่ของคัมภีร์ใหม่
   นบีมุฮัมมัดเป็นผู้รับผิดชอบต่อทั้งศาสนศาสตร์และหลักการทางศัลธรรมและจริยธรรมของอิสลาม นอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นผู้มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อใหม่และการวางรากฐานการปฏิบัติศาสนกิจของอิสลามด้วย" (หน้า39)
- เป็นผู้นำทางโลกและทางศาสนาที่มีอิทธพลยิ่งใหญ่ อัรกุรอานเป็นสิ่งสำคัญต่อมุสลิม อิทธิพลของนบีมุฮัมมัดผ่านทางคัมภีร์กุรอานจึงมีความิย่งใหญ๋มาก เป็นพลังผลักดัยอยู่เบื้องหลังการพิชิตของชาวอาหรับ หากกล่าวอีกนัยหนึ่ง นบีมุฮัมเป็นผู้มีอิทธิพลต่อมุสลิมในการพิชิตต่างๆ ของมุสลิม โดยผ่านอัรกุรอ่าน ซึ่งเป็นแง่มุมทั้งทางโลกและทางศาสนา(หน้า 39-40)
- บุคคลเดียวที่มีอิทธพลที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ "ดังนั้น เราจะเห็นว่าการพิชิตของของพวกอาหรับในศตวรรษที่ 7 ยังมีบทบาทสำคัญต่อไปในประวัติศาสตร์มนุษยชาติเรื่อยมากระทั้งปัจจุบัน" "การรวมกันของอิทธิพลทางโลกและศาสนาอย่างไม่มีอะไรมาเสมอเหมือนได้นี้เองที่ทำให้ผมรู้สึกว่านบีมุฮัมมัดสมควรที่จะถูกพิจารณาว่าเป็นบุคคลเดียวที่มีอิทธิพลที่สุดในประวัิติศาสตร์มนุษยชาติ"(หน้า 40)



วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

South-East Asian Game

     กีฬาซีเกมส์ เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างกลุ่มประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะววันออกเฉียงใต้  ซึ่งจัดขึ้นในทุกสองปี (ปีเว้นปี) ดำเนินการแข่งขันโดย สมพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้การกำกับดูแลของ คณะกรรมการโอลิมปิกสากล และสภาโอลิมปิกแป่งเอเชีย

     ประเทศสมาชิกประกอบด้วย
1.  ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา 2. ธงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ลาว           3.ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย
4.ธงของสหภาพเมียนมาร์ พม่า       5.ธงของประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์      6.  ธงชาติของไทย  ไทย    
7. ธงของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม  เวียดนาม 8. ธงของประเทศบรูไนดารุสซาลาม บรูไน   9.ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนิเซีย

10.ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์  11.ธงชาติของประเทศติมอร์ตะวันออก ติมอร์ตะวันออก

การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ในครั้งแรกเริ่มนั้นใช้ชื่อว่ากีฬาแหลมทอง โดยมีจุดเริ่มต้นเมืองวันที่ 22 พฤษภาคน พ.ศ. 2501 องค์กรการกีฬาของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เข้าร่วมการแข่งขันดีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 3 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกันจัดการประชุม เพื่อก่อตั้งองค์กรการกีฬาระดับภูมภาค โดยหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ อดีตรองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแป่งประเทศไทย และผุ้ก่อตั้อองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ( การกีฬาแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน) เสนอว่าควรจัดการแข่งขันกีฬา ระหว่างประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสนับสนุนความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
   

  สหพันธ์กีฬาแหลมทอง (SEAP Games Federation) จึงถือกำเนิดขึ้น โดยมีคณะกรรมการสมาชิกผุ้ก่อตั้ง ประกอบด้วย ไทย,มลายา,เวียดนามใต้,ราชอาณาจักรลาว,พม่า,ราชอาณาจักรเขมร, (สหลังจกนั้น สิงคโปร์จึงเข้าร่วมเป็นสมาชิก)

       เซียบเกมส์ ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 12-17 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ในปี พ.ศ. 2520 จึงเปลี่ยนชื่อสมาพันธ์ เป็น สมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และชื่อการแข่งขันเป็น กีฬาซีเกมส์  ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพรวม 6 ครั้ง ครั้งล่าสุดเมืองปี 2550 เป็นการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 24 จัดขึ้นที่นครศรีธรรมราช
   
        ส่วนการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 27 ปี 2013  ที่จะมาถึงนั้นจัดขึ้นที่ประเทศพม่า ณ กรุง เนปิดอ "เนปิดอ เกมส์" โดยจะกรจายแข่งขันทั้งหมด 4 เมือง  ซึ่งจะเปิดฉากขึ้น ณ กรุงเนปอดอ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ในวันที่ 11 ธ.ค. 2013

Sun Wu :Lesson 5

     อันการปกครองไพร่พลมาก ให้เสมือนหนึ่งปกครองไพร่พลน้อย ก็ด้วยการจัดกำลังพล การบัญชาไพร่พลมาก ให้เสมือนหนึ่งบัญชาไพร่พลน้อย ก็ด้วยการจัดอาณัติสัญญาณ
     ไพร่พลสามทัพมิพ่ายเมือสู้ข้าศึก ก็ด้วยการรบสามัญและพิสดารการุกรบข้าศึกา ประหนึ่งเอาหินทุ่มไข่ ก็ด้วยการใช้แข็งตีอ่อน

     อันการรบนั้น สู้ศึกด้วยรบสามัญ ชนะด้วยรบพิสดารฉะนั้นผู้สันทัดการรบพิสดาร จักไร้สิ้นสุดดุจฟ้าดิน จักมิเหือดแห้งดุจสายน้ำ จักหยุดหรือหวนรบดุจเดือนตะวัน จักตายหรือกลับฟื้นดุจฤดูกาล
     เสียงมีเพียงห้าเสียง ห้าเสียงพลิกผัน จึงฟังมิรู้เบื้อ
     สีมีเพียงห้าสี ห้าสีพลิกผัน จึงดูมิรู้หน่าย
     รสมีเพียงห้ารส ห้ารสพลิกผัน จึงลิ้มมิรู้จาง
     สถานะศึกมีเพียงสามัญ และพิศดาร สามัญและพิศดารพลิกผัน จึงเห็นมิรู้จบ สามัญและพิศดารพัวพันหันเหียน ดุจวงกลมที่มิมีจุดเริ่มต้น จักมีที่สิ้นสุดได้ไฉน ?
     ความแรงของกระแสน้ำไหลเชี่ยว สามารถพัดหินลอยเคลื่อน นี้คือพลานุภาพ
     ความเร็วยามเหยี่ยวบินโฉบ สามารถพิชิตส่ำสัตว์ นี้คือช่วงระยะ
     เหตุนี้ ผู้สันทัดการรบ จึงมีพลานุภาพเหี้ยมหาญ มีช่ววงระยะสั้น พลานุภาพเหมือนหนึ่งเหนี่ยวน้าวเกาทัณฑ์  ช่วงระยะเหมือนหนึ่งปล่อยเกาทัณฑ์สู่เป้าหมาย

     การรบจักซับซ้อนสับสน แม้อลหม่านก็มิควรระส่ำระสายการรบจักชุลมุนวุ่นวาย หากขบวนทัพเป็นระเบียบก็จะมิพ่าย
     ความวุ่นวายเกิดจากความเรียยบร้อย ความขลาดกลัวเกิดจากความกล้าหาญ ความอ่อนแอเกิดจากความเข้มแข็ง จักเรียบร้อยหรือวุ่นวาย อยู่ที่การจัดกำลังพล จักกล้าหาญหรือขลาดกลัว อยู่ที่พลานุภาพ จักอ่อนแอหรือเข้มแข็ง อยู่ที่รูปลักษณ์การรบ

     ฉะนั้น ผู้สันทัพการเคลื่อนทัพข้าศึก พึงสร้างรูปลักษณ์ให้ข้าศึกต้องคล้อยตาม พึงวางเหยือล่อ ให้ข้าศึกรีบฉวย ให้หวั่นไหวด้วยผลประโยชน์ จึงพิชิตด้วยกำลัง
      ฉะนั้น ผู้สันทัพการรบ พึงแสวงหาจากพลานุภาพ มิพึงเรียร้องจากผุ้อื่น จึงจะสามารถเลือกเฟ้นคนซึ่งใช้พลานุภาพเป็นผู้ใช้พลานุภาพจักประหนึ่งรุนท่อนซุงและก้อนหิน ธรรมชาติของท่อนซุงและก้อนหิน อยู่ที่ราบก็นิ่ง อยู่ที่ลาดก็เคลื่อน ที่เป็นเหลี่ยมก็หยุดที่กลมเหลี้ยงก็กลิ้ง พลานุภาพของผุ้สันทัดการรบ จึงประดุจผลักหินกลมลงจากภูเขาสูงแปดพันเซียะ นี้ก็คือพลานุภาพ

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...