วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ยวนฉาง
หลวงจีน เหี้ยนจัง หรือยวนฉาง หรือที่รู้จักกันในนามว่า "พระถังซำจั๋ง" จะไปสืบพระไตรปฎกที่อินเดีย(พูดกันแบบภาษาชาวบ้านว่าไปไซที คือไปแดนตะวันตก)ได้จาริกจากรุงจีน ผ่านทาง โยนก คันธาระ กัศมีระ (คือ อัฟกานิสถาน ปากีสถาน และอินเดียพายัพปัจจุบัน) ที่เมืองจีนเวลานั้นตรงกับรัชสมัยพระเจ้าถังไทจง
หลวงจีนเหี้ยนจังได้ศึกษาที่มหาวิทยาลัย”นาลันทา”จนจบแล้วสอนทีนั้นระยะหนึ่ง จึงนำคัมภีร์พระไตรปิฎกเป็นต้น จำนวนมาก เดินทางกลับมาถึงเมืองเชียงอาน ฉางอาน ท่านได้รับการต้อนรับยกย่องอุปถัมภ์อย่างดีจากองค์พระจักรพรรดิ์ และทำงานแปลพระไตรปิฎกสังสอนธรรมกระทั้งมรณะภาพ
พระเสวียนจั้ง (ค.ศ. 602-664) หรือเป็นที่รู้จักในยายไซอิ๋วว่า พระถังซัมจั๋ง เป็นพระที่บำเพ็ญ ศีล สมาธิ ปัญญา มาแต่เยาว์ แต่ยังมีสิ่งที่ค้างอยู่ในใจ คือการเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎก ณ ชมพูทวีปเมืองเติบใหญ่ขึ้นจึงได้ออกเดินทาง โดยได้เขียนเป็นบัญทึกการเดินทางไว้ด้วย ซึ่งบันทึกการเดินทางไว้ด้วย หรือ จดหมายเหตุการเนทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง โดยจะเล่าถึงการเดินทางที่ไปพบปะกับภูมิประเทศที่แตกต่างออกไป สภาพผู้คน วัฒนธรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ รวมไปถึงการทหาร การเมืองการปกครอง
ต่อมาสมัยหมิง อู๋เฉิงเอิน ได้ประพันธ์เรื่อง “ไซอิ๋ว” อันเป็นเทพนิยายที่ประสบความสำเร็จมากทีสุดเรื่องหนึงของจีนนำเรื่องพระถังซัมจั๋ง มาเป็นเค้าเรื่อง สมมุติเรื่องราว ความยากลำบากและอุปสรรคต่างๆ นานา ที่พระถังซัมจั๋งและบริวารทั้งสามได้พบในระหว่างเดินทางไกลไปอัญเชิญพระไตรปิฎก
อู๋เฉิงเอิน (ค.ศ. 1506-1582) สมัยราชวงศ์หมิง เกิดในมลฑลเจียงซู เป็นคนมีพรสวรรค์ตั้งแต่เด็ก มีความสนใจในเรื่องราวต่าง ๆ อย่างกว้างขวางและมากความสามารถในศิลป์แขนงต่าง ๆ เขาเขียน “ไซอิ๋ว” เสร็จสิ้นในช่วงบั้นปลายของชีวิต โดยทำการเก็บเกี่ยวประสบการณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตั้งแต่วัยหนุ่ม
ไซอิ๋วจึงเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนสะภาพสังคมในสมัยนั้น เกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมต่าง ๆ ในสังคมโดยให้เปรียบเป็นภูมิผีปีศาจต่าง ๆ ทำการขัดขวางการเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นฝ่ายคุณธรรม โดยตัวละครที่สำคัญนั้นคือ “ไซอิ๋ว”ผู้ไม่กลัวเกรงต่ออำนาจ ความโหดร้ายของเหล่า ภูติ ผี ปีศาจ
ไซอิ๋ว เป็นการเล่านิยายต่าง ๆ หลายสิบเรื่อง แต่ละเรื่องไม่เหมือนกันแต่ก็มีความต่อเนื่องกัน ประกอบด้วยเรื่องราวของเทพี ภูตผีปีศาจ ยักษ์ต่างๆ รวม 100 ตอน เรื่องแต่ละเรื่องสามารถแยกกันเป็นเรื่องโดยอิสระและสามารถเชื่อมโยงกันได้ตลอดเรื่อง ประกอบเข้าเป็นโลกแห่งเทพนิยายที่มหัศจรรย์
จากการเดินทางสู่นาลันทาตามเส้นทางสายไหม ของหลวงจีน เหี้ยนจัง ต้องผ่านพบอุปสรรและความลำบาก โดยความมุ่งมั่นในพุทธศาสนา จึงสำเร็จการศึกษาจากนาลันทาและนำพระไตรปิฎกเขามาเผยแผ่ในประเทศจีน สู่ การเดินทางในเทพนิยาย ของหลวงจีน เหี้ยนจัง หรือ พระถังซัมจั๋ง นั้น โดยมีศิษย์ทั้งสาม เป็นผู้ต่อสู้กับอธรรมที่เกิดในสังคมจีนในช่วงเวลานั้น การสร้างวีรชนคนกล้าที่เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ปาฎิหารย์ ให้ช่วยเหลื่อการนำธรรมะกลับมาช่วยสังคมจีนในขณะนั้น โดยผ่านอุปสรรคและเล่ห์เหลี่ยม ของเหล่าอธรรม โดยไม่หวาดหวั่น จึงเป็นการเดินทาง อีกครั้งของหลวงจีนเหี้ยนจัง ที่มีอิทธิพลและมีความสำคัญต่อสังคมชาวจีนในเวลาต่อมา การเดินทางทั้งสองครั้งของพระถังซำจั๋งนั้นสงผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชาวจีนเป็นอย่างมากดังที่กล่าวมาร
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น