วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555
Congress of Vienna
ออสเตรียเข้ามามีบทบาทสำคัญตั้งแต่การขัดแย้งระหว่างนโปเลียน และรัสเซีย-ปรัสเซีย ความเกรงกลัวการขยายอำนาจของอเล็กซานเดอร์ที่ 1 ซาร์แห่งรัสเซีย แมททอนิค ไม่เห็นทางใดที่พอจะสกัดอิทธิพลของรัสเซียได้ เขาพยายามสร้างระบบพันธมิตรขึ้นต่อสู้ด้วยมุ่งหวังจะสกัดกั้นอิทธิพลของรัสเซีย แมทเทอนิคทำทุกวิถีทางเพื่อดึงปรัสเซียและรัฐเยอรมันอื่น ไ ให้หลุดพ้นจากอิทธิพลของรุสเซีย และเขาสำนึกถึงความแข็งแกร่งของอังกฤษและอิทธิพลที่จะมีต่อที่ประชุมสันติภาพ เขาจึงตระเตรียมลู่ทางแม้แต่การใช้การเกี่ยวดองระหวางราชวงศ์แฮปสเบิร์กและนโปเลียนมาเป็นเครื่องมือ
กษัตริย์ปรัสเซียไม่สนพระทัยที่จะต่อสู้เพื่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด พระเงค์เป็นบุคคลที่ไม่ทำสิ่งใดให้เด็ดขาดชอบนโยบายหลาง ๆ เข้ากับทั้งสองฝ่าย ทุกอยางขึ้นอยู่กับคณะผู้แทนมากกว่ากษัตริย์
อังกฤษเป็นประเทศที่ต้องจ่ายเงินเกือบทั้งหมดในการรบกับนโปเลียนจึงดูเหมือนเป็นเสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมแต่การไม่เป็นดังนั้นท่าที่ของอังกฤษไม่แน่นอน ว่ากันว่าสัญญาได้เซ็นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อังกฤษมาเจรจาเพี่ยงเรื่องเงิน ผลประโยชน์ในสเปนชิชิลี แฮนโนเวอร์ และที่สำคัญคือปัญหาเบลเยี่ยมแทบจะไม่ได้พูดถึง
คาลเลย์รอง เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนของฝรั่งเศส เป็นผู้ร่วมกระทำการก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศส สนับสนุนนโปเลียน และฟื้นฟูอำนาจบูร์บองขึ้นมาอีก คณะผู้แทนใช้ความพยายามเพื่อผลประโยชน์ของฝรั่งเศส และกว่าได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างยิงใหญ่
ผู้นำสำคัญอื่นๆ ซาร์แห่งรัสเซียเป็นบุคคลที่ลึกลับมากที่สุดและเป้นผู้กระตุ้นให้คิดถึงเสรีนิยมมากที่สุด แมททอนิคเป็นลักษณะของพวกปฏิกริยา ดื้อดึงจะทำลายความหวังทุกสิ่งถ้าเกี่ยวกับเสรีนิยม คาสิซิลรี แสดงบุคลิกของความต้องการประนีประนอมและการเดินสายกลามมากที่สุดเพราะผลประโยชน์ทางการค้าของอังกฤษขึ้นอยู่กับความสงบของยุโรป ตาลเลย์รองด์เป็นคนที่มีชั้นเชิงมากที่สุดและรู้จุดหมายปลายทางที่แน่นอนของตน พยายามทุกทางที่จะรักษาและแสวงหาผลประโยชน์เพื่อประเทศฝรั่งเศส
สนธิสัญญาโชมองด์ ชาติต่าง ๆ ที่ร่วมรบต่อต้านอำนาจของนโปเลียนได้ประชุมกันครั้งแรกที่โซมองด์ อังกฤษ ออสเตรีย รัสเซียและปรัสเซียได้ตกลงเซ็นสัญญากัน โดยให้คำมั่นสัญญาต่อกันและกันว่านโปเลียนเป็นมหาศัตรูของความสงบในยุโรป จึงจะรวมกันทำการรบต่อสู้กับนโปเลียนจนถึงที่สุดและจะคงไว้ซึ่งสัมพันธมิตรเป็นเวลาอีก 20 ปี จะมีการเจรจาเรื่องดินแดและการเมืองอื่นๆ หลังจากที่ชนะนโปเลียนได้แล้ว และตกลงกันจะฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บอง …
เมื่อกองทัพนโปเลียนพ่ายแพ้ สัมพันธมิตรเข้ายึดปารีส นโปเลียนสละบัลลังก์และถูกกุมขังที่เกาะเอลบา ฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งสี่จึงเซนสัญญาสงลศึกกับฝรั่งเศส การสืบราชสมบัติฝรั่งเศสในครั้งแรกมีความเห็นแตกแยกกันในหมู่สัมพันธฒิตร อังกฤษยินดีสนับสนุนพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 เพราะได้เสด็จลี้ภัยมาประทับในประเทศตน ส่วนนโปเลียนได้มอบราชสมบัริให้แก่พระโอรสคือราชาแห่งโรม และของให้พระราชินีมารีหลุยส์เป็นผุ้สำเร็จราชการ จึงเป็นที่แน่นอนว่าออสเตรียจะต้องเสนอราชาแห่งโรมเป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศส ซาร์อเล็กซานเดอร์ยังคงไม่ติดสินพระyทยแน่นอนว่าจะสนับสนุนผู้ใด แต่คาลเลย์รองด์เป็นจักรกลสำคัญในฐบาลชุดใหม่มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลังซาร์แห่งรัสเซีย และเพราะท่าทีที่ไม่แน่ใจของออสเตรียจึงทำให้เพราะเจ้าหลุยส์ได้รับตำแหน่างพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในที่สุด
จากสัญญาสงบศึกแห่งกรุงปารีสฉบับที่ 1 การเจรจาของดาลเลย์รองด์ได้ทำให้ฝรั่งเศสซึ่งอยู่ในฐานะผู้แพ้มิได้เสียดินแดนของตนเลย และยังกลับได้เพิ่มอีก 150 ตารางไมล์ และพลเมืองอีก 450,000 คน แต่ฝรั่งเศสจำต้องเสียดินแดนอื่นๆ ที่เคยอยู่ในอารักขาของอาณาจักรนโปเลียน ได้แก่ ฮอลแลนด์ เบลเยี่ยม และดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำไรท์ และรัฐต่าง ๆ ในแหลมอิตาลีและสวิสเซอร์แลนด์
สิ่งที่ควรสรรเสริญในความสามารถของตาลเลย์รองด์คือ ฝรั่งเศสจะไม่ต้องถูกปลดอาวุธไม่ถูกยึดครอ และไม่ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามอีกด้วย เมื่อสัญญาได้ตกลงกันถึงฐานะของฝรั่งเศสเรียบร้อยดังนี้แล้ว ปัญหาสำคัญที่จะต้องพูดถึงคือเรื่องดินแดนที่ได้กลับคืนมาจากฝรั่งเศส ควรจะแบ่งกลับคืนไปให้กับเจ้าของเดิมก็เป็นทางที่ง่ายดี แต่เมื่อถึงเวลาจะปฏิบัติเข้าจริงเป็นสิ่งลำบากมากเพราะนโปเลียนได้เปลี่ยนการแบ่งปันหลายครั้งด้วยกัน จนบางแห่งเหลือที่จะตกลงกันได้วาใครจะเป็นเจ้าของเดิมจึงนับเป็นการยุ่งเหยิงที่สุด จึงตกลงกันว่าจะต้องเปิดการประชุมที่กรุงเวียนนาให้พร้อมเพียงกัน
เมื่อมหาอำนาจทั้งสี่ตกลงเรียกบรรดาชาติต่าง ๆ มาประชุม ฝรั่งเศสนำโดย ตาลเลย์รองด์อ้างว่าฝรั่งเศสไม่สมควรจะถูกกีดกัน โดยข้อตัดสินทุกสิ่งจึงอยู่กับประเทศทั้งห้าหรือ The Big Five นั่นเอง
ในระหว่างเจรจานโปเลียนอาศัยโอกาศเสด็จหนีจากเกาะเอลบาที่เรียกว่าการกลับคืนสู่อำนาจร้อยวันและนโปเลียนก็แพ้สงครามอีกครั้ง ปารีสถูกยึด สัญญาปารีสฉบับที่ 2 ถูกเซ็นภายหลังการรบที่วอเตอร์ลู ฝรั่งเศสสูญเสียดินแดนที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และค่าปฏิกรรมสงคราม จำนวน 700 ล้านฟรังส์
การปรับปรุงเรื่องอาณาเขต
สันติภาพอันถาวรเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ ผุ้แทนขบปัญหาว่าจะทำอย่างไรจะป้องกันการรุกรานของฝรั่งเศสได้ ทำอย่างไรจะแบ่งดินแดนที่ได้มาจากการสงครามในหมู่มหาอำนาจโดยให้เป็นที่ยอมรับกันทั่งไป เพื่อจะให้ไปถึงจุดมุ่งหมายจะต้องคำนึงถคงดุลย์แห่งอำนาจ
แผนที่ใหม่ของยุโรปเท่ากับเป็นอนุสาวรีย์สำหรับการพ่ายแพ้ของฝรั่งเศส และเป็นผลจากการไม่ไว้วางใจในการคงอยู่ของฝรั่งเศสในยุโรป ทุกประเทศมั่นใจว่าจะจำกัดการขยายอำนาจของฝรนั่งเศสได้ และการเปลี่ยนแปลก็เกิดขึ้นจริงๆ แต่เป็นเหตุจากสิ่งภายนอกซึ่งจะมามีผลต่อประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสต่อไป..
ปัญหายุ่งยากของคองเกรศในเวียนนา คือปัญหาเยอรมนี เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ที่อยู่ระหว่างรุสเซียและฝรั่งเศส นอกจากสกัดการขยายอำนาจจากประเทศทั้งสองแล้วยังเป็นรัฐกันชนอีกด้วย
รัฐเยอรมันต้องการจะเป็นสาธราณรัฐแบบสหรัฐอเมริกา การรวมกันแบบหลวมๆ จะทำให้แต่ละรัฐมีอิสระในการปกครอง แต่ปรัศเซียและออสเตรียไม่ต้องการเช่นนั้น เพราะเกรงจะกลายเป็นพลังการเมืองอันที่สาม Third Germany ขึ้นมาแข่งขัน และในที่สุด ทั้งออสเตรียและปรัสเซียรวมกันแบบหลวมๆ โดยมีไดเอทของสหรัฐออสเตรียได้รับตำแหน่งนายก และมีศาลพิเศษขึ้นโดยไดเอทสำหรับพิจารณาความ..
ดุลแห่งอำนาจ นโยบายหลักของยุโรปในศตวรรษที่ 18 คือป้องกันมิให้ประเทศใดประเทศหนึ่งเข้ามาเป็นผู้บงการยุโรป ถ้าเมื่อใดดุลแห่งอำนาจถูกทำลายการร่วมมือกันของสัมพันธมิตรจะเกิดขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ดุอำนาจนั้นเสียไป ซึ่งผลที่เกิดขึ้นก็คือในบางครั้งมิใช่ป้องกันสงครามแต่เป็นการนำไปสู่สงคราม..ความต้องการของแต่ละประเทศ และคการปกป้องผลประโยชน์ของแต่ละประเทศนำมาซึ่งความขัดแย้งและเกือบจะถึงขั้นแสดงออกอย่างชัดเจน วิธีการตกลงเรื่องดินแดนนี้มีผลทำให้ไม่มีผู้มีอำนาจเหนือยุโรปตะวันออกแต่โดยลำพัง หลักการดุลแห่งอำนาจที่เกิดขึ้นอีครั้งในคองเกรศแห่งเวียนนาจึงมีความแข็งแกร่งอย่างยิ่ง
คองเกรสแห่งเวียนนาเป็นผลลัพธ์ที่สับสนของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความแตกแยกกัน หลักการเรื่องการสืบราชสมบัติซึ่งได้หลายมาเป็นพื้นฐานของระบบการปกครองของแต่ละประทเศก็เป็นสิ่งแสดงออกอีกครั้งหนึ่งในระบบสัมพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิของพระเจ้าซาร์ ที่ระบุถึงความคิดเรื่องราวความเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวคริสเตียน จะให้อยู่กันอยางฉันท์พี่น้องภายใต้การปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ในอีกแง่หนึ่งเพื่อจะรักษาดุลแห่งอำนาจด้วยการตัดแบ่งดินแดนทอนอำนาจซึ่งกันและกัน กลับมิได้คำนึงถึงจิตใจของกษัตริย์เหล่านั้นซึ่งผลลัพธ์เกิดในสิ่งตรงข้ามทำให้มีการแข่งขันกันเพิ่มขึ้นสัมพันธมิตรสี่เส้าซึ่งเป็นแผนการณ์ของมหาอำนาจที่จะปรับสถานะอำนาจให้เข้าสู่ดุลและเพ่แก้ปัญหาการขัดแย้งอันอาจจะเกิดขึ้น ได้แสดงออกเช่นเดียวกันในการจะจัดรูปแบบของดินแดนในอารักขาให้สมดุล แต่การละทิ้งปัญหาภายในทำให้เกิดเป็นช่องว่างขึ้น..
ภายหลังจากสงครามนโปเลียนอันยาวนานส้นสุดลงยุโรปต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก การกสิกรรมตกต่ำอย่างน่าใจหายทั้งในอังกฤษและยุโรปโดยทั่วไปผลของเศรษฐกิจตกต่ำได้แพร่ขยายมาถึงการอุตสาหกรรมและการค้า ธนาคารและบริษัทการค้ามากมายอยู่ในสภาพล้มละลายต้องเผชิญกับอัตราภาษีที่สูงลิบลิ่ว อัตราคนว่างงานสูงขึ้น ศ่งเหล่านี้ทำให้ประชาชนเสื่อมความนิยมในระบบใหม่ และทำให้เห็นความจำเป็ฯของขบวนการที่รุนแรงซึ่งระบบกษัตริย์ไม่กล้าพอที่จะนำมาใช้ระยะเวลาร้อยปีเป็นเวลาทีจะแสวงหาความความสมดุลย์ของพลังต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม และพลังดังกล่าวอยู่ในสภาพที่รุนแรงอาจเกิดเป็นการปฏิวัติได้ทุกระยะ/-ภ
วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
Napoleon Bonaparte
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 หรือ นโปเลียน โบนาปาร์ต เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่ของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1799 และได้กลายเป็นจักรพรรดิของชาวฝรั่งเศสระหว่างปี ค.ศ. 1804-1814 ผู้มีชัยและปกครองดินแดนส่วนใหญ่ของทวีปยุโรป และได้แต่งตั้งให้แม่ทัพและพี่น้องของเขาขึ้นครองบัลลังก์ในราชอาณาจักรยุโรปหลายแห่งด้วยกัน เช่น ประเทศสเปน เมืองเนเปิลส์ในประเทศอิตาลี แค้วนเวสต์ฟาเลีย ในประเทศเยอรมนี ประเทศเนเธอร์แลนด์ และประเทศสวีเดน
นโปเลียนเกิดที่เมือง อาฌักซีโย บนเกาะคอร์ซิกา หลังจากฝรั่งเศสซื้อเกาะแห่งนี้เพียง 1 ปี ในตอนแรกเขาถูกมองว่าเป็นชาวต่างชาติคนหนึ่ง ภายหลังการศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหาร ที่เมืองโอเติง บรีแดนน์ และโรงเรียนทหารแห่งกรุงปารีส เขาก็ได้เข้าร่วมกองพลปืนใหญ่ เขาด้รับการแต่งตั้งเป็นรอยตรี่เมืองวาล็องซ์ ด้วยอารมณ์ที่ซ่อนเร้น ออกแนว โรแมนติก ความอยากรู้อยากเห็นไม่มีที่สิ้นสุด บวกกับความทรงจำทีเป็นเลิศ นโปเลียนหนุ่มมีความถนัดทางใช้สติปัญญามากว่าทางใช้กำลัง
เมื่อการปฏิวัติฝรั่งเศสประทุขึ้น ร้อยโทโบนาปาร์ตได้อยู่ในเหตุการณ์ที่กรุงปารีส โดยเป็นฝ่ายสังเกตการณ์ เขาได้เฝ้าดูประชาชนบุกพระราชวังตุยเลอรีด้วยความรู้สึกขยะแขยง นโปเลียนเดินทางกลับมายังเกาะคอร์ซิกา ที่ซึ่งการสู้รบระหว่างฝ่ายต่าง ๆ เริ่มขึ้นอีกครั้ง นโปเลียนได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าของกองกำลังป้องกันตนเองแห่งชาติ โดยการแย่งเอากองกำลังจากคณะกรรมาธิการของรัฐมาส่วนหนึ่ง แต่การประหารกษัตริย์ได้ทำให้เกิดการต่อต้านของฝ่ายอิสระ สงครามกลางเมืองได้ประทุขึ้นและตระกูลของนโปเลียนต้องหลบหนีออกจากเกาะคอร์ซิกา มายังประเทศฝรั่งเศส
โบนาปาร์ตสนับสนุนการปฏิวัติ และได้ถูกส่งตัวไปรับตำแหน่างนายร้อยในกองทัพปืนใหญ่ แผนการที่นโปเลียนมอบใหฌารคสื ฟร็องซัวส์ ดูก็องมิเย ทำให้สามารถยึดตูลองคือมาจากกองทัพกลุ่มสนับสนุนระบอบกษัตริย์และพวกอังกฤษได้ มิตรภาพระหว่างเขาทไห้ถูกจับในช่วงสั้น ๆ หลังจากได้รับอิสรภาพ ปอลบาร์ราส์อนุญาติให้เขาบดขยี้กลุ่มผุ้สนับสนุนราชวงศ์ที่ลุกฮือที่เมืองว็องเดแมร์ เพ่อต่ต้านสมัชชาแห่งชาติ และปฏิบติการประสบลผลสำเร็จ
เพื่อเป็นรางวัล ที่ปราบกบฎฝักใฝ่กษัตริย์ได้ นโปเลียนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่างแม่ทัพแห่งกองกำลังอิตาลี เพื่อยึดอิตาลีคือจากออสเตรีย จากการบังคับบัญชาการของนโปเลียนทำให้ออสเตรีย จำเป็นต้องลงนามในสนธิสัญญาที่เสียเปรียบ ว่าด้วยเรื่องการให้ผรั่งเศสเข้าครองเบลเยี่ยม และยึดพรมแดนไปติดแม่น้ำไรน์ ส่วนออสเตรียได้ถือครองแค้วนเวเนเซีย
เหตุการณ์ในอิตาลี ทำให้นโปเลียนตระหนักถึงพลังอำนาจของตน รวมทั้งสถานการณ์ที่เป็นต่อ ในปี ค.ศ. 1797 ด้วยแผนการของนายพลโอเฌโร นโปเลียนได้จักการทางการเมืองบางอย่างที่ทำให้เหล่าเชื่อพระวงศ์ที่ยังคงมีอำนาจในกรุงปารีสแตกฉานซ่านเซ้น และสามารถรักษาสาธารณรัฐของพวกฌาโกแบงไว้ได้
สมัชชาการปฏิวัติแห่งชาติฝรั่งเศส กังวลต่อกระแสความนิยมที่ประชาชนมีต่อนปเลียนที่เพิ่มสูงขึ้น จึงบัญชาการให้เขานำทัพบุกอียิปต์ โดยอ้างว่าฝรั่งเศสต้องการเข้าครอบครองดินแดนตะวันออกใกล้ และตะวันออกกลางเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของอังกฤษไปยังอินเดีย
เมื่อสถานะการณ์ระหว่างนโปเลียนกับสมัชชาแห่งชาติดีขึ้น ทำให้เขาสละตำแหน่างผู้บัญชาการกองทัพอียิปต์และเดินทางกลับฝรั่งเศส นฌปเลียนไดรับการต้อนรับจากประชาชนในฐานะวีรบุรุษ
เมื่อนายพลนโปเลียนเดินทางกลับมาถึงกรุงปารีส เขาได้เข้าพบปะสนทนากับตัลเลย์ร็อง รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ เขาช่วยเตรียมการก่อรัฐประหาร
โค่นล้มระบอบปกครองโดยคณะมนตรี…
โดยการโน้มน้าวผู้แทนราษฎรเลือกรัฐบาลใหม่ บีบให้หัวหน้าคณะรัฐบาลเดิมลาออก แล้วเลือกหัวหน้าใหม่เข้าไปแทน โดยประกอบด้วยบุคคล สามคนอันปราศจากมลทิล รวมทั้ง นโปเลียนด้วย
แต่สถานะการณ์ไม่เป็นไปตามคาดไว้ เกิดความล่าช้าเนื่องจากแนวคิดไม่ได้รับฉันทามติจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะพวกฌาโกแบงสองคนไม่ยอมลาออก นโปเลียนเข้าแทรกแซง ลูเซียน โบนาปาร์ต น้องชายนโปเลียนผู้เป็นผู้กุมบังเหียนสภานิติบัญญัติแป่งชาติห้าร้อยคน จัดฉากให้มีผู้ลอบแทงนโปเลียนเพื่อหาความชอบธรรมในการใช้กองทัพเข้าแทรกแซง นโปเลียนเป็นผุ้ได้เปรียบใสถานการณ์นี้ เขาแงว่าถูกสมาชิกรัฐสภาใส่ร้ายว่าจะก่อรัฐประหารและเกือบจะถูกลอบสังหาร เขาจึงสามารถนำกองทัพเข้าบุกรัฐสภาที่เมืองแซงต์ขกลูก และก่อรัฐประหารได้สำเร็จ
ระบบการปกครองโดยคณะกงสุล…
กงสุลสามคนได้รับการแต่งตั้งให้บริหารประทเศ ได้แก่ นโปเลียน, เอ็มมานูเอล โฌแซฟ ซีแยส์และโรเฌ่ร์ ดือโกส์ นโปเลียนได้ประกาศว่า “ประชาชนทั้งหลาย..การปฏิวัติยังคงยึดมั่นบนหลักการเดียวกันกับเมือมันได้เริ่มต้นขึ้น นั่นคือการปฏิวัติสิ้นสุดลงแล้ว” ระบอบกงสุลได้ถูกจัดตั้งขึ้น เป็นระบอบการปกครองที่อำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ในมือกงสุลสามคน (อันที่จริง มีเพียงกงสุลเดียวที่กุมอำนาจไว้อยางแท้จริง )
นโปเลียนได้เริ่มการปฏิรูปนับตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการปกครองในระบอบกงสุล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษา กระบวนการศึกษ กระบวนการยุติธรรม การคลัง และระบบราชการ ประมวลกฎหมายแพ่งที่ ฌอง-ฌากส์ เรณีส์ เดอ กองบาเซแรส์ เป็นผู้เรียบเรียงขึ้นนั้น เป็นที่รู้จักในนามของกฎหมาย นโปเลียน แห่งปี ค.ศ. 1804 และยังมีผลบังคับใช้ในประเทศต่าง ๆ ทั่ว”ลกในปัจจะบัน อย่างไรก็ดี กฎหมายแพ่งดังกล่าวนั้นมีรากฐานมาจาก กฎหมายในหมวดต่าง ๆ รวมถึงขนบธรรมเนียมหลากหลายจากระบอบปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งนโปเลียนได้รวบรวมขึ้นใหม่
ผลงานทางราชการของนโปลียนมีต่อเนื่องกระทั้งปี ค.ศ. 1814 เขาจัดตั้งโรงเรียนมัธยม ธนาคารแห่งชาติฝรั่งเศสระบบเงินฟรังก์แฌร์มิลาน มีว่าการอำเภอ สภาที่ปรึกษาของรัฐ ริเริ่มการรังวัดพื้นที่ทั่วอาณาจักรฝรั่งเศส และจัดตั้งสมาคมเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งชาติ
ในปี ค.ศ.1800 นโปเลียนได้นำทัพบุกออสเตรียและยึดครองได้สำเร็จ สถานการณ์ของนโปลียนจึงแข็งแกร่งขึ้น นโปเลียนขยายอิทธิพลไปถึงสวิสและตั้งสถาบันกระจายอำนาจและขยายต่อไปยังเยอรมนี กรณีพิพาทของมอลตา จึงเป็นข้ออ้างให้อักฤษประกาศสงครามกับฝรั่งเศสอีกครั้ง รวมทั้งหนุนหลังฝ่ายฝักใฝ่กษัตริย์ที่ต่อต้านนโปเลียน นโปเลียนถูกลอบสังหารโดยการวางระเบิดจากกลุ่มฝักใฝ่กษัตริย์ ในขณะที่นโปเลียนเชื่อว่าเป็นฝีมือพวกฌาโกแบง การประหารดยุคแห่งอิงไฮน์ เจ้าชายแห่งราชวงศ์บูบอง จึงตามมา หลังจากการสอบสวน ซึ่งก็พบว่าเจ้าชายไม่มีความผิด มีเพียงอังกฤษที่ทักท้วง รัสเซียและออสเตรียนั้นสงวนท่าที จึงเกิดเสียงเล่าลื่อเกี่ยวกับนโปเลียนว่าเป็นโรแส ปีแยร์บนหลังม้า (โรแบสปิแยร์ เป็นอดีตนักการเมืองฝรั่งเศสที่โหดเหี้ยม)
นโบเลียนรื้อฟื้นระบบทาสโดยคำแนะนำของภรรยาซึ่งช่วย(โฌเซ ฟีน เดอ โบอาร์แนส์) ซึ่งช่วยให้เศรษฐกิจทางโพ้นทะเลทางตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียกระเตื้องขึ้น และในปี ค.ศ. 1848 จึงเลิกทางได้อย่างเด็ดขาด ทางฝั่งทวีปอเมริกานโปเลียนส่งทหารกว่าเจ็ดพันนายเข้าไปฟื้นฟูอำจาจฝรั่งเศส กองทัพของนโปเลียนต้องย่อยยับจากโรคระบาด นโปเลียนจึงขาย หลุยเซียน่าในแก่สหรัฐอเมริกา
นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าการสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิของนโปเลียนนั้นเป็นไปเพื่อปกป้องสาธารณรัฐ หากนโปลิยนถูกโค่น กลุ่มคนต่าง ๆ จะล่มสลายด้วย จักรพรรดิได้กลายมาเป็นสถาบัน ตอกย้ำความยั่งยืนของความเชื่อในการปกครองระบอบสาธารณรัฐ หากนโปเลียนตาย นั่นคือการสูญเสียผู้สืบทอดตำแหน่งที่มีหน้าที่ปกป้องประเทศจากความโกลาหล นั้นหมายถึงควาสูญเสียของสิ่งที่ได้มาจากการปฏิวัติ..
ในการครองราชย์ของนโปเลียน สมเด็จพระสันตะปาปาถูกลอบทลาทให้แค่มาร่วมอวยพรการต้อนรับก็ทำให้ดูเหมือนบังเอิญมาพบกัน กล่าวคือ นโปเลียนออกไปต้อนรับพระสันตะปาปาในป่าฟองแตนโปล ด้วยชุดล่าสัตว์ ทั้งนี้การประกอบพิธีขึ้นครองราชย์ก็ไม่ได้ประกอบขึ้นที่กรุงโรม ตามที่จักรพรรดิเยอรมันเคยกระทำ และสันตะปาปาถูกเชิญมา ราวกับวาเป็นักบวชที่เดินทางมาแสวงบุญ
นโปเลียนเข้าหาศาสนาจักรเพื่อสร้างสัมพันธ์ระหวางคาทอลิกกับฝรั่งเศสและทำให้จักรพรรดิมีฐานะเทียบเท่ากษัตริย์อย่างถูกต้อง และเมือสันตะปาปามีท่าทีกระด้างกระเดื่อง เขาก็ไม่ลังเลที่จะสั่งขังพระสันตะปาปา
นโปเลียนยึดติดกับแนวคิดที่ว่า สันติภาพอย่างถาวรจะมีได้ต่อเมืองปราบสหราชอาณาจักรได้เท่านั้น จึงทำการวางแผนบุกอังกฤษโดยกองเรื่อ ฝรั่งเศส-สเปนล้มเหลวจากแผนดังกล่าว และสหราชอาณาจักจึงกลายมาเป็นมหาอำนาจทางทะเล นับแต่นั้นมาอีกหนึ่งศตวรรษ
กลุ่มแนวร่วมที่สาม ในยุโรปจัดตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านจักรพพดินโปเลียนที่ 1 นโปลียนสึงต้องเผลิญกับสงคราม ซึ่งเกิดขึ้นในอีกฟากหนึ่งของทวีปยุโรปอย่างกะทันหัน ในขณะที่บัญชาการบุกบริเทนใหญ่ จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 รับสั่งให้ตั้งรับโดยทันที่ โดยบังคับให้นำทัพใหญ่ออกเดินเท้า และสัญญาว่าจะนำชัยชนะจากพวกออสเตรียและรัศเซียมาให้จากยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “สงครามสามจักรพรรดิ์”
ปรัศเซียกอ่เหตุพิพาทครั้งใหม่ ซึ่งจักรพรรดิ์นโปเลียนที่ 1 ยังทรงชื่นชมถึงการนำแนวคิดเรื่อง “จิตวิญญาณแห่งโลก”มาใช้ แต่นโปเลียน ก็สามารถกวาดล้างกองทัพปรัสเซียในที่สุด และไม่ทรงหยุดแค่นั้น ปีถัดมาทรงเดินทัพข้ามโปรแลนด์และสิ้นสุดด้วยการลงนามในสนธิสัญญาเมืองมิลสิท กับพรเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ ซาร์แห่งรัสเซีย อันเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการแบ่งดินแดนยุดรประหว่างฝรั่งเศสและรัสเซีย สองมหาอำนาจในขณะนั้น เพื่อเป็นข่มขวัญศัตรู ในการทำสงครามนโปเลียนไม่เพียงแต่ต้องการนำทัพในสมรภูมิเท่านั้น หากแต่ต้องการจะบดขยี้ศัตรูด้วย!
จักรพรรดิ์นโปเลียนที่ 1 ทรงสร้างระบบศักดินาของจักวรรดิฝรั่งเศสให้แก่กลุ่มชนชั้นสูงที่แวดล้อมพระองค์ ซึ่งจากกรุงอัมสเตอร์ดัมถึงกรุงโรม จักรวรรดิของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มีประชากรกว่า 70 ล้านคน โดยมีเพียง 30 ล้านคนที่เป็นชาวฝรั่งเศส
อังกฤษกีดกันเรือสินค้าฝรั่งเศส จักรพรรดินโปเลียนจึงตอบโต้โดยการกีดกันภาคพื้นทวีป โดยมีวัตถุประสงค์จะหยุดยั้งกิจกรรมทางการพาณิชย์ของอุตสาหกรรมอังกฤษ โปรตุเกสอันเป็นพันธมิตของอังกฤษ ปฏิเสธที่จะลงนามในสนธิสัญญานี้ นโปเลียน จึงขอความช่วยเลหือจากสเปนในการบุกโปรตุเกส ในที่สุดนโปเลียนก็รุกรานสเปนและตั้งโฌแซฟ โบนาปาร์ต น้องชายเป็นราชาปกครองที่นั้น และโปรตุเกสก็ถูกนโปเลียนรุกรานเช่นกัน สเปนที่คลั่งใคล้ในกลุ่มนักบวชลุกฮือต่อต้านฝรั้งเศส กองพลทหารราบฝีมือดีของอังกฤษก็เคลื่อนทัพสูสเปน จึงผลักดันกองทัพฝรั่งเศสออกจากคาบสมุทรไอบีเรีย.. ออสเตรียบุกผรั่งเศสอีกครั้งจากฝั่งเยอรมณี แต่ถูกปราบราบคาบ
หลังจากที่ ซาร์แห่งรัสเซีย อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ได้รับการการหนุนจากชนชั้นสูงในรัสเซียนที่เข้าข้างอังกฤษ ก็ปฏิเสธที่จะร่วมมือกับ นโปเลียน ในการโจมตีสหราชอาณาจักร การศึกกับอังกฤษที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นโปเลียนจึงกรีฑาทัพเข้าบุกรัสเซีย ทัพใหญ่กว่า หกแสนนายประกอบด้วยกองทัพพันธมิตรอิตาลี เยอรมณี และออสเตรีย
รัสเซียใช้ยุทธวิธี ถอยร่ให้ทัพผรังเศสข้ามเข้ามาในรัสเซีย ถึงมอสโค การรบที่มอสโคไม่มีผู้ใดแพ้ไม่มีผู้ใดชนะ แม้รัสเซียจะทิ้งชัยภูมิ แต่ทั้งสองฝ่ายก็เสียทหารเท่าๆ กัน รัสเซียทิ้งมอสโค ฝรั่งเศสตกหลุ่มพรางเมืองเข้ามาถึงมอสโค ฝรั่งเศสก็พบแต่เมื้องล้าง รัสเซียจุดไฟเผามอสโค ในทันที นโปเลียนถอยล่น ฤดูหนาวอันโหดร้ายของรัสเซียกำลังจะมาเยือน กองทัพฝรั่งเศสถอยอย่างทุลักทุเล จากจำนวนทหารกว่า หกแสนนายที่เข้าร่วมรบ มีเพียงหมื่นกว่านายที่ข้ามแม้น้ำเบเรซินากลับมาได้
จากการพ่ายแพ้ของนโปเลียนในครั้งนี้ กษัตริยยุโรปหลายพระองค์จึงแปรพักตร์และยกทัพมารบกับฝรั่งเศส นโปเลียนถูกคนในกองทัพของพระเองทรยศ และพบกับความพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิ
ใน สงครามนานาชาติ ซึ่งกองทัพฝรั่งเศส 200,000นายปะทะกับกองทัพพันธมิตร 500,000 นาย
สหราชอาณาจักร ปรัสเซีย รัสเซียและออสเตรีย ร่วมเป็นพันธมิตร กัน กรุงปารีสถูกตีแตก และเหล่าจอมพลได้บังคับให้จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สละราชบัลลังก์
พระองค์ตัดสินใจเสวยยาพิษจากฝิ่นผสมน้ำ แต่รอดจากความตายมาได้โดยไม่มีผู้ใดให้คำอธิบายได้ พระองค์ลี้ภัยไปที่เกาเอลบา ตามที่ระบุในสนธิสัญญาผองเตนโบล ยังทรงดำรงพระนศเป็นจักรพรรดิ แต่ปกครองได้เฉพาะเกาะเล็กๆ แห่งนี้เท่านั้น หลังจากนั้นทรงหลบหนีจากที่คุมขังกลับมามีอำนาจเป็นเวลาร้อยวันและเหตุการก็กลับเข้ารอยเดิมกองทัพพ่ายการรบกับอั
กฤษและปรัสเซียที่ยุทธการวอเตอร์ลู ในเบลเยี่ยม นโปเลียนถูกขึง และถูกอังกฤษส่งตตังไปยังเกาเซนต์เฮเลนา จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ใช้เวลาบนเกาะเซนต์เฮเลนา อุทิศให้กับการเขียนบันทุกความทรงจำของพระองค์ และสิ้นพระชนในปี1821 หลายคนเชื่อว่าถูกลอบวางยาพิษ
สงครามนโปเลียน เป็นสงครามต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับจักรวรรดิฝรั่งเศสของจักรพรรดินโปลียนที่ 1 และพันธมิตรต่าง ๆ ของยุโรป ซึ่งเป็นสงครามที่มีสาเหตุจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการปฏิวัติที่เปลี่ยนรูปแบบของกองทัพยุโรปอยางสิ้นเชิง ระบบการเกณฑ์ทหารแบบใหม่ ทำให้กองทัพขยายตัวและมีอำนาจมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และได้รับชัยชนะต่อประเทศต่าง ๆ ในยุโรป แต่ก็สิ้นสุดลงอย่างรวมเร็วจากการพ่ายแพ้อย่างยับเยินในการรุกรานรัสเซีย และเป็นผลให้มีการรื้อฟื้นราชวงศ์บูร์บงขึ้นครองฝรั่งเศสอีกครั้ง ผลของสงครามนโปเลียนทำให้จักรวรรดิ์โรมันอันศักดิ์สิทธิ์ถูกยุบตัว และทำให้อำนาจของจักรวรรดิสเปนในการควบคุมอาณานิคมอ่อนแอลง เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการปฏิวัติในลาตินอเมริกา และยังส่งผลให้จักรวรรดิบริติชกลายเป็นจักวรรดิมหาอำนาจต่อมาอีกร้อยปี
วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
House of Habsburg
ราชวงศ์ฮัมบูร์ก เป็นราชวงศ์ที่สำคัญที่สุดราชวงศ์หนึ่งในทวีปยุโรป ราชวงศ์นี้ได้ปกครองประเทศสเปนและประเทศออสเตรีย รวมเวลาทั้งหมดถึง 6 ศตวรรษ แต่ที่รู้จักกันดีมากที่สุดคือ การปกครองในตำแหน่งของ จักรพรรดิ์โรมันอันศักดิ์สิทธิ์หลังจากได้มีการสถาปนาจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา ราชวงศ์นี้ได้ปกครองรัฐและประเทศต่าง ๆ ถึง 1,800 รัฐ
ราชวงศ์ฮับบูร์ก เป็นชื่อที่ตั้งมาจาก ปราสาทฮับส์บูร์ก หรือที่ชาวสวิตรู้จักในนาม ฮอร์ก คาสเทิล เมื่อประมาณศตวรรษที่ 12 ซึ่งในช่วงแรก พระราชวงศ์ทรงประทับที่แค้วนสวาเบีย (ปัจจุบันคืออาร์กอว์ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งขณะนั้น เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) จากนั้นราชวงศ์ได้ขยายอำนาจตั้งแต่เมืองอัลเซส,ไบรส์กอว์,อาร์กอว์,และธูร์กอว์(ปัจจุบัน อยู่ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี)และในที่สุดก็สามารถมีอำนาจปกครองจักรวรรดิได้ทั้งหมด โดยตั้งเมืองหลวงคือกรุงเวียนนา(ปัจจุบันคือเมืองหลวงของประเทศออสเตรีย)
ด้วยการอภิเษก ราชวงศ์ทรงแผ่ขยายอำนาจทรงนำประเทศต่าง ๆ มาผนวกรวมกับจักรวรรดิ เช่น จักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหฐิงแมรีแห่งเบอร์กันดี องค์รัชทายาทหญิงแห่งเบอร์กันดี พระโอรสของทั้งสอง คือ พระเจ้าเฟลีเปที่ 1 แห่งกาสตีล หรือ “เฟลีเปผู้หล่อเหลา” ทรงอภิเษากับเจ้าหญิงฮวนนาแห่งสเปน องค์รัชทายาทหญิงแห่งสเปน พระราชโอรสของทั้งสองพระองค์ จักรพรรดิ์คาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ ทรงนำสเปน และพื้นที่ทางตอนใต้ของอิตาลีมาผนวกกับจักวรรดิ และพระราชโอรสของพระองค์ พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน ทรงผนวกโปรตุเกสรวมเข้าเป็นอาณานิคม
- สมาชิกราชวงศ์ฮับบูร์กได้แต่งงานกับทายาทของรัฐหรือเเคว้นต่าง ๆ ทำให้รุ่นต่อๆ มา เชื้อสายของราชวงศ์ฮับบูร์กจึงมีอำนาจปกครองดินแดนกว้างขวางตั้งแต่ออสเตรีย เนเปิล ชิชิลี ซาร์ดิเนียและ “กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ” จากยุทธการโมเฮ็คส์ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 2 แห่งฮังการีผู้เป็นพระญาติของพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์สิ้นพระชนม์ในสมรภูมิ จักรพรรดิเฟอร์ดินานด์จึงทรงขยายอาณาเขตโบฮีเมียและส่วนหนึ่งของฮังการีที่ไม่ได้ถูกจักรวรรดิออตโตมัน ยึดครอง ราชวงศ์ฮับบูร์กได้ขยายอิทธิพลไปยังฮังการี ทำให้ยากที่จะปกครองได้ทั่วถึง รวมทั้งมีภัยรุกรานจากชาวเติร์ก ซึ่งนำไปสู่สงครามสิบสามปี หรือสงครามยาว
จักรพรรดิชาลส์ที่ 5 กับอาร์ซดุกส์เฟอร์ดินานได้ทำกติกาสัญญาแห่งวอร์มและกติกาสัญญาแห่งบรัสเซลล์แยกดินแดนของราชวงศ์ฮับบูร์กเป็นสองส่วยแบ่งกันปกครอง ทำให้ราชวงศ์ฮับบูร์กแยกเป็นสองสาขาใหญ่คือสายสเปนและสายออสเตรีย การแบ่งแยกสมบูรณ์เมือจักรพรรดิชาลส์ที่ 5 สวรรคต และเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นมหาอำนาจใจกลางยุโรปของออสเตรีย
ออสเตรียและเหล่าแค้วนสายราชวงศ์ฮับบูร์ก ได้รับผลกระทบอย่างมากในการปฏิรูปศาสนา แม้ว่า เหล่าผุ้นำฮับบูร์กจะบังคงนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่แค้วนต่าง ๆ เปลี่ยนมานับถือลูเธอรัน ซึ่งพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่1 และเหล่ารัชทายาททรงอดทนอดกลั้นต่อเรื่องนี้มากอย่างไรก็ตามการปฏิรูปย้อนกลับ และลัทธิเยซูอิด มีอิทธิพลมาก
อาร์ชดยุกเฟอร์ดินานด์ได้รับเลือกให้สืบราชบัลลังก์พระจักรพรรดิต่อจากพระญาติคือ พระจักรพรรดิแม็ทไธยัส และด้วยความี่ที่จักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 2 ทรงเป็นผู้เคร่งในศาสนาอยางแรงกล้าและดื้อรั้นทได้ทรงเป็นที่รู้จักกันมาก พระองค์ทรงดำเนินการฟื้นฟูคาทอลิก
ไม่เพียงเฉพาะแคว้นรัชทายาทแต่โบฮีเมียและฮับบูร์กออสเตรียมีผู้นับถือโปรแตสแตนต์มากที่สุดในจักวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ด้วยความเป็นผุ้แข็งกร้าวและไม่ประนีประนอมทรงนำพาอาณาจักรเข้าสู่สงครามสามสิบปี
หลังจากสงครามสามสิบปีระหว่างรัฐที่นับถือศาสนาคริสต์ คาทอลิก และโปรแตสแตนท์สิ้นสุดลง อำนาจของประมุขออสเตรียในฐานะจักรพรรดิของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้ด้วยลง แต่เมือออสเตรียเป็นผู้นำในการทำสงครามกับชาวเติร์กจนยับยั้งความพยายามในการยึดกรุงเวียนนาสำเร็จ และขับไล่ชาวเติร์กที่ยึดครองกรุงบูดาเมืองหลวงของฮังการีสำเร็จ ขุนนางฮังการีจึงมอบอำนาจการปกครองให้แก่ราชวงศ์ฮับบูร์ก
ราชวงศ์ฮับบูร์กสายสเปนสิ้นสายลง เกิดสงครามการสืบราชบัลลังก์สเปน ระหว่งฝรั่ง่เศสกับออสเตรีย สงครามสิ้นสุดลงโดยการยอมรับสิทธิของราชวงศ์บูร์บงในการปกครองสเปน โดยออสเตรียได้ปกครองเนเธอร์แลนด์ของสเปน(เบลเยียมในปัจจุบัน)และดินแดนในคาบสมุทรอิตาลีที่เคยเป็นของราชวงศ์ฮับบูร์กสายสเปน
ปัญหาสำคัญของราชวงศ์ฮับบูร์กคือการขาดรัชทายาทที่เป็นชาย กระทั่งสมัยจักรพรรดิชาลส์ที่ 6 ซึ่งไม่มีราชโอรสได้ทำข้อตกลงในพระราชกฤษฎีกา กับประเทศต่างๆ เพื่อค้ำประกันสิทธิของพระราชธิดา และเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ พระธิดาคืออาร์ชดัชเชสมาเรีย เทเรซาขึ้นครองราชแทน พระเจ้าเฟรเดริก วิลเลียมที่ 2 แห่งปรัสเซีย เห็นเป็นโอกาสจึงเข้ายึดครองแค้วนไซลีเซียของออสเตรีย ทำให้เกิดสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรียขึ้น ออสเตรียเป็นฝ่ายชนะ พระเจ้าเฟรเดริก วิลเลียมที่ 2 ยินยอมสนับสนุนดุ๊กฟรานซิส สตีเวนแห่งลอร์แรน สวามีของอาร์ชดัชเชสมาเรีย เทเรซาขึ้นเป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ออสเตรียภายใต้การปกครองของจัรพรรดินีมาเรีย เทเรซาและพระโอรสคือจักรพรรดิโจเซฟที่ 2 มีความก้าวหน้าและเริ่มขยายอำนาจของออสเตรียไปทางยุโรปตะวันออก และได้ดินแดนเพิ่มขึ้นจาการเข้าไปร่วมแบ่งโปแลนดืครั้งทึ่ 1 และรัสเซียกับ ปรัสเซีย และครั้งที่ 3 นอกนั้นยังได้ดินแดนบูโดวินซ์จากจักรวรรดิออตโตมัน
หลังปฏิวัติฝรั่งเศส ออสเตรียพยายามช่วยเหลือพระนางมารี อองตัวเนตซึ่งเป็นสมชิกราชวงศ์ฮับบูร์ก ทำให้เกิดสงครามระหว่าฝรั่งเศสกับออสเตรีย ซึ่งเรียกว่าสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียน ผลของสงครามออสเตรียเป็ยฝ่ายพ่ายแพ้ เสียดินแดนมากมาย การขยายตัวของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 ทำใหจักรพรรดิฟรานซิสที่ 2 แห่งออสเตรียตัดสินใจแยกตัวออกจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ยกดอนแดนออสเตรียเป็น จักรวรรดิออสเตรียสถาปนาพระองค์เองเป็นจักรวรรดิฟรานซิสที่ 1 แห่งจักรวรรดิออสเตรีย และสละตำแหน่งจักรพรรดิของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีผลให้การดำรงอิสริยยศจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของราชวงศ์ฮับบูร์กสิ้นสุดลง
สงครามสามสิบปี
วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
George Washington
จอร์จ วอชิงตัน เป็นผู้นำทางการทหารและการเมืองที่โดดเด่นของสหรัฐอเมริกาที่เพิ่งก่อตั้ง ระหว่าง ค.ศ. 1775-1799 เขานำสหรัฐจนได้รับชัยชนะเหนือบริเตนใหญ่ในสงครามปฏิบัติอเมริกัน ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพภาพื้นอทวีปใน ค.ศ. 1775-1783 และรับผิดชอบการรางรัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 1787 เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 1789-1797 วอชิงตันเป็นผู้นำการสร้างรัฐบาลแห่งชาติที่เข้มแข็งและมีการคลังที่ดี ซึ่งวางตนเป็นกลางในสงคราปะทุขึ้นในยะโรป ปราบปรามกบฎและได้รับการยอมรับจากชนอเมริกันทุกประเภท รูปแบบความเป็นผู้นำของเขาได้กลายมาเป็นระเบียบพิธีของรัฐบาลซึ่งปฏิบัติสืบต่อกันมานับแต่นั้น อาทิ การใช้ระบบคณะรัฐมนตรีและการปราศรัยในโอกาสเข้ารับตำแหน่างประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ วอชิงตันได้รับการยกย่องทั่งไปว่าเป็น “บิดแห่งประเทศของเขา”ด้วย
America War of Independence เปิดฉากเป็นสงครามระหว่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ฝ่ายหนึ่งกับ สิบสามอาณานิคมอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนืออีกฝ่านหนึ่ง ก่อนจบลงด้วยสงครามทั่วโลก ระหว่างชาติมหาอำนาจทั้งหลายในทวีปยุโรป…
สงครามดังกล่าวเป็นผลจากการปฏิบัติอเมริกาในทางการเมือง ซึ่งถูกกระตุ้นด้วยข้อพิพทาระหว่างรัฐสภาแห่งบริเตนใหญ่กับชาวอาณานิคมซึ่งคัดค้านพระราชบัญญัติแสตมป์ ค.ศ. 1765 ซึ่งชาวอเมริกาเห็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญรัฐสภายืนยันสิทธิ์ของตนในการเก็บภาษีชาวอาณานิคม แต่ชาวอเมริกันอ้างสิทธิ์ของตนว่าเป็นชาวอังกฤษในการไม่จ่ายภาษีหากไม่มีผู้แทน(เริ่มเป็นสโลแกนซึ่งเกิดขึ้นระหว่างค .ศ. 1750-1760 ที่สรุปความเดือนร้อนของชาวอาณานิคมอังกฤษในสิบสามอาณานิคม และกลายเป็นเหตุผลหนึ่งของการปฏิวัติอเมริกา) ชาวอเมริกันจัดตั้งสภาภาคพื้นทวีปที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และรัฐบาลเงาในแต่ละอาณษนิคม การคว่ำบาตรชาวอังกฤษของอเมริกานำไปสู่ กรณีชาที่บอสตัน(เหตุกรณ์ที่ชาวอาณานิคมของอังดฤษ ในเมืองบอสตันประท้วงรัฐบาลอังกฤษและเป็นชนวนสู่สงครามอิสรภาพของอเมริกา อันเนื่องมาจากสิทธิ์บัตรในการขายใบชา ซึ่งพ่อค้า ชาวอเมริกันเสียผลประโยชน์) อังกฤษตอบสนองโดยยุติการปกครองตนเองในแมตซาซูเสตส์ และกำหนดให้อยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพโดยมีพลเอกโทมัส เกจเป็นผู้ว่าราชการ เมษายน ค.ศ. 1775 เกจส่งกองทัพยึดอาวุธของกบฎ ทหารอาสาสมัครท้องถิ่น เผชิญหน้ากับทหารอังกฤษและทำลายกองทัพอังกฤษได้เกือบทั้งหมด ยุทธการ เลชิงตัน และ คอนคอร์ดเป็นชนวนสงคราม
การประรีประนอมเป็นศูนย์ เมืออาณานิคมต่าง ๆ ประกาศอิสรภาพและจัดตั้งประเทศใหม่ขึ้น ชื่อ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776
ในช่วงแรกของสงคราม ผรังเศส,สเปนและสาธารณรับดัตช์ล้วนจักหาเสบียงเครื่องกระสุนและอาวุธอยางลับ ๆ ให้แก่กองทัพปฏิวัติเรื่อมตั้งแต่ต้น ค.ศ. 1776 หลังอังกฤษประสบความสำเร็จในตอนต้น สงครามเริ่มเปลี่ยนเป็นไม่แน่นอน ฝ่ายอังกฤษใช้ความเหนือกว่าทางทะเลยึดและครอบครองนครชายฝั่งของอเมริกาขณะที่ฝ่ายกบฎยังควบคุมแถบขนบทเป็นส่วนใหญ อันเป็นที่ซึ่งประชากรกว่า 90% อาศํยอยู่ ยุทธศาสตร์ของอังกฤษอาศัยการระดมทหารอาสาสมัครที่จงรักภักดี แตอังกฤษไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างเต็มี่ การรุกรานของอังกฤษจากแคนาดาสิ้นสุดด้วยการจับกองทัพอังกฤษเป็นเชลยที่ยุทธการซาราโตกา ใน ค.ศ.1777 ชัยชนะของอเมริกาครั้งนั้นโน้มน้าวให้ฝรั่งเศสเข้าสู่สงครามอย่างเปิดเผยในต้น ค.ศ. 1778 ซึ่งทำให้กำลังทางทหารของทั้งสองฝ่ายสมดุล สเปนและสาธารณรัฐดัตซ์ พันธมิตรของผรั่งเศส เข้าสู่สงครามกับอังกฤษภายในอีกสองปีถัดมา ซึ่งคุกคามจะรุกรานบริเตนใหญ่และทดสอบความเข้ฒแข็งทางทหารของอังกฤษอย่างรุนแรงด้วยกองทัพในยุดรป การมีส่วนร่วมของสเปนส่งผลให้กองทพอังกฤษในเวสต์ผลอริดาถอนตัวออก ซึ่งเป็ฯการทำให้ปีกด้านใต้ของอเมริกาปลอดภัย
การมีส่วนร่วมของฝรั่งเศสพิสุจน์แล้วว่ามีผลชี้ขาด แต่ก็ทำลายเศรษฐกิจของฝรั่งเศสเช่นกัน ชัยชนะทางทะเลของฝรั่วเศสในเชซาพีคบีบให้กองทัพอังกฤษที่สองยอมจำนนที่การล้อมยอร์กทาว์นใน ค.ศ. 1781-1783 สนธิสัญญาปารีสยุติสงครามและยอมรับอธิปไตยของสหรัฐอเมริกาเหนือดินแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับแคนาดาทางเหนือฟลอริดาทางใต้ และแม่น้ำมิสซิสซิปปีทางตะวันตก
ทั้งนี้และทั้งนั้น วอชิงตันได้รวบรวมกองทัพอันไร้ผุ้นำและชาติอันอ่อนแอให้เป็นปึกแผ่น ท่ามกลางภยันตรายจากความแตกแยกและความล้มเหลว
อันเนื่องมาจาก “บทบัญญัติว่าด้วยสมาพันธรัฐ” Articles of Confederation ที่ร่างขึ้นนั้นไม่เป็นที่พอใจโดยทั่วกัน ใน ปีค.ศ. 1787 จอร์จ วอชิงตัน จึงเป็นประธานการประชุมฟิลาเดเฟีย เพื่อร่างรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา และในปี 89 ก็รับเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา
โดยได้สถาปนาจารีตและวิถีทางการบริหารหลยประการเกี่ยวกับองค์กรของรัฐบาลใหม่ ในการนี้ เขาแสวงหาลู่ทางสร้างชาติที่จะสามารถธำรงอยู่ในโลกอันถูกฉีกเป็นชิ้นเพราะสงครามระหว่างอังกฤษ และฝรั่งเศษ วอชิงตันได้มี “ประกาศความเป็นกลาง”Proclamation of Neutrality of 1793 ใน ค.ศ. 1793 ซึ่งวางรากฐานงดเว้นไม่เข้าไปมีส่วนในความขัดแย้งกับต่างชาติ เขายังได้สนับสนุนแผนจักตั้งรฐบาลกลางที่เข้มแข็งโดยวางกองทุนเพื่อหนี้สินของชาติ ส่งผลให้เกิดระบบภาษีที่มีประสิทธิภาพ และนำไปสู่ธนาคารแห่งชาติในที่สุด
วอชิงตันเลี่ยงที่จะไม่ก่อสงครามกับอังกฤษ ทศวรรษแห่งสันติสุขจึงมีขึ้นด้วย “สนธิสัญญาเจย์ ค.ศ. 1795 Jay Treaty 1795 อันได้รับสัตยาบันไปด้วยดีเพราะเกียรติภูมิส่วนตัวของวอชิงตัน แม้ว่าสนธิสัญญานี้จะถูกต่อต้านอย่าหนักจากโธมัส เจฟเฟอร์สัน(ต่อมาคือ ประธานาธิปดีคนที่ 3 ของสหรัฐอเมริกา) ในทางการเมืองนั้น ถึงแม้ว่าวอิงตันมิได้เข้าร่วมพรรสหพันธรัฐนิยม Federalist Party อย่างเป็นทางการ แต่เขาก็สนับสนุนโครงการต่าง ๆ ของพรรค ทั้งยังเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณสำหรับพรรคด้วย เมื่อเขาพ้นจากตำแหน่งได้มีสุนทรพจน์แสดงคุณค่าของระบอบสาธารณรัฐ และเตื่อนให้ระวังความแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ความนิยมถิ่น และมิให้ร่วมสงครามกับต่าวชาติ
อ้วยผลงานอันอุทิศให้แก่ชาติบ้านเมือง วอชิงตันจึงได้รับ “เครื่องรัฐอิสริยาภาร์เหรียญทองแห่งรัฐสภาคองเกรส” Congressional Gold Medal เป็นบุคคลแรก เขาถึงแก่กรรมใน ค.ศ. 1799 โดย เฮนรี่ ลี สดุดีวอชิงตันในพิธีศพว่า “ในยามรบ ยามสงบ และในหัวใจของเพื่อนร่วมชาติ เขาคือที่หนึ่งสำหรับอเมริกันชนทั้งปวง”
การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
ในปี ค.ศ. 1789 คณะผุ้เลือกตั้ง Electoral College มีมติเอกฉันท์เลือกวอชิงตันเป็นประธานาธิบดี และเลือกอีกครั้งในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1792 เขายังคงได้รับคะแนน อิเล็กโทรรับ โหวต 100% เหมือนเดิม จอห์น แอดัมส์ถูกเลือกให้เป็นรองประธานาธิบด วอชิงตันทำพิธีสาบานตนรับตำแหน่างประธานาธิบดีภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา เมือวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1789 ภายในอาคาร เฟดเดอรัลฮอล นิวยอร์กซิตี้ ถึงแม้ว่าในตอนแรกเขาไม่ต้องการที่จะรับตำแหน่งนี้
สภาคองเกรสที่ 1 ได้ออกเสียอนุมัติเงินเดือนของวอชิงตันที่ปีละ 25,000 ดอลลาร์ ซึ่งจัดว่ามีมูลค่ามากในสมัยนั้น แต่เนื่องด้วยวอชิงตันได้เป็นผู้มีฐานะอยู่แล้วจึงปฏิเสธที่จะรับเงินเดือนเพราะเขาเห็นว่าการเข้ารับตำแหน่งเป็นการทำงานับใช้ประเทศอย่างไม่เห็นแก่ตน แต่ด้วยการหว่านล้อมของสภาฯ เขาจึงยอมรับเงินเดือนนั้น ซึ่งเรื่องนี้ได้เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ เพราะเขาและบรรดา “บิดาผุ้ก่อตั้งประเทศ” Founding fathers ต้องการให้ตำแหน่างประธานาธิบดีในอนาคตสามารถมาจากคนที่กว้างขวาง โดยไม่ถูกจำกัดด้วยสถานะทางเศรษฐกิจของผุ้สมัครชิงตำแหน่างประธานาธิบดี
วอชิงตันได้เข้ารับหน้าที่อย่างระมัดระวัง เขาต้องการให้มั่นใจได้ว่าระบบของสาธารณรัฐจะไม่ทำให้ตำแหน่างประธานาธิบดีเป็นเหมือนกษัตริย์แห่งราชสำนักยุโรป เขาชอบที่จะให้คนเรียกเขาว่า ไท่นประธานาธิบดี Mr. President มากว่าที่จะเรียกเป็นอื่นๆ ในลักษณะที่เรียกกษัตริย์
วอชิงตันได้พิสูจน์วาเขาเป็นนักบริหารที่มีความสามารถ เป็นคนรู้จักกระจายอำนาจและสามรถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด เขาจะประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นประจำ ก่อนที่จะมีการตัดสินใจในท้ายสุด เขาเป็นคนทำงานอย่างมีกิจวัตร เป็นระบบ มีระเบียบ มีพลัง และถามหาความคิดเห็นจากคนอื่น ๆ ในการตัดสินใจ โดยมีการมองที่เป็หมายปลายทาง และคิถึงการกระทำที่จะต้องตามมา
หลังจากการรับตำแหน่งในวาระแรก เขาลังเลที่จะรับตำแหน่างต่อในวาระทีสาอง และเขาปฏิเสธที่จะดำรงตำแหน่างต่อในวาระที่สาม และนั่นจึงเป็นประเพณีสืบต่อมาที่จะไม่มีใครรับตำแหน่งประธานาธิบดีเกิน 2 สมัย จนกระทั้งในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งที่ 22 ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว จึงได้มีการตราเป็นกฎหมารัฐธรรมนูญว่าประธานาธิบดีจะดำรงตำแหน่างติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 สมัย
วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
upheaval
ยุคแห่งเหตุผล
คือการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหลาปัญญาชนในยุโรปเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมการใช้เหตุผล
ใช้หลักจารีต ความเชื่อ
และการเปิดเผยจากพระเจ้ารวมไปถึงส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงในการเคลื่อนไหวสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้หรือการต่อต้านความเชื่อทางไสยศาสตร์
โมหาคติ
และการชักนำให้ผิดเพี้ยนจากคริสตจักรและรัฐบาลยุคเรืองปัญญาเริ่มขึ้นในช่วงประมาณปี
ค.ศ. 1650-1700 และถูกจุดประกายโดยเหล่าปัญญาชน เช่น บารุค สปิโนซา, จอห์น ล็อก,
ปิแยร์ เบย์ล,ไอแซก นิวตัน, วอลแตร์
นอกจากนี้เจ้าผุ้ปกครองก็มักจะรับรองและคล้อยตามบุคคลสำคัญเหล่านี้จนในที่สุดก็รับเอาแนวคิดจากชนชั้นปัญญามาปรับใช้เข้ากับรัฐบาลของตนจึงมีการเรียกเจ้านายเหล่านี้ว่า
ประมุขผุ้ทรงภูมิธรรม การเรื่องปัญญานี้เบ่งบานอยุ่จนกระทั่งช่วงปี ค.ศ. 1790-1800
เมื่อความสำคัญของเหตุผลถูกแทนที่ด้วยความสำคัญของอารมณ์ความรู้สึกในแนวคิดแบบศิลปะจินตนิยมฝ่ายต่อต้านการเรืองปัญญาจึงมีกำลังขึ้นมาอีก
ในฝรั่งเศษ การเรืองปัญญาก่อกำเนิดจากการชุนนุมซาลอน และกลายมาเป็นสารานุกรม1751-1752ถูกแก้ไจโดยเดนนิส ดิเดรอส 1713-1784 ด้วยการนำหนักปรัชญาชั้นนำหลายร้อยชิ้นมารวบรวมไว้ อาทิเช่นจากวอลแตร์,ฌ็อง-ฌัก รูโซ และมงเตสกีเยอ สำเนาของสารานุกรมชุด 35 เล่มถูกขายมากว่า 25,000 ชุด ซึ่งครึ่งเหนึ่งในจำนวนนี้ถูกขายนอกฝรั่งเศสแรงขับเคลื่อนจากการเรืองปัญญาแพร่ขยายไปตามชุมชนเมืองทั่วทั้งยุโรป โดยเฉพาะในอังกฤษ, สกอตแลนด์,รัฐเยอรมันต่างๆ, เนเธอร์แลนด์,รัสเซีย, อิตาลี, ออสเตรีย, และจากนั้นจึงขยายไปยังอาณานิคมของชาติยุโรปทวีปอเมริกา ที่ซึ่งได้มีอิทธิพลต่อบุคคลสำคัญอย่างเบนจามิน แฟรงคลินและทอมัส เจฟเฟอร์สัน รวมทั้งอีกหลาย ๆ คน นอกจากนี้ยังส่งอิทธิพลอย่างมากต่อการปฏิวัติอเมริกา แนวคิดทางการเมืองจากยุคเรืองปัญญานี้เองที่มีอิทธิพลในคำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกลร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา, คำประกศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองของฝรั่งเศส และรัฐธรรมนูญวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791 ของเครือจักรภพโปแลนด์ ลิทัวเนีย
การปฏิวัติฝรั้งเศส ระหว่าง ค.ศ. 1789-1799 เป็นยุคสมัยแห่งกลียุค ทางสังคมและการเมือง
ที่เปลี่ยนถึงรากฐานในฝรั่งเศสซึ่งมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อฝรั่งเศสและยุโรปที่เหลือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชที่ปกครองฝรั่งเศสมาหลายศตวรรษล่มสลายลงใน 3 ปี สังคมฝรั่งเศสฝ่านการปฏิรูปขนานใหญ่ โดยเอกสิทธิ์ในระบบเจ้าขุนมูลนาย ของคนชั้นสูงและทางศาสนาหมดส้นไปภายใต้การประทุษร้ายอย่างต่อเนื่องจากลุ่มกาเมืองฝ่ายซ้ายหัวรุนแรง ฝูงชนบนท้องถนนและขาวนาในชนบท ความคิดเก่าเกี่ยวกับประเพณีและลำดับชั้นบังคับบัฐชา ของอำนาจพระมหากษัตริย์ คนชั้นสูงและศาสนา ถูกโค่นล้มอย่างฉับพลันโดย ความเสมอภาค ความเป็นพลเมือ และสิทธิที่จะโอนกันมิได้ หลักการใหม่แห่งยุคเรื่อปัญญา
การปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มต้นใน ค.ศ. 1789 ด้วยการเรียกประชุมสถาฐานันดร ในเดือนพฤษภา พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงเรียกประชุมสภาฐานันดร ก่อนหน้าการประชุม ได้มีการถวายฎีกาทั่วประเทศ มีการควบคุมและห้ามการเผยแพร่ใบปลิวที่มีเนื้อหาเสรีจนน่าจะเป็นอันตราย เนคเกร์ที่ถูกเรียกกลับมาดำรงตำแหน่ง ได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มจำนวนตัวแทนจากชนชั้นที่ 3 ให้มากขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะจำนวนตัวแทนในขณะนั้นมีน้อยเกิห และยังเรียร้องให้ปลดตัวแทนบางส่วนจากฐานันดรที่ 1และ2
การประชุมมีขึ้นที่พระราชวังแวร์ซาย โดยใช้ระบบลงคะแนน 1 ฐานันดรต่อ 1 เสีย ซึ่งฐานันดรที่ 3 มีจำนวนถึง 90% กลับไปด้คะแนนเสียงเพียง 1ใน 3 ของสภาจึงมีการเสนอให้ลงคะแนนแบบ1 คนต่อ1 เสียง เมื่อได้รับการปฏิเสธฐานัดรที่ 3 จึงไม่เข้าร่วมการประชุม และตั้งสภาของตนเอง เรียกวา สมัชชาแห่งชาติ พระเจ้าหลุยส์หาทางประณีประนอมแตไม่เป็นผล
- มิถุนายน 1789 สมาชิกฐานันดรที่สามประกาศ คำปฏิญาณสนามเทนนิส โดยมีมติว่าจะไม่ยุบสภาจนกว่าประเศฝรั่งเศสจะได้รัฐธรรมนูญ
- กรกฎาคน 1789 ทลายคุกบาสตีย์
เมื่อพระเจ้าหลุยส์ได้รับความกดดันทั้งจากกองทัพ และพระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสในอนาคต ทำให้พระองค์ทำการเรียกกองทหารที่จงรักภักดีต่อพระองค์จากต่างประเทศเข้ามาประจำการในกรุงปารีสและพระราชวังแวร์ซาย ซึ่งยังผลให้เกิดความโกรธแค้นในหมู่ประชาชน และชนวนแห่งการก่อจลาจลคือการปลด เนคเกีออกจากตำแหน่ง ประชาชนทำลายสัญลักษณ์พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์คือ คุกบาสตีย์ เมื่อเนคเกร์ถูกเรียกกลับเข้าดำรงตำแหน่งอีกครั้ง ราชวงศ์ฝรั่งเศส คือ Comte d’Artais ก็ทรงหนีออกนอกประเทศ ซึ่งถือเป็นบรมวงศานุวงศ์พระองค์แรกๆ ที่หนีออกนอกประเทศในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส กลังจากนั้นไม่นาท เทศบาลและกองกำลังติดอาวุธของประชาชน ก็ถูกจัดตั้งขึ้น
- สิงหาคม 1789 คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง เป็นการปูทางไปสู่การร่างรัฐ ธรรมนูญ ซึ่งได้รับแรงบัลดาลใจมาจากปรัชญาในยุคเรื่องปัญญา และคำประกาศนี้ได้แบบอย่างจากรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา เนื้อหาหลักแสกงถึงหลักการพื้นฐานของการปฏิวัติ ภายใต้คำขวัญที่ว่า “เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ”
- ตุลาคม 1789 การเดินขบวนสู่แวร์ซาย ในขณะนั้นมีข่าวลือในหมู่ประชาชนว่าจะมีการยึดอำนาจคืนของฝ่ายนิยมระบอบเก่าเมือชาวปารีสรู้ข่าวก็มีการตื่นตัวขนานใหญ่ ประชาชนชาวปารีสซึ่งส่วนมากเป็นผุ้หญิง ได้เดินขบวนไปยังพระราชวังแวร์ซาย และเชิญพระเจ้าหลุยส์พร้อมทั้งราชวงศ์มาประทับในกรุงปารีส และพวกอนุรักษ์นิยมก็ตามเสด็จกลับกรุงปารีสด้วย
เหตุการณ์ต่อมาส่วนใหญ่เป็นความตึงเครียดระหว่างสมัชชาเสรีนิยมต่างๆ และพระมหากษัตริย์ฝ่ายขวาแสดงเจตนาขัดขวางการปฏิรูปใหญ่
- กันยายน 1792 ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐ และพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงถูกประหารชีวิตในปีถัดมา ภัยคุกคามภายนอกประเทศยังคงมีบทบาทครอบงำการพัฒราการของการปฏิวัติ
- สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1792-1802 เป็นการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลของฝ่ายการปฏิวัติ ฝรั่งเศสกับรัฐต่าง ๆ ในยุโรป สงครามเริ่มต้นในสมัยการปฏิวัติแพร่หลายในฝรั่งเศสและความเจริญก้าวหน้าทางการทหาร การรณรงค์ทางการทหารของกองทัพฝรั่งเศสได้รับชัยชนะหลายครั้ง เป็นการขยายอำนาของฝรั่งเศสไปยังกลุ่มประเทศต่ำ(ประเทศที่อยู่ตำกว่าน้ำทะเล ซึ่งเกิดอุทกภัยได้ง่าย ได้แด่ เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์กและฝรั่งเศสตอนเหนือ),อิตาลีและไอร์แลนด์ สงครามครั้งนี้การนำระบบการเกณฑ์ทหารมาใช้เป็นครั้งแรกทหารจึงมีจำนวนมหาศาล
สงครามปฏิวัติฝรั่งเศสที่ทำการต่อสู้กับราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ตั้งแต่ปี 1793เรื่อยมากระทั้งปี ค.ศ. 1802 ยุติลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาอาเมียงส์ การสงครามหลังจากนี้ต่อเนืองมาเป็นสงครามนโปเลียน ความขัดแย้งเหล่านี้บางครั้งเรียกรวมว่า “มหาสงครามฝรั่งเศส”
สถานะการณ์ภายใน อารมณ์ของประชาชนได้เปลี่ยนการปฏิวัติถึงรากฐานอยางสำคัญ และลงเอยด้วยการขึ้นสู่อำนาจของ มักซี มีเลียง รอแบ็สปีแยร์ และกลุ่มฌากอแบ็ง และเผด็จการโดยคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะ สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว
สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว หรือ ที่เรียกว่า The Terror เป็นสมัยแห่งความรุนแรงทีเกิดขึ้นโดยถูกกระต้นจากความขัดแย้งระหวางกลุ่มแยกทางการเมืองที่เป็นคู่แข่งกัน คือ ณีรงแด็ง และ ฌากอแบ็ง ซึ่งมีการประหารชีวิต “ศัตรูแห่งการปฏิวัติ” จำนวนมาก ยอดผู้เสียชีวิตอยู่ในหลักหมื่น ด้วย “กิโยติน”กว่า 16,594 คน และอี 25,000 คน “ด้วยการประหารชีวิตอย่างรวบรัด” (คือการประหารชีวิตในพื้นที่หรือสถานกาณ์ที่ไม่ได้ตัดสินด้วยกระบวนการยุติธรรมแบบปกติ โดยตำรวจ ทหาร กองทัพ ซึ่งสามารถพบได้ในช่วงสงครามหรือสถานการ์ฉุกเฉิน)
ท่ามกลางการต่อต้านภายในและการรุกรานของต่างชาติทั้งทางตะวันออกและตะวันตก ภารกิจหลักของรัฐบาลสาธารณรัฐ จึงเน้นที่สงคราม สภาลงมติให้เกณฑ์ทหารเข้ากองกลัง และลงมติรับ “ความน่าสะพรึงกลัว”ให้มีความถูต้องตามรัฐธรรมนูญโดยอนุมัติให้ปราบปรามข้าศึกศัตรูภายในได้โดยเด็ดขาด
ผลที่ตามมา คือการใช้กำลังปราบปรามฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอย่างรุนแรงภายใต้การควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพของคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะ ได้มีการออกกฎหมายหลายฉบับ เช่นกฎหมายที่บังคับให้ชาวนามอบผลผลิตให้แก่รัฐตามที่รัฐต้องการ กฎหมายให้อำนาจการจับกุมผู้ต้องสงสัยที่เข้าข่ายเป็น ผู้ก่อกาชญากรรมต่อเสรีภาพ เป็นต้น
กิโยตินกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งอุดมการณ์การปฏิวัติ ซึ่งใช้ในการประหารชีวิตบุคคลสำคัญจำนวนมาก ฝรั้งเศสสมัยปฏิวัติถูกรุมเร้าด้วยการคบคิดโดยศัตรูทั้งในและนอกประเทศ สำหรับในประเทศ การปฏิวัติถูกชนชั้นสูงฝรั่งเศสคัดค้าน ซึ่งเป็นผู้สูญเสียเอกสิทธิ์ที่ได้รับสืบทอดมา ความพยายามของรัฐบาลปฏิวัติในการล้มเลิก ศาสนาคริสต์ในฝรั่งเศสเริ่มที่นิกายโรมันคาทอลิกก่อนและลุกลามไปทุกนิกาย ด้วยการออกเป็นกฎหมาย ให้เนรเทศและประหารชีวิตนักบวชเป็นจำนวนมาก การปิดโบสถ์วิหารและสถาบันของลัมธิต่าง ๆ ทำลายศษสนสถานและรูปเคารพทางศาสนาในวงกว้าง ออกกฏหมายห้ามสอนศาสนาและปิดโรงเรียนที่อิงศาสนาเพิกถอนความเป็นบาทหลวง บังคับบาทหลวงให้แต่งงานและกำหนดโทษประหาร ณ ที่ที่จับได้แก่ผุ้ให้ที่พักพิงแก่ผู้หลบหนี มีการทำพิธีสถาปนาปรัชญาความเชื่อใหม่ของฝ่ายปฏิวัติเรียกว่าลัทธิ Supreme Being ที่เชื่อว่ามีผู้สูงส่งเบื้องบนคอยดูแลฝรั่งเศสอยู่ นิกายโรมันคาทอลิก โดยทั่วไปคัดค้านการปฏิวัติ ซึ่งได้เปลี่ยนนักบวชมาเป็นลูกจ้างของรัฐและบังคับให้ต้องปฏิญาณ ความจงรักภักดีต่อชาติ และการทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านที่เจตนาทำลายการปฏิวัติเพื่อป้องกันการลุกลาม
การขยายของสงครามกลางเมืองและการรุกคืบของกองทัพต่างชาติต่อดินแดนก่อให้เกิดวิกฤตการณ์การเมืองและเพิ่มการแข่งขันระหว่าง ณีรงแด็ง กับ ฌากอแบ็ง ซึ่งหัวรุนแรงกว่า ฝ่ายหลังต่อมาได้รวมกลุ่มในกลุ่มแยกรัฐสภา เรียกว่า เมาส์เทน และพวกขาได้การสนับสนุนจากประชากรกรุงปารีส รัฐบาลฝรั้งเปสตั้ง คณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะ เพื่อปราบปรามกิจกรรมต่อต้านการปฏิวัติภายในประเทศและเพิ่มกำลังทหารฝรั้งเศส
ผู้นำสมัยแห่งความน่าสะพรึงกล็ว ใช้อำนาจผ่านศาลปฏิวัติ อย่างกว้างขวางและใช้ประหารชีวิตผุ้คนเป็นจำนวนมากและการกวาดล้างทางการเมือง การปราบปรามหนักขึ้นในเดือนมิถุนา และกรกฎา ปี 1794 ซึ่งเป็นสมัยที่เรียกว่า The Great Terror และสิ้นสุดด้วยรัฐประหาร ซึ่งนำมาสู่ปฏิกิริยาเดือนแตร์มีดอร์ ผู้สนับสนุนสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวหลายคนถูประหารชีวิต รวมทั้ง มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ คณะไรกเทอรี่ Directory เข้าควบคุมรัฐฝรั่งเศสใน และถูกแทนที่ด้วยคณะกงสุล ภายใต้การนำของ นโปเลียน โบนาปาร์ต
การปฏิวัติฝรั่งเศสนำมาซึ่งยุคใหม่ของฝรั่งเศส การเติบโตของสาธารณรัฐและประชาธิปไตยเสรีนิยม การแผ่ขยายของฆราวาสนิยม การพัฒนาอุดมการณ์สมัยใหม่และการประดิษฐ์สงครามเบ็ดเสร็จ{( Total war) คือ ความขัดแย้งอัสไร้ขอบเขตซึ่งประเทศคู่สงครามหด้ทำการเรียกระดมทรัพยากรทั้งหมดเพื่อใช้ในการทำสงครามด้วยพยายามที่จะทำลายประเทศคูสงครามอย่างสิ้นเชิง ในการทำสงครามเบ็ดเสร็จ ความแตกต่างระหว่างทหารและพลเรือนมีน้อยมากเมื่อเทียบกับสงครามประเภทอื่น และมนุษย์ทุกคนจะถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการทำสงครามของคู่สงคราม} การฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์สองครั้งแยกกันและการปฏิวัติอีสองครั้ง ขณะที่ฝรั่งเศสสมัยใหม่ก่อตัวขึ้น
English Civil War
ความไม่พอใจที่รัฐสภาบางส่วนยังคงสนับสนุนพรเจ้าชาร์ลส์ทำให้กองทหารกลุ่มหนึ่งที่นำโดยทอมัส ไพรด์ บุกเข้ายึดรัฐสภา รัฐสภาที่เหลือเรียกว่ารัฐสภารัมพ์ได้รับคำสั่งให้ก่อตั้ง “ศาลยุติธรรมสูงสุดในการพิจารณาคดีพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1” ในข้อหากบฏต่อแผ่นดินการกระทำครั้งนี้เป็นที่รู้จักกันว่า “การยึดรัฐสภาของไพรด์”
เป็นสงครามกลางเมืองของอังกฤษ,สกอตแลนด์และไอร์แลนด์ที่ต่อเนื่อกันหลายครั้งระหว่างฝ่ายรัฐสภาและฝ่ายกษัตริย์นิยมตั้งแต่ปี ค.ศ.1642-1651
- ครั้งที่ 1 เกิระว่างปี ค.ศ. 1642-1646
- ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ.1648-1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพรเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 และผู้สนับสนุน รัฐสภายาว(รัฐสภาแห่งอังกฤษสมัยหนึ่ง เป็นสมัยประชุมที่ได้รับอนุมัติจากพระราชบัญญัติพิเศษเพื่อเป็นการป้องกันการยุบโดยมิได้รับมติเห็นชอบจากสมาชิกของรัฐสภาเอง )
- ครั้งที่ 3 ระหว่างปี ค.ศ.1649-1651เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์( รัฐสภาซึ่งเกิดจากการยึดรัฐสภายาว เป็นรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่มีเสียงข้างมากในการเป็นปฏิปักษ์ต่อการพิจารณาโทษของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ในข้อหากบฎต่อแผ่นดิน ซึ่งหมายถึง รัฐสภาที่หลงเหลือจากรัฐสภาพที่ถูกต้องตามกฎหมาย)
สงครามกลางเมืองอังกฤษเริ่มขึ้นหลังการสวรรคตของพระราชินีอลิซาเบธที่ 1 สี่ปี เมื่อเพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ขึ้นครองราชย์ อังกฤษและสกอตแลนด์อยู่ในความสงบพระเจ้าชาร์ลส์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะรวม ราชอาณาจักรอังกฤษ,ราชอาณาจักรสกอตแลนด์และราชอาณาจักรไอร์แลนด์เข้าเป็นราชอาณาจักรเดียกัน แต่ฝ่ายรัฐบาลมีความเคลือบแคลงใจในพระราชประสงค์นี้ว่า เพราะการก่อตั้งราชอาณาจักรใหม่อาจจะเป็นการทำลายวัฒนธรรมและประเพณีโบราณของอังกฤษที่เคยปฏิบัติมา ประกอบกับ พระองค์ทรงเชื่อว่า เป็นผู้ที่ได้รับเลือกจากพระเจ้าให้ปกครองอาณาจักรภายใต้กฎ “เทวสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์”ปรัชญาของพระองค์ยิ่งทำให้รัฐสภาเพิ่มความหวั่นระแวงต่อนโยบายของพระองค์ยิ่งขึ้น ความขัดแย้งและความเคลื่อบแคลงต่าง ๆที่เกิดขึ้นระหว่างพระเจ้าชาร์ลและรัฐสภาแห่งอังกฤษเป็นผลที่ทำให้ความสัมพันธ์แตกหักลงและนำไปสู่สงครามกลางเมืองในที่สุด
ยุคสมัยนั้นรัฐสภาแห่งอังกฤษเป็นเพียงคณะผู้ถวายคำแนะนำและเป็นเพียงเครื่องมือของพระมหากษัตริย์เท่านั้น กษัตริย์จะมีสิทธิ์เรียกประชุมหรือยุบรัฐสภาเมื่อใดก็ได้ตามพระราชประสงค์
แต่เหตุการณ์ที่ทำให้รัฐสภาเป็นกังวลคือการเสกสมรสระหว่งพระเจ้าชาร์ลที่ 1 กับเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียแห่งบูร์บอง ผู้เป็นเจ้าหญิง “โรมันคาทอลิก”จากฝรั่งเศส ผู้ได้รับการเลี้ยงดูอย่างคาทอลิก ซึ่งทำให้เป็นที่หวันกลัวต่อชาวอังกฤษโปรเตสแตนต์
และเจ้าชายชาร์ลยังมีประสงค์ที่จะเข้าร่วมในสงครามความยุ่งเหยิงของสงครามสามสิบปี …
… การเข้าร่วมสงครามต้องใช้ทุนทรัพย์มหาศาล หนทางเดียวที่จะหาทุนทรัพย์คือการจัดเก็บภาษี รัฐสภาจำกัดให้ทรงเก็บภาษีได้เพียงปีเดียว ถ้าจะเก็บในปีต่อไปพระเงค์ก็ต้องต่อรองขออนุมัติจากรัฐสภาเป็นปีๆ ไป ซึงทำให้พระองค์ทรงมีปัญหาทางการเงิน แต่ก็ไม่ทำให้พระองค์หยุดยั้งการเข้าเกี่ยวข้องในสงคราม โดยการส่งกองทัพเข้าช่วย อูเกอโนท์ ที่ถูกล้อมใน ลาดรแชลล์โดยมีดยุคแห่งบัคคิงแฮมที่ 1 เป็นแม่ทัพ แตก็ล้มเหลว
ในการดำเนินการทางการศาสนาของพระองค์ทรงทำให้การสนับสนุนนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ให้ไกลจากลัทธิคาลวินิสม์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยอัครบาทหลวง วิลเลียม ล็อด ที่ปรึกษาทางการเมืองส่วนพระองค์ และทรงแต่งตั้งเป็น อาร์ชบิชอปแห่งแคนเตอร์บรี และบาทหลวง ล็อดพยายามทำให้สถาบันศาสนาเป็นอันหนึ่งอันเดียกันโดยการปลดนักบวชที่เป็นปฏิปักษ์ต่อนโยบายและองค์การต่าง ๆ ของกลุ่มเพียวริตัน ซึ่งเป็นการต่อต้านการปฏิรูปศาสนาของประชาชนทั้งในอังกฤษและสกอตแลนด์ พระเจ้าชาร์ลทรงพยายามนำนโยบายทางศาสนาที่บังคับใช้ในอังกฤษไปในสกอตแลนด์ แต่ทางสกอตแลนด์ประท้วงอย่างรุนแรงจนเกิดจลาจล กระทั่งเป็นที่มาของ “สงครามบาทหลวง” การสู้รบไม่ทราบว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายที่ชนะอย่างเป็นที่แน่นอน ในที่สุดพระองค์ก็ยอมรับข้อเสนอยิตุการศึกจากฝ่ายสกอตแลนด์ แต่ก็เพียงชั่วคราวเมื่อสงครามบาทหลวงครั้งที่สองเร้มขึ้น ครั้งนี้ฝ่ายสกอตแลนด์ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด พระเจ้าชาร์ลทรงยอมตกลงที่จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการศาสนาในสกอตแลนด์และยังต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครมให้แก่ฝ่ายสกอตแลนด์ด้วย
สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1
พระเจ้าชาร์ลพยายามจะจับกุมสามชิกห้าคนในสภาสามัญฐแต่ไม่สำเร็จ จึงเสด็จหนีจากลอนดอนมีการตต่อลองกับรัฐสภายาวเพื่อหาทางประนีประนอมแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
นักประวัติศาสตร์ประมาณว่าทั้งสองฝ่ายมีกองำลังรวมกันเพียง ไม่เกิน 15,000 คนแต่เมืองสงครมขยายตัว ความกระทบกระเทือนก็มีผลต่สังคมทุกระดับ ชุมชนบางชุมชนพยายามรักษาตัวเป็นกลาง และป้องกันชุมชนจกากองทหารของทั้งสองฝ่าย
พระเจ้าชาร์ลเสด็จต่อไปยังน็อตติงแฮมและทรงยกธงประกาศสงครามกับฝ่ายรัฐสภา
ยุทธการเพาะวิคบริดจ์ เป็นยุทธการในสงครามกลางเมือง ที่เมืองวูสเตอร์ในมณฑลวูสเตอร์เชอร์ ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ และฝ่ายสัฐสภา ผลของสงครามครังนี้ ฝ่ายนิยมกษัตริย์ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ความเสียหายของฝ่ายนิยมกษัตริย์มีผู้เสียชีวิตที่เป็นจำนวนเพียงเล็กน้อย ส่วนฝ่ายรัฐสภามีผู้เสียชีวิต 40 คนและบาเจ็บอีก 100 คน
สงครามอย่างเป็นทางการเริ่มสู้กันครั้งแรกในยุทธการเอ็ดจฮิลล์ การต่อสู้ในยุทธการครั้งนี้ทั่งสองฝ่ายต่างก็อ้างตนเป็นฝ่ายชนะ การปะทะกันครั้งที่ 2 เกิดขึ้นที่ยุทธการเทอแนมกรีนพระเจ้าชาร์ลทรงถูกบังคับให้ให้ถอยไปยังเมืองอ็อกฟอร์ด ซึ่งกลายเป็นที่ตั้งมั่นของพระองค์จนสงครามยุติลง
ในช่วงครึ่งแรกของสงครามทางฝ่ายนิยมกษัตริย์เป็นฝ่ายได้เปรียบ จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นเมื่อปลายฤดูร้อนและต้นฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 1643 เมื่อกองทัพของเอิร์ลแห่งเอสเซ็กซ์ได้รับชัยชนะในยุทธการนิวบรีครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1643 เมื่อกองทัพของเอิร์ลแห่งเอสเซ็กซ์ได้รับชัยชนะในยุทธการนิวบรีครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1643 เมื่อกองทัพของเอิร์ลแห่งเอสเซ็กซ์ได้รับชัยชนะในยุทธการนิวบรีครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1643 ที่ทำให้สามารถกลับเช้ากรุงลอนดอนได้ นอกจากนั้นทางฝ่ายรัฐสภาก็ยังได้รับชัยชนะในยุทธการวินซบีย์ทำให้มีอำนาจในการควบคุมลิงคอล์น นการพยายามเพิ่มจะนวนทหารในการต่อสู้กับฝ่ายรัฐสภาพระเจ้าชาร์ลก็ทรงหันไปต่อรองตกายุติสงครามในไอร์แลนด์เพื่อจะได้นำกำลังทหารกลับมาต่อสู้ในอังกฤษ ขณะที่ทางฝ่ายรัฐสภาไปหาทางตกลงกับสกอตแลนด์ในการขอความช่วยเหลือ เมื่อได้รับความช่วยเหลือ ทางฝ่ายรัฐสภาก็ได้รับชัยชนะในยุทธการมารสตันมัวร์ ซึ่งทำให้มีอำนาจควบคุมในลริเวณยอร์คและทางเหนือของอังกฤษ การเป็นผู้นำในการสู้รบของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ในยุทธการต่าง ๆ เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงควารมสามารถของการเป็นทั้งผู้นำทั้งในทางการทหารและทางการเมือง
ทางฝ่ายสนับสนุนพระเจ้าชาร์ลมีความเชื่อว่าจุดประสงค์ในการต่อสู้เพื่อเป็นการอนุรักษ์สภาบันรัฐบาลในสถาบันศาสนาและราชอาณาจักรตามที่เคยเป็นมา ส่วนฝ่ายรัฐสภาก็เชื่อว่าการจับอาวุธขึ้นก็เพื่อเป็นการทำให้เกิดความสมดุลของรัฐบาลในสถาบันศาสนาและราชอาณาจักรที่เกิดจากการใช้อำนาจในทางที่ผิดของพระเจ้าชาร์ลและผู้เกี่ยวข้องในระหวางสิลเอ็ดปีของสมัยการปกครองส่วนพระองค์ทัศนคติของสมาชิกรับสภามีตั้งแต่ผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลอย่างเต็มที่ไปจนถึงมีความคิดเห็นรุนแรงที่ต้องการปฏิรูปเพื่อเสรีภาพทางศาสนา และผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการกระจายอำนาจทางการเมืองระดับชาติ
สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 2
การก่อความไม่สงบโดยฝ่ายกษัตริย์นิยมเริ่มเกิดขึ้นโดยทั่วไปอีกครั้งในอังกฤษและการรุกรานโดยสกอตแลนด์ก็เริ่มขึ้นในฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1648 กองกำลังของฝ่ายรัฐสภา สามารถกำหราบความไม่สงบเล็กๆ น้อย ๆ ในอังกฤษได้เกือบทั้งหมดแต่ความไม่สงบในเค้นท์ เอสเซ็กซื คัมเบอร์แลนด์ การปฏิวัติในเวลส์ และการรุกรานของสกอตแลนด์เป็นการต่อสู้แบบประจันหน้าและเป็นการต่อสู้ที่ยืดเยื้อกว่า
หลังสงครามกลางเมืองครั้งที่ 1 ฝ่ายกษัตริย์นิยมที่ร่วมในสงครามเกือบทั้งหมดได้รับการอภัยโทษโดยมีเงื่อนไขว่าห้ามถืออาวุธในการต่อต้านฝ่ายรัฐสภาหลังจากนั้น ผู้มีศักดิ์ศรีฝ่ายกษัตริย์นิยมเช่นเจคอป แอสต์ลีย์ บารอนแอสลีย์แห่งเรดดิงที่ 1 ไม่ยอมเสียคำพูดโดยการไม่ร่วมในสงครามกลางเมืองครั้งที่ 2 ฉะนั้นฝ่ายรัฐสภาผู้ได้รับชัยชนะในสงครามครั้งที่ 2 จึงมิได้แสดงความปราณีต่อผู้ลุกขึ้นจับอาวุธเป็นครั้งที่สอง ค่ำวันที่โคลเชสเตอร์ยอมแพ้ฝ่ายรัฐสภาก็ประหารชีวิตเซอร์ชาร์ลส์ ลูคัสและเซอร์จอร์จ ลิสเซิล ผู้มีอำนาจฝ่ายรัฐสภาตัดสินลงโทษผฝุ้เนการต่อสู้ในเวลส์ที่รวมทั้งนายพล โรว์แลนดื ลาฟาร์น นายพันจอห์น พอยเยอร์ และนายพันไรซ์ เพาเวล โดยการประหารชีวิต แต่อันที่จริงแล้วก็สังหารพอยเยอร์เพีงคนเดียว โดยการเลือกจาบรรดาผู้น้ำที่เป็นขุนนางคนสำคัญ ๆ ซึ่งจับได้สามคนจากทั้งหมด ห้าคน และอาร์เธอร์ เคเพลล์ บารอนคาเพลล์แห่งฉฮดฉฮมที่ 1 ถูกประหารชีวิตโดยการตัดหัวที่เวสต์มินสเตอร์
การทรยศของพระเจ้าชาร์ลส์ในการก่อสงครามกลางเมืองสองครั้งทำให้ฝ่ายรัฐสภาต้องโต้แย้งกันว่าเป็นการสมควรหรือไม่ที่จให้พระองค์ทรงปกครองประเทศต่อไป ผู้ที่ยังคงสนับสนุนพระองค์ก็ยังคงพยายามเจรจาต่อรองกับพระองค์
เมื่อการพิจารณาคดีสิ้นสุดลงก็มีคณะกรรมการผู้พิพากษา 59 คนก็ตัดสินวาพระเจ้าชาร์ลส์ทรงมีความผิดในข้อหากบฎต่อแผ่นดินเพราะทงเป็นผู้ “กดขี่ ทรยศ ฆาตกรรม และเป็นศัตรูต่อประชาชน การปลงพระชนม์ด้วยการตัดพระเศียรเกิดขึ้นหน้าตึกเลี้ยงรับรองของพระราชวังไวท์ฮอล์ หลังการฟื้นฟูราชวงศ์ ในปี ค.ศ. 1660 พระเจ้าชาร์ลที่ 2 ก็ทรงประหารชีวิต คณะกรรมการผู้พิพาษาบางคนที่ยังมีชีวิตอยู่และทียังไม่มีโอกาศหลบหนีไปต่างประเทศ หรือไม่ก็จำคุกตลอดชีพ
สงครามกลางเมืองครั้งที่ 3
ไอร์แลนด์
ไอร์แลนด์มีสงครามติดต่อกันมาตั้งแต่การปฏิวัติไอร์แลนด์ โดยมีสหพันธ์ไอร์แลนด์ เป็นผู้มีอำนาจควบคุมไอร์แลนด์เกือบทั้งหมด แต่อำนาจของกองทัพฝ่ายรัฐสภาของอังกฤษก็เพิ่มมากขึ้นทุกวันหลังจากที่พระเจ้าชาร์ลทรงถูกจับได้ แล้วฝ่ายสหพันธ์ก็ลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรกับฝ่ายกษัตริย์นิยมอังกฤษ กองกำลังร่วมระหว่างฝ่ายกษัตริย์นิยมอังกฤษและฝ่ายสหพันธ์ไอร์แลนด์ภายใต้การนำของเจมส์การนำของเจมส์ บัตเลอร์ ดยุคแห่งออร์มอนด์ที่ 1 พยายามที่จะกำจัดกองทัพฝ่ายรัฐสภาพของอังกฤษที่ยึดดับลินอยู่ แต่ฝ่ายรัฐสภาก็ดึงการต่อสู้ไปที่ยุทธการรัธไมน์ส อดีตสมาชิกรัฐสภานายพลโรเบิร์ต เบลค หยุดยั้งกองทัพเรือของเจ้าชายรูเปิร์ตที่ดินสเซล แต่โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ขึ้นฝั่งได้ที่ดับลิน พร้อมกับกองทัพท่นำมาปราบฝ่ายพันธมิตรของกษัตริย์นิยมอังกฤษและสหพันธ์ไอร์แลนด์
การกำหราบฝ่ายกษัตริย์นิยมในไอร์แลนด์ของครอมเวลล์ในไอร์แลนด์ มีผลกระทบต่อชาวไอร์แลนด์เป็นเป็นระยะเวลานาน หลังจากได้รับชัยชนะ การล้อมเมืองโดรเกดา แล้วทางฝ่ายรัฐสภารัฐสภาก็จัดการสังหารหมู่ของผุ้คนร่วมสามพันกว่าคน ในจำนวนนั้นสองพันเจ็ดร้อยคนเป็นทหารฝ่ายกษัตริย์นิยม แต่อีก 700 คนไม่ใช่ทหารแต่รวมทั้งประชาชน นักโทษและนักบวชโรมันคาทอลิก
ความทารุณจากเหตุการ์ครั้งนี้กลายมาเป็นสาเหตุหนึ่งของความบาดหมางระหว่างชาวไอร์แลนด์ที่มีต่อชาวอังกฤษ และระฟว่างผุ้เป็นโรมันคาทอลิกต่อผู้เป็นโปรเตสแตนต์เป็นเวลาร่วมสามร้อยปีต่อมา การสังหารหมู่เป็นการกระทำที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของภาพพจน์ที่ชาวไอร์แลนด์มีต่อความทารุณของครอมเวลล์ แม้ว่าชาวไอร์แลนด์จะยังมาเสียชีวิตอีกเป็นจำนวนมากมายกว่าที่เกิดขึ้นที่โดรเกดา และเว็กซ์ฟอร์ดในสงครามกองโจร ทีเกิดขึ้นต่อมาหลังจากนั้น แต่อย่างไรก็ตามฝ่ายรัฐสภาก็มิได้รับชัยชนะต่อไอร์แลนด์ กระทั่งอีกสี่ปีต่อมา เมื่อกองทัพฝ่าย สหพันธ์ไอร์แลนด์และฝ่ายกษัตริย์นิยมยอมแพ้
นักประวัติศาสตร์ประมาณกันว่าในบั้นปลายของสงครามไอร์แลนด์สูญเสียประชากรไปราว สามสิบเปอร์เซ็น ซึ่งไม่ก็จากสงครามหรือจากการหนีไปต่างประเทศ ผู้ที่ได้รับชัยชนะก็ยึดที่ดินที่เป็นของโรมันคาทอลิกแต่เดิมเกือบทั้งหมดและแจกจ่ายให้แก่เจ้าหนี้รัฐสภา ทหารฝ่ายรัฐสภาที่ไปรบที่ไอร์แลนด์ และแก่ชาวอังกฤษที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในไอร์แลนด์ก่อนสงคราม
สก็อตแลนด์
การปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เป็นการเปลี่ยนแนวทางของสงครามสามอาณาจักร ซึ่งเป็นสงครามของความขัแย้งระหว่าง่ายกษัตริย์นิยม และกลุ่มพันธสัญญา ความขัดแย้งก็ทำให้ฝ่ายกษัตริย์นิยมอยู่ในสภาวะที่ปั่นป่วนส่วนเจมส์ แกรม มาร์ควิสแห่งมอนท์โรสที่ 2 ผุ้นำก็หนีไปต่างประเทศเมื่องเริ่มแรกพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงหนุนให้มาร์ควิสแห่งมอนท์โรสรวบรวมกองทัพในสกอตแลนด์ในมาร่วมกับฝ่ายกษัตริย์นิยม แต่กลุ่มพันธสัญญา และความมีอิสระของสกอตแลนด์ภายใต้เครือจักภพแห่งอังกฤษ ก็ถวายราชบัลลังก์สกอตแลนด์ภายใต้เครือจักรภพแห่งอังกฤษ ก็ถวายราชบัลลังก์สกอตแลนด์ให้แก่พระเจ้าชาร์ลที่ 2 พระเจ้าชาร์ลส์ทรงทิ้งมาร์คควิสไว้กับศัตรู แต่มาร์ควิสแห่งมอนท์โรสผู้ไปรวบรวมกองทหารมาจากนอร์เวย์มาขึ้นฝั่งได้และไม่สามารถยุติการต่อสู้ได้ ในที่สุดฝ่ายพันธสัญญาก็ได้รับชัยชนะต่อมอนท์โรสที่ยุทธการคาร์บิสเดล ในรอสไชร์มอนท์โรสถูกฝ่ายพันธสัญญาจับได้หลังจากนั้นไม่นานนักและถูกแขวนคอในวันต่อมา
พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงขึ้นฝั่งสกอตแลนด์ที่การ์มัธในมลฑลมอเรย์เชอร์และทรงลงนามในพันธสัญญาแห่งชาติ และข้อตกลงระหวางฝ่ายรัฐสภากับกลุ่มพันธสัญญา ทั้นที่หลังจากที่ทรงขึ้นฝั่ง ด้วยความสนับสนุนของฝ่ายกษัตริย์นิยมของสกอตแลนด์เดิมและกองทัพของกลุ่มพันธสัญญาใหม่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ก็กลายเป็นปัญหาสำคัญของสาธารณรัฐอังกฤษ ในการตอบโต้ต่อความมั่นคงของสาธารณรัฐ ครอมเวลล์ก็ทิ้งนายทหารบางคนไว้ที่ไอร์แลนด์เพื่อปราบปรมความไม่สงบที่นั่นต่อไปและตนเองเดินทางกลับอังกฤษ
ในเดือนกรกฎา 1651 กองทัพของครอมเวลล์ข้ามปากน้ำเฟิร์ธออฟฟอร์ธไปยังเมืองไฟฟ์และได้รับชัยชนะต่อฝ่ายสกอตแลนด์ในยุทธการอินเวอต์คีทธิง กองทัพตัวอย่างเดินทัพล่วงหน้าไปยังเพิร์ธ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้พระเจ้าชาร์ลนำกองทัพสกอตแลนด์เดินทัพลงใต้ไปยังอังกฤษ ครองเวลล์จึงเดินทัพตามกองทัพสกอตแลนด์โดยท้ง จอร์จ มองค์ ดยุคแห่งอาลเบยัดสเตอร์ลิง เป็นการกำหราบการต่อต้านที่กระเส็นกระสายของฝ่ายต่อต้านเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้น จากนั้นภายใต้ “ข้อเสนอสหภาพ” ก็เป็นตกลงกันว่าสกอตแลนด์มีสิทธิที่จะมี่นั่งรัฐสภาในลอนดอนร่วม 30 ที่นั่งโดยมีนายพลองค์เป็นข้าหลวงแห่งสกอตแลนด์
อังกฤษ
แม้ว่ากองทัพตัวอย่างของครอมเวลล์จะได้รับชัยชนะต่อกองทัพสกอตแลนด์ที่ดันบาร์แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งพรเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ในการเดินทัพทางไปทางตะวันตกไปในบริเวณที่ผู้สนับสนุนฝ่ายกษัตริย์นิยมหนาแน่นแต่แม้วาจะมีผู้มาสมทบแต่ก็เป็นจำนวนน้อยกว่าที่พระเจ้าชาร์ลส์และกองทัพสกอตแลนด์ของพระองค์คาดหวังไว้ ในที่สุดกองทัพฝ่ายกษัตริย์และฝ่ายรัฐสภาก็เข้าประจันหน้ากันโดยครอมเวลฃ์เป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะที่วูสเตอร์พระเจ้าชาร์ลจึงจำต้องเสด็จหนีและในที่สุดก็ข้ามไปฝรั่งเศสซึ่งเป็ฯการทำให้สงครามกลางเมืองอังกฤษยุติลง
สงครามทำให้อังกฤษ สอกตแลนด์และไอร์แลนด์กลายเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในยุโรปในขณะนั้นที่ไม่มีกษัตริย์เป็นประมุข หลังจากการปลงพระชนม์พระเจ้าชาร์ลที่ 1 รัฐบาลสาธารณรัฐของเครือจักรภพแห่งอังกฤษ ปกครองอังกฤษ รัฐสภามีการแบ่งตัวเป็นฝักฝ่ายและมีความขัดแย้งภายใน ในที่สุด โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ขึ้นปกครองรัฐผู้พิทักษ์(ซึ่งเท่ากับเป็นระบอบเผด็จการ) บ้านเมืองกำลังจะกลายเป็นอนาธิปไตย นายพลจอร์จ มองค์ ผุ้เป็นข้อหลวงของสกอตแลนด์ภายใต้ครอมเวลล์พร้อมด้วยกองทัพสกอตแลนด์ก็ยกทัพมาจากสกอตแลนด์เพื่อปูทางในการฟื้นฟูราชวงศ์
4 เมษา 1660 ตามพระราชประกาศเบรดาพรเจ้าชาร์ลที่ 2 ทรงวางเงื่อนไขต่าง ๆ ในการยอมรบกลัลมาเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอังกฤษ จึงเกิดเหตุการณ์อันเป็นที่รู้จักกันดีว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ”
สงครามกลางเมืองมีผลในการวางพื้นฐานในระบบการปกครองอังกฤษและสกอตแลนด์เป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นรากฐานของการก่อตั้งราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
หลังจากการฟื้นฟูราชวงศ์ฝักฝ่ายของรัฐสภาก็กลายเป็นพรรคการเมือง ที่ต่อมากลายเป็นพรรคทอรี และพรรควิก ที่มีปรัชญาการปกครองที่แตกต่างกันในการมีอิทธิพลต่อการตัดสินพระทัยของพระมหากษัตริย์
วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
Sir Isaac Newton
เซอร์ไอแซค นิวตัน นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักปรัชญา นักเล่นแร่แปรธาตุ และนักเทววิทยาชาวอังกฤษ
Philosophiae Naturalis Primcipia Mathematica หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า Principia เป็นหนึ่งในหนังสือที่มีอิทธิพลที่สุดในประวัตศาสตร์วิทยาศาสตร์ เป็นรากฐานของวิชากลศาสตร์ดั้งเดิม ในงานเขียนชิ้นนี้ นิวตันพรรณนาถึง กฎแรงโน้มถ่วงสากล และกฎการเคลื่อนที่องนิวตัน ซึ่ง เป็นกฎทางวิทยาศาสตร์อันเป็นเสาหลักของการศึกษาจักรวาลทางกายภาพตลอดช่วง 3 ศตวรรษถัดมา นิวตันแสดงให้เห็นว่า การเคลื่อนที่ของวัตถุต่าง ๆ บนโลกและวัตถุท้องฟ้าล้วนอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติชนิดเดียวกัน โดยแสดงให้เห็นความสอดคล้องระหว่างกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเคปเลอร์กับทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของตน ซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล และช่วยให้การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
นิวตันสร้างกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงที่สามารถใช้งานจริงเป็นเครื่องแรก และพัฒนาทฤษฎีสีโดยอ้างอิงจากผลสังเกดตการณ์ว่า ปริซึมสามเหลี่ยมสามารถแยกแสงสีขาวออกเนหลายๆ สีได้ ซึ่งเป็นที่มาของสเปกตัมแสงที่มองเห็น เขายังคิดค้น กฎการเย็นตัวของนิวตัน และศึกษาความเร็วของเสียง
ในทางคณิตศาสตร์ นิวตันกับก็
อตฟรีด ไลย์นิซ ร่วมกันพัฒนาทฤษฎีแคลคูลัสเชิงปริพันธ์และอนุพันธ์ เขายังสาธิตทฤษฎีบททวินามและพัฒนากระบวนวิธีของนิวตันขึ้นเพื่อการประมาณค่ารากของฟังก์ชัน รวมถึงมีส่วนร่วมในการศึกษาอนุกรมกำลัง
นิวตันไม่เชือ่เรื่องศาสนา เขาเป็นคริสเตียนนอกนิกายออร์โธดอกซ์ และยังเขียนงานตีความคัมภีร์ไบเบิลกับงานศึกษาด้านไสยศาสตร์มากว่างานด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อีก เขาต่อต้านแนวคิดตรีเอกภาพอย่างลับ ๆ และเกรงกลัวในการถูกกล่าวหาเนืองจากปฏิเสธการถือบวช
ไอแซก นิวตัน ได้รับยกย่องจากปราชญ์และสมาชิกสมาคมต่าง ๆ ว่าเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธฺพลที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
ไอแซก นิวตัน เกิดที่วูลส์ธอร์พแมนเนอร์ ในลินคอล์นเชียร์ อังกฤษ บิดาของเขาเป็นชาวนาผู้มั่งคั่ง เสียชีวิตก่อนเขาเกิด 3 เดือน มารดาของเขาแต่งงานใหม่และเขาไม่ชอบพ่อเลี้ยง นิวตันเคยหมั้นครั้งหนึ่งในช่วงปลายวัยรุ่น แต่เขาไม่เคยแต่งงาน
นิวตันเข้าเรียนที่ วิทยาลัยทรินิตี้ เคมบริดจ์ ในฐานะซีซาร์ (คือทุนชนิดหนึงซึ่งนักศึกษาต้องทำงานเพ่อแลกกับที่พักอาษรและ ค่าธรรมเนียม) การเรียนการสอนสมัยนั้นอยู่บนพื้นฐานความคิดของอริสโตเติล แต่เขาชอบแนวคิดของนักปรัชญายุใหม่คนอื่น ๆ เขาค้นพบ ทฤษฎีบทวินาม และเริ่มพัฒนาทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ซึ่งต่อมากลายเป็นแคลคูลัสกนิกนันต์ และจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1665 หลังจากนั้นไม่นานมหาวิทยาลัยต้องปิดลงชั่วคราวเนื่องจากโรคระบาดครั้งใหญ่
การหล่นของผลแอปเปิล ทำให้เกิดคำถามอยู่ในใจของนิวตันว่าแรงของโลกที่ทำให้ผลแอปเปิลหล่นน่าจะเป็นแรงเดียวกันกับแรงที่ “ดึง” ดวงจันทร์เอาไว้ไม่ไปที่อื่นและทำให้เกิดโคจรรอบโลกเป็นวงรี ผลการคำนวณเป็นสิ่งยืนบันความคิดนี้แต่ยังไม่แน่ชัดกระทั้งการเขียนจดหมายโต้ตอบระหว่างนิวตันและโรเบิร์ต ฮุก ที่ทำให้นิวตันมีความมั่นใจและยืนยันหลักการกลศาสตร์ เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ได้เต็มที่
ในปีเดียวกัน เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ได้มาเยียมนิวตันเพื่อถกเถียงเกี่ยวกับคำถามเรื่องดาวเคราะห์ ฮัลเลย์ต้องประหลาดใจที่นิวตันกล่าวว่าแรงกระทำระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ที่ทำให้การโคจรที่ทำให้วงโคจรเป็นรูปวงรีได้นั้นเป็นไปตากฎกำลังสองที่นิวตันได้พิสูจน์ไว้แล้วนั่นเอง ซึ่งนิวตันได้ส่งเอกสารในเรื่อนี้ไปให้ฮัลเลย์ดุในภายหลังและฮัลเลย์ก็ได้ชักชวนขอให้นิวตันเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้น และหลังการเป็นศัตรูคู่ปรกปักษ์ระหว่างนิวตันและฮุกมาเป็นเวลานานเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ในการเป็นผู้ค้นพบ “กฎกำลังสอง” แห่งการดึงดูด หนังสือเรื่อง “หลักการคณิตศาสตร์ว่าด้วยปรัชญาธรรมชาติ” ก็ได้รับการตีพิมพ์ เนื้อหาในเล่นอธิบายเรื่องความโน้มถ่วงสากลและเป็นการวางรากฐานของกลศาสตร์ดั้งเดิม (กลศาสตร์คลาสสิค) ผ่านกฎการเคลื่อนที่ ซึ่งนิวตัน ตังขึ้น นอกจากนี้ นิวตันยังมีชื่อเสียงร่วมกับ กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลนิซ ในฐานะที่ต่างเป็นผู้พัฒนาแคลคูลัสเชิงอนุพันธ์อีกด้วย
งานชิ้นสำคัญซึ่งรอการตีพิมพ์อยุ่หลายปีทำให้นิวตันได้รับการยอมรับว่าเป็นนักฟิสิกสกายภาพที่ยิ่งใหญ๋ที่สุดผลกระทบสูงมาก นิวตันได้เปลี่ยนโฉมวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่มีมาแต่เกิดโดยสิ้นเชิง นิวตันได้ทำให้งานที่เริ่มมตั้งแต่สมัยกลางและได้รับการเสริมต่อโดยความพยายามของกาลิเลโอเป็นผลสำเร็จลง และ “กฎการเคลื่อนที่” นี้ได้กลายเป็นพื้นฐานของงานสำคัญทั้งหมดในสมัยต่อ ๆ มา
นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลโรงผลิตกษาปณ์เนื่องจากรัฐบาลต้องการบุคคลที่ซื่อสัตย์สุจริตและมีความเฉลียวฉลาดเพื่อต่อสู้กับการปลอมแปลงที่ดาษดื่นมากในขณะนั้น และได้รับการแต่งตั้งเป็ฯผู้อำนวนการในปี ค.ศ. 1699 หลังจากได้แสดงความสามารถเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นผู้บริหารที่ยอดเยี่ยม ในปี ค.ศ. 1704 นิวตันตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “ทัศนศาสตร์” Optics ฉบับภาษาองกฤษ ซึ่งนิวตันรอกระทั้งฮุก คูปรับเก่าถึงแก่กรรมแล้ว
นิวตันไม่เคยแต่งงาน และไม่มีหลักฐานใดบ่งว่าเขามีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับผุ้ใด แม้จะไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่ก็เชื่อกันโดยทั่งไปว่าเขาถึงแก่กรรมโดยที่ยังบริสุทธิ์
นิวตันมักมีอาการปริวิตกอยู่เป็นนิจจนเชื่อกันว่าเกิดจากการถูกมารดาทอดทิ้งในสมัยที่เป็ฯเด็ก และความบ้าคลั่งดังกล่าวแสดงออกมาให้เห็นตลอดการมีชีวิต อาการสติแตกของนิวตันในปี ค.ศ. 1693 ถือเป็นการป่าวประกาศยุติการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของนิวตัน หลังได้รับพระราชทานบรรดาศักิ์เป็นขุนนางระดับเซอร์ในปี ค.ศ. 1705 นิวตันไช้ชีวิตในบั้นปลายภายใต้การดูแลของหลานสาว นิวตัสไม่ได้แต่งงาน แต่ก็มีความสุขเป็ฯอย่างมากในการอุปการะนักวิทยาศาสตร์รุ่งหลัง ๆ และนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1703 เป็นต้นมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต นิวตันดำรงตำแหน่งนายกราชสมาคมแห่งลอดดอน โดยได้รับสมญาว่า “นายกสภาผุ้กดขี่” เมื่อนิวตันเสียชีวิตลง พิธีศพของเขาจัดยอ่างยิ่งใหญ่เที่ยบเท่ากษัติรย์ ศพของเขาฝั่งอยู่ที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ เช่นเดียวกับกษัตริย์และพระบรมวงศานุ
วงศ์ชั้นสูงของอังกฤษ
“ ฉันไม่รู้หรอกว่าโลกเห็นแนเป็นอย่างไร แต่กับตัวเองแล้ว ฉันเหมือนจะเป็นเด็กที่เล่นอยู่ริมชายฝั่ง
เพลิดเพลินกับการเสาะหาก้อนกรวดเรียบ ๆ หรือเปลือกหอยที่สวยเป็นพิเศษ
ขณะที่มหาสมุทรแห่งความจริงอันยิ่งใหญ่ทอดตัวอยู่เบื้องหน้าโดยยังไม่ถูกค้นพบ”
บันทึกในช่วงหลัง ของนิวตัน
Philosophiae Naturalis Primcipia Mathematica หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า Principia เป็นหนึ่งในหนังสือที่มีอิทธิพลที่สุดในประวัตศาสตร์วิทยาศาสตร์ เป็นรากฐานของวิชากลศาสตร์ดั้งเดิม ในงานเขียนชิ้นนี้ นิวตันพรรณนาถึง กฎแรงโน้มถ่วงสากล และกฎการเคลื่อนที่องนิวตัน ซึ่ง เป็นกฎทางวิทยาศาสตร์อันเป็นเสาหลักของการศึกษาจักรวาลทางกายภาพตลอดช่วง 3 ศตวรรษถัดมา นิวตันแสดงให้เห็นว่า การเคลื่อนที่ของวัตถุต่าง ๆ บนโลกและวัตถุท้องฟ้าล้วนอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติชนิดเดียวกัน โดยแสดงให้เห็นความสอดคล้องระหว่างกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเคปเลอร์กับทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของตน ซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล และช่วยให้การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
นิวตันสร้างกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงที่สามารถใช้งานจริงเป็นเครื่องแรก และพัฒนาทฤษฎีสีโดยอ้างอิงจากผลสังเกดตการณ์ว่า ปริซึมสามเหลี่ยมสามารถแยกแสงสีขาวออกเนหลายๆ สีได้ ซึ่งเป็นที่มาของสเปกตัมแสงที่มองเห็น เขายังคิดค้น กฎการเย็นตัวของนิวตัน และศึกษาความเร็วของเสียง
ในทางคณิตศาสตร์ นิวตันกับก็
อตฟรีด ไลย์นิซ ร่วมกันพัฒนาทฤษฎีแคลคูลัสเชิงปริพันธ์และอนุพันธ์ เขายังสาธิตทฤษฎีบททวินามและพัฒนากระบวนวิธีของนิวตันขึ้นเพื่อการประมาณค่ารากของฟังก์ชัน รวมถึงมีส่วนร่วมในการศึกษาอนุกรมกำลัง
นิวตันไม่เชือ่เรื่องศาสนา เขาเป็นคริสเตียนนอกนิกายออร์โธดอกซ์ และยังเขียนงานตีความคัมภีร์ไบเบิลกับงานศึกษาด้านไสยศาสตร์มากว่างานด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อีก เขาต่อต้านแนวคิดตรีเอกภาพอย่างลับ ๆ และเกรงกลัวในการถูกกล่าวหาเนืองจากปฏิเสธการถือบวช
ไอแซก นิวตัน ได้รับยกย่องจากปราชญ์และสมาชิกสมาคมต่าง ๆ ว่าเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธฺพลที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
ไอแซก นิวตัน เกิดที่วูลส์ธอร์พแมนเนอร์ ในลินคอล์นเชียร์ อังกฤษ บิดาของเขาเป็นชาวนาผู้มั่งคั่ง เสียชีวิตก่อนเขาเกิด 3 เดือน มารดาของเขาแต่งงานใหม่และเขาไม่ชอบพ่อเลี้ยง นิวตันเคยหมั้นครั้งหนึ่งในช่วงปลายวัยรุ่น แต่เขาไม่เคยแต่งงาน
นิวตันเข้าเรียนที่ วิทยาลัยทรินิตี้ เคมบริดจ์ ในฐานะซีซาร์ (คือทุนชนิดหนึงซึ่งนักศึกษาต้องทำงานเพ่อแลกกับที่พักอาษรและ ค่าธรรมเนียม) การเรียนการสอนสมัยนั้นอยู่บนพื้นฐานความคิดของอริสโตเติล แต่เขาชอบแนวคิดของนักปรัชญายุใหม่คนอื่น ๆ เขาค้นพบ ทฤษฎีบทวินาม และเริ่มพัฒนาทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ซึ่งต่อมากลายเป็นแคลคูลัสกนิกนันต์ และจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1665 หลังจากนั้นไม่นานมหาวิทยาลัยต้องปิดลงชั่วคราวเนื่องจากโรคระบาดครั้งใหญ่
การหล่นของผลแอปเปิล ทำให้เกิดคำถามอยู่ในใจของนิวตันว่าแรงของโลกที่ทำให้ผลแอปเปิลหล่นน่าจะเป็นแรงเดียวกันกับแรงที่ “ดึง” ดวงจันทร์เอาไว้ไม่ไปที่อื่นและทำให้เกิดโคจรรอบโลกเป็นวงรี ผลการคำนวณเป็นสิ่งยืนบันความคิดนี้แต่ยังไม่แน่ชัดกระทั้งการเขียนจดหมายโต้ตอบระหว่างนิวตันและโรเบิร์ต ฮุก ที่ทำให้นิวตันมีความมั่นใจและยืนยันหลักการกลศาสตร์ เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ได้เต็มที่
ในปีเดียวกัน เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ได้มาเยียมนิวตันเพื่อถกเถียงเกี่ยวกับคำถามเรื่องดาวเคราะห์ ฮัลเลย์ต้องประหลาดใจที่นิวตันกล่าวว่าแรงกระทำระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ที่ทำให้การโคจรที่ทำให้วงโคจรเป็นรูปวงรีได้นั้นเป็นไปตากฎกำลังสองที่นิวตันได้พิสูจน์ไว้แล้วนั่นเอง ซึ่งนิวตันได้ส่งเอกสารในเรื่อนี้ไปให้ฮัลเลย์ดุในภายหลังและฮัลเลย์ก็ได้ชักชวนขอให้นิวตันเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้น และหลังการเป็นศัตรูคู่ปรกปักษ์ระหว่างนิวตันและฮุกมาเป็นเวลานานเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ในการเป็นผู้ค้นพบ “กฎกำลังสอง” แห่งการดึงดูด หนังสือเรื่อง “หลักการคณิตศาสตร์ว่าด้วยปรัชญาธรรมชาติ” ก็ได้รับการตีพิมพ์ เนื้อหาในเล่นอธิบายเรื่องความโน้มถ่วงสากลและเป็นการวางรากฐานของกลศาสตร์ดั้งเดิม (กลศาสตร์คลาสสิค) ผ่านกฎการเคลื่อนที่ ซึ่งนิวตัน ตังขึ้น นอกจากนี้ นิวตันยังมีชื่อเสียงร่วมกับ กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลนิซ ในฐานะที่ต่างเป็นผู้พัฒนาแคลคูลัสเชิงอนุพันธ์อีกด้วย
งานชิ้นสำคัญซึ่งรอการตีพิมพ์อยุ่หลายปีทำให้นิวตันได้รับการยอมรับว่าเป็นนักฟิสิกสกายภาพที่ยิ่งใหญ๋ที่สุดผลกระทบสูงมาก นิวตันได้เปลี่ยนโฉมวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่มีมาแต่เกิดโดยสิ้นเชิง นิวตันได้ทำให้งานที่เริ่มมตั้งแต่สมัยกลางและได้รับการเสริมต่อโดยความพยายามของกาลิเลโอเป็นผลสำเร็จลง และ “กฎการเคลื่อนที่” นี้ได้กลายเป็นพื้นฐานของงานสำคัญทั้งหมดในสมัยต่อ ๆ มา
นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลโรงผลิตกษาปณ์เนื่องจากรัฐบาลต้องการบุคคลที่ซื่อสัตย์สุจริตและมีความเฉลียวฉลาดเพื่อต่อสู้กับการปลอมแปลงที่ดาษดื่นมากในขณะนั้น และได้รับการแต่งตั้งเป็ฯผู้อำนวนการในปี ค.ศ. 1699 หลังจากได้แสดงความสามารถเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นผู้บริหารที่ยอดเยี่ยม ในปี ค.ศ. 1704 นิวตันตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “ทัศนศาสตร์” Optics ฉบับภาษาองกฤษ ซึ่งนิวตันรอกระทั้งฮุก คูปรับเก่าถึงแก่กรรมแล้ว
นิวตันไม่เคยแต่งงาน และไม่มีหลักฐานใดบ่งว่าเขามีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับผุ้ใด แม้จะไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่ก็เชื่อกันโดยทั่งไปว่าเขาถึงแก่กรรมโดยที่ยังบริสุทธิ์
นิวตันมักมีอาการปริวิตกอยู่เป็นนิจจนเชื่อกันว่าเกิดจากการถูกมารดาทอดทิ้งในสมัยที่เป็ฯเด็ก และความบ้าคลั่งดังกล่าวแสดงออกมาให้เห็นตลอดการมีชีวิต อาการสติแตกของนิวตันในปี ค.ศ. 1693 ถือเป็นการป่าวประกาศยุติการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของนิวตัน หลังได้รับพระราชทานบรรดาศักิ์เป็นขุนนางระดับเซอร์ในปี ค.ศ. 1705 นิวตันไช้ชีวิตในบั้นปลายภายใต้การดูแลของหลานสาว นิวตัสไม่ได้แต่งงาน แต่ก็มีความสุขเป็ฯอย่างมากในการอุปการะนักวิทยาศาสตร์รุ่งหลัง ๆ และนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1703 เป็นต้นมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต นิวตันดำรงตำแหน่งนายกราชสมาคมแห่งลอดดอน โดยได้รับสมญาว่า “นายกสภาผุ้กดขี่” เมื่อนิวตันเสียชีวิตลง พิธีศพของเขาจัดยอ่างยิ่งใหญ่เที่ยบเท่ากษัติรย์ ศพของเขาฝั่งอยู่ที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ เช่นเดียวกับกษัตริย์และพระบรมวงศานุ
วงศ์ชั้นสูงของอังกฤษ
“ ฉันไม่รู้หรอกว่าโลกเห็นแนเป็นอย่างไร แต่กับตัวเองแล้ว ฉันเหมือนจะเป็นเด็กที่เล่นอยู่ริมชายฝั่ง
เพลิดเพลินกับการเสาะหาก้อนกรวดเรียบ ๆ หรือเปลือกหอยที่สวยเป็นพิเศษ
ขณะที่มหาสมุทรแห่งความจริงอันยิ่งใหญ่ทอดตัวอยู่เบื้องหน้าโดยยังไม่ถูกค้นพบ”
บันทึกในช่วงหลัง ของนิวตัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...