วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Napoleon Bonaparte

    27 
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 หรือ นโปเลียน โบนาปาร์ต เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่ของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1799  และได้กลายเป็นจักรพรรดิของชาวฝรั่งเศสระหว่างปี  ค.ศ. 1804-1814 ผู้มีชัยและปกครองดินแดนส่วนใหญ่ของทวีปยุโรป และได้แต่งตั้งให้แม่ทัพและพี่น้องของเขาขึ้นครองบัลลังก์ในราชอาณาจักรยุโรปหลายแห่งด้วยกัน เช่น ประเทศสเปน เมืองเนเปิลส์ในประเทศอิตาลี แค้วนเวสต์ฟาเลีย ในประเทศเยอรมนี ประเทศเนเธอร์แลนด์ และประเทศสวีเดน france_rel01
     นโปเลียนเกิดที่เมือง อาฌักซีโย บนเกาะคอร์ซิกา หลังจากฝรั่งเศสซื้อเกาะแห่งนี้เพียง 1 ปี ในตอนแรกเขาถูกมองว่าเป็นชาวต่างชาติคนหนึ่ง ภายหลังการศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหาร ที่เมืองโอเติง บรีแดนน์ และโรงเรียนทหารแห่งกรุงปารีส เขาก็ได้เข้าร่วมกองพลปืนใหญ่ เขาด้รับการแต่งตั้งเป็นรอยตรี่เมืองวาล็องซ์ ด้วยอารมณ์ที่ซ่อนเร้น ออกแนว โรแมนติก ความอยากรู้อยากเห็นไม่มีที่สิ้นสุด บวกกับความทรงจำทีเป็นเลิศ นโปเลียนหนุ่มมีความถนัดทางใช้สติปัญญามากว่าทางใช้กำลัง
     เมื่อการปฏิวัติฝรั่งเศสประทุขึ้น ร้อยโทโบนาปาร์ตได้อยู่ในเหตุการณ์ที่กรุงปารีส โดยเป็นฝ่ายสังเกตการณ์ เขาได้เฝ้าดูประชาชนบุกพระราชวังตุยเลอรีด้วยความรู้สึกขยะแขยง นโปเลียนเดินทางกลับมายังเกาะคอร์ซิกา ที่ซึ่งการสู้รบระหว่างฝ่ายต่าง ๆ เริ่มขึ้นอีกครั้ง นโปเลียนได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าของกองกำลังป้องกันตนเองแห่งชาติ โดยการแย่งเอากองกำลังจากคณะกรรมาธิการของรัฐมาส่วนหนึ่ง แต่การประหารกษัตริย์ได้ทำให้เกิดการต่อต้านของฝ่ายอิสระ สงครามกลางเมืองได้ประทุขึ้นและตระกูลของนโปเลียนต้องหลบหนีออกจากเกาะคอร์ซิกา มายังประเทศฝรั่งเศส
      โบนาปาร์ตสนับสนุนการปฏิวัติ และได้ถูกส่งตัวไปรับตำแหน่างนายร้อยในกองทัพปืนใหญ่ แผนการที่นโปเลียนมอบใหฌารคสื ฟร็องซัวส์ ดูก็องมิเย ทำให้สามารถยึดตูลองคือมาจากกองทัพกลุ่มสนับสนุนระบอบกษัตริย์และพวกอังกฤษได้ มิตรภาพระหว่างเขาทไห้ถูกจับในช่วงสั้น ๆ หลังจากได้รับอิสรภาพ ปอลบาร์ราส์อนุญาติให้เขาบดขยี้กลุ่มผุ้สนับสนุนราชวงศ์ที่ลุกฮือที่เมืองว็องเดแมร์ เพ่อต่ต้านสมัชชาแห่งชาติ และปฏิบติการประสบลผลสำเร็จ
   เพื่อเป็นรางวัล ที่ปราบกบฎฝักใฝ่กษัตริย์ได้ นโปเลียนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่างแม่ทัพแห่งกองกำลังอิตาลี เพื่อยึดอิตาลีคือจากออสเตรีย  จากการบังคับบัญชาการของนโปเลียนทำให้ออสเตรีย จำเป็นต้องลงนามในสนธิสัญญาที่เสียเปรียบ ว่าด้วยเรื่องการให้ผรั่งเศสเข้าครองเบลเยี่ยม และยึดพรมแดนไปติดแม่น้ำไรน์ ส่วนออสเตรียได้ถือครองแค้วนเวเนเซีย
  Screen2[1]   เหตุการณ์ในอิตาลี ทำให้นโปเลียนตระหนักถึงพลังอำนาจของตน รวมทั้งสถานการณ์ที่เป็นต่อ ในปี ค.ศ. 1797 ด้วยแผนการของนายพลโอเฌโร นโปCossacks-II-Napoleonic-Wars-1-6FPS5INMSA-1024x768เลียนได้จักการทางการเมืองบางอย่างที่ทำให้เหล่าเชื่อพระวงศ์ที่ยังคงมีอำนาจในกรุงปารีสแตกฉานซ่านเซ้น และสามารถรักษาสาธารณรัฐของพวกฌาโกแบงไว้ได้
    สมัชชาการปฏิวัติแห่งชาติฝรั่งเศส กังวลต่อกระแสความนิยมที่ประชาชนมีต่อนปเลียนที่เพิ่มสูงขึ้น จึงบัญชาการให้เขานำทัพบุกอียิปต์ โดยอ้างว่าฝรั่งเศสต้องการเข้าครอบครองดินแดนตะวันออกใกล้ และตะวันออกกลางเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของอังกฤษไปยังอินเดีย
   เมื่อสถานะการณ์ระหว่างนโปเลียนกับสมัชชาแห่งชาติดีขึ้น ทำให้เขาสละตำแหน่างผู้บัญชาการกองทัพอียิปต์และเดินทางกลับฝรั่งเศส นฌปเลียนไดรับการต้อนรับจากประชาชนในฐานะวีรบุรุษ
     เมื่อนายพลนโปเลียนเดินทางกลับมาถึงกรุงปารีส เขาได้เข้าพบปะสนทนากับตัลเลย์ร็อง รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ เขาช่วยเตรียมการก่อรัฐประหาร
       โค่นล้มระบอบปกครองโดยคณะมนตรี…
โดยการโน้มน้าวผู้แทนราษฎรเลือกรัฐบาลใหม่ บีบให้หัวหน้าคณะรัฐบาลเดิมลาออก แล้วเลือกหัวหน้าใหม่เข้าไปแทน โดยประกอบด้วยบุคคล สามคนอันปราศจากมลทิล รวมทั้ง นโปเลียนด้วย
แต่สถานะการณ์ไม่เป็นไปตามคาดไว้ เกิดความล่าช้าเนื่องจากแนวคิดไม่ได้รับฉันทามติจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะพวกฌาโกแบงสองคนไม่ยอมลาออก นโปเลียนเข้าแทรกแซง ลูเซียน โบนาปาร์ต น้องชายนโปเลียนผู้เป็นผู้กุมบังเหียนสภานิติบัญญัติแป่งชาติห้าร้อยคน จัดฉากให้มีผู้ลอบแทงนโปเลียนเพื่อหาความชอบธรรมในการใช้กองทัพเข้าแทรกแซง นโปเลียนเป็นผุ้ได้เปรียบใสถานการณ์นี้ เขาแงว่าถูกสมาชิกรัฐสภาใส่ร้ายว่าจะก่อรัฐประหารและเกือบจะถูกลอบสังหาร เขาจึงสามารถนำกองทัพเข้าบุกรัฐสภาที่เมืองแซงต์ขกลูก และก่อรัฐประหารได้สำเร็จ
      ระบบการปกครองโดยคณะกงสุล…Napolian-2
6_napoleon_is_bedroom_in_fontainebleau_palaceกงสุลสามคนได้รับการแต่งตั้งให้บริหารประทเศ ได้แก่ นโปเลียน, เอ็มมานูเอล โฌแซฟ ซีแยส์และโรเฌ่ร์ ดือโกส์  นโปเลียนได้ประกาศว่า “ประชาชนทั้งหลาย..การปฏิวัติยังคงยึดมั่นบนหลักการเดียวกันกับเมือมันได้เริ่มต้นขึ้น นั่นคือการปฏิวัติสิ้นสุดลงแล้ว” ระบอบกงสุลได้ถูกจัดตั้งขึ้น เป็นระบอบการปกครองที่อำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ในมือกงสุลสามคน (อันที่จริง มีเพียงกงสุลเดียวที่กุมอำนาจไว้อยางแท้จริง )
     นโปเลียนได้เริ่มการปฏิรูปนับตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการปกครองในระบอบกงสุล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษา กระบวนการศึกษ กระบวนการยุติธรรม การคลัง และระบบราชการ ประมวลกฎหมายแพ่งที่ ฌอง-ฌากส์ เรณีส์ เดอ กองบาเซแรส์ เป็นผู้เรียบเรียงขึ้นนั้น เป็นที่รู้จักในนามของกฎหมาย นโปเลียน แห่งปี ค.ศ. 1804 และยังมีผลบังคับใช้ในประเทศต่าง ๆ ทั่ว”ลกในปัจจะบัน อย่างไรก็ดี กฎหมายแพ่งดังกล่าวนั้นมีรากฐานมาจาก กฎหมายในหมวดต่าง ๆ รวมถึงขนบธรรมเนียมหลากหลายจากระบอบปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งนโปเลียนได้รวบรวมขึ้นใหม่
       ผลงานทางราชการของนโปลียนมีต่อเนื่องกระทั้งปี ค.ศ. 1814 เขาจัดตั้งโรงเรียนมัธยม ธนาคารแห่งชาติฝรั่งเศสระบบเงินฟรังก์แฌร์มิลาน มีว่าการอำเภอ สภาที่ปรึกษาของรัฐ ริเริ่มการรังวัดพื้นที่ทั่วอาณาจักรฝรั่งเศส และจัดตั้งสมาคมเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งชาติ images
       ในปี ค.ศ.1800 นโปเลียนได้นำทัพบุกออสเตรียและยึดครองได้สำเร็จ สถานการณ์ของนโปลียนจึงแข็งแกร่งขึ้น นโปเลียนขยายอิทธิพลไปถึงสวิสและตั้งสถาบันกระจายอำนาจและขยายต่อไปยังเยอรมนี กรณีพิพาทของมอลตา จึงเป็นข้ออ้างให้อักฤษประกาศสงครามกับฝรั่งเศสอีกครั้ง รวมทั้งหนุนหลังฝ่ายฝักใฝ่กษัตริย์ที่ต่อต้านนโปเลียน นโปเลียนถูกลอบสังหารโดยการวางระเบิดจากกลุ่มฝักใฝ่กษัตริย์ ในขณะที่นโปเลียนเชื่อว่าเป็นฝีมือพวกฌาโกแบง การประหารดยุคแห่งอิงไฮน์ เจ้าชายแห่งราชวงศ์บูบอง จึงตามมา หลังจากการสอบสวน ซึ่งก็พบว่าเจ้าชายไม่มีความผิด มีเพียงอังกฤษที่ทักท้วง รัสเซียและออสเตรียนั้นสงวนท่าที จึงเกิดเสียงเล่าลื่อเกี่ยวกับนโปเลียนว่าเป็นโรแส  ปีแยร์บนหลังม้า (โรแบสปิแยร์ เป็นอดีตนักการเมืองฝรั่งเศสที่โหดเหี้ยม)
นโบเลียนรื้อฟื้นระบบทาสโดยคำแนะนำของภรรยาซึ่งช่วย(โฌเซ ฟีน เดอ โบอาร์แนส์) ซึ่งช่วยให้เศรษฐกิจทางโพ้นทะเลทางตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียกระเตื้องขึ้น และในปี ค.ศ. 1848 จึงเลิกทางได้อย่างเด็ดขาด  ทางฝั่งทวีปอเมริกานโปเลียนส่งทหารกว่าเจ็ดพันนายเข้าไปฟื้นฟูอำจาจฝรั่งเศส กองทัพของนโปเลียนต้องย่อยยับจากโรคระบาด นโปเลียนจึงขาย หลุยเซียน่าในแก่สหรัฐอเมริกา
     นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าการสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิของนโปเลียนนั้นเป็นไปเพื่อปกป้องสาธารณรัฐ หากนโปลิยนถูกโค่น กลุ่มคนต่าง ๆ จะล่มสลายด้วย จักรพรรดิได้กลายมาเป็นสถาบัน ตอกย้ำความยั่งยืนของความเชื่อในการปกครองระบอบสาธารณรัฐ หากนโปเลียนตาย นั่นคือการสูญเสียผู้สืบทอดตำแหน่งที่มีหน้าที่ปกป้องประเทศจากความโกลาหล นั้นหมายถึงควาสูญเสียของสิ่งที่ได้มาจากการปฏิวัติ..
     ในการครองราชย์ของนโปเลียน สมเด็จพระสันตะปาปาถูกลอบทลาทให้แค่มาร่วมอวยพรการต้อนรับก็ทำให้ดูเหมือนบังเอิญมาพบกัน กล่าวคือ นโปเลียนออกไปต้อนรับพระสันตะปาปาในป่าฟองแตนโปล ด้วยชุดล่าสัตว์ ทั้งนี้การประกอบพิธีขึ้นครองราชย์ก็ไม่ได้ประกอบขึ้นที่กรุงโรม ตามที่จักรพรรดิเยอรมันเคยกระทำ และสันตะปาปาถูกเชิญมา ราวกับวาเป็นักบวชที่เดินทางมาแสวงบุญthe funeral of napoleon
      นโปเลียนเข้าหาศาสนาจักรเพื่อสร้างสัมพันธ์ระหวางคาทอลิกกับฝรั่งเศสและทำให้จักรพรรดิมีฐานะเทียบเท่ากษัตริย์อย่างถูกต้อง และเมือสันตะปาปามีท่าทีกระด้างกระเดื่อง เขาก็ไม่ลังเลที่จะสั่งขังพระสันตะปาปา

     นโปเลียนยึดติดกับแนวคิดที่ว่า สันติภาพอย่างถาวรจะมีได้ต่อเมืองปราบสหราชอาณาจักรได้เท่านั้น จึงทำการวางแผนบุกอังกฤษโดยกองเรื่อ ฝรั่งเศส-สเปนล้มเหลวจากแผนดังกล่าว และสหราชอาณาจักจึงกลายมาเป็นมหาอำนาจทางทะเล นับแต่นั้นมาอีกหนึ่งศตวรรษ
     กลุ่มแนวร่วมที่สาม ในยุโรปจัดตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านจักรพพดินโปเลียนที่ 1 นโปลียนสึงต้องเผลิญกับสงคราม ซึ่งเกิดขึ้นในอีกฟากหนึ่งของทวีปยุโรปอย่างกะทันหัน ในขณะที่บัญชาการบุกบริเทนใหญ่ จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 รับสั่งให้ตั้งรับโดยทันที่ โดยบังคับให้นำทัพใหญ่ออกเดินเท้า และสัญญาว่าจะนำชัยชนะจากพวกออสเตรียและรัศเซียมาให้จากยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “สงครามสามจักรพรรดิ์”p247_napoleon_theorem_ii_1 napoleon_4
        ปรัศเซียกอ่เหตุพิพาทครั้งใหม่ ซึ่งจักรพรรดิ์นโปเลียนที่ 1 ยังทรงชื่นชมถึงการนำแนวคิดเรื่อง “จิตวิญญาณแห่งโลก”มาใช้ แต่นโปเลียน ก็สามารถกวาดล้างกองทัพปรัสเซียในที่สุด และไม่ทรงหยุดแค่นั้น ปีถัดมาทรงเดินทัพข้ามโปรแลนด์และสิ้นสุดด้วยการลงนามในสนธิสัญญาเมืองมิลสิท กับพรเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ ซาร์แห่งรัสเซีย อันเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการแบ่งดินแดนยุดรประหว่างฝรั่งเศสและรัสเซีย สองมหาอำนาจในขณะนั้น เพื่อเป็นข่มขวัญศัตรู ในการทำสงครามนโปเลียนไม่เพียงแต่ต้องการนำทัพในสมรภูมิเท่านั้น หากแต่ต้องการจะบดขยี้ศัตรูด้วย!
       จักรพรรดิ์นโปเลียนที่ 1 ทรงสร้างระบบศักดินาของจักวรรดิฝรั่งเศสให้แก่กลุ่มชนชั้นสูงที่แวดล้อมพระองค์ ซึ่งจากกรุงอัมสเตอร์ดัมถึงกรุงโรม จักรวรรดิของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มีประชากรกว่า 70 ล้านคน โดยมีเพียง 30 ล้านคนที่เป็นชาวฝรั่งเศส
      อังกฤษกีดกันเรือสินค้าฝรั่งเศส จักรพรรดินโปเลียนจึงตอบโต้โดยการกีดกันภาคพื้นทวีป โดยมีวัตถุประสงค์จะหยุดยั้งกิจกรรมทางการพาณิชย์ของอุตสาหกรรมอังกฤษ โปรตุเกสอันเป็นพันธมิตของอังกฤษ ปฏิเสธที่จะลงนามในสนธิสัญญานี้ นโปเลียน จึงขอความช่วยเลหือจากสเปนในการบุกโปรตุเกส ในที่สุดนโปเลียนก็รุกรานสเปนและตั้งโฌแซฟ โบนาปาร์ต น้องชายเป็นราชาปกครองที่นั้น และโปรตุเกสก็ถูกนโปเลียนรุกรานเช่นกัน สเปนที่คลั่งใคล้ในกลุ่มนักบวชลุกฮือต่อต้านฝรั้งเศส กองพลทหารราบฝีมือดีของอังกฤษก็เคลื่อนทัพสูสเปน จึงผลักดันกองทัพฝรั่งเศสออกจากคาบสมุทรไอบีเรีย.. ออสเตรียบุกผรั่งเศสอีกครั้งจากฝั่งเยอรมณี แต่ถูกปราบราบคาบ
     หลังจากที่ ซาร์แห่งรัสเซีย อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ได้รับการการหนุนจากชนชั้นสูงในรัสเซียนที่เข้าข้างอังกฤษ ก็ปฏิเสธที่จะร่วมมือกับ นโปเลียน ในการโจมตีสหราชอาณาจักร การศึกกับอังกฤษที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นโปเลียนจึงกรีฑาทัพเข้าบุกรัสเซีย ทัพใหญ่กว่า หกแสนนายประกอบด้วยกองทัพพันธมิตรอิตาลี เยอรมณี และออสเตรีย cossacks_ii_-_napoleonic_wars
   wallpaper_cossacks_2_napoleonic_wars_02_1600_1280x960 รัสเซียใช้ยุทธวิธี ถอยร่ให้ทัพผรังเศสข้ามเข้ามาในรัสเซีย ถึงมอสโค การรบที่มอสโคไม่มีผู้ใดแพ้ไม่มีผู้ใดชนะ แม้รัสเซียจะทิ้งชัยภูมิ แต่ทั้งสองฝ่ายก็เสียทหารเท่าๆ กัน รัสเซียทิ้งมอสโค ฝรั่งเศสตกหลุ่มพรางเมืองเข้ามาถึงมอสโค ฝรั่งเศสก็พบแต่เมื้องล้าง รัสเซียจุดไฟเผามอสโค ในทันที นโปเลียนถอยล่น ฤดูหนาวอันโหดร้ายของรัสเซียกำลังจะมาเยือน กองทัพฝรั่งเศสถอยอย่างทุลักทุเล จากจำนวนทหารกว่า หกแสนนายที่เข้าร่วมรบ มีเพียงหมื่นกว่านายที่ข้ามแม้น้ำเบเรซินากลับมาได้
    จากการพ่ายแพ้ของนโปเลียนในครั้งนี้ กษัตริยยุโรปหลายพระองค์จึงแปรพักตร์และยกทัพมารบกับฝรั่งเศส นโปเลียนถูกคนในกองทัพของพระเองทรยศ และพบกับความพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิ
ใน สงครามนานาชาติ ซึ่งกองทัพฝรั่งเศส 200,000นายปะทะกับกองทัพพันธมิตร 500,000 นาย
        สหราชอาณาจักร ปรัสเซีย รัสเซียและออสเตรีย ร่วมเป็นพันธมิตร กัน กรุงปารีสถูกตีแตก และเหล่าจอมพลได้บังคับให้จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สละราชบัลลังก์
     พระองค์ตัดสินใจเสวยยาพิษจากฝิ่นผสมน้ำ แต่รอดจากความตายมาได้โดยไม่มีผู้ใดให้คำอธิบายได้ พระองค์ลี้ภัยไปที่เกาเอลบา ตามที่ระบุในสนธิสัญญาผองเตนโบล ยังทรงดำรงพระนศเป็นจักรพรรดิ แต่ปกครองได้เฉพาะเกาะเล็กๆ แห่งนี้เท่านั้น หลังจากนั้นทรงหลบหนีจากที่คุมขังกลับมามีอำนาจเป็นเวลาร้อยวันและเหตุการก็กลับเข้ารอยเดิมกองทัพพ่ายการรบกับอั
กฤษและปรัสเซียที่ยุทธการวอเตอร์ลู ในเบลเยี่ยม นโปเลียนถูกขึง และถูกอังกฤษส่งตตังไปยังเกาเซนต์เฮเลนา จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ใช้เวลาบนเกาะเซนต์เฮเลนา อุทิศให้กับการเขียนบันทุกความทรงจำของพระองค์ และสิ้นพระชนในปี1821 หลายคนเชื่อว่าถูกลอบวางยาพิษ
      
      สงครามนโปเลียน เป็นสงครามต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับจักรวรรดิฝรั่งเศสของจักรพรรดินโปลียนที่ 1 และพันธมิตรต่าง ๆ ของยุโรป ซึ่งเป็นสงครามที่มีสาเหตุจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการปฏิวัติที่เปลี่ยนรูปแบบของกองทัพยุโรปอยางสิ้นเชิง ระบบการเกณฑ์ทหารแบบใหม่ ทำให้กองทัพขยายตัวและมีอำนาจมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และได้รับชัยชนะต่อประเทศต่าง ๆ ในยุโรป แต่ก็สิ้นสุดลงอย่างรวมเร็วจากการพ่ายแพ้อย่างยับเยินในการรุกรานรัสเซีย และเป็นผลให้มีการรื้อฟื้นราชวงศ์บูร์บงขึ้นครองฝรั่งเศสอีกครั้ง ผลของสงครามนโปเลียนทำให้จักรวรรดิ์โรมันอันศักดิ์สิทธิ์ถูกยุบตัว และทำให้อำนาจของจักรวรรดิสเปนในการควบคุมอาณานิคมอ่อนแอลง เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการปฏิวัติในลาตินอเมริกา และยังส่งผลให้จักรวรรดิบริติชกลายเป็นจักวรรดิมหาอำนาจต่อมาอีกร้อยปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...