ยุคแห่งเหตุผล
คือการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหลาปัญญาชนในยุโรปเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมการใช้เหตุผล
ใช้หลักจารีต ความเชื่อ
และการเปิดเผยจากพระเจ้ารวมไปถึงส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงในการเคลื่อนไหวสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้หรือการต่อต้านความเชื่อทางไสยศาสตร์
โมหาคติ
และการชักนำให้ผิดเพี้ยนจากคริสตจักรและรัฐบาลยุคเรืองปัญญาเริ่มขึ้นในช่วงประมาณปี
ค.ศ. 1650-1700 และถูกจุดประกายโดยเหล่าปัญญาชน เช่น บารุค สปิโนซา, จอห์น ล็อก,
ปิแยร์ เบย์ล,ไอแซก นิวตัน, วอลแตร์
นอกจากนี้เจ้าผุ้ปกครองก็มักจะรับรองและคล้อยตามบุคคลสำคัญเหล่านี้จนในที่สุดก็รับเอาแนวคิดจากชนชั้นปัญญามาปรับใช้เข้ากับรัฐบาลของตนจึงมีการเรียกเจ้านายเหล่านี้ว่า
ประมุขผุ้ทรงภูมิธรรม การเรื่องปัญญานี้เบ่งบานอยุ่จนกระทั่งช่วงปี ค.ศ. 1790-1800
เมื่อความสำคัญของเหตุผลถูกแทนที่ด้วยความสำคัญของอารมณ์ความรู้สึกในแนวคิดแบบศิลปะจินตนิยมฝ่ายต่อต้านการเรืองปัญญาจึงมีกำลังขึ้นมาอีก
ในฝรั่งเศษ การเรืองปัญญาก่อกำเนิดจากการชุนนุมซาลอน และกลายมาเป็นสารานุกรม1751-1752ถูกแก้ไจโดยเดนนิส ดิเดรอส 1713-1784 ด้วยการนำหนักปรัชญาชั้นนำหลายร้อยชิ้นมารวบรวมไว้ อาทิเช่นจากวอลแตร์,ฌ็อง-ฌัก รูโซ และมงเตสกีเยอ สำเนาของสารานุกรมชุด 35 เล่มถูกขายมากว่า 25,000 ชุด ซึ่งครึ่งเหนึ่งในจำนวนนี้ถูกขายนอกฝรั่งเศสแรงขับเคลื่อนจากการเรืองปัญญาแพร่ขยายไปตามชุมชนเมืองทั่วทั้งยุโรป โดยเฉพาะในอังกฤษ, สกอตแลนด์,รัฐเยอรมันต่างๆ, เนเธอร์แลนด์,รัสเซีย, อิตาลี, ออสเตรีย, และจากนั้นจึงขยายไปยังอาณานิคมของชาติยุโรปทวีปอเมริกา ที่ซึ่งได้มีอิทธิพลต่อบุคคลสำคัญอย่างเบนจามิน แฟรงคลินและทอมัส เจฟเฟอร์สัน รวมทั้งอีกหลาย ๆ คน นอกจากนี้ยังส่งอิทธิพลอย่างมากต่อการปฏิวัติอเมริกา แนวคิดทางการเมืองจากยุคเรืองปัญญานี้เองที่มีอิทธิพลในคำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกลร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา, คำประกศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองของฝรั่งเศส และรัฐธรรมนูญวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791 ของเครือจักรภพโปแลนด์ ลิทัวเนีย
การปฏิวัติฝรั้งเศส ระหว่าง ค.ศ. 1789-1799 เป็นยุคสมัยแห่งกลียุค ทางสังคมและการเมือง
ที่เปลี่ยนถึงรากฐานในฝรั่งเศสซึ่งมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อฝรั่งเศสและยุโรปที่เหลือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชที่ปกครองฝรั่งเศสมาหลายศตวรรษล่มสลายลงใน 3 ปี สังคมฝรั่งเศสฝ่านการปฏิรูปขนานใหญ่ โดยเอกสิทธิ์ในระบบเจ้าขุนมูลนาย ของคนชั้นสูงและทางศาสนาหมดส้นไปภายใต้การประทุษร้ายอย่างต่อเนื่องจากลุ่มกาเมืองฝ่ายซ้ายหัวรุนแรง ฝูงชนบนท้องถนนและขาวนาในชนบท ความคิดเก่าเกี่ยวกับประเพณีและลำดับชั้นบังคับบัฐชา ของอำนาจพระมหากษัตริย์ คนชั้นสูงและศาสนา ถูกโค่นล้มอย่างฉับพลันโดย ความเสมอภาค ความเป็นพลเมือ และสิทธิที่จะโอนกันมิได้ หลักการใหม่แห่งยุคเรื่อปัญญา
การปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มต้นใน ค.ศ. 1789 ด้วยการเรียกประชุมสถาฐานันดร ในเดือนพฤษภา พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงเรียกประชุมสภาฐานันดร ก่อนหน้าการประชุม ได้มีการถวายฎีกาทั่วประเทศ มีการควบคุมและห้ามการเผยแพร่ใบปลิวที่มีเนื้อหาเสรีจนน่าจะเป็นอันตราย เนคเกร์ที่ถูกเรียกกลับมาดำรงตำแหน่ง ได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มจำนวนตัวแทนจากชนชั้นที่ 3 ให้มากขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะจำนวนตัวแทนในขณะนั้นมีน้อยเกิห และยังเรียร้องให้ปลดตัวแทนบางส่วนจากฐานันดรที่ 1และ2
การประชุมมีขึ้นที่พระราชวังแวร์ซาย โดยใช้ระบบลงคะแนน 1 ฐานันดรต่อ 1 เสีย ซึ่งฐานันดรที่ 3 มีจำนวนถึง 90% กลับไปด้คะแนนเสียงเพียง 1ใน 3 ของสภาจึงมีการเสนอให้ลงคะแนนแบบ1 คนต่อ1 เสียง เมื่อได้รับการปฏิเสธฐานัดรที่ 3 จึงไม่เข้าร่วมการประชุม และตั้งสภาของตนเอง เรียกวา สมัชชาแห่งชาติ พระเจ้าหลุยส์หาทางประณีประนอมแตไม่เป็นผล
- มิถุนายน 1789 สมาชิกฐานันดรที่สามประกาศ คำปฏิญาณสนามเทนนิส โดยมีมติว่าจะไม่ยุบสภาจนกว่าประเศฝรั่งเศสจะได้รัฐธรรมนูญ
- กรกฎาคน 1789 ทลายคุกบาสตีย์
เมื่อพระเจ้าหลุยส์ได้รับความกดดันทั้งจากกองทัพ และพระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสในอนาคต ทำให้พระองค์ทำการเรียกกองทหารที่จงรักภักดีต่อพระองค์จากต่างประเทศเข้ามาประจำการในกรุงปารีสและพระราชวังแวร์ซาย ซึ่งยังผลให้เกิดความโกรธแค้นในหมู่ประชาชน และชนวนแห่งการก่อจลาจลคือการปลด เนคเกีออกจากตำแหน่ง ประชาชนทำลายสัญลักษณ์พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์คือ คุกบาสตีย์ เมื่อเนคเกร์ถูกเรียกกลับเข้าดำรงตำแหน่งอีกครั้ง ราชวงศ์ฝรั่งเศส คือ Comte d’Artais ก็ทรงหนีออกนอกประเทศ ซึ่งถือเป็นบรมวงศานุวงศ์พระองค์แรกๆ ที่หนีออกนอกประเทศในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส กลังจากนั้นไม่นาท เทศบาลและกองกำลังติดอาวุธของประชาชน ก็ถูกจัดตั้งขึ้น
- สิงหาคม 1789 คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง เป็นการปูทางไปสู่การร่างรัฐ ธรรมนูญ ซึ่งได้รับแรงบัลดาลใจมาจากปรัชญาในยุคเรื่องปัญญา และคำประกาศนี้ได้แบบอย่างจากรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา เนื้อหาหลักแสกงถึงหลักการพื้นฐานของการปฏิวัติ ภายใต้คำขวัญที่ว่า “เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ”
- ตุลาคม 1789 การเดินขบวนสู่แวร์ซาย ในขณะนั้นมีข่าวลือในหมู่ประชาชนว่าจะมีการยึดอำนาจคืนของฝ่ายนิยมระบอบเก่าเมือชาวปารีสรู้ข่าวก็มีการตื่นตัวขนานใหญ่ ประชาชนชาวปารีสซึ่งส่วนมากเป็นผุ้หญิง ได้เดินขบวนไปยังพระราชวังแวร์ซาย และเชิญพระเจ้าหลุยส์พร้อมทั้งราชวงศ์มาประทับในกรุงปารีส และพวกอนุรักษ์นิยมก็ตามเสด็จกลับกรุงปารีสด้วย
เหตุการณ์ต่อมาส่วนใหญ่เป็นความตึงเครียดระหว่างสมัชชาเสรีนิยมต่างๆ และพระมหากษัตริย์ฝ่ายขวาแสดงเจตนาขัดขวางการปฏิรูปใหญ่
- กันยายน 1792 ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐ และพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงถูกประหารชีวิตในปีถัดมา ภัยคุกคามภายนอกประเทศยังคงมีบทบาทครอบงำการพัฒราการของการปฏิวัติ
- สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1792-1802 เป็นการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลของฝ่ายการปฏิวัติ ฝรั่งเศสกับรัฐต่าง ๆ ในยุโรป สงครามเริ่มต้นในสมัยการปฏิวัติแพร่หลายในฝรั่งเศสและความเจริญก้าวหน้าทางการทหาร การรณรงค์ทางการทหารของกองทัพฝรั่งเศสได้รับชัยชนะหลายครั้ง เป็นการขยายอำนาของฝรั่งเศสไปยังกลุ่มประเทศต่ำ(ประเทศที่อยู่ตำกว่าน้ำทะเล ซึ่งเกิดอุทกภัยได้ง่าย ได้แด่ เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์กและฝรั่งเศสตอนเหนือ),อิตาลีและไอร์แลนด์ สงครามครั้งนี้การนำระบบการเกณฑ์ทหารมาใช้เป็นครั้งแรกทหารจึงมีจำนวนมหาศาล
สงครามปฏิวัติฝรั่งเศสที่ทำการต่อสู้กับราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ตั้งแต่ปี 1793เรื่อยมากระทั้งปี ค.ศ. 1802 ยุติลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาอาเมียงส์ การสงครามหลังจากนี้ต่อเนืองมาเป็นสงครามนโปเลียน ความขัดแย้งเหล่านี้บางครั้งเรียกรวมว่า “มหาสงครามฝรั่งเศส”
สถานะการณ์ภายใน อารมณ์ของประชาชนได้เปลี่ยนการปฏิวัติถึงรากฐานอยางสำคัญ และลงเอยด้วยการขึ้นสู่อำนาจของ มักซี มีเลียง รอแบ็สปีแยร์ และกลุ่มฌากอแบ็ง และเผด็จการโดยคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะ สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว
สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว หรือ ที่เรียกว่า The Terror เป็นสมัยแห่งความรุนแรงทีเกิดขึ้นโดยถูกกระต้นจากความขัดแย้งระหวางกลุ่มแยกทางการเมืองที่เป็นคู่แข่งกัน คือ ณีรงแด็ง และ ฌากอแบ็ง ซึ่งมีการประหารชีวิต “ศัตรูแห่งการปฏิวัติ” จำนวนมาก ยอดผู้เสียชีวิตอยู่ในหลักหมื่น ด้วย “กิโยติน”กว่า 16,594 คน และอี 25,000 คน “ด้วยการประหารชีวิตอย่างรวบรัด” (คือการประหารชีวิตในพื้นที่หรือสถานกาณ์ที่ไม่ได้ตัดสินด้วยกระบวนการยุติธรรมแบบปกติ โดยตำรวจ ทหาร กองทัพ ซึ่งสามารถพบได้ในช่วงสงครามหรือสถานการ์ฉุกเฉิน)
ท่ามกลางการต่อต้านภายในและการรุกรานของต่างชาติทั้งทางตะวันออกและตะวันตก ภารกิจหลักของรัฐบาลสาธารณรัฐ จึงเน้นที่สงคราม สภาลงมติให้เกณฑ์ทหารเข้ากองกลัง และลงมติรับ “ความน่าสะพรึงกลัว”ให้มีความถูต้องตามรัฐธรรมนูญโดยอนุมัติให้ปราบปรามข้าศึกศัตรูภายในได้โดยเด็ดขาด
ผลที่ตามมา คือการใช้กำลังปราบปรามฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอย่างรุนแรงภายใต้การควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพของคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะ ได้มีการออกกฎหมายหลายฉบับ เช่นกฎหมายที่บังคับให้ชาวนามอบผลผลิตให้แก่รัฐตามที่รัฐต้องการ กฎหมายให้อำนาจการจับกุมผู้ต้องสงสัยที่เข้าข่ายเป็น ผู้ก่อกาชญากรรมต่อเสรีภาพ เป็นต้น
กิโยตินกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งอุดมการณ์การปฏิวัติ ซึ่งใช้ในการประหารชีวิตบุคคลสำคัญจำนวนมาก ฝรั้งเศสสมัยปฏิวัติถูกรุมเร้าด้วยการคบคิดโดยศัตรูทั้งในและนอกประเทศ สำหรับในประเทศ การปฏิวัติถูกชนชั้นสูงฝรั่งเศสคัดค้าน ซึ่งเป็นผู้สูญเสียเอกสิทธิ์ที่ได้รับสืบทอดมา ความพยายามของรัฐบาลปฏิวัติในการล้มเลิก ศาสนาคริสต์ในฝรั่งเศสเริ่มที่นิกายโรมันคาทอลิกก่อนและลุกลามไปทุกนิกาย ด้วยการออกเป็นกฎหมาย ให้เนรเทศและประหารชีวิตนักบวชเป็นจำนวนมาก การปิดโบสถ์วิหารและสถาบันของลัมธิต่าง ๆ ทำลายศษสนสถานและรูปเคารพทางศาสนาในวงกว้าง ออกกฏหมายห้ามสอนศาสนาและปิดโรงเรียนที่อิงศาสนาเพิกถอนความเป็นบาทหลวง บังคับบาทหลวงให้แต่งงานและกำหนดโทษประหาร ณ ที่ที่จับได้แก่ผุ้ให้ที่พักพิงแก่ผู้หลบหนี มีการทำพิธีสถาปนาปรัชญาความเชื่อใหม่ของฝ่ายปฏิวัติเรียกว่าลัทธิ Supreme Being ที่เชื่อว่ามีผู้สูงส่งเบื้องบนคอยดูแลฝรั่งเศสอยู่ นิกายโรมันคาทอลิก โดยทั่วไปคัดค้านการปฏิวัติ ซึ่งได้เปลี่ยนนักบวชมาเป็นลูกจ้างของรัฐและบังคับให้ต้องปฏิญาณ ความจงรักภักดีต่อชาติ และการทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านที่เจตนาทำลายการปฏิวัติเพื่อป้องกันการลุกลาม
การขยายของสงครามกลางเมืองและการรุกคืบของกองทัพต่างชาติต่อดินแดนก่อให้เกิดวิกฤตการณ์การเมืองและเพิ่มการแข่งขันระหว่าง ณีรงแด็ง กับ ฌากอแบ็ง ซึ่งหัวรุนแรงกว่า ฝ่ายหลังต่อมาได้รวมกลุ่มในกลุ่มแยกรัฐสภา เรียกว่า เมาส์เทน และพวกขาได้การสนับสนุนจากประชากรกรุงปารีส รัฐบาลฝรั้งเปสตั้ง คณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะ เพื่อปราบปรามกิจกรรมต่อต้านการปฏิวัติภายในประเทศและเพิ่มกำลังทหารฝรั้งเศส
ผู้นำสมัยแห่งความน่าสะพรึงกล็ว ใช้อำนาจผ่านศาลปฏิวัติ อย่างกว้างขวางและใช้ประหารชีวิตผุ้คนเป็นจำนวนมากและการกวาดล้างทางการเมือง การปราบปรามหนักขึ้นในเดือนมิถุนา และกรกฎา ปี 1794 ซึ่งเป็นสมัยที่เรียกว่า The Great Terror และสิ้นสุดด้วยรัฐประหาร ซึ่งนำมาสู่ปฏิกิริยาเดือนแตร์มีดอร์ ผู้สนับสนุนสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวหลายคนถูประหารชีวิต รวมทั้ง มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ คณะไรกเทอรี่ Directory เข้าควบคุมรัฐฝรั่งเศสใน และถูกแทนที่ด้วยคณะกงสุล ภายใต้การนำของ นโปเลียน โบนาปาร์ต
การปฏิวัติฝรั่งเศสนำมาซึ่งยุคใหม่ของฝรั่งเศส การเติบโตของสาธารณรัฐและประชาธิปไตยเสรีนิยม การแผ่ขยายของฆราวาสนิยม การพัฒนาอุดมการณ์สมัยใหม่และการประดิษฐ์สงครามเบ็ดเสร็จ{( Total war) คือ ความขัดแย้งอัสไร้ขอบเขตซึ่งประเทศคู่สงครามหด้ทำการเรียกระดมทรัพยากรทั้งหมดเพื่อใช้ในการทำสงครามด้วยพยายามที่จะทำลายประเทศคูสงครามอย่างสิ้นเชิง ในการทำสงครามเบ็ดเสร็จ ความแตกต่างระหว่างทหารและพลเรือนมีน้อยมากเมื่อเทียบกับสงครามประเภทอื่น และมนุษย์ทุกคนจะถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการทำสงครามของคู่สงคราม} การฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์สองครั้งแยกกันและการปฏิวัติอีสองครั้ง ขณะที่ฝรั่งเศสสมัยใหม่ก่อตัวขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น