วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
George Washington
จอร์จ วอชิงตัน เป็นผู้นำทางการทหารและการเมืองที่โดดเด่นของสหรัฐอเมริกาที่เพิ่งก่อตั้ง ระหว่าง ค.ศ. 1775-1799 เขานำสหรัฐจนได้รับชัยชนะเหนือบริเตนใหญ่ในสงครามปฏิบัติอเมริกัน ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพภาพื้นอทวีปใน ค.ศ. 1775-1783 และรับผิดชอบการรางรัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 1787 เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 1789-1797 วอชิงตันเป็นผู้นำการสร้างรัฐบาลแห่งชาติที่เข้มแข็งและมีการคลังที่ดี ซึ่งวางตนเป็นกลางในสงคราปะทุขึ้นในยะโรป ปราบปรามกบฎและได้รับการยอมรับจากชนอเมริกันทุกประเภท รูปแบบความเป็นผู้นำของเขาได้กลายมาเป็นระเบียบพิธีของรัฐบาลซึ่งปฏิบัติสืบต่อกันมานับแต่นั้น อาทิ การใช้ระบบคณะรัฐมนตรีและการปราศรัยในโอกาสเข้ารับตำแหน่างประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ วอชิงตันได้รับการยกย่องทั่งไปว่าเป็น “บิดแห่งประเทศของเขา”ด้วย
America War of Independence เปิดฉากเป็นสงครามระหว่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ฝ่ายหนึ่งกับ สิบสามอาณานิคมอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนืออีกฝ่านหนึ่ง ก่อนจบลงด้วยสงครามทั่วโลก ระหว่างชาติมหาอำนาจทั้งหลายในทวีปยุโรป…
สงครามดังกล่าวเป็นผลจากการปฏิบัติอเมริกาในทางการเมือง ซึ่งถูกกระตุ้นด้วยข้อพิพทาระหว่างรัฐสภาแห่งบริเตนใหญ่กับชาวอาณานิคมซึ่งคัดค้านพระราชบัญญัติแสตมป์ ค.ศ. 1765 ซึ่งชาวอเมริกาเห็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญรัฐสภายืนยันสิทธิ์ของตนในการเก็บภาษีชาวอาณานิคม แต่ชาวอเมริกันอ้างสิทธิ์ของตนว่าเป็นชาวอังกฤษในการไม่จ่ายภาษีหากไม่มีผู้แทน(เริ่มเป็นสโลแกนซึ่งเกิดขึ้นระหว่างค .ศ. 1750-1760 ที่สรุปความเดือนร้อนของชาวอาณานิคมอังกฤษในสิบสามอาณานิคม และกลายเป็นเหตุผลหนึ่งของการปฏิวัติอเมริกา) ชาวอเมริกันจัดตั้งสภาภาคพื้นทวีปที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และรัฐบาลเงาในแต่ละอาณษนิคม การคว่ำบาตรชาวอังกฤษของอเมริกานำไปสู่ กรณีชาที่บอสตัน(เหตุกรณ์ที่ชาวอาณานิคมของอังดฤษ ในเมืองบอสตันประท้วงรัฐบาลอังกฤษและเป็นชนวนสู่สงครามอิสรภาพของอเมริกา อันเนื่องมาจากสิทธิ์บัตรในการขายใบชา ซึ่งพ่อค้า ชาวอเมริกันเสียผลประโยชน์) อังกฤษตอบสนองโดยยุติการปกครองตนเองในแมตซาซูเสตส์ และกำหนดให้อยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพโดยมีพลเอกโทมัส เกจเป็นผู้ว่าราชการ เมษายน ค.ศ. 1775 เกจส่งกองทัพยึดอาวุธของกบฎ ทหารอาสาสมัครท้องถิ่น เผชิญหน้ากับทหารอังกฤษและทำลายกองทัพอังกฤษได้เกือบทั้งหมด ยุทธการ เลชิงตัน และ คอนคอร์ดเป็นชนวนสงคราม
การประรีประนอมเป็นศูนย์ เมืออาณานิคมต่าง ๆ ประกาศอิสรภาพและจัดตั้งประเทศใหม่ขึ้น ชื่อ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776
ในช่วงแรกของสงคราม ผรังเศส,สเปนและสาธารณรับดัตช์ล้วนจักหาเสบียงเครื่องกระสุนและอาวุธอยางลับ ๆ ให้แก่กองทัพปฏิวัติเรื่อมตั้งแต่ต้น ค.ศ. 1776 หลังอังกฤษประสบความสำเร็จในตอนต้น สงครามเริ่มเปลี่ยนเป็นไม่แน่นอน ฝ่ายอังกฤษใช้ความเหนือกว่าทางทะเลยึดและครอบครองนครชายฝั่งของอเมริกาขณะที่ฝ่ายกบฎยังควบคุมแถบขนบทเป็นส่วนใหญ อันเป็นที่ซึ่งประชากรกว่า 90% อาศํยอยู่ ยุทธศาสตร์ของอังกฤษอาศัยการระดมทหารอาสาสมัครที่จงรักภักดี แตอังกฤษไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างเต็มี่ การรุกรานของอังกฤษจากแคนาดาสิ้นสุดด้วยการจับกองทัพอังกฤษเป็นเชลยที่ยุทธการซาราโตกา ใน ค.ศ.1777 ชัยชนะของอเมริกาครั้งนั้นโน้มน้าวให้ฝรั่งเศสเข้าสู่สงครามอย่างเปิดเผยในต้น ค.ศ. 1778 ซึ่งทำให้กำลังทางทหารของทั้งสองฝ่ายสมดุล สเปนและสาธารณรัฐดัตซ์ พันธมิตรของผรั่งเศส เข้าสู่สงครามกับอังกฤษภายในอีกสองปีถัดมา ซึ่งคุกคามจะรุกรานบริเตนใหญ่และทดสอบความเข้ฒแข็งทางทหารของอังกฤษอย่างรุนแรงด้วยกองทัพในยุดรป การมีส่วนร่วมของสเปนส่งผลให้กองทพอังกฤษในเวสต์ผลอริดาถอนตัวออก ซึ่งเป็ฯการทำให้ปีกด้านใต้ของอเมริกาปลอดภัย
การมีส่วนร่วมของฝรั่งเศสพิสุจน์แล้วว่ามีผลชี้ขาด แต่ก็ทำลายเศรษฐกิจของฝรั่งเศสเช่นกัน ชัยชนะทางทะเลของฝรั่วเศสในเชซาพีคบีบให้กองทัพอังกฤษที่สองยอมจำนนที่การล้อมยอร์กทาว์นใน ค.ศ. 1781-1783 สนธิสัญญาปารีสยุติสงครามและยอมรับอธิปไตยของสหรัฐอเมริกาเหนือดินแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับแคนาดาทางเหนือฟลอริดาทางใต้ และแม่น้ำมิสซิสซิปปีทางตะวันตก
ทั้งนี้และทั้งนั้น วอชิงตันได้รวบรวมกองทัพอันไร้ผุ้นำและชาติอันอ่อนแอให้เป็นปึกแผ่น ท่ามกลางภยันตรายจากความแตกแยกและความล้มเหลว
อันเนื่องมาจาก “บทบัญญัติว่าด้วยสมาพันธรัฐ” Articles of Confederation ที่ร่างขึ้นนั้นไม่เป็นที่พอใจโดยทั่วกัน ใน ปีค.ศ. 1787 จอร์จ วอชิงตัน จึงเป็นประธานการประชุมฟิลาเดเฟีย เพื่อร่างรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา และในปี 89 ก็รับเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา
โดยได้สถาปนาจารีตและวิถีทางการบริหารหลยประการเกี่ยวกับองค์กรของรัฐบาลใหม่ ในการนี้ เขาแสวงหาลู่ทางสร้างชาติที่จะสามารถธำรงอยู่ในโลกอันถูกฉีกเป็นชิ้นเพราะสงครามระหว่างอังกฤษ และฝรั่งเศษ วอชิงตันได้มี “ประกาศความเป็นกลาง”Proclamation of Neutrality of 1793 ใน ค.ศ. 1793 ซึ่งวางรากฐานงดเว้นไม่เข้าไปมีส่วนในความขัดแย้งกับต่างชาติ เขายังได้สนับสนุนแผนจักตั้งรฐบาลกลางที่เข้มแข็งโดยวางกองทุนเพื่อหนี้สินของชาติ ส่งผลให้เกิดระบบภาษีที่มีประสิทธิภาพ และนำไปสู่ธนาคารแห่งชาติในที่สุด
วอชิงตันเลี่ยงที่จะไม่ก่อสงครามกับอังกฤษ ทศวรรษแห่งสันติสุขจึงมีขึ้นด้วย “สนธิสัญญาเจย์ ค.ศ. 1795 Jay Treaty 1795 อันได้รับสัตยาบันไปด้วยดีเพราะเกียรติภูมิส่วนตัวของวอชิงตัน แม้ว่าสนธิสัญญานี้จะถูกต่อต้านอย่าหนักจากโธมัส เจฟเฟอร์สัน(ต่อมาคือ ประธานาธิปดีคนที่ 3 ของสหรัฐอเมริกา) ในทางการเมืองนั้น ถึงแม้ว่าวอิงตันมิได้เข้าร่วมพรรสหพันธรัฐนิยม Federalist Party อย่างเป็นทางการ แต่เขาก็สนับสนุนโครงการต่าง ๆ ของพรรค ทั้งยังเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณสำหรับพรรคด้วย เมื่อเขาพ้นจากตำแหน่งได้มีสุนทรพจน์แสดงคุณค่าของระบอบสาธารณรัฐ และเตื่อนให้ระวังความแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ความนิยมถิ่น และมิให้ร่วมสงครามกับต่าวชาติ
อ้วยผลงานอันอุทิศให้แก่ชาติบ้านเมือง วอชิงตันจึงได้รับ “เครื่องรัฐอิสริยาภาร์เหรียญทองแห่งรัฐสภาคองเกรส” Congressional Gold Medal เป็นบุคคลแรก เขาถึงแก่กรรมใน ค.ศ. 1799 โดย เฮนรี่ ลี สดุดีวอชิงตันในพิธีศพว่า “ในยามรบ ยามสงบ และในหัวใจของเพื่อนร่วมชาติ เขาคือที่หนึ่งสำหรับอเมริกันชนทั้งปวง”
การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
ในปี ค.ศ. 1789 คณะผุ้เลือกตั้ง Electoral College มีมติเอกฉันท์เลือกวอชิงตันเป็นประธานาธิบดี และเลือกอีกครั้งในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1792 เขายังคงได้รับคะแนน อิเล็กโทรรับ โหวต 100% เหมือนเดิม จอห์น แอดัมส์ถูกเลือกให้เป็นรองประธานาธิบด วอชิงตันทำพิธีสาบานตนรับตำแหน่างประธานาธิบดีภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา เมือวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1789 ภายในอาคาร เฟดเดอรัลฮอล นิวยอร์กซิตี้ ถึงแม้ว่าในตอนแรกเขาไม่ต้องการที่จะรับตำแหน่งนี้
สภาคองเกรสที่ 1 ได้ออกเสียอนุมัติเงินเดือนของวอชิงตันที่ปีละ 25,000 ดอลลาร์ ซึ่งจัดว่ามีมูลค่ามากในสมัยนั้น แต่เนื่องด้วยวอชิงตันได้เป็นผู้มีฐานะอยู่แล้วจึงปฏิเสธที่จะรับเงินเดือนเพราะเขาเห็นว่าการเข้ารับตำแหน่งเป็นการทำงานับใช้ประเทศอย่างไม่เห็นแก่ตน แต่ด้วยการหว่านล้อมของสภาฯ เขาจึงยอมรับเงินเดือนนั้น ซึ่งเรื่องนี้ได้เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ เพราะเขาและบรรดา “บิดาผุ้ก่อตั้งประเทศ” Founding fathers ต้องการให้ตำแหน่างประธานาธิบดีในอนาคตสามารถมาจากคนที่กว้างขวาง โดยไม่ถูกจำกัดด้วยสถานะทางเศรษฐกิจของผุ้สมัครชิงตำแหน่างประธานาธิบดี
วอชิงตันได้เข้ารับหน้าที่อย่างระมัดระวัง เขาต้องการให้มั่นใจได้ว่าระบบของสาธารณรัฐจะไม่ทำให้ตำแหน่างประธานาธิบดีเป็นเหมือนกษัตริย์แห่งราชสำนักยุโรป เขาชอบที่จะให้คนเรียกเขาว่า ไท่นประธานาธิบดี Mr. President มากว่าที่จะเรียกเป็นอื่นๆ ในลักษณะที่เรียกกษัตริย์
วอชิงตันได้พิสูจน์วาเขาเป็นนักบริหารที่มีความสามารถ เป็นคนรู้จักกระจายอำนาจและสามรถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด เขาจะประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นประจำ ก่อนที่จะมีการตัดสินใจในท้ายสุด เขาเป็นคนทำงานอย่างมีกิจวัตร เป็นระบบ มีระเบียบ มีพลัง และถามหาความคิดเห็นจากคนอื่น ๆ ในการตัดสินใจ โดยมีการมองที่เป็หมายปลายทาง และคิถึงการกระทำที่จะต้องตามมา
หลังจากการรับตำแหน่งในวาระแรก เขาลังเลที่จะรับตำแหน่างต่อในวาระทีสาอง และเขาปฏิเสธที่จะดำรงตำแหน่างต่อในวาระที่สาม และนั่นจึงเป็นประเพณีสืบต่อมาที่จะไม่มีใครรับตำแหน่งประธานาธิบดีเกิน 2 สมัย จนกระทั้งในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งที่ 22 ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว จึงได้มีการตราเป็นกฎหมารัฐธรรมนูญว่าประธานาธิบดีจะดำรงตำแหน่างติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 สมัย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น