วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

Troisième République Française:สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3

     สาธารณะรัฐที่ 1 และ 2 ของฝรั่งเศสเป็นผลจากการปฏิวัติแต่สาธารณรัฐที่ 3 กำเนิดจากความพ่ายแพ้สงครามต่อเยอรมนี
     สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย หรือ สงครามฝรั่งเศส-เยอรมัน”หรือ “สงครามปี ค.ศ.1870” เป็นความขัดแย้งกันระหว่างอาณาจักรฝรั่งเศสที่ 2 และราชอาณาจักรแห่งปรัสเซีย ในสงครามนี้ฝ่านปรับเซีย325px-Battle-Mars-Le-Tour-large และเยอรมันได้รับชัยชนะที่นำมาซึ่งการรวมเยอรมันภายใต้กษัตริย์วิลเฮมที่ 1 แห่งปรัสเซีย และการล่มสลายของจักรพพดินโปเลียนที่ 3 สิ้นสุดอาณาจักรฝรั่งเศสที่ 2 และแทนที่ด้วย “สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ตามข้อตกลงที่ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายแพ้สงครามนี้ ทำให้เขตแดนบางส่วนของลอเรน-อัลสาซ ต้องตกเป็นของปรัศเซีย(ซึ่งอุดมด้วยทรัพยากรถ่านหินฯ)และกลายเป็นส่วนหนึ่งของเยอมัน ซึ่ง่ยังคงสภาพนั้นกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้ง 1 เมื่อสองแค้วนได้กลับคืนสู่ฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาแวร์ไซย์
     เป็นสมัยแห่งความยุ่งยากวุนวาย โดยในครั้งแรกเนื่องจากสงครามกับต่างประเทศ และต่อด้วยการจลาจลภายในของคอมมูนแห่งปารีส ความขัดแย้งกันจะมีอยู่เกือบทุกสถาบัน กลุ่มนิยมกษัตริย์ขัดแย้งกับกลุ่มนิยมรัฐสภานักแสวงหาอาณานิคึมขัดแย้งกับผู้ไม่เห็นด้วย ความไม่ลงรอยกันระหว่างรัฐและสถาบันศาสนาหรือนายทุนกับกรรมกร เป็นต้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม สาธารณรัฐี่ 3 ประเทศฝรั่งเศสก็มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจจนเป็นที่สังเกตได้
     สภาพทั่วไปปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20
หลังจากสมัยของจูลส์ เฟอรี สภาพการเมืองในฝรั่งเศษยิ่งวุ่นวายมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะทำให้พรรคการเมืองสังคมนิยมเข้ามาจัดตั้องคณะรัฐบาลในที่สุด เหตุการณ์แรกเป็นการกระทำของรัฐมนตรีสงครามนายพลบูลองเช่ ผู้ต้องการจะทำรัฐประเหารเช่นเดียวกับที่หลุยส์โบนาปาตเคนทำสำเร็จ ซึ่งความพยายามแม้จะไม่ประสบผลแต่ก็ได้แสดงให้เห็นถึงความแตกแยกทางการเมือง     เหตุการณ์ที่สำคัญอีกเหตุการณ์คือ การคอรัปชั่นในการขุดคลองปานามา เงินหลวงจำนวนมากตกอยู่ในกระเป๋สยีกกสนเทอ
มราเป็นทั้งคนของรัฐบาลและสมาชิกสภา  มติมหาชนเริ่มแสดงความไม่ไว้วางใจรัฐบาล ในขณะเดียวกันก็มีความรู้สึกต่อต้านพวกยิว เพราะนักการเงินชาวยิวได้เกี่ยวพันอยู่มากในการคอรัปชั้นครั้งนี้ ซึ่งในที่สุดความรู้สึกเหล่านี้ก็กลายเป็นขบวนการที่จะล้มการปกครองแบบสาธารณรัฐ
     เหตุการณ์อีกเหตุการณ์ที่เป็นการบั่นทอนกำลังใจคนในชาติคือนายทหารเชื้อชาติยิวในกองทัพฝรั่งเศสถูกกล่าวว่าทำกาลลักลอบนำอาวุธไปขายให้กับฝ่ายเยอรมัน ซึ่งถือว่าเป็นศัตรูของชาติ นายทหารถูกตัดสินว่าผิดจริงแต่เรื่องไม่จบเพียงเท่านั้นมีผุ้ตั้งข้อสังเกตการตัดสินดังกล่าว โดยสรุปว่าฝ่ายซ้ายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพวกหัวรุนแรง รีพับลิกัน และสังคมนิยมให้ความสนับสนุนนายทหารผู้นั้น ในขณะที่กลุ่มขวาฝ่ายทหารและฝ่ายแคธอลิคต่อต้าน ในที่สุด เอกสารต่าง ๆ ที่ปรักปรำนายทหารนั้นเป็นของปลอม และผุ้ที่เกี่ยวข้องฆ่าตัวตาย จึงเป็นที่แน่ชัดว่าไม่มีความผิดดังถูกกล่าวหา แต่เป็นเพียงแพะรับบาปจากการคอรับชั้นของักการเมืองและนายทหารบางคน แม้คดีจะปิดไปแล้ว ชาวฝรั่งเศสยังคงเกิดความรู้สึกไม่เชื่อถือกองทัพ ไม่ไว้วางใจนักการเมืองฝ่ายขวาตลอจนประธานธิดี ถึงกับมีการวางแผนจะลอบสังหารประธานาธิปดี โดยพวกสมาคมรักชาติโดยมีผลทำให้กลุ่มซ้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกสังคมนิยมได้รับเสียงสนับสนุนมากขึ้น ถึงกับสมาชิกกลุ่มสังคมนิยมได้เข้าร่วมในคณะรัฐบาล และเมื่อรัฐบาลเริ่มมีกลุ่มซ้ายที่ม่ชอบพวกแคธอลิค ได้ออกกฎหมายต่อต้านวัดแคธอลิค ที่ระบุให้แบ่งแยกระหว่างวัดกับรัฐออกจากกันเด็ดขาด รัฐยกเลิกความช่วยเหลือที่เคยให้กับวัด พร้อมทั้งจัดตั้งคณะpannelli_11กรรมการพิเศษ ทำการจัดการด้านทรัพย์สมบัติของวัด เป็นต้น
     สภาพของฝรั่งเศสหลังจากพ่ายแพ้สงครามกับปรัสเซียอย่างย่อยยับ ได้รับการดูถูกทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ตนอยู่ในฐานะประเทศมหาอำนาจ เคยมีอาณานิคมไพศาล สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อจิตใจของประชาชนมากอยู่แล้ว และยังต้องมาเผลิญกับภัยวิบัของการจลาจลภาใน สภาพการคอรับชั่น ของรัฐบาล กรณีขุดคลองปานามา จนถึงความหัวเก่ากรณีนายทหารตกเป็นแพะ ชาวฝรั่งเศสแทบจะสิ้นหวัง เริ่มเกิดความสงสัยในอนาคตของประเทศชาติ ตลดอถึงมนุษยชาตโดยทั่วไ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของคนฝรั่งเศส
     ความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจเป็นปัจจัยอีกอันหนึ่งที่ทำให้แนวโน้มทางการเมืองของฝรั่งเศสเปลี่ยนไป ฝรั่งเศสต่างไปจากอังกฤษและเยอรมนี ในขณะที่ประเทศทั้งสองเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมฝรั่งเศสยังคงวางพื้นฐานชีวิตอยู่บนการเกษตร อุตสาหกรรมหลักของฝรั่งเศสได้แก่ฝ้าไหมและเหล้าไวน์ซึ่งก็ไม่ให้ผลประโยชน์แก่ประเทศมากมายนัก และเมื่อมีคลองสุเอช สินค้าจากจีนไหลทะลักเข้าสู่ยุโรป และอิตาลี ได้พัฒนาสิ้นค้าประเภทนี้ขึ้นมาแข่งขัน เมืองลียองศูนย์กลางอุตสาหกรรมผ้าไหมก็ยิ่งซบเซา และสุดท้ายเมื่อมีการผลิตฝผ้าใยเทียนขึ้นได้ ตลาดค้าผ้าของฝรั่งเศสจึงต้องตกต่ำลงอีกเช่นเดียวกับไวน์ อัตราการผลิตเริ่มตกต่ำลง เพราะสินค้าเหล้าไวน์จากประเทศอื่น มีราคาถูกกว่าและหลั่งไหลเข้าสู่ตลาดยุโรป แต่ถึงอย่างไรฝรั่งเศษก็ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ร่ำรวยในขณะนั้น
     ขบวนการกรรมกรของฝรั่งเศสมีลักษณะแปลกกว่าประเทศอื่น ๆ สหพันธ์กรรมกรเป็นเรื่องราวของความก้าวหน้าและปฏิกิริยาทางการเมือง  รัฐบาลฝรั่งเศสออกกฎหมายการรวมตัว ห้ามมิให้การรวมกลุ่มแม้แต่ในรูปของสมาคมอาชีพ ให้มีการติดต่อกันเป็นส่วนตัวเท่านั้น สหพันธ์กรรมกรจึงมีสภาพผิดกฎหมาย และการสไตร์คถือเป็นอาชญากรรม
     เมื่อฝรั่งเศสเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม กรรมกรมีจำนวนมากขึ้น และมีการจับกลุ่มกันอย่างลับ  ๆ แต่ก็กว้างขว้างและมีลักษณะรุนแรง และเกี่ยวข้องกับขบวนการทางการเมืองอื่น ๆ
      หลังปี 1870 สหพันธ์กรรมกรเริ่มดีขึ้น เป็นเพราะได้แสดงตัวให้เห็นถึงการเดินสายกลาง จึงมีกฎหมายยินยอมให้มีการรวมกลุ่มกรรมกรได้โดยถูกต้อง โดยมีการรวมตัวของกรรมกรและประกาศว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับกลุ่มการเมืองใดๆทั้งสิ้น จะต่อสู้เพื่อการอยู่ดีกินดี สิทธิ เสรีภาพของกรรมกรแต่เพียงอย่างเดียว
        กล่าวได้ว่า ศตวรรษที่ 19 ต่อศตวรรษที่ 20 เป็นช่วงของการผันแปรทางการเมืองของฝรั่งเศส และยังถูกกระทบด้วยพลังชาตินิยมที่ต้องการขยายตัว ทั้งในด้านการเมืองและชื่อเสียงเกียรติยศจนดูเหมือนเป็นการปูทางเพื่อไปสู่สงครามในอนาคต

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

Bismarck(Iron Chancellor)

      showimg (1)
  อาณาจักรไรท์ของบิสมาร์ค เป็นระบบเผด็จการที่บังคับให้พลังความขัดแย้งเหล่านั้นสงบนิ่งลง และทั้งนี้ด้วยความสามารถส่วนตัวของบิสมาร์คเอง ภายหลังสงครามรวมประเทศบิสมาร์ต้องเผชิญกับปัญหาภายในประเทศ ต้องพยายามรวมพลังการเมืองภายใน ในขณะที่สภาพสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันอันเนื่องมาจากผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรม และต้องดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อคงความเป็นมหาอำนาจในยุโรปบิสมาร์คคิดว่าเยอรมนีที่ตนสร้างจะมีแต่ความมั่นคงและสันติภาพ แต่กลับเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามและยังส่งผลถึงยุโรปทั้งหมดอีกด้วย
      รัฐธรรมนูญเยอรมนนเปี 1871 มีลักษณะเป็นประชาธิปไตยเพียงรูป อำนาจที่แท้จริงคงอยู่ที่ปรัสเซีย เยอรมนีในศตวรรษนี้จึงเป็น “ununified state” คนในแต่ละรัฐยังรู้สึกว่าตนเป็นคนของรัฐมากกว่าเป็นคนของอาณาจักร
     สภาผู้แทนไม่มีอำนาจแต่อย่างใด และผู้ปกครองก็มิได้คิดจะปรับปรุงให้เป็นสภาบันที่มีส่วนมีเสียงในการปกครอง แต่ที่ยังคงไว้เพราะจะเป็นสถาบันที่รัฐบาลจะมีข้อมูลเกี่ยวกับมติมหาชนเพื่อปรับนโยบายของรัฐบาลให้เข้ากับสถานการณ์ได้ จึงมีลักษณะที่แตกต่างไปจากระบบเผด็จการบ้างเพราะพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงอะไร ๆ ได้ และบิสมาร์คต้องการที่จะให้รัฐต่าง ๆ พอใจ จะได้สะดวกในการติดต่อกับรัฐบาลท้องถิ่น
     ปัญหารเรื่องการเมืองภายในเป็นสิ่งทีนำความหนักใจมาให้บิสมาร์คเป็นอันมาก บิสมาร์คไม่ใช้คนหัวใหม่ เพียงแต่ฉลากพอที่จะยอมรับสถานการณ์ พรรคการเมืองในเยอรมนีขณะนั้นประกอบด้วย พรรคอนุรักษ์นิยม  สมาชิกส่วนใหญ่ได้แก่พวกจุงเกอร์ เป็นพวกหัวเก่า ม่นธยบายต่อต้านการปฏิรูปอุตสาหกรรมทุกประเทภ ต่อสู้เพื่อนาคตของชนชั้นเจ้าของที่เจ (ปรัสเซีย)และกสิกร  แมม้บิสมาร์คจะเป้ฯจุ้งเกิดร์ แต่ก็ยังเข้ากันได้ยาก ถึงกับเคยร่วมือกับกลุ่มเสรีนิยมถ่วงเสียง
     พรรคเสรีนิยมแห่งชาติ เรียกว่าเป็นกลุ่มหัวใหม่ พอใจการเปลี่ยนแปลง กลุ่มนี้ให้ความสนับสนุนในการขยายตัวทางอุตสาหกรรม ซึ่งบิสมาร์ ให้ความร่วมือเป็นอย่างดี เพราะเห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาการเปศรษฐกิจ แต่ความสัมพันธ์กับพรรคนี้ก็ไม่ราบรื่นนัก
     พรรคเซ็นเตอร์ เมื่อตั้งพรรคนี้ขึ้นมามีเจตนาจะรวมพวกแคทธอลิคฝใยเยอรมนีทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยไม่คำนึงถึงเรื่องชนชั้นแต่อย่างใดสมาชิกส่วนใหญ่จึงเป็นเคทธอลิค นโยบายของพรรคโดยกว้าง ๆ นั้นต้องการจะต่อต้านการปกครองของพวกโปรเตสแตนท์ ในระยะต้อนนโยบายของพรรคยังไม่แนนอนยังแยกกันไม่ชัดเจนระหว่างความเป็นแคทธอลิกค กับการเป็นักกากรเมือง บิสมาร์คพยายามกำจัดพรรคเซ็นเต่อร์อย่างมาก พอกับที่จัดการกับพรรคสังคมประชาธิปไตย
     เนื่องจากวัดแคทธอริคมีขอบเขตอิทธิพลกว้างไกลมาก บิสมาร์คจึงไม่พอใจ ต้องการจะลดอำนาจลงไปบ้าง บิสมาร์คยืนยันว่า จะต้องไม่มีระบบ 'state within the state’ อยู่ในเยอรมันอีกต่อไป ทางฝ่ายศาสนจักรซึ่งสูญเสียอำนาจทางโลกไปมากได้พยายามจะยัดอำนาจทางด้านจิตใจ จึงประกาศ Papal Infalilibility  ยืนยันข้อตัดสินใจใด ๆ ของทางวัดจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงได้ วาติกันประกาศคว่ำบาตผู้ที่ปฏิเสธกฤษฎีกานี้ เท่ากับว่าการศึกษาจะต้องเข้าไปอยู่กับฝ่ายวาติกันทั้งหมด รัฐบาลบิสมาร์คจึงจำเป็นต้องประกาศต่อต้านคำประกาศของสันตปาปา  และมีผุ้ให้ความเห็นว่ามีเหตุผลเบื้องหลังอีกประการ คือบิสมาร์คต้องการเอาใจพวกเสรีนิยมแห่งชาติ  ผลจากการตัดสินใจครั้งนี้ก่อให้เกิดคามไม่พอใจในหมู่พวกแคทธอลิค จึงรวมตัวเป็น Centre Party บิสมาร์คตอบโต้ด้วยการออกกฎหมายต่อต้าน ซึ่งจะยังผลให้ปพระเจชูอิทต้องถูกขับไล่ รัฐจะเข้าควบคุมการศึกษาทุกระดับแม้แต่วิทยาลัยสงฆ์ด้วยมาตรการเด็ดขาด ผลการต่อสู้กับพระบิสมาร์ดได้รับการสนับสนุนจากประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรัสเซีย อิตาลี ออสเตรีย ซึ่งต่างซึ่งมีปัญหากับวาติกันด้วยกันทั้งนั้น หรือแม้แต่กลุ่มหัวรุนแรงของผรั่งเศส และโปรเตสแตนท์ในอังกฤษ
      จากการที่บิสมาร์คทำการต่อสู้กับทางวัด ทางฝ่ายพรรคเซ็นเตอร์มีสามาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศเปลี่ยไปในทางลบ บิสมาร์คลดทิฐิยอมออมชอมกับพวกสังคมนิยมเพื่อต่อสู้กับแคธอลิค
      พรรคสังคมประชาธิปำตย กลุ่นี้ต้องการจะรวมกรรมกรเยอรมันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นกรรมกรของรัฐหรือของท้องถิ่น การรวมกลุ่มของคนเหล่านี้เป็ยผลมาจากขบวนการสังคมนิยมซึ่งเกิดขึ้นใหม่ในเยอรมนี ซึ่งเป็นผลงานของมร์คและเอนเกล เป็นกลุ่มของพวกหัวรุนแรง ต้อการประท้วงการปกครองของพวกชนชั้นเจ้าของที่ดินและเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม ต่อต้านระบบทหารของปรัสเซีย เรียกร้องให้ตั้งรัฐสังคมนิยมขึ้น ให้รัฐเข้าควบคุมการอุสาหกรรมทุกประเภท เป็นต้น สมาชิกแบ่งเป็น สองกลุ่ม คือกลุ่มที่ต้องการปฏิวัติตามหลักทฤษฎี และกลุ่มที่เชื่อว่าวิธีการปฏิรูปด้วยวิถีทางรัฐสภา ทางพรรคจะสามารถเอาชนะได้ พรรคนี้ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ
     บิสมาร์คต้องยอมประนีประนอมกับพรรคอนุรักษ์นิยม เพื่อถ่วงเสียงพรรคสังคมประชาธปไตยในรัฐสภาสุดท้ายบิสมาร์คหาเหตกำจัดพรรคสังคมประชาธิปไตย โดยกล่าวหาว่าสมาชิกของพรรควางแผนฆ่าจักรพรรดิวิเลียมที่ 1ในที่สุดออกกฎหมาย ระบุว่าพรรคสังคมประชธิปำตยเป็นพรรคนอกกฎหมาย ต้องออกนอกประเทศไป ถึงอย่างไรพรรคยังคงไม่สลายตัว ได้ออกไปตั้งศุนย์บัชาการที่สวิสเซอร์แลนด์และส่งสิ่งตีพิมพ์เข้ามาเผยแพร่ในเยอรมนีโดยสมำเสมอ
    ปี 1871 เยอรมนีผ่านพ้นความยุ่งยากทั้งหลาย เข้าสู่ยุคความมั่นคงทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ บิสมาร์คใช้ความสามถส่วนตัวดึงการขัดแย้งให้อยู่ในขอบเขต บิสมาร์คนำความสงบมาให้กับเยอรมนีโดยเสนอผลประโยชน์ให้กับกลุ่มจุ้งเกิร์ ปรัสเซีย และกลุ่มชนชั้นกลางจนเป็นที่พอใจ  บิสมาร์คพยายาม “ป้อน” ผลประดยชน์ดังกล่าวนี้ให้กับกลุ่มเซ็นเตอร์ และกลุ่มแคธอลิคกลายมาเป็นกลุ่มนายทุนอุตสาหกรรมและกสิกรรม เป็นกลุ่มผลประดยชน์ซึ่งต้องสนับนุนนโยบายเศรษฐกิจ
     บิสมาร์คได้เริ่มนโยบายใหม่ที่เรียกว่า New Order อันมีคำขวัญว่า gun before butter ซึ่งจะมีผลให้คนเยอรมันเกิดความรู้สึกที่ว่า ถ้าเยอรมนีจะต้องพิชิตยุโรป นดยบายเศรษฐกิจอันใหม่นำเยอรมนีเข้าสู่จุดสมดุลย์ของกลุ่มผลประโยชน์ มิใช่สมดุลของความคิด เยอรมนีจึงเปลี่ยนมาเป็น “รัฐของกลุ่มผลประโยชน์”
     นโยบายต่างประเทศ มีทั้งนโยบายที่ควรได้รับการยกย่องและตำหนิในเวลาเดียวกัน บิสมาร์คดำเนินนโยบายทำลายล้างระบบพันธมิตรเนื่องจากเรียนรู้สถานการณ์ของปรัสเซียที่ถูกทำลายอย่างย่อยยับจากพันธมิตร ฝรั่งเศส ออสเตรียและรุสเซีย บิสเมาร์คจึงป้องกันทุกทางมิให้เหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นอีก และในขณะที่ทำลายระบบพันธมิตรของผู้อื่นก็กลับสร้างระบบพันธมิตรขึ้นมาใหม่ ที่มีเยอรมนีเป็นศูนย์กลาง  ยุโรปจะต้องอยู่ในสภาพสันตติเพื่อที่เยอรมนีจะมีอำนาจที่สุด ซึ่งบิสมาร์คได้ถือเป็นนโยบายหลักของเยอรมนี กระทั่งไกเซอร์วิลเลียนมได้มาซึ่งอำนาจ
      บิสมาร์คดำเนินนโยบายต่างประเทศประสบความสำเร็จ สามารถสร้างระบบพันธมิตรครอบคลุมทวิปยุโรปจากทะเลบัตติจนถึงทะเลเมติเตอร์เรเนียนและทะเลอาเดรียติค เท่ากับว่าเขตอิทธิพลของเยอรมนีรวมทั้งความมั่นคงขยาขตามไปด้วย แต่สิ่งที่ประสบความสำเร็จเหนือสิ่งอื่นใดคือ ได้ต่อต้านการเป็นพันธมิตรระหว่างฝรั่งเศสและรุสเซียได้เป็นผลสำเร็จ
     บิสมาร์คเคยมีโครงการที่จะหยุดยั้งความทะเยอทะยานเรื่องการขยายตัวของคนะอยรมัน เคยมีการขัดขวางคนบางกลุ่มที่จะเข้าเวียนนา โดยเขากล่าวว่า ถ้าเข้าเวียนนาก็ต้องไปถึงคอนสแตนติโนเปิดล และจะออกตะวันออกในที่สุด ประเทศเยอรมนีจะกลายเป็นอาณาจักรใหญ่ ซึ่งบิสมาร์คไม่ต้องการ  บิสมาร์คได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นนักการเมืองของยุค “ราชธิปำตยแบบทรงภูมิธรรม” คนสุดท้าย เพราะยังคิดเรื่องชาติในสม้ยที่ใครๆ คิดเรื่องอาณาจักรสากลกัน
      เมื่อซาร์ที่ 3 ขึ้นครองราช ทรงต้องการรื้อฟื้นสัญญาญามิตรสามจักรพรรดิ ซึ่งส่งผลให้บิสมาร์คประสบความสำเร็จในการแบ่งดินแดนยุโรปตะวัออกเป็นเขตอิทธิพลของรุสเซียและออสเตรียได้ตามจุดมุ่งหมาย จากสัญญาสามจักรพรรดิ รุสเซียจะต้องไม่ทำลายออสเตรีย จากสัญญาพันธมิตรสามจักพรรดิรุสเซียจะต้องไม่ทำลายตุรกีและไม่คุกคามออสเตรีย และทำนองเดียวกัน ออสเตรียจะต้องไม่ทำลายตุรกี บิสมาร์คจึงหลีกเหลี่ยงการเข้าไปพัวพันสงครามกับรุสเซียเป็นผลสำเร็จ
     บิสมาร์คดำเนินนโยบายสร้างระบบพันธมิตรสำเร็จอีกครั้งเมือสามารถนำอิตาลีเข้าร่วมได้ร และเปลี่ยนชื่อมาเป็นพันธมิตรสามเส้า ซึ่งเท่ากับบิสมาร์คดำเนินนโยบายต่างประเทศประสบความสำเร็จ สามารถสร้างระบบพันธมิตรครอบคลุมทวีปยุโรป
       ขบวนการชาตินิยมเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยาก ดินแดนยุโรปตะวันออกเฉยงใต้ซึ่งบิสมาร์คใช้เป็นเกมการเมืองต่อรองกับรุสเซียีปฏิกิริรยาไม่พอใจที่ชะตากรรมบ้านเมืองต้องตกอยู่กับนักการเมืองบางคน บิสมาร์คไม่สามารถป้องกันการปฏิวัติที่มีลักาณะต่อต้านรุสเซียในรูเมเนียตะวันออกได้ บิสมาร์คจึงไสมารถจะหลีกเลียงการขัดแย้งกับรุสเซียได้เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในบุลกาเรีย คือการเปลียนผุ้ปกครองใหม่ เท่ากับอิทธิพของออสเตรียและเยอมีเข้ามาแทนรุสเซีย ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่รุสเซียในทันที รุสเซียหันมากระชับมิตรกับฝรั่งเศส และปฏิเสธการต่ออายุสัญญาสามจักรพรรดิ
    การแสดงออกถึงความขัดแย้งในตัวเองของนโยบายบิสมาร์คนั้น ปรากฎให้เห็นหลายเรื่อง อาทิ เป็นคนแรกที่ทำให้เยอรมนีเป็นรัฐสังคมนิยา ในขณะที่กำจัดพวกสังคมนิยม เคยใช้นโยบายไม่แทรกแซงการค้า แต่ออกกฎหมายกำแพงภาษี  เเละเคยต่อต้านการขยายตัวด้านอาณานิคม แต่เป็นผู้ก่อสร้างอาณานิคมในภาคพื้นทะเลเป็นต้น
     อาณานิคมกลายเป็นทางออกของความขัดแย้งของการเมืองภายในประเทศและภายนอกประเทศของประเทศต่าง ๆ เมื่อทุกประเทศในยุโรปเลิกห่วงในนโยบายดุลย์แห่งอำนาจในยุดรป ละหันมาแสวงหาอาณานิคมกันเต็มที่ ซึ่งได้รับการขนานนามว่ายุคจักรวรรดินิยม ทุกประทได้ยอมรับความคิดของบิสมาร์คในเรื่องอาณานิคมว่าเป็นการลดความตึงเครียดทางการเมืองลงได้
     บิสมาร์คเล่นเกมการเมืองเพื่อการขยายอำนาจของระบบราชาธิปไตย เพื่อจุ้งเกิร์และเพื่อปรัสเซียโดยใส่ความ “กลัว” ลงในอารมณ์ของคนเยอรมัน หลังจากปี 1887 เยอรมนีอยู่ในสภาพที่ต้องเตรียมพร้อม สงครามอาจเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะมาจากฝรั่งเศส รุสเซีย หรือแม้แต่อังกฤษ ความกลัวเหล่านี้ได้นำคนเยอรมันเข้ามาอยุ่ใต้ผู้นำ จะต้องผนึกกำลังเพื่อเอาชนะผุ้คุกคาม บิสมาร์คมารู้ตัวเมื่อสาย ถึงจะพูดว่า “คนเยอรมันไม่กลัวสิ่งใดใน โลก ยอเว้นแต่พระเจ้า” ยังคงไม่สามารถเปลี่ยนอารมณ์และความเชื่อของคนเยอรมันได้ ชาวเยอรมันยังคิดเสมอว่าตนอยู่ในอันตราย

วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ราชวงศ์โรมานอฟ

          เป็นราชวงศ์ที่สองและราชวงศ์สุดท้ายของรัสเซียโดยราชวงศ์นี้ปกครองจักรวรรดิรัสเซียตั้งแต่ ค.ศ. 1613-1917 ปฐมกษัตริย์คือ พระเจ้าไมเคิลที่ 1 ได้รับแต่งตั้งภายหลังสมัยแห่งความยุ่งยาก ราชวงศ์นี้ปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยตลอดโดยไม่ยินยิมให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะเป็นการลดพระราชอำนาจของกษัตริย์แม้ว่าพระเจ้า นิโคลาสที่ 2 จะทรงตั้งสภาดูมาใน ค.ศ. 1905 ก็มิได้มีสิทธิในการออกกฎหมายอย่างเต็มที่ จนเกิดการปฏิวัติใหญ่ในรัสเซียพระเจ้าซาร์นิโคลัสต้องทรงสละราชสมบัติ และถูกปลงพระชนม์โดยกำลังของฝ่ายบอลเซวิค ซึ่งสาเหตุของการปลงพระชนม์เนื่องด้วย พระเจ้าซาร์นิโคลัสเข้าร่วมสงครามและทุ่มงบประมาณไปกับสงครามมากทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ ส่งผลให้ประชาชนก่อการปฏิวัติ และทางราชวงศ์ได้พยายามหลบหนีแต่ไม่สำเร็จได้ถูกนำมากักตัวและถูกลอบปลงพระชนม์rasputin-3 (1)
        ซาร์นิโคลาสที่ 2 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของรัสเซีย แกรนด์ดยุคฟินแลนด์ และพระมหากษัตริย์โปแลนด์โดยสิทธิ์เป็นพระโอรสของสมเด็จพระจักรพรรดิอเล็กซาเดอร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย ราชวงศ์โรมานอฟ ทรงเสกสมรสกับเจ้าหญิงอลิกซ์แห่งเฮสส์และไรน์ ซึ่งต่อไม่ได้รับการเฉลิมพระนามเป็ฯ สมเด็จพระจักรพรรดินีอเล็กซานตราเฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย มีพระราชบุตรเวยกันห้าพระองค์ ได้รับการกล่าวขานวว่าเป็นจักรพรรดิที่อ่อนแด ทรงไม่สามารถจัดการกับความไม่สงบภายในประเทศ โดยเฉพาะความพ่ายแพ้ในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น และการที่ทรงบัญชาการรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่ไม่ทรงสามารถควบคุมกองทัพได้ อันเป็นชนวนให้ประชาชนชาวรัสเซียไม่พอใจและก่อการประท้วง นอกจากนี้ยังทรงปล่อยให้รัสปูตินเข้ามามีอิทธิพลเหนือราชสำนัก ต่อมาคณะปฏิวัติบอลเซวิค ได้บังคับให้ทรงสละราชสมบัติทรงถูกจำคุกและถูกปลงพรเชสม์อยางทารุณพร้อมด้วยพระราชวงศ์หลายพระองค์
        รัสปูติน (เกรกอรี เอฟิโมวิช รัสปูติน) เป็นนักบวชผุ้มีพลังจิตพิเศษที่มีบทบาทในยุคปลายราชวงศ์โรมานอฟของประเทศรัสเซียแต่การมีบทบาทและอิทธิพลของเขานั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การล่มสลายของราชวงศ์โรมานอฟ รัสปูติน เกิดในไซบีเรีย ในครอบครัวเกษตรกร สันนิษฐานว่าเขามีความเชื่อในนิกายคลีสติ ซึ่งเป็นนิกายนอกรีต กลุ่มศาสนิกชนผู้ยึดถือในนิกายนี้เชื่อว่ามนุษย์มีบาปมาแต่เริ่มแรกจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องไถ่บาปในเวลาต่อมา พวกเขาประกอบพิธีหลายอย่างเกี่ยกับความวิตถารในทางกามารมณ์และการบูชายัญ รัสปูตินเร่ร่อนไปทั่งชนบทของรัสเซีย เพื่อประกอบการเยียวยารักษาโรค และชักชวนผู้ญิงให้เข้าร่วมพิธีกรรมเหล่าโดย การดื่มเหล้า ร้องเพลง การเต้นรำอย่างบ้าคลั่ง และก็กิจกรรมทางเพศเป็นหมู่คณะ ในทุกๆ แห่งที่สะดวก ไม่ว่าจะเป็นป่า ยุ้งข้า หรือกระทอมของสาวก
       รัสปูตินมีความสามารถพิเศษในการทำนายอนาคตได้ยอ่างค่อนข้างถูกต้อง ต่อมารัสปูตินเข้าถือพรตเป็นนักพรตในศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซีย ประกอบกับบุคลิกที่เงียบขรึม ผู้คนในเมือง ต่างนับถือแต่ต่อมา เมื่อผู้คนพบกับธาตุแท้ ต่างเรียกรัสปูตินว่า Icha หรือ “นักพรตวิปลาส”รัสปูตินแต่งงานกบหญิ่งผู้มีอายุมากว่าตน และมีลูกด้วยกัน 4 คน กระทั่งรัสปูตินเดินทางแสวงบุญไปยังกรีกและเยรูซาเลมเมื่อเดินทางกลับถึงรัสเซีย รัสปูตินอ้างตนว่าเป็นผู้มีพลังพิเศษและรักษาโรคได้ 1284041557
       เจ้าชายอะเลคดซย์พระราชโอรสองค์สุดท้องในพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซียประสูติ แต่ทรงมีพระอาการประชวรด้วยโรคฮีโมฟีเลีย หรือพระโลหิตไหลออกง่ายและหยุดยากเนื่องจากพระโลหิตผิดปกติ ซึ่งในสมัยนั้นโรคนี้สามารถคร่าชีวิตคนได้พระเจ้าซาร์หาหมอมีมาหลายคนก็ไม่สามารถรักษาพระอาการได้
       รัสปูตินเดินทางมาในพระราชวังและสามารถรักษาพระอาการป่วยของเจ้าชายอะเลคเซย์ได้ โดยใช้วิธีสะกดจิตและปล่อยให้ระบบในพระวรการเยียวยาอย่างเงียบๆ พระมเหสีในพระเจ้าซาร์ขอให้รัสปูตินเข้ามาอยู่ในวัง เพื่อทำการดูแลเจ้าชายต่อ ซึ่งทำให้ชีวิตของรัสปูติน เริ่มมีบทบาทและอำนาจขึ้นมา รัสปูตินใช้วิธีการจัดเลี้ยงเพื่อล้างบาป ซึ่งการจัดงานเลี้ยงเพื่อล้างบาปนั้นดูจะบ่อยและพร่ำเพื่อจนคนภายนอกมองว่ารัสปูตินต้องการเสวยสุขจากงานเลี้ยงมากกว่า อิทธิพลของรัสปูตินในวังหลวงเพิ่มมากขึ้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ซาร์นิโคลัสที่ 2 ไปบัญชาการรบด้วยตนเอง และเมือกลับมารัสเซีย รัสปูตินก็ปรนเปรอด้วยงานเลี้ยง กิจการบ้านเมืองจึงตกอยู่ภายใต้อิทธพลรัสปูติน
       เจ้าชายเฟลิกซ์ยูสชูปอฟ เห้นว่ารัสปูตินจะเป็นภัยต่อชาติ จึงร่วมมือกับแกรด์ดยุคดมิทรี พัฟโลวิช ลวงสังหารรัสปูติน  สามวันต่อมา ศพของรัสปูตินถูกพบ และถูกส่งไปชันสูตร ผลการชันสูตร พบสารไซยาไนด์และกระสุนปืนจำนวนมากในร่างของรัสปูติน รัสปูตินเสียชีวิตเพราะการจมน้ำ
       ก่อนเสียชีวิต รัสปูตินสามารถทำนายอนาคตตนเองได้วากำลังจะเสียชีวิตเร็วๆ นี้ และได้พบกับคำทำนายบางสิ่ง จึงเขียนคำทำนายฉบับสุดท้ายฝากคนรับใช้ให้ไปส่งให้พระเจ้าซาร์ ฉบับนั้น เขียนไว้ในทำนองว่า ถ้าตัวเขาเองถูกฆ่าด้วยน้ำมือของสามัญชน ราชวงศ์โรมานอฟจะปกครองรัสเซียไปได้อีกหลายร้อยปี แต่ถ้าตัวเขาเองถูกฆ่าตายโดยเชื้อพระวงศ์ หรือบรรดาศักดิ์ ราชวงศ์จะถูกโค่นล้มในอีก 2 ปีข้างหน้า..
       กระแสปฏิวัติในศตวรรษที่ 20 นั้นมีไปทั่วโลก จักรวรรดิรัสเซียเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้คนอดอยากทั่วรัสเซีย ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 เกิดการปฏิวัติ “การปฏิวัติเดือนกุทภาพันธ์” นำโดย วลาดิเมียร์ เลนิน ซึ่งพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงต้องสละราชบัลลังก์และถูกกักกันตัวไว้ หลังจากการปฏิวัติไม่นาน ราชวงศ์ทรงประทับอยู่ ณ พระราชวังอเล็กซานเดอร์ และระหว่างเมษายน และ พฤษภาคมปี ค.ศ.1918 ก็ทรงถูกย้ายจากพระราชวังอเล็กซานเดอร์มาประทับ ณ เมืองเยคาเทียรินเบิร์ก สิบหก กรกฎาคม เวลา หนึ่งนาฬิกาสามสิบนาที นิโคลัส อเล็กซานดร้า โอรสและธิดาถูกหลอกให้ลงมาชั้นใต้ดิน แต่เมือทั้งหมดลงมา ก็ถูกขังไว้ในห้องพร้อมกับทหารกลุ่มบอลเซวิค โดยทั้งหมดสิ้นพระชนม์จากการถูกยิงเป้าหมู่ ภายหลังได้มีการฝังพระศพทั้งหมดร่วมกัน เป็นการปิดฉากราชวงศ์โรมานอฟและจักรวรรดิรัสเซีย...

   

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Russai Empire

  King_and_Tsar
  ความเปลี่ยแปลงในรัศเซียเริ่มมีขึ้นในสมัยซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ซึ่งมีแนวความคิดเสรี นิยมกระทั่งคนของซาร์ ถูกลอบสังหาร จึงมีการเปลี่ยนนโยบายทั้งหมด พวกนักปฏิรูปจึงมีการรวมตัวกันอย่างลับๆ เป็นสมาคมอย่างรูปแบบคล้ายในอิตาลี กระทั้งซาร์อเล็กซานเดอร์ สิ้นพระชนม์ และไม่มีพระโอรส สิทธิจึงตกอยู่กับเจ้าชายคอนสแตนตินพระอนุชาซึ่งมีแนวความคิดเสรีนิยมพวกนักปฏิรูปจึงมีความหวังแต่พระองค์ไม่ทรงรับสิทธินั้น บัลลังก์จึงตกเป็นของนิโคลาสซึ่งเป็นพวกหัวปฏิกิริยา ซึ่งไม่เป็นที่พอใจกับพวกหัวปฏิรูป ในช่วงที่ยังไม่ประกาศอย่างเป็นทางการพวกปฏิรูปจึงฉวยโอกาส  ไปแสดงความเคารพเจ้าคอนสแตนติน การกระทำครั้งนี้ทำให้เจ้าชายนิโคลาสมีท่าทีปฏิกริยามากขึ้น ทรงสั่งกำจัดพวกก่อการทั้งสิ้น จึงทำใหแผนการของกลุ่มเสรีนิยมล้มเหลวในที่สุด
      ในสมัยการปกครองซาร์นิโคลาสที่ 1 ทรงปกครองด้วยระบบเทวสิทธิ์ เชื่อในอำนาจสูงสุด ในยุคสมัยดังกล่าวได้เกิดมีนักเขียนที่มีชื่อเสียงหลายท่าน นักเขียนเหล่านี้ยังมีบทความโจตีสถาบันการปกครองรุสเซีย นักการศึกษารุ่นใหม่ถกเถียงกันถึงปรัชญาชองชิลลิงและเฮเกล นักการศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่มทั่งสองกลุ่มถกเถียงกันถึงวิธีการศึกษาของรุสเซีย ยืนยันว่าวัฒนธรรมสลาฟเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมตะวันตะ ซึ่งหมายความว่ารุสเซียควรจะปรับปรุงตนเองตามแนวทางตะวันตกด้วย ถึงกับมีการเรียกร้องให้เลิกระบบซาร์และตั้งเป็นรัฐสังคมนิยม ส่วนอีกกลุ่ม ซึ่งจัดเป็นกลุ่มชาตินิยม ยืนยันว่าวัฒนธรรมรุสเซียนมีความพิเศษเนือหว่าพวกตะวันตก รุสเซียมีความเป็นตัวเองมีพลังที่จะเจริญได้เอง..
       ซาร์นิดคลาสเป็นผุ้นำแบบระบบเก่า ป้องกันโดยเข้าแทรกแซงการปฏิวัติทุกรูปแบบ ในด้านการขยายอำนาจการหาทางออกทะเลยังเป็ฯนโยบายหลักของรุสเซีย ในด้านศาสนา รุศเซียถือว่าตนเป็นผู้นำของศาสนาคริสเตียนนิกายออร์ธอดอกซ์ จึงจำเป็นที่จะต้องรับผิดชอบต่อความเดือนร้อนที่ชนชาติต่าง ๆ ในแหลมบอลข่าน ในศตวรรษที่ 19 ขณะที่ความคิดโรแมนติคกำลังแพร่หลาย หากมองกันด้านยุทธศาสตร์หรือความมั่นคงของปะเทศ การที่ออกตโตมันคุมบอลข่าน เท่ากับว่าสุลต่านมีอำนาจที่ปิดหรือเปิดประตูหลังบ้านของรุสเซีย ซึ่งเป็นสิ่งไม่ปลอดภัย และเหตุทางด้านเศรษฐกิจ การขนส่งการแสวงหาวัตถุดิบ และความรู้สึกเรื่องชาตินิยม ในที่สุดสัญญาอาเดรียโนเปิล รุสเซียได้สิทธิพิเศษที่จะแล่นเรือผ่านช่องแคบดาร์ตะแนล และบอสโฟรัส และจากสัญญาอนเคียสะเกเลสสิ รุสเซียได้มีเสียงใหญ่ในการคุมเส้นทางเข้าทะเลดำ และรุสเซียยังทำการขยายสู่เส้นทางอื่นๆ อีก เช่นการทำสงครามกับเปอร์เซียและจีน และได้ดินแดนแถบแม่น้ำอามูร์อีกด้วย
การเข้ามาพัวดันกับสงครามไครเมีย นอกจากจะพ่านแพ้ทางด้านการทหารแลว รัฐบาลของพระองค์ต้องประสบปัญหาการเงิน การทารุณกับพวกชาวนาเพิ่มมากขึ้น รัชสมัยของพระองค์จึงสิ้นุดลงด้วยความวุ่นวาย
      ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 แม้พระองค์จะไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงแต่ด้วยความเป็นจริงการปฏิรูปจึงจำเป็นต้องเกิดขึ้น เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ทรงเจรจาสงบศึก และพัฒนาประเทศ ประการแรกคือทรงประกาศเลิดทาสติดที่ดินแม้จะมีเสียงคัดค้านจากทุกฝ่าย ผลของการประกาศกฎหมายเลิกทาส คือการเพิ่มจำนวนคนยากจนในชนบท ชาวนาต้องกลบเข้าไปทำงานตามระบบเก่า หมดความอิสระเสรี เกิดความไม่พอใจสังคม และความรุนแรงต่าง ๆ จะเปลี่ยนแปลงสังคมจึงเป็นสิ่งที่ตามมา
      การปฏิรูประบบการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นงานชิ้นสำคัญของพระองค์ นอกจากกลุ่มขุนนาง แล้วพ่อค้า ชาวนาจะมีสิทธิเลือกตั้งผู้แทน หน่วยการบริหารระบบใหม่เรียกว่าเซ็มสโวส์ ซึ่งแบ่งเป็นหลายระดับ เป็นรูปจำลองเล็กๆ สอนให้ประชาชนได้รู้จกการปกครองระบบประชาธิปไตย ฝึกหัดให้ประชาชนได้รู้จักสิทธิในการเข้าร่วมการปกครองที่ตนเองเกี่ยวข้อง  และยังปรับปรุ่งให้มีเทศบาลเมือง จัดตั้งศาลหลวงแก้ไขระบบยุติธรรมให้ดีขึ้น ซึ่งสมัยเดิมเจ้าของที่ดินทำหน้าที่ตุลาการด้วยตามระบบฟิวดัลซึ่งเป็นการไม่ยุติธรรมต่อผุ้นอ้ยและล้าสมัยในวิธีการสอบสวนลงโทษ.. การปฏิรูปกองทัพ ชายทุกคนเมืออายุ 20 ปีมีสิทธิจะเป็นทหารได้ ไม่จำกัดชั้นวรรณะ พระองค์ทรงพอใจหากการปฏิรูปจะมาจากพระองค์ มิใช่ประชาชนเรียกร้อง จึงทำให้เกิดเป็นการรวมกลุ่มแบบลับ ๆ มีการก่อกบฎ นักศึกษามหาวิทยาลัยพยายามจะลอบปลงประชนม์พระเจ้าซาร์ ทุกสิ่งจึงกลับไปหมือนเดิม รัฐบาลเข้าควบคุม หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบต่างๆ ก็ ค่อย ๆ หมดความสำคัญลง
        กลุ่มหัวรุนแรงและการปฏิวัติ
Nihilism (nothing) มีความคิดด้านทำลายเป็นสำคัญ เห็นพ้องต้องกันว่าสถาบันเก่าๆ ทุกสิ่งจะต้องถูกทำลาย ก่อนที่สังคมใหม่จะเกิดขึ้น สิ่งใดที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนเหตุผลและความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะต้องถูกทำลายเช่นกัน ซึ่งรวมถึงสถาบันซาร์และวัดออร์ธอดอกซ์ด้วย
   Socialism ขบวนการสังคมนิยมมีจุดมุ่งหมยที่จะทำลายระบบซาร์ และก่อตั้งรัฐประชาธิปไตยแบบสังคมนิยมขึ้นในรุสเซีย โดยหวังจะเลียนแบบคอมมูนแห่งปารีส การทำงายของกลุ่มนี้กว้างขวางกว่ากลุ่มแรก มุ่งหาสมาชิกในชนบท (ชาวนา)และมีการติดต่อกับกลุ่มสังคมนิยมในต่างประเทศ ต้องการใช้วิธีละมุนละม่อม
   Anarchist ทำการต่อต้านสังคมด้วยวิธีรุนแรง การลอบฆ่าข้าราชการ พระเจ้าซาร์ และการทำลายอื่น  ๆ ด้วยหวังจะบีดทางอ้อมให้พระเจ้าซาร์ทำการปฏิรูปสังคมด้วยวิถีเสรีนิยมพระองค์ทรงตอบโต้ด้วยวิธีการรุนแรงเช่นกัน ระบบตำรวจลับถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง
 
    ราชวงศ์โรมานอฟ
การลอบปลงพระชนม์พรเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ทำให้รัฐบาลพระจเอเล็กซานเดอร์ที่ 3 เป็นปฏิกิริยามากขึ้น มีนโยบายต่อต้านการปฏิรูปทุกอย่าง ใช้วิธีการรุนแรงและโหดเหี้ยมการสอนในมหาวิทยาลัยถูกกวดขัน อาจารย์กัวเสรีนิยมถูกไล่อก หนังสือพิมพ์ถูกเซ็นเซอร์ ยิ่งไปกว่านั้น พรเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 เริ่มใช้นโยบายกำจัดศาสนาอื่น ๆ ที่มิใช่กรีกออร์ธอดอกซ์ มณฑลต่าง ๆ ซึ่งนับถือลูเธอร์แรนถูกบังคับให้เปลี่ยนความเชื่อ ยิวก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน  จากนโยบายต่อต้านยิว พวกยิวจำนวนมากถ้าไม่ถูกฆ่าตาย ก็จะถูกขับไล่ออกนอกประเทศ
    ซาร์นิโคลาสที่ 2 ซึ่งไม่ต่างจากสมียซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3  ทรงกล่าวไว้ว่า จะคงไว้ซึ่งระบบการปกครองแบบเอกาธิปไตยที่บรรพบุรุษของพระองค์ทรงทำมา จะไม่มีสิ่งใดมาเปลี่ยนแปลง
       ทางด้านเศรษฐกิจเป็นระยะการพัฒนาทางเศรษฐกิจขั้นสุดท้าย เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นระยะปรับตัวของการปฏิรูปครั้งใหญ่ อุตสาหกรรมของรุสเซียเข้าสู่ขั้นเต็มที่ มีการสร้างทางรถไป ถึง 15,000ไมล์ การพัฒนาเครื่องจักรกลต่าง ๆ ซึ่งก็ยังล้ากว่ายุโรปชาติอื่นๆ และสหรัฐอเมริกา อาทิจำนวนการผลิตเหล็ก น้อยกว่าฝรั่งเศส 8 เท่า เยอรมัน 8 เท่า สหรัฐอเมริกา 11 เท่าและยิ่งไปกว่านั้นอุตสาหกรรมของรุสเซียตกอยู่ในมือพวกนายทุนเพี่ยงไม่กี่คน ทั้งนี้และทั้งนั้นระบบฟิวดัลของรุสเซียยังแรงมาก เจ้าของที่ดิน พยายามกีดกันระบบนายทุนแบบยุโรปเย้าไปแพร่หลายในรุสเซีย และการขาดชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของระบบนายทุน
     ด้านการเกษตร ชาวนาสามารถขายสิทธิที่ดิน ชาวนาส่วนใหญ่เปลี่ยนฐานะเป็นลูกจ้าง ซึ่งแทบจะไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลง
       ในช่วงการทดลองการปกครองนระบบรัฐสภา รุสเซียเข้าพัพันธ์กับเหตุการณ์ในต่างประเทศมากขึ้นทุกขณะ  และในที่สุดก็เข้าร่วมสงครามในปี 1914 และการพ่ายแพ้สงครามยิ่งทำให้ทุกอย่างเลวร้ายมากขึ้น ..รัฐบาลของซาร์เข้าสู่ภาวะอันตราย การปฏิวัติเกิขึ้น โดยทำการขับซาร์นิโคลาสออกจากบัลลังก์ราชวงศ์โรมานอฟจึงสิ้นสุด และทำให้ระบบการปกครองของรัสเซียมาเป็นระบบคอมมิวนิสต์ในที่สุด มีผู้ให้ข้อคิดเห็นว่าการปฏิรูปการปกครองมิใช่สิ่งที่นำไปสู่การปฏิวัติ แต่เป็นสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ทำให้เปลี่ยนการปฏิรูปมาเป็นการปฏิวัติ

Imperialism

        มีการวางรากฐานของจักรวรรดิอังกฤษตั้งแต่อังกฤษและสกอตแลนด์ยังเป็นราชอาณาจักรที่แยกจากกัน หลังโปรตุเกศและสเปนประสบความสำเร็จในการสำรวจโพ้นทะเล ถึงกระนั้นอังกฤษก็ไม่มีimagesความพยายามทีจะก่อตั้งอาณานิคมอังกฤษเพิ่มเติมอีกในทวีปอเมริกเรื่อยมากระทั้งรัชสมัย สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ในช่วงทศวรรษสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 16 การปฏิรูปโปรแตสแตนต์ทำให้อังกฤษทรงให้นักเดินเรือส่วนตัว จอห์น ฮิว์กินส์ และฟรานซิส เดรก ทำการโจมตีปล้นทาสตามเรือสเปนและโปรตุเกสซึ่งแล่นออกจกาชายฝั่งแอฟริกาตะวันตก โดยมีเป้าหมายเพื่อทำลายระบบการค้าแอตแลนตกิ ความพยายามดังกล่าวถูกยับยั้ง และเมื่อสงครามอังกฤษสเปนทวีความรุนแรงขึ้น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ทรงอนุญาตให้ขยายโจมตีแบบโจรสลัดไปจนถึงเมืองท่าของสเปนในทวีปอเมริกาและการเดินเรือที่แล่นข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกกลับมา ซึ่งเรือนี้เต็มไปด้วยทรัพย์สมบัติซึ่งขนกลับจากโลกใหม่ ขณะเดียวกัน นักเขียนที่มีอิทธิพล อาทิ ริชาร์ด ฮัคลุยต์ และจอห์นดี เป็นคนแรกที่ใช้คำว่า “จักรวรรดิอังกฤษ” และเริ่มผลักดันในมีการก่อตั้งจักรวรรดิที่เป็นของอังกฤษเอง ซึ่งในเวลานั้น สเปนได้สร้างถิ่นฐานอย่างมั่นคงในทวีปอเมริกา ส่วนโปรตุเกสได้สร้างสถานีการค้าและค่ายทหารจากชายฝั่งทวีปแอฟริกา และบราซิลถึงจีนและฝรั่งเศสเองก็ตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ ซึ่งต่อมาภายหลังกลายเป็นอาณานิคมนิวฟรานซ์ แม้วาอังกฤษจะมาที่หลังในการล่าอาณานิคมแต่อังกฤษก็เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการตั้งถิ่นฐานในไอร์แลนด์ คล้ายกับการรุกรานของชาวนอร์มัน
      ในปี ค.ศ. 1603 สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ ได้ทรงสืบราชบัลลังก์อังกฤษต่อมา และได้ทรงเจรจาในสนธิสัญญาลอนดอน ในการยุติความบาดหมางกับสเปน หลังจากการสงบศึกกับคู่แข่งที่สำคัญ ความสนใจของอังกฤษเปลี่ยนจากการหาผลประโยชน์จากดครงสร้างพื้นฐานทางอาณานิคมของชาติอื่นมาเป็นกิจการการก่อตั้งอาณานิคมโพ้นทะเลเป็นของตนเอง จักวรรดิอังกฤษได้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในช่วงต้น คริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยการก่อตั้งนิคมของอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนือและหมู่เกาะเล็กๆ แถบคาริบเบียน ตลอดจนการจัดตั้งบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่ชื่อ บริษัทอินเดียตะวัน397317_297560353620760_710328726_nออกของอังกฤษ เพื่อทำการค้าขายกับทวีปเอเชีย ในช่วงนี้จนไปถึงการสูญเสียสิบสามอาณานิคม หลังจากการประกาศอิสรภาพสหรัชอเมริกา ไปจนถึงส้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้รับกล่าวถึงในเวลาต่อมาว่าเป็น “จักรวรรดิอังกฤษที่หนึ่ง”
      “จักรวรรดิอังกฤษที่สอง” การปกครองอินเดียของบริษัท การดำเนินการ บริษัทอินเดียตะวัน ออกของอังกฤษให้ความสำคัญกับการค้ากับอนุทวีปอินเดีย เพื่อที่จะได้ไม่อยู่ในฐานะที่จะท้าทายอำนาจของจัรวรรดิโมกุลอันเกีรยงไกร บริษัทได้รับสิทธิการค้า ช่วงคริสตศตวรรษที่ 18 จักรวรรดิโมกุลเริ่มเสื่อมอำนาจและบริษัทอินเดียตะวันออกกำลังต่อสู้กับบริษัทคู่แข่วสัญชาติฝรั่งเศสในสงครามคาร์นาติก ซึ่งกองกำลังอังกฤษ ภายใต้การนำของโรเบิร์ต คลิฟ สามารถเอชนะฝรั่งเศสและพันธมิตรชาวอินเดีย บริษทัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษจึงปกครองอ่าวเบงกอล และเป็นอำนาจทางทหารและทางการเมืองทียิ่งใหญ่ของอินเดีย   การยึดครองอินเดียของบริษัทประสบความสำเร็จโดยสมบูรณ์ การกบฎในอินเดีย ทำให้บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษยุติบทบาทลง และอินเดียถูกปกครองโดยตรงภายใต้บริติชราช
      การสูญเสียสิบาสมอาณานิคม และความสัมพันธ์กับสหรับอเมริกา
77a8918a311d421c93e516d ความสัมพันธ์ระหว่างสิบสามอาณานิคมและอังกฤษเริ่มตึงเครียดมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอยางยิ่งความไม่พอใจในความพยายามของรัฐสภาอังกฤษที่จะปกครองและเก็ภาษีชาอาณานิคม โดยปราศจากความยินยอม โดยสรุปเป็นสโลแกนว่า “ไม่จ่ายภาษีหากไม่มีผู้แทน”  ความไม่เห็นด้วยในการรับประกันสิทธิความเป็นชาวอังกฤษ ได้ทำให้เกิดการปฏิวัติอเมริก และประกาศอิสรภาพในเวลาต่อมา..
“ความมั่นคงของประชาชาติ” โดยอดัม สมิธ ได้โต้แย้งว่าอาณานิคมมีมากเกินไป และควรนำระบบการค้าเสรีเข้ามาแทนนโยบายพาณิชยนิยมแบบเก่า ซึ่งเป็นลักษณะของการขยายอาณานิคมในช่วงแรก ซึงย้อกลับไปจนถึงลัทธิคุ้มครอง ของสเปนและโปรตุเกส สมิธยืนยังมุมมองที่ว่า การควบคุมทางการเมือไม่จำเป็นต่อความสำเร็จในทางเศรษฐกิจ ความตึงเครียรระหว่างชาติทั้งสองทวีขึ้นระหว่างสงครามนโปเลียน อังกฤษพยายาที่จะขึดขวางการค้าระหว่างสหรัฐกับฝรั่งเศสและส่งคนขึ้นเรื่ออเมริกาเพื่อเกณฑ์ลุกThairath_3110255352847เรือสัญชาติอังกฤษแต่กำเนิดให้เข้าสูราชนาวี สหรัฐจึงประกาศสงคราม ทั้งสองฝ่ายพยายามที่จะเพ่มค่าใช้จ่ายของฝ่ายตรงข้ามให้มากที่สุด แต่ประสบความล้มเหลวทั้งสองฝ่าย สันธิสัญญาเก้นท์ จึงเกิดขึ้น เหตุการในทวีปอเมริกามีอิทธิพลต่อนโยบายของอังกฤษในแคนาดา  พวกรอยังลิสต์ที่แพ้สงครามปฏิวัติได้อพยพออกจากอเมริกาภายหลังการประกาศอิสรภาพ รัฐบาลอังกฤษแบ่งนิบรันสวิกออเป็นอาณานิคมต่างหาก จัดตั้งมณฑลอัปเปอร์แคนาดา ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษ และโลว์เออร์แคนาดา ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส เพื่อลดความตึงเครียดระหว่างประชาคมอังกฤษและฝรั่งเศส และรูปแบบการปกครองคล้ายคลึงกับที่ใช้ในอังกฤษ โดยมีเจตนาเพิ่มอำนาจของจักรวรรดิและ ไม่อนุญาตให้อยู่ภายมต้การปกครองของประชาชน ซึ่งได้นำไปสู่การปฏิวัติอเมริกา
     แปซิฟิก หลังจากสูญเสียสิบสามอาณานิคม สภานการณ์บังคับให้มีการหาสถานที่ใหม่สำหรับขนส่งนักโทษ และรัฐบาลอังกฤษได้ให้ความสนใจไปยังดินแดออสเตรเลียซึ่งเพิ่งค้นพบใหม่ ชายฝั่งด้านตะวันตกของออสเตรเลีย เรื่อขนนักทษมายังนิวเซาท์เวลส์และในเวลาต่อมาอาณานิคมมีประชากรอาศัยอยูถึง 56,000 คน ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นนักโทษ อดีตนักโทษ หรือผู้สืบสกุลของนักโทษเหล่านี้ อาณานิคมออสเตรเลียได้กลายมาเป็นแหล่งส่งออกขนแกะและทองอันสร้างรายได้มหาศาล
    ในระหว่างทางยังได้เดินทางไปถึงนิวซีแลนด์ ปฏิสัมพันธระหวางประชกรพื้นเมืองของมาวรี และชาวยุโรปจำกัดอยู่เพียงภารแลกเปลี่ยนสินค้าเท่านั้น บริษัทนิวซีแลนด์ประกาศแยนที่จะซื้อที่ดินขนาดใหญ่และก่อสร้างอาณานิคมในนิวซแลนด์และร่วมสงนามในสนธิสัญญาไวทังกิ โดยกับตันวิลเลียม ฮอบสัน และหัวหน้าชนเผ่ามาวรีอีกราว 40 คน  ซึ่งคนส่วนใหญ่มองว่าเป็นเอกสารก่อตั้งนิวซีแลนด์ แต่ความแตกต่างในการตีความข้อความในเอกสารภาษามาวรีและภาษาอังกฤษ ซึ่งก็หมายความว่ามันจะยังคงเป็นที่มาของความขัดแย้งต่อไป

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Nationalism

              ชาตินิยม คืออุดมการณ์ที่สร้างและบำรุงรักษาชาติในลักษณะที่เป็ฯมโนทัศน์ แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มของมนุษย์ บางทฤษฎี การรักษาลักษณะพิเศษของอัตลักษณ์ การเป็นอิสระในทุกๆเรื่องการกินดีอยู่ดี และการชื่นชมความยิ่งใหญ่ของชาติตนเอง ล้วนจักว่าเป็นคุณค่าพื้นฐานของความเป็นชาตินิยม..
      เยอรมัน มีสภาพเช่นเดียวกับอิตาลี คือเป็นกลุ่มรัฐย่อยๆ ที่เข้ารวมกันในนามของสมรพันธรัฐเยอรมัน นโปเลียนยกเลิกอาณาจักรนี้ พร้อมกันนั้นได้รวมดินแดนภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเยอรมนีเป็นของฝรั่งเศส จัดตั้งดินแดนส่วนบริเวณตอนกลาง ตั้งขึ้นเป็นสมาพันธ์รัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์ โดยอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส และผลักดันออสเตรียออกจากเยอรมนีไปทางตะวันออก และโดดเดียวปรัสเซียให้อยู่ตามลำพัง ให้มีฐานะเป็นัฐกันชนภายใต้ร่มเงาเขตอิทธิพลรัสเซีย การกระทำของนโปเลียนก่อให้เกด การรวมตัวของพลังชาตินิยมขึ้นอย่างเงียบๆ 509px-Otto_von_Bismarck
       ศตวรรษที่ 19 ลัทธิโรแมนติคกับลัทธิชาตินิยมมีอิทธิพลเท่าเทียมกัน ในการพัฒราด้านความคิดของชาวเยอรมัน นักเขียน กวี นักแต่งเพลง ของสมัยโรมแมนติค  ได้สอดใส่ความรู้สึกชาตินิยมไว้ในผลงานของตนอย่างเต็มที่ การเชิดชูวีรบุรุษที่จะสามรถรวมเยอมันเข้าไว้ด้วยกัน นักปรัชญาและนักเขียนพยายามวิพากษ์วิจารณ์ชี้ให้เห็นถึงวัฒนธรรมเยอรมันที่สูงส่งกว่าชาติอื่น ๆ Volk เฮเกลใช้กฎไดอาเลคติคอธิบายให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ที่จะมีพื้นฐานมาจากการไม่เป็นอันเหนึ่งอันเดียวกัน ความแข็งแกร่งจะเกิดขึ้นจากความอ่อนแด และ เฟรดริค ลิส ได้ชี้ให้เห็นถึงพลังทางเศรษฐกิจที่จะมีส่วนทำให้ความใฝ่ฝันของชาวเยอรมันเป็นจริงขึ้นมา
       ความคิดเสรียิยมเป็นพลังสำคัญเช่นเดียวกับชาตินิยม ชนชั้นกลางชาวเยอรมันต้องการการปกครองแบบรัฐสภา และฐบาลยื่นมือเข้าช่วยเหลือตนบ้างด้านเศรษฐกิจ ต่างมีความเห็นต้องกันว่า การรวมเยอรมนีจะสนองความต้องการทั้ง 2 ประการได้ กลุ่มเสรีนิยมดำเนินการในสภาแฟรงเฟิร์ด การพ่ายแพ้ของกลุ่มเสรีนิยม ได้เปลี่ยนมาเป็นความคิดปฏิกิริยา และจะเห็ฯว่าลัทธิทหาร และลัทธิการเมืองที่แสดงอำนาจ เป็นทางเดียวที่จะทำให้ประเทศเป็นปึกแผ่นได้
        ปรัศเซียแสดงท่าที่เป็นผู้นำของรัฐเยอรมันทั้งหมด ศตวรราที่ 19 เยอรมนียังเป็ฯประเทศกสิกรรมที่ล้าหลังจะมีโรงงานอุตสาหกรรมอยู่บ้างก็เป็นจำนวนน้อย เยอรมันเคยได้รับการพัฒนามาบ้างโดยนโปเลียน แต่ทักอย่างหยุ่ดชงักลง มีเพียงปรัสเซียที่ก้าวไปข้าหน้า แผนการณ์ที่จะรวมเยอรมันของปรัสเซียถูกตระเตรียมไว้เป็นที่แน่นอแล้ว แต่ถูกขัดขวางโดยออสเตรีย แผนการณ์จึงถูกเลื่อนไปอีกระยะหนึ่ง
        เกิดความไม่สงบในปรัสเซียการเพิ่มกำลังทหารทำให้สภาผู้แทนซึ่งมีกลุ่มเสรีนิยมคุมเสียช้างมาก เกิดการเผลิญหน้าระหว่างฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติและอาจนำมาซึ่งสงครามกลางเมือง  บิสมาร์ค ๔กเรียกตัวมาแก้สถานการณ์ ข้ามราดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีปรัสเซีย  บิสมาร์คเป็นอนุรักษ์นิยมพอๆกับแมทเทอนิค แต่วิธีการแตกต่างกัน แมทเทอนิคต่อต้ากการปฏิวัติ แต่บิสมาร์คเป็นผู้น้ำปฏิวัติ และใช้มันให้เป็นประโยชน์  บิสมาร์คสำนึกถึงสถานการณ์ที่แท้จรเง เขาเขียนจดหมายถึงภริยา โดยกล่าวว่า “ เวลาของระบบสมบูรณาญาสิทธิราชได้สิ้นสุดลงแล้ว และการปกครองโดยผู้แทนทของประชาชนจะต้องเป็นจริงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เราจะต้องพยายามดึงอำนาจให้อยู่กับพระมหากษัตริย์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้” ..
        บิสมาร์คอ้งเสมอว่าต้องการทำให้เยอรมรีเป็นปึกแผ่นรวมกัน แต่แท้จริงเป็นการแบ่งแยกเยอรมนีกับออสเตรีย และยังใช้กำลังทหารเอาชัยเหนือออสเตรียและฝรั่งเศสและยังทำให้อาณาจักรทั้งสองมีสภพจอมปลอมว่ายิ่งใหญ่และเป็นเอกราชต่อไปอีก เขาสนองความต้องการของคนเยอรมันเรื่องสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป แต่เพื่อผลประโยชน์ของชนชั้นของตนเอง เท่านั้น แต่บิสมาร์คมีความสามารถควบคุมเยอรมันไว้มิให้ก่อความรุนแรงได้
        บิสมาร์คเป็นคนหลอกลวง ไม่ว่าจะเรื่องส่วนตัว หรือนโยบายการเมือง ใช้วิธีการ blood and iron ในขณะที่พูดถึงสันติภาพ แสดงตนเป็นพลเรือน แต่ใช้วิธีการทางการทหาร รวมทั้งมีอิทธิพลเหนือนายพลเยอรมันอีกด้วย บิสมาร์คเป็นบุคคลแบบผู้ดียุงเกอร์(Junker คือผุ้ดีชนบท ปรัสเซีย ชอบดื่ม ชอบต่อสู้ แต่ก็ใช้มันสมอง) เป็นนักชาตินิยมปรัสเซีย แต่มิใช่ชาตินิยมเยอรมันใฝ่ฝันที่จะเห็นความยิ่งใหญ่ของปรัสเซีย
       บิสมาร์คมีนโยบายแสวงหาความมั่งคงทังภายในและภายนอก ทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาทำเพื่อป้องกันอันตราย  นโยบายภายใน บิสมาร์คมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างความสมดุลทางการเมือง เขาใช้ทั้งกลุ่มเสรีนิยมและยุงเกอร์สนับสนุนซึ่งกันและกัน ดึงเสียงโรมันคาทอลิคด้วยลัทธิชาตินิยม แล้วกลับใช้กลุ่มคาทอลิคกำจัดพวกชาตินิยมหัวรุนแรง ด้านเศรษฐกิจเขาพยายามสร้างระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง กสิกรรมเพื่อกลุ่มยุงเกอร์ และอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของเยอรมันยุคใหม่ และเพื่อทำลายฝ่ายอนุรักษ์นิยม แต่บิสมาร์คก็กลัวทั้งพวกชาตินิยมและพวกสังคมนิยมในขณะเดียวกัน เขาจึงพยายามเพียงเลื่อนเหตุวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้นไว้ชัวระยะยหนึ่ง ซึ่งก็ล้มเหลวและความล้มเหลวของบิสมาร์คก็คือความล้มเหลวของฝ่ายอนุรักษ์นิยม .. เยอรมันก้าวมาเป็นหนึ่งของมหาอำนาจของโลก โดยบิสมาร์คไม่สามารถจะยับยั้งได้อีกต่อไป

Congress of Vienna


     ออสเตรียเข้ามามีบทบาทสำคัญตั้งแต่การขัดแย้งระหว่างนโปเลียน และรัสเซีย-ปรัสเซีย ความเกรงกลัวการขยายอำนาจของอเล็กซานเดอร์ที่ 1 ซาร์แห่งรัสเซีย แมททอนิค ไม่เห็นทางใดที่พอจะสกัดอิทธิพลของรัสเซียได้ เขาพยายามสร้างระบบพันธมิตรขึ้นต่อสู้ด้วยมุ่งหวังจะสกัดกั้นอิทธิพลของรัสเซีย แมทเทอนิคทำทุกวิถีทางเพื่อดึงปรัสเซียและรัฐเยอรมันอื่น ไ ให้หลุดพ้นจากอิทธิพลของรุสเซีย และเขาสำนึกถึงความแข็งแกร่งของอังกฤษและอิทธิพลที่จะมีต่อที่ประชุมสันติภาพ เขาจึงตระเตรียมลู่ทางแม้แต่การใช้การเกี่ยวดองระหวางราชวงศ์แฮปสเบิร์กและนโปเลียนมาเป็นเครื่องมือ
     กษัตริย์ปรัสเซียไม่สนพระทัยที่จะต่อสู้เพื่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด พระเงค์เป็นบุคคลที่ไม่ทำสิ่งใดให้เด็ดขาดชอบนโยบายหลาง ๆ เข้ากับทั้งสองฝ่าย ทุกอยางขึ้นอยู่กับคณะผู้แทนมากกว่ากษัตริย์
     อังกฤษเป็นประเทศที่ต้องจ่ายเงินเกือบทั้งหมดในการรบกับนโปเลียนจึงดูเหมือนเป็นเสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมแต่การไม่เป็นดังนั้นท่าที่ของอังกฤษไม่แน่นอน ว่ากันว่าสัญญาได้เซ็นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อังกฤษมาเจรจาเพี่ยงเรื่องเงิน ผลประโยชน์ในสเปนชิชิลี แฮนโนเวอร์ และที่สำคัญคือปัญหาเบลเยี่ยมแทบจะไม่ได้พูดถึง
       คาลเลย์รอง เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนของฝรั่งเศส เป็นผู้ร่วมกระทำการก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศส สนับสนุนนโปเลียน และฟื้นฟูอำนาจบูร์บองขึ้นมาอีก คณะผู้แทนใช้ความพยายามเพื่อผลประโยชน์ของฝรั่งเศส และกว่าได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างยิงใหญ่
       ผู้นำสำคัญอื่นๆ ซาร์แห่งรัสเซียเป็นบุคคลที่ลึกลับมากที่สุดและเป้นผู้กระตุ้นให้คิดถึงเสรีนิยมมากที่สุด แมททอนิคเป็นลักษณะของพวกปฏิกริยา ดื้อดึงจะทำลายความหวังทุกสิ่งถ้าเกี่ยวกับเสรีนิยม คาสิซิลรี แสดงบุคลิกของความต้องการประนีประนอมและการเดินสายกลามมากที่สุดเพราะผลประโยชน์ทางการค้าของอังกฤษขึ้นอยู่กับความสงบของยุโรป ตาลเลย์รองด์เป็นคนที่มีชั้นเชิงมากที่สุดและรู้จุดหมายปลายทางที่แน่นอนของตน พยายามทุกทางที่จะรักษาและแสวงหาผลประโยชน์เพื่อประเทศฝรั่งเศส
        สนธิสัญญาโชมองด์ ชาติต่าง ๆ ที่ร่วมรบต่อต้านอำนาจของนโปเลียนได้ประชุมกันครั้งแรกที่โซมองด์ อังกฤษ ออสเตรีย รัสเซียและปรัสเซียได้ตกลงเซ็นสัญญากัน โดยให้คำมั่นสัญญาต่อกันและกันว่านโปเลียนเป็นมหาศัตรูของความสงบในยุโรป จึงจะรวมกันทำการรบต่อสู้กับนโปเลียนจนถึงที่สุดและจะคงไว้ซึ่งสัมพันธมิตรเป็นเวลาอีก 20 ปี จะมีการเจรจาเรื่องดินแดและการเมืองอื่นๆ หลังจากที่ชนะนโปเลียนได้แล้ว และตกลงกันจะฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บอง …
        เมื่อกองทัพนโปเลียนพ่ายแพ้ สัมพันธมิตรเข้ายึดปารีส นโปเลียนสละบัลลังก์และถูกกุมขังที่เกาะเอลบา ฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งสี่จึงเซนสัญญาสงลศึกกับฝรั่งเศส  การสืบราชสมบัติฝรั่งเศสในครั้งแรกมีความเห็นแตกแยกกันในหมู่สัมพันธฒิตร อังกฤษยินดีสนับสนุนพระเจ้าหลุยส์ที่ 18  เพราะได้เสด็จลี้ภัยมาประทับในประเทศตน ส่วนนโปเลียนได้มอบราชสมบัริให้แก่พระโอรสคือราชาแห่งโรม และของให้พระราชินีมารีหลุยส์เป็นผุ้สำเร็จราชการ จึงเป็นที่แน่นอนว่าออสเตรียจะต้องเสนอราชาแห่งโรมเป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศส ซาร์อเล็กซานเดอร์ยังคงไม่ติดสินพระyทยแน่นอนว่าจะสนับสนุนผู้ใด แต่คาลเลย์รองด์เป็นจักรกลสำคัญในฐบาลชุดใหม่มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลังซาร์แห่งรัสเซีย และเพราะท่าทีที่ไม่แน่ใจของออสเตรียจึงทำให้เพราะเจ้าหลุยส์ได้รับตำแหน่างพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในที่สุด
       จากสัญญาสงบศึกแห่งกรุงปารีสฉบับที่ 1 การเจรจาของดาลเลย์รองด์ได้ทำให้ฝรั่งเศสซึ่งอยู่ในฐานะผู้แพ้มิได้เสียดินแดนของตนเลย และยังกลับได้เพิ่มอีก 150 ตารางไมล์ และพลเมืองอีก 450,000 คน แต่ฝรั่งเศสจำต้องเสียดินแดนอื่นๆ ที่เคยอยู่ในอารักขาของอาณาจักรนโปเลียน ได้แก่ ฮอลแลนด์ เบลเยี่ยม และดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำไรท์ และรัฐต่าง ๆ ในแหลมอิตาลีและสวิสเซอร์แลนด์
     สิ่งที่ควรสรรเสริญในความสามารถของตาลเลย์รองด์คือ ฝรั่งเศสจะไม่ต้องถูกปลดอาวุธไม่ถูกยึดครอ และไม่ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามอีกด้วย เมื่อสัญญาได้ตกลงกันถึงฐานะของฝรั่งเศสเรียบร้อยดังนี้แล้ว ปัญหาสำคัญที่จะต้องพูดถึงคือเรื่องดินแดนที่ได้กลับคืนมาจากฝรั่งเศส ควรจะแบ่งกลับคืนไปให้กับเจ้าของเดิมก็เป็นทางที่ง่ายดี แต่เมื่อถึงเวลาจะปฏิบัติเข้าจริงเป็นสิ่งลำบากมากเพราะนโปเลียนได้เปลี่ยนการแบ่งปันหลายครั้งด้วยกัน จนบางแห่งเหลือที่จะตกลงกันได้วาใครจะเป็นเจ้าของเดิมจึงนับเป็นการยุ่งเหยิงที่สุด  จึงตกลงกันว่าจะต้องเปิดการประชุมที่กรุงเวียนนาให้พร้อมเพียงกัน 300px-CongressVienna
      เมื่อมหาอำนาจทั้งสี่ตกลงเรียกบรรดาชาติต่าง ๆ มาประชุม ฝรั่งเศสนำโดย ตาลเลย์รองด์อ้างว่าฝรั่งเศสไม่สมควรจะถูกกีดกัน โดยข้อตัดสินทุกสิ่งจึงอยู่กับประเทศทั้งห้าหรือ The Big  Five นั่นเอง
   ในระหว่างเจรจานโปเลียนอาศัยโอกาศเสด็จหนีจากเกาะเอลบาที่เรียกว่าการกลับคืนสู่อำนาจร้อยวันและนโปเลียนก็แพ้สงครามอีกครั้ง ปารีสถูกยึด สัญญาปารีสฉบับที่ 2 ถูกเซ็นภายหลังการรบที่วอเตอร์ลู  ฝรั่งเศสสูญเสียดินแดนที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และค่าปฏิกรรมสงคราม จำนวน 700 ล้านฟรังส์
       การปรับปรุงเรื่องอาณาเขต
สันติภาพอันถาวรเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ ผุ้แทนขบปัญหาว่าจะทำอย่างไรจะป้องกันการรุกรานของฝรั่งเศสได้ ทำอย่างไรจะแบ่งดินแดนที่ได้มาจากการสงครามในหมู่มหาอำนาจโดยให้เป็นที่ยอมรับกันทั่งไป เพื่อจะให้ไปถึงจุดมุ่งหมายจะต้องคำนึงถคงดุลย์แห่งอำนาจ
          แผนที่ใหม่ของยุโรปเท่ากับเป็นอนุสาวรีย์สำหรับการพ่ายแพ้ของฝรั่งเศส และเป็นผลจากการไม่ไว้วางใจในการคงอยู่ของฝรั่งเศสในยุโรป ทุกประเทศมั่นใจว่าจะจำกัดการขยายอำนาจของฝรนั่งเศสได้ และการเปลี่ยนแปลก็เกิดขึ้นจริงๆ แต่เป็นเหตุจากสิ่งภายนอกซึ่งจะมามีผลต่อประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสต่อไป..ger1815
        ปัญหายุ่งยากของคองเกรศในเวียนนา คือปัญหาเยอรมนี เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ที่อยู่ระหว่างรุสเซียและฝรั่งเศส นอกจากสกัดการขยายอำนาจจากประเทศทั้งสองแล้วยังเป็นรัฐกันชนอีกด้วย
        รัฐเยอรมันต้องการจะเป็นสาธราณรัฐแบบสหรัฐอเมริกา การรวมกันแบบหลวมๆ จะทำให้แต่ละรัฐมีอิสระในการปกครอง แต่ปรัศเซียและออสเตรียไม่ต้องการเช่นนั้น เพราะเกรงจะกลายเป็นพลังการเมืองอันที่สาม Third Germany ขึ้นมาแข่งขัน และในที่สุด ทั้งออสเตรียและปรัสเซียรวมกันแบบหลวมๆ โดยมีไดเอทของสหรัฐออสเตรียได้รับตำแหน่งนายก และมีศาลพิเศษขึ้นโดยไดเอทสำหรับพิจารณาความ..
        ดุลแห่งอำนาจ นโยบายหลักของยุโรปในศตวรรษที่ 18 คือป้องกันมิให้ประเทศใดประเทศหนึ่งเข้ามาเป็นผู้บงการยุโรป ถ้าเมื่อใดดุลแห่งอำนาจถูกทำลายการร่วมมือกันของสัมพันธมิตรจะเกิดขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ดุอำนาจนั้นเสียไป ซึ่งผลที่เกิดขึ้นก็คือในบางครั้งมิใช่ป้องกันสงครามแต่เป็นการนำไปสู่สงคราม..ความต้องการของแต่ละประเทศ และคการปกป้องผลประโยชน์ของแต่ละประเทศนำมาซึ่งความขัดแย้งและเกือบจะถึงขั้นแสดงออกอย่างชัดเจน วิธีการตกลงเรื่องดินแดนนี้มีผลทำให้ไม่มีผู้มีอำนาจเหนือยุโรปตะวันออกแต่โดยลำพัง หลักการดุลแห่งอำนาจที่เกิดขึ้นอีครั้งในคองเกรศแห่งเวียนนาจึงมีความแข็งแกร่งอย่างยิ่ง
       คองเกรสแห่งเวียนนาเป็นผลลัพธ์ที่สับสนของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความแตกแยกกัน หลักการเรื่องการสืบราชสมบัติซึ่งได้หลายมาเป็นพื้นฐานของระบบการปกครองของแต่ละประทเศก็เป็นสิ่งแสดงออกอีกครั้งหนึ่งในระบบสัมพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิของพระเจ้าซาร์ ที่ระบุถึงความคิดเรื่องราวความเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวคริสเตียน จะให้อยู่กันอยางฉันท์พี่น้องภายใต้การปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ในอีกแง่หนึ่งเพื่อจะรักษาดุลแห่งอำนาจด้วยการตัดแบ่งดินแดนทอนอำนาจซึ่งกันและกัน กลับมิได้คำนึงถึงจิตใจของกษัตริย์เหล่านั้นซึ่งผลลัพธ์เกิดในสิ่งตรงข้ามทำให้มีการแข่งขันกันเพิ่มขึ้นสัมพันธมิตรสี่เส้าซึ่งเป็นแผนการณ์ของมหาอำนาจที่จะปรับสถานะอำนาจให้เข้าสู่ดุลและเพ่แก้ปัญหาการขัดแย้งอันอาจจะเกิดขึ้น ได้แสดงออกเช่นเดียวกันในการจะจัดรูปแบบของดินแดนในอารักขาให้สมดุล  แต่การละทิ้งปัญหาภายในทำให้เกิดเป็นช่องว่างขึ้น..
       ภายหลังจากสงครามนโปเลียนอันยาวนานส้นสุดลงยุโรปต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก การกสิกรรมตกต่ำอย่างน่าใจหายทั้งในอังกฤษและยุโรปโดยทั่วไปผลของเศรษฐกิจตกต่ำได้แพร่ขยายมาถึงการอุตสาหกรรมและการค้า ธนาคารและบริษัทการค้ามากมายอยู่ในสภาพล้มละลายต้องเผชิญกับอัตราภาษีที่สูงลิบลิ่ว อัตราคนว่างงานสูงขึ้น ศ่งเหล่านี้ทำให้ประชาชนเสื่อมความนิยมในระบบใหม่ และทำให้เห็นความจำเป็ฯของขบวนการที่รุนแรงซึ่งระบบกษัตริย์ไม่กล้าพอที่จะนำมาใช้ระยะเวลาร้อยปีเป็นเวลาทีจะแสวงหาความความสมดุลย์ของพลังต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม และพลังดังกล่าวอยู่ในสภาพที่รุนแรงอาจเกิดเป็นการปฏิวัติได้ทุกระยะ/-ภ

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...