วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556
Bismarck(Iron Chancellor)
อาณาจักรไรท์ของบิสมาร์ค เป็นระบบเผด็จการที่บังคับให้พลังความขัดแย้งเหล่านั้นสงบนิ่งลง และทั้งนี้ด้วยความสามารถส่วนตัวของบิสมาร์คเอง ภายหลังสงครามรวมประเทศบิสมาร์ต้องเผชิญกับปัญหาภายในประเทศ ต้องพยายามรวมพลังการเมืองภายใน ในขณะที่สภาพสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันอันเนื่องมาจากผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรม และต้องดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อคงความเป็นมหาอำนาจในยุโรปบิสมาร์คคิดว่าเยอรมนีที่ตนสร้างจะมีแต่ความมั่นคงและสันติภาพ แต่กลับเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามและยังส่งผลถึงยุโรปทั้งหมดอีกด้วย
รัฐธรรมนูญเยอรมนนเปี 1871 มีลักษณะเป็นประชาธิปไตยเพียงรูป อำนาจที่แท้จริงคงอยู่ที่ปรัสเซีย เยอรมนีในศตวรรษนี้จึงเป็น “ununified state” คนในแต่ละรัฐยังรู้สึกว่าตนเป็นคนของรัฐมากกว่าเป็นคนของอาณาจักร
สภาผู้แทนไม่มีอำนาจแต่อย่างใด และผู้ปกครองก็มิได้คิดจะปรับปรุงให้เป็นสภาบันที่มีส่วนมีเสียงในการปกครอง แต่ที่ยังคงไว้เพราะจะเป็นสถาบันที่รัฐบาลจะมีข้อมูลเกี่ยวกับมติมหาชนเพื่อปรับนโยบายของรัฐบาลให้เข้ากับสถานการณ์ได้ จึงมีลักษณะที่แตกต่างไปจากระบบเผด็จการบ้างเพราะพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงอะไร ๆ ได้ และบิสมาร์คต้องการที่จะให้รัฐต่าง ๆ พอใจ จะได้สะดวกในการติดต่อกับรัฐบาลท้องถิ่น
ปัญหารเรื่องการเมืองภายในเป็นสิ่งทีนำความหนักใจมาให้บิสมาร์คเป็นอันมาก บิสมาร์คไม่ใช้คนหัวใหม่ เพียงแต่ฉลากพอที่จะยอมรับสถานการณ์ พรรคการเมืองในเยอรมนีขณะนั้นประกอบด้วย พรรคอนุรักษ์นิยม สมาชิกส่วนใหญ่ได้แก่พวกจุงเกอร์ เป็นพวกหัวเก่า ม่นธยบายต่อต้านการปฏิรูปอุตสาหกรรมทุกประเทภ ต่อสู้เพื่อนาคตของชนชั้นเจ้าของที่เจ (ปรัสเซีย)และกสิกร แมม้บิสมาร์คจะเป้ฯจุ้งเกิดร์ แต่ก็ยังเข้ากันได้ยาก ถึงกับเคยร่วมือกับกลุ่มเสรีนิยมถ่วงเสียง
พรรคเสรีนิยมแห่งชาติ เรียกว่าเป็นกลุ่มหัวใหม่ พอใจการเปลี่ยนแปลง กลุ่มนี้ให้ความสนับสนุนในการขยายตัวทางอุตสาหกรรม ซึ่งบิสมาร์ ให้ความร่วมือเป็นอย่างดี เพราะเห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาการเปศรษฐกิจ แต่ความสัมพันธ์กับพรรคนี้ก็ไม่ราบรื่นนัก
พรรคเซ็นเตอร์ เมื่อตั้งพรรคนี้ขึ้นมามีเจตนาจะรวมพวกแคทธอลิคฝใยเยอรมนีทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยไม่คำนึงถึงเรื่องชนชั้นแต่อย่างใดสมาชิกส่วนใหญ่จึงเป็นเคทธอลิค นโยบายของพรรคโดยกว้าง ๆ นั้นต้องการจะต่อต้านการปกครองของพวกโปรเตสแตนท์ ในระยะต้อนนโยบายของพรรคยังไม่แนนอนยังแยกกันไม่ชัดเจนระหว่างความเป็นแคทธอลิกค กับการเป็นักกากรเมือง บิสมาร์คพยายามกำจัดพรรคเซ็นเต่อร์อย่างมาก พอกับที่จัดการกับพรรคสังคมประชาธิปไตย
เนื่องจากวัดแคทธอริคมีขอบเขตอิทธิพลกว้างไกลมาก บิสมาร์คจึงไม่พอใจ ต้องการจะลดอำนาจลงไปบ้าง บิสมาร์คยืนยันว่า จะต้องไม่มีระบบ 'state within the state’ อยู่ในเยอรมันอีกต่อไป ทางฝ่ายศาสนจักรซึ่งสูญเสียอำนาจทางโลกไปมากได้พยายามจะยัดอำนาจทางด้านจิตใจ จึงประกาศ Papal Infalilibility ยืนยันข้อตัดสินใจใด ๆ ของทางวัดจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงได้ วาติกันประกาศคว่ำบาตผู้ที่ปฏิเสธกฤษฎีกานี้ เท่ากับว่าการศึกษาจะต้องเข้าไปอยู่กับฝ่ายวาติกันทั้งหมด รัฐบาลบิสมาร์คจึงจำเป็นต้องประกาศต่อต้านคำประกาศของสันตปาปา และมีผุ้ให้ความเห็นว่ามีเหตุผลเบื้องหลังอีกประการ คือบิสมาร์คต้องการเอาใจพวกเสรีนิยมแห่งชาติ ผลจากการตัดสินใจครั้งนี้ก่อให้เกิดคามไม่พอใจในหมู่พวกแคทธอลิค จึงรวมตัวเป็น Centre Party บิสมาร์คตอบโต้ด้วยการออกกฎหมายต่อต้าน ซึ่งจะยังผลให้ปพระเจชูอิทต้องถูกขับไล่ รัฐจะเข้าควบคุมการศึกษาทุกระดับแม้แต่วิทยาลัยสงฆ์ด้วยมาตรการเด็ดขาด ผลการต่อสู้กับพระบิสมาร์ดได้รับการสนับสนุนจากประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรัสเซีย อิตาลี ออสเตรีย ซึ่งต่างซึ่งมีปัญหากับวาติกันด้วยกันทั้งนั้น หรือแม้แต่กลุ่มหัวรุนแรงของผรั่งเศส และโปรเตสแตนท์ในอังกฤษ
จากการที่บิสมาร์คทำการต่อสู้กับทางวัด ทางฝ่ายพรรคเซ็นเตอร์มีสามาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศเปลี่ยไปในทางลบ บิสมาร์คลดทิฐิยอมออมชอมกับพวกสังคมนิยมเพื่อต่อสู้กับแคธอลิค
พรรคสังคมประชาธิปำตย กลุ่นี้ต้องการจะรวมกรรมกรเยอรมันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นกรรมกรของรัฐหรือของท้องถิ่น การรวมกลุ่มของคนเหล่านี้เป็ยผลมาจากขบวนการสังคมนิยมซึ่งเกิดขึ้นใหม่ในเยอรมนี ซึ่งเป็นผลงานของมร์คและเอนเกล เป็นกลุ่มของพวกหัวรุนแรง ต้อการประท้วงการปกครองของพวกชนชั้นเจ้าของที่ดินและเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม ต่อต้านระบบทหารของปรัสเซีย เรียกร้องให้ตั้งรัฐสังคมนิยมขึ้น ให้รัฐเข้าควบคุมการอุสาหกรรมทุกประเภท เป็นต้น สมาชิกแบ่งเป็น สองกลุ่ม คือกลุ่มที่ต้องการปฏิวัติตามหลักทฤษฎี และกลุ่มที่เชื่อว่าวิธีการปฏิรูปด้วยวิถีทางรัฐสภา ทางพรรคจะสามารถเอาชนะได้ พรรคนี้ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ
บิสมาร์คต้องยอมประนีประนอมกับพรรคอนุรักษ์นิยม เพื่อถ่วงเสียงพรรคสังคมประชาธปไตยในรัฐสภาสุดท้ายบิสมาร์คหาเหตกำจัดพรรคสังคมประชาธิปไตย โดยกล่าวหาว่าสมาชิกของพรรควางแผนฆ่าจักรพรรดิวิเลียมที่ 1ในที่สุดออกกฎหมาย ระบุว่าพรรคสังคมประชธิปำตยเป็นพรรคนอกกฎหมาย ต้องออกนอกประเทศไป ถึงอย่างไรพรรคยังคงไม่สลายตัว ได้ออกไปตั้งศุนย์บัชาการที่สวิสเซอร์แลนด์และส่งสิ่งตีพิมพ์เข้ามาเผยแพร่ในเยอรมนีโดยสมำเสมอ
ปี 1871 เยอรมนีผ่านพ้นความยุ่งยากทั้งหลาย เข้าสู่ยุคความมั่นคงทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ บิสมาร์คใช้ความสามถส่วนตัวดึงการขัดแย้งให้อยู่ในขอบเขต บิสมาร์คนำความสงบมาให้กับเยอรมนีโดยเสนอผลประโยชน์ให้กับกลุ่มจุ้งเกิร์ ปรัสเซีย และกลุ่มชนชั้นกลางจนเป็นที่พอใจ บิสมาร์คพยายาม “ป้อน” ผลประดยชน์ดังกล่าวนี้ให้กับกลุ่มเซ็นเตอร์ และกลุ่มแคธอลิคกลายมาเป็นกลุ่มนายทุนอุตสาหกรรมและกสิกรรม เป็นกลุ่มผลประดยชน์ซึ่งต้องสนับนุนนโยบายเศรษฐกิจ
บิสมาร์คได้เริ่มนโยบายใหม่ที่เรียกว่า New Order อันมีคำขวัญว่า gun before butter ซึ่งจะมีผลให้คนเยอรมันเกิดความรู้สึกที่ว่า ถ้าเยอรมนีจะต้องพิชิตยุโรป นดยบายเศรษฐกิจอันใหม่นำเยอรมนีเข้าสู่จุดสมดุลย์ของกลุ่มผลประโยชน์ มิใช่สมดุลของความคิด เยอรมนีจึงเปลี่ยนมาเป็น “รัฐของกลุ่มผลประโยชน์”
นโยบายต่างประเทศ มีทั้งนโยบายที่ควรได้รับการยกย่องและตำหนิในเวลาเดียวกัน บิสมาร์คดำเนินนโยบายทำลายล้างระบบพันธมิตรเนื่องจากเรียนรู้สถานการณ์ของปรัสเซียที่ถูกทำลายอย่างย่อยยับจากพันธมิตร ฝรั่งเศส ออสเตรียและรุสเซีย บิสเมาร์คจึงป้องกันทุกทางมิให้เหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นอีก และในขณะที่ทำลายระบบพันธมิตรของผู้อื่นก็กลับสร้างระบบพันธมิตรขึ้นมาใหม่ ที่มีเยอรมนีเป็นศูนย์กลาง ยุโรปจะต้องอยู่ในสภาพสันตติเพื่อที่เยอรมนีจะมีอำนาจที่สุด ซึ่งบิสมาร์คได้ถือเป็นนโยบายหลักของเยอรมนี กระทั่งไกเซอร์วิลเลียนมได้มาซึ่งอำนาจ
บิสมาร์คดำเนินนโยบายต่างประเทศประสบความสำเร็จ สามารถสร้างระบบพันธมิตรครอบคลุมทวิปยุโรปจากทะเลบัตติจนถึงทะเลเมติเตอร์เรเนียนและทะเลอาเดรียติค เท่ากับว่าเขตอิทธิพลของเยอรมนีรวมทั้งความมั่นคงขยาขตามไปด้วย แต่สิ่งที่ประสบความสำเร็จเหนือสิ่งอื่นใดคือ ได้ต่อต้านการเป็นพันธมิตรระหว่างฝรั่งเศสและรุสเซียได้เป็นผลสำเร็จ
บิสมาร์คเคยมีโครงการที่จะหยุดยั้งความทะเยอทะยานเรื่องการขยายตัวของคนะอยรมัน เคยมีการขัดขวางคนบางกลุ่มที่จะเข้าเวียนนา โดยเขากล่าวว่า ถ้าเข้าเวียนนาก็ต้องไปถึงคอนสแตนติโนเปิดล และจะออกตะวันออกในที่สุด ประเทศเยอรมนีจะกลายเป็นอาณาจักรใหญ่ ซึ่งบิสมาร์คไม่ต้องการ บิสมาร์คได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นนักการเมืองของยุค “ราชธิปำตยแบบทรงภูมิธรรม” คนสุดท้าย เพราะยังคิดเรื่องชาติในสม้ยที่ใครๆ คิดเรื่องอาณาจักรสากลกัน
เมื่อซาร์ที่ 3 ขึ้นครองราช ทรงต้องการรื้อฟื้นสัญญาญามิตรสามจักรพรรดิ ซึ่งส่งผลให้บิสมาร์คประสบความสำเร็จในการแบ่งดินแดนยุโรปตะวัออกเป็นเขตอิทธิพลของรุสเซียและออสเตรียได้ตามจุดมุ่งหมาย จากสัญญาสามจักรพรรดิ รุสเซียจะต้องไม่ทำลายออสเตรีย จากสัญญาพันธมิตรสามจักพรรดิรุสเซียจะต้องไม่ทำลายตุรกีและไม่คุกคามออสเตรีย และทำนองเดียวกัน ออสเตรียจะต้องไม่ทำลายตุรกี บิสมาร์คจึงหลีกเหลี่ยงการเข้าไปพัวพันสงครามกับรุสเซียเป็นผลสำเร็จ
บิสมาร์คดำเนินนโยบายสร้างระบบพันธมิตรสำเร็จอีกครั้งเมือสามารถนำอิตาลีเข้าร่วมได้ร และเปลี่ยนชื่อมาเป็นพันธมิตรสามเส้า ซึ่งเท่ากับบิสมาร์คดำเนินนโยบายต่างประเทศประสบความสำเร็จ สามารถสร้างระบบพันธมิตรครอบคลุมทวีปยุโรป
ขบวนการชาตินิยมเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยาก ดินแดนยุโรปตะวันออกเฉยงใต้ซึ่งบิสมาร์คใช้เป็นเกมการเมืองต่อรองกับรุสเซียีปฏิกิริรยาไม่พอใจที่ชะตากรรมบ้านเมืองต้องตกอยู่กับนักการเมืองบางคน บิสมาร์คไม่สามารถป้องกันการปฏิวัติที่มีลักาณะต่อต้านรุสเซียในรูเมเนียตะวันออกได้ บิสมาร์คจึงไสมารถจะหลีกเลียงการขัดแย้งกับรุสเซียได้เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในบุลกาเรีย คือการเปลียนผุ้ปกครองใหม่ เท่ากับอิทธิพของออสเตรียและเยอมีเข้ามาแทนรุสเซีย ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่รุสเซียในทันที รุสเซียหันมากระชับมิตรกับฝรั่งเศส และปฏิเสธการต่ออายุสัญญาสามจักรพรรดิ
การแสดงออกถึงความขัดแย้งในตัวเองของนโยบายบิสมาร์คนั้น ปรากฎให้เห็นหลายเรื่อง อาทิ เป็นคนแรกที่ทำให้เยอรมนีเป็นรัฐสังคมนิยา ในขณะที่กำจัดพวกสังคมนิยม เคยใช้นโยบายไม่แทรกแซงการค้า แต่ออกกฎหมายกำแพงภาษี เเละเคยต่อต้านการขยายตัวด้านอาณานิคม แต่เป็นผู้ก่อสร้างอาณานิคมในภาคพื้นทะเลเป็นต้น
อาณานิคมกลายเป็นทางออกของความขัดแย้งของการเมืองภายในประเทศและภายนอกประเทศของประเทศต่าง ๆ เมื่อทุกประเทศในยุโรปเลิกห่วงในนโยบายดุลย์แห่งอำนาจในยุดรป ละหันมาแสวงหาอาณานิคมกันเต็มที่ ซึ่งได้รับการขนานนามว่ายุคจักรวรรดินิยม ทุกประทได้ยอมรับความคิดของบิสมาร์คในเรื่องอาณานิคมว่าเป็นการลดความตึงเครียดทางการเมืองลงได้
บิสมาร์คเล่นเกมการเมืองเพื่อการขยายอำนาจของระบบราชาธิปไตย เพื่อจุ้งเกิร์และเพื่อปรัสเซียโดยใส่ความ “กลัว” ลงในอารมณ์ของคนเยอรมัน หลังจากปี 1887 เยอรมนีอยู่ในสภาพที่ต้องเตรียมพร้อม สงครามอาจเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะมาจากฝรั่งเศส รุสเซีย หรือแม้แต่อังกฤษ ความกลัวเหล่านี้ได้นำคนเยอรมันเข้ามาอยุ่ใต้ผู้นำ จะต้องผนึกกำลังเพื่อเอาชนะผุ้คุกคาม บิสมาร์คมารู้ตัวเมื่อสาย ถึงจะพูดว่า “คนเยอรมันไม่กลัวสิ่งใดใน โลก ยอเว้นแต่พระเจ้า” ยังคงไม่สามารถเปลี่ยนอารมณ์และความเชื่อของคนเยอรมันได้ ชาวเยอรมันยังคิดเสมอว่าตนอยู่ในอันตราย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น