วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:El Alamen

   หลังจากกองทัพรอมเมลต้องหยุดชะงักในการเข้าตี เอว อาราเมนในครั้งเนืองจากกระสุนหมด ทางฝ่ายสัมพันธ์มิตร ซึ่งถอยมาจากแนวกาลาซา จึงทำการสะสมกำลังรบ ซึ่งนายพลมอนโกโมรี ขอเลื่อนการโจมตีรอมเมลเพื่อให้แน่ใจกำลังทางการรบเหนือกว่ารอมเมลจึงจะทำการบุก
     ยุทธการแห่งอาลาม อัล-ฮัลฟา เป็นยุทธการที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่าตั้งรับการโจมตีของรอมเมลในขณะนั้นรอมเมลมีรถถังอยู่ในมือ 300 กว่าคันในขณะที่อังกฤษและสหรัฐมีรถถังรวมกัน กว่าพันคัน รอมเมลใช้วิธีการบุกเงียบในตอนกลางคืนเพื่อยึดบริเวณทางตอนใต้ของแนวรบอังกฤษโดยไม่ให้อังกฤษรู้ตัว หลังจากนั้นจึงบุกต่อไปทางตะวันออก 30 ไมล์ แล้วจึงวกกลับขึ้นไปทางเหนือพุ่งตรงไปยังบริเวณส่งกำลังบำรุงของกองกำลังที่ 8 ของอังกฤษซึ่งอยู่บริเวณริมฝั่งทะเล ในปฏิบัติการครั้งนี้อังกฤษวางระเบิดบกเพื่อดักรถถังรอมเมลไว้หนาแน่น ชนิดที่เรียกว่ารอมเมลคาดไม่ถึงประกอบกับการทิ้งระเบิดการใช้เครื่องบินโจมตีกองทัพรถถังด้วย กองทัพรถถังรอมเมลทำไม่ได้ตามแผนเคลื่อนไปได้เพียง 8 ไมล์ การโจมตีจากระยะที่ผิดพลาดจึงผิดเป้าหมาย เมื่อไม่เป็นไปตามแผนประกอบกับการระดมทิ้งระเบิดอย่างหนัก เชื้อเพลิงรถถังเริ่มหมด รอมเมลจึงตัดสินใจค่อยๆ ถอย
     ก่อนจะมีการปฏิบัติการคบเพลิงซึ่งนายพลมอนโกโมรี่ เลื่อกในเวลากลางคืนของวันที่ 23-24 ตุลาคม 1942 หลังจากยุทธกาล “อลาม แอล ฮัลฟา”เพื่อให้แน่ใจว่ากองทัพของตนมีความเข้มแข็งเพียงพอ
     รอมเมล ล้มป่วยกลับไปนอนรักษาตัวที่ออสเตรีย ในคืนก่อนการปฏิบัติการ “ทอร์ช” กำลังทหารอังกฤษ 280,000 รถถังติดปืนใหญ่ 1,230 คัน ทางฝ่ายเยอรมันมี ทหาร 80,000 คน รถถังที่พร้อมปฏิบัติการ 210 คันเครื่องบินสนับสนุนฝ่ายอังกฤา 15,000 ลำ เยอมัน 300 ลำ และสัมพันธมิตรยังมีเรื่อดำน้ำและเครื่องบินโจมตีทำลายเส้นทาบขนยุทธปัจจัยในบริเวณเมอิเติร์เรเนียนเป็นเหไตให้กองทัพรอมเมล ขาดการสนับสนุน
     อังกฤษส่งทหารเข้าสู่แนวรบแอล อาลาเมน ในคืนวันที่ 23 ก่อนการปฏิบัติการทอร์ช เมื่อถึงวันเย็นวันที่ 25 รอมเมลเดินทางกลับมาทั้งที่ยังไม่หายป่วยก็ต้องพบว่ารถถังถูกทำลายไปกว่าครึ่ง รอมเมลหยุดยั้งการบุกของฝ่ายสัมพันธมิตรด้วยปืนต่อสู้รถถัง และวางแนวทุ่นระเบิดไว้ด้านหลังแนวกองทัพรถถัง สัปดาห์แรกรถถังฝ่ายสัมพันธมิตรเหลืออยู่ 800 คัน เยอรมัน 90 คัน มอนโกโมรี่ถอยกับมาแนวป้องกันเดิม ในขณะที่รอมเมลจะถอยมาตั้งหลักที่ฟูกา แต่ฮิตเลอร์มีสั่งห้ามถอย ฮิตเลอร์ต้องการจะรักษาที่มั่นใน เอว อาลาเมนไว้ จึงหมดโอกาสที่จะเข้าไปตั้งหลักในฟูกา ในการถอยครังใหม่รอมเมลต้องทำเร็วกว่าเดิม โดยถอยไปตูนีเซีย อังกฤษตามตีตลอด 4 สัปดาห์ ขณะนั้นกองกำลังฝ่ายอักษะในตูนีเซียไม่รวมอยู่ในแผนการบุก “ทอร์ช” อังกฤษจึงไม่บุกตูนิเซีย
     ปฏบัติการคบเพลิง ปฏิบัตการโดยกองกำลังผสมอังกฤษ-อเมริกัน เพื่อรุกรานอาณานิคมแอฟริกาเหนือของฝรั่งเศสเขาวิซี เป็นส่วนหนึ่งของแนวรบแอฟริกาเหนือ
     สหภาพโซเวียตกดดันรัฐบาลอเมริกาและอังกฤษให้เปิดแนวรบที่สองในทวีปยุโรปเพื่อกดดันกองทัพเยอรมัน ผุ้บัญชาการทหารจึงเห็นพ้องกันว่าจะเริ่มปฏิบัตการยกพลขึ้นบกในยุโรปแต่ถูกุ้บัญชาการทหารอังกฤษคัดค้านว่าจะทำให้พันธมติรตะวัตกต้องประสบกับความสูญเสียอย่างหนัก การโจมตีอาณานิคมแอฟริกาเหนือจึงถูกเสนอมาแทนโดยมีเป้าหมายเพื่อกำจัดกองกำลังฝ่ายอักษะในแอฟริกาเหนือ ปฏิบัติการคบเพลิงถูกเลื่อกวันปฏิบัติการโดยนายพลมอนโกโมรี และเป็นคืนเดียวกับการทัพที่เอวอาลาเมน

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:The US Joint Chief of Staff:JCS



    สมรภูมิแปซิฟิก นำโดยนายพล ดักลาส แม็กอาเธอร์ และผู้บัญชาการเขตมหาสมุทรแปซิฟิก พลเรือเอก เชสเตอร์ นิมิตซ์ ซึ่งทั้งสองเป็นนักการทหารที่มีความสามารถและเป็นการร่วมปฏิบัติการระหว่าง กองทัพบก และกองทัพเรือให้มีแนวทางการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน
     คณะเสนาธิการร่วม The US Joint Chief of Staff,JCS อันประกอบด้วยประธานธิบดีรูสเวลส์ นายกรัฐมนตรี เชลร์ชิล แห่งอังกฤษ พลเอก มาร์แชลล์ Gerneral Maeshall ผุ้บัญชาการทหารบกสหรัฐฯ พลเรือเอก คิง Fleet Admiral Ernest J. King ผู้บัญชาการกองทัพเรือภาคแอตแลนติกของฝ่ายสัมพันธมิตร พลเอก อาร์โนลด์ Gerneral Arnold ผู้บัชาการกองกำลังทางอากาศสหรัฐฯ  เป็นต้น
    พลเรือเอก นิมิตซ์ Admiral Nimitz ผู้บัญชาการกองเรือภาคแปซิฟิก พลเรือเอก อินเกิร์โ Admiral Ingersoll ผู้บัญชาการกองเรือภาคแอตแลนติก พลเรือเอก โกมเมลีย์ Admiral Ghormeley ควบคุมพื้นที่แปซิฟิกตอนใต้ ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาพลเรือเอก คิง
    พลเอก ดักลาส แมคอาเธอร์ อยู่ใต้บังคับบัญชา พลเอก มาร์แชลล์
      ผู้บังคับบัญชาคือ ผู้มีหน้าที่ในการปกครองบังคับบัญชาควบคุมสั่งการในการปฏิบัติของหน่วยใดหน่วยหนึ่งรวมทั้งมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย แนวทาง แกปฏิบัติให้ผู้ใต้บังคับบัญชานำไปปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของหน่วยนั้น ๆ ทางการทหารสามารถแบ่งระดับของผู้บังคับบัญชาได้ร 3 ระดับ คือ ผู้บัคับบัญชา ระดับยุทธศาสตร์ ผุ้บังคับบัญชาระดับยุทธการ ปละผุ้บังคับบัญาระดับยุทธวิธีผู้ลังคับบัญชาแต่ละระดับจะมีหน้าทีความรับผิดชอบและลักษณะของงานแตกต่างกัน
     การควบคุมบังคับบัญชาและสังการของฝ่ายสัมพันธมิตร จะต้องสังการในนามของฝ่ายสัมพันธมิตร โดยหลังประกาศสงครามกับญี่ปุ่น มีการจัดตั้งคณะเสนาธิการร่วม ประกอบด้วย ผู้บังคับบัญชาหน่วนกำลังทหารของสหรัฐฯและอังกฤษ ซึ่งเป็นผุ้กำหนดยุทธศาสตร์ และนโยบายให้แก่กองกำลังของตน ภายใต้การควบคุมของผู้นำ ประทเศทั้งสอง ดังนั้นการปฏิบัติการใดๆ ของฝ่ายสัมพันธมิตรหลังจากสหรัฐฯประกาศสงครามกับญี่ปุ่นแล้ว(8 ธันวา 1941) จะต้องได้รับความเห็นชอบ จากคณะเสนธิการร่วมดังกล่าวก่อน ยุทธศาสตร์ของอังกฤษคือกำจัดเยอรมันกอ่น Europe First และคุ้มครองเส้นางคมนาคม เข้า ออก ประเทศอังกฤษ เชอร์ชิลใช้กลยุทธ์ทางการเมืองในการชักชวน หรือชี้แนะ ซึ่งก็ได้รับการยอมรับจาคณะเสนาธิการ่วม เชอร์ชิลประสบความสำเร็จในการชักชวนรูสเวลท์ให้เปิดยุทธการ “Operatioa Torch” แผนการรุแอฟริกาเหนือของอังกฤษ ซึ่งพลเรือเอก คิง ไม่เห็นด้วยกับแรวความคิดนี้ กองทัพเรือต้องแบ่งกำลังยุทธโธปกรณ์  ไปสนับสนุน กองทัพบกในการบุกแอฟริกาเหนือ ในขณะที่ต้องเตรียมกำลังไว้รบด้านแปซิฟิกด้วย
     ซึ่งพลเรือเอก คิงทราบดีว่าวัตถุประสงค์ของสหรัฐคือการรักษาฮาวาย และเส้นทางคมนาคม เข้า ออก ฮาวาย โดยผ่านมิดเวย์ และต้องการรักษาเส้นทางคมนาคมด้ายฝั่งตะวันตกของประเทศสหรัฐฯ ร่วมทั้งเส้นทาง คมนาคมจากฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ ไปออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ พลเรือเอกคิงจึงผลักดันยุทธศาสตร์การรบด้านแปซิฟิก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวคือจะต้องกำจัดกำลังทางเรือของญี่ปุ่นในแปซิฟิกให้หมดไปตามหลักยุทธศาสตร์ ทางเรือของ มาฮาน พลเรือเอกคิง จะต้องอธิบายยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้ชาติสมาชิกซึ่งมีอิทธิพลหรือสิทธิเสียงในคณะเสนาธิการร่วม ซึ่งต่อมา เชอร์ชิล และรุสเวลล์ ยอมรับยุทธศาสตร์การรบ ด้านแปซิฟิกและแอตแลนติกใต้อยู่ในการควบคุมของสหรัฐฯ
     การเมืองซึ่งเข้ามามีอิทธิพลต่อภารกิจและการควบคุมสั่งการของ พลเรือเอก คิง แต่ประสบการณ์และความสามรถในการหารือกับชาติพันธมิตรต่างๆ ตวมทั้ง รูสเวลส์ และเชอร์ชิล ให้ยอมารับรุทธศาสตร์ที่สนองต่อวัตถุประสงค์ของสหรัฐฯ ในสถานการณ์และช่วงเวลาที่เหมาะสมนั้นมีผลต่อความสำเร็จในการเจรจา ซึ่งเป็นหลักของการเมืองคือการยังผลประโยชน์ร่วมกัน เมื่อพลเรือเอก คิง สามารถ ปกป้องวัถตุประสงค์ของชาติตนเองได้แล้ว จึงไม่สามารถที่จะเพิกเฉยต่อข้อเสนอของอังกฤษในการบุกแอฟริกาเหนือ
     การควบคุมบังคับ บัญชาและสังการโดยตรง ที่เป็นระบบมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งจำเป็นในการทำ สงครา ผุ้บังคับบัญชาระดับยุทธศาสตร์จำเป็นต้องควบคุมบังคับบัญชาและสังการโดยตรง ต่อผู้บังคับบัญชาระดับยุทธการ โดยมอบภารกิจ คอแนะนำที่สำคัญและกำลังรบที่เหมาะสมให้แตผุ้บังคับบัญชาระดับยุทะศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องสังการในการปฏิบัติของหน่วยรองต่าง ๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาระดับยุทธการ
     พลเรือเอก คิง จะเปลี่ยนการตัดสินใจต่อเมือได้รับข่าวยืนวันได้ กล่วคือ หลังกจากยุทธการที่ทะเลคอรับ พลเรือเอก นิมิตซ์ประมาณสาถนการณ์ ว่าญี่ปุ่นจะโจมตีมิดเวย์ และฮาวาย จังต้องทกการรวบรวมเรือบรรทุกเครื่องบิน แต่พลเรือเอก คิง ต้องการนำเรือบรรทุกเครื่องยินไปทำลายกำลังญ่ปุ่ในแปซิฟิกใต้ เพราะท่านคิดว่าขุนกำลังทางอากาศของญี่ปุ่นจะอยู่ในพื้นที่แปซิฟิกใต้ จึงแนะนำให้ พระเรือเอก นิมิตซ์ ส่งกำลังเรือบรรทุกเครื่องบินไปโจมตีกำลังของญี่ปุ่นบนเกาะมาร์แชลล์ แต่พลเรือเอก นิมิตซ์ ไม่เห็ด้วย ซึ่งต่อมา มีการตรวจสบและยือยังน ข่าวกับกาองบัญชาการกองทัพอังกฤษที่ลอนดอนทราบว่า ญี่ปุ่นยังไม่มีความตั้งใจที่จะฏิบัติการ ครั้งใหญ่ในช่วงเวลาอันใกล้นี้ พลเรือเอกคิงจึงตัดสินใจให้ปฏิบัติตามที่ พละรือเอก นิมิตซ์ เสนอ ซึ่งเหต์การณ์เป็นจริงดังพลเรือเอก นิมิตซ์ คาดการณ์ไว้ ยุทธนาวีที่มิดเวย์จึงเป็นชัยชนะของฝ่ายสหรัฐฯ
     ผุ้บังคับบัญชาระดับยุทธศาสตร์จะต้องไม่ก้าวก่ายการปฏิบัติของ ผู้บังคับบัญชาระดับยุทธการ เพราะทำให้เกิดการสับสน และขาดเอกภาพในการบังคับบัญชาแต่ควรหารือ กับผุ้บังคับบัญชาระดับยุทธการเพื่อให้ได้หนทางปฏิบัติที่ดีที่สุด
    พลเรือเอก คิง ไม่เห็นด้วยที่จะให้กำลังทาเรือสหรัฐฯอยู่ใต้การบังคับบัญชาของนายทหารบก จึงทำการต่อรองกับรูสเวลล์และพลเอก มาร์แชลล์ ผุ้บัญชาการทหารบกสหรัฐฯ ในการแบ่งพื้อที่ส่วนรับผิดชอบในแปซิฟิก โดให้ พลเอก ดักลาส แมคอาเธอร์ รับผิดชอบเฉพาะแปซิฟิกด้านตะวันตกเฉียงใต้และฟิลิปปินส์ ส่วนพื้นที่ปฏิบัติการในแปซิฟิกที่เลหือให้อยู่ในความรับผิดชอบของพลเรือเอก นิมิตซ์ ซึ่งเป็นผุ้ใต้บังคับบัญชาของ พลเรือเอก คิง และให้ทั้ง 2 ท่านรายงานตรงต่อคณะเสนาธิการร่วมสหรัฐฯ JCS

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:Midaway

      หลังจากการโจมตีเพิร์ลฮาเบิร์ล ประเทศไทยถูกเลือกเป็นสถานที่เริ่มต้นการทัพมาลายา ซึ่งเป็นชุดเหตุกาณ์การรบระหว่างกองทัพสัมพันธมิตรกับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ในบริติชมาลายา การรบส่วนใหญ่เป็นการรบทางบก ยุทธการนี้เป็นที่จดจำจากการใช้ทหารรบจักรยาน ซึ่งช่วให้กองกำลังสามารถขนย้ายยุทธปัจจัยและเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วในภูมิประเทศที่เป็นป่าทึบ  กรมทหารช่างหลวงอังกฤษทำลายสะพานนับร้อยแป่งระหว่างการถอย ซึ่งช่วยถ่วงเวลาการรุกญี่ปุ่นได้เล็กน้อย เมื่อญี่ปุ่นยึดสิงค์โปร์ได้สำเร็จปรากฎว่าสหราชอาณาจักรสูญเสียทหารกว่าหมื่นนาย
     ฮ่องกง คราวน์โคโลนี ของอังกฤษ ถูกโจมตีและพ่านยปพ้โดยที่กองทัพแคนาดาและอาสาสมัครฮ่องกงมีส่วนสำคัญในการป้องกันดังกล่าว ฐานทัพบนเกาะกวมและเกาะเวกเสียแก่ข้าศึกในเวลาไล่เลี่ยกัน
     มกรา 1942 ญี่ปุ่นรุกรานพม่า อินเดียตะวันออกของดัตซ์ นิวกีนี หมู่เกาะโซโลมาน และยึดกรุงมะนิลา กัวลาลัมเปอร์และราบูล หลังจากกองทัพสัมพันธมิตรถูกขับไล่ออกจากมาลายา ในสังคโปร์เองก็พยายามที่จะต้านทานการรุกของญี่ปุ่นแต่ต้องยอมจำนน  ทหารอินเดีย อังกฤษ ออสเตรเลียและดัตซ์ตกเป็นเชลยกว่า 130,000 คน รวมทั้งบาหลีและติมอร์ เครื่องบินญี่ปุ่นเกือบจะกำจัดแสนยานุภาพทางอากาศเกือบทั้งหมดของฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉพียงใต้  และกำลังโจมตีออสเตเรียตอนเหนือ
    ยุทธนาวีชวาปลายเดือนกุมภาพันธ์ปี 1941 กองเรือญี่ปุ่นได้ชัชนะครั้งใหญ่ กองทัพอินเดียตะวันออกของดัตซ์ในเวลาต่อมาสิ้นสุดด้วยการยอมจำนนของกองทัพสัมพันธมิตรบนเกาะชวาสุมาตรา การโจมตีมหาสมุทรอินเดียโดยเรือบรรทุกเครื่องบิน กองเรืออังกฤษถูกขับไล่จากมหาสมุทรอินเดีย อันเป็นการเปิดทางสำหรับการรุกรานพม่าและอินเดีย
    อังกฤษถอยจากย่างกุ้งไปยังชายแดนอินเดีย-พม่า ถนนสายพม่าอันเป็นเส้นทางเสบียงของสัมพันธมิตรให้แก่กองกำลังชาตินิยมจีน กำลังชาตินิยมจีนบางส่วนถูกจัดวางเพื่อขัดขวางคอมมิวนิสต์มิใช่ญี่ปุ่น ยิ่งไปกว่านั้น กำลังชาตินิยมจีนส่วนใหญ่เป็นขุนศึกซึ่งเป็นพันธมิตรกับ เจียง ไค เชค ซึ่งความพ่ายแพ้ของพวกขุนศึกนำเจียง ไค เชค ไปสู่การสูญเสียอำนาจ ฝ่ายญี่ปุ่นแสวงหาประโยชน์จากความขาดความสามัคคีนี้

      ความเป็นมากองทัพญี่ปุ่นเมื่อครั้งเริ่มสงครามจีน -ญี่ปุ่น
จักรวรรดินาวีญี่ปุ่น  ยึดแบบมาจากราชนาวีอังกฤษซึ่งเป็นกองทัพเรือชั้นแนวหน้าและทรงอานุภาพมากที่สุดในโลกในเวลานั้น มีที่ปรึกษาทางทหาชาวอังกฤษไปให้ความรู้และให้คำปรึกษาในการก่อร่างสร้างอกงทัพเรื่อ มีการส่งนักเรียนไปเข้ารับการศึกษาและฝึกงานในราชนาวีอังกฤษ ตลอดเวลาที่ได้ที่ปรึกษาชาวอังกฤษ ญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับวิชาการปืนและวิชาการเดินเรือ หลักนิยมในขณะนั้นของญี่ปุนไม่ได้หวังพึ่งอานุภาพของเรือประจัญบาน แต่ให้ความสำคัญกับการใช้เรือรบขนาดเล็กที่มีความเร็วสูง อย่างเรือลาดตระเวน และเรือตอร์ปิโต ในการเข้าปะทะกับเรือข้าศึกทีมีขนาดใหญ่กว่า
     เรือรบหลักของญี่ปุนหลายลำต่อมาจากอู่เรือในอังกฤษและฝรั่งเศษ และในญี่ปุ่น
กองทัพบกญี่ปุน การพัฒนากองทัพบกญี่ปุ่นในช่วงแรกของยุคเมจิ มีแนวคิดตามแบบของกองทัพบกฝรั่งเศส มีที่ปรึกษาทางทหารของฝรั่งเศสเดินทางไปยังญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี 1073 เริ่มมีการตั้งโรงเรียนทหารและโรงงานสร้างปืนใหญตามแบบตะวันตก
      ภายหลังญี่ปุ่นเปลี่นยแปลงรูปแบบมาเป็นกองทัพบกเยอรมัน โดยเฉพาะแบบฉบับของกองทัพปรัสเซีย ปละประยุต์หลักนิยม รูปแบบและโครงสร้างของกองทัพมาให้เหมาะสมกับญี่ปุ่น ต่อมาที่ปรึกษาทางทหารชาวเยอรมัน ได้เสนอแนะให้มีการปรับโครงสร้างสายการบังคับบัญชาของกองทัพใหม่ โดยแบ่งเป็นกรมและกองพล ปรับปรุงเรื่องการส่ง กำลังบำรุง การขนส่งและอื่น ไลมีการจัดตั้งกรมทหารปืนใหญ่และกรมช่างที่มีสายการบังคับบัญชาเป็ฯอิสระ
     กองทัพญี่ปุ่นมีการจัดกำลังแบบสมัยใหม่ เป็นแองทัพที่มีรูปแบบการฝึกตามแบบกองทัพของชาติตะวันตก มีความพร้อมทั้งยุทโธปกรณ์และยุธปัจจัย นาทหารได้รับการศึกษาจากต่างประเทศและมีความรู้ทางยุทธวิธีและทางยุทธศาสตร์เป็นอย่างดี
     เมื่อครั้งเริ่มสงครามกับจีน กองทัพบกแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิมีกำลังพลถึง 120,000 นายจัดเป็น 2 กองทัพ 5 กองพล
     นายพลเรือยามาโมโต้  แม่ทัพเรือญี่ปุ่นต้องเสียเวลากับแผนการของกองทัพบกที่เตรียมบุกออสเตรเลีย ทัพเรือจึงจำเป็นต้องส่งกำลังทางเรือกระจายออกไปเพื่อสนับสนุนการยึดพอร์ตเมอเรสบี้ ในขณะที่การบุกอร์ตเมอร์เสบี้กำลังอยูในขั้นเตรียมการ เสนธิกาของยามาโมโตก็ร่างแผน ยุทธการโจมตีและยึดเกาะมิดเวย์เสร็จสิ้นแล้ว
     มิดเวย์ เป็นเกาะทางตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะฮาวายญี่ปุ่นต้องการยึดเกาะมิดเวย์และใช้เป็นฐานทัพเพื่อบุกโจมตีหมู่เกาะฮาวายและชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา มิดเวย์เป็นเกาะเล็กๆ ที่เป็นกุญแจสำคัญในแผนการของยามาโมโต จากชื่อของเกาะเองทำให้ทราบว่าที่ตั้งอยู่เกือบจะศูนย์กลางของมหาสมุทรแปซิฟิค ซึ่งเป็นที่ตั้งหน้าด่านที่สำคัญที่สุดสำหรับสหรัฐที่ใช้ในการส่งเครื่องบินตรวจการณ์ลาดตระเวน ซึ่งถ้าตกอยู่ในความยึดครองของญี่ปุ่นก็จะกลายเป็นลิ่มตอกเข้ตามแนวป้องกันสามเหลี่ยมซึ่งมีฐานทัพอยู่ทางฝั่งตะวันตก และที่ตรงยอดอยู่ที่ เพิร์ล ฮาเบอร์
     ยามาโมโต้รู้ดีว่าหากโจมตีมิดเวย์ กองเรือแปซิฟิคจะต้องออกมาป้องกัน แกรต้อสู้ที่อยู่กลจากญี่ปุ่นขนาดนี้ต้องเป็นปัญหาอย่างแน่นอน แต่ก็เห็นเป็นโอกาสที่จะทำให้กองเรือบรรททุกเครื่องบินสหรัฐมาติดกับ ซึ่งญี่ปุ่นเห็นว่าคุ้มกับการเสี่ยง

     ญี่ปุ่นไม่ล่วงรู้เลยว่า ฝ่ายข่าวกรองของกองทัพเรือสหรํฐอเมริกาสามารถถอดรหัสญี่ปุ่นในยุทธการมิดเวย์ได้หมดสิ้น กาองเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ เอนเตอร์ไพร์และฮิร์เนต ได้เคลื่อพลจากเพิร์ลฮาเบิร์ล เข้าประจภจุดป้องกันมิดเวย์ อีก 3 วันต่อมา เรื่อยอร์คทาวน์ก็ซ่อมเสรจและเดินทางตามมา
     แม่ทัพเรือสหรัฐได้สั่งให้จัดกองเรือในศึกมิดเวย์ครั้งนี้ประกอบด้วยเรือบรรทุกเครื่องยิน 3 ลำ เรือลาดตระเวนหนัก 7 ลำ เรือพิฆาต 14 ลำ เรือดำน้ำ 18 ลำออกเดินทางไป นอกจากนี้ฐานทัพสหรัฐฯที่เกาะมิดเวย์ยังมีเขี้ยวเล็บป้องกันอย่างดี ทั้งปืนใหญ่รักษาฝั่ง ปืนต่อสู้อากาศยาน และเครื่องบินรบแบบ p-40 และเครื่องบินทิ้งระเบิด b17 อีกจำนวนหนึ่งรอรับมือ
      ยามาโมโต้และเสนาธิการของเขากำลังดำเนินการตามแผนยุทธการของเขาโดย จัดกองเรือเป็น 3 กองกำลัง กองกำลังโจมตีลวงภายใต้การบัญชาการของนายพลเรือโอโวซายานำกำลังเรือบรรทุกเครื่องยิน 2 ลำ เรือบรรทุกเครื่องบินเบา 1 ลำ เรือประจัญบาน 3 ลำและกองเรือคุ้มกันจำนวนหนึ่ง เข้าทำการโจมตีลวงที่หมู่เกาะอาลิวเชียน รัฐอลาสกาโดยเฉพาะฐานทัพในดัช ฮาร์เบอร์ ของสหรัฐฯ ที่มีหน้าที่รักษาทะเลแบริ่งและกดดันหมู่เกาะคูริลทางเหนือของญี่ปุ่น
     กองเรือโจมตีหลักภายใต้การบัญชาการของนายพลเรือนากูโม ผู้นำการโจมตีเพิร์ลฮาเบิร์ล ประกอบไปด้วยเรือบรรทุกเครืองบิน 4 ลำคือ เรือ อะกากิ ซึ่งเป็นเรือธงของนากูโม เรือคากะ เรือฮีโรยุ และรือโซริยุ  กองเรือที่ 3 ที่เป็นกลังหนุนบัชาการโดย ยามาโมโต้เอง โดยจะตามห่างๆ เป็นกองกำลังในการยึดครองมิดเวย์  เมื่อเทียบกับกองทัพเรือสหรัฐแล้วญี่ปุ่นมีกำลังมากกว่า 4:1
     ยามาโมโต้เป็นกังวลมาที่สุดคือตำแหน่งของกองเรือกองเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐ ฝ่ายเสนาธิการจึงเสนอยุทธการ k โดยใช้เรือดำนิ้ลาดตระเวนหากองเรอบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ” ขณะที่กองเรือนากูโมเดินทางใกล้ถึงมิดเวย์ ยุทธการ k ก็ต้องยกเลิก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัฐสหรับยามาโมโต้ เขาต้องรู้ให้ได้ก่อนเริ่มยุทธการมิดเวย์ว่ากองเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯอยู่ที่เพิร์ลฮาร์เบอร์หรือไม่..ข่าวการยกเลิกยุทธการ k มาถึงยามโมโต้เมื่อกองเรือของเขาออกทะเลมาครั้งทางแล้ว ยิ่งทำให้แผนกของยามาโมโตเสียงเพิ่มขึ้นอีก ถ้าหากเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯเกิดโผล่มาอย่างไม่รู้ตัวกองเรือของนากูโมก็จะเกิดอันตราย ซึ่งยามาโมโต้ไม่สามารถที่ส่งข่าวเตือนนากูโมเพราะเสี่ยงต่อการถูกดักฟัง นากูโดกำลังเดินทางไปสู่กับดัก
      กองเรือโจมตีลวงลงมือตาแผนการที่วางไว้ สหรัฐฯล่วงรู้ถึงแผนการจึงแทบจะไม่เกิดผลใดๆ เครื่องบินจากมิดเวย์เข้าโจมตีกองเรือยกพลขึ้นบกแต่ด้วยความอ่อนด้อยประสบการและความคล่องตัวของเครื่องบินจึงถูกยิงตกเป็นว่าเล่น การโจมตีไร้ผล กองเรือนากูโมไม่รู้เรื่องการโจมตีครั้งนี้ วิทยุสื่อสารถูกบิด เครื่องบินตรวจการสหรัฐฯรายงานชัดเจนระบุจำนวนเรือบรรทุกเครื่องบินญี่ปุ่นว่ามี 4 ลำ มิดเวย์ส่ง เครื่องบินลาดตระเวนหาตำแน่งกองเรือแต่ไม่พบ
     ยุทธนาวีเปิดฉากในวันที่ 4 มินายน 1942 นากูโมสั่งเรือบรรทุกเครื่องบินทั้ง 4 ลำ ส่งเครื่องบินท้งระเบิดและเครื่องขับไล่คุ้มกัน 108 เครื่อง โจมตีมิดเวย์ สัญญานเตื่อนภัยดังทั่วฐานทัพมิดเวย์ ฝูงบินญี่ปุ่นฝ่าด่านเข้ามาได้อย่างสะดวก เข้าถึงตัวฐานทัพท่านกลางการบิงต่อสู้ของปืต่อสู้อากาศยานทุกขนาด ฝูงบินญี่ปุนได้รับชัยชนะ
     ภายใน 5 นาทีที่ทราบข่าวยอร์คทาวส่งเครื่องบิน 57 เครื่อง เรื่อบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐทั้ง 3 ลำ ส่งเครื่องบินเขาโจมตีกองเรือญี่ปุ่นโดยที่นากูโมไม่รู้ว่าเรื่อบรรทุกเครื่องบินสหรัฐที่ สามลำส่งเครื่องบินเข้าโจมตีกองเรือของตน
    เครื่องบินญี่ปุ่นเข้าโจมตีฐานทัพมิดเวย์ระลอกที่ 2 การสู้รบโดยเครื่องบินไม่สามารถทำอันตรายให้แก่ฝ่ายญี่ปุ่นได้เนื่องจากความด้อยประสบการณ์ของนักบินสหรัฐ แต่ด้วยความโชคดีของกองบินทิ้งระเบิดที่บังเอิญพบกองเรือพิฆาตญี่ปุ่นและคาดว่าจะเดินทางกลับไปสู่กองเรือบรรทุกเครื่องบินซึ่งก็จริงดังคาด เรือบรรทุกเครื่องบินของญีปุ่นจึงถูกจมลงสู้ก้นทะเล
    ความพลิกผันของโชคชะตา กองบินทิ้งระเบิดเพียงกองบินเดียวสามารถทำลายเรือบรรทุกเครืองบินญี่ปุ่นรวดเดียว 3 ลำ เรือลาดตระเวนหนัก 1 ลำ และกับเครื่องบินนาวีสหรัฐ” 18 ลำ ยุทธการมิดเวย์พินาศลง !
    ญี่ปุ่นยังเหลือฮิโรยุอีกหสึ่งลำ ซึ่งทางสหรัฐฯต้องการที่ทำลายเรือลำที่  4 นี้ จึงเกิดการสู้รบกับยอร์คทาวน์ ซึ่งเป็นการปะทะกันทางอากาศอย่างดุเดือน ยอร์คทาวน์ได้รับความเสียหาย ทางฝ่ายญี่ปุ่นรายงานว่าสามารถจมเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯซึ่งไม่ตรงกับความจริง และทำให้ทางญี่ปุ่นเข้าใจว่าอเมริกา เหลือเรือบรรทุกเครื่องบินอีกเพืยงลำเดียว จึงคิดจะพลิกสถานการณ์
     ญี่ปุ่นคิดว่าหากสู่กัน 1:1 ญี่ปุ่นต้องจมเรือสหรัฐฯได้ก่อน จึงส่งเครื่องบินปล่อยตอบิโดขึ้นบินโดยบินไปโจมตียอร์คทาวน์ซึ่งญี่ปุ่นคิดว่าเป็นเอนเตอร์ไพร์ และสามารถจมเรือได้ ญี่ปุ่นเข้าใจว่าตนเองเป็นฝ่ายชนะ แต่ความเป็นจริงญี่ปุ่นโจมตีเรือลำเดิม 2 ครั้ง การขาดความระแวดระวังเนื่องจากเข้าใจว่าเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯถูกจมลงหมดแล้ว เย็นวันเดียวกันนั้น เครื่องบินนาวีสหรัฐฯจึงทำการทิ้งระเบิดจากมุมสูง ฮิโรยุ จมลงสู่ก้นทะเลในเวลาตี 2 ของวันใหม่
    7 มิถุนายน 1942 มีการตรวจพบว่าเรือบรรทุกเครืองยินสหรัฐฯ4ลำถ้าหากเป็นความจริงจะมีเท่ากับที่ยามาโมโต้มีอยู่หากรวมกันได้ ที่ประชุมเสนาธิการจึงลงความเห็นว่าควรถอนกำลังกลับ
     ความสูญเสียของญี่ปุ่นในครั้งนี้ เรือบรรทุกเครื่องบิน 4 ลำ ได้แก่ อะกากิ คากะ ฮิโรยุ และโซริยุ เรือลาดตระเวณหนัก 1 ลำ เครื่องบินรบ 322 เครื่อง ทหารเรือ 3,500นาย ในขณะที่สหรัฐฯสูญเสียเรือบรรทุกเครื่องบินยอร์คทาวน์เนื่องจากเสียหายหนัก เครื่องบิน 150 เครื่อง ชีวิตทหาร 307 นาย

วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:United state of Amarica :KMT:CCP

     การโจมตีอ่าวเพิร์ล ฮาเบอร์สหรัฐอเมริกาจึงประกาศสงครามกับญี่ปุ่น และเพื่อให้การรบดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ  2 กุมพาพันธ์ 1942 สหรัฐอเมริกาส่งนายพลโจเซฟ สติลเวลล์ และกองกำลังส่วนหนึ่งเข้าไปจีน การผนึกกำลังครั้งนี้ไม่นานนักความขัดแย้งก็เริ่มปรากฎ
     นายพล สติลเวลล์ ผู้มีบุคคลิกที่ค่อนข้างมุทะลุดุดันมีความคิดว่าการเข้าร่วมรบเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถกองทัพจีนให้อยู่ในวิสัยที่จะต่อสู้กับญี่ปุ่นได้อย่างมีประสิทธภาพ จึงปรับปรุงกองทัพจีนทั้งหมด และรวมถึง เชียง ไค เชคจะต้องจริงจังกับการขับไล่ญี่ปุนออกจากพม่า เพื่อเปิดเส้นทางลำเลียงยุทธปัจจัย เข้าสู่แผ่นดินจีนอีครั้งหนึ่ง
     แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างนั้น แต่เชียง ไค เชค ไม่เห็นด้วยกับนายพลอเมริกา  เชียง ไค เชคมีความมั่นใจว่ากำลังเท่าที่มีอยู่สามารถต่อสู้กับญี่ปุ่น หรือเหล่าขุนศึกซึ่งเป็นฐานอำนาจนิยมกษัตริย์ และรวมไปถึงกำลังกองโจรคอมมิวนิสต์ เชียงเห็นว่า สิ่งที่สหรัฐฯต้องกการทำคือยุติสงครามกับญี่ปุ่นซึ่งเป็นศัตรูโดยตรงของสหรัฐฯเอง หาใช่ทำเพื่อจีนไม่อีกทั้งยังเห็นความหาดำเนินตามแผนของนายพลสติลเวลล์ สามารถขับไล่ญี่ปุ่นออกไปได้ แต่ศัตรูภายในยังอยู่และจะจัดการอย่างไรกับศัตรุกลุ่มนี้
     ในการนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในกองทัพ เชียงไม่ต้องการมากนัก เชียง ไค เชค มีความคิดเช่นเดียวกับผู้ปกครองจีนรุ่นเก่า ที่มักต่อต้านเทคโนโลยีตะวันตก และว่าถ้ากองทัพจีนล้าหลังเขาจะปกครองง่ายกว่า เขาเห็นว่าการได้ทหารหัวใหม่ประจำการในกองทัพย่อมไม่เป็นผลดี โดยตัวอย่างในหลายประเทศทั่วโลกที่ทหารหัวใหม่มักก่อการปฏิวัติ สิ่งที่เชียง ไค เชค สนใจคือนโยบายการสู้รบทางอากาศ โดยใช้กองบินพยัคฆ์เวหาที่อยู่ใตการบัญชาการของนาพล อคร์ เซนโนลต์ ทิ้งระเบิดเข้าใส่กองกำลังญี่ปุ่น วิธีการเช่นนี้ เชียง ไค เชค เห็นว่า นอกจากจะใช้ได้ผลแล้วยังมีส่วนช่วยให้เขาสามารถคงรูปแบบของกองทัพจีนเดิมไว้ได้อีกทางหนึ่งด้วย
      ความไม่ลงรอยของผุ้นำทั้ง 2 สังเกตได้ว่า เชียง ไค เชค สนใจกับการปราบปรามคอมมิวนิสต์มากกว่า ที่จะคิดสู้กับญี่ปุ่น นายพลสติลเวลล์เห้ฯว่าญี่ปุ่นเป็นปัญหาที่สำคัญกว่า
      หากเชียง ไค เชค ทุ่มเทการพัฒนากองทัพให้เข้มแข็งเพื่อไว้สู้กับคอมมิวนิสต์ในอนาต เป็นเหตุให้ละเลยการต่อสู้กับญี่ปุ่น นายพลสติลเวลล์ควจะต้องต่อต้าน ซึ่งหนทางสู่ความเป็นใหญ่ของ เชียง ไค เชค ไม่เกี่ยวกับทางทหาร ในทางกลับกัน โอกาสของเชีย ไค เชค ที่จะมีชัยชนะเหนือคอมมิวนิสต์มีทางเป็นไปได้มาก ถ้าหากเชียง ไค เชค ปฏิบัติตามคำแนะนำของนายพลสติลเวลล์ แต่จากการที่เขาไม่ต่อต้านญี่ปุ่น นอกจากจะเป็นการทำลายขวัญและกำลังใจแก่กองทัพแล้ว ยังทำลายภาพพจน์ของเขาในฐานะนักต่อสู้ชาตินิยมซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง
      ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ผุ้นำทั้งสอง จึงหันหลังให้กัน และเมื่อกล่าวถึง เชียง ไค เชค นายพลสติลเวลล์ มักจะใช้คำว่า “ชั่วช้าสามานย์”และ “ไม่เก่งอย่างที่คิด” เป็นคำอธิบายคุณลักษณะของเชียงไค เชค พร้อมกับการยุยงนายทหารหนุ่มของกองทัพก่อรัฐประหาร แม้จะไม่มีผลทางปฏิบัติก็ตา  ส่วน เชียง ไค เชค เองก็ไม่อาจดำเนินการอย่างเด็ดขาดได้ เพราะติดทีผลประโยชน์มหาศาลที่สหรัฐฯจัดหามาให้ แต่อย่างไรก็ดีเชียง ไค เชค ทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้นายทหารผู้นี้สร้างอิมธิพลเหนือกองทัพ การยุติความบาดหมางครั้งนี้โดยทางวอชิงตัน ประธานาธิบดี รูสเวลต์ตัดสินใจย้ายนายพลสติลเวลล์ออกจากจีน และส่งนายพลวีคไม่เยอร์มาดำรงตำแหน่งแทน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำทหารทั้งสองก็กลับสู่สภาพเดิม
      เมื่อเข้ามารู้เห็นกับการสู้รบมากขึ้น สหรัฐอเมริกาเริ่มให้ความสนใจกับกลุ่มชาตินิยมกลุ่มใหม่ นั้นคือพรรคอคมมิวนิสต์ เนืองจากความต้องการที่ตรงกัน 2 สิ่งคือ ความต้องการที่จะต่อต้านญี่ปุ่นและขับไล่ออกจากจีน  นอกจากนี้สหรัฐฯยังต้องการพันธมิตรไว้คอยช่วยเหลือนักบินสหรัฐที่ถูกยิงตกโดยเฉพาะทางภาพเหนือของจีน ซึ่งสหรัฐฯและประเทศคอมมิวนิสต์ในขณะนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกที่การให้ความช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ ของสหรัฐฯที่มีต่อประเทศคอมมิวนิสต์หลายต่อหลายประเทศโดยเฉพาะรัสเซีย แต่ในจีนและเวียดนามนั้นความช่วยเหลือของสหรัฐติดขัดอยู่ที่พันธมิตรที่สำคัญ คือ เชียง ไค เชค
     ในขณะที่ พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ต้องการที่จะได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอกเช่นกัน เนืองจากกองกำลังที่มีขนาดใหญ่ขาดอาวุธที่ทันสมัย  และนอกจากนี้เมา เช ตุง ยังมองการณ์ไกลไปถึงเมื่อสงครามกับญี่ปุ่นเสริจสิ้นแล้วสงครามกลางเมืองระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กับก๊กมินตั๋งคงจะต้องเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอนแลถ้าสหรัฐอเมริกายังคงให้ความช่วยเหชือแก่ก๊กมินตั๋งก็จะไม่เป็นผลดีแต่อย่างไรต่อพรรค CCp และต่อจีน ซึ่งตรงกับการวิเคราะห์ของเจ้าหน้าที่ของสหรัฐอเมริกา และนอกจากนี้ เมา เช ตุง ยังต้องการแยหตัวเป็นอิสระในการปกครองประเทศโดยปราศจากการชี้นำจาสหภาพโซเวียต บทเรียที่ได้รับจากสตาลินไม่เป็นที่ประทับใจนัก  และโซเวียตเองก็มีปัญหาภายในจึงไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่พรรคคอมมินิสต์จีนได้ สหรัฐฯอเมริกาจึงเป็นชาติเดียวที่ เมา เชา ตุง ต้องการคบหาเป็นพันธมิตรด้วย
      “ผู้แทนดิซี่”เป็นชื่อที่รู้จักกันในการพบปะกันอย่างลับๆ ระหว่าง เมา เช ตุง และตัวแทนจากวอชิงตันที่เมืองเยนาน ซึ่งภาพพจน์ของพรรคซีซีพีที่เขาได้พบเห็นคือ “มั่นคง เป็นที่ยอมรับ”จากคนจีนทั้งมวลโดย เฉพาะชาวไร่ชาวนา
      ความลังเลใจของสหรัฐฯคือเมือการเป็นพันธมิตรกับพรรค ccp หมายถึงต้องละทิ้งมิตรเก่า คือ ก๊กมินตั๋ง ซึ่งสหรัฐก็ไม่อาจทำเช่นนั้นได้ และเชียง ไค เชค คือผุ้นำของรัฐบาลที่ได้อำนาจมาด้วยความถูกต้อง เป็นที่ยอมรับของคนจีน และกองทัพ เชียง ไค เชค มีอาวุธที่ทันสมัยกว่า จำนวนพลมากกว่า ซึ่งเพียงพอต่อการใช้ต่อสู้กับญี่ปุ่นและประการสุดท้าย เชียง ไค เชค และภรรยา ของเขาต่างก็เป็นที่รู้จักและนิยมในหมู่อเมริกัน ภาพพจน์ของเชียง จึงเป็น “ผุ้นำในการต่อต้านการขยายอำนาจของจักรพรรดิ”

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:Stalingrad

      สตาลินเป็นผุ้บัญชาการทหารสูงสุดควบคุม อำนาจทางการเมืองและการทหาร ได้เข้าตัดสินยุทธวิธีทาทหารและมีส่วนรับผิดชอบความพ่ายแพ้ครั้งสำคัญหลายครั้ง ในขณะที่ฮิตเลอร์เข้าแทรกแซงการตัดสินใจทางการทหารบ่อยครั้งและโยกย้ายผุ้บัญชาการทหารระดับสูง การโจมตีจึงไม่บังเกิดผลเต็มที่นัก ฮิตเลอร์ยึดหลักจิตวิทยาเอาชนะแลเม่งหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ฮิตเลอร์ตัดสินใจมุ่งสู่ตะวันออก สู่สตาลินกราดบนฝั่งแม่น้ำโวลก้าและเข้าขัดคอเคซัสซึ่งเป็นบ่อน้ำมัน แล้วจึงวกกลับขึ้นเหนือเข้าโจมตีมอสโก แทนการบุกมอสโกในทันที
     ก่อนหน้านั้นฤดุใบไม้ร่วง ปี 1941 เมื่อทัพเยอรมันบุกประชิดมอสโกเจ้าหน้าที่รัฐบาลและคณะทูตได้ย้ายไปอยู่ที่กุยบีเซฟบนฝั่งแม่น้ำโวลก้า
      ทัพโซเวียตหยุดกำลังเยอรมันที่โวโรเนซ ขวางการรุกคืบของนาซีสู่แดนตอนกลางของแม่นำโวลก้า ทัพนาซี่มุ่งเป้าไปทางใต้สู่คอเคซัสไปหยุดอยู่ที่แหล่งน้ำมัน สตาลินกราดกลายเป็นหัวใจของการบที่ตัดสินแพ้ชนะ กองทัพภาคที่ 6 ของนายพลฟอน เปารุส ยึดเมืองไว้ได้เป็นส่วนใหญ่แต่ต้องสูญเสียอย่างมากและไม่สามารถข้ามฝั่งโวลก้าเพื่อล้มสตาลินกราดได้ โซเวียตป้องกันเมืองของตนเองอย่างยอมตาย โดยได้กำลังสนับสนุนเสบียงและอาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐฯ ในเดือนกันยายน ทัพโซเวียตสามารถตัดแนวทัพรูมาเนียและอิตาลีให้ขาดจากกาองทัพภาคที่ 6 ของฌอยรมนีได้ ฟอนเปารุสต้องยอมปราชัย ซึ่งมีผลต่อจิตวิทยาและเป็นจุดหักเหทางการยุทธ
     สงครามในสมรภูมินี้ใช้เวลาในการสู้รบทั้งสิ้น 6 เดือน เป็นสงครามที่เกิดความสูญเสียทั้งกำลังทหารพลเรือน และทรัพย์สิน จำนวนมาก สตาลินกราดตั้งตามชื่อของผุ้นำการยึดเมืองนี้จึงมีผลต่อขวัญและกำลังใจร่วมถึงการเล่งผลทางจิตวิทยาต่อทหารเป็นอย่างมาก
      สตาลินกราด หรือ วอลโกกราด เป็นสมรภูมิรบที่บ้าคลั่ง ฝ่ายหนึ่งต้องการยึด ทำลาย อีกฝ่ายต้องรักษามาตุภูมิ กองศพมากมายแม่น้ำโวลกากลายเป็นสีเลือด การรุกเข้าสู่สาลินกราด ทุกเมตร ทุกหลาเต็มไปด้วยการต่อสู้อย่างนองเลือด เยอรมันพยายามทำลายตึกรามต่าง ๆ ด้วยปืนใหญ่และการทิ้งระเบิดจากเครื่องบิน แต่สตาลินกราดเป็นเมืองสมัยใหม่ การโจมตีของเยอรมันจึงเพียงทำลายรูปทรงอาคารเท่านั้น ตึกที่พังทลายเป็นเสมือนป้อมปรากการให้ฝ่ายรัสเซีย ที่ใช้ทุกซอก ทุกมุมของตัวอาคารที่พังทลาย ต่อต้านทหารเยอรมัน ภายหลังการต่อสู้อย่างหนัก เยอรมันก็เข้าถึงใจกลางเมืองได้ และมุ่งหน้าสู่เขตอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นโรงงานขนาดหนัก
      29 กันยายน นายพลซุยคอฟ เข้าตีตอบโต้ และ เกออร์กี้ จูคอฟ นายพลรัสเซียได้เตรียมกำลังคอยตอบโต้เยอรมันที่อ่อนล้า ภายใน 24 ชั่วโมง กองทหารเยอรมัน และรูเมเนีย  ถูกตีแตกและถูกโอบล้อมทหารเยอรมันกว่า 270,000 นายตกอยู่ในวงล้อมในสตาลินกราด ฝ่ายเสนาธิการเสนอต่อฮิตเลอร์ให้เยอรมันถอนกองทัพที่ 6 ออกจากสตาลินกราด ในขณะที่การโอบล้อมยังไม่แน่นหนา แต่ฮิตเลอร์ให้การปฏิเสธพร้อมกับออกคำสั่งให้ทหารเยอรมันสู้จนคนสุดท้าย
      การรบในครั้งนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงระเบียบวินับและความมุ่งมั่นของทั้งสองฝ่าย แม้ว่าจะเป็นวินัยที่ได้มาจากสายบังคับบัญชาที่เข้มงวดและเหี้ยมโหด ในช่วงแรกของการรบ โซเวียตเป็นฝ่ายตั้งรับ โดยตั้งมั่นอยู่ในเมืองสตาลินกราด เป็นช่วงที่โซเวียตสูญเสียทหารไปเป็นจำนวนมาก ทหารที่เกณฑ์เข้ามาใหม่ทั้งหมด เฉลี่ยมีชีวิตอยู่ไม่ถึงหนึ่งวัน กระนั้นฝ่ายโซเวียตยังสามารถทีจะคงวินัยในหมู่ทหารไว้ได้ ทหารโซเวียตจำนวนมากยอมที่จะสละชีวิตมากกว่าการถอยหรือการถูกจับเป็นเชลย “ทหารของโรดิมสเตฟได้สู้และตายที่นี่ เพื่อมาตุภูมิของตน” เป็นข้อความที่เขียนไว้บนกำแพงที่สถานีรถไฟหลักของเมือง
      กองทัพเยอรมันก็สามารถแสดงถึงวินัยทีสามารถคงไว้ได้อย่างน่าทึ่ง แม้ว่าจะถูกกองทัพโซเวียตโอบล้อมอยู่ในเมือง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ฝ่ายเยอรมันต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสียเปรียบ โดยถูกตัดขาดจากกำลังสนับสนุนทำให้เสบียงร่อยหลอลงเรื่อยๆ ทั้งยังขาดเครื่องนุ่งห่มที่จะต่อสู้กับความหนาวของรัสเซีย ทหารเยอรมันอดอาหารและหนาวตายเป็นจำนวนมากในช่วงหลังของการปิดล้อม อย่างไรก็ดี ทหารก็ยังปฏิบัติตามระเบียบวินัยและเชื่อฟังคำสั่งของนายทหารที่มียศสูงกว่า
      ในการต่อสู้ครั้งนี้ผู้นำทั้งสองฝ่ายต่างออกคำสั่งให้สู้จนตัวตายห้ามถอยและยอมให้แก่ฝ่ายตรงข้ามเป็นอันขาด นายพลฟรีดริช พอลลุม แห่งกองทัพเยอรมันเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะสู้ต่อไปเขาจึงฝ่าฝืนคำสั่งโดยตรงของผู้นำนาซี คือยอมจำนนต่อฝ่ายโซเวียตในที่สุด
      สตาลินกราด ถูกขนานนามว่า เป็นเมืองหุ้มเกราะ เป็นสมรภูมิที่มีทหารเสียชีวิตมากที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 2  ความรักชาติของคนรัสเซียเป็นสิ่งที่ช่วยให้รักษาเมืองไว้ได้ เรื่องราวของเด็กหนุ่มเลี้ยงเเกะจากแคว้นอูราเป็นทั้งสิ่งบำรุงขวัญฝ่ายรัสเซียและทำลายขวัญฝ่ายตรงข้ามชื่อเสียงของเขาทำให้พลตรีเยอรมันมือดีที่สุดซึ่งเป็นอาจารย์อยู่ที่โรงเรียนพลซุ่มยิงต้องเดินทางจากเบอร์ลินเพื่อมากำจัดเขาโดยเฉพาะแต่สุดท้าย  Vassali Zaitsev เป็นฝ่ายชนะ
     น้ำตาแห่งความยินดี เสียงโห่ร้อง ดังทั่วสตาลินกราด เมื่อสิ้นสุดสงครามประชากรครึ่งเมืองเสียชีวิต ควาพลัดพรากจากคนที่รัก จากครอบครัว ความพินาศของเมือง เป็นสิ่งที่สงครามทิ้งไว้




วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:Yamato gata senkan

     เรือประจัญบานชั้นยะมะโตะ เป็นเรือประจัญบานของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นIJNดำเนินการจัดสร้างขึ้นระวห่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยระวางขับน้ำเต็มที่ 72,000ตัน ทำให้ยะมะโตะเป็นชั้นเรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดและติดอาวุธหนักที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา เรือชั้นนี้ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 460มม.(18.1นิ้ว) 9 กระบอกซึ่งเป็นปืนขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการติดตั้งให้กับเรือรบ เรือประจัญบานชั้นนี้สร้างแล้วเสร็จตามแผน 2 ลำ(ยะมะโตะและมุซาชิ)ส่วนลำที่ 3 (ชินะโนะ)ดังแปลงเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินระหว่างการก่อสร้าง    vlcsnap-3039534
      เรือประจัญบานยะมะโตะ เป็นเรือประจัญบานขนาดใหญ่ ตั้งตามชื่อ “ยะมะโตะ”ซี่งเป็นจังหวัดโบราณในประเทศญี่ปุ่น เป็นเรือประจัญยานชั้นยะมะโตะลำแรกของกางทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น  เรื่อประจัญบานมูซาชิที่อยู่ในชั้นเดียวกัน เป็นเรือประจัญบานขนาดใหญ่ที่สุดและมีอาวุธทรงประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่ญี่ปุ่นสามารถสร้างได้ ด้วยระวางขับน้ำ 72,800ตันและปืนใหญ่ขนาดปากลำกล้อง 460 มิลลิเมตร (18นิ้ว) ทั้งคู่จมลงในระหว่างสงคราม
      ปี 1930 รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มเปลี่ยนไปสู่ความเป็นชาตนิยมอย่างเข้มข้น การเคลื่อนไหวนี้เรียกร้องให้มีการขยายตัวของจัรวรรดิญี่ปุ่นออกไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิกและเอเชียตะวันออกเฉพียงใต้ การที่จะผดุงจักรวรรดิที่กว้างใหญ่ที่มีระยะถึง 4,800กม. จากประเทศจีนถึงหมู่เกาะมิดเวย์ จำต้องมีกองเรือขนาดใหญ่จึงจะควบคุมดินแดนญี่ปุ่นได้ และเมื่อญี่ปุ่นถอนตัวออกจากสันนิบาตชาติในปี 1934 จากกรณีมุกเดน และประกาศยกเลิกสนธิสัญญาทั้งหมดที่ญี่ปุ่นเคยทำไว้ ทำให้การออกแบบเรือประจัญบานไม่ถูกจำกัดตามสนธิสัญญาและสามารถสร้างเรือรบที่มีขนาดใหญ่กว่าประเทศมหาอำนาจทางทะเลอื่นๆ
      ญี่ปุ่นต้องการรักษาอาณานิคมที่ผลิตทรัพยากรไว้ทำให้นำปไส่ความเป็นไปได้ของการเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นคู่แข่งที่มีศักยภาพอันดับแรกของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกาก็มีอำนาจทางอุตสหกรรมมากกว่าญี่ป่นซึ่งคิดเป็น 32.2เปอร์เซ็นของการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั่งโลกในขณะที่ญี่ปุ่นมีส่วนแบ่งเพียง 3.5 เปอร์เซีนต์ ของการผลิตทั่วโลก นอกจากนี้สมาชิกคนสำคัญหลายคนของรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกายงสัญญว่า ไจดอาชนะญี่ปุ่นในการแข่งขันด้านนาวีด้วยอัตรส่วนสามต่อหนึ่ง”ดังนั้น อำนาจทางอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นจึงไม่มีหวังที่จะแข่งขันชิงชัยกับสหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุนี้ เงือนไขการออกแบบเรือประจัญบานลำใหม่จึงต้องเหนือกว่าแบบลำต่อลำเมื่อเทียบกับเรือของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาในเรือแบบเดียวกัน เรือประจัญบานที่ออกแบบแต่ละลำต้องมีความสามรถในการต่อสู้กับเรือหลวงฝ่ายศัตรูได้พร้อมกันที่ละหลายลำ และต้องไม่มีค่าใช้จ่ายมากเท่ากับสหรัฐอเมริกาในการสร้างเรือแระจัฐบลาน ผู้บัญชากาองทัพบกและกองทัพเรือของญี่ปุ่นจำนวนมากหวังว่าเรือเหล่านี้จะขู่ขวัญสหัฐอเมริกาในการเข้าระงับการรุกรานในมหาสมุทรแบซิฟิกของญี่ปุ่น
     การวางแผนสร้างเรือชั้นประจัญบานใหม่ได้เริ่มต้นขึ้นหลังจากญี่ปุ่นได้ออกจากสันนิบาติชาติและประกาศยกเลิกสนธิสัญญานาวิกวอชิงตันและสัญญารัฐนาวีกรุงลอนดอน หลังจากการพิจารณาแล้วจึงเลือกแบบเรือ 2 แบบจาก 24 แบบระยะทำการ 4,9001ไมล์ทะเลกับ 7,200ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 16 นอต แบบทั้งถูกนำมาศึกาในข้อมูลขั้นต้นครั้งสุดท้าย และปรับปรุงครั้งสุดท้ายในเดือน มีนาคม 1937 โดยพลเรือตรี ฟุกุดะ เคนจิ มีระยะทำการ 7,200 ไมล์ทะเลยกเลิกเครื่องยนต์ลูกปสมดีเซลใช้แค่เพียงกังหันไอน้ำ  เครื่องยนต์นั้นต้องกการ “การซ่อมแซมอย่างมากและการบำรุงกักษาบ่อยครั้ง”เพื่อให้เครื่องยนต์สามารถทำงานได้ซึ่งสาเหตุเกิดจาก “ข้อบกพร่องในการออกแบบขั้นพื้นฐาน และเมื่อเครื่องยนต์เกิดเสียไม่สามรถซ่อมแซมได้ เกราะหนา 200 มม.ที่ใช้ป้องกันบริเวณนี้กลายเป็นตัวขัดขวางในการที่จะเปลี่ยนเครื่องยต์ใหม่แทนที่เครื่องเก่า แบบสุดท้ายมีมาตรฐานระวางขับน้ำ 64,000 ตัน มีระวางขับน้ำเต็มที่ 69,988ตัน ทำเป็นแบบชั้นเรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเรือประจัยบานที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างมา ปืนใหญ่หลักในแบบเป็นปืนขนด 460มม. 9 กระบอก แบ่งเป็น 3 ป้อม ป้อมละ 3 กระบากซึ่งมีน้ำหนักกมากกว่าเรือพิฆาตในยุคทศวรรษที่ 1930 ในท้ายที่สุ ดเรือประจัญบานชั้นยะมะโตมีการเตรียมการจะสร้างทั้งสิ้น 5 ลำ


     ยุทธภัณฑ์ อาวุธยุทธภัณฑ์ของเรือประจัญบานชั้นยะมะโตะเป็นปืนขนาด 46 ซม./ลำกล้อง 45(18.1นิ้ว) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดที่สามารถติดตั้งในเรือรบได้ รวมทั้งสิ้นสามป้อม แต่ละป้อมหนัก 2,774 ตัน ปืนแต่ละกระบอกยาว 21.13ม.(69.3ฟุต) หนัก 147.3เมตริกตัน (145ตัน)กระสุนที่ใช้เป็นกระสุนเจาะเกราะระเบิดแรงสูงยิงได้ไกล 42 กิโลเมตร ที่อัตรายิง 1.5ถึง 2 นัดต่อนาที ปืนหลักยสามารถยิงกระสุนต่อต้านอากาศยาน 3 ชิกิ สึโจะดัง (กระสุนรวม 3 แบบ) นหัก 1,360 กิโลเมตร (3,000 ปอนด์)ได้ สายชนวนถูกตั้งเวลาให้ระเบิดเมื่อยิงออกไปได้ไกลเพียงพอเมื่อระเบิดกระสุนจะแตกออกจะกลายเป็นชิ้นเหล็กจำนวนมาก และปล่อยหลอดที่บรรจุระเบิดเพลิงจำนวน 900 ชิ้น เป็นรูปทรงกรวยหันไปทางอากาศยานที่บินเข้ามา หลอดจะลุกไหม้เป็นเวลา 5 วินาที่ที่อุณหภูมิ 3,000 องศาเซลเซส(5,430 องศาฟาเรนไฮน์)ก่อนจะกลายไปเป็นเพลิงรอบๆ ไกล 5 เมตร ซึ่งมีสัดส่วนถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของกระสุนหลักบนเรือ แต่ไม่ได้ใช้เพื่อต่อต้านอากาศยามนัก เพราะจะเกิดความเสียหายที่ลำกล้องปืนหลักเมือยิ่งด้วยกระสุนชนิดนี้ กระสุนจะสร้างม่านเพลิงเพื่อใหอากาศยานที่เข้าโจมตีไม่สามรถบินผ่านได้ อย่างไรก็ตาม นักบินฝ่ายสหรัฐเห็นว่าเป็นเพียงดอกไม่ไฟมากกว่าอาวุธต่อต้านอากาศยาน
      เรือชินะโนะมีอาวุธยุทธภัณฑ์ที่ต่างไปจากเรือในชั้นเนื่องจากเรือได้รับการดัดแปลง ในฐานะที่เป็นเรือบรรทุกอากาศยานที่ถูกออกแบบมาเพื่อรับบทบาทในการสนับสนุน จึงมีการติดตั้งปืนต่อสู้อากาศยานมากเป็นพิเศษ ปืนบนเรือประกอบด้วยปืน 5 นิ้ว 16 กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 1 นิ้ว 125 กระบอก และจรวดต่อสู้อากาศยาน 336 ลูกในฐานยิงจรวดลำกล้อง 5 นิ้ว 28 ลำกล้อง 12 ฐาน ปืนเหล่านี้ไม่เคยได้ใช้ต่อสู้กับเรือฝ่ายศัตรูเลย
      เกราะ จากการออกแบบเพื่อให้สามรถต่อสู้กับเรือประจัญบานฝ่ายข้อศึกได้พร้อมกนที่ละหลายลำ ยะมะโตะจึงได้รับการติดตั้งเกราะโลหะหนาดังที่อธิบายโดยนักประวัติศาสตร์นาวี ว่า “เป็นระดับการป้องกันที่ไม่มีใครเทียบเท่าในการต่อสู้กันซึ่งหน้า เกราะหลักข้างลำเรือหนา 410 มม.และผนักหนา 355 มม.ถัดมาจากเกราะข้างลำเรือ นอกจากเกราะข้างลำเรือ นอกจากนี้รูปร่างของตัวเรือด้านบนมีความก้าวหน้าในการออกแบบเป็นอย่างมาก ลักษณะที่โค้งไปด้านข้างของเกราะนั้นเป็นการป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและให้โครงสร้างที่แข็งแกร่างในขณะที่ได้นำหนักที่เกมาะสม เกราะของป้อมปืนหลักนั้นหนากว่าเกราะข้องลำเรือด้วยความหนาถึง 650 มม. แผ่นเกราะกาบเรือและป้อมปืนหลักทำจากเหล็กทำแข็งแบบวิกเกิส์ซึ่งเป็นเกราะโลหะผิวหน้าแข็ง เกราะดาดฟ้าหนา 75 มม.ทำมาจากโลหะผสมนิกเกิล-โครเมียม-โมลิบดีนัม จากการทดสอบวิถีกระสุนพิสูจน์ว่าดาดฟ้าที่เป็นโลหะผสมนั้นเหนือกว่าแผ่นโลหะวิกเกอส์เนื้อเดียว 10-15 เปอร์เซ็นต์ และถ้าหากนิเกิลมีปริมาณสูงสามารถทำให้แผ่นโลหะสามารถม้วนงอโดยไม่เกิดการแตกหักขึ้น
     มีการนำการเชื่อมโลหะแบบการเชือมอาร์ค ซึ่งเป็นการเชื่อมโลหะแบบใหม่ในสมัยนั้นมาใช้กับเรือในชั้น เพื่อเพื่มความแข็งแรงทนทานให้กับเกราะชั้นนอก ด้วยเทคนิคนี้ เกราะข้างส่วนล่างจึงได้รับการเพิ่มเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเรือซึ่งเป็นผลจากการศึกษาวิถีกรสุนของเรือประจัญบานขั้นโทะซะ และกระสุนชนิดใหม่แบบ 91 ของญี่ปุ่นที่สามารถเคลื่อตัวไปในน้ำได้ไกลและยังใช้เสริมความแข็งแกร่งให้กับตัวเรือทั้งหมด เมื่อรวมแล้วเรือชั้นยะมะโตะประกอบไปด้วยห้องผนึกน้ำ 1,147 ห้อง ซึ่ง 1,065 ห้องอยู่ใต้เกราะดาดฟ้าเรือ
     อย่างไรก็ตาม เกราะของเรือชั้นยะมะโตะยังคงมีจะอ่อนที่ร้ายแรงหลายจุด ซึ่งเป็นเหตุให้เรือในชั้นอับปางลง โดยเฉพาะจุดรอยต่อระหว่างกอบเรือล่างและกาบเรือบน ที่กลายเป็นจุดอ่อนใต้เส้นแนวน้ำที่อ่อนไหวต่อการโจมตีด้วยตอร์ปิโดจากเครื่องบิน นอกจากนี้ยังมีจุดอ่อนทางโครงสร้างบริเวณหัวเรือ ซึ่งมีเกราะบาวกว่าปกติ ตัวเรือ ชินะโนะ มีโครงสร้างอ่อนแอที่สุด มีการติดตั้งเกราะน้อยและไม่มีห้องผนึกน้ำเมื่อเวลาเรืออับปาง
     เรื่อประจัญบานมูซาชิ เป็นรือประจัญบานของกองทัพเรือจักรรดิญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งสองและเป็นเรือธงแห่งกองเรือผสม ตั้งชื่อตามจังหวัดมูซาชิซึ่งเป็นชื่อจังหวัดในสมัยโบราณของญี่ปุ่น เป็นเรือลำที่สองในชั้นยามโตะต่อจากเรือประจัญบานยามาโตะ เป็นเรือที่หนักและติดอาวัธหนักที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างขึ้นมา ด้วยระวางขับน้ำเต็มที่ 72,800 ตันและติดตั้งปืนใหญ่ 460 มม. 9 กระบอก


     มูซาชิและยามาโตะได้รับการสร้างขึ้นให้สามารถต่อสู้กับเรือหลวงฝ่ายตรงข้ามได้ทีละหลายลำพร้อมกัน เป็นวิธีที่จะชดเชยความสามารถทางด้านอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นที่ด้อยกว่ากองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เรือแต่ละลำในชั้นยามาโตะนั้นมีระวางขับน้ำมากกว่า 70,000 ตัน และหวังกันว่าอำนาจการยิงของมูซาชิและเรืออื่นในชั้นจะสามารถชดเชยความต่างชั้นจากอำนาจทางอุตสาหกรรมของสหรัฐได้
     อำนาจการยิงของปืนใหญ่ ขนาด 460 มิลลิเมตร ปืนใหญ่ 1 กระบอกกับกระสุน 1 ลูกนั้นมีน้ำหนักรวม ประมาณเกือบ 2 ตัน(1,845 กิโลกรัม)แบบ 94 มีระยะยิงไกลสุด 42,000ม.(26.1ไมล์)โดย มีจอมกระสุนวิถีสูงกว่าความสูงของภูเขาไฟฟูจิ ถึง 2 เท่าความเร็วต้น 780/วินาที สามารถทะลุเกราะเหล็ที่หนา 430 มิลลิเมตร ได้ เรดาร์ของเรือประจัญบานมุซาชิ สามารถตรวจจับเครื่องบินที่เข้ามโจมตีได้ตั้งแต่ระยะห่าง 240 กิโลเมตร และเครื่องฟังเสียงใต้น้ำสามรถตรวจจับลูกตอร์ปิโดที่วิ่งเขาหาเรือได้ตั้งแต่ระยะห่าง 5,000เมตร
      จากเริ่มก่อสร้างจนถึงปัจจุบัน ยะมะโตะ และมูซาชิ ได้กลายเป็นสิ่งที่แสดงออกในเชิงวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น โดยเฉพาะยะมะโตะ เมื่อก่อสร้างเสร็จสิ้น เรือได้เป็นตัวแทนถึงความเป็นเลิศทางวิศวกรรมของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น นอกจากนี้ทั้งจากขนาด ความเร็ว อำนาจการยิงของเรือทั้งสองลำแสดงถึงความมุ่งมั่นของประเทศญี่ปุ่นและความพร้อมที่จะปกป้องผลประโยชน์ของตนจากมหาอำนาจตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นรูปธรรม ชิเงะรุ ฟุโดะมิ เสนาธิการประจำส่วนปฏิบัติการของกองเสนาธิการกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น บรรยายถึงเรือทั้งสองลำว่า “เป็นดั่งสัญลักษณ์ทางอำนาจของกองทัพเรือที่จัดเตรียมไว้ให้แก่ทหารและความเชื่อมั่นอย่างที่สุดในกองทัพเรือของพวกเขา

วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:Shoah

Shoah เป็นคำภาษาฮิบรูในความหมายว่า “เหตุหายนะใหญ่หลวง ความฉิบหาย มหันตภัยและการทำลายล้าง” ซึ่งปรากฎในหนังสือในกรุงเยรูซาเล็ม ต่อมาได้แปลเป็น “การล้างชาติโดยนาซีต่อชาวยิวในโปแลนด์”โดยก่อนหน้านั้น คำว่า “Shoah”เป็นคำที่ใช้บรรยายถึงพรรคนาซีว่าเป็นความหายนะใหญ่หลวง
holoscaust เริ่มปรากฎใช้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ในความหมาย “การตายของคนกลุ่มใหญ่อย่างรุนแรง”ในปัจจุบันใช้อธิบายถึงการล้างชาติโดยนาซีเท่านั้น holocaust เป็นการแปลความหมายมรจากคำว่า shoah

     ขบวนการล้าชาติของพรรคนาซี เกิดจากากรแบ่งแยกเชื้อชาติระหว่างพวกชนชาติเชื้อสายอารยันและพวกที่ไม่มีเชื่อสายอารยันโดยมุ่งเป้าไปที่ชาวยิว การทำลายล้างชนชาติยิวเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเพมือพรรคนาซีได้ขึ้นนำประเทศเยรมันโดยฮิตเลอร์ ชาวยิในเวลานั้นถุกกดขี่ข่มเหงในทุกรูปแบบ พรรคนาซีออกกฎหมายหว่า 400 มาตราเพื่อริดรอนสิทธิชาวยิว ชาวยิวจำนวนหนึ่งอพยพไปยังปาเลสไตน์ ท้ายสุดพรรคนาซีไล่ต้อนชาวยิวไปอยู่อาศัยที่บริเวณกักกัน ถูกใช้แรงงานหนักชาวยิวมากมายในสภานกักกันตายเพราะความหิวโหย
     ค่ายกักกัน นาซีเยรมันจัดตั้งค่ายกักกันขึ้นตลดออินแดนยึดครองของตน ดดยตั้งใจที่จะคุมขังนักโทษการเมืองและผุ้ต่อต้านซึ่งแตกต่างจากค่ายมรณะที่เป็นค่ายทีสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ในการสังหารประชากรจำนวนมาเพียงอย่างเดียว
     แม้ค่ายกักกันจะไม่ได้ออกเเบบอย่างเป็นระบบเพื่อสังหารหมู่โดยเฉพาะแต่นักโทษในค่ายกักกันก็เสียชีวิตเป็นจำนวนมากเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายหรือไม่ก็ถูกประหารชีวิต
     ค่ายมรณะ หรือ Death camp สร้างโดยนาซีเยอรมันระหว่งสงครามโลกรั้งที่สองเพื่อเป็นสถานที่สำหรับสังหารผู้คนเป็นจำนวนล้านอย่างมีระบบ การพันธุฆาตชาวยิวเป็น “วิธีการแก้ปัญหาสุดท้ายของปัญหาชาวยิว
    ในปี 1942 ตำรวจที่ตำบลลุบินโอดีโล โกลบ็อกนิก ได้สร้างค่ายมรณะแรกขขึ้นตามคำสั่งของ"ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์”ตามปฏิบัตการไรน์ฮาร์ดซึ่งเป็นการปฏิบัติการที่มีจุดมุ่งหมายในการกำจัดชาวยิงจากแผ่นดินเยอรมัน ในระยะแรกร่างของผุ้ถูกสังหารถูกผังในหลุมศพนิรนามแต่ต่อมาก็เปลี่ยนไปใช้การเผา นักโทษส่วนใหญ่ที่ถูกนำมายังค่านมรณะมีโอกาสที่จะมีชีวิตรอดอยู่ไม่เกินสงถึงสามชั่วโมง
       ความทารุณของสงคราม นอกจากจะแสดงออกโดยการเข่นฆ่ากันในสนามรบ ยังมีเรื่องราวที่ทำให้โลกตะลึกอีกมากมายหลังจากสงครามยุติลง และหนึ่งในนั้นคือการคุมขังนักโทษและปฏิบัติต่อนักโทษโดยเรียกว่าพวก “ต่ำกว่ามนุษย์”นั้น สร้างความสยดสยองและความสลดหดหู่ทิ้งไว้เป็นสิ่งเตื่อนความจำให้ระลึกถึงความโหดร้ายของสงคราม
       ค่ายกักกันเอาชวิตซ์ “เอ้าท์ชวิตซ์เป็นภาษาเยอรมัน ที่ใช้เรียกเมือง Oswiecim ที่อยู่ทางเหนือของโปแลนด์ ที่ถูกยึดและผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมันเอ้าท์ชวิตซ์เป็นค่ายกักกันและค่านมรณะที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาค่ายกักกันของนาซีระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
     ผู้บังคับบัญชาการของค่าย รูดอล์ฟ เฮิสส์ Rudolf Hoss ให้การในการพิจารณาคดีที่นูเรมเบิร์กว่าประชากรถึงราว 3 ล้านคนเสียชีวิตที่ค่ายกักกันเอ้าชวิทซ์แป่งนี้แต่พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐเอ้าท์ชวิตซ์เบียร์เคเนาปรับตัวเลขเป็น 1.1 ล้านคน ร้อยละ90 เป็นชาวยิว จากเกือบทุกประเทศในยุโรป ผุ้ประบชะตากรรมเกือบทั้งหมดถูกสังหารในห้องรมก๊าซโดยใช้ก๊าซ Zyklon B การเสียชีวิตอื่นมาจากความอดอย่าง การบังคับใช้แรงงาน การขาดการดูแลทางสุขภาพ การถูกสังหารตัวต่อตัว และการทดลองทางการแพทย์
      เอ้าชวิตซ์ ประกอบด้วยค่ายกักกันขนาดใหญ่ 2 แห่งและค่ายย่อมอีก 36 แห่ง โดยใช้เป็นที่สังหารหมู่ขาวยิว ยิปซี กว่า 1.1 ล้านคน ณ ค่ายแห่งนี้
       โรงพยาบาลของหน่วยเอส.เอส.เป็นที่ทำการทดลองโดยใช้มนุษย์เป็นเครื่องทดลอง
นายแพทย์ โจเซฟ เมงเกเล Dr.Josef Mengele นายแพทย์หนุ่ม ผู้จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยมิวนิกด้วยวัย 24 ปี เป็นสมาชิกพรรคนาซีได้รับฉายาว่า เทพแห่งความตาย Ang of Death เป็นผู้ซึ่งตัดสิ้นว่าเชลยที่ถูกส่งมาโดยทางรถไป เมืองลงมาสู่ค่ายแล้วเขาจะเป็นคนที่ที่ชัว่า คนนี้อยู่ทางซ้าย คนนั้นอยู่ทางขวา(ทางซ้าอย คือ ถูกส่งเข้าห้องรมแก๊สพิษ ทางขวา ถูกนำปไช้แรงงาน หรือใช้ในการทดลอง) ในการควบคุมการแพร่ระบาดของเหาเขาใช้วิธีเผาที่พักที่มีการระบาด พร้อมกับผู้ป่วยที่เป็นนั้นทั้งเป็น เขาเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในหารใช้แก๊สพิษไซคลอนบี ในการสังหารหมู่ การทดลองของเขามีดังนี้
- การทดลองเกี่ยวกับความผิดปกติของร่างกาย ทางพันธุกรรม

- การเปลี่ยนสีตาโดยการฉีดสารเคมีเข้าสู่ลูกตของเด็ก
- การสูญเสียอวัยวะ แขน ขาทั้งความสามารถในการทนความเจ็บปวด การรับกษ การทดลองของเขาคือการนำเชลย มาตัดแขนตัดขา เผ้าดูอาการว่าจะทนพิษบาดแผลได้นานเท่าไร ที่เวลาต่าง ๆ ต้องใช้การช่วยเหลือ หรือประถมพยาบาลอย่างไร จึงสามารถช่วยชีวิตได้ทัน เป็นต้น
แพทย์หญิง เฮอร์ทา โอเบอร์ฮอยเซอร์ Dr.Herta Oberheuser ทำการทดลองเกี่ยวกับการรักษาบาดแผล ที่เกิดจากสงคราม ซึ่งการที่จะได้ตัวอย่างที่เกาะสมต่อการทำลองต้องใช้เวลา เธอจึงสร้างบาดแผลต่าง ๆ ที่ต้องการขึ้นมา โดยการ ผ่าร่างกายของเชลยให้เกิดบาดแผล แล้วใส่เศษดอน ต้นไม่ใบหญ้า เศษกระจก เศษเหล็ก เป็นการจำลองแผลจากสงครามและรอจนอักเสบอย่างรุนแรง แล้วทำการรักษา
- บาดแผไฟไหม้ เธอกีดร่างกายเหบื่อ แล้วใส่สาร Phophorous ลงในแผล แล้วจุดไฟ จะเกิดการลุกไหม้อย่างแรง ทำให้เกิดแผลไฟไหม้รุนแรง
     ในการทดลองต่อสู้กับความหนาว เชลยจะถูกแช่ในน้ำเย็นจัด หัวหน้าการทดลองคื อนายแพทย์ ซิ
กมุนด์ ราสเชอร์ Sigmund Rascher และผลการทดลองทำให้ทราบเป็นครั้งแรกว่า ถ้าอุณหภูมิร่างกายมนุษย์ต่ำกว่า  25 องศาเซลเซียส มนุษย์จะเสียชีวิต ทั้งยังศึกษาด้วยวิธีต่างสำหรับผุ้ที่เกิดอาการ เกิดสภาวะหนาวจัด Hypothermia ซึ่งการทดลองมีทั้งการ สอ่งด้วยหลอดไฟความร้อน การฉีดน้ำร้อนเข้าสู่กระเพาะ ลำไส้ การให้ความร้อนโดยร่างกายโดยใช้เชลยหญิงให้ความอบอุ่นแก่ผู้ป่วย การแช่ในน้ำร้อน(เป็นวิธีที่ดีที่สุด)การทกลองนี้เป็นหนึ่งในการเตรียมพร้อมเพื่อนจะนำไปสู่การบุกยึดรัสเซีย
     High Altitude การทดลองความกดอากาศสูง โดยการนำเชลยไปอยู่ในห้องควบคุมแรงดัน แล้วทำการลดแรงดันไปเรื่อย ๆ เพื่อจำลองสภาพความสูงที่ 20,000 เมตรจากพื้นดิน และลดปริมาณออกซิเจนในอากาศ เพร้อมทั้งบันทึกผลการทดลองที่ความดันต่างฟ กันจนถึงความดันสุดท้ายที่มนุษย์จะเสียชีวิต การทดลองนี้ทำเพื่อหาระบบป้องกันนักบินขับไล่ของเยอรมัน จากการดีดตัวออกจากเครื่องบิน
     การทดลองผลของมัสทาร์ทแก๊ส ผลจากากรได้รับพิษ การักษาพยาบาล


Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...