WWII:The US Joint Chief of Staff:JCS



    สมรภูมิแปซิฟิก นำโดยนายพล ดักลาส แม็กอาเธอร์ และผู้บัญชาการเขตมหาสมุทรแปซิฟิก พลเรือเอก เชสเตอร์ นิมิตซ์ ซึ่งทั้งสองเป็นนักการทหารที่มีความสามารถและเป็นการร่วมปฏิบัติการระหว่าง กองทัพบก และกองทัพเรือให้มีแนวทางการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน
     คณะเสนาธิการร่วม The US Joint Chief of Staff,JCS อันประกอบด้วยประธานธิบดีรูสเวลส์ นายกรัฐมนตรี เชลร์ชิล แห่งอังกฤษ พลเอก มาร์แชลล์ Gerneral Maeshall ผุ้บัญชาการทหารบกสหรัฐฯ พลเรือเอก คิง Fleet Admiral Ernest J. King ผู้บัญชาการกองทัพเรือภาคแอตแลนติกของฝ่ายสัมพันธมิตร พลเอก อาร์โนลด์ Gerneral Arnold ผู้บัชาการกองกำลังทางอากาศสหรัฐฯ  เป็นต้น
    พลเรือเอก นิมิตซ์ Admiral Nimitz ผู้บัญชาการกองเรือภาคแปซิฟิก พลเรือเอก อินเกิร์โ Admiral Ingersoll ผู้บัญชาการกองเรือภาคแอตแลนติก พลเรือเอก โกมเมลีย์ Admiral Ghormeley ควบคุมพื้นที่แปซิฟิกตอนใต้ ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาพลเรือเอก คิง
    พลเอก ดักลาส แมคอาเธอร์ อยู่ใต้บังคับบัญชา พลเอก มาร์แชลล์
      ผู้บังคับบัญชาคือ ผู้มีหน้าที่ในการปกครองบังคับบัญชาควบคุมสั่งการในการปฏิบัติของหน่วยใดหน่วยหนึ่งรวมทั้งมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย แนวทาง แกปฏิบัติให้ผู้ใต้บังคับบัญชานำไปปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของหน่วยนั้น ๆ ทางการทหารสามารถแบ่งระดับของผู้บังคับบัญชาได้ร 3 ระดับ คือ ผู้บัคับบัญชา ระดับยุทธศาสตร์ ผุ้บังคับบัญชาระดับยุทธการ ปละผุ้บังคับบัญาระดับยุทธวิธีผู้ลังคับบัญชาแต่ละระดับจะมีหน้าทีความรับผิดชอบและลักษณะของงานแตกต่างกัน
     การควบคุมบังคับบัญชาและสังการของฝ่ายสัมพันธมิตร จะต้องสังการในนามของฝ่ายสัมพันธมิตร โดยหลังประกาศสงครามกับญี่ปุ่น มีการจัดตั้งคณะเสนาธิการร่วม ประกอบด้วย ผู้บังคับบัญชาหน่วนกำลังทหารของสหรัฐฯและอังกฤษ ซึ่งเป็นผุ้กำหนดยุทธศาสตร์ และนโยบายให้แก่กองกำลังของตน ภายใต้การควบคุมของผู้นำ ประทเศทั้งสอง ดังนั้นการปฏิบัติการใดๆ ของฝ่ายสัมพันธมิตรหลังจากสหรัฐฯประกาศสงครามกับญี่ปุ่นแล้ว(8 ธันวา 1941) จะต้องได้รับความเห็นชอบ จากคณะเสนธิการร่วมดังกล่าวก่อน ยุทธศาสตร์ของอังกฤษคือกำจัดเยอรมันกอ่น Europe First และคุ้มครองเส้นางคมนาคม เข้า ออก ประเทศอังกฤษ เชอร์ชิลใช้กลยุทธ์ทางการเมืองในการชักชวน หรือชี้แนะ ซึ่งก็ได้รับการยอมรับจาคณะเสนาธิการ่วม เชอร์ชิลประสบความสำเร็จในการชักชวนรูสเวลท์ให้เปิดยุทธการ “Operatioa Torch” แผนการรุแอฟริกาเหนือของอังกฤษ ซึ่งพลเรือเอก คิง ไม่เห็นด้วยกับแรวความคิดนี้ กองทัพเรือต้องแบ่งกำลังยุทธโธปกรณ์  ไปสนับสนุน กองทัพบกในการบุกแอฟริกาเหนือ ในขณะที่ต้องเตรียมกำลังไว้รบด้านแปซิฟิกด้วย
     ซึ่งพลเรือเอก คิงทราบดีว่าวัตถุประสงค์ของสหรัฐคือการรักษาฮาวาย และเส้นทางคมนาคม เข้า ออก ฮาวาย โดยผ่านมิดเวย์ และต้องการรักษาเส้นทางคมนาคมด้ายฝั่งตะวันตกของประเทศสหรัฐฯ ร่วมทั้งเส้นทาง คมนาคมจากฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ ไปออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ พลเรือเอกคิงจึงผลักดันยุทธศาสตร์การรบด้านแปซิฟิก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวคือจะต้องกำจัดกำลังทางเรือของญี่ปุ่นในแปซิฟิกให้หมดไปตามหลักยุทธศาสตร์ ทางเรือของ มาฮาน พลเรือเอกคิง จะต้องอธิบายยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้ชาติสมาชิกซึ่งมีอิทธิพลหรือสิทธิเสียงในคณะเสนาธิการร่วม ซึ่งต่อมา เชอร์ชิล และรุสเวลล์ ยอมรับยุทธศาสตร์การรบ ด้านแปซิฟิกและแอตแลนติกใต้อยู่ในการควบคุมของสหรัฐฯ
     การเมืองซึ่งเข้ามามีอิทธิพลต่อภารกิจและการควบคุมสั่งการของ พลเรือเอก คิง แต่ประสบการณ์และความสามรถในการหารือกับชาติพันธมิตรต่างๆ ตวมทั้ง รูสเวลส์ และเชอร์ชิล ให้ยอมารับรุทธศาสตร์ที่สนองต่อวัตถุประสงค์ของสหรัฐฯ ในสถานการณ์และช่วงเวลาที่เหมาะสมนั้นมีผลต่อความสำเร็จในการเจรจา ซึ่งเป็นหลักของการเมืองคือการยังผลประโยชน์ร่วมกัน เมื่อพลเรือเอก คิง สามารถ ปกป้องวัถตุประสงค์ของชาติตนเองได้แล้ว จึงไม่สามารถที่จะเพิกเฉยต่อข้อเสนอของอังกฤษในการบุกแอฟริกาเหนือ
     การควบคุมบังคับ บัญชาและสังการโดยตรง ที่เป็นระบบมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งจำเป็นในการทำ สงครา ผุ้บังคับบัญชาระดับยุทธศาสตร์จำเป็นต้องควบคุมบังคับบัญชาและสังการโดยตรง ต่อผู้บังคับบัญชาระดับยุทธการ โดยมอบภารกิจ คอแนะนำที่สำคัญและกำลังรบที่เหมาะสมให้แตผุ้บังคับบัญชาระดับยุทะศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องสังการในการปฏิบัติของหน่วยรองต่าง ๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาระดับยุทธการ
     พลเรือเอก คิง จะเปลี่ยนการตัดสินใจต่อเมือได้รับข่าวยืนวันได้ กล่วคือ หลังกจากยุทธการที่ทะเลคอรับ พลเรือเอก นิมิตซ์ประมาณสาถนการณ์ ว่าญี่ปุ่นจะโจมตีมิดเวย์ และฮาวาย จังต้องทกการรวบรวมเรือบรรทุกเครื่องบิน แต่พลเรือเอก คิง ต้องการนำเรือบรรทุกเครื่องยินไปทำลายกำลังญ่ปุ่ในแปซิฟิกใต้ เพราะท่านคิดว่าขุนกำลังทางอากาศของญี่ปุ่นจะอยู่ในพื้นที่แปซิฟิกใต้ จึงแนะนำให้ พระเรือเอก นิมิตซ์ ส่งกำลังเรือบรรทุกเครื่องบินไปโจมตีกำลังของญี่ปุ่นบนเกาะมาร์แชลล์ แต่พลเรือเอก นิมิตซ์ ไม่เห็ด้วย ซึ่งต่อมา มีการตรวจสบและยือยังน ข่าวกับกาองบัญชาการกองทัพอังกฤษที่ลอนดอนทราบว่า ญี่ปุ่นยังไม่มีความตั้งใจที่จะฏิบัติการ ครั้งใหญ่ในช่วงเวลาอันใกล้นี้ พลเรือเอกคิงจึงตัดสินใจให้ปฏิบัติตามที่ พละรือเอก นิมิตซ์ เสนอ ซึ่งเหต์การณ์เป็นจริงดังพลเรือเอก นิมิตซ์ คาดการณ์ไว้ ยุทธนาวีที่มิดเวย์จึงเป็นชัยชนะของฝ่ายสหรัฐฯ
     ผุ้บังคับบัญชาระดับยุทธศาสตร์จะต้องไม่ก้าวก่ายการปฏิบัติของ ผู้บังคับบัญชาระดับยุทธการ เพราะทำให้เกิดการสับสน และขาดเอกภาพในการบังคับบัญชาแต่ควรหารือ กับผุ้บังคับบัญชาระดับยุทธการเพื่อให้ได้หนทางปฏิบัติที่ดีที่สุด
    พลเรือเอก คิง ไม่เห็นด้วยที่จะให้กำลังทาเรือสหรัฐฯอยู่ใต้การบังคับบัญชาของนายทหารบก จึงทำการต่อรองกับรูสเวลล์และพลเอก มาร์แชลล์ ผุ้บัญชาการทหารบกสหรัฐฯ ในการแบ่งพื้อที่ส่วนรับผิดชอบในแปซิฟิก โดให้ พลเอก ดักลาส แมคอาเธอร์ รับผิดชอบเฉพาะแปซิฟิกด้านตะวันตกเฉียงใต้และฟิลิปปินส์ ส่วนพื้นที่ปฏิบัติการในแปซิฟิกที่เลหือให้อยู่ในความรับผิดชอบของพลเรือเอก นิมิตซ์ ซึ่งเป็นผุ้ใต้บังคับบัญชาของ พลเรือเอก คิง และให้ทั้ง 2 ท่านรายงานตรงต่อคณะเสนาธิการร่วมสหรัฐฯ JCS

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)