วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Dictatorship

     ระบอบเผด็จการ หมายถึงการปกครองแบบอัตตาธิปไตย  ซึ่งรัฐบาลอยู่ภายใต้การบริหารของบุคคลเพียงคนเดียว หรือ ผู้เผด็จการ โดยไม่มีการสืบทอดตำแหน่างตามสายเลือด
Hitlermusso   เผด็จการ หมายถึง
- ผู้เผด็จการของสาธารณรัฐโรมัน ซึ่งมีอำนาจปกครองเบ็ดเสร็จในยามฉุกเฉินของบ้านเมืองซึ่งอำนาจจากการใช้ตำแหน่งดังกล่าวไม่ต้องมีเหตุผลหรือไม่ต้องรับผิดชอบแต่อย่างได มีอำนาจอยู่เหนือกฎหมาย และถือว่าการกระทำทั้งหมดนั้นไม่ผิดกฏหมายย้อนหลัง
- รัฐบาลซึ่งปกครองโดยบุคคลเพียงคนเดียว หรือคณะบุคคลเพียงส่วนน้อย
- หรืออาจหมายถึง การปกครองซึ่งรัฐบาลมีอำนาจเด็ดขาด ไม่ถูกจำกัดโดยกฎหมาย รัฐธรรมนูญ หรือปัจจัยทางสังคมหรือการเมืองอืนภายในรัฐนั้น
      Military dictatorship คือ รูปแบบการปกครองที่อำนาจทางการเมืองขึ้นอยู่กับกองทัพ โดยถือว่าเป็นการปกครองในระบอบเผด็จการอำนาจนิยม ซึ่งเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน
      รัฐบาลเผด็จการทหารส่วนมากจัดตั้งหลังจากรัฐประหาร ซึ้งล้มล้างอำนาจรัฐบาลชุดก่อนหน้า ตัวอยางที่แตกต่างออกไป คือ การปกครองในสมัยของ ซัดดัม ฮุสเซน ซึ่งเริ่มจากรัฐที่ปกครองโดย รัฐบาลพรรคเดียว โดย พรคคบะอัธ แต่เมืองเวลาผ่านไปรัฐบาลดังกล่าวเปลี่ยนเป็นเผด็จการทหาร
     ในอดีต เผด็จการทหารมักจะอ้างความชอบธรมให้แก่พวกเขาเองว่าเป็ฯการสร้างความสมานฉันท์แกติ และช่วยชาติให้พ้นจากภัยคุกคามของ “อุดมการณ์ที่อันตราย”อันเป็นการสร้างการข่มขวัญ ในละตินอเมิรกา ภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ และทุนนิยม ถูกนำเป็นข้ออ้างในการรัฐประหาร คณะทหารมักจะกล่าวว่าพวกเขาเป็นพวกไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใด เป็นคณะที่มีความเป็นกลาง สามารถจัดการกับความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในระยะเวลสั้น ไ ได้ และกล่าวว่านักการเมืองที่มาจากปรระชาชนนั้นคดโกงและไร้ประสิทธิภาพ ลักษณะร่วมประการหนึ่งของรัฐบาลทหารคือการประกาศใช้กฏอัยการศึก หรือการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
     รัฐบาลทหารมักจะไม่เคารพต่อสิทธิมนุษยชน และมักใช้วิธีการปิดปากศัตรูทางการเมืองรัฐบาลทหารมักจะไม่คืนอำนาจจนกว่าจะมีการปฏิวัติโดยประชาชน
     Fascism ลัทธิฟาสซิสต์ เป็นชาติ-อำนาจมูลวิวัติอย่างหนึ่ง นักฟาสซิสต์มุ่งรวมชาติของตนผ่านรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ ที่ระดมชุมชนแห่งชาติชนานใหญ่ผ่านวินัย การปลูกผังความเชื่อและการฝึกฝนทางกายภาพ ลัทธิฟาสซิสต์ใช้พรรคการเมืองแนวหน้า ในการริเริ่มการปฏิวัติเพื่อจัดระเบียบชาติตามหลักการลัธิฟาสซิสต์ ลัทธิฟาสซิสต์มองการปฏิบัติโดยตรงรวมถึงความรุนแรงทางการเมืองและสงคราม ว่าเป็นวิธีการบรรลุการคืนพลัง เจตนารมณ์และชีวิตนิยมของชาติ
    Despotism ระบบใช้อำนาจเด็ดขาด เป็นระบอบการปกครองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เริ่มจากการรมมกลุ่มของมนุษย์ ดดยให้บุคคลเพียงคนเดียวหรือกลุ่มบุคลเป็นผู้มีอำนาจปกครองกลุ่ม โดยมีอำนาขอย่างสมบูรณ์ในระบอบของตน
     แนวคิดหลักคือ อำนาจอธิปไตยอยู่ในมือของคนคนเดียวหรือกลุ่มบุคคลขนาดเล็ก โดยอาจเป็นได้ทั้งการปกครองแบบทรราช ซึ่งใช้อำนาจปราบปรามและลงโทษผู้อยู่ใต้การปกครองหรือการปกครองแบบเบ็ดเนร็จซึ่งผู้ปกครองอยู่เหนือกฎหมายใด ๆ
     การปกครองแบบราชาธิปไตยซึ่งพระมหากาตริย์มีพระราชอำนาจเต็มและอยู่เหนือกฎหมายี้นเป็นระบอบเผด็จการแบบหนึ่ง แต่มองเตสกีเยอ ได้ระบุถึงความแตกต่าระหว่างระบอบทั้งสองว่า ระบอบราชาธิปไตยใช้อำนาจแบบเปบ็ดเสร็จโดยการตราและแก้ไขกฎหมายขณะที่ระบอบเผด็จการจะใช้อำนาจตามใจตน
    แนวคิดเผด็จการ
- เผด็จการในฐานะที่เป็นแนวคิดทางการเมือง ที่เชื่อว่ารัฐเป็นเสมือนพระเจ้าที่เพียบพร้อม รํบเป็นผู้ถ่ายทอดความดีงามให้แก่ประชาชน ดังนั้นประชาชนจึงมีหน้าที่ที่จะต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐยอมตนให้กับัฐโดยปราศจากเงื่อไข  ผู้ผู้นำคือตัวแทนของรัฐในการออกคำสั่งให้ประชาชนปฏิบัติตาม อุดมการณ์เผด็จการนั้นมัอ้างว่าผู้นำเป็นผู้มีลักษณะพิเศษ เช่น สามารถล่วงรู้เจตนาราณ์ของประชาชนได้ การกรทำของผู้นำจึงเป็นการกระทำไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน ผู้นำจึงอยู่ในฐานะที่ทำอะไรก็ไม่ผิด เป็นต้น
- เผด็จการในฐานที่เป็นรูปแบบการปกครอง โดยทั่วไป หมายถึง ระบอบรวมอำนาของผุ้ปกคอรงที่ต้องการอำนาจและสามารถยึดอำนาจรัฐไว้ได้ ส่วนใหญ่มักจะใช้วีธีการรุนแรง เช่น การทำรัฐประหาร กุมกองกำลังทหารตำตวจ และใช้ข่มขู่ สร้างความหวาดกลัวต่อผุ้คิดจะต่อต้าน ออกกฏหมายจำกัดสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน..
-เผด็จการในฐานที่เป็นวิถีชีวิต หมายถึง แนวความคิด ความเชื่อ ค่านิยม ตลอดจนแนวปฏิบัติของคนในสังคมใด ๆ ซึ่งอาจเป็นสังคมประชาธิปไตยก็ได้ พวกนี้เชื่อว่าคนเราเกิดมาแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันในทุกด้านผู้ที่ด้อยกว่าจำเป็นต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้ที่เหนือกวา ทั้งนี้เพื่อที่จะให้สังคมสามารถอยู่รอดปลอดภัยและก้าวหน้า ซึ่งจะพยายามไม่ให้มีความขัดแย้งในสังคม และจะนิยมใช้อำนาจในการกำจัดข้อขัดแย้งซึ่งเสมือนเป็นตัวบ่อนทำลายเสถียรภาพของสนังคมมากกว่าการใช้วิธีการประนีประนอม
      ลักษณะสำคัญของเผด็จการ
      ลัทธิเผด็จการไม่เห็นความสำคัญของความเสมอภาคหรือไม่เชื่อว่าบุคคลมีความเท่าเทียมกัน ไม่ว่าในด้านชาติกำเนิด การศึกษา ฐานะทางสังคม ด้วยเหตุนี้ลัทธิเผด็จกาจึงแบ่งคนในสังคมออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ผุ้นำ และประชาชนทั่งไป
      ลัทธิเผด็จการเป็นลัทธิการเมืองที่ไม่ยอมรับว่าประชาชนทั่วๆ ไปเป็นผุ้ม่เหตุผล ลัทธินี้เชื่อว่าเหตุผลของประชาชนทั่วๆ ไป ไม่สามารถที่จะนำมาแก้ปัญหาของสังคมได้  การใช้เหตุผลเพื่อยตุปัญหาจะนำมาซึ่งความดกลาหล ขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสัคม ลัทธินี้จึงสรุปว่า ประชาชนทั่วๆ ไปเป็นผุ้ไร้เหตุผล ผุ้ปกครองจึงไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลใดๆ และประชาชนโดยทั่วไปต้องมีผู้ปกครองเป็นผู้นำให้ความคุ้มครองแก่พวกเขา
      ลัทธิเผด็จการให้ความสำคัญกับเสรีภาพส่วนบุคคลน้อยกว่าอำนาจรัฐ ดังคำกล่าวของมุสโสลินี ว่า  “รัฐเป็นนายและเป็นจุดมุ่งหมายปลายทางของชีวิตและสังคม นั้นคือ ลัทธิเผด็จการจะยึดมั่นว่ารัฐเป็นสิ่งสูงสุดที่ประชาชนจะต้องสักการบูชา และอุทิศตนเองเพื่อความิ่งใหญ่และความเจริญก้าวหน้าของรัฐ ประชาชนจะต้องมีภาระที่จะรับใช้รัฐ ฉะนั้นสิ่งใดที่รุฐกำหนดขึ้นทุกคนที่อยู่ในรัฐก็จะต้องปฏิบัติตามโดยไม่อาจหลีกเลี่ยง 
     ลัทธิเผด็จการไม่อดทนต่อความคิดที่แตกต่างกัน แนวความคิดที่ยึดถือคือ เรื่องอำนาจสูงสุดของรัฐและอำนาจเด็ดขาดของผุ้นำที่เป็นตัวแทนองรัฐ ดังนั้นกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง สมาคมอาชีพ สหพันธ์กรรมกรจะต้องเป็นกลุ่มที่ให้การสนับสนุนผุ้นำจึงจะตั้งอยู่ได้
      เผด็จการมีอยู่มานานแล้ว นับตั้งแต่มนุษย์รวมตัวกันเป็นสังคมยุคแรก ๆ สังคมเฟ่าส่วนใหญ่จะมีหัวหน้าเผ่าที่เป็นเผด็จการ ซึ่งปัจจุบันรูปแบบหรือประเภทของเผด็จการก็หลากหลายยิ่งขึ้น เนื่องด้วยความสอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจสัง และการเมือง โดยมีจุดประสงค์หลักคือการอยู่บนอำนาจนั้นให้นานที่สุด
           เผด็จการอำนาจนิยม คือ รัฐบาลจะเข้าควบคุมสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน มักจะไม่ยอมให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง มีการตรวจสอบหรือใช้อำนาจรัฐสั่งิดหนังสือพิมพ์มักจะอ้างลัทธิชาตินิยมมาสร้าความชอบธรรมให้กับการใช้อำนาจของผุ้ปกครอง แตะรัฐจะยงคงให้เสรีภาพในทางเศรษฐกิจและสังคม พอสมควร จะมีการลงโทษผู้กระทำผิดต่อกฎเกณฑ์ของบ้านเมืองอย่างรุนแรง เพื่อให้ประชาชนเคารพเชื่อฟัง และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครด
            เผด็จการเบ็ดเสร็จ คือ การปกครองดยมีผุ้นำที่มีอำนาจสุงสุดและใช้อำนาจเด็ดขาดคนเดีย พยายามที่จะสร้างอุดมการขึ้นมาสร้างวามชอบธรรมให้กับการใช้อำนาจ มีการจัดตั้งพรรคการเมือง หรืออาจอยู่ในรูปขององค์กรผุ้นำพรรคเดียวเข้าควบคุมอำนาจทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมนั้นคือ บุคลรวมทั้งกิจกรรมของบุคคลในสังคมทุกคน ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับการเมือง หรือเศรษฐกิจ หรือสังคม จะตกอยู่ภายใต้การสอดสอ่งดุแลและควบคุมกำกับโดยอำนาจรัฐ มีการลงโทษอย่างรุนแรง พยายามสร้างความสำนึกให้ประชาชนเคารพเชื่อฟัง และปฏืบัติตามอำนาจรัฐ หรือคำสั่งของผุ้นำโดยเคร่งครัดโดยถือเป็นหน้าที่ เผด็จการประเภทนี้จะไม่ยอมให้มีฝ่ายตรงข้าม สังคมที่ปกครองโดยลัทธิเผด็จการเบ็ดเสร็จจึงมีสภาพเป็นอาณาจักรแห่งความกลัว

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Capitallism


     แนวคิดทุนนิยม จะมีแนวคิดตรงข้ามกับสังคมนิยม ที่มีความเห็นคัดค้านว่ากำไรที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดช่องว่างทางสังคมทำให้คนที่มีฐานะมั่งคั่งรวยมากขึ้น โดยกำไรควรจะมีการแบ่งปันให้กับสังคมในชั้นล่างลงมา

     ทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ซึ่งผลิตภัณฑ์และสินค้ามีการจำหน่ายแลกเปลี่ยนซื้อขายโดยทางเอกชน บริษัท หรือกลุ่มธุรกิจ เพื่อสร้างผลกำไรให้กับหน่วยงาน ดดยการแลกเปลี่ยนสินค้าและการบริการ ที่มีการรองรับทางกฎหมายและมีการแข่งขันการในเชิงการค้าเพื่อทำกำไรสูงสุด ซึ่งไม่ได้ควบคุมโดยหน่วยงานกลางหรือจากทางรัฐบาล
     ทุนนิยมจะกล่าวถึง ทุนและที่ดินเป็นสมยบัติส่วนบุคคล การตัดสินใจทางเศรษฐกิจเป็นกิจกรรมส่วนบุคคล ไม่ใช้การควบคุมบริหารโดยรัฐ และตลาดเสรีหรือเกือบเสรีจะเป็นตัวกำหนดราคา ควบคุมและระบุทิศทางการผลิต รวมถึงเป็นที่สร้างรายรับ บางครกล่าวว่าระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันของโลกตะวนตกคือระบบทุนนิยม ในขณะที่หลายครมองว่าในบางประเทศก็มีระบบเศรษฐกิจเป็นเศรษฐกิจแบบผสม กล่าวคือมีลักษณะเฉพาะของทั้งทุนนิยมและรัฐนิยม

     ทฤษฎีเกี่ยวกับทุนนิยมถูกพัฒนาขึ้นในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 18,19และ 20 ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ยกตัวอย่าง เช่น การปฏิวัติอุตสาหกรรมและลัมธิจักรวรรดินิยมของยุโรป ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ หรือ The Great Depression และสงครามเย็น นักทฤษฏีเหล่านี้กล่าวว่าทุนนิยมคือระบบที่ให้คุณค่ากับการที่ราคาถูกตัดสินในตลาดเสรี นั่นคือโดยการค้าที่เป็นผลมาจากการตกลงด้วยความสมัครใจของผู้ซือและผู้ขาย ความคิดเชิงตลาด จิตวิญญาณของผู้ประกอบการ และความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สิน และสัญญาที่ชัดเจนและบังคับได้ตามกฎหมาย ทฏษฎีเหล่านี้โดยทั่วไปจะพยายามอะบาว่า ทำไมทุนนิยมจึงมีแนวโน้มที่จะสร้างการเจริญเติบโตทางเษรษฐกิจ มากวาในระบบอื่นๆ ที่รัฐบาลเข้ามามีบทบาทจัดการในระดับที่สูงกว่า มีหลายทฤษฎีเน้นว่าสิทธิการถือคีองส่วนบุคคลของทุนคือแด่นของระบบทุนนิยม ในขณะที่บางทฤษฎีเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของตลาดเสรี ที่เป็นกลจักรที่ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายและสะสมตัวของทุน บางทฤษฎีชี้ให้เก็นถึงการที่แนวปฏิบัติทางเศรษฐกิจหลายๆ แนวได้ถูกทำให้เป็ฯสถาบันในยุดรประหว่างช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 – 19 ที่สำคัญ สิทธิของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่จะสามารถทำการได้แบบ “นิติบุคคล”หรือบรรษัท ในการซื้อและขายสินทรัพย์ และที่ดิน แรงงาน เงินตรา ในตลาดเสรี และสามารถวางใจได้ว่ารัฐจะสามารถบังคับให้เกิดการเคารพสิทธิทรัพย์สินส่วนบุคคล แทนที่จะต้องพึ่งการคุ้มครองแบบศักดินา

     องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คือ
- การถูกรองรบด้วยระบบรวมศูนย์อำนาจ
- การครอบครองแหล่งวัตถุดิบและพื้นที่การตลาด
-การก้าวกระโดดในด้านวิทยาศาสสต์และเทคโนโลยี
     ภายหลังจากบทบาท “ศาสนจักร” ซึ่งเคยมีอิทธเพลในการกำหนดวิถีทางของรัฐ ระบบสังคม และเป็นศูนย์กลางในการดำเนินชีวิตของปัจเจกบุคคลแต่ละบุคคล ได้เกิดความเสื่อมโทรม เกิดความขัดแย้งภายในกันเอง จนนำไปสู่การพังทลายหรือการแยกอำนาจของศาสนจักรออกจากอำนาจของอาณาจักร สภาวการณ์ดังกล่าวได้นำไปสู่การปลดปล่อยให้เกิดพลังต่าง ๆ ซึ่งกลายมาเป้นองค์ประกอบที่สำคัญคือ
     -การเกิดขึ้นของรัฐชาติยุใหม่ที่รวมสูนย์อำนาจอยู่ที่กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสทิธิราชย์ และพยายามเป็นอิสระจากอำนาจของศาสนจักรทั้งในแง่รูปแบบและเน้อหา ดังจะเห็นได้จากคำอธิบายของนักคิด นักปรัชญาในยุคนั้น  “โธมัส ฮอบส์”ซึ่งเคยกล่าวเอาไว้ว่า”แทนที่จะให้ความเคารพแก่พระเจ้าที่ตายไปแลว เราทุกคนเป็นหนี้บุญคุณแก่พระเจ้าที่อยู่กับเรอาชัวนิรันดร์ นั้นก็คือสันติสุขและการป้องกันตนเอง กษัตริย์ที่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยให้เกิดขชึ้นได้นั้น มีคุณกว่าทุกคน ควรที่เราทั้งหลายจะมอบอำนาจให้ในฐานะผู้ที่สร้างหลักประกันให้กับสทิธปวงชน และทำให้รัฐชาติยุคใหม่จำเป็นจะต้องมีศูนย์กลางอำนาจที่ไม่สามารถท้าทายได้ เพื่อควบคุมกิจกรรมั้งหลายภายใต้รัฐทั้งหมด..” หรือ “จอร์จ เฮเกล” ที่ระบุเอาไว้ว่า  “รัฐ อันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาโยเหตุผล เพื่อที่จะทำให้มนุษย์สามรถมีชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างมีศีลธรรมก็คือ พระเจ้าที่เดินอยู่บนโลก” วิถุทางของรัฐ ระบบสังคม และชีวิตของปัจเจกบุคลที่อยู่ภายใต้อำนาจรวมศูนย์ของกษัตริย์ จึงมักถูกนำไปใช้เพื่อตแบสนองกับการแข่งขันทางอำนาจ และการสะสมความมั่งคั่ง อันนำไปสู่การสร้างพลังขับเคลื่อนลัทธิทุนนิยมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     - การขยายตัวของชนชั้นกลาง และบทบาทของพ่อค้าภายใต้อำนาจรวมศูนย์ของกษัตริย์ใต่ละรัฐ มีผลทำให้เกิดการแข่งขนทางการค้า และการขยายตัวของลัทธิทุนนิยมเข้าไปครอบครองแหล่งวัตถุดิบและพื้นที่การตลาดในขอบเขตทั่งโลก ภายใต้ยุคแห่งการ”ล่าอาณานิคม” ของชาวยุโรป ความร่วมือระหว่าง “กษัตริย์” กับ “พ่อค้า”ในยุโรป ทำให้ชายฝั่ง “ซาน ซัลวาดอร์” “เวอร์จิเนีย” นิวอิงแลนด์”ในทวีปอเมริกา กลายเป็นดินแดนรกร้างว่างเปล่าในช่วงเวลาแค่ 2 ศตวรรษหลังจาก “โคลัมปัส”นำเรือของกษัตริย์สเปนขึ้นฝั่ง ทำให้อาณาจักรแอชเทคในเม็กซิโก อาณาจักรอินคาในเปรู พังทลายเพราะความต้องการทองคำ แร่เงิน นิเกิล แร่พลวงที่ถูกขุดขึ้นมาจากแผ่นดินละตินอเมริกาจนแทบไม่มีเหลืออยู่ในขณะนี้ แปรสภาพที่อินในปะรเทศปาราวัย อาร์เจนฯ บราซิล..ให้กลายเป็นไร่ฝ้าย ไร่กาแฟ…และฟาร์มปศุสัตว์ขนาดใหญ่ทำให้ทวีปอาฟริกาทั้งทวีปมีสภาพไม่ต่างจากซากปรักหักพังอันเนืองมาจากอุตสาหกรรมเหมืองเพชร ทองแดง โคบอลท์..ซึ่งไม่ต่างอะไรกับเอเซีย ท้ายที่สุดสิ่งเหล่านี้ได้นำไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจระดับโลกทีเต็มไปด้วยความไม่สมเหตุสมผล เต็มไปด้วยการแลกเปลี่ยนที่ไม่เท่าเที่ยมกัน หรือยังคงลักษณะของความเป็น “โครงสร้างแบบอาณานิคม”ดำรงอยู่ในระบบเศรษฐกิจโลกตราบเท่าปัจจุบัน
     - อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้เลยหากไม่มีการ “ปฏิวัติทางวิทธยาศาสตร์” แบบก้าวกระโดดซึ่งปรากฏขึ้นในยุโรปในห้วงเวลาเดียวกันกับที่อำนาจทางศาสนจักรเสือมถอยลง พลังทางวิทยาศาสตร์กับบทบาทของกษัตริย์และพ่อค้า วิทยาการและสิ่งประดิษฐ์ของนักวทิยาศาสตร์ในยุโรป สามารถครอบครองได้ทั้งโลก กฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างได้ถูกนำไปแปรสภาพเป็น “แนวคิดแบบวทิยาศษสตร์”และยังสามารถใอธิบายเพื่อรองรับความชอบธรรมของลัทธิทุนิยม สังคมนิยม หรือฟาสซิสต์..ที่ล้วนมุ่งไปสู่ความเป็นจักรวรรดินิยมเหมือนกันทั้งสิ้น
     ภายใต้การขับเคลื่อนลัทธิทุนนิยมโดยอาศัยองค์ประกอบสำคัญดังกล่าว เส้นทางของทุนนิยมมักจะหลีกเลี่ยงไม่พ้นการหาข้อยุติและการพฒนาตัวเองในแต่ละระดับขั้น ควบคู่ไปกับ “สงคราม” การแข่งขันเพื่อแย่งชิงแหล่งวัตถุดิบและพื้นที่การตลาดของรัฐต่างๆ ในยุโรปยุคแห่งการล่าอาณานิคมนั้น ท้ายที่สุดก็นำมาซึ่ง “สงครามโลก ครั้งที่ 1” และบานปลายต่อมากลายเป็น “สงครามโลกครั้งที่ 2”และสงครามเย็นอันเนืองมาจากทัศนะที่แตกต่างกันใน “กรรมวิธีทางเศรษฐกิจ” ระหว่างทุนนิยม กับ สังคมนิยม

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Communism

     ลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นขบวนการปฏิบัติสังคมนิยมเพื่อสถปนาระเบียบสังคมที่ปราศจากชนชั้น เงินและรัฐ โดยตั้งอยู่บนการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกัน เช่นเดียวกัยอุดมการณ์ทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจซึ่งมุ่งสถาปนาระเบียบสังคมนี้ ขบวนการดังกล่าว ในการตีความแบบลัท
ธิมากซ์-เลนิน มีอิทธพลอย่างสำคัญต่อประวัติศาสตร์ครอสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีการแข่งขันกันอุดเดือดระหว่าง “โลกสังคมนิยม” และโลกตะวันตก”
     ทฤษฎีลัทธิมาซ์ถือว่า คอมมิวนิสต์บริสุทธิ์หรือคอมมิวนิสต์สมบูรณ์เป็นขึ้นของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์โดยเจาะจงที่ถือกำเนิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากการพัฒนากำลังการผลิตซึ่งนำไปสู่ความมั่งคั่งทางวัตถุที่อุดมสมบูรณ์ เพื่อให้การแจกจ่ายยึดความต้องการและความสัมพันธ์ทางสังคมยึดตามปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้องกันอย่างเสรี นิยมที่แน่ชัดของคอมมิวนิสต์แตกต่างกัน และมักถูกเข้าใจผิด ในวจนิพนธ์การเมืองทั่วไป ว่ามช้แทนคำว่า สังคมนิยมได้ อยางไรก็ดี ทฤษฎีลัทธิมากซ์ยืนยันว่า สังคมนิยมเป็นเพียงขั้นเปลี่ยนผ่านบนวิถีสู่คอมมิวนิสต์ ลัทธิเลนินเพ่มแนวคิดพรรคการเมืองแนวหน้าเพื่อนำการปฏิบัติโดยชนชั้นกรรมมาชีพและเพื่อยึดอำนาจทางการเมืองทั้งหมดหลังการปฏิวัติเพื่อชนชั้นกรรมกร เพื่อการพัฒนาความตระหนักของชนชั้นทั่งโลกและการมีส่วนร่วมของกรรมกร ในขั้นเปลี่ยนผ่านระหว่างทุนนิยมกับสังคมนิยม
     ปัจจุบัน คอมมิวนิสต์มัใช้เรียกนโยบายของรัฐคอมมิวนิสต์ นั้นคือ รัฐที่ถูกควบคุมเบ็ดเสร็จโดยพรคอมมิวนิสต์ ไม่ว่าสาระของระบบเศรษฐกิจในทางปฏิบัติแท้จิรงแล้วเป็นอย่างไร ตัวอย่างเช่น นโยบายของสาธารฯรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งระบบเศรษฐกิจรวมไปถึง “โด่ย เหมย” สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งระบบเศรษฐกิจเป็น “เศรษฐกิจตลาดสังคมนิยม” และระบบเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียต ซึ่งอธิบายได้ว่าเป็น “ทุนนิยมโดยรัฐ”โดยนักสังคมนิยมที่มิใช่ลัทธิเลนิน และภายหลังโดยนักคอมมิวนิสต์ผู้คัดค้านแบบจำลองโซเวียตยุคหลังสตาลินมากขึ้น ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20
     รากฐานความคิดที่นำไปสู่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีมานานมากในตะวันตก นานกว่าแนวคิดมาร์กซ์และเองเกลส์ คือในยุคกรีกโบราณที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ถูกโยงเข้าไปเกี่ยวข้องกับตำนานเกี่ยวกับยุคทองของมนุษยชาติ ที่ ๆ สังคมอยู่ด้วยกันด้วยความสมัคคีปรองดองกันเสียก่อน จึงร่วมกันสร้างความงอกงามทางวัตถุในภายหลัง แต่บางคนก็แย้งว่า ตำราสาธารณรัฐ ของเพลโตและผลงานอื่น ๆ ของนักทฤษฎีรัฐศาสตร์ในยุคโบราณ เพียงแค่สนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์ในด้านการอยู่รวมกันในสังคมอย่างปรองดองเท่านั้น รวมหลาย ๆ นิกายในศาสนาคริสต์สมัยเก่า และเน้นเป็นพิเศษในโบสถ์สมัยเก่า ดังที่บันทึกไว้ในบัญญัติแห่งบรรดาอัครสาวก อีกทั้งชนเผ่าพื้นเมืองแห่งทวิปอเมริกาอ่กนยุคโคลัมบัสบุกเบิก ก็ยังปฏิบัติตามแรวคิดของลัทธิคอมมิวนิสต์ว่าด้วยการอยู่ด้วยกันเป็นสังคมและครอบครองวัตถุร่วมกัน รวมถึงอีกหลายๆ ชนชาติพยายามที่จะก่อตั้งสังคมคอมมิวนิสต์ได้แก่ นิกายเอซเซนแห่งยิว และนิกายยูดาทะเลทราย
      นักบุญ โทมัส มอร์ นักเขียนชาวอังกฤษกล่าวในหนังสือยูโทเปีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 16  ว่า สังคมทุกสังคมมีรากฐานอยู่ที่การครอบครองวัตถุชิ้นใดๆ ร่วมกัน โดยมีหัวหน้าอยู่หนึ่งคนหรือหนึ่งคณะที่มีหน้าทที่นำมันไปใช้ตามหลักแห่งเหตุและผลที่เหมาะสม
     คริสต์ศตวยรรษที่ 17 แนวคิดคอมมิวนิสต์ผุดขึ้นมาอีกครั้งในประเทศอังกฤษ เมื่อ เอ็ดเวิร์ด เบิร์นสไตน์ กล่าวในผลงานแห่งปี 1895 ของเขา คอรมเวลล์และคอมมิวนิสต์ อย่างเผ็ดร้อนว่ามีหลายกลุ่มในสงครามกลางเมืองอังกฤษ โดยเฉพาะพวกนักขุดหรือผู้เผยเปลือกใน ที่แสดงการสนับสนุนแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์อย่างชัดเจน เน้นความสำคัญไปที่บรรดาชาวไร่ชาวนา ซึ่งทัศนคติของ โอลิเวอร์ ครอมเวล ต่อคนกลุ่มนี้มีเป็นความรำคาญ หรือแม้กระทั่งแสดงความเป็นศัตรูต่อคนกลุ่มนี่อย่างชัดเจน ความไม่เห็นด้วยต่อการครอบครองวัตถุแต่เพียงผู้เดียวยังคงถูกแย้งมาโดยตลอด
       ยุคแสงสว่าง The Age of Enlightenment แห่งคริสต์ศตวรรษที 18 นักวิชาการชื่อดัง เช่น ชอง-ชาก รุสโว รวมถึงนักเขียนสังคมนิยมยูโทเปีย เช่น โรเบิร์ต โอเวน ซึ่งบรรดาบุคคลเหล่านี้ก็ถูกขนานนามว่าเป็นคอมมิวนิสต์ในบางครั้ง
       คาร์ล ไฮน์ริช มาร์กซ์ นักปรัชญา นักคอมมิวนิสต์ และนักปฏิวัติชาวเยรมัน ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของแนวคิดที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคอมมิวนิสต์ สมัยใหม่  มาร์กซ์สรุปแนวคิดของเขาในบรรทัดแรกของ คำประกาศเจตนาคมอมิวนิสต์ ว่า “ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมดที่ผ่านมากระทั่งปัจจุบันล้วนแต่เป็นปรัวติศาสตร์แห่งการต่อสู้ทางชนชั้น”
      มาร์กซ์ไม่ใช้เป้นปค่นักทฤษฎีทางสังคมและการเมือง แต่เขายังเป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการจัดตั้งสมาคมกรรมกรสากล “องค์กรสากลที่ 1 งานเขียนของเขาเป็แกนหลักของการเคลื่อนไหวในแนวทางคอมมิวนิสต์ สังคมนิยม ลัทธิเลนิน และลัทธิมาร์ก
     ความคิดของมาร์กซ์นั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากทั้งแนวคิดวิภาษวิธีประวัติศาสตร์ของเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล  และเศรษฐศาสตร์การเมืองของอดัม สมิท และเดวิด ริดคาร์โด เขาเชื่อในความเป็นไปได้ที่จะศึกษาประวัติศาสตร์และสังคมในลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ซึงจะทำให้เข้าใจแนวโน้มของประวัติศาสตร์รวมถึงผลลัพธ์ของข้อแย้งทางสังคมได้
     ปรัชญาของมาร์กซ์ นั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากแนวคิดของเฮเกิลที่ว่าความจริง นั้นจะต้องพิจารณาแบบวิภาษวิธี โดยมองว่าเป็นการปะทะกันของแรงคู่ตรงข้ามหลายครั้งแนวคิดนี้ถูกเขียนย่อว่า ข้อวินิจฉัย +ข้อโต้แย้ง ไปสู่การประสม,การสังเคราะห์ เฮเกลเชื่อว่าทิศทางของประวัติศาสตร์นั้นสามารถพิจารณาได้เป็นช่วง ๆ ที่มีเป้าหมายไปสู่ความสมบูรณ์และจริงแท้ เขากล่าวว่าหลายครั้งพัฒนาการจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็อาจมีบางช่วงที่ต้องมีการต่อสู้และเลี่ยนแปลงผู้ทีอยู่ในอำนาจเดิม มาร์กซ์ยอมรับภาพรวมของประวัติศาสตร์ตามที่เฮเกลเสนอ อย่างไรก็ตามเฮเกลนั้นเป็นนักปรัชญาแนวจิตนิยม ส่นมาร์กซ์นั้นต้องการจะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในรูปของวัตถุ เขาได้เขียนว่านักปรัชญาสายเฮเกลนั้นวางความเป็นจริงไว้บนหัวดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องจับมันให้วางเสียใหม่บนเท้าของตนเอง
     ในการยอมรับวิภาษวิธีเชิงวัตถุ ซึ่งเป็ฯการปฏิบเสธแนวคิดแบบจิตนิยมของเฮเกลนั้น มาร์กซ์ได้รับอิทธิพลมาจาก ลุควิก ฟอยเออร์บาค ในหนังสือ ฟอยเออร์บาคได้อธเบายว่าพระเจ้านั้น คือพลงานสร้างสรรค์ขอมนุษย์ และคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ผู้คนยกย่องพระเจ้า แม้จริงแล้วเป็นคุณลักษณะของความเป็นมนุษย์นั่นเอง มาร์กอธิบายว่า โลกวัตถุนั้นเป็นโลกที่แท้จริงส่วนแนวคิดต่าง ๆ เกียวกับโลกนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผลสืบเนื่องมาจากโลกวัตถุ แม้ว่ามาร์กซ์จะเชื่อเช่นเดีวกับเฮเกิลและนักปรัชญาคนอื่นๆ ในการแบ่งแยกโลกที่ปรากฎกับโลกที่แท้จริง เขาไม่เชื่อว่าโลกวัตถุนั้นจะซ่อนโลกที่แท้จริงทางจิตเอาไว้ ในทางกลับกัน มาร์กซ์ยังเชื่อว่าอุดมการณ์ที่ถูกสร้างฝ่านทางประวัติศาสตร์และกระบวนการสังคมนั้น เป็นสิ่งทีปิดบังไม่ให้ผู้คนเห็นสถานทางวัตถุที่แท้จริงในชีวิตของพวกเขา
     ผลงานอีกชิ้น ที่มีส่วนสำคัญในการปรับปรุงแนวคิดของเฮเกลของมาร์กซ คือ หนังสือที่เขียนโดย ฟรีดริช เองิงิลส์ ชื่อว่า “สภาพของชนชั้นกรรมาชีพในอังกฤษในปี 1844 หนังสือเล่มนี้ทำให้มาร์กซมองวิภาษวิธีเชิงประวัติศสตร์ออกมาในรุ)ของความขัดแย้งระหว่างชนชั้น และมองเป็นว่าชนชั้นกรรมาชีพสมัยใหม่จะเป็นแรงผลักดันที่ก้าวหน้าที่สุดสำหรับการปฏิวัติ
     ปรัชญาของมาร์กซ แนวคิดหลักของมาร์กซวางอยู่บนความเข้าใจเกี่ยวกบ แรงงาน โดยพื้นฐานแล้ว มาร์กซกล่าวว่ามนุษย์มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงสิ่งรอบข้าง เขาเรียกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ว่าการ ใช้แรงงาน และความมีพลังในการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า กำลังแรงงานสำหรับมาร์กแล้ว การใช้แรงงานนี้นอกจากจะเป็นคามสามารถโดยธรรมชาติของกิจกรรมต่าง ๆ ทางกายภาพแล้ว แรงงานยังเกี่ยวช้องอย่างชักซึ้งกับความคิดและจินตนการของมนุษย์ด้วย
      “แมงมุมทำกิจกรรมที่ไม่ต่างไปจากช่างทอฟ้า และการสร้างรังของูงผึ่งก็สามรถทำให้สถาปนิกต้องอับอายได้ แต่ความแตกต่างระหว่างสถาปนิกที่แย่ที่สุดกับผึ้งที่เยียมยอมที่สุดก็คื อสถาปนิกนั้นวาดภาพโครงสร้างของเขาในจินตนาการ ก่อนที่จะสร้างมันขึ้นมาในโลกความเป็นจริง”
      นอกเหนือจากการที่อ้างว่าความสามารถของมนุษย์คือการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติแล้ว มาร์กซมิได้ใช้ข้ออ้างอื่น ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์อีกเลย
     มาร์กซอธิบายความเปลี่ยนแปลบางอย่างกับมนุษย์ โดยการเปรียบเทียบระหว่า “ธรรมชาติ”กับ “ประวัติศาสตร์”หลายครั้งพวกเขาจะกว่าวว่า “สภาพการมีอยู่นำหน้าสำนึก” นั่นคือใครคนหนึ่งจะเป็นอย่างใดนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งแห่งหนและเวลาที่เขาอยู่ สถาพทางสังคมมีอำนาจมากกว่าพฤติกรรมดั้งเดิม หรืออาจกล่าวได้ว่าลักษณะสำคัญของมนุษย์คือการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เขาอธิบายว่า การทำงานนั้นเป็นกิจกรรมทางสังคม และเงื่อนไขรวมถึงรูปแบบของการทำงานนั้นถูกกำหนดโดยสังคมและเปลี่ยนแปลงตามเวลา
     รูปแบบการผลิต การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของมาร์กซนั้นว่างอยู่บนความแตกต่างระหว่าง ปัจจัยการผลิต และความสัมพันธ์เชิงสังคมของการผลิต โดยมาร์กซสังเกตว่าในสังคมหนึ่ง ๆ รูปแบบการผลิตนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย สำหรับสังคมทางยุโรปนั้นมีรูปแบบในการพัฒนาดดยเริ่มจากรูปแบบการผลิตแบบศักดินา ไปจนถึงรูปแบบการผลิตแบบทุนนิยม โดยทั่งไปแล้ว มาร์กซเชื่อว่าปัจจัยการผลิตนั้นเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วมากกว่าความสัมพันธ์ของการผลิต
      ในการพิจารณาความสัมพันธ์เชิงสังคมของการผลิตนั้น มาร์กซไม่ได้มองแค่ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกแต่ละคน แต่ยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคน หรือกลุ่มชนชั้น มาร์กซมิได้นิยาม “ชนชั้น”ขึ้นมาโดยอาศัยใช้เพียงแคการบรรยายแบอัตวิสัย เท่านั้น หากแต่ว่าเขายังพยายามจะนิยามชนชั้นด้วยเงื่อนไขที่เป็นแบบวัตถุวิสัย ด้วยเช่นการเข้าถึงทรัพยากรในการผลิต
     มาร์กซให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับกำลังแรงงาน ซึ่งเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่สุดของมนุษย์เอง ในการอธิบายความสัมพันธ์โดยละเอียด มาร์กซทำโดยผ่านทางปัญหารความแปลงแยก ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงาน กล่าวคือเมื่อกำลังแรงงานได้ถูกใช้ไปในการผลิตแต่เมือกิจกรรมนั้นสิ้นสุดลงกรรมสิทธิของผลลัพธ์ที่ได้กลับตกไปเป็นของนายทุน นั่งคือมองได้ว่าเป็นการละทิ้งกรรมสิทธ์ในกำลังแรงงานของตนเอง สภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดความแปลกแยกจากธรรมชาติของตนเอง และก่อให้เกิดความรู้สึกเสียครั้งยิงใหญ่ ภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดสภาพการคลั่งไคล้โภคภัณฑ์ ซึ่งผู้คนจะคิดว่าสิ่งสำคัญที่พวกเขาสร้างขึ้นก็คือสินค้า ความสำคัญทุกอย่งจะกถ่านโอนไปที่วัตถุรอบกายแทนที่จะเป็นผุ้คนด้วยกันเอง ปลังจากนันผู้คนจะมองเห็นและเข้าใจตนเองผ่านทางความสัมพันธ์กับทรัพย์สินหรือสินค้าที่ตนเองครอบครองไว้เท่านั้น
     การคลั่งไคล้โภคภัฒฑ์นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของสิ่งที่เองเงิลส์เรียกว่า สำนึกที่ผิดพลาด ซึ่งเกี่ยวกับความเข้าใจในเรื่องของอุดมการณ์ ซึ่งมาร์กซและเองเงิลส์ได้ให้ความหายว่าเป้นความคิดที่สะท้อนผลประโยชน์ของบางชนชั้นในบางช่วงเวลาในประวัติศาสตร์แต่กลับถูกแสดงว่าเป็นวามเชื่อที่ถูกต้องสำหรับทุก ๆ ชนชั้นและทุก ๆเวลา ในความคิดของพวกเขานั้น ความเชื่อดังกล่าวมิได้เป็นเพียงแค่สิ่งทีผิดพลาดเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งท่ำหน้าที่สำคัญทางการเมืองด้วย หล่าวในอีกนัยหนึ่งได้ว่า การควบคุมที่ชนชั้นหนึ่ง ๆ กระทำฝ่านทางการครอบครองเครื่องมือการผลิตนั้นมิได้เกิดขึ้นเฉพาะกับการผลิตอาหารหรือสินค้าเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับการผลิตความคิดหรือความเชื่อด้วยเช่นกัน ความคิดนี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบายว่าทำไม่สมาชิกของชนชั้นที่ถูกกดขี่จึงยังมีความเชื่อที่ขัดแย้งกับผลประโยช์ของตนเอง ดังน้นแม้ว่าความเชื่อบางอย่างจะผิดพลาดแต่มันก็ยงเผยให้เห็นความจริงบางอย่างที่ถูกซ่อนไว้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการเมือง ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อที่ว่าสิ่งของที่คนผลิตขั้นจั้นมีผลิตผลมากกวาคนที่ผลิตมันขึ้นมานั้นอาจฟังประหลาด แต่มันก็แสดงให้เห็น ว่าผุ้คนภายใต้ระบบทุนนิยมนั้นถูกทำให้ปลแยกจากกำลังแรงงานของตนเอง อีกตัวอย่างหนึ่งพบได้ในการทำความเข้าจเกี่ยวกับศาสนาโดยมาร์กซ ที่สรุปได้ในยอ่ห้ารทหนึ่งของ Contribution to the Critique of Hegel’s “Philosophy of Right”
     ความทุกข์ทางศาสนานั้นเป็นทั้งการแสดงออกของความทุกข์แท้จริงและการประท้วงไม่ยอมแพ้ต่อความทุกข์ที่แท้จริง ศาสนาคือเสียงกรีดร้องของสิ่งมีชีวิตที่ถูกกดขี่ หัวใจของโลกที่ไร้กัวใจและวิญญาณของสภาพไร้วิญญาณ มันคือฝ่นของมวลชน แม้ว่าในงานวิทยานิพนธ์ระดับเตรียมอุดมศึกษาเขาเคยอ้างว่าหน้าที่หลักของศาสนาคือการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ในที่นี้มาร์กซมองว่าศาสนานั้นเป็นเครื่องมือทางสังคมสำหรับการแสดงออกและจัดการกับความเหลื่อมลำนั้นเอง

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

WWII:Nuclear

        หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ภาคพื้นยุโรปสิ้นสุดลง ทหารโซเวียตและทหารฝ่ายพันธมิตรตะวันตกต่างก็ขยายพื้นที่ของตนยไปสู่แนวแม่น้ำเอลเบอร์ ในขณะที่ทหารของฝรั่งเศสบางส่วนยังปักหลักอยู่ในเยอรมันตะวันตกเฉียงใต้
     ระหว่างวันที่ 17 มิถุนา-2 สิงหา 1945 ฝ่ายสัมพันธมิตรบรรลุข้อตกลงพอทสดัม ซึ่งกำหนดให้แบ่งเยอรมันออกเป็น 4 ส่วนโดยแต่ละส่วนจะถูกปกครองโดยชาติที่ครอบครองดินแดนในส่วนนั้นอยู่ก่อนหน้าสงครามจะยุติกรุงเบอร์ลินซึ่งเป็นเมืองหลวงของเยอรมันก็จะถูกแบ่ง 4 ส่วนโดยแต่ละส่วนจะถูกปกครองโดยชาติที่ครอบครองดินแดนในส่วนนั้นอยู่ก่อนหน้าสงครามจะยุติกรุงเบอร์ลินตั้งอยู่ในพื้นที่ของสหภาพโซเวียตทำให้กรุงเบอร์ลินส่วนที่เป็นของสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศสและอังกฤษ ถูกล้อมรอบด้วยทหารโซเวียต
    ญี่ปุ่นถูกโจมตีอย่างหนักที่เมืองนาโงย่า และ โยโกฮามา ซึ่งเป็นเมืองท่าและฐานทัพเรือที่สำคัญของญี่ปุ่น และที่เมืองโอซาก้า ญี่ปุ่นถอนทัพออกจากจีน พลเอกดักลาสแมคอาเธอร์ ปลดปล่อยฟิลิปปินส์
     สหรัฐแมริกา อังกฤษและแคนาดา ได้ร่วมมือกันตั้งโครงการลับ “ทูบอัลลอยด์”และสถานีวิจัยคลาด รีเวอร์” เพื่อออกแบบและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ลูกแรก ภายใต้โครงการที่เรียกว่า “โครงการแมนฮัตตัน”ภายใต้การค้นคว้าวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ และนักฟิสิกส์อเมริกัน ในวันที่ 10-11 พฤษภา ได้มีการคัดเลือกเป้าหมาย โครงการแมนฮัติตัน ได้แนะนำเป้าหมายสำหรับระเบิดลูกแรก คือ เกียวโต,ฮิโรชิม่า,โยโกฮามา โดยใช้เงื่อนไขที่ว่า เป้าหมายต้องมีพ้นที่ขนาดใหญ่เส้นฝ่าสูนย์กลางประมาณ 3 ไมล์และเป็นเขตชุมชนที่สำคัญขนาดใหญ่ ระเบิดต้องสามารถทำลายล้างความเสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมายมียุทโธปกรณ์และที่ตั้งของทหารต้องได้รับการระบุที่ตั้งแน่นอนเพื่อป้องกันหากการทิ้งระเบิดเกิดข้อผิดพลาด

  
  การทิ้งระเบิดที่ฮิโรชิม่า และ นางาซากิ ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ โดยคำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮรี่ เอส.ทรูแมน หลังการทิ้งระเบิดเพลิงตามเมืองต่าง ๆ 76 เมื่องอย่างหนักหน่วงเป็นเวลาติดต่อกัน 6 เดือน สหรัฐอเมริกาจึงได้ทิ้ง “ระเบิดปรมณู”หรือ “นิวเคลียร์” โดยลูกแรก  Little boy ทิ้งที่เมืองฮิโรชิม่า ในวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม 1945 และตามด้วย Fatman ลูกที่สองที่เมืองนางาซากิ โดยให้จุดระเบิดเหนือเมืองเล็กน้อย เป็นระเบิดนิวเคลียร์เพียง 2 ลูกเท่านั้นที่นำมาใช้ในการสงคราม
     การระเบิดทำให้มีผุ้เสียชีวิตที่ฮิโรชิมา 140,000 คนและที่นะงะซะกิ 80,000 คนโดยนับถึงปลายปี 1945 จำนวนคนที่เสียชีวิตทันทีในวันที่ระเบิดลงมีจำนวนประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่กล่าวนี้ และในระยะต่อมาก็มีผู้เสียชีวิตด้วยการบาดเจ็บหรือจากการรับกัมมันตภาพรังสีที่ถูกปลอปล่อยออกมาจาการระเบิดอีกนับหมื่อนคน ผู้เสียชีวิตเกือบทั้งหมดในทั้ง 2 เมืองเป็นพลเรือน
     หลังการทิ้งระเบิดลูกที่สองเป็นเวลา 6 วัน ญี่ปุ่นประกาศตกลงยอมแพ้สงครามต่อฝ่ายพันธมิตร ในวันที่ 15 สิงหาคม 1945 และลงนามในตราสารประกาศยอมแพ้สงครามมหาสมุทรแปซิฟิกที่นังเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายน 1945
      "ฮิบะกุชะ"
ผู้รอดชีิวิตจากเหตุการณ์ระเบิดในครั้งนั้น เรียกจุดที่ระเบิดถูกทิ้งที่ฮิโรชิม่าว่า "ฮิบะกุชะ" ซึ่งมีความหมายว่า"จุดระเบิดที่มีผลกระทบต่อชาวญีี่ปุ่น" ด้วเหตุนี้ ญี่ปุ่น จึงมีนโยบายต่อต้านการใช้ระเบิดปรมณู ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และประกาศเจตนาให้โลกรู้ว่า ญี่ปุ่นมีนโยบายจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ ในวันที่ 31 เดือนมีนาคม 2008 "ฮิบะกุชะ" มีรายชื่อผุ้เสียชีวิตจากทั้งสองเมืองของญี่ปุ่นที่ถูกจารึกไว้ประมาณ 243,692 คน และในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน มีรายชื่อผู้เสียชีวิตที่ถูกจารึกไว้เพิ่มขึ้นมากกว่า 400,000 คน โดยแบ่งออกเป็น เมืองฮิโรชิมะ 258,310 คน และเมืองนางาซากิ 145,984 คน เป็นประชากรเกาหลีที่ญี่ปุ่นเกณฑ์แรงงานไปใช้มากกว่า 1ใน 7 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด อย่างไรก็ตามผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์นี้ได้รับการเยียวยาภายใต้กฎหมายปัจจุบัน





วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

WWII:Okinawa

                 “ซากุระลาต้นในวันนี้ จะบานซะพรั่งที่ คุดัน”

     (คุดันคือ พื้นที่หนึ่ในโตเกียวซึ่งเป็นที่ตั้งศาลเจ้าในศาสนาชินโต “ยาสุกุนิ” ซึ่งเป็นที่สถิตของป้ายชื่อเพื่อสักการะดวงวิญญาฯของทหารญี่ปุ่นที่เสียชีวิตในสงคราม ซึ่งเชื่อกันว่ายังคงเร่ร่อนอยู่ในบริเวณนั้น แม้ในปัจจุบันก็ยังมัการเคารพสักการะเช่นเก่าก่อน)

images
     โอกินาวา คือเกาะใหญ่หนึ่งในหมู่เกาะริวกิว ห่างจากโตเดียวผระมาณ  400  ไม่ล์ทะเล เป็นามรภูมิตสุดท้ายในสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนที่ญี่ปุ่นจะถูกโจมตีด้วยระเบิดปรมาณู
     ญี่ปุ่นในอดีตนั้น ชาตินิยมยูชาลัทธิทหารที่สืบทอดคติแบบซามูไร ที่เรียกว่า “บูชิโด”ไม่มีการยอมแพ้ การยึดถือในหมู่ทหารในการทำ “ฮาราคีรี”(การคว้านทองตนเอง) เพื่อราชพลี มีการปลูกฝั่งว่า จะต้องไม่ตกเป็นเฉลยไม่ว่ากรณีใดๆ ความเชื่อที่ว่าส่งผลให้เกิดความสูญเสียชีวิตกว่าแสนคนทั้งสองฝ่าย
       ยุทธการโอกินะวะ หรือชื่อรหัส ปฏิบัติการภูเขาน้ำแข็ง Operation Iceberg เป็นการสู้รบบนหมู่เกาะริวกีวของโอกินะวะและเป็นสงครามสะเทินน้ำสะเทินบกขนาดใหญ่ที่สุดในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก กว่า 3 เดือน การดำเนินการสู้รบแบบกระโดดไปทีละเกาะอันยาวนาน สัมพันธมิตรก็ได้เข้ามาใกล็ประเทศญี่ปุ่น สัมพันธมิตรวางแผนที่จะใช้โอกินะวะที่เป็นเกาะขนาดใหญ่เป็นฐานบินสำหรับปฏิบัติการตามแผนการบุกแผ่นดินใหญ่ญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อรหัส ดาวน์ฟอลซึ่งถูกยกเลิกเมื่อญี่ปุ่นยอมจำนนหลังการทิ้งระเบิดนิวเลียร์
    4 กองพลจากกองทัพสหรัฐและนาวิกโยธิน 2 กองพล ต่อสู้บนเกาะขณะที่นาวิกโยธินเป็นกองหนุนลอยลำแต่ไม่ยกพลขึ้นฝั่ง การบุกได้รับการสนับสนุนจากกองทัพเรือ กำลังรบสะเทินน้ำสะเทินบก และกองทัพอากาศยุทธวิธี ยุทธการนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า Typhoon of steel (ไต้ฝุ่นเหล็ก)ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่ เทะสึ โนะอะเมะ “ฝนเหล็ก” เทะสค โนะ โบฟู “ลมเหล็กกรรโชก”เป็นชื่อเรียกที่มาจากความโหดร้าย กระสุนปืนที่ปลิวว่อนความรุนแรงของการโจมตีแบบกามิกาเซ่ และจำนวนเรือและยายพาหนะของฝ่ายสัมพันธมิตรที่จู่โจมสู่เกาะ เป็นการบที่มีจำนวนคนตายหรือได้รับบาดเจ็บสูงสุดสมรภูมิหนึ่งในสงครามมหาสมุทรแปซิฟก ญี่ปุ่นสูญเสียทหารกว่า แสนนาย สัมพันธมิตรสูญเสียทหารกว่า 50,000 นาย ประชาชนเสียชีวิตจากภัยสงครามมากกว่าแสนคน
     กองกำลังภาคพื้นดิน กองทัพที่ 10 มีกำลังพลทหาร 102,000 นาย และนาวิกโยธิน 91,000 นาย บังคับบัญชาโดยพลโท ซิมมอน โบลิเวอร์ บักเนอร์ จูเนียร์ มี 2 กองทัพน้อยใต้บังคับบัญชา
     กองกำลังภาคพื้นดินของญี่ปุ่น(กองกำลังป้องกันหลัก)ประกอบด้วยทหาร 67,000 นายจกากองทัพภาคที่ 32 และกองทหารของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น อีก 9,000 นาย มีกองหนุนเป็นชาวริวกีวที่เกณฑ์มากว่า 40,000 คนกองหนุนส่วนหลังอี่ 24,000 คนและกรรมกรอีก 15,000 คน องค์กรเด็กชายมัธยมต้นชั้นปีสุดท้าย “หน่วยอาสาสมัครเหล็กและเลือด” 1,500 คนปฏิบัติการในแนวหน้า และมีการจัดตั้งนักเรียนฮิเมะยุริ 600 คนเป็นหน่วยพยาบาล
     เรือยามาโต้ ได้รับคำสั่งให้เข้าปฏิบัติการซึ่งเรียกว่า “ดอกเบญจมาศลอยน้ำ”โดยมีภารกิจให้ทำการล่อฝูงบินอเมริกันให้ออกจาน่านน้ำในเกาะโอกินาวา เพื่อเปิดโอกาสให้ฝูงบินกามิกาเซ่ซึ่งเป็นอาวุธเพียงอย่างเดียวที่สร้างความเสียหายให้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นอย่างมากเข้าโจมตีกองทัพเรือสหรัฐ  ปฏิบัติการครั้งนี้เรียกว่า “วันเวย์ทิคเก็ต” คือมีน้ำมันเชื่อเพลิงเพียงแค่เทียวเดียว ! ทางเรือยามาโต้เองก็รู้ว่าการส่งเรือประจัญบานไปล่อเครื่องบินหลายร้อยลำก็เท่ากับส่งลูกเรือกว่า 3,000 กว่าคนไปตาย ซึ่งไม่ต่างจากฝูงบินกามิกาเซ่ที่บรรทุกระเบิดขนาดหนักเพื่อบินเข้าชนเรือรบอเมริกา เรื่อยามาโต้จึงได้รับฉายาว่า “ยักษ์ใหญ่แห่งกามิกาเซ่”
     สุดท้ายเรือยามาโต้เดินทางไปไม่ถึงโอกินาว่า สหรัฐอเมริกาสามารถจับสัญญาณวิทยุได้ส่งเครื่องบินกว่า 400 ลำรุมทิ้งระเบิดรือยามาโต้เป็นเวลาเกือบสองวัน และยามาโต้ก็จมลงสู่ก้นทะเลพร้อมลูกเรือเกือบ 2,500 นาย รอดชีวิตเพียง 269 คนเท่านั้น

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

WWII:Berlin



เบอร์ลินตั้งอยู่ยนแม่น้ำสปรี และฮาเฟลทางตะวันออกเฉยงเหนือของเยอรมันห้อมล้อมด้วยรัฐบราเดนบวร์ก มีพื้นที่ 891 ตารางกิโลเมตร ในสมัยก่อน เบอร์ลินเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบรานเดนบวร์กก่อนจะแยกการปกครองออกเป็นนครรัฐต่างหากรัฐหนึ่งชื่อเบอร์ลินนั้นไม่ทราบที่มา แต่อาจเกี่ยวข้องกับหน่วยคำภาษาโปลาเบียนเก่า ซึ่งหมายความว่าหนองน้ำ สงครามสามสิบปีทำให้เบอร์ลินได้รับความเสียหายใหญ่หลวง บ้านเรื่อนหนึ่งในสามเสียหายประชากรลดเหลือครึ่งเดียว เฟรเดอริก วิลเลียม “เจ้าชายผู้ยิ่งใหญ่”ซึ่งสืบอำนาจเป็นผุ้ปกครองต่อจาก จอร์จ วิลเลี ยม ผู้บิดา ได้ริเริ่มนโยบายส่งเสริมการอพยพย้ายถิ่นและเสรีภาพในการนับถือศษสนาด้วยกฤษฎีกาแห่งพอทสดัม เฟรเดอริกได้เสนอที่ลี้ภัยให้กับพวกฮิวเกอโนต์ซึ่งเป็นพวกโปตเตสแตนท์ชาวฝรั่งเศส ฮิวเกอโนต์กว่า หมื่นห้ามัน ได้มายังบรานเดนบวร์ก หกพันคนตั้งถ่นฐานในเบอร์ลิน ปีพ.ศ. 1700 ร้อยละยี่สิบของผู้อยู่อาศัยในเบอร์ลินเป็นชาวฝรั่งเศส และอิทธิพลทางวัฒนธรรมของนั้นมีต่อเบอร์ลินเป็นอย่างมาก   ผู้อพยพอื่นๆ จำนวนมากมาจาก โบฮิเมีย โปแลนด์ และซาลซ์บูร์ก…
     กองทัพแดงเข้าประชิดปรัสเซียภายใต้การบัญชาการของจอมพล จอร์จี้ ซูคอฟ เยรมันล่าถอยครั้งใหญ่กองทัพโซเวียตปลดปล่อยลิธัวเนีย ทัพโซเวียตข้ามแม่นำโอเดอร์เพื่อเข้าตีเยอรมัน เยอรมันในเบลเยี่มมล่าถอยแนวต้านทานแห่งสุดท้ายของเยอรมันที่แม่นน้ำไรน์แตก รัสเซียปลดปล่อยบูดาเปสต์ โดยเวียตฌจมตีเยอรมันในฮังการี กองทัพ
     การรบแห่งเบอร์ลินเป็นสมรภูมิสุดท้ายแห่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ในภาคพื้นยุโรปและเป็นหนึ่งในสมรภูมิที่สำคัญของสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพแดงขนาดมหึมาบุกขยี่กองทัพนาซีตอลดทางกระทั่งกรุงเบอร์ลิน
     เยอรมันโจมตีตอบโต้โดยใช้กองทัพที่สร้างขึ้นมาใหม่ที่เรียกว่า วิสตูลา Army Group Vistura ภายใต้การบัญชาการของนายพลเฮนริก ฮิมเลอร์ ผู้บัญชาการของหน่วนเอสเอส แต่ก็ประสบความล้มเหลว นอกจากนี้กองทัพเยอรมันยังขาดน้ำมันในการต่อสู้และผลิตอาวุธ
     การสู้รบรอบๆ กรุงเบอร์ลินเปิดฉากขึ้น กองกำลังป้องกันเบอร์ลินประกอบด้วย ทหารจากกองทัพบกเยอรมัน ทหารในหน่วย SS ประจำกรุงเบอร์ลิน ยุวชนฮิตเลอร์ ตำรวจและประชาชนอาศัยอยู่ในกรุงเบอร์ลิน ความหวาดกลัวคอมมิวนิสต์และด้วยศักดิ์ศรีของชนชาติเยอรมัน เยอรมันจึงจำเป็นต้องต่อสู้ไปจนถึงที่สุด บ้างก็ถูกฆ่า บ้างก็ยกธงขาวยอมจำนน กองทัพแดงรุกต่อกระทั้งถึงศูนย์กลางกรุงเบอร์ลิน “อเล็กซานเดอร์พาซ”สถานที่ตรงนี้ในช่วงศตวรรษที่ 19 กษัตริย์ของรัสเซียพระเจ้าซาร์ อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ได้มาเยือนกรุงเบอร์ลิน เยอรมันจึงตั้งชื่อสถานที่ที่กำลังก่อสร้างในขณะนั้นให้เป็นชื่อของพระองค์รวมทั้งตลาดสาธารณะ บริเวณนี้เป็นสถนีขนส่งมวลขนของกรุงเยอร์ลิน อยู่ใจกลางเมืองและใกล้ๆกับแม่น้ำสพรี เกิดการต่อสู้กันอย่างหนักที่สภาไรค์ชดาร์ก ฝ่ายเอยมันต้องรักษาสภาไว้ให้ได้เพราะเป็นเสมือนสัญลักษณ์แห่งอำนาจของพรรคนาซีและฮิตเลอร์ ฝ่ายโซเวียตก็ต้องการยึดไว้ให้ได้ เพื่อนำธงแดงของสหภาพโซเวียตไปโบกบนสภาเป้นการประกาศชัยชนะ และแสดงการล่มสลายของนาซีและฮิตเลอร์เช่นกัน การต่อสู้แบบประชิดตัวเป็นไปอย่างดุเดือด ทหารต่างด้าวในหน่วย SS มีฝีมือในการรบเพราะการกรำศึกมามากและเชื่อในลัทธิสงครามที่ว่าเยอรมันจะไม่มีวันแพ้
      นายพลเฮนิกซี่ถูกปลดออกจาตำแน่งผู้บังคับบัญชากากรป้องกันกรุงเบอร์ลิน เนื่องจากปฏิเสธคำสังที่ให้หยุดยั้งกองทัพแดงเนืองจากเห็นว่าไม่มีประโยชน์อีกต่อไปที่จะต้านทานกองทัพแดง ฮิตเลอร์แต่งตั้ง นายพล สติวเอนท์ เข้ารับตำแหน่งในวันต่อมา คือวันที่ 30 เมษายน ซึ่งเป็นวันเดียวกับฮิตเลอร์กระทำอัตวินิบาตกรรมในบังเกอร์ผู้นำพร้อมกับ เอวา บราวน์ ภรรยาของเขา ซึ่งพึ่งแต่งงานกอ่นหน้านี้เพียงวันเดียว
     ในที่สุดผุ้บัญชากากรป้องกันกรุงเบอร์ลินนายพลไวด์ลิงค์ ก็ยอมจำนนต่อกองทัพแดงและยกเมืองให้แก่สหภาพโซเวียตควบคุมในวันที่ 2 พฤษภาคม 1945
       Victory in Europe Day หรือ Ve Day คือวันที่ 7-8 พฤษภาคม 1945 วันที่ฝ่ายสัมพันธมิตรยอมรับการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของนาซีเยอรมัน หลังจากฮิตเลอร์ฆ่าตัวตายในวันที่ 30 เมษายน ตำแหน่งประธานาธิบดีเยอรมันตกเป็นของ คาร์ล เดอนิตช์ เขาลงนามในสนธิสัญญายอมจำนนในวันที่ 7 พฤษภาคม ในเมืองแรมส์ ฝรั่งเศสและวันที่ 8 พฤษภาคม ในกรุงเบอร์ลิน เยอรมัน
     การเฉลิมฉลอง ในวันนั้น ได้มีการจัการเฉลิมฉลองกันครั้งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงลอนดอน ซึ่งประชาชนชาวอังกฤษกว่าล้านคนได้พากันมาเฉลิมฉลองกันในบรรยากาศการเล่นรืนเรองในการสิ้นสุดสงครามในทวีปยุโรป แม้ว่าการปันส่วนอาหารและเสื่อฝ้าจะยังคงกินเวลาต่อไปอีหลายปี และในความเป็นจริงแล้วการปันส่วนอาหารกินเวลายาวนานยิ่งกว่าช่วงเวลาของสงครามอีก ฝูงชนได้มารวมตัวกันที่จัตตุรัสทราฟัลการ์ ไปจนถึงพระราชวังบักกิงแฮม ที่ซึ่งพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระราชินีเอลิซาเบธและนายกรัฐมนตรี วินสตัน เชอร์ชิลล์และเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตได้รับอนุญาติให้เดินปะปนอยู่กับฝูงชนที่มาชุมนุมนั้น และมีส่วนร่วมในการเฉลิมฉลองด้วย
     ในสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมน ผู้ซึ่งจัดงานวันเกิดครบรอบ 61 ปีของเขาเอง ได้อุทิศชัยชนะเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีคนก่อนหน้าแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต เพราะว่าเขาได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ยุติสงคราม โรสเวลต์ถึงแก่อสัญกรรมไม่กี่เดือนก่อนหน้าการยอมจำนนจะเกิดขึ้น ในวันที่ 12 เมษายน ฝูงชนจำนวนมากมารวมตัวกันที่ ชิคาโก ลอสแองเจิลลิส ไม่อามี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไทม์สแควร์ ในนครนิวยอร์ก
     สหภาพโซเวียตและประชาชนจำนวนมากได้จัดงานเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะ ในมหาสงครามของผู้รักชาตอันยิ่งใหญ่ในวันที่ 9 พฤษภาคมแทน

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

WWII:Bertrayal Yalta

     เป็นคำที่ใช้กันในกลุ่มประเทศยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโปแลนด์และสาธารณรัฐเช็คซึ่งหมายความถึงนโยบายด้านการต่างประเทศของกลุ่มประเทศตะวันตกหลายประเทศซึ่งได้ละเลยสนธิสัญญาพันธมิตรและข้อตกลงหลายฉบับในสนธิสัญญาแวร์ซาย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปจนถึงสมัยสงครามเย็นซึ่งมีสาเหตุจากการหลอกลวงและทรยศ ซึ่งเป้นผลมาจากความจริงที่ว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกซึ่งแม้จะได้รับการสนับสนุนให้เกิดระบอบประชาธิปไตย การลงนามในสนธิสัญญและก่อตั้งพันธมิตรทางการทหารทั้งก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กระนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกกลับทรยศพันธมิตรของตนในยุโรปกลางโดยการละเลยที่จะปฏิบัติตามข้อผูกมัดตามสนธิสัญญา อาทิ การไม่ช่วยป้องกนนาซีเยอรมันจากการึดครองเชโกสโลวาเกีย แต่กลับบกให้ในข้อตกลงมิวนิก หรือการทอดท้งโปแลนด์ให้รับมือกับเยอรมันและสหภาพโซเวียตตามลำพังระหว่างการบุกครองโปแลนด์ และการลุกฮือในกรุงวอร์ซอ ในปี 1944
     นอกจากนี้ สัมพันธมติรตะวันตกยังได้ลงนามในข้อตกลงยอลตา และภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองก็ไม่ให้การป้องกันหรือยื่นมือเข้ามาช่วยเลหือรัฐเลห่านี้จาการตกอยู่ภายใต้อิทธิพลและการควบคุมของสหภาพโซเวียตของสหภาพโซเวียตและระหว่างการปฏิวัติฮังการี 1956 ฮังการีก็ไม่ได้รับทั้งการสนับสนุนทั้งทางทหารและการสนับสนุนในด้านกำลังใจจากฝฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกเลยและทำให้การปฏิบัติถูกปราบปรามโดยกองทัพแดงในที่สุ สถานการณ์เดียกันเกิดขึ้นอีครั้งในปี 1968 เมื่อกองทัพร่วมของกลุ่มประเทศสนธิสัญญาวอร์ซอเพื่อกำจัดยุคฤดูใบไม้ผลิปรากในเชโกสโลวาเกียปละยุติการเปลี่ยนแปลงการปกครองกลัยสู่ระบอบคมอมิวนิสต์ดังเกิม ดังที่ได้เกิดความกังวลในการประชุมยอลต้า แนวคิดของมัก็ถูกโต้เถียงกันโดยนักประวัติศสตร์มองว่าการที่นายรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิลล์และปรธานาธิบดีแห่งสหรัฐแมริกา แผรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากยอมรับความต้องการของผู้นำโซเวียต โจเซฟ สตาลิน ทั้งในการประชุมเตหะรานและในการประชุมครั้งนี้ อย่างไรก็ตามฝ่ายสัมพันธ์มิตรตะวันตกเองก็ได้ประเมินอำนาจของสหภาพโซเวียตผิดไปบ้าง เช่นเดียวกับที่ประเมินนาซีเยอรมันผิดไปหนึ่งทศวรรษก่อนหน้านั้น  แต่ผู้สนับสนุนการประชุมยอลต้ามีแนวคิดว่าการประชุมในครั้งนี้เป็นการทรยศกลุ่มประเทศยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก โดยไม่มีการพิจารณาถึงชะตากรรมของโปแลนด์ในอนาคต
     กองกำลังโปแลนด์เป็นกองกำลังที่ต่อสู้นาซีเป็นเวลายาวนานกว่าประเทศอื่นใดในสงครามโลกครั้งที่สองและทำการรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับกองกำลังสหรัฐอเมริกา อังกฤษและโซเวียตในการทัพที่สำคัญหลายครั้งรวมไปถึงในยุทธการแห่งเบอร์ลินครั้งสุดท้าย ซึ่งกองกำลังติดอาวุธโปแลนด์ทางตะวันตกมีกว่า 250,000นายและ กว่าแสนแปดนายทางตะวันออก อีกว่าสามแสนนายทำการรบใต้ดินหรือในกองกำลังกู้ชาติ ในตอนปลายสงครามโลกครั้งสอง  กองทัพโปแลนด์มีจำนวนกว่า 600,000นายโดยที่ไม่นับกองกำลังกู้ชาติ ซึ่งทำให้โปแลนด์มีกองกำลังขนาดใญ่เป้ฯอันดับสี่ในสงคราม
     แต่กระนั้นประธานาธิบดีโรสเวลต์ก็ยังนิ่งนอนใจเมื่อรัฐบาลโปแลนด์ถูกอทนที่ด้วรัฐบาลหุ่นของโซเวียตโดยได้มีข้อสังเกตว่าโรสเวลต์ได้วางแยนที่จะมอบโปแลนด์ให้กับสตาลิน นักประวัติศาสตร์คนอื่น ๆ เสนอว่า เชอร์ชิลล์กระตุ้นให้โรสเวลต์ดำเนินกิจการทางทหารต่อในทวีปยุโรปแต่ต่อต้านสหภาพโซเวียต เพื่อป้องกันการแสวงหาดินแดนเพิ่มเติมจากพรมแดนของตนรูสเวลต์ดูเหมือนว่าจะเชื่อใจในการับประกันของสตาลินและปฏิเสธที่จะสนับสนุนการเจจาของเชอร์ชิลล์ในการรักษาเสรีภาพโดยปราศจากการหนุนหลังของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรที่เหนื่อยอ่อน อดอยากและแทบจะสิ้นเนือประดาตัวจึงไม่สามารถดำเนินการตามที่ตั้งใจไว้

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...