วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Communism

     ลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นขบวนการปฏิบัติสังคมนิยมเพื่อสถปนาระเบียบสังคมที่ปราศจากชนชั้น เงินและรัฐ โดยตั้งอยู่บนการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกัน เช่นเดียวกัยอุดมการณ์ทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจซึ่งมุ่งสถาปนาระเบียบสังคมนี้ ขบวนการดังกล่าว ในการตีความแบบลัท
ธิมากซ์-เลนิน มีอิทธพลอย่างสำคัญต่อประวัติศาสตร์ครอสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีการแข่งขันกันอุดเดือดระหว่าง “โลกสังคมนิยม” และโลกตะวันตก”
     ทฤษฎีลัทธิมาซ์ถือว่า คอมมิวนิสต์บริสุทธิ์หรือคอมมิวนิสต์สมบูรณ์เป็นขึ้นของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์โดยเจาะจงที่ถือกำเนิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากการพัฒนากำลังการผลิตซึ่งนำไปสู่ความมั่งคั่งทางวัตถุที่อุดมสมบูรณ์ เพื่อให้การแจกจ่ายยึดความต้องการและความสัมพันธ์ทางสังคมยึดตามปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้องกันอย่างเสรี นิยมที่แน่ชัดของคอมมิวนิสต์แตกต่างกัน และมักถูกเข้าใจผิด ในวจนิพนธ์การเมืองทั่วไป ว่ามช้แทนคำว่า สังคมนิยมได้ อยางไรก็ดี ทฤษฎีลัทธิมากซ์ยืนยันว่า สังคมนิยมเป็นเพียงขั้นเปลี่ยนผ่านบนวิถีสู่คอมมิวนิสต์ ลัทธิเลนินเพ่มแนวคิดพรรคการเมืองแนวหน้าเพื่อนำการปฏิบัติโดยชนชั้นกรรมมาชีพและเพื่อยึดอำนาจทางการเมืองทั้งหมดหลังการปฏิวัติเพื่อชนชั้นกรรมกร เพื่อการพัฒนาความตระหนักของชนชั้นทั่งโลกและการมีส่วนร่วมของกรรมกร ในขั้นเปลี่ยนผ่านระหว่างทุนนิยมกับสังคมนิยม
     ปัจจุบัน คอมมิวนิสต์มัใช้เรียกนโยบายของรัฐคอมมิวนิสต์ นั้นคือ รัฐที่ถูกควบคุมเบ็ดเสร็จโดยพรคอมมิวนิสต์ ไม่ว่าสาระของระบบเศรษฐกิจในทางปฏิบัติแท้จิรงแล้วเป็นอย่างไร ตัวอย่างเช่น นโยบายของสาธารฯรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งระบบเศรษฐกิจรวมไปถึง “โด่ย เหมย” สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งระบบเศรษฐกิจเป็น “เศรษฐกิจตลาดสังคมนิยม” และระบบเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียต ซึ่งอธิบายได้ว่าเป็น “ทุนนิยมโดยรัฐ”โดยนักสังคมนิยมที่มิใช่ลัทธิเลนิน และภายหลังโดยนักคอมมิวนิสต์ผู้คัดค้านแบบจำลองโซเวียตยุคหลังสตาลินมากขึ้น ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20
     รากฐานความคิดที่นำไปสู่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีมานานมากในตะวันตก นานกว่าแนวคิดมาร์กซ์และเองเกลส์ คือในยุคกรีกโบราณที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ถูกโยงเข้าไปเกี่ยวข้องกับตำนานเกี่ยวกับยุคทองของมนุษยชาติ ที่ ๆ สังคมอยู่ด้วยกันด้วยความสมัคคีปรองดองกันเสียก่อน จึงร่วมกันสร้างความงอกงามทางวัตถุในภายหลัง แต่บางคนก็แย้งว่า ตำราสาธารณรัฐ ของเพลโตและผลงานอื่น ๆ ของนักทฤษฎีรัฐศาสตร์ในยุคโบราณ เพียงแค่สนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์ในด้านการอยู่รวมกันในสังคมอย่างปรองดองเท่านั้น รวมหลาย ๆ นิกายในศาสนาคริสต์สมัยเก่า และเน้นเป็นพิเศษในโบสถ์สมัยเก่า ดังที่บันทึกไว้ในบัญญัติแห่งบรรดาอัครสาวก อีกทั้งชนเผ่าพื้นเมืองแห่งทวิปอเมริกาอ่กนยุคโคลัมบัสบุกเบิก ก็ยังปฏิบัติตามแรวคิดของลัทธิคอมมิวนิสต์ว่าด้วยการอยู่ด้วยกันเป็นสังคมและครอบครองวัตถุร่วมกัน รวมถึงอีกหลายๆ ชนชาติพยายามที่จะก่อตั้งสังคมคอมมิวนิสต์ได้แก่ นิกายเอซเซนแห่งยิว และนิกายยูดาทะเลทราย
      นักบุญ โทมัส มอร์ นักเขียนชาวอังกฤษกล่าวในหนังสือยูโทเปีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 16  ว่า สังคมทุกสังคมมีรากฐานอยู่ที่การครอบครองวัตถุชิ้นใดๆ ร่วมกัน โดยมีหัวหน้าอยู่หนึ่งคนหรือหนึ่งคณะที่มีหน้าทที่นำมันไปใช้ตามหลักแห่งเหตุและผลที่เหมาะสม
     คริสต์ศตวยรรษที่ 17 แนวคิดคอมมิวนิสต์ผุดขึ้นมาอีกครั้งในประเทศอังกฤษ เมื่อ เอ็ดเวิร์ด เบิร์นสไตน์ กล่าวในผลงานแห่งปี 1895 ของเขา คอรมเวลล์และคอมมิวนิสต์ อย่างเผ็ดร้อนว่ามีหลายกลุ่มในสงครามกลางเมืองอังกฤษ โดยเฉพาะพวกนักขุดหรือผู้เผยเปลือกใน ที่แสดงการสนับสนุนแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์อย่างชัดเจน เน้นความสำคัญไปที่บรรดาชาวไร่ชาวนา ซึ่งทัศนคติของ โอลิเวอร์ ครอมเวล ต่อคนกลุ่มนี้มีเป็นความรำคาญ หรือแม้กระทั่งแสดงความเป็นศัตรูต่อคนกลุ่มนี่อย่างชัดเจน ความไม่เห็นด้วยต่อการครอบครองวัตถุแต่เพียงผู้เดียวยังคงถูกแย้งมาโดยตลอด
       ยุคแสงสว่าง The Age of Enlightenment แห่งคริสต์ศตวรรษที 18 นักวิชาการชื่อดัง เช่น ชอง-ชาก รุสโว รวมถึงนักเขียนสังคมนิยมยูโทเปีย เช่น โรเบิร์ต โอเวน ซึ่งบรรดาบุคคลเหล่านี้ก็ถูกขนานนามว่าเป็นคอมมิวนิสต์ในบางครั้ง
       คาร์ล ไฮน์ริช มาร์กซ์ นักปรัชญา นักคอมมิวนิสต์ และนักปฏิวัติชาวเยรมัน ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของแนวคิดที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคอมมิวนิสต์ สมัยใหม่  มาร์กซ์สรุปแนวคิดของเขาในบรรทัดแรกของ คำประกาศเจตนาคมอมิวนิสต์ ว่า “ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมดที่ผ่านมากระทั่งปัจจุบันล้วนแต่เป็นปรัวติศาสตร์แห่งการต่อสู้ทางชนชั้น”
      มาร์กซ์ไม่ใช้เป้นปค่นักทฤษฎีทางสังคมและการเมือง แต่เขายังเป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการจัดตั้งสมาคมกรรมกรสากล “องค์กรสากลที่ 1 งานเขียนของเขาเป็แกนหลักของการเคลื่อนไหวในแนวทางคอมมิวนิสต์ สังคมนิยม ลัทธิเลนิน และลัทธิมาร์ก
     ความคิดของมาร์กซ์นั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากทั้งแนวคิดวิภาษวิธีประวัติศาสตร์ของเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล  และเศรษฐศาสตร์การเมืองของอดัม สมิท และเดวิด ริดคาร์โด เขาเชื่อในความเป็นไปได้ที่จะศึกษาประวัติศาสตร์และสังคมในลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ซึงจะทำให้เข้าใจแนวโน้มของประวัติศาสตร์รวมถึงผลลัพธ์ของข้อแย้งทางสังคมได้
     ปรัชญาของมาร์กซ์ นั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากแนวคิดของเฮเกิลที่ว่าความจริง นั้นจะต้องพิจารณาแบบวิภาษวิธี โดยมองว่าเป็นการปะทะกันของแรงคู่ตรงข้ามหลายครั้งแนวคิดนี้ถูกเขียนย่อว่า ข้อวินิจฉัย +ข้อโต้แย้ง ไปสู่การประสม,การสังเคราะห์ เฮเกลเชื่อว่าทิศทางของประวัติศาสตร์นั้นสามารถพิจารณาได้เป็นช่วง ๆ ที่มีเป้าหมายไปสู่ความสมบูรณ์และจริงแท้ เขากล่าวว่าหลายครั้งพัฒนาการจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็อาจมีบางช่วงที่ต้องมีการต่อสู้และเลี่ยนแปลงผู้ทีอยู่ในอำนาจเดิม มาร์กซ์ยอมรับภาพรวมของประวัติศาสตร์ตามที่เฮเกลเสนอ อย่างไรก็ตามเฮเกลนั้นเป็นนักปรัชญาแนวจิตนิยม ส่นมาร์กซ์นั้นต้องการจะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในรูปของวัตถุ เขาได้เขียนว่านักปรัชญาสายเฮเกลนั้นวางความเป็นจริงไว้บนหัวดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องจับมันให้วางเสียใหม่บนเท้าของตนเอง
     ในการยอมรับวิภาษวิธีเชิงวัตถุ ซึ่งเป็ฯการปฏิบเสธแนวคิดแบบจิตนิยมของเฮเกลนั้น มาร์กซ์ได้รับอิทธิพลมาจาก ลุควิก ฟอยเออร์บาค ในหนังสือ ฟอยเออร์บาคได้อธเบายว่าพระเจ้านั้น คือพลงานสร้างสรรค์ขอมนุษย์ และคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ผู้คนยกย่องพระเจ้า แม้จริงแล้วเป็นคุณลักษณะของความเป็นมนุษย์นั่นเอง มาร์กอธิบายว่า โลกวัตถุนั้นเป็นโลกที่แท้จริงส่วนแนวคิดต่าง ๆ เกียวกับโลกนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผลสืบเนื่องมาจากโลกวัตถุ แม้ว่ามาร์กซ์จะเชื่อเช่นเดีวกับเฮเกิลและนักปรัชญาคนอื่นๆ ในการแบ่งแยกโลกที่ปรากฎกับโลกที่แท้จริง เขาไม่เชื่อว่าโลกวัตถุนั้นจะซ่อนโลกที่แท้จริงทางจิตเอาไว้ ในทางกลับกัน มาร์กซ์ยังเชื่อว่าอุดมการณ์ที่ถูกสร้างฝ่านทางประวัติศาสตร์และกระบวนการสังคมนั้น เป็นสิ่งทีปิดบังไม่ให้ผู้คนเห็นสถานทางวัตถุที่แท้จริงในชีวิตของพวกเขา
     ผลงานอีกชิ้น ที่มีส่วนสำคัญในการปรับปรุงแนวคิดของเฮเกลของมาร์กซ คือ หนังสือที่เขียนโดย ฟรีดริช เองิงิลส์ ชื่อว่า “สภาพของชนชั้นกรรมาชีพในอังกฤษในปี 1844 หนังสือเล่มนี้ทำให้มาร์กซมองวิภาษวิธีเชิงประวัติศสตร์ออกมาในรุ)ของความขัดแย้งระหว่างชนชั้น และมองเป็นว่าชนชั้นกรรมาชีพสมัยใหม่จะเป็นแรงผลักดันที่ก้าวหน้าที่สุดสำหรับการปฏิวัติ
     ปรัชญาของมาร์กซ แนวคิดหลักของมาร์กซวางอยู่บนความเข้าใจเกี่ยวกบ แรงงาน โดยพื้นฐานแล้ว มาร์กซกล่าวว่ามนุษย์มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงสิ่งรอบข้าง เขาเรียกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ว่าการ ใช้แรงงาน และความมีพลังในการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า กำลังแรงงานสำหรับมาร์กแล้ว การใช้แรงงานนี้นอกจากจะเป็นคามสามารถโดยธรรมชาติของกิจกรรมต่าง ๆ ทางกายภาพแล้ว แรงงานยังเกี่ยวช้องอย่างชักซึ้งกับความคิดและจินตนการของมนุษย์ด้วย
      “แมงมุมทำกิจกรรมที่ไม่ต่างไปจากช่างทอฟ้า และการสร้างรังของูงผึ่งก็สามรถทำให้สถาปนิกต้องอับอายได้ แต่ความแตกต่างระหว่างสถาปนิกที่แย่ที่สุดกับผึ้งที่เยียมยอมที่สุดก็คื อสถาปนิกนั้นวาดภาพโครงสร้างของเขาในจินตนาการ ก่อนที่จะสร้างมันขึ้นมาในโลกความเป็นจริง”
      นอกเหนือจากการที่อ้างว่าความสามารถของมนุษย์คือการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติแล้ว มาร์กซมิได้ใช้ข้ออ้างอื่น ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์อีกเลย
     มาร์กซอธิบายความเปลี่ยนแปลบางอย่างกับมนุษย์ โดยการเปรียบเทียบระหว่า “ธรรมชาติ”กับ “ประวัติศาสตร์”หลายครั้งพวกเขาจะกว่าวว่า “สภาพการมีอยู่นำหน้าสำนึก” นั่นคือใครคนหนึ่งจะเป็นอย่างใดนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งแห่งหนและเวลาที่เขาอยู่ สถาพทางสังคมมีอำนาจมากกว่าพฤติกรรมดั้งเดิม หรืออาจกล่าวได้ว่าลักษณะสำคัญของมนุษย์คือการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เขาอธิบายว่า การทำงานนั้นเป็นกิจกรรมทางสังคม และเงื่อนไขรวมถึงรูปแบบของการทำงานนั้นถูกกำหนดโดยสังคมและเปลี่ยนแปลงตามเวลา
     รูปแบบการผลิต การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของมาร์กซนั้นว่างอยู่บนความแตกต่างระหว่าง ปัจจัยการผลิต และความสัมพันธ์เชิงสังคมของการผลิต โดยมาร์กซสังเกตว่าในสังคมหนึ่ง ๆ รูปแบบการผลิตนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย สำหรับสังคมทางยุโรปนั้นมีรูปแบบในการพัฒนาดดยเริ่มจากรูปแบบการผลิตแบบศักดินา ไปจนถึงรูปแบบการผลิตแบบทุนนิยม โดยทั่งไปแล้ว มาร์กซเชื่อว่าปัจจัยการผลิตนั้นเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วมากกว่าความสัมพันธ์ของการผลิต
      ในการพิจารณาความสัมพันธ์เชิงสังคมของการผลิตนั้น มาร์กซไม่ได้มองแค่ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกแต่ละคน แต่ยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคน หรือกลุ่มชนชั้น มาร์กซมิได้นิยาม “ชนชั้น”ขึ้นมาโดยอาศัยใช้เพียงแคการบรรยายแบอัตวิสัย เท่านั้น หากแต่ว่าเขายังพยายามจะนิยามชนชั้นด้วยเงื่อนไขที่เป็นแบบวัตถุวิสัย ด้วยเช่นการเข้าถึงทรัพยากรในการผลิต
     มาร์กซให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับกำลังแรงงาน ซึ่งเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่สุดของมนุษย์เอง ในการอธิบายความสัมพันธ์โดยละเอียด มาร์กซทำโดยผ่านทางปัญหารความแปลงแยก ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงาน กล่าวคือเมื่อกำลังแรงงานได้ถูกใช้ไปในการผลิตแต่เมือกิจกรรมนั้นสิ้นสุดลงกรรมสิทธิของผลลัพธ์ที่ได้กลับตกไปเป็นของนายทุน นั่งคือมองได้ว่าเป็นการละทิ้งกรรมสิทธ์ในกำลังแรงงานของตนเอง สภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดความแปลกแยกจากธรรมชาติของตนเอง และก่อให้เกิดความรู้สึกเสียครั้งยิงใหญ่ ภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดสภาพการคลั่งไคล้โภคภัณฑ์ ซึ่งผู้คนจะคิดว่าสิ่งสำคัญที่พวกเขาสร้างขึ้นก็คือสินค้า ความสำคัญทุกอย่งจะกถ่านโอนไปที่วัตถุรอบกายแทนที่จะเป็นผุ้คนด้วยกันเอง ปลังจากนันผู้คนจะมองเห็นและเข้าใจตนเองผ่านทางความสัมพันธ์กับทรัพย์สินหรือสินค้าที่ตนเองครอบครองไว้เท่านั้น
     การคลั่งไคล้โภคภัฒฑ์นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของสิ่งที่เองเงิลส์เรียกว่า สำนึกที่ผิดพลาด ซึ่งเกี่ยวกับความเข้าใจในเรื่องของอุดมการณ์ ซึ่งมาร์กซและเองเงิลส์ได้ให้ความหายว่าเป้นความคิดที่สะท้อนผลประโยชน์ของบางชนชั้นในบางช่วงเวลาในประวัติศาสตร์แต่กลับถูกแสดงว่าเป็นวามเชื่อที่ถูกต้องสำหรับทุก ๆ ชนชั้นและทุก ๆเวลา ในความคิดของพวกเขานั้น ความเชื่อดังกล่าวมิได้เป็นเพียงแค่สิ่งทีผิดพลาดเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งท่ำหน้าที่สำคัญทางการเมืองด้วย หล่าวในอีกนัยหนึ่งได้ว่า การควบคุมที่ชนชั้นหนึ่ง ๆ กระทำฝ่านทางการครอบครองเครื่องมือการผลิตนั้นมิได้เกิดขึ้นเฉพาะกับการผลิตอาหารหรือสินค้าเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับการผลิตความคิดหรือความเชื่อด้วยเช่นกัน ความคิดนี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบายว่าทำไม่สมาชิกของชนชั้นที่ถูกกดขี่จึงยังมีความเชื่อที่ขัดแย้งกับผลประโยช์ของตนเอง ดังน้นแม้ว่าความเชื่อบางอย่างจะผิดพลาดแต่มันก็ยงเผยให้เห็นความจริงบางอย่างที่ถูกซ่อนไว้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการเมือง ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อที่ว่าสิ่งของที่คนผลิตขั้นจั้นมีผลิตผลมากกวาคนที่ผลิตมันขึ้นมานั้นอาจฟังประหลาด แต่มันก็แสดงให้เห็น ว่าผุ้คนภายใต้ระบบทุนนิยมนั้นถูกทำให้ปลแยกจากกำลังแรงงานของตนเอง อีกตัวอย่างหนึ่งพบได้ในการทำความเข้าจเกี่ยวกับศาสนาโดยมาร์กซ ที่สรุปได้ในยอ่ห้ารทหนึ่งของ Contribution to the Critique of Hegel’s “Philosophy of Right”
     ความทุกข์ทางศาสนานั้นเป็นทั้งการแสดงออกของความทุกข์แท้จริงและการประท้วงไม่ยอมแพ้ต่อความทุกข์ที่แท้จริง ศาสนาคือเสียงกรีดร้องของสิ่งมีชีวิตที่ถูกกดขี่ หัวใจของโลกที่ไร้กัวใจและวิญญาณของสภาพไร้วิญญาณ มันคือฝ่นของมวลชน แม้ว่าในงานวิทยานิพนธ์ระดับเตรียมอุดมศึกษาเขาเคยอ้างว่าหน้าที่หลักของศาสนาคือการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ในที่นี้มาร์กซมองว่าศาสนานั้นเป็นเครื่องมือทางสังคมสำหรับการแสดงออกและจัดการกับความเหลื่อมลำนั้นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...