วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

People's Republic of China (PRC)

     ตลอดระยะเวลาตั้งแต่สงครามฝิ่นเมื่อปี 1839-1949 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีได้ครองอำนาจ จีนเผชิญกับความแตกแยกทางการเมือง ภาวะเศรษฐกิจที่คลอนแคลน และความไม่สงบภายในประเทศด้วยสงคราม รบพุ่งกันเองจีนพยายามฝ่าผันอุปสรรคมากมายในการปฏิรูปและปฏิวัติจีนให้ก้าวหน้าทัดเทียมชาติมหาอำนาจตะวันตก เป็นความพยายามที่จะเปลียนจีนทุกด้าน การเปลี่ยนแปลงจีนนี้ได้รเริ่มขึ้นเพราะแรงกดดำนจากภายในและภายนอกเป็นเบื้องต้น ภาวะเศรษฐกิจทีฝือเคื่องทำให้ประชาชนไม่พอใจในความเป็นอยู่ของคนและก่อความไม่สงบเป็นกบฎหลายครั้ง ในขณะเดียวกันมหาอำนาจตะวันตกได้บังคับจีนให้เป็นประทเศโดยพลการ ภาวะดังกล่าวทั้งด้านนี้เป็นความหายนะเบื้องต้นของจีนและอารยธรรมจีที่ได้ธำรงมาช้านาน ระบบการปกครองที่ค่อนข้างจะมีลักษณะศักดินาสวามิภักดิ์ สถาบันทางสังคมและทัศนคติค่านิยมของวัฒนธรรมจีนได้เปลี่ยนไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป

     ความพยายามที่จะสร้างจีนใหม่ ตั้งแต่ปี 1860 เป็นต้นมา ทุกระดับขั้น ตั้งแต่การริเร่มสร้างพลังอำนาจ การปรับปรุงและการปฏิวัติ การปฏิวัติมวลปัญญาชนที่แสวงหาสัจธรรมในการสร้างชาติตลอดจนถึงการต่อสู้แย่งชิงอำนาจทางการเมือง ล้วนเต็มไปด้วยการต่อสู้ดิ้นรที่จะสร้างจีนให้ก้างหน้าทันสมัยอย่างค่อยเป็นค่อยไป แตก่การเปลี่ยนแปลงจีนนั้นแม้จะเร่มมาช้านานมักจะเป็นการเปลี่ยนเฉพาะด้าน มีขอบเขตจำกัด การเปลี่ยนแปลงเหล่นี้มักยึดถือรูปแบบอย่างตะวันตกโดยปฏิบัติตามแบบฉบับของตนเอง นอกจากนั้นจีนยังคงไม่เต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ที่ตนเคยยึดถือมาแต่อดีต มีความดื้อดึงไม่รับรู้เปตุผลความจำเป็ฯใด  ๆ แต่เมื่อภัยใกล้ถึงตัวจึงตระหนักถึงความจำเป็นต่าง ๆ ที่จะต้องปรับปรุงตัว จีนจึงมุ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและฉับพลัน การเปลี่ยนแปลงจีนจึงเต็มไปด้วยการเสียเลื่อดเนื้อและชีวิต มีผู้กล่าวว่า “จีนคอมมิวนิสต์ทำอะไรรวดเร็วมากในด้านการเมืองต่างประเทศเท่า ๆ กับการเมืองภายในประเทศ ต้องการกระทำการต่าง ๆ ตามวิถีทางแนวปฏิบัติแบบจีนแท้ซึ่งเป็นลักษณะเด่นเฉพาะให้งานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและเป็นการกระทำที่ถูกต้องแล้ว”
     ปัญหาสำคัญเร่งด่วนคือ เสถียรภาพความมั่นคงของวรัฐ การรวมประเทศภายใต้รัฐบาลกลาง การวางรากฐานการปกครองที่มีอำนาจเด็ดขาดโดยขจัดฝ่ายปฏิปักษ์ทางการเมืองทุกเหล่าทักชั้นและเป็นโครงการสร้างระบบการปกคีครองที่มีประสิทธิภาพ และปัญหาท้ายสุดที่เรื้อรังร่วมศตวรรษคือ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่รัฐบาลชิงและรัฐบาลพรรคชาตินิยมประสบความล้มเหลวในการขจัดปัดเป่าทุกข์สุขแก่คนจีน จีนแดงซึ่งสืบทอดอำนาจจากรัฐบาลพรรคชาตินิยม จึงได้รับมรดก 2 ประการคือ ปัญหาทางการเมือง คือลักษณะที่แตกแยก และประเทศที่ยังรัวกันไม่ติดเพราะขาดรัฐบาลกลางที่มีประสิทธิภาพ และปัญหาทางเศรษฐกิจ
     การสร้างชาติที่อยู่ในสภาพเช่นนี้ เป็นการที่หนักซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์อมตระหนักดี  จีนแก้ปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้าของจีนได้ช่วยให้จีนรอดพ้นจากภาวะเงินเฟ้อ จีนมุ่งนดยบายสร้างจีนเป็นรัฐอุตสหกรรมด้วยการใช้นโยบาย มุ่งความสำคัญ เปลี่ยนจากกสิกรรมชนบท มาสู่ อุตสาหกรรมในตัวเมือง เป็นการปฏิบัติตามอุดมการ์ลัทะคอมมิวนิสต์ที่มาร์คซ์เคยเสนอว่า พลังปฏิวัติต้องเป็นชนชั้นกรรมาชีพ การสร้างอุตสาหกรรมเป็นการสร้างชนชั้นกรรมาชีพตามหลักการทุกประการ จีนแดงมุ่งที่จะสร้างจีนเป็นรัฐสังคมนิยมให้ได้ใน ปี 1973
     เมื่อแก้ปัหาเศรษฐกิจทั่งไปได้แล้ว จีนมุ่งไปยังกสิกรรมซึ่งคอมมิวนิสต์จีนเองยังต้องการความสนับสนุนจากประชาชนอยู่ จนเมือได้รณรงค์รวมประเทศด้วยกำลังทหารสำเร็จสมบูรณ์ในปี 1952 คอมมิวนิสต์จีนจคงเร่มโครงการปฏิรูปสังคมก่อน โดยการประกาศปฏิรูปที่ดิน
     วิธีปฏิรูปที่ดิน ได้แก่การที่พรรคจีนคอมมิวนิสต์ส่งเจ้าหน้าที่พรรคไปสู่ชนบทเรียกประชุมบรรดาชาวนาทังหมด ทำการรณรงค์บังคับทุกคนให้วิพากษ์วิจารณ์กล่าวดทษตนเอง เพื่อเจาะจงดึงแต่ชนชั้นเศรษฐีที่ดินออกจากกลุ่มชาวนา จานั้น เจ้าหน้าที่ก็หนุนหลังชาวนาให้ใช้กฎหมู่ทำลายล้างลัทะชนชั้นถือที่ดิน โดยการตั้งสมาคมชาวนาขึ้นทำการวิเคราะห์วิจัยฐานะแต่ละบุคคลในกลุ่มชาวนาเพื่อแยกว่าผุ้ใดในชนชั้นใดเมื่อแยกแล้วก็ริบทรัพย์สินและที่ดินของพวกเศรษฐีที่ดิน นำมาจำหน่ายจ่ายแจกแก่พวกชาวนาทั่วไปเป็นการเปลี่ยนกรรมสิทธิจากลุ่มแล็ก ๆ มาสูกรรมสิทธิเอกชน การดำเนินการดังกล่าวปรากฎว่าเป็นไปอย่างรุนแรงเกินจุดประสงค์ของพรรคเป็นอย่างยิ่ง การปฏิรูปที่ดินดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเพียงมาตรการเบื้องต้นไปสู่ระบบนารวม นอกจากกำจัดชนชั้นผู้นำในชนบทคือพวกเศรษฐีที่ดินแล้ว จีนแดงได้เล็งเห็นเรแงงานมหาศาลอันพังไดรับจากหญิง และเห็ฯวัฒนธรรมเดิมมิได้ให้ความเป็นธรรมแก่หญิง จึงออกประกาศกฎหมายสมรส เมื่อปี 1950 ให้สิทธิเสมอภาคแก่หญิงชายในการเลือกทางชีวิตสมรส และประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพเป็นการปลดแอกครอบครัว  การปฏิรูปที่ดินและออกกฎหมายสมรสจึงอาจจะนับได้ว่าเป็นมาตรการขั้นเด็ดขาดพลิกปฏิวัติวัฒนธรรมจีนนด้ารระบบเศรษฐกิจในชั้นต้น
     จีนประสบปญหาในการปกครองประเทศที่จะให้มีประสทิธภาพโดยมีอำนาจสิทธิชาดอยู่ที่รัฐบาลกลาง การปกครองที่อำนาจอยู่ส่วนกลางเท่านั้นจึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการรวมประเทศและสร้างชาติให้เจริญทัดเทียมโลกตะวันตกรัฐบาลพรรคชาตินิยมประสบความล้มเหลวในการสร้างอำนาจส่วนกลาง ไม่สามรถจะปกครองทั้งประเทศได้ จีนแดงได้ปรับปรุงข้อบกพร่องและเรียนความผิดพลาดแต่อดีตเป็นบทเรียนอันมีค่า จีนแดงในปี 1949 เป็นพวกที่มีประสบการณ์ทั้งในการรบและการปกครอง มัชนชั้นผุ้นำและมีอุดมการณ์ที่แน่วแน่เป็นหลัก จีนแดงได้สร้างระบบการปกครองใหม่ที่พื้นฐานอำนาจอยู่ที ไตรภาคี คือรัฐบาล กองทัพและพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นการปกครองในรูปของการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จควบคุมประเทศ
     ในระยะแรกที่ปกครองจีนพรรคคอมมิวนิสต์ดำเนินนโยบายผ่อนปรนเต็มไปด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะพรรคจีนคอมมิวนิสต์และประชาชนเองมีความปรารถนาตรงกันประการหนึ่ง คือ ต้องการสันตุภาพความสงบสุข และต้องการระเบียบวินัยแบบแผนประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนจีนแดงมาแต่ต้น เพราะต้องการสิ่งเหล่านี้มากกว่าการซึมซาบในลัมะอุดมการณ์และการเมืองแต่อย่างวใด เมื่อคอมมิวนิสต์รณรงค์โฆษณาชวนเชื่อก็มิได้กล่าวพาดพงไปถึงจุดประสงค์ของตน ซึ่งได้แก่การสร้างระบอบคอมมิวนิสต์ในประเทศจีน

     ตามทัศนะ ของเมาเซตุง จีนจะดำเนินการตามแบบอย่างของลัทะมาร์ค หรือลัทธิเลนินอย่างเต็มที่ไม่ได้ เพราะสถานะการณ์สิ่งแวดล้อมตลอดจนวัฒนธรรมต่างกัน อนึ่ง เลนินได้ เคยพยายามจะครอบครองรัสเซีย ดดยยอมตนให้พรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคหนึ่งในหลายพรรคของรัฐบาลแรก ๆ ของรัสเซีย ในขณะนั้นรัสเซียมีพรรคต่าง ๆ ซึ่งล้านประกอบด้วยปัญญาชนนักธุรกิจนายทุนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงตนเป็นปฏิปักษ์ต่อลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างเปิดเผย พรรคคอมมิวนิสต์ในระยะแรกมิได้เป็นผู้ปกครอง พรรคคอมมิวนิสต์ในระยะแรกมิได้เป็นผุ้ปกครองรัสเซียโดยตรง เมืองเกิดการแย่งชิงอำนาจกันจึงต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากกมายที่สำคัญคือ ต้องทำสงครามกวาดล้างฝ่ายปฏิปักษ์เมือง ซึ่งหนุนหลังโดยบรรดามหาอำนาจยุโรปตะวนตกในระยะนั้นซึ่งไม่ต้องการให้รัสเซียเปลี่ยนระบบการปกครองและการถอนตัวจากสงครามดลกครั้งที่ 1 การเมืองภายใรระส่ำระสายอยู่หลายปีกว่าพรรคคอมมิวนิสต์จะรวมอำนาจปกครองรัสเซียได้อย่งแท้จริง ตัวอย่างรัสเซียนั้นทำใหเมาเซตุงเล็งเห็นว่าไมควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง
   เมาเซตุง ได้แยกพรรคต่าง ๆ และชนชั้นต่าง ๆ ออกเป็น 4 ฝ่าย
- ชนชั้นกรรมาชีพ
- ชนชั้นชาวนา
- ชนชั้นกฏุมพีระดับต่ำ
- ชนชั้นกฏุมพีรักชาติรุนแรง
     การปกคอรงต้องอยู่ภายใต้การนำของชนชั้นกรรมาชีพและชนชั้นชาวนา ซึ่งตั้งพรรคขึ้นเรียกว่าพรรคคอมมิวนิสต์ ทุกพรรคทุกชนนชั้นรวมตัวกันภายใต้รัฐบาลของตน เลือกรัฐบาลปกครองเองำเนินการกวาดล้างบรรดาเศรษฐีที่ดิน บรรดานายทุนที่เป็นข้าราชการประจำและบรรดาพวกพรรคชาตินิยมทียังคงมีอยู่ ลักษณปกครองโดยอิสระด้วยการที่ประชาชนเหลือผุ้แทนเองนี้เป็นลักษณะประชาธิปไตยโดยมวลชนและมีลักษณะเผด็จการนด้านที่รัฐบาล ดดยประชาชนตามท้องถิ่นกวาดล้างมีอำนาจเหนือพวกที่เป็นก)ปักษ์ต่อรัฐบาลกลางที่เรียกกันว่า พวกที่ปฏิกริริยา ทั้งลักษณะประชาธิปไตยและเผด็จการในการปกครองระบอบคอมมิวนเสต์เบพื้องต้นนี้ เมาเซตคุงกล่าว่าเป็นกลัการสำคัญ เรียกว่า ประชาธิปไตยกึ่งเผด็จการโดยประชาชน ซึ่งเมาเซตุงได้ปรับปรุง ให้มีสทิธิเลือกตั้งปกครองตนเอง แสดงความคิดเห็นแนะนำใด ๆ ให้คำปรึกษาได้ แต่เมื่อลงมติเป็นเอกฉันท์ยุติเมือได จะคัดค้านเป็นปฏิปักษ์ต่อมติเช่นนั้นไม่ได้
    ในด้านการปกครอง กฎหมายรัฐ คือ รัฐธรรมนูชั่วคราวระบุการตั้งรีฐบาลกลางและระบุอำนาจหน้าที่ขององค์การทุกฝ่ายทางการเมือง เป็นการแบ่งแยกอำนาจในการปกครอง กฎหมายนี้ได้ใช้เเป็นหลักกระทั่งมีการใชรัฐธรรมนูญที่เเท้จริงจึงเลอกใชกฎหมายนี้ การปกครองมีโครงสร้างเป็นแบบเทียบขนาน คือ พรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลขนานไปด้วยกัน
     พรรคคอมมิวนิสต์มีโครงสร้างที่ประยุกต์ตามความเหมาะสม มีอุดมการของตนเอง คือลัทธิมาร์คซ์ลัทธิเลนิน และความความคิดของเมาฯ โครงสร้างของพรรครับจากแบบเลนิน เหน้หลักการรวมอำนาจมากกว่าหลักประชาธิปไตย คำนึงถึงการรวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และความเป็นปึกแผ่นมั่งคงของพรรค

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

The Truman Doctrine 1947

      ทรูแมน เข้ารับตำแหน่งต่อจาก รูสเวลส์ที่เสียชีวิตอย่างกระทันหันในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นผู้ซึ่งลงนามอนุมัติคำสั่งทิ้งระเบิดนิวเคลียที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ และเป็นผลให้ญี่ปุ่นยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข และได้ริเริ่มแผนการมาแชลล์ในกาฟื้อนฟูทวีปยุโรป
     ประธานาธิปดี ฮาร์รี่ เอส.ทรูแมน เผชิญสงครามเย็น นโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีทรูแทนช่วงผี 1945-1953 นอกเนือจากยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 และก่อตั้งองค์การสหประชาชาติแล้วยังมีอีกสองเรื่องคือ ต่อต้านและสกัดกั้นการอิทธิลพพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ และสร้างความมั่นคงก้าวหน้าทางเศรษฐกิจด้วยการขยายตลาดต่างประเทศเพื่อการค้า การลงทุนและแสวงหาวัตถุดิบราคาถูก เหตุการณ์โลกที่ประธานนาธิบดีทรูแมนต้องเผชิญและดำเนินการแก้ไขหลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 คือสงครามเย็น

     สงครามเย็นเป็นคำอธิบายการต่อสู้ระหว่างกลุ่มประเทศสองกลุ่มคือกลุ่มชาติคอมมิวนิสต์ยึดมั่นชื่นชอบในลัทธิคอมมิวนิสต์มีรุสเซียเป็นผู้นำ กับกลุ่มชาติประชาธิปไตยยึดมั่นชื่นชอบในระบอบประชาธิปไตยเรียกโลกตะวันตก มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำสาเหตุที่เรียกวาสงครามเย็นเพราะเป็นสงครามจิตวิทยาหรือการต่อสู้ที่เลี่ยงการปะทะเสียเลือดเนื้อเป็นการต่อสู้แข่งขันหรือข่มกันทางวิชาการ ความคิด เศรษฐกิจ และการเมือง ได้แก่การแข่งขันสะสมกองกำลงและอาวุธร้ายแรง เช่น การมีระเบิดปรมาณู ระเบิดไฮโดตเจน และอาวุธนิวเคลียร์ ไว้ในครอบครอง การโฆษณาชวนเชื่อโดยใช้สื่อ..รวมถึงการให้ความช่วยเหลือแก่ชาติด้อยพัฒนาเพื่อนำเข้าเป็นสมาชิกในฝ่ายตน เหตุที่มาของสงครามเย็นสืบเนื่องมาตั้งแต่เมื่อเยอรมันบุกโจมตีรุสเซีย ปี 1941 พันธมิตรด้านการทหารได้เร่มขึ้นนระหว่างรตุสเซียกับฝ่ายสัมพันธมิตรและเป็นไปด้วยดีตลอดเรื่อยมา จากการล่าถอยของกองกำลังเยอมันจากยุโรปตะวันตก  รุสเซียมั่นใจว่าเยอมันต้องเป็นฝ่ายพ่ายปพ้แน่ ความเป็นพันธมิตรระหว่างรุสเซีย กับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งมีอุดมการณ์การเทืองต่างกันชนิดที่ไปด้วยกันไม่ได้แน่ในอนาคต จำเป็นที่รุสเซียต้องหาพันธมิตรใหม่วมอุดมกาณ์การเมืองเดียวกัน และเสริมสร้างกองกำลังและอาวุธเพื่อปกป้องกพันธมิตรด้วยความคิดดังกล่าว
     รัสเซียเริ่มเคลื่อนไหวทันที่หลังสิ้นการประชุมที่ยัลดฃต้าด้วยการเคลื่อนกองกำลังทหารรุสเซียเข้ายึดกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกในคาบสมุทรบอลข่าน ได้แก่ แอดลาเนีย บัลกาเรีย โรมาเนีย และยูโกสลาเวีย รวมถึง โปแลนด์ ฮังการี และเยอมันตะวันออกตามข้อตกลงพอทสดัม สหรัฐอเมริกาขมขื่นกับพฤติกรรมของรุสเซียดังกล่าว และตระหนักดีว่ารุสเซียเป็นชาติผู้ก้าวร้าว นำการยึดมั่นในลัทธิคมมิวนิสต์ซึ่งเป้นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตย จำเป็นต้องมีมาตรการสกัดกั้นการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์
     ปฏิบัติการสงครามเย็นช่วงปี 1945-1953 ระหว่างกลุ่มตะวันตกและกลุ่มตะวันออก รุสเซียเป็นผุ้เปิดสงครามเย็นเร่มด้วยกลางปี 1945 กองกำลังทหารรุสเซียเข้ายึดกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกในคาบสมุทรบอลข่าน รุสเซียควบคุมสื่อทั้งสิ่งพิมพ์และการกระจายเสียงภายในรุสเซียปฏิบัติการโฆษณาชวยเชื่อประกาศความสามารถคุนความดีของรุสเซียและหล่าวดจมตีสหรัฐอเมริกา รุสเซียลดจำนวนคนอเมริกันที่ต้องการเดินทางเข้าสู่ประเทศกลุ่มตะวนออกด้วยเกรงการลดศรัทธาในลัทะคอมมิวนิสต์ของชาติสมาชิก รุสเซียปฏิเสธการเข้าตรวจสอบของคณะกรรมการพลังงานประมาฯองค์การสหประชาชาติจัดตั้งคณะกรรมการพลังงานปรมาณูองค์การสหประชาชาติในปี 1949 อันถือเป็นบทบาทแรกของสหรัฐอเมริกาในสงครามเย็น ผลจากการศึกษาค้นคว้ารุสเซียผลิตระเบิดปรมาณูได้เป็นชาติที่สองใป  1949
     ในปี 1946 รุสเซีย มุ่งขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ในดินแดนตะวันออกกลางเริ่มด้วยปฏิเสธการเคลื่อกองกำลังทหารรุสเซียออกจากดินแดนตอบเหนือของอิหร่านเพราะต้องการครอบครองธุรกิจนำมันรวมทั้งให้การสนับสนุนคนอิหร่านในพื้ที่ดังกล่าวก่อการกบฎ แยกตัวจากรัฐบาลอิหร่านเตหะรานเพื่อรุสเซียจะได้นำพื้นที่ดังกล่าวซึ่งอุดมด้วยน้ำมันมาเป็นส่วนหนึ่งของโลกคอมมิวนิสต์ในอนาคต สหรัฐแมริกาประท้วงให้โลกรู้ กองกำลังรุสเซียต้องถอยกลับรุสเซีย
     ท่าทีของสหรัฐอเมริกาในสงครามเย็นประการแรกในปี 1947 คือ สหรัฐเมริกาเชื่อในหลักการยับยั้งสกัดกั้นของจอร์ช เอฟ เคนแนน เคนแนนเป็นนักการทูตหนุ่มอเมริกันเชี่ยวชาญเรื่องรุสเซีย จากพฤติกรรมการก้าวร้าวในรูปสงครามเย็นของรุสเซียที่ปฏิบัติมาช่วงปี 1945-1946 เป็นผลให้ในเดื่อกรกฏาคม 1947 เคนแนนได้เขียนบทความชื่อหลักการยับยั้ง ใช้นามปากกาว่านายเอ็กซ์ ในนิตยสารชื่อฟอเรน เอฟแฟร์ กล่าวว่าลัทธิคิมมิวนิสต์ของรุสเซียจะแพร่ขยายไปในทีกพื้นที่ที่รุสเซียจะสามารถทำได้ การหยุดยั้งปฏิบัติการของรุสเย ต้องใช้นโยบายยับยั้งสกัดกั้น ทำอย่างรอบคอบระมัดระวัง แน่วแน่มั่นคงและตื่นตัวปรับเปลี่ยนรับสถานการณ์เสมอ ควรเลี่ยงการเผชิญหน้าหรือการปะทะเสียเลือดเนื้อกับรุสเซีย ควรมีมาตรการขีดวงล้อมรุสเซยและชาติบริวารออกจากความสัมพันธ์กับโลกตะวันตก และสหรัฐอเมริกาควรให้ความช่วยเหลือชาติด้อยพัฒนาและชาติเล็กๆ อย่างเต็มที่เพื่อให้ชาติเหล่านี้รอบพ้นจากการก้าวร้าวคุกคามของรุสเซียอันจะทำให้ชาติเหล่านี้ปฏิเสธลัทะคอมมิวนิสต์และคงระบอบประชาธิปไตยต่อไป
    ท่าทีของสหรับประการที่สอง คือ ประธานาธิบดีทรูแมนประกาศหลักการทรูแมน ปี 1947 The Truman Doctrine 1947 คือ ประธานาธิบดีทรูแมนประกาศหลักการทรูแมน โดยในปี 1945 กรีก Greece เป็นประเทศเดียวในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกในคาบสมุทรบอลข่านที่รอดพ้นการยึดครองของกองกำลังรุสเซีย เพราะอังกฤษให้การสนับสนุนด้านการทหารและเศรษฐกิจแก่กรีกเพื่อต้านรุสเซีย ตุรกีเป็นประเทศในดินแดนเอเชียไมเนอร์มีสิทธิถือครองเหนือช่องแคบคาร์ดาแนลส์ รุสเซียต้องการยึดครองตุรกีเพื่อเพิ่มชาติสมาชิกโลกตะวันออกและมีสิทธิถือครองเหนือช่องแคบคาร์ดาแนลส์อันจะเป็นทางให้รุสเซียขยายลัทธิคอมมิวนิสต์สู้ดินแดนตะวันออกกลาง ยึดครองแอฟริกาและคลองสุเอซ ซึ่งเป็นเส้นทางน้ำลัดเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลแดงออกสู่มหาสมุทรอินเดีย อังกฤษให้การสนับสนุนด้านการทหารและเศรษฐกิจแก่ตุรกีเพื่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์รุสเซียและรักษาผลประโยชน์อังกฤษด้านเศรษฐฏิจการค้าและการคมนาคมเหนือพื้นที่ดังกล่าว ในเดือนกุมภาพันธ์ 1947 อังกฤษบอกอย่างเป็นทางการแก่สหรัฐอเมริกาว่าหลังวันที่ 31 มีนาคม 1947 อังกฤษไม่อาจให้การสนับสนุนด้านการทหารและเศรษฐกิจแก่กรีกและตุรกีเพื่อต้านการแผ่ขยายลัทะคอมมิวนิสต์รุสเซียได้อีกต่อไ ประธานาธิบดีทรูแมนเห็นความจำเป็นต้องรับสืบทอดงานต่อจากอังกฤษด้วยเกรงว่ากรีกและตุรกีอาจต้องตกเป็นชาติบริวารรุสเซีย และลัทธิคอมมิวนิสต์อาจแผ่ขยายสู่ดินแดนตะวันออกกลางกระทบต่อธุรกิจน้ำมันอเมริกัน ในทางปฏิบัติประธานาธิบดีทรูแมนประกาศหลักการรูแมน กำหนดสหรัฐฯจะให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและการทหารแก่กรีกและตุรกี เพื่อต้านการก้าวร้าวคุกคามของกองกำลัง รุสเซียและลัทธิคอมมิวนิสต์และเพื่อคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยสืบต่อไปในกรีกและตุรกี หลักการทรูแมนเป็นการประกาศชัดแจ้งในนโยบายยับยั้งสกัดกั้นของสหรัฐอเมริกาต่อการก้าวร้าวคุกคามของลัทะคอมมิวนิสต์รัสเซีย รัฐสภาตอบรับหลักการทรูแมนทันที่ด้วยการอนุมัติวบประมาณ 400 ล้านดอลล่าช่วยกรีกและตุรกี สร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่รุสเซีย รุสเซียตอบโต้โดยกล่าวโจมตีสหรัฐฯในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เรียกสหรัฐฯ ว่าผู้ค้าสงครามหรือผู้กระหายสงคราม
     ท่าที่ของสหรัฐฯในสงครามเย็นประการที่สาม สหรัฐฯกอบกู้ เศรษฐกิจ ยุโรปด้วยแผนมาร์แชล สงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน เศรษฐกิจสังคมและการเมือง ดดยเฉพาะอย่างยิ่งในฝรั่งเศส อิตาลี และเยอรมัน ผู้คนอดอยาย เศรษฐกิจพังพินาส จากสภาพขาดแคลนและเศรษฐกิจล้มเหลวสหรัฐอเมริกาเกรงว่ากลุ่มประเทศยุโรปเหล่านี้อาจยอมรับความช่วยเหลือของรุสเซีย และยุโรปตะวันตกอาจต้องตกเป็นชาติบริวารรุสเซียในอนาคต ด้วยการคาดคิดดังกล่าวเป็นปลให้จอร์ช ซี.มาร์แชล รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศประกาศแผนมาร์แลล ในการกล่าวปราศรัยที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เชิญชวนกลุ่มประเทศยุโรปร่วมมือกันกำหนดแผนกอบกู้ปรับปรุงเศรษฐกิจยุโรป โดยสหรัฐอเมริกาจะให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน ด้วยแผนมาร์แชล อังกฤษและฝรั่งเศสนำการิชญชวนชาติยุโรปร่วมประชุมที่กรุงปารีสเพื่อร่างแผนกอบกู้ปรับปรุงเศรษบกิจยุโรป มี 16 ชาติเข้าร่วมประชุมกำหนดจัดตั้งคณะกรรมการความร่วมมือเศรษฐกิจยุโรป ทำหน้าที่ศึกษาปัญหาและแสวงหาแนวทางแก้ไขกอบกู้ปรับปรุงเศรษฐกิจยุโรป ในเดือนกันยายน 1947 คณะกรรมการความร่วมมือเศรษฐกิจยุโรปเสนอของความช่วยเหลือด้านการเงินจากสหรัฐอเมริกาเพื่อกอบกู้ปรับปรุงเศรษฐกิจยุโรปช่วงสี่ปีแรก ในวงเงิน 19-22 พันล้าน ในเดือนเมษายน รัฐสภามีมติเห็ฯชอบอนุมัติเงินเพื่อกอบกู้ปรับปรุงเศรษฐกิจยุโรป  รุสเซียประกาศไม่ให้ชาติบริวารยุโรปตะวันออกรับความช่วยเหลือเข้าร่วมในแผนกอบกู้ยุโรป เป็นผลให้แผนกอบกู้ยุโรป จำกัดเพียงในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกเท่านั้น

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Lefe-Right Politics

     ในจักวรรดิโรมัน เผด้๗การเป็นสถาบันที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจะประกาศออกมาใช้ยามเมือจัรวรรดิอยู่ในภาวะวิกฤติ ระบบการแบ่งแยกอำนาจจะถูกยกเลิกชั่วคราว เหลือไว้แต่ผู้กุมอำนาจสูงสุดแต่เพียงผุ้เดียวได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็น “เผด็จการ” โดยให้อยู่ในตำแหน่งนี้ครั้งละ 6 เดือน ผู้ดำรงตำแหน่งเผด็จการมีสิทธิเต็มที่ในการใช้มาตรการทุกชนิเพื่อการอยู่รอดของรัฐ ระเบียบวิธีนี้คล้ายันมากกับระเบียบวิธีของกฎหมายสมัยใหม่ที่เรียกว่าเป็น “ภาวะฉุกเฉินหรือกฎอัยการศึก การใช้อำนาจเต็มเช่นนี้มีอยู่ในบทบัญญัติขิงดฎหมายรัฐธรรมนูญหลายประเทส
     ในระหว่างที่ใช้ธรรมนูญนี้ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามกรกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร หรือราชบัลลังก์หรือการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลาย ก่อกวนหรือคุกคามหรืความสงบภายน หรือมาจากภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติของรัฐมนตรีมีอำนาจสังการหรือกระทำการใด ก็ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้น เป็นคำสั่งหรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
     วิวัฒนาการของเผด็จการที่ถูกต้องตามกฎหมายตามที่นำมาอ้างถึงี้ เป็ฯที่น่าสนใจตรงที่ว่ามีหลักฐานจากประวัติศาสตร์ว่า เผด็จกานั้นมีจุดเริ่มจากผ่ายอนุรักษ์นิยม ในจักรวรรดิโรมันดั้งเดิม เผ็จการถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันระเบียบที่มีอยู่แล้วในสังคม ต่อมาถึงมีการเปลี่นยแปลงรูปแบบของสถาบันไปแล้วสีเดิมก็ยังไม่จางไปมากเท่าใด ในทางตรงกันข้ามกับเข้มขึ้นเรื่อย ๆ กับพัฒนาการของอุดมการประชาธิปไตยสมัยใหม่ ด้วยบทบัญญัติในกฎหมายรัฐธรรมนูญที่อ้างมาแล้วนั้นฝ่ายซ้ายจะจ้องต่อต้านอยู่แล้วโดยธรมชิรติ แต่ฝ่ายขวาจะมีความรู้สึกเห็นด้วยเพราะถือว่าเป็นวิที่ดีที่สุดในการธำรงไว้ซั่งตะเบียบของสังคมที่ดีงาม เผด็จการนั้นไม่จำเป็นเสมมอไปที่จะเกิดขึ้นเป็นปฏิกริยาตอบโต้และเป็นมาตการป้องกันการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่เผด็จการปฏิวัติก็เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในประวัติศาสตร์ในจำนวนครั้งที่ไม่น้อยกว่ากันเลย
     ความสัมพันธ์ของเผด็จการปฏิกริยาและเผด็จการปฏิวัติ
สถานะการ์อย่างเดียวกันอาจก่อให้เกิดได้ทั้งเผด็จกาปฏิกริยา และเผด็จการปฏิวัติกล่าวคือเผด็จการทั้ง 2 แบบนี้เป็นคำตอบของปัญหาเดียวกันนั่นคือ ภาวะที่สังคมกำลังจะแยกจากกันเพราะการมีวิกฤติการณ์ดครงสร้างและวิกฤติการณ์ความชอบธรรม ฝ่ายหนึ่งต้องการเร่งให้แตกออกมาเร็วที่สุด อีกผ่ายหนึ่งต้องการดึงไว้ให้คงที่ให้มากที่สุด ความสำเร็จของเผด้๗การทั้ง 2 ฝ่ายโดยธรรมชาติแล้วจะเกิดขึ้นพร้อมกันไม่ได้ แต่จะเป็นผลแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนั้นขึ้นอยู่กับความสุกงอมของภาวะการณ์ที่ไม่เท่ากั กล่าวคือถ้าเผด็จการเกิดขึ้นช้ากว่าการก้าวหน้าของวิกฤติการณ์ พลังสังคมแบบใหม่พัฒนาไปไกลหกว่าพลังสังคมแบบเก่า ระบอบใหม่ที่จะเกิดขึ้นจะเป็นโอกาสขงฝ่ายปฏิวัติมากว่า หรือถ้าเผด็จการเกิดขึ้นก่อนล่วงหน้า ในขณะที่พลังสังคมและความคิดแบบใหม่ยังอยุ่ในระยะเริ่มผลิเป็นตัวออ่อน ระบอบเผด็จการจะเป็นไปแนวเผด็จการปฏิกริยาฝ่ายขวา
     อยางไรก็ตามคำอธิบายที่กล่าวมานี้เป็นเพียงการวงรูปแย่งกว้าง ๆ เท่านั้น เนื้อหาของสถานะการณ์เฉพาะบางอย่างของบางสังคมจะต้องศึกษาให้ลึกซึ้งกว่านี้เป็นรายๆ ไป เพราะการเลปี่ยนแปลงระบอบของสังคมในลักษณะเผด็จการหรือการช้กำลังบังคับขึ้นอยู่โดยตรงกับระดับการพัฒนาของสังคมหนึ่ง ๆ เป็นสำคัญ
     เผด็จการปฏิกริยาและเผด็จการปฏิวัตินั้นต่างก็ผูกพันและติดตามแทนที่ซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลา แต่ละฝ่ายต่างก็เป็นตัวกระต้นให้เกิดระบอบตรงกันข้าม เพราะว่าเผด็จการทุกรูปแบบต่างก็เกิดมาเพื่อกดฝ่ายตรงกันข้ามให้ล้มลงและยิ่งกดก็ยิ่งเพ่แรงต่อต้า ถ้าเผด็จการใดแสดงประสิทธิภาพของการใช้กำลังบีบบังคับ ในเวลาเดียวกันฝ่ายตรงกันข้ามก็มีความจำเป็นที่จะโต้กลับด้วยกำลังอย่างเดียวกัน แต่ละฝ่ายต่างก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดระบอบตรงกันข้าม เพราะวาเผด็จการใดทุกรูปแบบต่าง ไกดมาเพื่อกฝ่ายตรงกันข้ามให้ล้าลงและยิ่งกดก็ยิ่งเพิ่มแรงต่อต้าน ถ้าเผด็จการใดแสดงประสิทธิภาพของการใช้กำลังบีบบังคับ ในเวลาเดียวกันฝ่าตรงกันข้ามก็มีความจำเป็นที่จะโต้กลับด้วยกำลังอย่างเดียวกัน ด้วยเหตุนี้เผด็จการปฏิวัติยิ่งเพีมกำลังขึ้นก็ยิ่งเสี่ยงที่จะได้รับปฏิกริยาตอบโต้รุนแรง ในเวลาเยวกันเผด็จจกาปฏิกริยาก็เพิ่มอันตรายของการเกิดปฏิวัติด้วย แต่การเคลื่อนไหวของประวัติศาสตร์ เป็นหลักฐานในตัวเองว่า ในระยะยาฝกลไกของฝ่ายปฏิวัติจะเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใกม่กว่าเป็นวิวัฒนาการทางธรรมชาติ ในขณะที่อีกฝ่ายเป็นเพียงสิ่งขัดขวาง ความผูกพันของปฏิกริยาและปฏิวัติไม่ใช้การหมุนเวียนเป็นงูกินหารชั่วนิรันดรแต่เป็นการติตามที่เป็นแรงผลฃลัก ให้มีวิวัฒนาการก้าวหน้าออกไป
      ก่อนคริสตศักราช 6-7 ปี ทรราชย์ต่าง ๆ ของกรีกส่วนมากเป็นเผด็จการปฏิวัติ คือ เมือมีการต่อสู้กันระหว่างเจ้าที่คืนที่มีอำนาจอยู่ตั้งเดิมกับพวกชนชั้นที่เกิดขึ้นใหม่ เพราะพัฒนาการทางเศรษฐกิจ เช่น พวกพ่อค้า ช่างฝีมือ ปัญญาชน ฯ ทราชย์กรีกมักจะเข้าช่วยพวกชนชั้นใหม่นี้รวมทั้งมีความโน้มเอียงสนับสนุนพวก “เพรปิเยี่ยน” หรือมี่เรียกันในศัพท์ใหม่ว่า “มวลชน” ในการปกครองนั้นทรราชย์กรีกไม่ได้ใช้แต่เพียงกำลังเท่านั้น แต่ใช้โวหารโน้มน้าวจิตใจนให้เชื่อถือด้วย มีนโยบายเพ่มภาพษีแก่คนรวย เพื่อยกฐานะคนยากจน นอกจากนี้นดบายเรื่องคามเสมอภาคก็เป็นตำนานเล่าขากันต่อ ๆ มาจากนักเขียนสมัยโบราณ เช่น รเอที่ว่า ทรราชย์คอรินท์ เมือไปเยือนทรราชย์มิลเล็ทเป็นทางการ ได้ถามเจ้าของย้านถึงวิธีการปกครองบ้านเมืองที่ดีที่สุดทำอย่างไร ฝ่ายทรราชย์มิลเล็ทไม่ได้ตอบเป็นคำพูด แต่หยิบรวงข้าวขึ้นมากำหนึ่งแล้วค่อย ๆ ตัดส่วนยอดของรวงที่สูงขึ้นมาเหนือรวงข้าวรวงอื่น ๆ จนกระทั่งรงข้าวทั้งกำสั้นเหมือนกัน
    ตัวอย่างระหว่างเผด็จการขวาและเผด็จการซ้ายมีมาในอดีตสมัย กรีก โรมันมากมายเมือมาถึงสมัยใหม่ ตัวอย่างของการปฏิวัติฝรั่งเศส นับวว่าเป็นตัวอย่างประเดิมของยุคใหม่ได้ทันที
      ระบอบปฏิวัตและปฏิกรียาพลัดกันเดิดขึ้นบ่อยต่อมาในลาตินอเมริการาว ๆ ปลายศตวรรษที่ 19 และต่อมาที่เอเซีย และอาฟริกา ซึ่งเมือมีวิวัฒนาการมาถึงสมัยนี้ ความสำคัญของการต่อสู้กลายเป็นเรื่องระหว่าง ฟาสซิสม์ และคอมมิวนิสต์เป็นส่วนหใญ่
     ในสมัยโบราณปฏิวัติเกิดขึ้นก่อน เผด็จการปฏิกริยาจึงเกิดขึ้นติดตามมา แต่สม้ยปัจจุบันนี้สถานะการณ์กลับกันเป็นส่วนใหญ๋ หลายประเทศ คอมมิวนิสต์ติดตามฟาสซิสต์มา ส่วนน้อยเท่านันที่คอมมิวนิสต์จะเกิดขึ้นก่อนฟาสซิสม์ เพราะเผด็จการฟาสซิสม์ได้เปลี่ยนรูปไปเป็นการป้องกันมากกว่าจะเป็นฝ่ายรุกเสียเอง
       อย่างไรก็ตาม ข้อเขียนเหล่นี้รวบรวมขึ้นจากสถิติต่าง ๆ จากเหจุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วการกลับไปกลับมาระหว่งฟาสซิสฒ์กับคอมมิวนิสต์ยังอยูใกล้ตัวมากเกินกว่าจะหาข้อสรุปเป็นหลักฐานได้ ขณะนี้ยังคงอยุ่เป็นรอบแรกก็ได้รอบสองจึงเป็นเรื่องที่จะต้องเผ้าสังเกตกันต่อไป
    นอกจากนี้ ฝ่ายขวาและฝ่ายซ้านยไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต่อสู้ระหวางหัวรุนแรงทั้งสองฝ่ายเท่านั้น ส่วนมาแล้วภายหลังจากระบอบเผด็จการ ระบอบตรงกันข้ามจะเกิดขึ้นตามคือจากรัฐบาลขวาก็จะเป็นรัฐบาลซ้าย หรือรัฐบาลซ้านก็จะเป็นรัฐบาลขวา ในสมยดบราณมาก็เป็นเช่นนี้ตลอดมา ด้วยการพยายามหาข้อยุติระหว่างกลางของข้อเสนอของฝ่ายปฏิวัติและข้อค้านของฝ่ายปฏิกริยา อย่างไรก็ตามระบอบกลางที่เป็นข้อยุตินั้นอาจจะเป็นได้ทั้งในกรอบของระบอบประชาธิปไตย หรืออาจจะเกิดเผด็จการรูปใหม่ขึ้นก็ได้

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Making strategy(Democracy)

     ยุทธศาสตร์ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
     ในสังคมที่มีเสถียภาพทางการเมือง การขัดแย้งระหว่างฝ่ายขวา และฝ่ายซ้อยไม่รุนแรงถึงขั้นมีวิกฤติการณ์โครงสร้างและวิกฤติการณ์ความเชื่อ ลูกต้อมการเมืองจะไม่เหวี่ยงจากขวาไปซ้ายหรือซ้ายไปขวาอย่างเต็มี่ท แต่จะเหวี่ยง ไปจากตอนกลางของทางขวาไปยังตอน กลางของทางซ้าย การต่อสู้ทางการเมืองจะเป็ฯการต่อสู้ด้วยยุทธศาสตร์รนนิยมสายกลาง ดังนั้นทั้งสองฝ่ายขวาซ้อนจึงต้องวางแนวนโยบายสู่สายกลาง ภายในแต่ละค่ายฝ่ายหัวรุนแรงจะต้องยอมให้ฝ่ายหัวอ่อนควบคุม เพื่อให้ผู้ออกเสียงส่วนใหญ่เลือกพรรคของตน ทั้งพรรคขวาและพรรคซ้ายต่างก็แสดงท่าทีว่าอยู่สายกลาง จากท่าทีดังกล่าวทำให้กลุ่มปฏิรูปมีอิทธิพลเหนือกลุ่มปฏิวัติในค่ายฝ่ายซ้ายและในทำนองเดีวกันกลุ่มขวาอ่อนก็จะมีอิทธิพลเหนือกลุ่มขวาจัดด้วยเหตุผลเช่นนี้ทำให้การต่อสู้ระหว่างขวากับซ้ายลดความรุนแรงลงมาก
     การเป็นพันธมิตรระหว่างกลุ่มอนุรักษณ์นิยมสายกลาง กับกลุ่มปฏิรูปของฝ่ายซ้ายเป็นสิ่งที่น่าเป็นไปได้ เพราะต่างฝ่ายก็มีขอบเขตการยอมรับร่วมกันได้ คือการยอมรับการปฏิรูปแต่สำหรับการปฏิรูปมีความแตกต่างกันอยู่ที่ว่าฝ่ายขวาอ่อนเห็นว่าควรมีการจำกัดขอบเขตการปฏิรูป แต่สำหรับการปฏิรูป มีความแตกต่างกันอยู่ที่ว่าฝ่ายขวาอ่อนเห็นว่าควรมีการจำกันขจอบเขตการปฏิรูปส่วนฝ่ายซ้ายกลับมีความเห็นว่าการปฏิรูปเป็นความจำเป็น ดังนั้นจึงควรปรับปรุงให้ขยายออกเรื่อย ๆ ด้วยเหจุที่จุดประสงค์และความคิดพื้นฐานแตกต่างกัน เพื่อประโยชน์ทางการเมืองด้านปฏิบัติ ทั่งฝ่ายขวาอ่อนและซ้ายอ่อนอาจจะร่วมมือกันได้บางประการคือ อาจกำหนดจุดมุ่งหมายปลายทางอย่างเดียวกันได้ แต่วิธีที่จะไปสู่จุดหมายปลายทางย่อมต่างกัน กล่าวคือภายในพันธมิตรของฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายที่นิยมสายกลางแต่ละฝ่ายก็พยายามที่จะสร้างชัยชนะให้แก่ฝ่ายของตนเองความพยายามนี้ในบางครั้งจงมคีความจำเป็นที่แต่ละฝ่ายจะต้องของความสนับสนุนจากพวกหัวรุนแรงในค่ายของตน เพื่อให้มีกำลังภายในเพ่มขขึ้นสามารถมีอทิธิพลเหนือพันธมิตรที่อยุ่ในค่ายตรงกันข้าม ด้วยเหตุมาตราการบางอย่างหรือกร๊บางกรณีสายสัมพันธ์ของซ้ายปฏิรูปกับซ้ายปฏิวัติ และสายเชื่อมโยงของขวาอ่อนและขวาจัดก็ยังคงมีอยู่ตลอดเวลา แต่จะปรากฎขึ้นให้เห็นชัดเมือใดนั้นก็แล้วแต่สถานะการณ์แต่ละครั้งไป
     อย่างไรก็ดี การที่ฝ่ายหัวรุนแรงต้องถูกจำกัดบทบาทเป็นเพียงกำลังเสริมเพื่อประโยชน์ทางการเมืองภาคปฏิบัติเท่านั้น ทให้พวกหัวรุนแรงซึ่งมีแนวโน้มทางธรรมชาติเป็นพวกรุนแรงอยู่แล้วถูกเพิ่มความกดดันมากยิ่งขึ้น นาน ๆ ก็จะระเบิดขึ้นมาที่หนึ่ง ดังที่เราจะเห็นตัวอย่างได้ว่าแม้แต่ในประเทศที่ระบอบการเมืองมีเสถียรภาพอย่างอังกฤษก็ดี สหรัฐอเมริกาก็ดี ฝรั่งเศสอิตาลี ญี่ปุ่น พวกหัวรุนแรงทั่งขวาและซ้ายก่อความวุ่นวายรุนแรงในที่สาธารณะขึ้นบ่อย ๆ เพราะเขาเห็นว่าพวกนิยมสายกลางไม่มีหลักการ ที่เห็นได้ยอ่างชัแจ้ง ไสมารถแก้ปัญหาของแต่ละฝ่ายได้อย่างจริงจัง ฝ่ายหัวรุนแรงจึงมีแนวโน้มที่จะแยกการเมืองในอุดมคติ บริสทุธิ์ แต่ปฏิบัติไม่ได้ไปสู่การเมืองที่เห็นผลทัน มากกว่าการประนีประนอม ดังนั้นเพื่อต่อสู้กับพวกนิยมสายกลางพวกหัวรุนแรงสุดขั้ยขงองทั้งสองค่ายก็มีอยู่วิธีเดียวคือร่วมมือกันโค่นล้มพันธมิตรนิยมสายกลาง แต่ทั้งสองฝ่ายต่องก็ยืนอยู่บนฐานที่มีจุดมุ่งหมายต่ากันสุดกู่ พันธฒมิตรในรูปนี้ ไม่อาจก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางการเมืองแก่ตัวเอง เพราะจะทำได้ แต่เพียงขัดขวางการดำเนินงานของรัฐบาล แต่ไม่สามรถเข้าแทนที่เป็นรัฐบาลเองได้ ถ้าพวกหัวรุนแรงทั้งสองค่ายมีกำลังแข็งกว่าพวกนิยมสายกลางและสามารถรวมกันได้รัฐบาลในรุ)แบบใดก้อยู่ไม่ได้ทั้งสิ้น

การปิดบังซ่อนเร้น

     ยุทธศาสตร์ที่ใช้วิธีปิดบังซ่อนเร้นจุดมุ่งหมายที่แท้ริงของพฤติกรรมทางการเมืองไว้เบื้องหลังสิ่งที่โฆษณาออกมาให้เป็นที่นิยมของประชาชนส่วนมากเพื่อหาเสียงสนับสนุน เป็นวิธีที่นำใช้กับรัฐบาลทุกแบบ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยหือรัฐบาลเผด็จการ เพราะทุกรัฐบาลย่อมต้องอาศัยเสียงสนับสนุนจากประชาชนเป็นสำคัญ
     เทคนิคของการปิดบังซ่อนเร้นที่ใช้กันบ่อย ๆ คือการปิดบังจุดมุ่งหมายที่มีการยอมรับน้อย  เทคนิคการปิดบังคุณค่าที่ด้อยกว่าไว้เบื้องหลังคุณค่าที่เหนือกว่าถูกนำมาใช้อย่างมากมาย ตัวอย่างเช่น เจ้าของปัจจัยการผลิตจะไม่ยอมรับเป็นอันขาดว่า ระบบกรรมสิทธิของเอกชนในเครืองมือการผลิตเป็นหลักประกันให้เจ้าของได้แสวงหากำไรมากที่สุด แต่จะยืนยันว่าระบบกรรมสิทธิของเอกชนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประกัน เสรีภาพส่วนบุคคล หรือจะใช้คำว่า  การลงทุนเสรีแทน คำว่า กรลงทุนของเอกชน สรุปฝ่ายนายทุนจะย้ำเรื่อง “สรีภาพ” แทนที่ “ทรัพย์สิน” ฝ่ายเสรีนิยมใช้ประโยชน์จากเสรีภาพทางการเมืองเพื่อสะสมความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจได้ แต่ถ้ารัฐบาลเข้ากำหนดราคาขายเพื่อควบคุมราคาสินค้าไม่ให้สูงเกินไป ฝ่ายเสรียนิยมจะต่อต้าน แต่ในการต่อต้านนั้นเขาจะไม่พูดว่ารัฐทำให้กำไรเขาลดลง เขาจะพูดว่าขาดทุนและหว่างหารัฐบาลว่าการแทรกแซงของรัฐเป้นการจำกัดเสรีภาพ การกล่าวหาเช่นนี้ก็จะทำให้มวลชนไม่พอใจด้วยเช่นดียวกัน
     เทคนิคของการปิดบังซ่อนเร้นขึ้นอยู่กับ “ค่านิยม” ของสังคมเป็นสำคัญ การวัดค่านิยมจะต้องทำเป็นหลาระดับ ระดับหนึ่งคือการจัดระบบค่านิยมส่วนรวม หรือที่เรียกว่าค่านิยมของชาติ ต่อจากนี้ก็วัดจากกรอบอค่านิยมของชนั้นหนึ่ง ๆ หรือกลุ่มหนึ่ง ๆ ที่ทำการต่อสู้กับชนชั้นอื่น ๆ หรือกลุ่มอื่น ๆ โดยการพิจารณาดูว่ามีความแตกต่างกันในเนื้อหาอย่างไรบ้าง ในยุทธศาสตร์การเมืองนั้น ค่านิยมของแต่ละชนชั้นหรือพรรคหรือกลุ่มจะถูกซ่อนเร้นสิ่งซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของตนไว้ให้ทันแต่เพียงภายใน และจะแสดงตัวว่ามีค่านิยมเหมือนกับค่านิยมของสังคมส่วนรวมหรือของชาติไว้เสมอ การวิเคราห์หาค่านิยมส่วนรวมจึงต้องประเมินกันอยู่เสมอ เพื่อหาทางดึงดูดพลังสนับสนุนและร่วมกันต่อสู้ฝ่ายตรงกันข้ามอย่างจริงจัง ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันฝ่ายตรงข้ามทุกฝ่ายก็จะใช้วิธีเดียวกัน เทคนิคของการปิดบังซ่อนเร้นที่ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่สำคัญ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่า ฝ่ายของตนกำลังทำเพื่อผลประโชน์ของประเทศชาติ แต่จุดมุ่งหมายที่แท้จริงหรือที่แอบแฝงอยู่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
  
เทคนิคอีกย่างอนึ่งของการปิดบังซ่อนเร้นคือการทำให้คนส่วนใหญ่เชื่อว่า ผลประโยชน์ของเขากำลังอยู่ในอันตรายทั่ง ๆ ที่ความจริงสิ่งนั้น ไ เป็นเพียงผลประโยชน์ของคนส่วนน้อยที่กำลงเป็นอันตรายเท่นนั้น วิธีที่ทีกันส่วนมากและบ่อย ๆ คืการสร้าง “ศึตรู” มี่มีทั้งจริง และไม่มีจริง ด้วยการเพี่มความสำคัญแลอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากศัตรูนั้น ๆ มากขึ้น เมื่อหาข้ออ้างเพีมารตรกาการป้องกัน มาตราการต่อต้านให้สมเหตุสมผล แต่กำลังที่เพี่มขึ้นนั้นก็ใช้เป็นเกราะป้องกันผลปรโยชน์ของชนชั้นที่กำลังคุมอำนาจอยูด้วย เหมือนกับกาตะโกนดัง ๆ ว่า เสือมาแล้ว คนเดินทางพะวงดูเสือและหาทางป้องกันตัว คนตะโกนก็สามารถขโมยกระเป๋าเดินทางไปได้ ฉันใดก็ฉันนั้น การใช้ยุทธศาสตร์เบนความสนใจประชาชนออกไปจากปรากฎการณ์ความขัดแย้งต่าง ๆ ภายในประทืศด้วยการสร้างศัตรูภายนอกประเทศ เพื่อตัดกำลังของฝ่ายตรงข้ามภายในและเพื่อเตรียมการยึดอำนาจรัฐล้วนแต่เป็นยุธศาสตร์ที่รัฐบาลหลายประเทศใช้แล้วนานนับร้อยๆ ปี และบางที่ก็ถึงนำประเทศเข้าสู่สงครามเพื่อทำให้การต่อสู้ภายในลดความรุนแรง
     ยุทธศาสตร์การปิดบังซ่อนเร้นจะถูกนำมาใช้มากน้อยอย่างไรนั้น ขึ้นอยูกับระดับของการพัฒนาทางเทคนิคในสังคมหนึ่ง ๆ การปิดบังซ่อนเร้นจะมีมากที่สุดในระยะกลางระหวางสังคมด้อยพัฒนาและสังคมที่พัฒนาแล้ว
      ในสังคมล้าหลัง ประชาชนส่วนใหญ่ มีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น ขาดอาหาร ขาดการศึกษาถูกกดขี่บีบบังคับ ดังนั้นจึงถูกกันออกไปจากการแข่งขันทางการเมือง การเมืองจึงเป็นเรื่องของคนกลุ่มน้อยที่มีความชำนาญและในการต่อสู้ช่วงชิงำนาจ ยุธศาสตร์การปิดบังซ่อนเร้นก็ไม่มีประโยชน์อะไร ผู้อยู่ในเวทีการเมืองยอ่มมองออกทั้งนั้นว่าอะไรเป็นอะไร เหมือนกับคำกล่าวที่ว่า อย่าสอนหนังสือสงฆราช นักการเมืองในสังคมแบบนี้ล้วนเป็นสัฆราชทั้งสิ้น
     เทคนิคของการปิดบังว่อนเร้นจะใช้กันอย่างแนแน่นในสังคมกึ่งพัฒนา ในระยะนี้ประชาชนส่วนใหญ่เร่มจะตืนตัวทางการเมืองผู้กุมอำนาจทางการเมืองไม่สามารถกันให้มวลชนเหล่านี่ออกไปจากเวทีการเมืองได้ และในขณะเดียวกันส่วนใหญก็ยังขาดการศึกษา ไม่มีความรอบรู้เลห์เหลี่ยมของนักการเมืองเพียงพอ สังคมแบบนี้ยุทธศาสนการเมืองแบบปิดบังซ่อนเร้นนับว่ามีประสิทธิภาพมาก

     การต่อสู้แบบเปิดเผยและการต่อสู้อย่างแอบแฝง

การต่อสู้ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ในทางทฤษฎีแล้วย่อมเป็นการต่อสู้อ่างเปิดเผยมากกว่าการเมืองของระบอบเผด็จการ การแบ่งพรรคการเมืองออกจากกลุ่มอิทธพลก็เป็นเครื่องชี้อย่างหนึ่งให้เห็นว่ามีการต่อสู้โดยตรงและเปิดเผยระหว่างพรรคการเมืองด้วยกัน ส่วนกลุ่มอิทธิพลคือการต่อสู้ทางอ้อมหรือย่างแอบแฝง อย่างไรก็ตามถ้าวิคราะห์ให้ลึกลงไปอีก จะเห็นว่าสถานะการณ์บางอยร่างของระบอบประชาธิไตยก็มีบางส่วนที่กลับกันกับสถานะการณ์ของเผด็จการกล่าวคือ ที่ว่าการต่อสู่โดยตรงเพื่อชวงชิงอำนาจในระบอบเผด็จการจะทำได้ในระดับตำแหน่งตำ ๆ แต่ในระบอบประชาธิไตยตำแหน่งกุมอำนาจระดับตำลงมาส่วนมากแล้วจะอยู่ในกำมือของข้าราชการประจำ ซึงอยู่ในระบบข้าราชการประจำที่มีหลักประกันความมั่นคงถาวรที่อำนาจฝ่ายการเมืองไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้วด้วยพลการ ด้วยเหตุนี้การต่อสู้โดยตรงและเปิดเผยเพื่อให้ได้อำนาจระดับต่ำในระบอบประชาธิไตยจึงมีขีดจำกัด หรือทำแทบไม่ได้ นนอกจากนี้ด้วยสถนะภาพที่ถาวรของระบบข้าราชการประจำก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนกล”กการเมืองในระดับสูงมีขอบเขตจำกัด ส่วนข้อแตกต่างของระบอบเผด็จการนั้น ผุ้มีอำนาจสูงสุดสามรถแต่งตั้งถอดถอนผู้ครองตำแหน่งต่าง ๆ ในระดับตำลงมาตามความพอใจของตน การต่อสู้เพื่อครองอำนาจในระดับต่าง ๆ จึงเป็นเพียงการต่อสู้อย่างเปิดเผยเพื่อให้ได้ความไว้ใจจากผู้กุมอำนาจสูงสุดเท่านั้น การเปลี่ยน “คนโปรด” ในระบอบเผด็จการเป็นการเผลี่ยนที่ได้ผลแน่นอนเด็ดขาด มากกว่าการเปลี่ยนมือครองอำนาจด้วยผลของการเลือกตั้ง
    ข้อสังเกตุอีกอย่างหนึ่งคือ การต่อสู้ทางการเมือง ในระบอบประชาธิปไตยนั้นมีลักษณะหมุนเป็นวงกลม การเลือตั้วทั่วไปจึงเป็นระยะที่การต่อสู้ทางการเมืองพุ่งถึงขีดสุงสุด เมื่อพ้นระยะนี้การเมืองจะดำเนินไปเป็นจังหวะปกติ 4 หรือ 5 ปี ฝ่านไป การต่สู่จะหลับมาคุกคักอีกหมุนวนไปย่างนี้เรื่อยๆ

      เมื่อการเลื่อกตั้งทั่วไปฝ่านไปแล้วและก่อนจะถึงระยะเวลาที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งครั้งใหญ่ การต่อสู้ทางการเมืองจะดำเนนินไปอย่างปกติเช่น การอภิปรายในรัฐสภาข่าวและบทความต่าง ๆ ในหน้าหนังสือพิพ์ การชุมนุมการเจรจาต่อรอง การแสดงออกของพรรคการเมืองสหพันธ์ต่างๆ และองค์การต่าง ๆ การต่อสู้ในกลุ่มดังกล่าวเป็นไปอย่างเปิดเผย แม้กระนันลักษณะของการต่อสู้ทางการเมืองนั้น ไม่ว่าจะดำเนินไปในกรอบของระบอบการเมืองแบบใกตาม การต่อสู้อย่างเปิดเผย บริสุทธิ ยุติธรรม ย่อมเป็นไปได้ยาก ตัวอย่างเช่น ในระบอบประชาธิปไตยการที่จะได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่า พรรคการเมืองนั้น หรือพรรคการเมืองนี้ได้รับเงินอุดหนุนการเลือกตั้งมาจากไหน หรือบริษัทธุรกิจการค้าของใครใช้อิทธิพลกับรัฐบาลหรือข้าราชการเหล่านี้เป็สิ่งยากมากหรือทำไม่ได้เลย
     การต่อสู้อย่างไม่เปิดเผยหรืออย่างแอบแผงเป็นวิธีการที่ทำได้หลายแบบ เช่น สถาบันต่าง ๆ ถึงแม้จะเห็นหน่วยราชการของรัฐก็อาจกลาย เป็นกล่มที่แสดงออกแทนชนชั้นได้ ถ้าหน่วยราชการแต่ละหน่วยแสดงตนว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มสังคม และมีแนวโน้มที่จะป้องกันทรรศนะของตนจากการโต้แย้งของฝ่ายอื่น การแข่งขันระหว่างหน่วยราชการ หรือระวห่างกระทรวงต่าง ๆ ก็อาจกลายเป็นกาต่อสู้ทางกาเทือได้ ในประเทศที่ปกครองโดระบบเผด็จการ บางครั้งจะได้ข่าวออกมาว่าสหพันธ์แรงงาน ทำการต่อต้านพรรคการเมืองดังนั้จึงเห้ฯไดว่สถาบันที่เห็นภายนอกว่ามีเอกภาพก็อาจจะหลายเป็นเครื่องมือการแบ่งแยกได้ การต่อสู้อย่างแอบแผงด้วยการซ่อนจุดมุ่งหมายทางการเมืองไว้เบื้องหลังจุดมุ่งหมายที่ไม่ใช้การเมือง ดังที่อธิบายมาข้าต้น ไม่เหมือนกับเทคนิคการปิดบังซ่อนเร้น ซึ่งเป็นธีที่คู่ต่อสู้ใช้จุดมุ่งหมายทางการเมืองที่ดูดีกว่มีน้ำหนักกว่าไว้บังหน้าจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของตน กล่าวคือทุกชนชั้น ทุกกลุ่มของสังคมที่ทำการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์เฉพาะของตนจะต้องแสร้ง ว่าตนกำลังต่อสู้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของสังคม คือเพื่อชาติ เพื่อความเป็นธรรม เพื่อสัจจธรรม เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยก่อให้เกิดความน่าสงสัยแก่ฝ่ายตรงข้ามที่การโฆษณาไม่แข็งพอ แต่การซ่อนจุดมุ่งหมายทางการเมืองไว้เบ้องหลังจุดมุ่งหมายที่ไม่ใช่การเมืองนั้น สาเหตุมาจากการแสดงจุดมุ่งหมายที่แท้จริงทางการเมืองถูกสกัดกั้นไว้ด้วยกฎหมายของสังคมนั้น ๆ

การต่อสู้ในระบอบกับการต่อสู้นอกระบอบ

     ในระบอบประชาธิปไตย แม้ว่าการต่อสุ้ทางกาเมืองอย่างเปิดเผยจะเป็นหลักการฟื้นฐานก็ตาม แต่ก็มิใช่ว่าจะทำได้โดยไม่มีขีดจำกัด ด้วยเหตุนี้ทำให้การต่อสู้มีลักษณะแตกต่างกันอย่างสำคัญ 2 แบบคือ การต่อสู้ในระบอบ และการต่อสู้นอกระบอบ อาทิ
    อังกฤษ กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย เนเธอร์แลนด์ ทุกๆ พรรคการเมืองยอมรับกติกาของระบอบที่ใช้อยู่คอยึดถือระบอบเสรีประชาธิปไตยรัฐสภาเป็นพื้นฐาน ด้วยการที่ไม่มีพรรคการเมืองใดจะทำการพลิกแพลงให้ออกไปนอกกติกา การต่อสู้ทางการเมืองในกลุ่มประเทศเหล่านี้จึงดำเนินอยู่ในระบอบอยางเคร่งครัดแต่ในฝรั่งเศสก็ดีหรืออิตาลีก็ดี ต่างมีกลุ่มฟาสซิสม์ ซึ่งเป็นกลุ่มขวาจัดและพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นพรรคที่ตั้งได้ตามกฏหมาย ต่างก็ไม่ยอมรับกติกาของระบบรัฐสภาและระบอบประชาธิปไตยหลายฝ่ายกาต่อสู้ทางการเมืองของทั้งสองประเทศดังกล่าวนี้ จึงมีส่วนที่ต้องทำกันนอกระบอบ ในกรณีแรกทุก ๆ พรรคการเมือพยายามต่อสู้เพื่อให้ได้ชัยชนะและได้รับอำนาจนำแนวทางในการบริหารประเทศให้เป็นไปตามความต้องการของชนชั้นหรือกลุ่มสังคม ที่พรรคนั้น ๆ เป็นตัวแทน ด้วยวิธีที่ยอมรับสถาบันและกฏเกณฑ์ของการต่อสู้ที่ทุกกลุ่มร่วมกันวางไว้แล้ว ส่วนในกรณีที่สอง พรรคการเมืองบางพรรคมีความเห็นว่าผลประโยชน์ของชนชั้นและกลุ่มต่าง ๆ ที่ตนเป็นตัวแทนอยู่นั้นไม่อาจเป็นไปได้ภายในกรอบวงของระบอบที่วางไว้นั้น เรพาะฉะนั้นพรรคเหล่านี้จึงต้องการเปลี่ยนของเก่าและหาของใหม่มาแทน
     การต่อสู้นอกระบอบมีอยู่ 2 แบบที่แตกต่างกันอย่างมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายและวิธีการ กล่าวคือในสังคมหนึ่ง ๆ จะต้องมีประชาชนส่วนหนึ่งไม่ยอมรับสถาบันที่มีอยุ่และต้องการหาสถาบันอื่นมาแทนที่  จุดประสงค์ของการต่อสู้นอกระบอบจึงมีความจำเป็นไปในตัวของมันเองต้องเป็นการปฏิวัติ แต่เพื่อการล้มล้างที่หวังไว้จะมีผลสำเร็จได้ เขาอาจจะทำทั้งปฏิเสธกฎเกณฑ์ที่มีอยู่และต่อต้านด้วยวิธีใช้กำลังรุนแรงอย่างผิดกฎหมาย หรือบางทีก็ใช้กฎเกณฑ์ที่มีอยู่นั้นเองเพื่อให้ได้อำนาจมาก่อนแล้วจึงล้มล้างระเบียบที่เป็นอยู่เพื่อสร้างะเบียบใหม่ วิธีหลังนี้มีส่วนใกล้เคียงมากกับพรรคอมมิวนิสต์ในประเทศที่ยอมให้พรรคนี้มีบทบาททางการเมืองอย่างถุกกฎหมาย เช่นในฝรั่งเศสและอิตาลี พรรคคอมมิวนิส์เลิกใช้วิธีผิดกฎหมาย และยุติวิธีการใช้กำลังรุนแรงในการแข่งขันทางการเมือง และยอมรับกฎเกฑณ์ของระบอบเสรีประชาธิปไตย แต่ด้วยอุดมการของพรรค แน่นอนว่าถ้าพรรคคอมมิวนิสต์ได้รับความสำเร็จโดยชนะการเลือตั้งและสามารถกุมอำนาจรัฐเป็นรัฐบาลพรรคนี้ก็อาจใช้อำนาจทำลายระเบียบของระบอบเสรีประชาธิปไตยได้
     ในระบอบเผิด็จการ การต่อสู้นอกระบอบจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยไม่ว่าใครย่อมไม่อาจแสดงออกอย่างเปิดเผยที่จะทำลายสถาบันที่เป็นอยู่ นอกเสียจากทำโดยลักษณะผิดกฎหมาย และการใช้กำลังรุนแแรงเท่านั้น ส่วนสถานะการณ์ของระบอบประชาธิปไตยนั้นแตกต่างออกไปในแง่ที่ว่า ระบอบนี้ ีลักษณะธรรมชาติที่สำคัญคือการยอมให้ฝ่ายตรงข้ามาแสดงความคิดแนวทางออกมาได้อย่างเปิดเผยลักษณะนี้เองที่ยอมใ้ห้การต่อสู้นอกระบอบเกิดขึ้นได้ ปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็คือว่า ระอบอบประชาธิปไตยต้องจำนนและวางอาวุธท่ามกลางศัตรูหรือไม่ การที่ได้ให้เสรีภาพจะทำใ้ห้เสรีภาพถูกทำลายหรือไม่คำตอบสำหรับปัญหานี้ก็คือ "ระบอบประชาธิปไตยยอมให้ศัตรูของระบอบนี้ได้มีโอกาสแสดงออกในความคิดและอุดมการของตนได้ "ระบอบประชาธปไตยยอมให้ศัตรูของระอบบนี้ได้มีโอกาสแสดงออกในการนับถือคามคิดของผู้อื่นมิได้หมายความเป็นอย่างเดียวกับการสนับสนุนความคิดในการใช้กำลังรุนแรงบังคับ ระบอบประชาธิปไตยย่อมมีสิทธิำและหน้าที่เต็มที่ที่จะห้ามและทำลายการต่อสู้ทางการเมืองที่มีจุดมุ่งหมายล้มล้างระบอบประชาธิปไรขด้วยกำลังรุนแรง

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Stalinnization

     กระบวนการปฏิวัติโลกให้เป็นคอมมิวนิสต์ตามกระบวนการที่สตารลินกำหนดขึ้น การะบวนการปฏิวัติให้เป็นคอมมิวนิสต์ แบบสตาลิน นั้นค่อยๆ ปรากฎขึ้นอย่างช้าๆ แต่ได้จังหวะเหมาะแน่นอนมั่นคง กระบวนการได้ปรากฎตั้งแต่ปลายสงครามโลกครั้งที่2 นับแต่รุสเซียเป็นฝ่ายรุกไล่เยอมันสู่มาตุภูมิ ท่ามกลางความวิตกกังวลของฝ่ายมหาพันธมิตรเอง 



     ยุโรปตะวันออกนั้นมีความสำคัญต่อรุสเซียมาโดยตลอด รุสเซียต้องการขีดวงเขตยุโรปตะวันออกเป็นเขตอิทธิพลของตนให้ปลอดจากอิทธิพลเยอมัน ภูมิภาคนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ต่อความมั่นคงปลอดภัยของรุสเซียเป็นอย่างมากรุสเซียไม่ต้องการให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยขึ้นอีกครั้ง
     รุสเซียหยั่งท่าทีของมหาพันธมิตรของตนเด้วยการเสนอขอให้การปรับปรุงเศ้นพรมแนใหม่ในโรปตะวันออก มหาพัมธมิตรท่าทีแบ่งรับแบ่งสู้ ซึ่งมหาพันธมิตรยังคงต้องการที่จะรักษาโปแลนด์ไว้มิหใตกอยู่ใต้อำนาจของุเซีย ปัญหาโปแลนด์จึงเป็นปัญหาที่ทำให้มหาพันธมิตรเริ่มแตกแยกกัน
     อังกฤษมีนโยบายที่จะสกัดกั้นรุสเซียมิหใมโอกาสแผ่ขยายอำนาจอาณาเขตออกจาช่อแคบบอสโพรัสและดาร์คาเเนลสู่น่านน้ำเมติดิเตอร์เรเนียน นโยบายของอังกฤษจึงเน้นหนักให้ความสนใจแก่ช่องแคบ บอลข่านและตุรกี ซึ่งล้วนเป็นดินแดนทางฝ่านจากช่องแคบสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน รุสเซียจะต้องไม่แผ่ขยายอำนาจครอบงำดินแดนเหล่านั้น  รุสเซียยอมรับความต้องการของอังกฤษและยอมรับการแบ่งเขตอิทธิพลในบอลข่าน ซึ่งเป็นข้อตกลงที่สหรัฐไม่พึงพอใจ เพราะถือว่า เป็นการยอมรับในหลัการถ่วงดุลอำนาจอีกครั้งหนึ่งที่อาจจะทำให้โลกเกิดการแบ่งแยหและก่อเกิดสงครามอีกในอนาคต
    สหรัฐอเมริกาไม่ต้องการให้ปัญหายุโรปตะวันออกเป็นอุปสรรคทำลายความเป็นมิตรและความร่วมมือในการรบที่สหรัฐอเมริกาต้องการจากพันธมิตรของตน อีกทั้งปัญหายุโรปตะวันออกเป็นปัญหาที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนที่จะกำหนดวินิจฉัยให้แน่นอน ลำพังการเจรจาตกลงกันในระหว่างการรบจะทำให้การวินิจฉัยมีข้อผิดพลาดและถ้าสหรัฐอเมริกายอมัยข้อวินิจฉัยเช่นนั้น ก็จะเป็นการผูกมัดสหรัฐอเมริกาเป็นภาระผูกพันและต้องเกี่ยวข้องในระยะยาวนานผิดจุดประสงค์ของสหรัฐฯที่ต้องการยุติสงครามและให้ทุกสิ่งเข้าสู่สภาวะปกติ สหรัฐจึงค่อนข้างวางเฉยต่อนโยบายและการกระทำของรุสเซียในยุโรปตะวันออกระหว่างสงครามโลก จะรู้สึกขุ่นเคืองใจบ้างก็เฉพาะเรื่องโปแลนด์
     ทรรศนะและทีท่าของสหรัฐอเมริกาเช่นนั้นเป็นคุณแก่รุสเซียมาก เพราะนอกจากสหรัฐอเมริกาแล้ว ย่อมจะไม่มีประเทศใดแม้แต่อังกฤษจะสามารถตั้งตนเป็นอุปสรรบนเส้นทางสร้างจักรวรรดิของรุสเซียได้อีกแล้ว รุสเซียจึงใช้การทูตหว่านล้อมให้สหรัฐอเมริกาและอังกฤษยินยิมเห็นชอบ ณ ที่ประชุมที่ยัลตารุสเซียได้ให้คำมั่นสัญญาแก่มหาพันธมิตรว่า รุสเซียจะสถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้นในดินแดนที่ตนยึดครอง เป็นประชาิธิปไตยของปวงประชา กล่าวคือ รุสเซียยินยอมให้มีการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างพรคที่เป็นเสรีนิยมกับพรรคคอมมิวนิสต์เพื้นเพมือง คำมั่นสัญญานั้นสอดคล้องกับหลักการหนึ่งที่มหาพันธมิตรได้ตกลงร่วมกันว่าจะใช้กับทุกหนแก่งที่กองทัพมหาพันธมิตรได้เข้าำปช่วยปลดแอกจากนาซี คือ หลักการหนึ่งของกฎบัติรขององค์การสหประชาชาติที่ว่าด้วยสทิธิของผวงประชาที่จะเลือกรูปแบบการปกครองของตนโดยอิสระ หลักกานนั้แม้สตาลินจะถือว่ามีแต่ข้อความที่ไม่มีความหมายชักแจ้งและเป็นข้อความที่มีแต่ความทั่วไปแต่สตาลินก็ยินดีที่จะยอมรับในหลักการโดยไม่ปฏิบัติตามอย่างจริงจังในกรณียุโรปตะวันออก

   
อาจกล่าวได้ว่า การประุชุมที่ยัลตาเองไม่สามารถที่จะช่วยยุโรปตะวันออกใไ้รดอพ้นเงื่อมมือรุสเซียไปได้ รุสเซียยังยืนกรานหนักแน่นห้ามมหาพันธฒตรแตะยุโรปตะวันออก เพื่อแลกกับการที่รุสเซียจะไม่แตะอิตาลี งฝรั่งเศส และกาีซ นับแต่นั้นมา ยุโรปตะวันออกก็ตกเป็นเหยื่อของรุสเซีย สุดวิสัยที่จะมีมหาอำนาจใดช่วยเหลือได้ อย่างไรก็ตาม ยุโรปย่อมดอมิได้ที่จะรู้สึกกลืนไม่เข้าคายไม่ออก
     กระบวนการปฏิวัติแบบสตาลิน
เมื่อได้ดำเนินการทางการทูตแล้้ว รุสเซียก็เริ่มจัดการกับยุโรปตะวันออก กระบวนการปฏิวัีติยุโรปตะวันออกให้เป็นคอมมิวนิสต์แบบสตาลินมี่ 3 ประการ
- การใช้กองทัพรุสเซียเป็นกลไกสำคัญในการเข้าขึดครองและส่งเสริมการปฏิวัติให้เป็นคอมมิวนิสต์ อีกทั้งสร้างอำนาจคอมมิวนิสต์ในรัฐนั้น ๆ ตลอดจนเป็นกลไกหลักในการคำ้ประกันการพัฒนาประเทศนั้น ๆ สู่ระบอบสังคมนิยมสมบูรณ์แบบ ประเทศที่ปฏิวัติโดยใช้ลักษณะนี้เป็นสำคัญคือ บัลแกเรีย รูเมเนีย โปแลนด์ โดยเฉพาะโปแลนด์นั้น ได้มีการใช้กองทัพแดงของรุสเซียเข้ายึดครอง ดำเนินการกวาดล้างฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองโดยวิธีการจับกุมคุมขังและเนรเทศ
- การใช้ความเพียรอุตสาหะที่จะเข้าครอบครองทั้งประเทศ แม้จะนา่นเพียงใดก็ตาม ขั้นตอนนี้กำหนดให้ใช้วิธีการสร้างแนวร่วมกับทุกหมู่เหล่าในสังคมและเข้าร่วมในการปกครองและการพัฒนาประเทศ ประเศที่พัฒนาดดยใช้ขึ้นตอนนี้ คือ เชโกสโลวะเกีย
- การสร้างอำนาจรัฐที่ได้มาให้ีเอกภาพความเป็นปึกแผ่น ขึ้นตอนนี้กำหนดให้มีการปฏิวัติการปกครองไปสู่ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ประเทศที่ใช้ขึ้นตอนนี้ที่สำคัญคือ ยูโกสลาเวีย
     ขั้นตอนของการที่จะครอบครองอำนาจรัฐมีหลายวิธีการที่น่าศึกษามาก รุสเซียได้กำหนดให้คอมมิวนิสต์เป็นแกนนำหรือกำลังนำของขั้นตอนนี้ แม้คอมมิวนิสต์ในประเทศต่าง ๆ ของยุโรปตะวันออกระยะนั้นยังนับว่ามีจำนวนน้อย ถือได้ว่าเป็นกลุ่มน้อยของสังคมรุสเซียจะใช้ลัทธิชาตินิยมผสมผสานกับลัทธิคอมมิวนิสต์ให้เป็นประโยชน์ในการปฏิวัติ โดยพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงว่า ดินแดนยุโรปตะวันออกส่วนใหญ่ก่อนที่กองทัพแดงจะยาตราเข้าไปปลดแอกนาซีนั้น ย่อมมีกลุ่มผู้รักชาติแต่ไม่นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์กลุ่มเหล่านี้มักตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นเป็นที่ยอมรับของฝ่ายมหาพันธมิตร เช่นกรณ๊โปแลนด์เป็นต้น หรือกลุ่มรักชาิตินั้นเพียงแต่ีความเคลื่อนไหวทางการเมืองอยู่ภายในปรเทศเท่านั้น แต่กลุ่มรักชาติเหล่านี้เป็นกลุ่มบุคคลที่รุสเซียไม่ต้องการช่วยเหลือให้กู้เอกราชโดยตรง รุสเซียจึงมักนิยมใช้วิธีการจัดตั้งกลุ่มผู้รักชาติ ใหม่กอปรก้วยชาวพื้นเมืองที่นิยมรุสเซียและมีคอมมิวนิสต์พื้นเมืองร่วมอยู่ด้วย กลุ่มใหม่มักมีชื่อเรียกว่า กลุ่มรักชาติบ้าง แนวร่วมกู้เอกราชบ้างกลุ่มที่รุสเซียสนับสนุนหรือกลุ่มคอมมิวนิสต์ดพื้นเมืองจะต้องสร้างแนวร่วมกับชนทุกหมู่เหล่าในสังคมของตนเพื่อดำเนินการกู้เอกราชก่อนเป็นเบื้องต้น กลุ่มสำคัญในสังคมมี 3 กลุ่มคือ กลุ่มนักศึกษาปัญญาชนผุ้ต้องการระบอบประชาธิปไตย กลุ่มใหญ่ชาวไร่ชาวนาผุ้ต้องการให้มีการปฏิรูปที่ดินและกลุ่มกรรมกรผู้ใช้แรงงานต้องการให้มีการฟื้นฟูบูรณะเศรษฐกิจโดยมีรัฐเป็นผู้กำหนดแผนพัฒนา เป็นการค้ำประกันว่า กรรมกรจะมีงานทำและมีรายได้ดี รุสเซยกำหนดให้กลุ่มผู้รักชาติของตนเข้าสร้างแนวร่วมกับกลุ่มเหล่านั้นและให้ใช้นโยบายสร้างความร่วมือกับกลุ่มเหล่นนั้นในการกู้ชาติ
     รัสเซียกำหนดให้กลุ่มผุ้รักชาติ หรือกลุ่มคอมมิวนิสต์สร้างแนวร่วมต่อไปในระดับชาติด้วยการเข้าร่วมการจัดตั้งรัฐบาลผสม ในขึ้นตอนนี้ผุ้รักชาติพื้นเมืองยังคงมีความสำคัญสกหรับคอมมิวนิสต์อยู่ คอมมิวนิสต์จะเข้าร่วมกับพรรคการเมืองที่มีอยู่ในังคมไม่ว่าจะเป็นเพียงกลุ่มหรือจัดตั้งเป็นพรรคแล้ว จะต้องพยายามควบคุมกลไกอำนาจรัฐที่สำคัญไว้  คือ คอมมิวนิสต์จะต้องเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มหาดไทย และสารนิเทศ เพื่อควบคุมกองทัพ ตำรวจ การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และทุกกลไกของการประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูล
     เมื่อคอมมิวนิสต์มีอำนาจมั่นคงขึ้นแล้ว จึงจะมีการดำเนินการขั้นตอนต่อไปของการครอบครองอำนาจรัฐ คือ การขจัดพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองกลุ่มต่าง ๆ ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับคอมมิวนิสต์ อาศัยอำนาจในกระทรวงสำคัญที่คอมมิวนิสต์เข้าควบคุมไว้แล้วคือกระทรวงมหาดไทย กลาโหม เป้นต้น คอมมิวนิสต์เป็นแหนนำในการทุจริตการเลือตั้งมิให้ฝ่ายตรงกันข้ามกับตนได้รับเลือกตั้งในขั้นตอนนี คอมมิวนิสต์เร่ิมจะคืบคลานเข้าควบคุมอำนาจรัฐหลัก เพราะฉะนั้น รุสเซียได้กลั่นกรองคัดเลอกคอมมิวนิสต์เฉพาะผุ้ที่นิยมรุสเซียเท่านั้นให้มีอำนาจและบทบาทสำคัญในพรรคอมมิวนิสต์ ส่วนคอมมิวนิสต์ที่รักชาติลแะม่นิยมรุสเซียถูกกำจัดกว่าล้างออกไป ทั้งนี้ รวมทั้งกลุ่มผู้รักชาติด้วย เพราะในขึ้นตอนนี้ รุสเซียจะเปิดโอกาสให้เฉพาะคอมมิวนิสต์ผู้นิยมรัสเซียเท่านั้น
     รัฐบาลผสมในขึ้นนี้เป็นรัฐบาลแต่ในนาม ซึ่งท้ายที่สุด เมื่อคอมมิวนิสต์มั่นใจในอำนาจแล้ว จึงดำเนินการฏิวัติเปลี่ยนประเทศนั้น ๆ เป็นคอมมิวนิสต์ด้วยวิธีการก่อรัฐประหาร หรือโดยวิธีการทุจริตการเลือกตั้งให้คอมมิวนิสต์ได้คะแนนเสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาล การเลือกตั้งในขึ้นตอนนี้ รัฐบาลเป็นผู้กำหนดตัวผู้สมัครให้ประชาชนเลือกตั้งเป็นผู้แทน และควบคุมทุกกลไกอำนาจรัฐและสังคมให้อยู่ในอำนาจของรัฐบาล การปกครองนับแต่ ปี 1948 เป็นการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ที่มีลักษณะเผด็จการเบ็ดเสร็จ โ่ดยพรรคเพียงพรรคเดียวคือ พรรคคอมมิวนิสต์โครงสร้างการเมืองการปกครองเลียนแบบอย่างของรุสเซีย คอมมิวนิสต์ได้อ้างว่า ยุโรปตะวันออกภายใต้การปกครองใหม่นี้ คือ ดินแดนแห่งการปฏวัติที่จะปรากฎเป็นจริงในท้ายสุด ภายใต้การนำของคอมิวนิสต์พ้นเมืองที่ได้รับความสนับสนุนและความคุ้มครองจากสหายร่วมอุดมการ์ผุ้เป็นผู้นำโลกคอมมิวนิสต์ คือ รุสเซีย
   

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

begin the Cold war

     Cold war หรือสงครามเย็นเป็นสงครามที่มีลักษณะพิเศษที่ไม่เคอยปรากฎมีมาก่อน กล่าวคือ มีการต่อสู้กันทุกรูปแบบ ยกเว้นการเปิดฉากทำสงครามกันโดยตรง รูปแบบของการต่อสู้มีอาทิ การโฆษณาชวนเชื่อ การปลุกระดม มวลชน กลยุทธ์กองโจร การแข่งขันชิงดีชิงเด่น หาพวกหาพ้องในประเทศต่าง ๆ เป็นต้น สงครามเย็นไม่มีความร้อนแรงเพราะไม่มีการทำสงครามเผชิญหน้ากัน เป็นสงครามที่ไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่มีกำหนดว่าเริ่มและยุติเมือใด ไม่มีการระดมพล ไม่มีการเคลื่อนไหวกองกำลัง ไม่มีการสัประยุทธ์กัน สงครามประเภทนี้ได้สร้างความเย็นเยือกขึ้นในจิตใจของผู้คนและทำให้เกิดความหวาดหวั่นทุกขณะจิตว่า สงครามอาจจะอุบัติขึ้นได้เมือมีเงื่อนไขอำนวย เพราะสงครามเย็นพร้อมที่จะแปรรูปเป็นสงครามที่แท้จริงได้



    อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ในทรรศนะของฝ่ายเสรีนิยม ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ชื่อว่าเป็นลัทธิอุดมการณ์เมื่อรุสเซียได้หลายเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ในปี 1918 รุสเซียถูกมองด้วยควารมหวาดระแวงว่าลัทธินี้จะครอบงำยุโรป ตั้งแต่ปี 1820 เป็นตนมาที่ยุโรปได้เผชิญการปฏิวัติหลายครั้งดวยแรงบันดาลใจของเสรีนิยม และด้วยอิทธิพลใหญ่หลวงของการปฏิวัติฝรั่งเศส ระบอบสมยูรณาญาสิทธิราชย์ในยุโรปค่อย ๆ เสื่อมถอยความนิยมลง ระบอบสาธารณรัฐหรือระบอบประชาธิปไตยแบบต่าง ๆ ได้ถูกทดลองใช้ในหลายประเทศที่สำคัญคือ ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน โปรตุเกส เป็นต้น ลัทธิเสรีนิยมแบบต่าง ๆ อันปรากฏในยุโรปย่อมจะเป็นปฏิปักษ์โดยธรรมชาติวิสัยต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีหลักการใหญ่เป็นตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยม
     ความแตกต่างของทั้งสองระบอบนี้ไม่เป็นประเด็นที่สำคัญในชั้นต้น อุดมการ์มิได้เป็นอุปสรรคแก่การที่ฝ่ายเสรีจะผูกมิตรกับคอมมิวนิสต์ดังจะเห็นได้ในสงครามโลกครั้งที่ 2
     อุดมการณ์กลายเป็นสิ่งที่ใช้อ้างถคงเพื่อแสดงความแตกต่างกันก็เฉพาะเมื่อฝ่ายเสรีนิยม และฝ่ายคอมมิวนิสต์เริ่มมีความขัดแย้งกันในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายเสรีนิยมหวาดระแวงรุสเซียที่ได้ดำเนินการยึดครองยุโรปตะวันออกด้วยเกรงว่า รุสเซียจะฉวยโอกาสอ้างการปลดแอกเยอมันเป็นจังหวะเหมาะที่จะเปลียนประเทศเหล่านั้นให้เป็นคอมมิวนิสต์ อันจะทำให้รุสเซียมีอำนาจยิ่งขึ้น
     ความวิตกในดุลยภาพแห่งอำนาจที่จะแปรเปลี่ยนเป็นคุณแก่ฝ่ายรุสเซียนี้เองที่ทำให้ฝ่ายเสรีนิยมมองการแผ่ขยายอำนาจรุสเซียว่าเป็นการแผ่ขยายทั้งอำนาจอิทธิพลและลัทธิอุดมการณ์ และถือว่าเป็นการแผ่ขยายอำนาจโดยอ้างลัทธิอุดมการณ์บังหน้า ทรรศนะนันได้ดูเป็นจริงมาก โดยเหตุที่รุสเซียได้แสดงเจตจำนงแต่เดิมมาเล้วว่า รุสเซียมีความผูกพันต่ออุดมการณ์ในการที่จะส่งสริมการปฏิวัติโลกในเป็นคอมมิวนิสต์และได้แสดงเจตนาจริงจังโดยการจัดตั้งองค์การโคมินเทอร์น แม้องค์การนั้นจะยุบเลิกไปเมื่อปลายสงครามโลกคร้งที่ 2 เพื่อแสดงเจตนาจริงใจที่จะผูกมิตรกับฝ่ายเสรีนิยมองค์การประเทภทนี้ย่อมฟื้อนคืนชีพขึ้นเมือใดย่อมได้ เพราะรุสเซียมิได้มีทีท่าว่าจะลือมความผูกพันต่ออุดมการ์
    ในการยึดครองยุโรปตะวันออกตั้งแต่ปี 1943 นั้นฝ่ายพันธมิตรมีความหวาดวิตกมากว่า รุสเซียจะฉวยโอกาสพลิกแผ่นดินภาคนั้นให้เป็นคอมมิวนิสต์ได้มีการเปิดการประชุมหลายครั้งเพื่อเจรจากับรุสเซียมิให้ถือเอาการยึดครองซึ่งเป็นความจำเป็นในการปฏิบัติการทางทหารนั้น เป็นโอกาสเหมาะที่จะปฏิวัติยุโรปตะวันออกเป็นคอมมิวนิสต์ การประชุมทีสำคัญที่มีการเจรจาประเด็นนี้คือ
     - การประชุมที่เตหะรานในเดือนพฤศจิกายน 1943 มีการเจรจาปัญหาโปแลนด์ และเชโกสโลวะเกีย
     - การประชุมที่ยับตาในระหว่างวันที่ 4-11 กุมภาพันธ์ 1945 มีการเจรจาถึงขึ้นที่ฝ่ายพันธมิตรับรู้การที่รุสเซียเข้ายึดครองยุโรปตะวันออกและรุสเซียให้คำมี่นสัญญาว่าจะดำเนินการเลือกตั้งทั่วไปใขตยึดครองเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิกำหนดวินิจฉัยชะตากรรมของตนได้โดยเสรี
     การที่รุสเซียให้คำมั่นแก่ฝ่ายพันธมิตรว่าจะให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในเขตยึดครองนั้น ย่อมแสดงชัดเจนว่า ฝ่ายพันธมิตรมีความวิตกและเล็งเห็นภัยรุสเซียที่ได้อ้างลัทธิอุดมการณ์บังหน้าไว้ ตลอดจนคาดได้ว่า การแผ่ขยายอำนาจรุสเซียนี้จะเป็นการละเมิดดุลยภาพแห่งอำนาจในยุโรปด้วย คำมั่นนั้นจึงเป็นข้อตกลงผูกมัดเพื่อธำรงไว้ซึ่งดุลยภาพแห่งอำนาจและแสดงว่าอุดมการ์เป็นเรื่องสำคัญ ขีดคั่นให้เห็นความแตกต่างอยู่ในทีนับแต่นั้นมา
     ภัยคอมมิวนิสต์คุกคามยุโรป
ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ยุโรปได้อาศัยความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการสร้างจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ขึ้นครอบงไลก ความเป็นจ้าวโลกได้สิ้นสุดลงเมือสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 จริงอยู่ สงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัริขึ้นดดยเหตุหนึ่งมาจากการที่บรรดามหาอำนาจไม่ยินยิมให้เอยมันตั้งตนเป็นใหญ่ในยุโรป ด้วยถือว่าเป็นการละเมิดดุลยภาพแห่งอำนาจและบรรดมหาอำนาจได้ย้ำเสมอว่า การปราบเยอมนเป็นการสถาปนาสันติภาพคืนสู่โลกใหม่ เป็นการทำสงครามเพื่อล้างอธรรมประชาชาตได้คาดหวังสันติสุขนั้นเช่นกัน แต่เมือสงครามโลกยุติลงในกลางปี 1945 สรรพสิ่งได้แปรเปลี่ยนไปอย่างผิดความคาดหวัง
     อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี และเยอรมันล้วนอยู่ในสภาพที่เสื่อมถอยอำนาจ ยุโรปได้สิ้นสุดการเป็นจ้าวโลก และแม้แต่ชะตากรรมของยุโรปก็อยู่ในดุลยพินิจของสองมหาอำนาจที่มิได้เป็นชาวยุโรปคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต สองอภิมหาอำนาจไลขิตยุโรปตามที่ตนพอใจมากกว่าจะคำนึกถึงผลประโยชน์หลักของยุโรปโดยตรง และเป็นการลิขิตยุโรปบนพื้นฐานแห่งความขัดแย้งหลากหลายระหว่างสองอภิมหาอำนาจต่างแข่งขันกันในการดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักการแห่งดุลยภาพแห่งอำนาจ ยุโรปจึงกลายเป็นเสมือนเวทีโรมรันของสองอภิมหาอำนาจนั้นโดยปริยายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งอำนาจทางการเมือง และอุดมการณ์มีบทบาทสำคัญบนเวทีนั้น
     นับแต่สงครามโลกยุติลง ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้กลายเป็นภัยปรากฎตัวตนคุกคามยุโรปแทนที่ลัทธินาซีที่ถูกทำลายล้างลงไป ทั้งนี้ สือบเนื่องมาจากการที่ยุโรปได้เผชิญสภาพเศรษฐกิจทรุดหนักอันนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงของการเมืองการปกครองด้วย กล่าวคือ การเมืองการปกครองของยุโรปตะวันตกได้เอนเอียงสเมือนถูกเหวี่ยงโอนเอียงไปทางซ้าย ความทุกข์ยกอันเกิดจากเศรษฐฏิจทรถดหนักทำให้ประชาชนคิดแสวงหาวิธีแก้ไขเศรษฐกิจตามแบบอย่างเศรษฐกิจของลัทธิสังคมนิยม รัฐบาลของประเทศเหล่านั้นส่วนใหญ่เป็นรัฐบาลผสมกับพรรคการเมืองที่นิยมลัทธิสังคมนิยม หรือหยิบบืมระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมมาทอลองแก้ไขเศรษฐกิจของตน รัฐบาลอังกฤษเป็นรัฐบาลมาจากพรรคกรรมกร ที่ได้นำเอาวิธการของสังคมนิยมมาใช้ คือ โครงการประหยัด ในฝรั่งเศสเอง แก้ไขเศรษฐกิจของตนด้วยโครงการสวัสดิการสังคม ในอิตาลีรัฐบาลก็เป็นรัฐบาลผสมพรรคคริสเตียนประชาธิปไตยกับพรรคสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์ เนเธอร์แลน สวิตเซอร์แลนด์ และสวีเดนก็ได้ใช้โครงการสวัสดิการสังคมและได้ใช้มาตรการสังคมนิยมโดยการโอนกิจการธุรกิจที่สำคัญมาเป็นของรัฐ การเมืองการปกครองที่เอียงซ้ายดังกล่าว ล้วนแสดงอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างมิต้องสงสัย
     ในยุโรปตะวันออก ชะตากรรมนั้นเป็นไปตามาลิขิตของรุสเซย แม้โปแลนด์จะเป็นปัญหาใหญ่ที่มหาพันธมิตรอังกฤษและสหรัฐอเมริกาจะพยายามช่วยเลหือมิให้ตกอยู่ภายใจ้อำนาจของรุสเซีย แต่โปแลนด์หนีไม่พ้นกรงเล็บของหมีขาวไปได้ รุสเซียพร้อมที่จะเสี่ยยงในเรื่องโปแลนด์ แม้จะต้องถึงขนาดสูญเสียความสัมพันธ์อันดีกับฝ่ายมหาพันธมิตรโปแลนด์จึงเป็นกรณ๊หนึ่งที่ทำให้มหาพันธฒิตรต้องร้าวนานอยู่ลึกๆ แล้วตั้งแต่ ปี 1943 และเป็นต้นเหตุสำคัญของสงครามเย็นที่เกิดขึ้นนับแต่นั้นมา ปี 1943 ถือเป็นปีที่รุสเซียประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการรุกรบขับกองทัพเยอมันออกจากยุโรปตะวันออก และกองทัพแดงได้เข้ายึดครองแทนทั้งภูมิภาคนั้น และภูมิภาคบอลข่านจนสำเร็จ  ต้นปี 1945 กองทัพแดงได้ประจำการตั้งอยู่ในภูมิภาคทั้งสองตั้งแต่เหนือ คือ ทะเลบอลติก จดใต้คือทะเลเอเดรียติก ความเป็นจริงนี้ย่อมดูน่าตื่นตระหนกยิ่งกว่าการที่ภัยคอมมิวนิสต์คุกคามยุโรปตะวันตก อาจจะกล่าวได้ว่า สหรัฐอเมริกาและอังกฤษมีส่วนสำคัญด้วยกับการเมืองที่พลิกไปเช่นนั้น เพราะในการประชุมที่ยัลตา สหรัฐอเมริกา และอังกฤษจำต้องยินยอมให้รุสเซียครอบครองยุโรปตะวันออกโดยพฤตินัย เพื่อแลกกับการที่รุสเซียเข้าร่วมปราบญี่ปุ่นในสงครามแปซิฟิก ชะตากรรมของยุโรปตะวันออกจึงถูกลิขิตในที่ประชุมยัลตาครั้งนั้น
      คอมมิวนิสต์รุกคืบหน้าในยุโรปอย่างน่าตื่นตระหนกสำหรับชาวยุโรป แต่ที่นับว่าอันตรายใหญ่หลวงคือ ภัยคอมมิวนิสต์ในกรีซและตุรกีประเทศเพื่อบ้านในเอเซียตะวันออกกลาง
     กรีซเป็นกรณีตัวอย่างเหมือนโปแลนด์ที่ชาวยุโรปมักจะให้ความสนใจสอดส่องกิจการบ้านเมืองมาแล้วตั้งแต่ในอดีต ประวัติศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้ชี้ชัดว่า ยุโรปสนใจชะตากรรมของกรีซเพียงใด เมือกรีซได้พยายามกู้เอกาชจากตุรกีหรือจักรวรรดิออกโตมันความขัดแย้งด้วยเรืองกรีซได้ขยายตัวไปสู่ความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิออตโตมันกับบรรดามหาอำนาจตะวันตก และท้ายสุดกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิออตโตมันกับรุสเซีย รุสเซียเกียวข้องในการช่วยกู้เอกราชกรีซด้วยหวังจะแผ่อิทธิพลเข้าไปในบอลข่าน โดยกำหนดให้กรีซเป็นฐานปฏิบัติการ
     สถานการณ์ในกรีซทรุดลงและมีทีท่าว่าคอมมิวนิสต์อาจจะได้ครอบครองประเทศ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจทรุด การเมืองไม่มั่นคงด้วยเหตุเหล่านักการเมืองหังเอียงซ้ายและหัวเอียงขวาก่อเหตุร้ายพิฆาตกัน คอมมิวนิสต์ได้ซ้ำเกติมให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น ดดยการส่งเสริมให้มีการนัดหยุดงานทั่วไป และรุสเซียได้เข้าเกี่ยวข้องในเหตุปั่นป่วนของกรีซอีกด้วยการฟ้องร้องต่อองค์การสหประชาชาติ กล่าวโทษเรื่องกองทัพอังกฤษประจำอยู่ในกรีซ สภาพการณ์ดังกล่าวย่อมจะเอื้ออำนายโอกาสให้คอมมิวนิสต์ได้ยึดอำนาจรัฐในเร็ววัน ความข่วยเหลือจากรุสเซยและหล่าประเทศเพื่อบ้านคือ ยูโกสลาเวียแอลบาเนียและบับแกเรีย จะช่วยเร่งให้การปฏิวัติเป็นคอมมิวนิสต์มีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น อย่างน้อยคอมมิวนิสต์ก็หวังที่จะเปิดฉากทำสงครามและจัดตั้งภาคเหนือเป็นรัฐเอกราชทำนองแบ่งกรีซ เป็นกรีซเหนือและกรีซใต้
     ในวันที่ 3 ธันวา 1946 รัฐบาลกรีซได้ฟ้องร้องต่อองค์การสหประชาชาตกล่าวโทษว่า อังกฤษแทรกแซงกิจการภายใน แตการที่อังกฟษจะวางมือเรื่องกรีซนั้น เป็นเรื่องใหญ่อังกฤษไม่อาจจะยินยอมให้กรีซเป็ฯคอมมิวนสต์ภายใต้ฉายาอำจอิทธิพลของรุสเซีย เพราะการที่กรีซจะเป็นคอมมิวนิสต์ย่อมเป็ฯการเปิดหนทางให้รุสเซ๊ยสามารถแผ่ขยายอำนาจอิทธิพลจากสองช่องแคบบอสโพรัสและดาร์ดาแนลส์ทะเลเมดิเตอร์เรเนีนยได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่อังกฤษไม่สามารถจะนิ่งดูดายได้ ปัญกากรีซกลายเป็นปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขโดยเร็วก่อนที่จะสายเกินแก้
     นอกจากปัญหากรีซแล้ว โลกเสรียังต้องประสบกับปัญหาตุรกีอีกระบอบการปกครองของตุรกีมิได้ดีไปกวากรซเท่าใดนัก เพราะเป็นระบอบที่เต็มไปด้วยการประพฤติมิชอบและทุจริตในวงราชการราชการแผ่นดินจงขาดประสิทธิภาพ อำนาจเผด็จการของระบอบการปกครองนั้นมีมาตั้งแต่ ปี 1920 เมื่อเคมาล อตาเตอร์ก ปฏิวัติ การเลือกตั้งทั่วไปใน ปี 1946 ที่เต็มไปด้วยการทุจริตก็ไม่สามรถจะทำให้สถานการณ์ภายในประเทศดีขึ้นในขณะเยวกัน รุสเซียก็ได้ติตามสถานการณ์แล้วเห็นเป็ฯโอกาสเหมาะ ตั้งแต่ฤดูร้อน 1945 ที่เต็มไปด้วยการทุจริตก็ไม่สามาถจะทำให้สถานการณ์ภายในปะเทศดีขึ้นในขณะเด่ยวกัน รุสเซียก็ได้ต้ตามสถานการณ์แล้วเห็นเป็นโอกาสเหมาะ ตั้งแต่ฤดูร้อน 1945 รุสเซียก็ได้ติดตามสถานการ์แล้วเห็ฯเป็ฯโอกาสเหมาะ ตั้งแต่ฤดูร้อน 1945 ที่เต็มไปด้วยการทุจริตก็ไม่สามรถจะทำให้สถานการ์ภายในประเทศดีขึ้นในขณะเดยวกัน รุสเซียก็ได้ติดตามสถานการณ์และวเห็ฯเป็ฯโอกาสเหมาะ ตั้งแต่ฤดูร้อน 1945 รุสเซียได้ใช้อิทธิพลกดดันตุรกีและข่มขู่จะใช้กำลังทหาร เพื่อบังคับให้ตุรกียกดินแดนส่วนที่อยู่ติกดับบริสวฯเทือกเขาคอเคซัส ให้แก่รุสเซียและต้องการให้มีการแก้ไขสนธิสัญญาเพื่อเปิดทางฝายเข้าออกช่องแคบ บอสโพรัสและดาร์ดาแนส์
       การที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้แผ่ขยายออกครอบคลุมไปทั่วยุโรปดังกล่าว ย่อมทำให้สหรับอมเริกาและอังกฤษไม่อาจจะเห็นเป็นอื่นไปได้ นอกจากจะถือว่า เป็นการขยายอำนาจอาณาเขต ของรุสเซีย ภัยคอมมิวนิสอันปรากฎขึ้นในรูปของการนิยมกรรมวิธีของคอมมิวนิสต์และการส่งเสริมพรรคคอมมิวนิสต์อันปรากฎทั้งในรูปของการนิยมกรรมวิธีของคอมมิวนิสต์และการส่งเสริมพรรคคอมมิวนิสต์พื้นเมืองให้ขึดอำนาจรัฐ ย่อมถือได้ว่าเป็นอันตรายใหญ่หลวงสำหรับฝ่ายสหรัฐอโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การที่รุสเซียได้สร้างระบบรัฐบริวารขึ้นในยุโรปตะวันออก

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Different

      การต่อสู้ทางการเมืองเป็นการต่อสู้ที่สลับซับซ้อนและยิ่งเป็นการต่อสู้ระหว่างสังคมใหญ่ขึ้นเท่าใดความสลับซับซ้อนยิ่งมากขึ้นเป็นเงาตามตัว การต่อสู้ยิ่งต้องมีแผนไว้ก่อนเสมอเพื่อกำหนดวิธีการเมือจะต้องเผชิญหน้ากับศัตรู การรุก การถอย การตอบโต้ แผนเหล่านี้ ประกอบขึ้นเป็นยุทธศาสตร์ และในการต่อสู้ สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ การประเมินกำลังของตัวเองและของฝ่ายตรงกันข้ามและการวิเคราะห์หาความเหมือนและความแตกต่าง เพื่อรวมส่วนที่เหมือนกันไว้เป็นพวกเดียวกัน และแยกส่วนที่แตกต่างไว้เป็นฝ่ายตรงกันข้าม

    ลักษณะและปัญหาสังคมซึ่งเกิดจากการแบ่งชั้นทางสังคม
ในการอบรมเลี้ยงดู ครอบครัวชนชั้นสูงและชั้นกลาง ที่พ่อมแมการศึกษาดีหรือมีพื้นฐานดี มักจะเคีงครัดกับบบุตร เน้นในการสร้างนิสัย รักความสะอาด ความสวยงามรู้จักหน้าทีและความรับผิดชอบแต่เด็ก และมักสั่งสอนมิให้ใช้อารมณ์ง่ายๆ ให้เป็นคนสุภาพรักความสงบไม่รุกรานผู้อื่น ซึ่งตรงข้ามกับบุตรของชนชั้นต่ำที่ถูกเลียงมาอย่าง ปล่อยปละละเลย ขาดความเอาใจใส่ในการอบรมสั่งสอน จนไม่รู้ถึงระเบียบแบบแผนแห่งชีวิตที่ดีงามในการสัมพันธ์กับผู้อื่น   
      การจัดลำดับชนชั้นทางสังคม เป็นการแสดงสภานภาพหรือตำแหน่งของบุคคล ในสังคมที่เขาอยู่ ในลักาณะที่ลดหลั่นกันลวงงมา หรือในลักาณะที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน ระบบการจัดลำดับชั้นเกิดจากการที่สมาชิกในสังคม มีการจำแนกแนกกันในเรื่องต่าง  ๆเช่นการจำแนกตามฐานะทางเศรษฐกิจ การศึกษา และอาชีพ เป็นต้น การแยกกันในเรื่องต่าง ๆ เช่น การจำแนกตามฐานะทางเศรษฐกิจ การศึกษาและอาชีพ เป็นต้น  การจัดชั้นของบุคคลอับองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมานี้ จึงเป็นการนำไปสู่การจัดระเบียบทางสังคม ที่มีความแตกต่างกันมาก ในแบบแผนความเป็นอยู่ของชีวิตของบุคคล ที่เกี่ยวกับ การแต่งกาย การพูดจา บุคลิกภาพ ทัศนะแห่งชีวิต ความสนใจ แรงจูงใจ ความสามรถ ตลอดจนการดำเนินชีวิตและการอบรมเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น
     ในการอบรมเลี้ยงดู ครอบครัวชนชั้นสูงและชั้นกลาง ที่พ่อมแมการศึกษาดีหรือมีพื้นฐานดี มักจะเคีงครัดกับบบุตร เน้นในการสร้างนิสัย รักความสะอาด ความสวยงามรู้จักหน้าทีและความรับผิดชอบแต่เด็ก และมักสั่งสอนมิให้ใช้อารมณ์ง่ายๆ ให้เป็นคนสุภาพรักความสงบไม่รุกรานผู้อื่น ซึ่งตรงข้ามกับบุตรของชนชั้นต่ำที่ถูกเลียงมาอย่าง ปล่อยปละละเลย ขาดความเอาใจใส่ในการอบรมสั่งสอน จนไม่รู้ถึงระเบียบแบบแผนแห่งชีวิตที่ดีงามในการสัมพันธ์กับผู้อื่น
     ความแตกต่างทั้งหลายที่กล่าวมา ได้ส่งผลกระทบกระเทือนต่อชีวิตบุคคลส่วนใหญ่อย่างมาก และกลายเป็นปัญหาสังคมอันใกญ๋หลวง ควบคู่กับความเจริญของโลก
     ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งของสังคมปัจจุบัน ที่กอ่ไกดความกินแหนงแคลงใจความขมขื่น และการต่อสู้กันระหว่างชนชั้น ก็คือ “ความไม่เท่าเทียมกันของชีวิตของมนุษย์ในสังคม”
    ทฤษฎีของมาร์กซ์แยกความแตกต่างโดยใช้อำนาจทางเศรษฐกิจเป็นเครื่องวัด พวกที่มีกรรมสิทธิในปัจจยการผลิตเป็นพวกหนึ่ง พวกไม่มีกรรมสิทธิเป็นอีกพวกหนึ่ง ส่วนฝ่ายตะวันตกมีความเห็นว่า การต่อสู้ทางการเมืองเกิดจากมูลเหตุจูงใจของปันเจกชนเป็นส่วนสำคัญที่สุด ความสามารถส่วนบุคคลและสภาวะทางจิตใจเป็นปัจจัยสำคัญในการต่อสู้ทางการเมือง ในสมัยกลาง นักเทววิทยาอธิบายว่าคนมีกิเลส 3 อย่าง คือ กิเลสทางร่างกาย ทางจิตใจ และอำนาจ อำนาจคือกิเลสที่จะแสวงหาประโยชน์และความสุขจากการปกครองสังคม เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการต่อสู้ทางการเมือง ต่อมพวกเสรีนิยมใช้ผลประโยชน์ส่วนตัวของแต่ละบุคคลในการที่ทำให้ได้ผลประโยชน์มากที่สุดใช้แรงให้น้อยที่สุด เป็นฐานของความขัดแย้งในสังคม ในขณะที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมเห็นว่าความสำคัญของปัจจัยทางจิต คือ เมตตาธรรมของกลุ่มผู้นำ

   ซิกมันด์ ฟรอยด์

 ค้นหาหลักฐานเพื่อใช้หักล้างหลักการของมาร์กซ์ โดยพยายามหาสาเหตุอื่นว่าเป็นปัจจัยของความแตกต่างระหว่างคนมากกว่าความแตกต่างระหว่างชนชั้น ทฤษฎีดังกล่าวนี้บางทีก็เกินความจริงไปมาก เช่นการพยายามที่จะให้เหตุผลวาการต่อสู้ทางการเมืองทุกอย่างมีสาเหตุมาจากพื้นฐานทางจิตที่วุ่นวายของมนุษย์เท่านั้น
     ความพยายามที่จะหยั่งลึกให้ถึงจิตใจที่เป็นส่วนลึกล้ำของมนุษย์ เป็นผลให้การวิเคราะห์ทางจิตยังสับสนอยู่มาก และแตกต่างกันตามแต่คำวิจารณ์ของแต่ละผุ้เสนอคำอธิบาย ในที่นี้จะกล่าวโดยย่อ ๆ พอให้มีความเข้าใจอย่างกว้าง ๆ ในเรื่องพื้นฐานทางจิตใจทีเกี่ยวข้องกับการขัดแย้งทางการเมืองคือ
      1 ทฤษฎีที่ให้ความสำคัญในวัยเด็ก ซึ่งเป็นระยะที่มนุษย์มีความสนุกสนานเพลิดเพลินและเสรีภาพโดยไม่ต้องอยู่ใต้กฎหมายอันเข้มงวดของสังคม ถึงแม้เขาไม่สามารถบังคับคนอื่นให้ตามใจได้ แต่คนอื่นก็ไม่สามารถบังคับให้เขาเลิกทำตามความต้องการของตัวเองได้ วัยเด็กจึงเป็นวัยแห่งความเพลิดเพลินโดยแท้ มนุษย์เมื่อโตขึ้นก็ยังหวลคิดถึงสวรรค์ที่หายไปพร้อมกับวัยเด็กอยู่เสมอ ต่อมาความจำเป็นในการที่ต้องเข้าสู่ชีวิตทางสังคมได้ทำให้มนุษย์ต้องหัมารับหลักแห่งความเป็นจริงแทนที่หลักการแห่งความสนุกเพลิดเพลิน การยอมรับกฎเกณฑ์ของสังคมและละทิ้งสัญชาติญาณตั้งเดิม รวมทั้งความอยากต่าง ๆ ด้วย แต่ความต้องการความสนุกสนานก็ยังฝังอยู่ในตัวบุคคล การขัดแย้งกันระหว่างชีวิตในสังคมกับสัญชาติญาณของความต้องการความสนุกเพลิดเพลินจึงก่อให้เกิด “ความวุ่นวายแลความกดดันทางจิตใจ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการขัดแย้งในสังคม
     นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์ว่า อารยธรรมของสังคมอุตสาหกรรมที่เป็นแนวโน้มของระบบกลไก ประสิทธภาพและการแข่งขันทำให้สัญชาติญาณของความสนุกเพลิดเพลินแบบไร้เดียงสาต้องถูกทำให้หมดสิ้นไปเพื่อจะอยู่รอดได้ในสังคม ลักษณะดังกล่าวนี้อาจนำมนุษย์ไปสู่ความรู้สึกก้าวร้าวและการใช้กำลังรุนแรงเป็นการชดเชยกัน ฟรอยด์ กล่าวว่า “การก้าวร้าวเป้นผลจากการปฏิวัติของสัญชาติญาณต่อโลกที่ไม่รู้เรื่องเพศอย่างเพียงพอ หรือการขาดแคลนสิ่งที่ต้องการ”เราจะเห็นว่าทฤษฎีนี้ขัดกันกับทฤษฎีที่ว่า พัฒนาการทางเทคนิคและการยกระดับการครองชีพให้สูงขึ้นเป็นที่มาของความตึงเครียด และทำให้มีการรวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคมได้ง่ายขึ้น แต่ทฤษฎีของบราวน์กลับเห็นว่าความก้าวหน้าทางเทคนิคทำให้สัญชาติญาณดั้งเดิมของมนุษย์ไม่มีที่จะอยู่ ดังนั้นมนุษย์จึงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มความก้าวร้าว รุนแรง เผด็จการ ซึ่งล้วนแต่ยิ่งทำให้เสริมความแตกแยกยิ่งขึ้นกว่าที่จะรวมกันไว้ ทฤษฎีเรื่องคงามกดดันทางจิตจึงถูกนำเอามาใช้เป็นพ้นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการวิเคราะห์ว่า จิตของมนุษย์แต่ละคนมีความเกี่วข้องกับเรื่องทางการเมืองอย่างไรบ้าง ต่อมา ฟรอยต์ มีความเห็ฯเพ่มเติมว่า อารมร์ก้าวร้าว รุนแรงไม่ได้อยู่กับสัญชาติญาณความสนุกเพลิเพลินของวัยเด็กที่ถูกอัดไว้ภายในอย่างเดียว แต่ประกอบด้วยความรู้สึกกลัวตายด้วย กล่าวคือ สิ่งมีชีวิตแต่ละประเภทอาจจะถูกกระตุ้นให้มีคามสนุกเพลิดเพลินพร้อมกันไปกับการพยายามหาทางทำลายด้วยวิธีต่าง ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการทำลายตัวเองหรือทำลายตัวเองหรือทำลาผุ้อื่น
     อารมณ์ก้าวร้าว การใช้กำลังรุนแรง การชอบใช้อำนาจเหนือผู้อื่น อาจเป็นผลมาจากการแสดงออกเอพื่ชดเชยในสิ่งที่ขาดไป หรือซ่อนเร้นความอ่อนแอภายใน สำหรับเรื่องนี้ได้มีการค้นคว้าที่มีชื่อเสียงขึ้นในสหรัฐในปี 1950 ว่าด้วยการวิเคราะห์ถึงลักษณะของคนที่ชอบใช้อำนาจข่มขู่ผู้อื่น นักวิเคราะห์ทางจิตชาวอเมริกันอธิบายว่า โดยทั่วไปแล้วทัศนคติของพวกอนุรักษ์นิยมทางการเมืองมีความสัมมพันธ์กับลักษณะบางชนิดของโครงสร้างทางจิต บุคคลิกภาพนิยมอำนาจถูกกำหนดขึ้นจากการยอมทำตามขนบธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันอยู่อย่างเคร่งครัด โดยการยอมรับนับถืออย่างงมงายในระบบค่านิยมั้งเดิมต่าง ๆ โดยการเคารพเชื่อฟังผู้มีอำนาจอย่างซื่อสัตรย์ และโดยการมองสิ่งรอบ ๆ ตัวในสังคมอย่างผิวเผิน แต่กลับตัดสินส่งที่เป็นนามธรรมอย่างเด็ดขาด เช่น ดีก็ดีบริสุทธิ เลวก็เลวบริสุทธิ หรือดำก็ดำสนิท ขาวก็ขาว ไม่มีปะปนกัน ทุกสิ่งทุกอย่างกำหนดไว้อย่างเป็นระเบียบจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ผู้มีกำลังอำนาจสมควรเป็นผู้ออกคำสั่ง เพราะว่าเขาเป็นคนดีที่สุด ผู้อ่อนแอกว่าสมควรแล้วที่จะอยู่ในสภาพต่ำกว่า เพราะเขาด้อยกว่าในทุกเรื่องคุณค่าของมนุษย์ถูกกำหนดจากบรทัดฐานภายนอกที่สร้างขึ้นมาจากสภาพสังคมเท่านั้น ทฤษฎีที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ของการชอบใช้อำนาจกับความบ้มเหลวส่วนตัวของุคคลอธิบายเพ่มเติมว่าคนที่ไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่สามารถสร้างบุคลิกเฉพาะตัว จะผูกพันตัวเองกับสังคมภายนอก และยึดมั่นว่าความมั่นคงของระเบียบสังคมเป็นเป็นเสมือนความั่นคงของบุคคลิกภาพของตน ทั้งนี้เป็นการหาดุลยภาพทางจิตของยุคคลในการที่จะใช้ปกป้องระเบียบของสังคมที่มีอยู่ และเป็นที่มาของความรู้สึกก้าวร้าวและความเกลียดต่อฝ่ายตรงข้าม ดดยเฉพาะต่อผู้ที่คิดจะเปลี่ยนระเบียบของสังคมที่มีอยู่บุคคลิกภาพนิยมอำนาจจึงผูกพันอยู่กับพรรคอนุรักษ์นิยม ถ้าระเบียบของสังคมถูกคุกคามเมือใด ความรู้สึกก้าวร้าวของฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะเพิ่มขึ้นตามกันไป และอาจจะรุนแรงถึงขนาดผลักดันให้ใช้วิธีในลักษณะ “ฟาสซิสม์”ได้

ทฤษฎีของ Eysenk

       (นักสังคมจิตวิทยา) ว่าด้วยท่าทีและแนวโน้มทางการเมือง ได้อธิบายถึงความแตกต่างที่สำคัฐเกี่ยวกับท่าที่และแนวโน้มและการเมืองของบุคคลแต่ละคนโดยเฉพาะอยางยิงการขัดกันระหว่างฝ่ายขวากับฝ่ายซ้ายสมัยก่อนหน้านี้การจัดประเภทแนวดน้มการเมืองเป็นการวิเคราะห์ด้านเดียว โดยการจัดแกนซ้าย-ขวา หรือแกนนิยมอำนาจ กับนิยมประชาธิปไตย แต่ Eysenk จัดประเภทด้วยการวิเคราะห์หลายด้านพร้อมกันไป กล่าวคือ เขาแบ่งสองฝ่ายที่มีความแตกต่างกันในพื้นฐานเอาไว้ตรงกันข้ามกันก่อน คือซ้ายกับขวาหรือพวกหัวก้าวหน้า กับพวกอนุรักษ์นิยม และความแตกต่างนั้นก็มีความเมหือนอยู่ด้วยคือความแข็งหรือจัดกับความอ่น เช่นในฝ่ายขวาก็มีทั้งฝ่ายอนุรักษ์นิยมธรรมดากับพวกอนุรักษ์นิยมหัวรุนแรง ที่เราเรียกกันว่าขวาอ่อนและขวาจัด ส่วนทางฝ่ายซ็ยก็มีทั้งพวกหัวอ่อนและพวกนิยมความรุนแรง กลุ่มช้ายอ่อนก็คือพวกสังคมนิยมประชาธิปไตย ซ้ายรุนแรงก็คือกลุ่มคอมมิวนิสต์นี้
     การวิเคราะห์แนวโน้มทางกาเมืองแบบนี้เป็นการหาปัจจัยพื้นฐานทางจิตที่มีความสัมพันธ์กับท่าที่ทางการเมืองของปัจเจกชน ด้วยวิธีทางคณิตศาสตร์ การแยกขวากับซ้ายไม่ค่อยมีปัญหาถกเถียงมากนัก แต่การแยกระหว่างแข็ง อ่อน หรือที่มีกลุ่มความคิดอื่นที่แยกนักปฏิบัติ หรือการจำแนกประเภท ของวิลเลียม เจมส์ เรื่องจิตใจอ่อนและจิตใจแข็ง ยังมีปัฐหาภกเถียงกันอีกมาก เพราะมีส่วนของการศึกษาที่ต้องใช้ปัจจัยอีกลายอย่างอันเป็นภูมิหลังของแต่ละคนซึ่งเป็นสิ่งที่กำหนดแน่ชัดไม่ได้
     ขวาและซ้าย ปฏิรูปและปฏิวัติ
ในการแบ่งซ้ายแบ่งขวาในการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อจะสามารถทำความเข้าใจได้อย่างกว้าง ๆ ว่าแตะละฝ่ายมีจุดมุ่งหมายทางการเมืองอย่างไรในสงคมและละสังคมไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ พัฒนแล้วหรือยังไม่พัฒนา จะต้องประกอบด้วยพวกที่พอใลพวกที่ไม่พอใจ การต่อสู้ทางการเมืองก็คือการต่อสู้ระหว่างฝ่ายที่พอใจในระเบียบที่มีอยู่แล้ว และต้องการรักษาไว้ เรียกว่า ฝ่ายขวา และฝ่ยี่ไม่พอใจระเยีบที่เป็นอยู่ ดังันั้นจึงต้องการที่ใหมีการเปลียนแปลง ฝ่ายนี้เรียกว่า ฝ่ายซ้าย แต่ละฝ่ายต่างก็มียุทธศาสตร์เฉพาะของตน เป็นแนวทางไปสู่ชัยชนะทางการเมืองในที่สุด
     การแบ่งกลุ่มปฏิวัติและกลุ่มปฏิรูปภายในฝ่ายซ้ายเป็นเรื่องที่ได้ทำกันมานานจนเป็ฯธรรมชาติของฝ่ายซ้าย กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงระเบียบในสังคมทำได้ 2 วิธี วิธีของกลุ่มปฏิวัติคือการทำลายระบอบสังคมที่เป็นอยู่ ส่วนวิธีของกลุ่มปฏิรูปคือการค่อยๆ ทำลายระเบียบที่มีอยู่อย่างค่อยเป็นค่อยไป เปลี่ยนไปที่ละอย่าง ๆ ขณะเดียวกันก็นำระเบียบใหม่เข้ามาแทนที่ทุกครั้งที่มีการทำลายของเก่า
     ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 ภายในพรรคสังคมนิยมจะมีกรโต้เถียงและขัดแย้งกัยอย่างรุนแรงเมอระหว่างกลุ่มปฏิวัติและกลุ่มปฏิรูป แต่ต่อมาในยุคปัจจุบันนี้เมื่อพรรคสังคมนิยมเลิกล้มจุดมุ่งหมายในการปฏิวัติ การขัดแย้งกันเองในเรื่องดังกล่าวก็พลอยยุติไปด้วย แต่ในทางตรงกันข้ามสำหรับพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นหลุ่มปฏิวัติทั้งหมด ปัญหาการขัดแย้งระหว่างกลุ่มปฏิรูปและกลุ่มปฏิวัติก็ไม่มีไปด้วย
     การโต้เถียงระหว่างกลุ่มปฏิรูปและกลุ่มปฏิวัติในค่ายฝายซ้ายนั้น บางทีก็เป็นเรื่องของการใช้อารมณ์ บางที่ก็เป็นเรื่องเหตุผล กล่าวคือการปฏิวติเป็นความฝันเดิมของพรรคสังคมนิยมในฝรั่งเศส แต่เป็นอุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์โดยทั่วไป ดังนั้นกลุ่มปฏิรูปในค่ายซ้ายจึงถูกมองในแง่ที่ว่าเป็นกลุ่มที่ทรยศต่อหลักการในสายตาของกลุ่มปฏิวัติ  ส่วนในแง่ของเหตุผลกลุ่มปฏิวัติมีความเห็นว่าการปฏิรุปเป็นเพียงภาพหลอนเท่านั้น เพราะว่าการทำลายระเบียบเก่าของสังคมจะค่อย ๆ เผลี่ยนไปที่ละอย่างไม่ได้ วิธีการปฏิรูปนั้นจะทำได้ก็แต่เพียงเรื่องที่สำคัญอันดับรองเท่านั้น แต่เมือไดที่ฝ่ายซ้ายเข้าไปแตะต้องส่วนที่เป็นแก่นเป็นหลักของฝ่ายขวา แล้วฝ่ายขวาจะต้องโต้ตอบด้วยกำลังรุนแรงและโดยทั่วไปแล้วฝ่ายขวาก็เป็นฝ่ยที่กำลังกุมอำนาจรัฐอยู่ซึ่งก็เป็นฝ่ายที่ต้องชนะอยู่ดี กล่าวโดยสรุปแล้ว ยุทธศาสตร์ของฝ่ายซ้ายก็มีอยู 2 แบบคือ  แบบที่ใช้การปฏิรูปและแบบที่ใช้การปฏิวัติ พรรคการเมืองบางพรรคก็นิยมการปฏิรูและบางพรรคก็นิยมวิธีการปฏิวัติ
     จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นทำให้เห็นว่ามีการกระจายความแตกต่างของค่ายระหว่างขวากับซ้ายไปเป็นพื้นฐานยุทธศาสตร์การเมืองที่กำหนดจากจุดมุ่งหมายและวิธีการ 4 แบบ ด้วยกันคึอ ขวาจัด ขวาอ่อน ซ้ายปฏิรูป ซ้อยปฏิวัติ การต่อต้านหรือการเป็นแนวร่วมระหว่างกันในท่าทีการเมือง 4 แบบนี้ขึ้นอยู่กับสถานะการ์ที่แตกต่างกันในแต่ละสังคมแต่ละสมัย

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...