Lefe-Right Politics

     ในจักวรรดิโรมัน เผด้๗การเป็นสถาบันที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจะประกาศออกมาใช้ยามเมือจัรวรรดิอยู่ในภาวะวิกฤติ ระบบการแบ่งแยกอำนาจจะถูกยกเลิกชั่วคราว เหลือไว้แต่ผู้กุมอำนาจสูงสุดแต่เพียงผุ้เดียวได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็น “เผด็จการ” โดยให้อยู่ในตำแหน่งนี้ครั้งละ 6 เดือน ผู้ดำรงตำแหน่งเผด็จการมีสิทธิเต็มที่ในการใช้มาตรการทุกชนิเพื่อการอยู่รอดของรัฐ ระเบียบวิธีนี้คล้ายันมากกับระเบียบวิธีของกฎหมายสมัยใหม่ที่เรียกว่าเป็น “ภาวะฉุกเฉินหรือกฎอัยการศึก การใช้อำนาจเต็มเช่นนี้มีอยู่ในบทบัญญัติขิงดฎหมายรัฐธรรมนูญหลายประเทส
     ในระหว่างที่ใช้ธรรมนูญนี้ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามกรกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร หรือราชบัลลังก์หรือการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลาย ก่อกวนหรือคุกคามหรืความสงบภายน หรือมาจากภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติของรัฐมนตรีมีอำนาจสังการหรือกระทำการใด ก็ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้น เป็นคำสั่งหรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
     วิวัฒนาการของเผด็จการที่ถูกต้องตามกฎหมายตามที่นำมาอ้างถึงี้ เป็ฯที่น่าสนใจตรงที่ว่ามีหลักฐานจากประวัติศาสตร์ว่า เผด็จกานั้นมีจุดเริ่มจากผ่ายอนุรักษ์นิยม ในจักรวรรดิโรมันดั้งเดิม เผ็จการถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันระเบียบที่มีอยู่แล้วในสังคม ต่อมาถึงมีการเปลี่นยแปลงรูปแบบของสถาบันไปแล้วสีเดิมก็ยังไม่จางไปมากเท่าใด ในทางตรงกันข้ามกับเข้มขึ้นเรื่อย ๆ กับพัฒนาการของอุดมการประชาธิปไตยสมัยใหม่ ด้วยบทบัญญัติในกฎหมายรัฐธรรมนูญที่อ้างมาแล้วนั้นฝ่ายซ้ายจะจ้องต่อต้านอยู่แล้วโดยธรมชิรติ แต่ฝ่ายขวาจะมีความรู้สึกเห็นด้วยเพราะถือว่าเป็นวิที่ดีที่สุดในการธำรงไว้ซั่งตะเบียบของสังคมที่ดีงาม เผด็จการนั้นไม่จำเป็นเสมมอไปที่จะเกิดขึ้นเป็นปฏิกริยาตอบโต้และเป็นมาตการป้องกันการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่เผด็จการปฏิวัติก็เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในประวัติศาสตร์ในจำนวนครั้งที่ไม่น้อยกว่ากันเลย
     ความสัมพันธ์ของเผด็จการปฏิกริยาและเผด็จการปฏิวัติ
สถานะการ์อย่างเดียวกันอาจก่อให้เกิดได้ทั้งเผด็จกาปฏิกริยา และเผด็จการปฏิวัติกล่าวคือเผด็จการทั้ง 2 แบบนี้เป็นคำตอบของปัญหาเดียวกันนั่นคือ ภาวะที่สังคมกำลังจะแยกจากกันเพราะการมีวิกฤติการณ์ดครงสร้างและวิกฤติการณ์ความชอบธรรม ฝ่ายหนึ่งต้องการเร่งให้แตกออกมาเร็วที่สุด อีกผ่ายหนึ่งต้องการดึงไว้ให้คงที่ให้มากที่สุด ความสำเร็จของเผด้๗การทั้ง 2 ฝ่ายโดยธรรมชาติแล้วจะเกิดขึ้นพร้อมกันไม่ได้ แต่จะเป็นผลแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนั้นขึ้นอยู่กับความสุกงอมของภาวะการณ์ที่ไม่เท่ากั กล่าวคือถ้าเผด็จการเกิดขึ้นช้ากว่าการก้าวหน้าของวิกฤติการณ์ พลังสังคมแบบใหม่พัฒนาไปไกลหกว่าพลังสังคมแบบเก่า ระบอบใหม่ที่จะเกิดขึ้นจะเป็นโอกาสขงฝ่ายปฏิวัติมากว่า หรือถ้าเผด็จการเกิดขึ้นก่อนล่วงหน้า ในขณะที่พลังสังคมและความคิดแบบใหม่ยังอยุ่ในระยะเริ่มผลิเป็นตัวออ่อน ระบอบเผด็จการจะเป็นไปแนวเผด็จการปฏิกริยาฝ่ายขวา
     อยางไรก็ตามคำอธิบายที่กล่าวมานี้เป็นเพียงการวงรูปแย่งกว้าง ๆ เท่านั้น เนื้อหาของสถานะการณ์เฉพาะบางอย่างของบางสังคมจะต้องศึกษาให้ลึกซึ้งกว่านี้เป็นรายๆ ไป เพราะการเลปี่ยนแปลงระบอบของสังคมในลักษณะเผด็จการหรือการช้กำลังบังคับขึ้นอยู่โดยตรงกับระดับการพัฒนาของสังคมหนึ่ง ๆ เป็นสำคัญ
     เผด็จการปฏิกริยาและเผด็จการปฏิวัตินั้นต่างก็ผูกพันและติดตามแทนที่ซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลา แต่ละฝ่ายต่างก็เป็นตัวกระต้นให้เกิดระบอบตรงกันข้าม เพราะว่าเผด็จการทุกรูปแบบต่างก็เกิดมาเพื่อกดฝ่ายตรงกันข้ามให้ล้มลงและยิ่งกดก็ยิ่งเพ่แรงต่อต้า ถ้าเผด็จการใดแสดงประสิทธิภาพของการใช้กำลังบีบบังคับ ในเวลาเดียวกันฝ่ายตรงกันข้ามก็มีความจำเป็นที่จะโต้กลับด้วยกำลังอย่างเดียวกัน แต่ละฝ่ายต่างก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดระบอบตรงกันข้าม เพราะวาเผด็จการใดทุกรูปแบบต่าง ไกดมาเพื่อกฝ่ายตรงกันข้ามให้ล้าลงและยิ่งกดก็ยิ่งเพิ่มแรงต่อต้าน ถ้าเผด็จการใดแสดงประสิทธิภาพของการใช้กำลังบีบบังคับ ในเวลาเดียวกันฝ่าตรงกันข้ามก็มีความจำเป็นที่จะโต้กลับด้วยกำลังอย่างเดียวกัน ด้วยเหตุนี้เผด็จการปฏิวัติยิ่งเพีมกำลังขึ้นก็ยิ่งเสี่ยงที่จะได้รับปฏิกริยาตอบโต้รุนแรง ในเวลาเยวกันเผด็จจกาปฏิกริยาก็เพิ่มอันตรายของการเกิดปฏิวัติด้วย แต่การเคลื่อนไหวของประวัติศาสตร์ เป็นหลักฐานในตัวเองว่า ในระยะยาฝกลไกของฝ่ายปฏิวัติจะเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใกม่กว่าเป็นวิวัฒนาการทางธรรมชาติ ในขณะที่อีกฝ่ายเป็นเพียงสิ่งขัดขวาง ความผูกพันของปฏิกริยาและปฏิวัติไม่ใช้การหมุนเวียนเป็นงูกินหารชั่วนิรันดรแต่เป็นการติตามที่เป็นแรงผลฃลัก ให้มีวิวัฒนาการก้าวหน้าออกไป
      ก่อนคริสตศักราช 6-7 ปี ทรราชย์ต่าง ๆ ของกรีกส่วนมากเป็นเผด็จการปฏิวัติ คือ เมือมีการต่อสู้กันระหว่างเจ้าที่คืนที่มีอำนาจอยู่ตั้งเดิมกับพวกชนชั้นที่เกิดขึ้นใหม่ เพราะพัฒนาการทางเศรษฐกิจ เช่น พวกพ่อค้า ช่างฝีมือ ปัญญาชน ฯ ทราชย์กรีกมักจะเข้าช่วยพวกชนชั้นใหม่นี้รวมทั้งมีความโน้มเอียงสนับสนุนพวก “เพรปิเยี่ยน” หรือมี่เรียกันในศัพท์ใหม่ว่า “มวลชน” ในการปกครองนั้นทรราชย์กรีกไม่ได้ใช้แต่เพียงกำลังเท่านั้น แต่ใช้โวหารโน้มน้าวจิตใจนให้เชื่อถือด้วย มีนโยบายเพ่มภาพษีแก่คนรวย เพื่อยกฐานะคนยากจน นอกจากนี้นดบายเรื่องคามเสมอภาคก็เป็นตำนานเล่าขากันต่อ ๆ มาจากนักเขียนสมัยโบราณ เช่น รเอที่ว่า ทรราชย์คอรินท์ เมือไปเยือนทรราชย์มิลเล็ทเป็นทางการ ได้ถามเจ้าของย้านถึงวิธีการปกครองบ้านเมืองที่ดีที่สุดทำอย่างไร ฝ่ายทรราชย์มิลเล็ทไม่ได้ตอบเป็นคำพูด แต่หยิบรวงข้าวขึ้นมากำหนึ่งแล้วค่อย ๆ ตัดส่วนยอดของรวงที่สูงขึ้นมาเหนือรวงข้าวรวงอื่น ๆ จนกระทั่งรงข้าวทั้งกำสั้นเหมือนกัน
    ตัวอย่างระหว่างเผด็จการขวาและเผด็จการซ้ายมีมาในอดีตสมัย กรีก โรมันมากมายเมือมาถึงสมัยใหม่ ตัวอย่างของการปฏิวัติฝรั่งเศส นับวว่าเป็นตัวอย่างประเดิมของยุคใหม่ได้ทันที
      ระบอบปฏิวัตและปฏิกรียาพลัดกันเดิดขึ้นบ่อยต่อมาในลาตินอเมริการาว ๆ ปลายศตวรรษที่ 19 และต่อมาที่เอเซีย และอาฟริกา ซึ่งเมือมีวิวัฒนาการมาถึงสมัยนี้ ความสำคัญของการต่อสู้กลายเป็นเรื่องระหว่าง ฟาสซิสม์ และคอมมิวนิสต์เป็นส่วนหใญ่
     ในสมัยโบราณปฏิวัติเกิดขึ้นก่อน เผด็จการปฏิกริยาจึงเกิดขึ้นติดตามมา แต่สม้ยปัจจุบันนี้สถานะการณ์กลับกันเป็นส่วนใหญ๋ หลายประเทศ คอมมิวนิสต์ติดตามฟาสซิสต์มา ส่วนน้อยเท่านันที่คอมมิวนิสต์จะเกิดขึ้นก่อนฟาสซิสม์ เพราะเผด็จการฟาสซิสม์ได้เปลี่ยนรูปไปเป็นการป้องกันมากกว่าจะเป็นฝ่ายรุกเสียเอง
       อย่างไรก็ตาม ข้อเขียนเหล่นี้รวบรวมขึ้นจากสถิติต่าง ๆ จากเหจุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วการกลับไปกลับมาระหว่งฟาสซิสฒ์กับคอมมิวนิสต์ยังอยูใกล้ตัวมากเกินกว่าจะหาข้อสรุปเป็นหลักฐานได้ ขณะนี้ยังคงอยุ่เป็นรอบแรกก็ได้รอบสองจึงเป็นเรื่องที่จะต้องเผ้าสังเกตกันต่อไป
    นอกจากนี้ ฝ่ายขวาและฝ่ายซ้านยไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต่อสู้ระหวางหัวรุนแรงทั้งสองฝ่ายเท่านั้น ส่วนมาแล้วภายหลังจากระบอบเผด็จการ ระบอบตรงกันข้ามจะเกิดขึ้นตามคือจากรัฐบาลขวาก็จะเป็นรัฐบาลซ้าย หรือรัฐบาลซ้านก็จะเป็นรัฐบาลขวา ในสมยดบราณมาก็เป็นเช่นนี้ตลอดมา ด้วยการพยายามหาข้อยุติระหว่างกลางของข้อเสนอของฝ่ายปฏิวัติและข้อค้านของฝ่ายปฏิกริยา อย่างไรก็ตามระบอบกลางที่เป็นข้อยุตินั้นอาจจะเป็นได้ทั้งในกรอบของระบอบประชาธิปไตย หรืออาจจะเกิดเผด็จการรูปใหม่ขึ้นก็ได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)