วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

vietnam war(Communist World)

วิกฤตการณ์เวียดนามทำให้จีนเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศ จากการที่คอมมิวนิสต์ในเวยดนามใต้ที่เรียกตัวเองว่าเวียดกง ทวีการก่อการร้ายในเวียดนามใต้ รัฐบาลเวียดนามใต้ภายใต้การสนับสนุนของอเมริกากดขี่พวกถือศสนาพุทธอย่างรุนแรง สองปัจจัยก่อเกิดการล้มอำนาจรัฐบาลในเดือนพฤศจิกายน 1963 ทหารเร่มเข้ามาเล่นการเมืองแย่งชิงอำนาจกันเป็นเหตุใก้การเมืองิวียดนามใต้ปราศจากความมั่นคง เวียดกงก่อการร้ายรุนแรง โดยเเสดงทีท่าเด่นชัดว่ามีเวียดนามเหนือให้ความช่วยเหลือ คามเก่งกล้าของ
เวียดนามเหนือได้ทำให้โลกคอมมิวนิสต์โดยเฉพาะจีนแดงเริ่มหวั่นวิตกในปี 1964  เวียดนามหนือท้าทายอเมริกาและขู่คุกคามว่า ถ้าอเมริการุกรานเวียดนามเหนือ เวยดนามเหนือจะหันไปปรึกษากับจีนแดงและโลกคอมมิวนิสต์ ความเป็นพันธมิตรโดยพฤตินัยระหว่งจีนแดงกับเวียดนามเหนือได้สร้างความหนักใจให้แก่จีนแดง ดังเช่นที่รัสเซียเคยรู่สึกผูกพันต่อจีนแดงในกรณีพิชิตใต้หวัน จีนแดงเร่มเฝ้าดูท่าทีของอเมริกาในเวยนามใต้ เมื่อทูตอเมริกาคนต่อมาล้วนเป็นทหารยศนายพล ได้ทำให้จีนแดงเร่มวิตกอย่างจริงจัง ในขณะเดียวกัน เวียดนามเหนือก็หนุนหลังเวียตกงมากยิ่งขึ้น จนดูประหนึ่งว่าสามารถคุกคามเสถียรภาพความมั่นคงของเวียนามใต้ เมื่อทูตอเมริกาคนต่อมาล้วนเป็นทหารยศนายพล ได้ทำให้จีนแดงเริ่มวิตกอย่างจังจัง ในขณะเดียวกัน เวียดนามเหนือก็หนุนหลังเวียตกงมากยิ่งขึ้น จนดูประหนึ่งว่าสามารถคุกคามเสถียรภาพความมั่นคงของเวียดนามใต้ได้มิใช่น้อย จีนแดงตระหนักดีว่าอเมริกายึดถือทฤาษฎีโดมิโน เวียดนามใต้เป็นกรณีตัวอย่างทดสอบ ถ้าเวียดนามต้เป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่น ๆ จะเป็นตาม ครั้งแล้วการปะทะกันได้เกิดขึ้นเมื่อเวียดนามเหนือโจมตีเรือพิฆาตของอเมริกาในอ่าวตังเกี่ย อเมริกาได้ตอบโต้โดยการโจมตีเวียดนามเหนือทางอากาศ วิกฤตการณ์ตังเกี๋ย ในเดือนสิงหาคม 1964 สร้างความวิตกในแก่จีนอย่างยิ่งด้วยเกรงสงครามจะอุบัติขึ้นใกล้พรมแดนของตน จีนแดงเตือนอเมริกาว่า จีนจะใช้กำลังเข้าแทรกแซงในวิกฤตการณ์เวยดนาม ถ้าอเมริการุกรานเวียดนามเหนือและ ลาวภาคเหนือ โดยนัยนี้ จีนแดงยินยอมให้เวียดนามเหนือรวมเวียดนามใต้ได้ถ้าสงครามเผชิญหน้าอเมริกาจะมีขอบเขตจำกัด ณ ยุทธภูมิแห่งเวียดนามใต้  แต่จะไม่ยินยอมในกรณีที่เวียนามใต้ภายใต้การสนับสนุนของอเมริการวมเวียดนามเหนือ จีนแดงยังต้องการให้มีเวียดนามที่เป็นคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศ หรือกึ่งประเทศเป็นรัฐกันชนเพื่อนบ้าน เพื่อความปลอดภัยของจีนแดงเอง
     พฤติกรรมของจีน ทำให้รัฐเซียหนักใจมากที่สุด คือ ความสำเร็จทางการทูตของจีนแดงที่สามารถผูกมิตรกับฝรั่งเศส ถึงกับฝรั่งเศสรับรองจีนแดง  รัสเซียซึ่งฝังใจมานาน มีความหวาดกลัวการถูกกระหนาบหน้าหลังด้วยศัตรูทีทรงกำลังแสนยานุภาพในที่นี้ รัสเซียกลัวทั้งฝรั่งเศสซึ่งหนุนเยอรมัน และจีนที่อยูประชิดพรมแดนตะวันออก ขณะนั้นเยอรันตะวันตกมีทีที่ปรารถนานิวเคลียร์เช่นกัน โดยมีความสนิทสนมกับอเมริกา รัสเซียระแวงกับการที่จะมีฝรั่งเศสและเยอรมัน ซึ่งล้วนเป็ฯมหาอำนาจที่จะมีนิวเคลียร์ในอนาคตมาเป็นประเทศเพื่อบ้าน
   จากความน่าวิตกนี้ประกอบกับจีนแดงได้เสนอร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ที่สูญเสียดินแดนกับรัสเซียในการเจรจาเรื่องดินแดนใหม่ ซึ่งเป็นข้อวิตกแก่รัสเซียมาก รัสเซียจึงเตือจีนว่ จีนจะประสบชะตากรรมทำนองเดียวกับจักรวรรดิญี่ปุ่น ถ้าจีนเรียกร้องต้องการแผ่ขยายดินแดนล้ำเข้าไปในพรมแดนของรัสเซีย..ความบาดหมางกัยอย่งเปิดเผยนับแต่ปี 1963 ได้ทำให้บรรดาคอมมิวนิสต์ทั่งโลกพยายามเสนอตัวเข้าไกล่เกลี่ย แต่ไร้ผลโดยสิ้นเชิง ความพยายามของรัสเซียที่จะขจัดจีนแดงออกไปจากทางประจวบเหมาะกับเกิดวิกฤษติทางการเมืองในรัสเซียเอง รัสเซียเริ่มตระหนักถึงภัยของจีนมากขึ้นทุกที
    ครุสเซฟดำเนินนโยบายสัมพันธ์อันดีกับเยอรมันตะวันตก ทำให้ฝ่ายปฏิปักษ์ของครุเซฟหวาดวิตกมาก เพราะภัยที่แท้จริงในทัศนะของบุคคลกลุ่มนี้คือภัยเยอรมันมิใช้ภัยจากจีนแดง ครุสเซฟดำนินนโยบายต่างประเทศค่อนข้างจะเป็นเอกเทศ และเป็นนโยบายค่อนข้างรุนแรง อาทินโยบายประณามสตาลิน กระทั่งรัฐบริวารกระด้างกระเดื่อง การดำเนินนโยบายต่างประเทศต่ออเมริกากระทั่งตระบัดมิตรกับจีนแดง และนโยบายที่ดำเนินผิดพลาดที่สุดในกรณีคิวบา ครุสเซฟคิดจะสั่งสอนจีนแดง ด้วยการคิดวางแผนบุกและยึดครองชินเดียง ซึ่งเป็นศูนย์ค้นควาอาวุธนิวเคลียร์ของจีนแดง ซึ่งเป็นที่หวาดวิตกของกลุ่มชั้นผุ้นำของรัสเซียมาก ในวันที่ 15 ตุลาคม 1964 รัสเซียประกาศปลดครุสเซฟออกจากตำแหน่งท่ามกลางความพิศวงของประชาคมโลก

    วันต่อมาจีนทดลองอาวุธนิวเคียร์ลูกแรด จีนแดงกำลังก้าวมาเป็นมหาอำนาจ ในขณะที่รุสเซียเปรียนตัวผู้นำ และวิกฤตการณ์ในอินโดจีนได้ทวีวามสลับซับซ้อนมากขึ้นในการดึงอเมริกาเข้ามาเกี่ยวข้อง
     จีนแสดงความกระตื้อรื้อล้นที่จะฟื้นฟูสัมพันธภาพอันดีกับรัสเซีย จูเอนไล นำคณะผู้แทนจีนเข้าร่วมฉลองวันครบรอบปฏิวัติ ณ มอสโคว์ เป็นการเชื่อสัมพันธ์ไมตรี แสดงท่าทีว่าจีนแดงมีความเป็นมิตรต่อผุ้นำใหม่รัสเซีย คือ นายโคลิกิน นายกรัฐมนตรี และนายเบรสเนฟ เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ แต่รัสเซียยังคงดำเนินนโยบายต่างประเทศตามแนวของครุสเซฟ การเปลี่ยนผุ้นำย่อมไม่ได้หมายถึงการเปลี่ยนนโยบายเพียงแต่เปลี่ยนผู้นำใหม่ที่มีวิธีการใหม่ในการดำเนินนโยบายเดิมหลักการเดิมเท่านั้นเองความสัมพันธ์ของจีนและรัสเซียนั้นยังคงอึมครึมแต่แล้วก็มีสถานการณ์หนึงเข้าขัดจังหวะซึ่งส่งผลดีแก่รัสเซีย คือ วิกฤ๖การ์ในอินโดจีน
     7 กุมภาพันธ์ 1965 สหรัฐอเมริกาเร่มกลยุทธโจมตีเวียดนามเหนือทางอากาศจีนวิตกเสถียรภาพความมั่นคงของตนนมาก เมื่อนายโคชิกิน นายกรัฐมนตรีรัฐเซียเยือนปักกิ่งในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ เขาได้รับการต้อนรับขับสู่อย่งดี มีการเปิดการเจรจาเรื่องเวียดนามเหนืออย่งเคร่งเครียด รัสเซียเสนอให้รัฐ
คอมมิวนิสต์ที่เกี่ยวข้องเปิดการเจรจากับสหรัฐอเมริกาด้วยปัญหาอินโดจีน โดยมิคำนึงถึงอทธิพลฐานะของจีนแดงในภูมิภาคเท่าใดนัก รัสเซียมุ่งจะป้งกันมิให้วิกฤติการณ์ในอินโดจีนขยายตัวออกไป นโยบายของรัสเซียจึงขัดกับจีนแดงอย่างรุนแรง นักศึกษาจีนประท้วงหน้าสถารทูตอเมริกาในมอสโคว์ทั้งนี้การที่จีนแดงประท้วงมีผลกระทบกระเทือนไปถึงการเตรียมประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกด้วย บรรดาพรรคคอมมิวนิสต์ส่วนใหญไม่เห็นด้วยที่รัสเซียจะใช้เสียงที่ประชุมบีบจีนแดงให้ปฏิบัติตามความประสงค์ของรัสเซีย ณ ที่ประชุมซึ่งมีขึ้นในวันที่ 5 มีนาคม บรรดาพรรคคอมมิวนิสต์อาเซียนรวมทั้งเวียดนามเหนือและจีนแดงไม่เข้าร่วมประชุม เป็ฯการท้าทายรัสเซียอย่างอาจหาญ รัสเซียได้แต่เรียกร้องให้โลกคอมมิวนิสต์ให้โลกคอมมิวนิสต์ร่วมกันพิทักษ์เวียดนามเหนือ ความคิดที่จะบีบบังคับให้ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกต้องเลิกราไปชั่วขณะหนึ่ง
      ในขั้นต้นข้อเรียกร้องของรัสเซียเพื่อ “ปฏิบัติการร่วมกัน” ค่อนข้างจะได้ผลจีนแดงค่อยๆ ยินยอมให้รัสเซียขนส่งอาวุธทางรถไฟฝ่านจีนได้ แต่แล้วรัสเซียได้สำแดงเจตนาที่แท้จริงออกมาว่าควรมีมีการประชุมระหว่งรัสเซีย จีนแดง และเวียดนามเหนือ เพื่อพิจารณาการขนส่งอาวุธทางรถไฟและทางอากาศฝ่ายจีนแดง

     วิกฤตการณ์เวียดนามดูจะมีความเกี่ยวข้องกับสัมพันธภาพระหว่างจีนแดงกับรัสเซียอย่างแยกกันไม่ออกจีนแดงถือว่ารัสเซียต้องทุ่มความช่วยเลหือแก่เวียดนามเหนือ ในฐานะเป็นผุ้นำโลกคอมมิวนิสต์ รัสเซียควรปฏิบัติเช่นนั้น แต่รัสเซียก็มิอาจจะเสี่ยงเช่นนั้น ด้วยเกรงว่าการแทรกแซงทางทหารโดยตรงในวิกฝฟตการณ์เวียดนามจะเป็นการยั่วยุให้รัสเซียต้องเผชิญหน้ากับอเมริกา รัสเซียเลี่ยงพันธกรณีความรับผิดชอบในกรณีเวียดนามด้วยการตั้งกติกาว่า ควรเป็นควมช่วยเหลือร่วมกัน คือ โลกคอมมิวนิสต์ทั่งมวลร่วมกัน
     ทั้งรัสเซียและจีนแดง ต่างไม่ปรารถนาที่จะเข้าแทรกแซงทางทหารในสงคราเวียดนาม ต่างไม่ต้องการเสี่ยงเผชิญหน้าอเมริกา แต่ในแนวทางเดียวกัน ต่างก็อ้างตนเป็นมิตรในยามยากร่วมอุดมการณ์กับเวียดนามเหนือ ต่างผลักดันให้อีกฝ่ายเข้าสงครามเพื่อรอคอยความหายนะ วิกฤตการณ์เวียดนามได้กลายเป็นเครื่องพิสูจน์ความหมายของพันธกรณีทางอุดมการณ์ในการปฏิวัติโลกที่โลกคอมมิวนิสต์ได้แสดงเสมอมา

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ฺBalance of power

จีนแดงได้พยายามเสริมสร้างกำลังอำนาจทางทหารของตนขึ้นใหม่ โดยรัสเซียให้ความช่วยเหลือ ในระยะแรกเพื่อพัฒนาประเทศโดยมิต้งกังวลกับภัยจากไต้หวัน หรืออเมริกา แต่เมื่อสัมพันธภาพระหว่างจีนกับรัสเซียได้ดำเนินมาถึงปี 1956 รัสเซยแสดงตนเป็นมหามิตรที่วางใจไม่ได้ โดยการที่ไม่เต็มใจสนับสนุนและช่วยเหลือจีนสร้างระเบิดนิวเคลียร์ และเจรจาลดอาวุธกับอเมริกาในลักษณที่เสมือนจะมีไมตรีต่อกัน  จีนแดงระหนักถึงความจำเป็นของการบยื่นได้ด้วยตนเอง  จีนได้เริ่มโครงการณ์สร้างระเบิดนิวเคลียร์นับแต่นั้นมา  จีนประสบความสำเร็จแม้ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัสเซีย ถึงกระนั้นกำลังอำนาจทางทหารยังล้าหลังอเมริกาและรุสเซียอยู่มาก ตราบใดที่ยังไม่สามารถพัฒนากำลังให้เสมอกับมหาอำนาจ จีนแดงถือว่ายังไม่มีกำลังอำนาจทางทหารที่เข้มแข็งอย่างแท้จริง
     จีนแดงไม่อยู่ในฐานะที่จะรุกรานชาติใด สงครามหมายถึงการสินยเปลืองกำลังผู้คน สูญเสยกำลังทางเศรษฐกิจ และเสียงต่อการสูญเสียอำนาจ จีนแดงได้รับบทเรียนจากสงครามเกาหลีที่จะทำให้จีนระมัดระวังตนเองมิให้เพลี่ยงแล้ถลำตัวเข้าสงครามโดยไม่จำเป็นเด็ดขาด

     ในฐานะที่เป็นชาติที่มีกำลังอำนาจทางทหารยังไม่เข้มแข็งแต็มที่ จีนไม่สามารถเสี่ยงยั่วยุให้เกิดสงครามได้ การเป็นฝ่ายริเริ่มสงครามนั้นมิได้เป็นนโยบายของจีน ดังคำกล่าวของนายกรัฐมนตรีจีน นาย จู เอนไล ย้ำแล้วย้ำอีกหลายครั้งให้โลกรู้ว่า “จีนจะไม่เป็นฝ่ายริเริ่มก่อสงครามกับสหรัฐอเมริกา” ซึ่งเท่ากับเป็นการเชื้อเชิญสหรัฐอเมริกาโดยตรง
     ไม่มีมหาอำนาจใดแม้จะอุมการ์แตกต่างกันจะยินยอมให้จีนแดงขยายอำนาจโดยมุ่งมาที่ภูมิภาคเอซยอาคเนย์ ซึ่งการขยายตัวดังกล่าวจะกระทบกระเทืนถึงดุลอำนาจซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งไม่มีมหาอำนาจใดที่จะยินยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจโดยพลการ มหาอำนาจต่าง ๆ เพียงแต่ยิยิมหรือจำยอมรับว่าจีนแดงสนับสนุนขบวนการปฏิวัติในเอเซียอาคเนย์ แต่จะขัดขวางทันที่ถ้าจีนอกงใช้กำลังทหารรุกรานชาติใดในภูมิภาคนี้
     ในกรณีการรุกรานชาติใด ๆ ในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์โดยเฉพาะที่เป็นแหล่งจุดยุทธศาสตร์สำคัญ หรือเป็นมหามิตรของสหรัฐอเมริกา เช่น ประเทศไทย จีนแดงจำต้องพิจารณาโดยรอบคอบถึงการเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกาซึ่งประกาศเจตจำนงอย่างเด็ดเดียวที่จะประกันเอกราชบูรณภาพของชาติต่าง ๆ ในเอเซยอาคเนย์ ประเทศไทยเป็นกุญแจไปสู่เสถียรภาพความมั่นคงของภูมิภาคนี้ ณ ที่ประชุมกัลกัคตา เมื่อปี 1951 ว่า ประเทศไทยเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการเปลี่ยนเอเซียอาคเนย์เป็นคอมมิวนิสต์ ประเทศไทยตั้งอยู่ศูนย์กลางของภูมิภาคเสมือนเป็นหัวใจหรือแกนกลางของภูมิภาคนี้โดยตรง ถ้าครอบครองไทยได้ หรือสามารถทไปทยกลายเป็นคอมมิวนิสต์ได้ ภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ย่อมจะมีทางโอนเอียงเป็นคอมมิวนิสต์
     แบบอย่างของ เมา เซ ตุง
ตามทัศนาะของเมา เช ตุง โลกนี้มีความขัดแย้งอย่างแตกต่างเป็นตรงกันข้ามอยางสำคัญยิ่งสอลประทเภท ได้แก่ ประเภทที่มีลักษณะโดยเฉพาะ และที่มีลักษณะเป็นสากลนิยมทั่วไป จีนแดงได้แยกลักษณะไว้ว่า ประเภทที่มีลักษณะโดยเฉพาะเป็นความขัแย้งแตกต่างกันของผลประโยชน์และอำนาจอิทธิพลภายในกลุ่มชนโดยเฉพาะและภายในรัฐอาณาจักร ส่วนประเภทที่มีลักษณะแบบทั่วไปนั้นเป็นความขัดแย้งแตกต่างระหว่งลัทธิจักรวรรดินิยมกับประเทศที่ด้อยพัฒนา การขจัดความขัดแย้งแตกต่างกันในประเภที่ทเป็ฯสกลทั่วไปนี้ต้องดำเนินการโดยใช้กำลังอาวุธทำสงครา สงครามประเภทนี้คือ สงครามปฏิวัติ เป็นการปฏิวัติ ระบบสังคม เศรษฐกิจและการเมือง สงครามประเภทนี้มีหลักการสำคัญยิ่งสองหลักการ คือ หลักยึดความสนับสนุนจากมวลชน และหลักยึดพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ของ มาร์คซ์ และเลนิน ถ้า ปราศจากสองหลักการนี้ ขบวนการคอมมิวนิสต์จะยืนหยัดอยู่มิได้ ในการต่อสู้เพื่อำนาจระหว่างมวลชนที่ถูกกพขี่กับฝ่ายรัฐบาล มวลชนนั้นจะต้องมีพรรคการเมืองของตนเองที่มีการบริหารงานอย่างมีระเบียบแบบแผน และมีกำลังกองทัพของตนเองที่มีการบริหารงานอย่างมีระเบียบแบบแผน และมีกำลังกองทัพของตนเอง
     เมา เช ตุงได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “สงคราม”ว่า เป็นการต่อเนื่องของการเมือง และได้ย่ำถึงความสำคัญของอำนาจการเมืองว่า “อำนาจทางการเมืองนั้นย่อมได้มาจากปลายกระบอกปืน” กล่าวคือ อำนาจทางการเมืองได้มาจากการใช้กำลังอาวุธต่อสู้แย่งชิง การปฏิวัติจะบรรลุจุดมุ่งหมายได้วิธีเดียว คือการทำสงครามใช้กำลังแย่งชิงอำนาจ ตามหลักการของเมา เช ตุง ถือว่า “..การใช้กำลังกองทัพยึดอำนาจขจัดปัญหาข้อขัดแย้งทั้งมวลเป็นแกนกลางของภาระงานและเป็นแบบอย่างสูงสุดของการปฏิวัติ”
     สงครามปฏิวัติเป็นภาระอันหนักหน่วงมาก ต้องอาศัยกำลังพลังอำนาจทางทหารอีกประการหนึ่ง สงครามปฏิวัติเป้นสงครามของมวลชน กระทำโดยมวลชนและจะบรรลุถึงชัยชนะได้ก็ด้วยมวลชน การเรียกหาเกณฑ์กำลังผู้คนมวลชนนี้จะก่อให้เกิด “ห้วงมหรรณฑ อันกว้างใหญ่ ไพศาลของมนุษยชาติ” และจะดึงดูดให้สัตรูก้าวถลำลงไปโดยนัยนี้ มวลชนคือพลังสำคัญของการปฏิวัติ มวลชนนี้จะมีแต่ในรัฐที่ด้อยพัฒนา และส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกสิกร สงครามที่กระทำโดยมวลขนนี้เองที่เมา เช ตุงเรียกว่าสงครามประชาชน.. ในขณะที่ชาวตะวันตกเรียกว่า..ปฏิวัติ  สงครามนี้โดยเนื้อแท้คือสงครามประชาชนต่อต้านรัฐบาลและอิทธิพลจักรวรรดินิยมภายนอก จึงมีอีกชื่อหนึ่งเรียกันว่าสงครามประชาธิปไตยแห่งชาติ มุ่งสร้างระบอบประชาธิปไตยและขับไล่อิทธิพลการเมืองของต่างชาติ  สงครามนี้มีสองระดับ คือ
- สงครามที่นำโดยชนชั้นกลาง มุงกอบกู้เอกราชโดยต่อต้านระบบศักดินาสวามิภักดิ์ และลัทธิจักรวรรดินิยม
- สงครามนำโดยคอมมิวนิสต์ มุ่งเปลี่ยนระบอบการปกครอง ระบบเศรษกิจและสังคม

      พรรคคอมมิวนิสต์จะเกณฑ์ประชาชนมาเป็ฯกองโจรและสร้างกองทัพของตนเองขึ้นทั้งกองทัพ และกองโจรนี้ต้องได้รับการศึกษาและฝึกอบรมอย่างถี่ถ้วยให้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งทั้งกองทัพ และกองโจรนี้ต้องได้รับการศึกษาและฝึกอบรมอย่างถี่ถ้วยให้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในลัทธิอุดมการณืทางการเมือง ที่สำคัญ คือ ลัทธิมาร์คซ์ และเลนิน และฝ่นการฝึกอบรมทางทหารที่สำคัญ พรรคคอมมิวนิสต์ต้องเป็นผู้บังคับบัญชากองทัพแดงและเป็นผู้นำมวลชน จะให้กองทัพหรือมวลชนนำการปฏิวัติมิได้โดยเด็ดขาด นโยบายชองพรรคและนโยบายจุดมุ่งหมายของมวลชน นโยบายของพรรคและนโยบายจุดมุ่งหมายของมวลชน ต้องได้รับการพิจารณาถือเป็นหลักในการกำหนด นโยบาย มวลชนมีส่วนกำหนดนโยบายของพรรค แต่นโยบายพรรคจะกำหนดนโยบายมวลชนมิได้กล่าวคือ การกำหนดนโยบายของพรรคต้องคำนึงถึงความต้องการและผลประโยชน์ของมวลชนเป็นหลักเสมอ ทั้งนโยบายพรรคและนโยบายของมวลชนจึงต้องดำเนินควบคู่กันไป
     สงครามระหว่างรัฐบาลกับคอมมิวนิสต์จะต้องใช้กลยุทธกองโจร คราบเท่าที่คอมมิวนิสต์ยังไม่เข้มแข็งพอ กลยุทธกองโจรนี้จึงถืกันว่าเป็นขั้นต้นของสงครามปฏิวัติ หน้าที่สำคัญสุดของกลยุทธแบบกองโจรนี้คือการเกณฑ์กำลังผู้คนฝึกอบรมให้มีการศึกษาและเข้าใจลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างลึกซึ้งและการโฆษณาชวนเชื้อ
     การใช้ยุทธวิธีกองโจนนี้มักจะใช้ควบคู่กับการถ่วงยือเยื้อสงคราม สงครามปฏิวัติจึงมีลักษณะเป็นสงครามนอกแบบแตกต่างจากสงครามตามที่นิยมกัน ตามปกติของสงครามทั่วไป มักจะมีกำหนดเวลและสถานที่กระทำสงครามกัน ผลชัยชนะหรือแพ้จะประกฏเฉพาะในการรบแนวต่าง ๆ และตามกำหนดเวลา แต่สงครามปฏิวัติมิได้เป็นไปเช่นนั้นการได้เปรียบเสียเปรียบและการเหนือกว่าในแนวรบนั้นไม่คงที่เสมอไป กำลังทางทหาร หรืออำนาจทางทหารในสงครามประเภทนี้เปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน เมื่อฝ่ายตรงข้ามพยายามจะทุ่มกำลังปราบปราม สงครามปฏิบัติก็จะใช้วิธีการถ่วงยืดเยื้อมิให้สงครามยุติลงได้ นานเท่านนานตรบใดที่ขบวนการปฏิวัติยืนหยัดต่อต้านอยู่ อีกฝ่ายก็จะต้องสิ้นเปลื่องกำลังผู้คน ทรัพยากรธรรมชาติมากเป็นลำดับ สงครามถ้วงยือเยื้อจึงเป็นสงคราททดสอบความอดทนว่าฝ่ายใดทนทานได้มากกว่าก็จะมีทางได้ชัยชนะ ในการทำสงครามประเภทนี้ย่อมไม่มีการระบุแนวรบให้ตายตัวและไม่กำหนดเวลารบ กองโจรอาจจะปรากฎตัวปฏิบัติการที่ใดเวลใดก็ได้ โดยอีกฝ่ายไม่อาจจะคาดคะเนได้ เพราะกองโจรเป็นฝ่ายอยู่ในที่กำบังที่อีฝ่ายสุดที่จะตามเข้าไปปราบปรามได้โดยง่าย
     ดังนั้นการดำเนินนโยบายต่างประทเศของจีนนั้นมิได้ดำเนินไปโดยปราศจากเหตุผลปัจจัยใด ๆ เป็นพื้นฐาน ความปรวนแปรของสถานะการณ์โลก โลกทรรศน์ของจีนอิทธิพลลัทธิดมการณ์ สังคมนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์ ตลอดจนอิทธพลแนวความคิดทฤษฎีทางการเมืองของเมาเซตุง ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญส่งเสริม ของจีนแดงแต่ที่เป็นปัจจัยสำคัญสุดในการกำหนดวินิจฉัยนโยบายต่างประเทศ ปัจจัยเสถียรภาพความมั่นคงของรัฐอาณาจักร ส่วนการเผยแพร่อุดมการณ์เป็นความมุ่งหมายที่สำคัญรองลงมา..

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

SEATO : The Southeast Asia Collective Defense Treaty of 1954

     ข้อตกลงเจนีวาปี 1954 กำหนดจัดการดินแดนอินโดจีนคือหนึ่งในลาวและกัมพูชาให้ยุติการสู้รบ ถอนทหารฝรั่งเศสและเวยดมินออกจากพื้นที่ จัดตั้งรัฐบาลและให้มวลประเทศทั้งหลายในโลกยอมรับในเอกราช และความเป็นกลางของลาวและกัมพูชา สองในเวียดนามให้ยุติการสู้รบกำหนดเส้นแบ่งดินแดนเวียดนามอย่างเป็ฯการชั่วคราวที่เส้นขนาน 17 องศาเหนือ เวียดมินภายใต้การนำของโฮจิมินถือครองดินแดนเวียดนามเหนือเส้นขนาน 17 องศาเหนือเรียกเวียดนามเหนือ มีกรุงฮานอยเป็นศูนย์กลางการปกครอง รัฐแห่งเวียดนามภายใต้การนำของจักรพรรดิเบาได๋ถือครองดินแดนเวยดนามใต้เส้นขนาน 17 องศเหนือเยกร้องเวียดนามใต้ มีกรุงไซง่อนเป็นศูนย์กลางการปกครองและกำหนดจัดการเลือกตั้งในเดื่อนกรกฏาคม ในดินแดนเวียดนามเพื่อการรวมดินแดนนำสู่ การจัดตั้งรัฐบาลและการมีเอกราชที่สมบูรณ์ในอนาคต สามกำหนดจัดตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยตัวแทนจากแคนาดา โปแลนด์และอินเดียเพื่อคบวบคุมดูแลให้รัฐบาลเวยดนามทั้งสองปฏิบัติตามข้อตกลงทุกประการ สหรัฐอเมริกาและรัฐแห่งเวยดนามไหนด้วยกับการกำนหดการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม เพราะเกรงว่าเวียดมินจะชนะคุมเสียงข้างมากในรัฐสภา ลัทธิคอมมิวนิสต์จะแผ่ขยายทั่วดินแดนเวียดนาม และจะนำเวียดนามสู่การเป้นสมาชิกโลกคอมมิวนิสต์หรือโลกตะวันออก ภายใต้ขอ้ตอลงเจนีวา ในเวียดนามใต้จักรพรรดิเบาได๋แต่งตั้งให้โงดินเดียมเป็นนายกรัฐมนตรี และสหรัฐอเมริกาเริ่มจัดส่งคณะที่ปรึกษาอเมริกันทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารเข้าช่วยพัฒนาเวียดนามใต้
     ข้อตกลงเจนีวาปี 1954 นำสู่การเกิดสงครามเวียดนาม ภายใต้ข้อตกลงเจนีวาปี 1954 จักรพรรดิเบาได๋นำการปกคอรงในเวียดนามไต้แต่งตั้งให้โงดินเดียม เป้นนายกรัฐมนตรีในปี 1955 เวียดนามใต้หรือรัฐแห่งเวียดนามเปลี่ยนชื่อประเทศใหม่ว่าสาธารณรัฐเวียดนาม และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณัฐมีโดนเดียนเป็นประธานาธิบดี นำการบริหารประเทศ สหรัฐฯให้การสนับสนุนประธานาธิบดีโงดินเดียม ภายใต้การปกครองของโงคิมเดียมมีการทุจริตในวงการเมือง ยึดมั่นในระบบพวกพ้อง ที่ดินส่วนใหญ่เป็นของคนรวย ชาวเวียดนามส่วนใหญ่ยากจนโดยเฉพาะอยางยิ่งเกษตรกรไม่มีดินแดนเป็นของตนเองในการทำเกษตรกรรมการปฏิรูปเศรษฐฏิจและสังคมมีน้อยมาก และโงดินเดียมไม่ปฏิบยัติตามข้อตกลงเจนีวา ในประเด็นปฏิเสธจัดการเลือกตั้งในเวียดนามใต้ในเวียดนามใต้ซึ่งไม่ศรทธาในโงดินเดียมอยู่แล้วไม่พอใจ ในปี 1957 เวียดมินในเวยดนามใต้ประกาศตนเป็นศัตรูกับรัฐบาลโงดินเดียมภายใต้ชื่อว่าเวียดกง รวมตัวจัดตั้งแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติ มุ่งปฏิบัติการปฏิวัติโค่นล้มอำนาจรัฐบาลโงดินเดียม ปฏิบัติการสู้รบแบบกองโจร เวียดนามเหนือฝ่านลาวและกัมพูชาสู่เวียดนามใต้ เรียกเส้นทางนี้ว่าเส้นทางโฮจิมิน อันถือเป็นการเริ่มต้นสงครามเวียดนาม


    สงครามเวียดนาม
    เริ่มจากสงครามกลางเมือง  โดยชาวเวียดนามสองกลุ่มเพื่อการตัดสินใจการทีรูปแบบรัฐบาลปกครองประเทศ จากสงครามกลางเมืองพัฒนากลายเป็นข้อขัดแย้งระหว่างประเทศดึงสหรัฐอเมริกาให้ต้องเข้าร่วมสงครามเป็นเวลายาวนาน พวกเวียดมินและเวียดกงเรียกสงครามเวียดนามว่าสงครามเพื่อการปลดแอกชาติ อันหมายถึงเวียตนามเหนือตองการยุติการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาที่ให้แก่เวียดนามครั้งนี้จีนและรุสเซียให้กาสนับสนุนด้านยุทธปัจจัยเท่านั้นแก่เวียดนามเหนือที่ให้แก่เวียดกง สหรัฐใหนการสนับสนุนเวียดนามใต้เริ่มด้วยการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญอเมริกัทั้งฝ่ายพลเรื่อนและฝ่ายทหารจำนวน 675 คนให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลเวียดนามใต้และยุทธปัจจัยช่วงปี 1955-1961 มูลค่าปีละกว่า สองพันล้านดอลล่า ด้วยเกรงกลัวต่อการขยายลัทธิคอมมิวนิสต์จากเวียดนามสู่เอเซียตะวันออกเฉพียงใต้
     สหรัฐปกป้องการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ในเอเซยตะวันออกเฉียงใต้ด้วยองค์การสนธิสญญาเอเว๊ญตะวันออกเฉียงใต้ หรือซีโต้ คอมมิวนิสต์ประสบความสำเร้๗ในการขยายอิทธิพลอย่างมากในเอเซียกล่าวคือ ในปี 1954 คอมมิวนิสต์ประสบความสำเณในการขยายอิทธิพลอย่างมากในเอเซียกล่าวคือ จีนคอมมิวนิสต์ยึดครองแผ่นดินใหญ่จีนได้ ในสงครามเกาหลี จีนคอมมิวนิสต์เข้าช่วยเกาหลีอย่างเปิดเผย ในสงครามอินโดจีน รุสเซียและจีนคอมมิวนิสต์หนุนเวียดมินต้านการกลับมามีอำนาจของฝรังเศสในอินโดจีน กองกำลังฝรั่งเศสเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ สหรัฐเกรงการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสตจากอนโดจีสู่เอเซยตะวันออกเฉฑียงไต้ นำการหาทางสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยองค์การสนธิสัญญาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 1954 การจัดตั้งเร่มด้วยในกรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ พันธมิตรแปดชาติคือสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไทย ปากีสถาน และฟิลิปินส์ ร่วมกันลงนามในสนธิสัญญาปัองกันร่วมกันในเอเซยตะวนออกเฉพียงใต้ กำหนดร่วมกันจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ กำหนดร่วมกันจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาเอเซียตะวัออกเฉียงใต้หรือซีโต้ จุดมุ่งหมายของซีโต้คือชาติสมาชิกเป็นพันธมิตรกับทางกองกำลังทหารให้ความสำคัญเพื่อการคงความมั่นคงทางการเมืองและต่อต้านการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Никита Сергеевич Хрущёв

     นิกิต้า เซเกรเยวิช ครุสซอฟ เป็น เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งสหภาพโซเวียต สืบทอดตำแหน่งต่อจากโจเซฟ สตาลิน นิกิต้า เซเกรเยวิช ครุสซอฟ เกิดเมือ่ 15 เมษายน ปี 1894  ในครอบครั้วของแรงงานขุดเหมือแร่ ในหมู่บ้านคาลินอฟกา ในยุคจักวรรดิรับเซียใกล้กับพรหมแดนยูเครนปัจจุบัน บิดาคือ เซอร์เกย์ ครุสซอฟ นิโกโนโรวิช และแม่ชื่อ เคสิเนีย อิวาโนว์  ครุสซอฟได้เรียนหนังสนือแค่สี่ปี และต้องทำงานตั้งแต่อายุ 12 ปี เร่มจากกาทำงานเป็นคนเก็บผลไม้อายุ 14 ปี ครอบครัวย้อยไปทำเหมืองใหล้ ๆ กับเมืองยุซอฟก้า มันเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่เจริญแห่งหนึ่งงของประเทศ ครุเซฟ ทำงานหลายแห่งก่อนที่จะได้ทำงานในโรงงานเหล็ก แต่ไม่นานก็ถูกไล่ออกและได้งานใหม่ที่เหมืองถ่านหินใกล้กับเมืองรุตเชนโกโว่ ปี 1914 เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาได้รับการยกเว้นไม่ต้องเกณฑ์ทหารซึ่งโรงงานดังกล่วต้องทำงานส่งให้เหมืองหลายสิบแห่ง ปี 1918 เข้าเป็นสมาชิกของพรรคบอลเชวิค แต่ก็ยังคงทำงานในเหมืองถ่านหินต่อไปและก็เข้าเรียนหนังสือที่นิคทอุตสาหกรรมโดเนตส์ เขาทำงานให้กับพรรคในพื้นที่ของเมืองเคียฟและดอนบาส์ส
    ครุสซอฟรู้จักกับหัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์ในยูเครนคือ กาจาโนวิชนิสัยของครุสชอฟ สร้างความประทับใจให้กับกาจาโยวิชมาก ต่อมาเขาจึงเป็นผู้สนับสนุนให้ครุสซอฟมาเรียนหนังสือต่อในมอสโควครุสซอฟอยู่ในกองทัพแด่งนแถบเมืองรุตเชนโกโว่ จนได้รับเลือกเป็นคระกรรมการฝ่ายการเมืองของหน่วย 1974 ไรเฟิลที่ 9 ปี 1931 ครุสซอฟได้เข้าเป็นสมาชิกแลทำงานกับพรรคคอมมิวนิสต์ในมอสโคว กระทั้งปี 1938 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์อันกับที่หนึ่ง ประจำยูเครน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขามีบทบาทอย่างมากในฐานะนายทหารระดับสูง จนเมืองสงครามโลกยุติก็มีบทบาทสำคัญในรัฐบาลยูเครน จนธันวามคม 1949 ก็ย้ายจากยูเครนกลับมายังมอสโคว
     ปี 1953 อสัญกรรมของสตาลิน ลาเวรนติ เบเรีย หัวหน้าหน่วยตำรจลับของสตาลิน ได้ขึ้นเป็นรองประธานสภารัฐมนตรีลำดับที่หนึ่งและรัฐมนตรีกิจการภายในในทันที ถือเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโซเวียต หลังจากนั้นกนึ่งวันพันธมิตรของครุสซอฟ กอร์กี มาเลนคอฟ ได้กลายเป็นประธานสภารัฐมนตรีหุ่นเชิดและเบเรียครองอำนาจทุกอย่าง เบเรียมีนโยบายที่จะออกจากเยอมันตะวันออกและหันไปทางสหรับอเมริกาทำให้คณะกรรมการพรรคหลายคนไม่พอใจ และไม่ไจในตัวเบอรีย โดยเฉฑาะครุสซอฟเป็นคนที่ต่อต้านเบเรยอย่างเปิดเผย แต่ว่าไม่สามารถทำอะไรเบเรียได้จนกระทั่งเมือเกิดการลุกฮือของประชาชนในเยอมันตะวันออก สมาชิกพรรคหบายคนกังวลว่านั้นเป็นนธยบายที่ผิดพลาดและจะทำลายโซเวียต  มาเลนคอฟหันไปช่วเหลือครุสซอฟ ครุสซอฟทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากเบรียทำให้เบเรียถูกจับตัว หลังจากนั้นครุสเซฟจึงได้รับแต่งตั้ให้เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งโซเวียต และก็ได้ตำรังตำแหน่ง ประธานสภารัฐมนตรีควบคู่กันไป
    ครุฟซอฟทำให้โลกตกตะลึงด้วยการฝ่ายคลายความเข้มงวดในระบบสตาลิน พร้อมทังประณามความดหดร้ายของสตาลิน ในที่สุดทุกที่ที่มีรูปปั้นสตาลินจะถูกทุบทิ้ง เพลงชาติที่มีชื่อสตาลินก็ถูกลบออกศพของสตาลินก็ย้ายจากวลาดิมีร์ ไปผุ้งอยู่ในกำแพงวังเครมลิน ซึ่งการประณามสตาลินในครั้งนั้นประนเหมา เจ๋อ ตุง ผุ้นำจีนเกดความไม่พอใจเป็นอย่างมาก ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียตตกต่ำกระทั่งทำให้เกิดการแบ่งแยกอุดมการณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ออกเป็นสองแบบ คือ อุดมการณ์ลัทะคอมมิวนิสต์แบบผสมรวมกับระบบทุนนิยมของรัสเซียและ อุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบดั้งเดิม การแตกแยกครั้งนี้ส่งผลให้ แอลบาเนีย กัมพูชา และโซมาเลีย เลือกที่จะเป็นพันธมิตรกับจีนแทนโซเวียต
    โลกคอมมิวนิสต์
ทันทีที่ครุเชฟกล่าวสุนทรพจน์ลับในที่ประชุมสภาของพรรคคอมมิวนิสต์รุสเซียครั้งที่ 20 โลกคอมมิวนิสต์ได้เกิดความระสำระสายเป็นคลื่อใต้น้ำ สุนทรพจน์ลับนั้นมีจุดมุ่งหมายต่อโลกคอมมิวนิสต์ว่า คณะผุ้นำใหม่ต้องการที่จะทำลายความเชื่อถือดั้งเดิมอันงมงายเรื่อสตาลินผุ้ยิ่งให่ญ่ที่ผุ้หนึ่งผู้ใดจะแตะต้องล่วงละเมิดมิได้ และคณะผู้ใหม่จะคัดเหลือสรรแต่สิ่งที่ยังเป็นคุณประธยชน์ของสตลินไว้เท่านั้น จริงอยู่สุนทรพจน์ลับนั้นโดยเนื้อหาแล้ว มิได้มีความตอนใดวิพากษ์วิจารณ์ความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียกับโลกคอมมิวนิสต์ในสมัยสตาลิน แต่สุนทรพจน์ลับได้ทำลายความเชื่อมั่นเดิมของโลกคอมมิวนิสต์ที่มีต่อสตาลินและทไห้เกิดความไม่แน่ใจในทิสทางของรุสเซียที่จะมีต่อโลกคอมมิวนิสต์ สุนทรพจน์ลับนั้นได้ยอมรับแนวความคิดของยูโกสลาเวย เรือ วิถีทางหลากหลายไปสู่ลัทะสังคมนิยและความแตกต่างของบรรดรัฐบริวารในก้านวิธีการ แบบอย่าง พฤติกรรมและนโยบาย แต่สุนทรพจน์ลับมิได้กำหนดขอบเขตแห่งเสรีภาพและความเป็นอิสระส่วนตนสำหรับรัฐบริวาร อีกทั้งก่อให้เกิดความสับสนยิ่งขึ้นด้วยการที่สุนทรพจน์ย้ำว่า แบบอย่างรุสเซียในการจัดตังสังคมย่อมจเสอดคลอ้กงกับแบบอย่างของรัฐบริวารที่มีระบอบประชาธิไตยแห่งประชารชน สุรทรพจน์ลับมิได้ให้รายละเอียดว่า สิ่งใดรุสเซียถือว่าสามารถจะอดทนอดกลั้นมีขันติธรรมได้ และสิ่งใดเป็นข้อต้องห้ามในการสร้างลัทธิสังคมนิคม
     นโยบายใหม่ของครุสฟอาจเป็นที่ยอรับโดยทางการของจีน แต่จีนถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายโดยมิได้ปรึกาหารือจีน รุสเซียถือตนเป็นผุ้นำบงการกำหนดวินิฉัยนโยบายโดยพลการ จีนย่อมถือว่า ดดยเหนื้อแท้แล้ว รุสเซยมิได้ถือตนเป็นมหมิตรเสมอกันทั้ง ๆ ที่รุสเซียได้ยืนยันกับจีนว่าจะดำเนินนโยบายของโลกคอมาวนิสต์โดยปรึกาหารือกับจีนก่อนทุกครั้ง จีจึงถือว่า รุสเซยได้สบประมาทจีนมาก การเปลี่ยนแปลงนโยบายดดยไม่ปรึกษากับจีนเช่นนี้ ยังเป็นการสร้างความหวามระแวงแคลงใจในเจตนารมณ์ของรุสเซียมากกว่า นโยบายนั้นอาจเป็นกลวิธีมากกว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ในการเผลิญลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก
     เบื้องหลังการดำเนินนโยบายนั้น คือ การที่รุสเซยดำเนินการทูตเพื่อสมานฉันท์ กับสหรัฐอเมรกา เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดของภาวะสงครามเย็น จนถึงขึ้นที่อาจจะเป็นการยุติภาวะสงครามเย็นและมีการปรับความเข้าใจอันดีต่อกันจนเป็นมิตรที่ดีต่อกัน สัมพันธภาพสองเส้า เช่นั้นเคยปรากฎมาแล้วในภายหลังสงครามดลกครั้งที่ 2 จีนวิตกว่าตนอาจถูกตระบัดมิตร อีกทั้ง อุดมการณ์แห่งการอยู่ร่วมกันดดยสันติแบบรุสเซียนั้นมีลักษณะแตกต่างกับจีนมาก จีนดำเนินนโยบายอยู่ร่วมกันโดยสันติกับโลกที่สาม แต่รุสเซียมุ่งดำเนินนโยบายนั้นกับโลกที่สามและโลกเสรีด้วย ความแตกต่างกันทางอุดมากร์จึงเป็นได้ชัดและต่างก็จะดำเนินนโยบายต่างประเทศไปคนละทิสทาง ท้ายสุดย่อมนำไปสู่ความแตกต่างในด้านลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างโฃกคอมมิวนิสต์กับโลกเสรีด้วย
     แม้ครุสซอฟจะดำเนินนโยบายเน้นสันติภาพ และพยายามผ่อนคลายสงครามเย็น แต่เขาก็ดำเนินนโยบายทางการเมืองผิดพลาดหลายครั้ง อาทิ วิกฤตกาณ์ขีปนาวุธคิวบา ซึ่งได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง นอกจานี้เขายัวส่งทหารเข้าไปยังโปแลนด์และฮังการีเพื่อสนับสนุนการปกครองระบบอคอมมิวนิสต์ในที่สุดเขาก็ถูกยึดอำนาจโดยคณะกรรมาธิการเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Middle East

                    ดินแดนตะวันออกกลางคือดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของเอเซีย  เป็นดินแดนกลางสามทวีปคือเอเซีย ยุโรปและแอฟริกา เป็นแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกของโลก เป็นแหล่งน้ำมันดิบของโลก มีคลองสุเอซเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะลแดง มีช่องแคบบาสฟอรัส และดาดาแนลส์ เชื่อทะเลดำกับยทะเลเมติดเตอร์เรเนียน เป็ฯเวทีชวงชิงอำนาจกันระหว่างสหรัฐฯกับรุสเซีย และเนเวทีต่อสู้กันระหว่างอาหรับและยิว ประชากรของตะวันออกกลางมีสามกลุ่มใหญ่คือเตอร์ก ในตุรกี ยิว ในอิสราเอลและอาหรับเป็นประชากร ส่วนใหญของตะวันออกกลาง และตะวันออกกลางเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาหลักของโลกสองศาสนา คือ ศาสนาคริสต์ในสังมฮิบรู หรือยิว ในดินแดนปาเลสไตน และศาสนาอิสลามในสังคมอาหนับ ในคาบสมุทรอารเบีย ปาเลสไตน์เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตะวันออกกลาง ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหย๋เป็นที่ตั้งของประเทศอิสราเอล


                 เมือ 1900 ปีก่อนคริสต์กาลกลุ่มชนฮิบรูอพยพจาเมโสโปเตเมีย ปัจจุบันคือ อิรัก เข้าตึ้งมั่นในดินแดปากเลสไตน ฮิบรูหรือยิวมีความเจริญด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ศสนา สังคม เศรษฐกิจและการเมืองมีกรุงเยรูซาเล็ม เป็นเมืองหลวง 721 ก่อนคริสต์กาลเป็นต้นมาดินแดนปาเลสไตน์ต้องตกอยู่ภายใต้การยึดครองของกลุ่มชนชาตินักรบได้แก่ อัสซีเรียน แคลเดียน เปอร์เซียน กรีก และโรมัน ในศตวรรษที่หนึ่งในคริสต์กาลศาสนาคริสต์กำเนินขึ้นในสังคมยิวขณะยอวอยู่ภายมต้การปกครองของโรมัน คริสเตียนคือผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ เพราะโรมันกดขี่ข่มเหงเป็นผลให้ยิวเร่มอพยพออกจากปาเลสไตน์สู่ยุโรป ต้นคริสต์ศตวรรษที่เจ็ด ศาสนาอิสลามกำเนินขึ้นในสังคมอาหรับในคาบสมุทรอารเบีย มุสลิมคือผุ้นับถือศาสนาอิสลาม อาหนับส่วนนใหญ่เป็นมุสลิม ด้วยศรัทธาในองค์อัลลอห์เจ้า นำสู่การก่อตั้งจักรวรรดิมุสลิมและกองกำลังมุสลิมสามารถเขช้ายึดครองพื้นที่ส่วนใญ่ของตะวันออกกลางรวมถึงปาเลสไตน์ มุสลิมยอมให้ยิวที่คงเหลืออยู่ในปากเลไตน์ประกอบพิธีการในศษสนาคริสต์ ต้นคริสต์ศตวรรษที่สิบหกออกตโตมาน เตอร์ก เป็ฯมุสลิมเข้ายึดครองปาเลสไตน์ขณะประชากรส่วนใหญ่ขอวปาเลสไตน์เป็ฯอาหรับและยิวเป็นชนกลุ่มน้อย  ปาเลสไตน์ช่วภายใต้การปกครองอของออตโตมานเตอร์กนี้ยิวจากยุโรปเริ่มการอพยพกลับสู่ปาเลสไตน์นิยมเข้าตั้งมั่นในกรุงยะรูซาเล็ม กล่าวได้ว่าในปี 1880 มียิวในปาเลสไตน์ประมาณ 24,000 คน
     ความขัดแย้งระหว่างยิวกับอาหรับในดินแดนปาเลสไตน์เร่มขึ้นปลายศตวรรษที่ 19 โดยผู้นำยิวในออสเตรียจัดตั้งขบวนการไซออนนิสต์กำหนดให้ชาวยิวในยุโรปรวมตัวอพยพกลับสู่ปาเลสไตน์และแสวงหาแนวทางสร้างชาติยิวในดินแดนปาเลสไตน์ ในทางปฏิบัติยิวในยุโรปและอเมริกาที่ร่ำรวยและต้องการเห็นการสร้างชาติยิวในปาเลสไตน์ได้สละเงินจัดตังกองทุนและใช้เงินกองทุนนี้ของซื้อดินแดนปาเลสไตน์เริ่มจากที่ดินผืนเล็กจากออตโตมาน เตอร์ก ยิวเข้าพัฒนาทำเกษตรกรรมในที่ดินส่วนยึดครองอย่างถูกต้องอย่างรู้คุณค่า สร้างความไม่พอใจแก่อาหรับในปาเลสไตน์ ในปี 1914 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 รวมประชากรในปาเลสไตน์เจ็ดแสนคน เป็นยิว แปดหมื่นห้าพันคนและอาหรบหกแสนกว่าคน ออกโตมาน เตอร์กภายใต้ชื่อตุรกี เข้าร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลางนำโดยเยอรมันและออสเตรียฮังการี ในปี 1916 อังกฤษหนึ่งในชาติผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการให้อาหรับ เป็ฯมิตรกับสัมพันธมิตรและต่อต้านตุรกีได้เสนอจะให้การสนับสนุนอากรับเพื่อการหลุพ้นจากอำนาจของตุรกี และก่อตังชาติอากรับภายหลังส้นสงครามโลกครั้งที่ 1 อาหรับเชื้อในขอ้เสนอปี 1916 ของอังกฤษ  คำประกาศบัลฟอร์ ปี 1917 กำหนดอังกฤษให้การสนับสนุนจัดตั้งรัฐยิวในดินแดนปาเลสไตน์ สร้างความขมขื่นไม่พอใจแก่อาหรับและอาหรับในปาเลสไตน์ สงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติในปี 1918 ด้วยฝ่ายมหานาจกลางพ่านแพ้อันหมายถึงตุรกีพ่ายแพ้ด้วย สันนิบาติชาติ ในปี 1920 กำหนดให้ปาเลสไตน์เป็นดินแดนในอาณัติปกครอง ของอังกฤษ  ในทางปฏิบัติอังกฤษยึดมั่นในคำประกาศบัลฟอร์ ด้วยการแสดงความตั้งใจสนับสนุนยบิวสร้างชาติในดินแดนปาเลสไตน์ดินแดนในอาณัติปกครองของอังกฤษ ขณะเดียวกันขบวนการไซออนนิสต์คิดวว่าอาณัติปกครองคือการสนับสนุนการอพยพชนชาวยิวเพิ่มในปาเลสไตน อังกฤารูดีว่าการเพิ่มจำนวนยิวในปาเลสไตน์สร้างความไม่พอใจแก่อาหรับประชากรส่วนใหญ่ในปาเลสไตน์ อาหรับปาเลสไตน์ประท้วงอังกฤษและปฏิบัติการของขบวนการไซออนนิสต์ด้วยการเดินขบวนและก่อความวุ่นวายอังกฤษจำเป็นต้องจำกัดจำนวนยิวอพยพเข้าปาเลสไตน์ช่วงทศวรรษ 1930 ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ยิวจาเยอรมันและโปแลนด์หลีกหนีการฆ่าข่มเหงของนาซีอพยพหลั่งไหลเข้าปาเลสไตน์อาหรับในปาเลสไตน์ต่อต้านการอพยพหลังไหลของยิวสู่ปาเลสไตน์ด้วยกาฃรก่อความวุ่นวายประท้วงอังกฤษอีกอังกฟษต้องปฏิบัติการจำกัดจำนวนยิวอพยพเข้าปาเลสไตน และจำกัดการขายที่ดินแก่ยิวอย่างเคร่งครัด ยิวไม่พอใจท่าทีของอังกฤษ
     สหรัฐอเมริการ่วมสนับสนุนจัดตั้งประเทศอิสราเอลในปี 1948 ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งยิวและอาหรับในปาเลสไตน์หยุดต่อต้านอังกฤษและเข้าร่วมในกองกำลังสัมพันธมิตรในเวลาเดียวกันนี้นาซีเอยรมันเข่นฆ่าชาวยิวในยุโรปกว่าหกล้านคนผลักดันให้ขบวนการไซออนนิสต์จำเป็นต้องดำนเนิการบีบังคับอังกฤษให้ยกเลิกการจำกัดจำนวนยิวอพยพและรับยิวยุโรปที่เหลือรอดการเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธ์ เข้าอาศัยในปาเลสไตน์และจัดตั้รัฐบิวเอย่างเป็นทางการอาหรับในตะวันออกกลางต่อต้านการจัดตั้งรัฐบิวในปาเลสไตน์ด้วยสันนิบาตอาหรับ จัดตั้งในวันที่ 22 มีนาคม 1945 ประกองด้วยชาติอาหรับเริ่มแรกเจ็ดชาติ อังกฤษวางตัวลำบากและในปี 1947  อังกฤษนำปัญหาปาเลสไตน์สู่การชี้ขาดขององค์การสหประชาชาติ เพื่อการแก้ไขปัญหาปาเลสไตน์องค์การสหประชาชาติกำหนดจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษในเรื่อปาเลสไตน์ขององค์การสหประชาชาติ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ปีเดียวกันนั้นเอง คณะกรรมการพิเศษในเรื่องปาเลสไตน์ให้ข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาปาเลสไตน์ต่อสมัชชากำหนดประการที่หนึ่งแบ่งดินแดนปาเลสไตน์เป็นสามส่วนคือ รัฐยิว รัฐอาหรับและกรุงยะรูซาเล็มอยู่ภายใต้การดูแลของคณะมนตรีภาวะทรัสตี สองให้กองกำลังอังกฤษถอนออกจาปาเลสไตน์ อาหรับไม่เห็นด้วยกับขอ้เสนอ แต่ยิว อังกฤษและสหรัฐอเมริกาเห็ฯด้วยกับข้อเสนอ สมัชชายอมรับในข้อเสนอให้มีผลในทางปฏิบัติ ทันที่ที่กองกำลังอัฏฟษถอนออกจาปาเลสไตน์ ยิวประกาศจัดตังประเทศอิสราเอง ภายใต้การนำของเดวิด เบน กูเรียน องกค์การสหประชาชาติและสหรัฐอเมริกาให้การรับรองในเอกราชของอิสราเอล พฤษภาคม 1948 กองำลังสันนิบาตอาหรับนำโดยอียิปต์ ซีเรีย จอร์แดน และเลบานอน บุกโจมตีอิสราเอลชาติเกิดใหม่ในดินแดนปาเลสไตน์ นับเป็นสงครามครั้งแรกระหว่างอาหรับ อิสราเอล สงครามยุติในปี 1949 ชัยชนะเป็นของฝ่ายอิสราเอล และสามารถเข้ายึดครอง สร้างความขุ่นเคืองไม่พอใจแก่อาหรับ อาหรับในปาเลสไตน์เรียกชาวปาเลสไตน์ ชาวปาเลสไตน์ส่วนใหญต้องออกจากปาเลสไตน์ในเขตปกครองอิสราเอลสันนิบาติอาหรับรับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์เข้าอาศัยในประเทศของตน กลางปี 1949 อิสราเอลลงนามในข้อตกลงหยุดยิงกับสันนิบาติอาหรับแต่ไม่มีการลงนามร่วมกันอย่างเป็นทางการในสนธิสัญญาสันติภาพเพราะกลุ่มชาติอาหรับ(มุสลิม)ปฏิเสธการก่อต้งชาติอิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์
     สหรัฐอเมริกาสนับสนุนจัดตังองค์การสกัดกั้นการขยายอิทธิพลคอมมิวนิสต์ในดินแดนตะวันออกกลางด้วยข้อตกลงแบกแดดปี 1955 และองค์การสนธิสัญญกาลงปี 1959 แม้นสหรัฐอเมริกาจะให้การสนับสนุนยิว จดตั้งประเทศอิสราเอลในวันที่ 14 พฤษภาคม 1948 สร้างความโกรธแค้นไม่พอใจแก่อาหรับ แต่สหรัฐอเมริกาคงมุ่งสร้างความสัมพันธ์อันดีกับอกหรับเพื่อให้กลุ่มชาติอาหรับรวมกำลังกันต่อต้านการชยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์(รุสเซีย)ในตะวันออกกลางเริ่มด้วยในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1955 อิรักและตุรกีประเทศทางตอนใต้ของรุสเซียเกรงการถุกโจมตีของรุสเซียได้ร่วมลงนามในข้อตกลงแบกแดดปี 1955 กำหนดเป็นพันธมิตรกันทางทหารร่วมต่อต้านการก้าวร้าวคุกคามของคอมมิวนิสต์รุสเซียในดินแดนตะวันออกกลาง มีสำนักงานหญ่อยู่ทีกรุงแบกอดดในอิรัก ปลายปี 1955 อังกฤษ อิหร่าน และปากีสถาน เข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนการรวมตัวด้านการทหารของห้าชาตด้วยเงิน เทคโนโลยีและยุทธปัจจัย แต่ไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย  ปี 1959 อิรักถอนจากการเป็นพันธมิตรร่วมทางการทหารตามข้อตกลงแบกแดดปี 1955 เป็นผลให้สำนักงานใหญ่ย้ายจากกรุงแบกแดดในอิรักมาอยู่ที่กรุงอังการาในตุรกีเหลือชาติผู้ร่วมลงนามเพียงสี่ชาติคือ ตุรกี อังกฤษ อิหร่าน และปากีสถานและยุลเลิกในที่สุด

Revolution Cuba

     การปฏิวัติคิวบา เป็นหารปฏิวัติด้วยอาวุธโดยขบวนการ 26 กรกฎาคมของฟิเดลกัสโตรต่อรัฐบาลผู้เผด็จการคิวบา  ฟุลเคนเซียว บาติสตา ระหว่าง ปี 1953-1959 ท้ายที่สุดบาติสตาถูกขับจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม 1959 และแทนที่ด้วยรัฐบาลปฏิวัตินำโดยกัสโตร รัฐบาลนี้ภายหลังปฏิรูปตามแนวทางคอมมิวนิสต์และได้กลายเป็นพรรคคอมมิวนิสต์คิวบาในปี 1965
     การปฏิวัติคิวบาในระยะเริ่มต้นเร่มขึ้นเมื่อกฐฎติดอาวุธโจมตีค่ายทหารมองกาดาในซันเดียดกและค่ายหารในบายาโม  เมื่อเดอืนกรกฏาคม 1953 ตัวเลขผู้เสียชีวิตยังเป็นที่ถกเถียงฟิเดล กัสโตรและน้องชาย ราอุล กัสโตร รุส ผู้รอดชีวิตถูกจับกุมหลังจากนั้นไม่นาน ในการพิจารณา ฟิเดลกัสโตรแถลงแก้ต่างนานเกือบสี่ชั่วโมง และปิดท้ายด้วยประโยคที่ว่า “พิพากษาผมเลย มนไม่สำคัญหรอก ประวัติศาสตร์จะยกโทษให้ผม” ฟิเดลกัสโตรถูกตัวสินจำคุก 15 ปี ในเรือนจำเปรซีดีโอโมเดโล ตั้งอยู่บนเกาะสน ขณะที่ราอุลถูกตัดสินจำคุก 13 ปี Revolución-Cubana
     ในปี 1955 ภายใต้แรงกดดันทางการเมืองอย่างหนัก รัฐบาลบาติสตาปล่อยนักโทการเมืองบทั้งหมดในคิวบรวมทั้งมือก่อเหตุโจมตีมองกาดา บาติสตาถูกกล่อมให้ปล่อยพี่น้องกัสโตรด้วย ซึ่งบางส่วยโดยครูเยซูอิดสมัยเด็กของฟิเดล
     สองพี่น้องกัสโตรเข้าร่วมกับผู้ลี้ภัยอื่นในเม็กซิโกเพื่อเตรียมการปฏิวัติโค่นล้มบาติสตา โดยได้รับการผึกจากอัลเอบ์โต บาโย ผู้นำกำลังสาธารณรับนิยมในสงครามกลางเมืองสเปน ระหว่างช่วงนี้ ฟิเดลพบและเข้าร่วมกำลังกับนักปฏิวัติชาวอาร์เจนตินา เอร์เนสโต “เช” เกบารา
     1956-1958
เรือยอตกรันมา มาถึงคิวบาในเดือนธันวาคม 1956 พี่น้องกัสโตรและสมาชิกขบวนการ 26 กรกฏาคมอีก 80 คนมากับเรือด้วย เรือดังกล่าวมาถึงสองวันซึ่งช้ากว่ากำหนด ซึ่งความล่าช้านี้ดับความหวังการประสานโจมตีร่วมกับขบวนการฝ่ายฮาโน  หลังมาถึงกลุ่มกบฏเร่มตีฝ่าเข้าไปในทิวเขาเซียร์รามาเอสตรา ทางตะวันออกเฉียงใต้ของคิวบา ผู้ที่โดยสารมากับกับเรือกระจัดกระจายหลังจากการเผลิญหน้าครังแรกอันนองเลือดกับกองทัพคิวบา และต่อมาได้รับความช่วยเหลือจากชาวนาผู้ฝักใฝ่และจะก่อตั้งแกนนำของกองทัพกองโจร เซเลีย ซันเชสและไฮย์อีเอ ซันตามาเรีย รวมอยู่ในนักปฏิวัติหญิงผู้สนับสนุนฟิเดล กัสโตรในทิวเขาด้วย
     13 มีนาคม 1957 กลุ่มนักปฏิวัติอีกกลุ่ม เรียกวา หน่วยปฏิวัติ ซี่งมีอุดมกาณ์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ซึ่งสวนใหญประกอลขึ้นจากนักศึกษา โจมตีทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงฮาวานา พยายามลอบสังหารบาติสตาและรัฐประหาร ซึ่งเป็ป็นการฆ่าตั่วตาย ผู้นำของหนวย นักศึกษาโคเซ อันโตนีโอ เอเซเบร์เรีย เสียชีวิตในการยิงต่อสู้กับกำลังของบาติสตรา มีผุ้รอดชีวิตกล่มหนึ่งซึ่งมี ดร. อุมเบร์โต กัสเตโย และโรลันโด กูเบลาและเฟาเร โซมอน
images (1)     หลังจากนั้น สหรัฐอเมริกาได้ลงโทษทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลคิวบาและเรียกเอกอัครทูตกลับประเทศ ยิ่งบั่นทอนอาณัติของรัฐบาลไปอีกการสนับสนุนบาติสตาในหมู่ชาวคิวบาเรื่มจางเจือไป อดีตผุ้สนับสนุนไม่เข้าร่วมกับนักปฏิวัติก็วางตัวออกห่างจากบาติสตาแต่มาเซียและนักธุรกิจสหรัฐยังสนับสนุนบาติสตาต่อไป รัฐบาลหันไปพึงการใช้วิธีรุนแรงบ่อยครั้งเพื่อรักษานครต่าง ๆ ของคิวบาให้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล อย่างไรก็ดี ในทิวเขาเชียร์รามาเอสตรา กัสโตร ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากฟรังก์ปาอิส, ราโมส ลาดูร์, อูเบร์ มาโตส และคนอื่นๆ จัดการโจมตีที่มั่นขนาดเล็กของกองกำลังบาติสตาอย่างเป็นผล เช เกบาราและราอุล กัสโตรช่วยฟิเดลรวมการควบคุมทางการเมืองของเขาในทิวเขานั้นโดยบ่อยครั้งฝ่านการประหารชีวิตพวกที่ต้องสงสัยว่าภักดีบาติสตาหรือเป็นคู่แข่งอื่นของกัสโตรเปเตรอสยังได้รสนับสนุนทางทหารโดยตรงต่อกำลังหลักของกัสโตรโดยคุ้มครองเส้นทางเสบียงและแบ่งปันข่าวกรองท้ายที่สุด ทิวเขาตกอยู่ในการควบคุมของกัสโตร
     นอกเหนือไปจากการต่อสู้ด้วยอาวุธแล้ว ฝ่ายกบฏยังใช้การโฆษณาชวยเชื่อเพื่อให้เกิดความได้เปรียบ มีการจัดตั้งสถานีวิทยุเถื่อน 1958 กัสโตรและกำลังของเขากระจายเสียงข้อความของเขาทั่วประเทศจากในเขตแดนของศัตรู การกระจายเสียงวิทธยุเป็นไปได้โดยการ์ลอสฟรัสกี อดีตคนรู้จักของกัสโตรผู้ซึ่งภายหลังเป็นชาวคิวบาลี้ภัยในเปอร์โตริโก
     ระหวางช่วงนี้ กำลังของกัสโตรยังมีจำนวนค่อนข้างน้อย ต่ำกว่า 200 คนเล็กน้อย ขณะที่กองทัพและกำลังตำรวจคิวบาอยู่ระหว่าง สามหมื่นถึง สีหมื่นนาย อย่างไรก็ดี เมือทหารคิวบาสู้กับฝ่ายปฏวิติก็ต้องถูกบีบให้ล่าถอยแทบทุกครั้งไป การห้ามสินค้าประเภทอาวุธซึ่งสหรัฐอเมริกากำหนดต่อรัฐบาลคิวบาเมื่อวันที่ 14 มีนา 1958 มีส่วนสำคัญต่อความอ่อนแอของกองทัพบาติสตากองทัพอากาศคิวบาเสือมลงอย่างรวดเร็ว เพราะไม่อาจซ่อมแซมอากาศยานโดยไม่นำเข้าช้นส่วนจากสหรัฐอเมริกา
images (3)     ท้ายที่สุด บาติสตาสนองต่อความพยายามของกัสโตรด้วยการโจมตีทิวเขาแห่งนั้นในปฏิบัติการเบราโน ซึ่งฝ่ายกบฏเรียกว่า ลาโอเฟนซีบากองทัพส่งทหารราว 12,000 นาย ซึง่ครึ่งหนึ่งเป็นทหารเกณฑ์ที่ไม่ได้รับการฝึก เข้าไปในทิวเขา ในการปะทะกันอย่างประปรายต่อเนื่องกองโจรที่เด็ดเดียวของกัสโตรชนะกองทัพคิวบา ในยุทธการที่หมู่บ้านลาปลาตา ซึ่งกินเวลาตั้งแต่วันที่ 11 ถึง 21 กรกฏาคม ค.ศ. 1958 กำลังของกัสโตรเอาชนะทั้งกองพันได้ โดยจับกุมทหารเป็นเชลยได้ 240 คน ขณะที่เสียฝ่ายตนไปเพียง 3 คน อย่างไรก็ดี กระแสสงครมเกือบพลิกกลับ เมื่อกองทัพของบาติสตาเกือบทำลายกองทัพขนาดเล็กประมาณสามร้อยคนของกัสโตรที่ยุทธการที่ลัสเมร์เซเตส ด้วยกำลังของเขาเสียเปรียด้านจำนวน กัสโตรจึงร้องขอและได้รับการหยุดยิงชั่วคราว ขณะที่การเจรจาอันไร้ผลดำเนินไป กำลังของกัสโตรค่อย  ๆ หลบหนีออกจากับดักหลบหนีกลับเข้าไปในทิวเขา และปฏิวัติการเวราโนสิ้นสุดลงเด็ดขาด้วยความล้มเหลวของวรัฐบาลบาติสตา
     1958-1959
หลังการโจมตีของบาติสต้าล้มเหลว กำลังของกัสโตรเริ่มเปิดฉากบุกบ้าง กรันมา กวันตานาโม และออลลกินปัจจุบัน ฟิเดล กัสโตร ราอุล กัสโตร และคาน อัลไมย์ดา โบสเก มุ่งการโจมตีเป็นสี่สายกำลังของกัสโตรลงจากเขาพร้อมอาวุธใหม่ที่ยึดได้แลและได้รับชัยชนะขั้นแรกหลายครั้ง ชัยชนะครั้งสำคัญของกัสโตรที่กีซาและการยึดเมืองหลายเมือได้สำเร็จ
     ขณะเดียวกัน กบฏอีกสามกอง ภายใต้บัญชาของเช กาบารา,กามีโล เซียนฟวยโกส และไคย์เม เบกา รุกคืบไปทางตะวันตกมุ่งสู่ซันตากลาราเมืองหลวงของจังหวัดบียากลารา กองทัพของบาติสตาซุ่มโจมตีและทำลายกองของไคย์เม เบกา แต่อีกสองกองที่เหลือไปถึงจังหวัดตอนกลางที่ซึ่งพวกเขาพยายามร่วมกับกลุ่มต่อต้านอีกฟลายกลุ่มที่มิได้อยู่ภายใต้บัญชาของกัสโตร ตามข้อมูลของฟาเรีย เมือกองของเช เกบาราฝ่านจังหวัดบียากลารา กองทัพของบาติสตาซุ่มโจมตีและทำลายกองของไคย์เม เบกา แต่อีกสองกองที่เลหือไปถึงจังหวัดตอนกลางที่ซึ่งพวกเขาพยายามร่วมกับกลุ่มต่อต้านอีกลายกลุ่มที่มิได้อยู่ภายใต้บัญชาของกัสโตร ตามข้อมูลของฟาเรีย เมือกองของเช เกบาราฝ่านจังหวัดลัสบีอัส และโดยเฉฑาะอย่างยิ่งผ่านทิวเขาเอสกัมไบรย์ ที่ซึ่งกำลังหน่วยปฏิวัติต่อต้ารนคอมมิวนิสต์ ได้สู้รบกับกองทัพของบาติสตานานหลายเดือน ความไม่ลงรอยกันค่อย ๆมีขึ้นระหว่างกบฎทั้งสองกลุ่ม อย่างไรก็ดี กองทัพกบฎผสมยังรุกคืบต่อไ ปละเซียฟวยโกสได้รับชัยชนะครั้งสำคัญในยุทธการที่เมืองฮากวาไคย์และเขาได้รับฉายาว่า “วีรบุรุษแห่งฮากวาไคย์”

ดู cuba
   
 ยุทธการซันตากลาราเกิดขึ้น นครซันตากลาราเสียแก่กำลังผสมขอ ง เช เกบารา,เชียนฟวยโกส และกบฏหน่วยปฏิวัตินำโดยผู้บัญชาการโรลันโด กูเบลา, ควน”เอลเมคีกาโน” อาบราอันเตส และวิลเลียม อเล็กซานเดอร์ มอร์แกน ข่าวความพ่ามยแพ้นี้ทำให้บาติสตาตื่นตระหนกเขาหลบหนีจากคิวบาไปยังสาธารณรัฐโดมินิกัน  มกราคม 1959 ผู้บัญชาการวิลเลียม อเล็กซานเดอร์ มอร์แกน ผู้นำกบฏหน่วยปฏิวัติ ยังสู้รบต่อไปเมื่อบาติสตาหลบหนีไปแล้วและยึดนครเซียฟวยโกสได้ กัสโตรทราบข่าวการหลบหนีของบาติสตาในช่วงเช้าและเริ่มเจรจาเพื่อยึดซันเดียโกเดกูบาทันที พันเอกรูบีโด ผู้บัญชาการทหารในเมือง สั่งมิให้ทหารของเขาสู้รบ กำลังกัสโตรจึงยึดเมืองได้ กำลังของเกบาราและเซียนฟวยโกสเข้ากรุงฮาวานาเกือบพร้อมกันนั้น ทั้งสองไม่พบการต่อต้านระหว่างการเดินทางจากซันตากลารามาฮังเมืองหลวงของคิวบา ตัวกัสโตรเองมาถึงฮาวานาเมืองันที่ 8 มกราคมหลังเดินขบวนฉลองชัยยชนะอันยาวนาน มานวยล์ อูร์รูเดีย เฮโอ ตัวเลือกของกัสโตรดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีวันที่ 3 มกราคม

วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Dwight David Esenhower

    สหรัฐฯสนับสนุนเกาหลีใต้ในสงครามเกาหลี่ ดินแดนเกาหลีเป็นจุดยุทธศศาสตร์สำคัญจุดหนึ่งของโลก ในอดีตเกาหลี่เป็นของจีมากก่อน จีนใช้เกาหลีเป็นดินแดนสกัดกั้นการรุกรานขยายอำนาจของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นได้ยึดครองเกาหลีต่อจากจีนมุ่งใช้เกาหลีเป็นฐานเพื่อการเข้ามีอำนาจในเอเชียตะวันออก เป็นปกล่งวัตถุดิบราคาถูก และเป็นตลาดแรงงานถูกรวมถึงเป็นตลาดรับซื้อสิค้าสำเร็จรูปญี่ปุ่น รุสเซียต้องการยึดครองเกาหลีเพื่อใช้เกาหลีเป็นแนวสกัดกั้นยับยั้งการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามมติการประชุมพอทสดัม ปี 1945 ในเรื่องดินแดนเกาหลีกำหนดแบ่งดินแดนเกาหลีเป็นการชั่วคราวด้วยเส้นขนาน 38 องศาเหนือ เรียกเกาหลีเหนือ ในสหรัฐอเมริกาเข้าปลดอาวุโละกองกำลังญี่ปุ่นและดูแลรักษาความสงบในดินแดนเกาหลีใต้เส้น 38 เรียกเกาหลี่ใต้ สหรัฐอเมริกาสนับสนุนการก่อตั้งประเทศสาธารณรัฐเกาหลีมีกรุงโซลเป็นเมืองหลวง รุสเซียสนับสนุนการก่อตั้งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีมีกรุงเปียยางเป็นเมืองหลวง ทั้งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ต่างคิดเหมือนกันว่า มีชาติมหาอำนาจคอยหนุนหลัง คือรุเซียหนุนหลงเกาหลีเหนือ และสหรัฐอเมริกาหนุนหลังเกาหลีใต้เป็นผลให้ต่างท้าทายกันด้วยกองกำลังบริเวฯพรมแดน 38 เหนือ นำสู่สงครามเกาหลีในปี 1950…
   ในปี 1951 คือสหรัฐอเมริการ่วมือกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์สกัดกั้นการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภาคพื้นแปซิฟิกด้วยสนธิสัญญาแอนซัสปี 1951 The Treaty of ANZUS of 1951 สืบเนื่องจากจีนคอมมิวนิสต์ยึดแผ่นดินใกญ่จีนได้ในวันที่ 1949 กองกำลังเกาหลีเนหือเคลื่อรุกรานเกาหลีใต้ในวันที่ 25 มิถุนายน 1950 กองกำลังจีนเคลื่อนเข้าช่วยเหลือเกาหลีเหนือ สหรัฐอเมริกาเกรงการแผ่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์จากเอเชียตะวันออกสู่แปซิฟิก รวมถึงเกรงการก้าวร้าวขงอญี่ปุ่นในแปซิฟิกในอนาคตเป็นผลให้ในวันที่ 1 กันยายน 1951 ออสเกตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกาเรียกตนเองว่ากลุ่มแอนซัส T%he ANZUS Power ร่วมลงนามในสนธิสัญญาแอนซัสปี 1951 กำหนดร่วมมือกันด้านการทหารเพื่อต่อต้านการก้าวร้าวของกองกำลังชาติผู้ก้าวร้าว(คอมมิวนิสต์) ในแปซิฟิก ชาติสมาชิกใดถูกก้าวร้าวถือว่าการก้าวร้าวนี้เกิดแก่สมาชิกทุกชาติด้วย
      1 พฤศจิกายน 1950 ผู้ก่อการร้ายชาวเปอร์โรติโกสองคนปฏิบัติการลอบสังหารประธานาธิบดีทรูแมนขณะพักผ่อนที่คฤหสาสน์ ปฏิบัติการลอบสังหารประธานาธิบดีล้มเหลว เกรเซลิโอ ทอร์เรซูลา ถูกเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวยิงเสียชีวิต ออสการ์ คอลลาโซ ถูกยิงบดเจ็บ ประธานาธิบดีทรูแมนปลอดภัย เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวบาดเจ็บสองคน เสียชีวิตหนึ่งคน
     นับจากปี 1950 อเมริกันชนเสื่อมศรัทธาในพรรคเดโมแครตภายใต้การนำของประธานธิบดีทรูแมน เพราะหวาดกลัวในลัทธิคอมมิวนิสต์รุสเซียทีแผ่ขยายในยุโรปตะวันออก เกิดชาติบริวารแปดชาติ สหรัฐอเมริกาไม่สามารถสกัดกั้นอำนาจจีนคอมมิวนิสต์ในแผ่นดินใหญ่ ในปี 1949 จีนคอมมิวนิสต์แสดงแสนยานุภาพกองกำลังเข้าช่วยเกาหลีเหนือในสงครามเกาหลี ประธานาธิบดีทรูแมนมีความขัดแย้งรุนแรงกับนายพลแมคอาเธอร์ในเรื่องสงครามเกาหลี ภายในประเทศมีความหวาดระแวงให้ร้ายก่าวหากันว่าเป็นคอมมิวนิสต์เพี่มความแตกแยก เจ้าหน้าที่กระทำการทุจริตใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ ค้าของเถื่อและค้ายาเสพติด ในการเลือกตั้งปี 1952 พรรคเดโมเครตส่ง แอดไล อี.สติเฟนสัน ในตำแน่งประธานาธิบี จอห์น เจย์.สปาร์คแมน ในตำแหน่งรองประทธานาธิบดี พรรครีพับิกันส่งดีไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ในตำแหน่งประธานาธิบดี และริชาร์ด เอ็ม.นิกสัน ในตำแหน่งรองประธานาธิบดี ไอเซนฮาวร์สัญญาจะสร้างสันติภาพ ความมั่งคั่งเฟืองฟูทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าสู่อเมริกา ผลการนับคะแนน ไอเซนฮาวร์ชนะการเลือกตั้ง ดีไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ได้เป็นประธานาธิบดีลำดับที่ 34 จากพรรครีพับลิกัน นำการบริหารประทเศสองสมัย..

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...