Middle East

     ดินแดนตะวันออกกลางคือดินแดนส่วยทางตะวันตกเฉียงใต้ของเอเซีย  เป็นดินแดนกลางสามทวีปคือเอเซีย ยุโรปและแอฟริกา เป็นแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกของโลก เป็นแหล่งน้ำมันดิบของโลก มีคลองสุเอซเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะลแดง มีช่องแคบบาสฟอรัส และดาดาแนลส์ เชื่อทะเลดำกับยทะเลเมติดเตอร์เรเนียน เป็ฯเวทีชวงชิงอำนาจกันระหว่างสหรัฐฯกับรุสเซีย และเนเวทีต่อสู้กันระหว่างอาหรับและยิว ประชากรของตะวันออกกลางมีสามกลุ่มใหญ่คือเตอร์ก ในตุรกี ยิว ในอิสราเอลและอาหรับเป็นประชากร ส่วนใหญของตะวันออกกลาง และตะวันออกกลางเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาหลักของโลกสองศาสนา คือ ศาสนาคริสต์ในสังมฮิบรู หรือยิว ในดินแดนปาเลสไตน และศาสนาอิสลามในสังคมอาหนับ ในคาบสมุทรอารเบีย
     ปาเลสไตน์เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตะวันออกกลาง ปัจจุบันพื้นที่ส่วใหย๋เป็นตั้งของประเทศอิสราเอล เมือง 1900 ปีก่อนคริสต์กาลกลุ่มชนฮิบรูอพยพจาเมโสโปเตเมีย ปัจจุบันคือ อิรัก เข้าตึ้งมั่นในดินแดปากเลสไตน ฮิบรูหรือยิวมีความเจริญด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ศสนา สังคม เศรษฐกิจและการเมืองมีกรุงเยรูซาเล็ม เป็นเมืองหลวง 721 ก่อนคริสต์กาลเป็นต้นมาดินแดนปาเลสไตน์ต้องตกอยู่ภายใต้การยึดครองของกลุ่มชนชาตินักรบได้แก่ อัสซีเรียน แคลเดียน เปอร์เซียน กรีก และโรมัน ในศตวรรษที่หนึ่งในคริสต์กาลศาสนาคริสต์กำเนินขึ้นในสังคมยิวขณะยอวอยู่ภายมต้การปกครองของโรมัน คริสเตียนคือผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ เพราะโรมันกดขี่ข่มเหงเป็นผลให้ยิวเร่มอพยพออกจากปาเลสไตน์สู่ยุโรป ต้นคริสต์ศตวรรษที่เจ็ด ศาสนาอิสลามกำเนินขึ้นในสังคมอาหรับในคาบสมุทรอารเบีย มุสลิมคือผุ้นับถือศาสนาอิสลาม อาหนับส่วนนใหญ่เป็นมุสลิม ด้วยศรัทธาในองค์อัลลอห์เจ้า นำสู่การก่อตั้งจักรวรรดิมุสลิมและกองกำลังมุสลิมสามารถเขช้ายึดครองพื้นที่ส่วนใญ่ของตะวันออกกลางรวมถึงปาเลสไตน์ มุสลิมยอมให้ยิวที่คงเหลืออยู่ในปากเลไตน์ประกอบพิธีการในศษสนาคริสต์ ต้นคริสต์ศตวรรษที่สิบหกออกตโตมาน เตอร์ก เป็ฯมุสลิมเข้ายึดครองปาเลสไตน์ขณะประชากรส่วนใหญ่ขอวปาเลสไตน์เป็ฯอาหรับและยิวเป็นชนกลุ่มน้อย  ปาเลสไตน์ช่วภายใต้การปกครองอของออตโตมานเตอร์กนี้ยิวจากยุโรปเริ่มการอพยพกลับสู่ปาเลสไตน์นิยมเข้าตั้งมั่นในกรุงยะรูซาเล็ม กล่าวได้ว่าในปี 1880 มียิวในปาเลสไตน์ประมาณ 24,000 คน
     ความขัดแย้งระหว่างยิวกับอาหรับในดินแดนปาเลสไตน์เร่มขึ้นปลายศตวรรษที่ 19 โดยผู้นำยิวในออสเตรียจัดตั้งขบวนการไซออนนิสต์กำหนดให้ชาวยิวในยุโรปรวมตัวอพยพกลับสู่ปาเลสไตน์และแสวงหาแนวทางสร้างชาติยิวในดินแดนปาเลสไตน์ ในทางปฏิบัติยิวในยุโรปและอเมริกาที่ร่ำรวยและต้องการเห็นการสร้างชาติยิวในปาเลสไตน์ได้สละเงินจัดตังกองทุนและใช้เงินกองทุนนี้ของซื้อดินแดนปาเลสไตน์เริ่มจากที่ดินผืนเล็กจากออตโตมาน เตอร์ก ยิวเข้าพัฒนาทำเกษตรกรรมในที่ดินส่วนยึดครองอย่างถูกต้องอย่างรู้คุณค่า สร้างความไม่พอใจแก่อาหรับในปาเลสไตน์ ในปี 1914 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 รวมประชากรในปาเลสไตน์เจ็ดแสนคน เป็นยิว แปดหมื่นห้าพันคนและอาหรบหกแสนกว่าคน ออกโตมาน เตอร์กภายใต้ชื่อตุรกี เข้าร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลางนำโดยเยอรมันและออสเตรียฮังการี ในปี 1916 อังกฤษหนึ่งในชาติผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการให้อาหรับ เป็ฯมิตรกับสัมพันธมิตรและต่อต้านตุรกีได้เสนอจะให้การสนับสนุนอากรับเพื่อการหลุพ้นจากอำนาจของตุรกี และก่อตังชาติอากรับภายหลังส้นสงครามโลกครั้งที่ 1 อาหรับเชื้อในขอ้เสนอปี 1916 ของอังกฤษ  คำประกาศบัลฟอร์ ปี 1917 กำหนดอังกฤษให้การสนับสนุนจัดตั้งรัฐยิวในดินแดนปาเลสไตน์ สร้างความขมขื่นไม่พอใจแก่อาหรับและอาหรับในปาเลสไตน์ สงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติในปี 1918 ด้วยฝ่ายมหานาจกลางพ่านแพ้อันหมายถึงตุรกีพ่ายแพ้ด้วย สันนิบาติชาติ ในปี 1920 กำหนดให้ปาเลสไตน์เป็นดินแดนในอาณัติปกครอง ของอังกฤษ  ในทางปฏิบัติอังกฤษยึดมั่นในคำประกาศบัลฟอร์ ด้วยการแสดงความตั้งใจสนับสนุนยบิวสร้างชาติในดินแดนปาเลสไตน์ดินแดนในอาณัติปกครองของอังกฤษ ขณะเดียวกันขบวนการไซออนนิสต์คิดวว่าอาณัติปกครองคือการสนับสนุนการอพยพชนชาวยิวเพิ่มในปาเลสไตน อังกฤารูดีว่าการเพิ่มจำนวนยิวในปาเลสไตน์สร้างความไม่พอใจแก่อาหรับประชากรส่วนใหญ่ในปาเลสไตน์ อาหรับปาเลสไตน์ประท้วงอังกฤษและปฏิบัติการของขบวนการไซออนนิสต์ด้วยการเดินขบวนและก่อความวุ่นวายอังกฤษจำเป็นต้องจำกัดจำนวนยิวอพยพเข้าปาเลสไตน์ช่วงทศวรรษ 1930 ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ยิวจาเยอรมันและโปแลนด์หลีกหนีการฆ่าข่มเหงของนาซีอพยพหลั่งไหลเข้าปาเลสไตน์อาหรับในปาเลสไตน์ต่อต้านการอพยพหลังไหลของยิวสู่ปาเลสไตน์ด้วยกาฃรก่อความวุ่นวายประท้วงอังกฤษอีกอังกฟษต้องปฏิบัติการจำกัดจำนวนยิวอพยพเข้าปาเลสไตน และจำกัดการขายที่ดินแก่ยิวอย่างเคร่งครัด ยิวไม่พอใจท่าทีของอังกฤษ
     สหรัฐอเมริการ่วมสนับสนุนจักตั้งประเทศอิสราเอลในปี 1948 ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งยิวและอาหรับในปาเลสไตน์หยุดต่อต้านอังกฤษและเข้าร่วมในกองกำลังสัมพันธมิตรในเวลาเดียวกันนี้นาซีเอยรมันเข่นฆ่าชาวยิวในยุโรปกว่าหกล้านคนผลักดันให้ขบวนการไซออนนิสต์จำเป็นต้องดำนเนิการบีบังคับอังกฤษให้ยกเลิกการจำกัดจำนวนยิวอพยพและรับยิวยุโรปที่เหลือรอดการเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธ์ เข้าอาศัยในปาเลสไตน์และจัดตั้รัฐบิวเอย่างเป็นทางการอาหรับในตะวันออกกลางต่อต้านการจัดตั้งรัฐบิวในปาเลสไตน์ด้วยสันนิบาตอาหรับ จัดตั้งในวันที่ 22 มีนาคม 1945 ประกองด้วยชาติอาหรับเริ่มแรกเจ็ดชาติ อังกฤษวางตัวลำบากและในปี 1947  อังกฤษนำปัญหาปาเลสไตน์สู่การชี้ขาดขององค์การสหประชาชาติ เพื่อการแก้ไขปัญหาปาเลสไตน์องค์การสหประชาชาติกำหนดจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษในเรื่อปาเลสไตน์ขององค์การสหประชาชาติ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ปีเดียวกันนั้นเอง คณะกรรมการพิเศษในเรื่องปาเลสไตน์ให้ข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาปาเลสไตน์ต่อสมัชชากำหนดประการที่หนึ่งแบ่งดินแดนปาเลสไตน์เป็นสามส่วนคือ รัฐยิว รัฐอาหรับและกรุงยะรูซาเล็มอยู่ภายใต้การดูแลของคณะมนตรีภาวะทรัสตี สองให้กองกำลังอังกฤษถอนออกจาปาเลสไตน์ อาหรับไม่เห็นด้วยกับขอ้เสนอ แต่ยิว อังกฤษและสหรัฐอเมริกาเห็ฯด้วยกับข้อเสนอ สมัชชายอมรับในข้อเสนอให้มีผลในทางปฏิบัติ ทันที่ที่กองกำลังอัฏฟษถอนออกจาปาเลสไตน์ ยิวประกาศจัดตังประเทศอิสราเอง ภายใต้การนำของเดวิด เบน กูเรียน องกค์การสหประชาชาติและสหรัฐอเมริกาให้การรับรองในเอกราชของอิสราเอล พฤษภาคม 1948 กองำลังสันนิบาตอาหรับนำโดยอียิปต์ ซีเรีย จอร์แดน และเลบานอน บุกโจมตีอิสราเอลชาติเกิดใหม่ในดินแดนปาเลสไตน์ นับเป็นสงครามครั้งแรกระหว่างอาหรับ อิสราเอล สงครามยุติในปี 1949 ชัยชนะเป็นของฝ่ายอิสราเอล และสามารถเข้ายึดครอง สร้างความขุ่นเคืองไม่พอใจแก่อาหรับ อาหรับในปาเลสไตน์เรียกชาวปาเลสไตน์ ชาวปาเลสไตน์ส่วนใหญต้องออกจากปาเลสไตน์ในเขตปกครองอิสราเอลสันนิบาติอาหรับรับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์เข้าอาศัยในประเทศของตน กลางปี 1949 อิสราเอลลงนามในข้อตกลงหยุดยิงกับสันนิบาติอาหรับแต่ไม่มีการลงนามร่วมกันอย่างเป็นทางการในสนธิสัญญาสันติภาพเพราะกลุ่มชาติอาหรับ(มุสลิม)ปฏิเสธการก่อต้งชาติอิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์
     สหรัฐอเมริกาสนับสนุนจัดตังองค์การสกัดกั้นการขยายอิทธิพลคอมมิวนิสต์ในดินแดนตะวันออกกลางด้วยข้อตกลงแบกแดดปี 1955 และองค์การสนธิสัญญกาลงปี 1959 แม้นสหรัฐอเมริกาจะให้การสนับสนุนยิว จดตั้งประเทศอิสราเอลในวันที่ 14 พฤษภาคม 1948 สร้างความโกรธแค้นไม่พอใจแก่อาหรับ แต่สหรัฐอเมริกาคงมุ่งสร้างความสัมพันธ์อันดีกับอกหรับเพื่อให้กลุ่มชาติอาหรับรวมกำลังกันต่อต้านการชยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์(รุสเซีย)ในตะวันออกกลางเริ่มด้วยในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1955 อิรักและตุรกีประเทศทางตอนใต้ของรุสเซียเกรงการถุกโจมตีของรุสเซียได้ร่วมลงนามในข้อตกลงแบกแดดปี 1955 กำหนดเป็นพันธมิตรกันทางทหารร่วมต่อต้านการก้าวร้าวคุกคามของคอมมิวนิสต์รุสเซียในดินแดนตะวันออกกลาง มีสำนักงานหญ่อยู่ทีกรุงแบกอดดในอิรัก ปลายปี 1955 อังกฤษ อิหร่าน และปากีสถาน เข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนการรวมตัวด้านการทหารของห้าชาตด้วยเงิน เทคโนโลยีและยุทธปัจจัย แต่ไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย  ปี 1959 อิรักถอนจากการเป็นพันธมิตรร่วมทางการทหารตามข้อตกลงแบกแดดปี 1955 เป็นผลให้สำนักงานใหญ่ย้ายจากกรุงแบกแดดในอิรักมาอยู่ที่กรุงอังการาในตุรกีเหลือชาติผู้ร่วมลงนามเพียงสี่ชาติคือ ตุรกี อังกฤษ อิหร่าน และปากีสถานและยุลเลิกในที่สุด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)