โดยปกติแล้ว สมาชิกส่วนใหญของสังคมยอมรับกฎระเบียบความประพฤติทางสังคม ซึ่งสังคมคาดหวังให้ปฏิบัติตาม แต่ก็มีบางคนที่พยายามจะเบี่ยงเบนหรือทำลายกฎเกณฑ์
จอห์น แฮร์แกน กล่าวถึงทฤษฎีที่สำคัญ ซึ่งอธิบายเกี่ยวการละเมิดกฎระเบียบความประพฤติทางสังคมของบุคคลคือ
- ทฤษฎีการเสียระบบทางสังคม และ
- ทฤษฎีการควบคุม
ทฤษฎีการเสียระบบทางสังคม มีรากฐานมาจากแนวความคิดแนวคิดของสำนักชิคาโกและผลงานของสมาชิกคนสำคัญหลายท่าน ลักษณะเด่น ในผลงานของนักอิาชญาวิทยาของสำนักชิคาโกทุกคนในระยะเริ่มแรก ก็คือความคิดเกี่ยวกับการควบคุมทางสังคม นักทฤษฎีเหล่านี้มีความเชื่อเช่นเดียวกับเดอร์ไคม์ ซึ่งอธิบายพฤติกรรมเบี่ยงเบนเนื่องจากการขาดกลไกการควบคุม
"The Unadjusted Girl" ธอมัสสังเกตว่าในสังคมทุนนิยม สังคมเมืองหรือสังคมสมัยใหม่ได้ถูกกำหนดลักษณะด้วยคำจำกัดความพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในเชิงการแข่งขัน และทำลายระบบทางสังคม รวมทั้งแนวความคิด "สิทธิสตรี" ในแต่ละศตวรรษที่ผ่านมาของเมืองชิคาโก ธอมัสเห็นว่า ผู้หญิงสาวพยายามแสวงหาโอกาสใหม่ในโรงเรียน โรงงาน ร้านค้า สำนักงาน และสถานที่อื่นๆ ที่ไม่สามารถหาได้ในสมัยก่อน การออกนอกบ้านและหลุ่มพ้นไปจากความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิ กลายเป็นสิ่งที่มองว่าเป็นตัวทำให้กำไกการควบคุมแบบดั้งเดิมลดความสำคัญลง และทำให้หญิงสาวตกอยู่ในสภาพที่เกิดการขัดแย้งในการให้คำนิยามของสภานการณ์ ธอมัสสนใจในการใช้แนววามคิดเหล่านี้ อธิบายถึงการที่ผู้หญิงสาวเข้าไปพัวพันในกาต้าประเวณี
ในหนังสื่อชื่อเรื่อง "The Unadjusted Girl" ธอมัสได้แย้งว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในเมือง เช่น เมืองชิคาโกได้ทำลากำไกการควบคุมที่มีอยู่เดิม และอำนาจของการให้คำนิยามที่ก่อให้เกิดความชอบ เป็นต้นว่าความคิดเกี่ยวกับ "ความเป็นสาวพรหมจารีย์" หรือ "ความบริสุทธ์ิ" โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีข้อจำกัดด้านทรัพย์สินทางเศรษฐกิจ ธอมัสได้โต้แย้งว่าปัจจุบันคำว่า เพศก็ต้องให้ความหมายใหม่ "เพศเป็นสื่อหรือตัวเชื่อม ซึ่งสมารถทำให้หญิงสาวที่มีฐานะยากจนสามารถบรรลุความปรารถนาในด้านความมั่นคงปลอดภัยประสบการณ์ใหม่ และสนองตอบ" กล่าวโดยสรุป การค้าประเวณีอาจมองเป็นผลจากพลังในเชิงทำลายระบบทางสังคมของเมือง และทำให้คำนิยามสถานการณ์เปลี่ยแปลงไปจากเดิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีหญิงสาวที่ขาดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังเกตได้ว่าแนวความคิดเกี่ยวกับ
การค้าประเวณีอาจช่วยในการอธิบายความกระตือรือร้นของผู้รักมนุษยชาติ โดยพยายามให้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณีให้เป็ฯระบเียบแบบแผน ทฤษฎีการเสียระบบทางสังคมเห็นว่า กลำกการควบคุมทางสังคมแบบไม่เป็นทางการเสื่อมลง และสังคมต้องอาศัยกลไกการควบคุมแบบทางการซึ่งก็คือกฎหมายเข้ามาแทนที่ แนวความคิดนี้ไม่ได้สอดคล้องเสียทีเดียวกับความคิดเห็นที่ว่า การค้าประเวณีเป็นอาชีพเก่าแก่ที่สุดของโลก ดังนั้น จึงไม่ไใช่ผลของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเมื่อไม่นามนี้เอง หรือไม่ได้สอดคล้องกับขอสันนิษฐานโดยทั่วไป ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับสิทธิสตรีนี้ในช่วงแรกเริ่มศตวรรษได้แพร่หลายอย่างมากในระหว่างผู้หญิงชั้นสูง ชั้นกลาง มากกว่าผู้หญิงช้นต่ำ อย่างไรก็ตาม แนวความคิดของธอมัสก็คงมีอิทธิพลอยู่มาก
"The Gang" มโนทัศน์เกี่ยวกับวามปรารถนา 4 ประการของธอมัส (ได้แก่ความปรารถนาประสบการณ์ใหม่ ความมั่นคงปลอดภัย การตอบสนองและการยอมรับ) กลายเป็นพื้นฐานในการศึกษาแ็งวัยรุ่นในชิคาโก แธรชเชอร์เรียกว่า ความปรารถนาเหล่านนี้ว่า "พลังรื่อเริง"(lively energies)เขาแย้งว่าพลังดังกล่าวทำให้ชีวิตวัยรุ่นเป็นอิสระตามธรรมชาิ ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมสภาวะที่ปล่อยให้พลังเลห่านี้แสดงอย่างอิสระนั้น เชื่อมโยงกับการเสียระบบของชุมชน และการสูญเสียกลไกควบคุมแบบดั้งเดิม ตามความคิดของเเธรชเชอร์เห็นว่า สภาพเหล่านี้พบได้ตามสลัมของเมือง ซึ่งกำหนดลักษณะโดยความเสื่อทางกายภาพ การเข้าครอบครองพื้นที่ของประชากรกลุ่มือ่นแทนกลุ่มเดม และมีการจราจรภาพทางสังคมสูง มำให้มองแก็งเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติต่อสภาพดังกล่าว หน้าที่ของแก็งก็เพื่อสร้างระเบียบและทำให้ความปรารถนาของมนุษย์สมหวัง แก็งก่อให้เกิดพฤติกรรมรวมหมู่ซึ่งเกิดขึ้นทันทีทันใด และไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้ามาก่อน
แธรชเชอร์ได้วางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการรวมตัวและถอนตัวของแ็ง ตัวแปรหลักคือการควบคุมทางสังคม เขาแย้งว่าเด็กผู้หญิง เด็กผู้ชายก่อนที่จะเป็นวัยรุ่น หากเด็กทั้งสองเพศอยู่ในกลุ่มชาติพันธ์ุที่แน่นอน จะเข้าร่วมแก็งได้ยาก เพราะว่าพวกเขาได้ถูกควบคุมจากครอบครัวอย่งมีประสิทธิภาพ กล่าวอีกแง่หนึ่งคือ เด็กผู้ชายถอนตัวจากแก็ง เมื่อมีข้อผูกมัดทางการสมรสและงาน ซึ่งจะนำเอากลไกการควบคุมแบบใหม่มาใช้กับพฤติกรรมของพวกเขา
ทั้งหมดนี้ เราจะเห็นข้อเท็จจริงว่า แธรชเชอร์มองทุรกรรมในลักษณะที่ดำเนินไปด้วยการชอบเล่น และมีความสนุกสนาน การบรรยายถึงสลัมของเมืองชิคาโกของแธรชเชอร์เป็นภาพที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้น โดยใช่ย่านทางรถไฟ "อาณาจักรสำหรับการผจญภัยในสนามเล่นที่ไม่มีใครเหมือน หรือในส่วนของเมืองที่เป็ฯระเบียบ" จากส่ิงดึงดูดความสนใจที่ให้ไว้ และหากไม่มีกลไกการควบคุม ทุรกรรมอาจมองเป็นการสนองตอบปกติตามธรรมชาติ
ชอว์และแม็คเคย์พยายามที่จะตัดสินลักษณะของชุมชนประเภทต่าง ๆที่สัมพันธ์กับทุรกรรม เพื่อที่พวกเขาจะได้อ้างจากลักษณะดังกล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญอะไรบ้าง ที่ทำให้เกิดการเสียระบบทางสังคมและเป็นสาเหตุให้เกิดทุรกรรมได้อย่างไร โดยได้กำหนดเอกลักษณ์ที่มีความสัมพันะ์กัน 3 ประการ คือ สถานภาพทางเเศรษฐกิจของชุมชน การจราตรภาพของชุมชน และความหลากหลายของชุมชน ทำให้กลไกการควบคุมไม่มีประสิทธิภาพ ในทางกลับกันอัตราของทุรกรรมสูงขึ้น ความยากจน การจราจรภาพและความหลากหลายในศูนย์กลางของเมืองในอเมริกามีลักษณธที่แตกต่างกันในบางเวลาเท่านั้น
ทฤษฎีการควบคุม
ทฤษฎีการควบคุมทางอาชญากรรมและทุรกรรมมีรากฐานมาทฤษฎีการเสียระบบทางสังคม ดังนี้น แนวความคิดส่วนใหญ่จึงค่อนข้างคุ้นเคย อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดก็เสนอส่วนหนึ่งที่สำคัญหรือเด่น ไม่เหมือนแนวคิดอื่น ทฤษฎีการควบคุมทางอาชญากรรรมและการเบี่ยงเบนทางสังคมสันนิษฐานว่าคนนั้น "ดี" เว้นเสียแต่เขาถูกผลักดันให้เกลายเป็นคน "เลว" ไม่ว่าจะมาจากความไม่ยุติธรรม หรือปัญหาบางอย่างที่อยู่นอกเหนือกาควบคุมของเขาในการเปรียบเทียบกัน ทฤษฎีการควบคุมมองสภาวะของมนุษย์โดยที่ยึดแนวความคิดที่เป็นกลางมากกว่า โดยสันนิษฐานว่า คนส่วนมากมีความโน้มเอียงที่เป็นทั้ง "เลว" และ "ดี" เท่าเทียมกัน ตามแรวความคิดนี้ คนเป็นคนดีได้ เพราะว่าสังคมทำให้คนดี สังคมให้คำจำกัดความคุณสมบัติ "ดี" และ "เลว" โดยอาศัยบรรทัดฐานและค่านิยมของสังคม ดังนั้น บรรทัดฐานและค่านิยมเหล่านนี้จึงมีอยู่ร่วมกันอย่างกว้างขวาง และที่ทุกสังคมพยายามที่จะกำหนดบรรทัดฐานและค่านิยมของสังคมให้แก่สมาชิก เป็นข้อสันนิษฐนที่สำคัญของทฤษฎีการควบคุม ความสนใจของนักทฤษฎีการควบคุมอยู่ที่สิ่งซึ่งเหนี่ยวรั้งบุคคล แทนที่จะถามบุคคลที่เบี่ยงเบนว่า "ทำไมท่านทำสิ่งนี้" นักทฤษฎีการควบคุมอยากจะรู้ว่า "ทำไมคนเราทั้งหมดไม่ทำสิ่งนี้" การเห็นด้วยกับ "ความชั่วเป็นิสิ่งดี" นั้น นักทฤษฎีการควบคุมท่านหนึ่งตอบว่า "เราคงทำ หากเรากล้า"
ตามแนวความคิดที่สืบทอดกันมา ทฤษฎีการควบคุมมองการบังคับในลักษณะที่เป็นการกระทำภายในและภายนอกบุคคลดังนั้น วอลเทอร์ รีคลีซ เสนอเค้าโครงโดยกล้าง ๆ เกี่ยวกับกความสนใจของนักทฤษฎีการควบคุมโดยเน้น "วงกรอบภายใน" และ "วงกรอบภายนอก" ในอีกแง่หนึ่ง วงกรอบภายในประกอบด้วยส่วนประกอบของตนเอง เป็นหลัก เป็นต้นว่า การควบคุมตนเอง และความคิดที่ดีเกี่ยวกับ "ตนเอง" ในขณะที่ "วงกรอบภายนอกแสดงถึงตัวกั้นกลางเชิงโครงสร้างในโลกทางสังคมที่ใกล้ชิดของบุคคล ซึ่งสามารถยึดบุคคลไว้ภายในขอบเขต" วงกรอบภายในถูกมองว่ามีผลมาจากความสำเร็จของครอบครัวอันดับแรกตรงที่ทำให้ค่านิยมที่ดีของสังคมเข้าไปอยู่ในจิตใจของบุตรหลาน หากครอบครัวล้มเหลว นักทฤษฎีการควบคุมก็ให้ความสนใจในบทบาทของชุมชน ตำรวจ และตัวแทนที่เป็นทางการอื่น ๆ จากวงกรอบภายนอก
โดยส่วนใหญ ทฤษฎีการควบคุมมีแนวโน้มที่จะมองการเบี่ยงเบนเป็นผลของการขัดเกลาค่านิยมที่ "เลว"ให้เป็นค่านิยมที่ "ดี" กล่าวคือการทำให้บุคคลเชื่อว่าเขาปรารถนาที่จะกระทำสิ่งที่สังคมนิยามไว้ว่าเป็น "การดำเนินชีวิตที่ดี" ความปรารถนาร่วมกันดังกล่วเป็นหัวใจของสิ่งที่นักทฤษำีการควบคุม เรียกว่ "ความผูกพันทางสังคม" หรือสายสัมพันธ์ทางสังคมตามแนวความคิดในทฤษฎีการควบคุม หากความผูกพันทางสังคมลดน้อยลงหรือถูกทำลายพฤติกรรมเบี่ยงเบนก็มีแนวโน้มที่เกิดตามมา
เนื่องจากความผูกพันทางสังคมปกป้องบุคคลจากการเบี่ยงเบนแล้ว จึงควรจำเป็นต้องรู้ว่า อะไรก่อให้เกิดความผูกพันดังกล่าว และการไม่มีความผูกพันนั้นเกี่ยวโยงกับพฤติกรรมเบี่ยงเบนอยางไร เทรวิส ฮิรสชิ เสนอองค์ประกอบของความผูกพันทางสังคม ประกอบด้วย มิตรภาพซึ่งผูกพันจิตใจกัน ข้อผูกมัด การเข้าไปมีส่วนร่วมหรือรู้สึกร่วมและความเชื่อ
ความสำคัญของมิตรภาพซึ่งผูกพันจิตใจกับคนอื่นๆ กระตุ้นให้บุคคลเกิดความไวต่อความปรารถนาและความคาดหวังของคนอื่น การผูกพันกับผู้เลี้ยงดู บิดามารดา ครู หรือใครๆ จะเกี่ยวข้องกับความรู้สึก ดังนั้น แม้เราจะเคยทำให้คนที่เรารักเสียใจบ่อย ก็เป็นการกระทำโดยไม่ได้ตั้งใจ ยิ่งไปกว่านั้นโดยทั่วไป บุคคลพยายามที่จะปกป้องคนที่รักจากความเจ็บปวด การสูญเสียและความยุ่งยากใจ... การแยกความรู้สึกผูกพันออกจากตัวบุคคล ทำให้มีอิสรภาพในการเบี่ยงเบนมากขึ้น
ข้อผูกมัดหรือความรู้สึว่าเป็นภารกิจ หมายถึงการทุ่มเทเวลาและกำลังกายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเ
ความเชื่อในค่านิยมของสังคม เป็นองค์ประกอบสุดท้ายของความผูกพันทางสังคม โดยเน้นที่การเบี่ยงเบนไม่ได้มีสาเหตุมาจากความเชื่อที่ว่าต้องกระทำพฤติกรรมเช่นนั้น การเบี่ยงเบนอาจเกิดขึ้นได เนื่องจากการขาดความเชื่อที่ทำหน้าที่ห้ามปรามพฤติกรรมเบี่ยงเบนไว้
ทฏษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของ เอเคอร์ ให้เหตุผลที่ดีว่า "ทำไมจึงเกิดอาชญากรรมและการเบี่ยงเบนขึ้น" เอเคอร์ ตั้งคำถามนี้พร้อมทั้งให้คำตอบว่า "ความยึดมั่นกับการปฏิบัติตามของบุคคลได้ถูกทำลายลงก็อาจทำให้บุคคลเบี่ยงเบนได้ ไม่ว่าเขาจะกลายเป็นคนเพบี่ยงเบนโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยนอกเหนือรางวัลทางสังคม หรือรางวัลอื่น ๆ ก็ตาม คำตอบของเอเคอร์มาจากทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมทีเกี่ยวกับอาชญากรรมและการเบี่ยงเบน เอเคอร์ ตั้งข้อสังเกตว่า "ทฤษฎีการควบคุมสอดคล้องกับการเรียนรู้ทางสังคมมากที่สุด"
วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
Social Control
กลไกการควบคุมทางสังคมภายใน คือการที่บุคคลยอมรับเอาบรรทัดฐานและค่านิยมของกลุ่มเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของบุคคลและปรารถนาที่จะปฏิบัติตามบรรทัดฐานดังกล่าวทำให้มีผลต่อการควบคุมตนเอง กระบวนการี้เป็นผลมาจากกระบวนการขัดเกลาทางสังคม หากกระบวนการขชัดเกล่าทางสังคมไม่สัมฤทธิ์ผล บุคคลน้นมีแนวโน้มจะมีพฤติกรรมเบียงเบน สังคมจึงต้องอาศัยการควบคุมทางสังคมภายนอกมาต่อต้านกับพฤติกรรมดังกล่าวเพื่อความเป็นระเบียบของสังคม
การควบคุมทางสังคมไม่ควรสับสนกับการเป็นประมุขศิลปหรือความเป็นผู้นำส่วนบุคคล เมื่อบุคคลหนึ่งพยายามควบคุมพฤติกรรมคนอื่นๆ นั้น แสดงว่าเป็นการใช้ความเป็นผู้นำหรือมุขภาพ มากกว่าเป้นการควบคุมทางสังคม แต่เมืี่่อเขารวบรวมกลุ่มที่ประกอบด้วยเพื่อสมาชิกเข้าร่วมกับเขา และพยายามที่จะใช้อิทธิพลต่อความประพฤติของกลุ่มที่มีขนาดใหญ่กว่า นั่นคือ เขากำลังกระทำในฐานะตัวแทนการควงคุมทางสังคม เราอาจกล่าวได้ว่า บางครั้งความเป็นผู้นไใช้ในลักษณะความหายของการเห็นพ้องระหว่างผู้ที่มีความพยายามในการควบคุมทางสังคมกับความปรารถนาเหรือค่านิยมในการดำเนินชีวิตของคนใดคนหนึ่งในทำนองเดียวกัน การโฆษณาชวนเชื่ออาจเป็นคำที่บ่งขอกถึงการที่ผู้พูดพยายามพฤติกรรมคนอื่น ๆ นั้นแสดงว่าเป็นการใช้ความเป็ฯผู้นำหรือมุขภาพ มากกว่าเป็นการควบคุมสังคม แต่เมื่อเขารวบรวมกลุ่มที่ประกอบด้วยเพื่อสมาชิกเข้าร่วมกับเขา และพยายามที่จะใช้อิทธิพลต่อความประพฤติของกลุ่มที่มีขนาดใหญ่กว่า นั้นคื เขากำลังกระทำในฐานะตัวแทนการควบคุมทางสังคม เราอาจกล่าวได้ว่า บางครั้งความเป็นผู้นำใช้ในลักษณะควารมหมายของการเห็นพ้องระหว่างผู้ที่มีความพยายามในการควบคุมทางสังคมกับความปารถนาหรือค่านิยมในการดำเนินชีวิตของคนใดคนหนึ่ง ในทำนองเดียวกัน การโฆษณาชวนเชื่ออาจเป็นคำที่บ่งบอกถึงการที่ผู้พูดพยายามควบคุมทางสังคมโดยอาศัยความพยายามบางอย่างเพื่อให้คนเ่อเกิดความเห็นคล้อยตามแล้วแต่ผู้พูด
การควบคุมทางสังคมเป็นคำกล่าวรวมๆ ของกระบวนการที่ได้วางแผนหรือไมมีการวางแผนมากอ่น ซึ่งนำมาใช้อบรมสั่งสอน ชักจูง หรือบังคับปัจเจกบุคคลให้คล้อยตามค่านิยมในการดำเนินชีวิตของกลุ่มให้เป็นปกติวิสัย การควบคุมความประพฤติของสมาชิกในกลุ่มหรือเมื่อปัจเจกบุคคลมีอิทธิพลต่อการตอบสนองของคนอื่น ๆเพราะฉะนั้นการควบคุมทางสังคมนำมาใช้ปฏิบัติ 3 ระดับ คือ กลุ่มเหนือกลุ่ม กลุ่มเหนือสมาชิกกลุ่ม และปัจเจกบุคคลเหนือเพื่อสมาชิกด้วยกัน กล่าวอีกแง่หนึ่ง การควบคุมทางสังคมเกิดขึ้น เมื่อปัจเจกบุคคลถูกเหนี่ยวนำ หรือบังคับให้กระทำสอดคล้องกับการปรรถนาของคนอื่นๆ ไม่ว่าจะสอดคล้องกับผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลเองหรอืไม่ก็ตาม
สังคมทุกสังคมจำเป็นต้องมีการควบคุมสามาชิกของสังคม ดังนั้นปัจเจกบุคคลคือแต่ละคนซึ่งอยู่ในฐานะสมาชิกขององค์การทางสังคมใดก็ตาม ย่อมไม่มีความเป็นเสรีเต็มที่แต่ต้องอยู่ในวงกรอบหรือขอบเขตแห่งการประพฤติปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นวจีกรรมหรือกายกรรมสำหรับด้านมโนกรรมนั้น แารจะคิดอย่างไรยอมขึ้นอยู่กับการเรียนรู้จากสังคมโดยผ่านกระบวนการสังคมประกิตเป็นสำคัญ
ทฤษฎีการควบคุมทางสังคมแพร่หลายและได้รับการยอมรับอยางกว้างขวางกล่าวได้ว่าทฤษฎีรุ่งเรื่องขึ้นมาเป้ฯผลมาจากแนวคิดทางอาชญาวิทยาที่แตกต่างกัน 3 แนว
แนวที่หนึ่ง คือ ปฏิกิริยาโต้ตอบต่อการหันเหไปในทางการขัดแย้งและการตีตราและการหันกลับมาพิจารณาพฤติกรรมที่มีความผิดทางอาญา นักอาชญาวิทยาที่เป็นพวกอนุรักษ์นิยม จะสนใจอาชญาวิทยาสมัยใหม่เพียงเล็กน้อย และต้องการหวนกลับไปหาเขอบเขตของเนื้อหาสาระแบบเก่าคืออาชญากร
แนวที่สอง เกิดการศึกษาความยุติธรรมทางอาญาเป็นประเด็นสำคัญขึ้นมา ซึ่งช่วยให้อาชญาวิทยาเปลี่ยนไปสู่ทิศทางที่มีแนวโน้มจะเป็นรเบบและเชิงปฏิบัติมากขึ้น รัฐบาลก็มีความสนใจมากขึ้น และมากพอที่จะให้มีโครงการเกี่ยวกับความยุติธรรมทางอาญา และการต่อสู้ความผิดทางอาญา ซึ่งจะช่วยให้ธรรมชาติของการเคลื่อนไหวเป็นไปในเชิงปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น ผลก็คืออาชญาวิทยาย่อมมีอิสระจากงานตามทฤษฎี และเหลือไว้เพียงสิ่งที่สร้างตามทฤษฎีจากช่วง 1960-1969 ทฤษฎีซึ่งสอดคล้องกับการอธิบายเกี่ยวกับพฟติกรรมอาชญากรก็คือ แนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมทางสังคมของ Hirschi
แนวที่สาม ทฤษฎีการควบคุมทางสังคมต่าง ๆ มีความเชื่อมโยงกับวิธีการสำรวจแบบใหม่ สำหรับกำหนดแหล่งพฤติกรรมเกะรคือ การสำรวจโดยให้ายงานเกี่ยวกับตนเอง
ทฤษฎีการควบคุมทางสังคมของเดอร์ไคม์ ทฤษฎีการควบคุมทางสังคมทั้งหมด ยึดถือปัจจัยทางสังคมสำหรับอธิบายว่าคนทั่วไปสามารถเหนี่ยวรั้งจากการกระทำที่เป็นผลร้ายต่อคนอื่น ๆ ได้อย่าง การอธิบายแนวนี้เริ่มต้นมาจากเดอร์ไดม์ เขากล่าวว่าสังคมมักจะมีผู้ที่เบี่ยงเบนจำนวนหนึ่งแนนอน และการเบี่ยงเบนนั้นแท้จริงแล้วก็เป็นปรากฎการณ์ปกติ นอกจากนี้ การเบี่ยงเบนยังช่วยคำจุนระเบียบทางสังคมด้วย เพราะเหตุว่ามีขอบเขตทางศีลธรรมที่ไม่แน่ชัดในการให้ำนิยามว่า พฤติกรรมอะไรบ้างที่อนุญาตให้กระทำได้และพฤติกรรมอะไรที่ไม่เห็นด้วย ขอบเขตเหล่านี้ได้ระบบุได้แจ่มชัดถึงความไม่พอใจระดับต่างๆ ที่มีต่อการกระทำต่างๆ โดยเรียงลำดับจากความไม่พอใจแบบไม่รุนแรงจนถึงการบังคับใช้ทากฎหมายและการจำคุก เนื่องจากเส้นแบ่งขอบเขตที่เป็นจริงยังไม่แน่ชัด ปฏิกิริยาโต้ตอบทางสังคมต่อพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนของคนอื่น จึงช่วยให้ประชาชนตัดสินได้สิ่งไหนที่พวกสมควรกระทำ ดังนี เดอร์ไคม์ จึงได้กล่าวว่ พฤติกรรมถูกควบคุมโดยปฏิกริยาโต้ตอบทางสังคม
ทฤษฎีการควบคุมทางสังคมในเชิงบุคลิกภาพ ในปี 1950-1959 นักทฤษฎีหลายท่านได้เสนอคำอธิบายการควบคุมทางสังคมเกี่ยวกับทุรกรรม ทฤษฎีเหล่านี้กำหนดขึ้นตอนเพื่อเป็นแนวทางการอธิบายอาชญากรรมและทุรกรรมในปัจจุบั นับตั้งแต่สมัยเดอร์ไคม์เป็นต้นมา ความคิดเห็นเกี่ยวกับการควบคุมทางสังคมได้มีการปรับปรุงหลายครั้ง แนวความคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพและการขัดเหลาทางสังคมกลายเป็นเรื่องธรรมดา และไม่ว่าเป็นบุคลิกภาพหรือการขัดเกลาทางสังคมมักจะนำมาใบช้ในผลงานทางสังคมวิทยาว่าด้วยการเบียงเบนมากที่สุด ย่ิงไปกว่าน้นงานวิจยและงานเขียนในหลายทศวรรษ ก็เน้นความสามรถของสิ่งแวดล้อมทางครอบครัว สถาบันศาสนา โรงเรียนพรรคพวกเพีือนที่ดี และองค์การชุมชนต่างๆ ในการควบคุมทุรกรรม
อับเบิร์ต.เจ.รีซซ์ ได้รวมแนวคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพและการขัดเกลาทางสังคมกับผลงานของสำนักชิคาโกและเขียนทฤษฎีการควบคุมทางสังคม ซึ่งสามารถคาดการณ์ถึงผลงานในเวลาต่อมาได้เป็นส่วนใหญ่ แม้ทฤษฎีของเขาจะใช้ทฟษฎีจิตวิเคราะห์และ บุคคลิกภาพมากกว่าก็ตาม เขาก็ได้เสนอแนะถึงองค์ประกอบของการควบคุมทางสังคม 3 ประการ สำหรับใช้อธิบายกรกระทำผิด เขากล่าว่า ทุรกรรมหรือการกระทำผิด เป็นผลมาจากปัจจัยใดปจจัยหนึ่ง หรือหลายปัจจัยทั้งหมดดังนี้
- ขาดการควบคุมในที่เหมาะสมในช่วงวัยเด็ก
- ความล้มเหลวของกลไกการควบคุมภายในดังกล่าว
- ปราศจาก หรือการขัดแย้งในกฎเกณฑ์ทางสังคม ซึ่งกลุ่มทางสังคมที่มีความสำคัญได้กำหนดขึ้น ปัจจัยที่ 3 ประการเหล่านี้เองที่นักทฤษฎีการควบคุมทางสังคมทุกคนนำมใช้เขียนงานตลอดมา
ทฤษฎีความผูกพันทางสังคม หรือทฤษฎีสายสัมพันะ์ทางสังคม แนวคิดเกี่ยวกับกลไกการควบคุมทางสังคมภายนอกได้เด่นขึ้นมา เนื่องจากผลงานของเดวิด แมทซา แห่งมหาวิทยาลับแคลิฟอร์เนีย เอบร์คลี่ย์ เขาได้เขยนผลงานครั้งแรกร่วกับ เกซแฮม สคีซ คือการวิจารณ์ทฤษฎีอนุวัฒนธรรมของ อัลเบิรต โคเฮน อย่างไรก็ตา คำวิพากษ์วิจารณ์นั้นก็เป็นความคิดเห็นที่ว่าทุกคน (แม้แต่แก็งคทุรกรรมที่เป้นชนชั้นต่ำ)มักผูกัมอยู่กับระบบค่านิยมของสังคมที่มีอิทธิพลเหนือกว่ พวกเขาได้เสนอว่า คนเราจะมีอิสระที่จะกระทำทรุกรรม โดยผ่านการใช้เทคนิคของ "ความเป็นกลางหรือความเป็นสูญค่า" เทคนิคเหล่นี้ทำให้ปัจเจกบคคลรู้จักเป็น และละทิ้งการพัวพันต่อค่านิยมทางสังคมชั่วคราว ดังนั้น ทำให้มีอิสระที่จะกระทพฤติกรรมทุรกรรม และได้เสอนรายชื่อรูปแบบ(วิธีการ)ของความเป็นกลาง 5 ประการ ได้แก่ ความปฏิเสธความรับผิดชอบ การปฏิเสธการทำร้าย การปฏิเสธผู้เสียหาย การปรักปรำจาผู้กล่าวร้าง การทุทธรณ์เพื่อความซื่อสัตย์ต่อกลุ่ม
ทฤษฎีการควบคุมทางสังคมที่แพร่หลายเมือไม่นานมานี้ทั้งหมดไม่ใช่สิ่งใหม่ ย่ิงกว่านั้นอาจถือว่าเป็นแนวการศึกษาเชิงทฤษฎีแนวหนึ่งที่สอดคล้องอย่างมากกับแนวความคิดของสาะารณชนที่ว่า ทำไมคนจึงกลายเป็นอาชญากร ไม่ว่าใครจะเชื่อว่าบุคคลกลายเป็นอาชญากรเพราะการสมาคมกับเพื่อที่ไม่ดี เพราะครอบครัวเลี้ยงดุอย่งไม่ถูกต้อง เพราะขาดความเชื่อทางศาสนา หรือเพราะขาดการศึกษา ทฟษฎีการควบคุมทางสังคมสามารถมองว่าเป็นการสะท้อนถึงความเชื่อดังกล่าว นอกจานี้ สำหรับนักอาชญาวิทยาเอง ทฤษฎีนี้มีส่วนของทฤษฎีการเสียระเบียบทางสังคมร่วมอยู่บ้าง การสมาคมที่แตกต่างกัน และความไร้บรรทัดฐานจึงดึงดูดความสนใจของนักอาชญาวิทยาที่ไม่อย่งยอมรับเอาแนวทฤษฎีการขัดแย้ง
ระเบียบทางสังคมหมายถึงคุณภาพของการจัดระเบียบทางสังคมทั้งหมด นักวิชาการบางคนเรียกว่า "ความเชื่อมแน่น" หรือ "การบูรณาการ" หรือ "ความเป็นปึกแผ่น" และบางคนใช้ในความหมายเดียวกับ "การจัดระเบียบองค์การ" หากจะกล่าวให้ชัดก็คือระเบียบทางสังคมมีความมหายตรงกันข้ามกับการเสียระเบียบทางสังคม ความยุ่งเหยิง การไม่มีรัฐบาลหรือกฎหมาย ระเบียบหมายถึงบุคคลไม่แยกตัวเองมาทำอะไรตามใจชอบ โดยไม่มองดูคนส่วนใหญ่ การกระทำของบุคคลต้องสอดคล้องกับส่วนรวมที่มีจำนวนมากกว่า
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า แบบอย่างที่ค่อนข้องคงที่ อันเป็นผลมาจากการกระทำระหว่างกันทางสังคมระเบยบสังคมเป็นเครื่องกำหนดให้ส่วนต่าง ในโครงสร้างสังคมดำเนินไปตามหน้าที่และมีความสัมพันะ์กัน เพื่อประโยชน์ของสังคมนั้นๆ
ระเบียบทางสังคมกำหนดขึ้นโดยผ่านโครงสร้างและวัฒนธรรม เนื่องจากปัจเจหชนทุกคนในองค์การถูกกำหนดตำแหน่งไว้ในโครงสร้างและได้เรียนรู้วัฒนธรรมร่วมกัน โครงสร้างและวัฒนธรรมผูกมมัดบุคคลไว้ ดังนั้นบุคคลจะไม่ปฏิบัติในฐานะปัจเจกบลุคคล แต่ในฐานะสมาชิกขององค์การ นักสังคมวิทยาจำนวนมากใช้แบบแผน 2 ประการนี้เพื่อทำความเข้้าใจรากฐานของระเบยบทางสังคม
ระเบียบทางสังคมขึ้นอยู่กับการขัดเกลาทางสังคม รเกิดขึ้นจากความพยายามนานัปการขององค์การทุกองค์การที่จะทำให้ปัจเจกชนยินยอมปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ และไห้ยอมรับโครงสร้างและวัฒนธรรมที่บุคคลเป็นเจ้าของ
เดอร์ไคม์ อธิบายสังคมที่พัฒนาแล้วก่อให้เกิดโครงสร้างที่ซับซ้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ บุคคลมักมีตำแน่งมากมายและแตกต่างกันไปตามตำแหน่งของเขาเหล่านั้น ในขระเดียวกันก็มีการพึงพาซึงกันและกันมากขึ้น งานทุกย่างจะมีลักษณะแตกต่างกัน แต่ก็สนับสนุนส่วนรวม แม้จะส่งเสริมในลักษณะที่แตกต่างกันไป ส่วนหนึ่งก็เป็นผู้ชำนาญการ ผู้บริหาร ..การแบ่งงานก่อให้เกิดสังคมที่ประกอบด้วยบุคคลที่แตกต่างกัน และการมีวัฒนธรรมเดียวกนั้นน้อย และไม่่อยเห็นแน่ชัด วัฒนธรรมก็ยังคงมีความสำคัญแต่แทนที่ด้วยความเป็นปึกแผ่นทางโครงสร้างเพ่ิมเข้ามา โดยที่ทุกคนทำหน้าที่แตกต่างกันไป แต่ผลสุดท้ายก็เป็นการสนองต่อความตองการของคนอื่นๆ จำนวนมากหากปราศจกาการมีวัฒนธรรมร่วมกันเป็นแกนกลางของความเป็นปึกแผ่นแล้วจะต้องมีความอดกลั้นต่อความแตกต่างของปัจเจกชนมากขึ้น และการลงโทษคนที่ละเมิดกฎหมายเข้มงวดน้อยลง
สำหรับเดอร์ไคม์ทั้งโครงสร้งและวัฒนธรรมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการยึดเหนี่ยวสังคมเข้าด้วยกัน และสร้างพื้นฐานที่มั่นคงให้กับระเบียบทางสังคม นักสังคมวิทยาท่านอื่นที่เน้นความสำคัญของแบบแผนวัฒนธรรมและโครงสร้างด้วยเชนกัน คือ คาร์ล มาร์กซ์
คาร์ล มาร์กซ์เสนอการวิเคราะห์เกี่ยวกับระเบียบในลักษณะที่แตกต่างจากเดอร์ไคม์แต่แนวการวิคเคราะห์ของเขาก็เห็นว่าโครงสร้างและวัฒนธรรมมีความสำคัญ มาร์กซ์ไม่ได้ใช้มโนทัศน์ของระเบียบทางสังคม แต่ใช้คำวว่า "การควบคุมทางสังคม" แทน ซึ่งหมายถึงวิธีการต่างๆ มากมายทีามีอิทธิพลในสังคม ซึ่งพยายามที่จะปราบปรามปัจเจกชนการควบคุมปัจเจกชนก็เพื่อผลประฏยชน์ของคนส่วนน้อย แนวคิดของมาร์กซ์มองโครงสร้างทางสังคมหมายถึงความไม่เท่าเที่ยมกันทางชนชั้น และความไม่เท่าเที่ยมกันดังกล่วปล่อยให้คนส่วนน้อยเป็นเจ้าของิถีการผลิต ใช้อำนาจบังคับและจักการคนจำนวนมากให้ยอมรับสังคมที่เป็นอยู่ อำนาจในโครงสร้างทางสังคมก่อให้เกิดการควบคุมงาน รัฐบาล กองทัพ ตำรวจ ศาล และสื่อมวลชน และในทางกลับกันสิ่งนี้ก็นำมาซึ่กการควบคุมเหนือปัจเจกชน วัฒนธรรมมีหน้าที่คล้ายคลึงกัน ความคิด ค่านิยม และมาตฐษนที่เด่น ๆ ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัตในสังคมทำหน้าที่ปราบปรามแลควบคุมปัจเจกชน ดังนั้นบุคคลจึงยอมรับสังคมที่เป็ฯอยู่ด้วยความเต็มใจ หน้าที่ของัฒนธรรมก้คือสนับสนุนความไม่เท่าเทียมกันในโครงสร้าง ดังนั้น ตามแนวความคิดของมาร์กซ์ระเบียบทางสังคมสร้างจากเบื้องบนและทำหน้าที่ให้ผลประโยชน์กับผู้ที่มีสินทรัยพย์ และในที่สุดระเยียบทางสัคมก็ไม่ได้ให้ผลประโยชน์กับประชากรโดยส่วนรวมทั้งหมด ทั้งโครงสร้างและวัฒนธรรมเป็นแบบแผนทางสังคมที่ผุ้มีอำนาจเป็นคนกำหนดขึ้นมาและใช้เองด้วย
กลไกการควบคุมทางสังคม สังคมและกลุ่มทางสังคมทุกประเภท มีแนวทางที่จะชักจูงหรือฝึกฝนพฤติกรรมของสมาชิกให้ปฏิบัติตามค่านิยม และบรรทัดฐานของกลุ่มนักสังคมวิทยาเรียกระบวนการเหล่านี้ว่ากลไกการควบคุมทางสังคม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือการควบคุมทางสังคมภายใน และการควบคุมทางสังคมภายนอก
กลไกการควบคุมทางสังคมภายนอก คือ แนวทางที่สมาชิกของกลุ่มหรือสังคมต้องการให้ปัจเจกบุคคลปฏิบัติในทางที่กำหนดไว้ และปัจเจกชนต่อต้านการปฏิบัติในแนวทางดังกล่าว กลุ่มจึงหาทางหยุดการต่อต้าน โดยการใช้บังคับใช้เชิงปฏิฐานหรือเชิงบวกและการบังคับใช้เชิงนิเสธหรือเชิงลบ เพื่อชักจูงพฤติกรรมของบุคคลไปสู่รูปแบบที่สอดคล้องกับบรรทัดฐานและค่านิยมของสังคม
วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
Mass Communication
แนวคิดทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ของสื่อมวลชน เป็นแนวทางในการศึกษาสื่อมวลชนทฤษฎีนี้จัดอยู่ในประเภททฤษฎีทางสังคมวิทยา ซึ่งอธิบายถึงกิจกรรมต่าง ๆที่เกิดขึ้นอย่างซ้ำซาก และกิจกรรมต่าง ๆเหล่านี้ถูกรวบรวมจัดขึ้นในรูปของความเป็นสถาบันด้วย เหตุผลในแง่ความจำเป็นทางสังคม สังคมนั้นถูกพิจารณาว่าเป็นระบบหนึ่งที่ส่วนต่าง ๆหรือระบบย่อยมีความเหี่ยวพันติดต่อถึงกัน ซึ่งสื่อมวลชนเป็นส่วนหนึ่งของระบบด้วย ระบบย่อยๆ แต่ละระบบเหล่านี้จะช่วยกันผดุงรักษาระบบใหญ่เอาไว้ ในทฤษฎีสื่อสารมวลชนถูกเน้นว่าเป็นตัวเชื่อม เพื่อมำให้เกิดการรวมตัวกันเข้าของทุกส่วนในสังคม เพื่อความเป็นหนึ่งอันเดียวกันของสังคม สื่อมวลชนพยายามที่จะสนองต่อความต้องการของสมาชิกในสังคม ทั้งที่เป็นรายบุคคลและที่เป็นกลุ่มก้อนอย่างสมำ่เสมอ ผลก็คือสื่อมวลชนได้ทำประโยชน์ให้แก่สังคมโดยไม่ได้ตั้งใจ ในแง่ที่สามารถรวมสมาชิกทั้งหมดเข้าไว้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังนั้น ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่จึงไม่ต้องยึดกับฐานคติที่เกี่ยวกับว่า สื่อมวลชนเป็นผู้ชี้นำทางอุดมการณ์ที่ถูกกำหนดมาจากสถาบันอื่นๆ ในสังคม แต่สื่อมวลชนเป็นทั้งผู้ชี้นำและผู้แก้ไขด้วยตัวของสื่อมวลชนเอง ภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดมาจากสถาบันที่ควบคุมสื่อมวลชน
การสื่อสารมวลชน คือ การสื่อสารที่เกี่ยงข้องกับสื่อพิมพ์ หรือสื่ิออเล็กทรอนิกส์ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง หรือ วิทยุโทรทัศน์ เพื่อทการสื่อสารกับคนจำนวนมาก ซึ่งอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ หรือทั่วโลก ผู้รับสารของการส่อสารมวลชน อาจเป็นหลุ่มคนที่มีจำนวนมากน้อยแตกต่างกันไป หรืออาจจะเป็นคนเพียงคนเดียวก็ได ปัจจัยสำคัญที่แตกต่างกันในสื่อการสื่อสารมวลขน คือ ภาลักษณ์ ภาษาการพูด ภาษาเขียน เสียงประกอบ ดนตรี สี แสง และเทคนิคต่างๆ ที่ถูกใช้ในกาสือสาร เนื้อหา และในผลที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะ
ปัจจุบัน สื่อสารมวลชนมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของเรามาก เราใช้เวลามากเท่าใดในการรายการโทรทัศน์ ฟังวิทยุ อ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯ สินค้าทั้งหลายที่เราซื้อ ซึ่งก็ได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งที่เราเห็น สิ่งที่เราได้ยิน หรือสิ่งที่ได้อ่านจากสื่อมวลชน
สื่อมวลชนเป็นแหล่งที่สำคัญของข่าวสารและความบันเทิงสำหรับเรา ทุกวันนี้เราอยู่โดยที่มีสื่อสารมวลชนล้อมรอบอยู่ การทำความเข้าใจสื่อมวลชนว่ามีผลกระทบต่อการสื่อสารอย่างไรเป็นทสิ่งที่สำคัญสำหรับเราทุกคน
ชิรลีย์ ไบย์จิ อธิบายถึงการสื่อสารมวลชนว่า คือ การสื่อสารจากคนๆ หนึ่ง หรือคนกลุ่มหนึ่ง ผ่านเครื่องมือถ่ายทอดข่าวสาร (สื่อกลาง)ไปยังผู้รับารกลุ่มใหญ่
Charles Wright กล่าวถึง "คุณลักษณะที่สำคัญของการสื่อสารมวลชน" ซึ่งขึ้นกับปัจจัยที่สำคัญหลายประการ ดังนี้
- ลักษณะของผู้่งสารมวลชน มีลักษณะการดำเนินงาน ในรูปแบบของการเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้น ผู้ส่งสาร จึงไม่ได้เป็นใครคนใดคนหนึ่งที่ทำงานเพียงคนเดียว แต่ผู้ส่งสารเป็นผู้ทำงานในองค์กรขนาดใหญ่ มีฌครงสร้างองค์กรที่ซับซ้อน มีค่าใช้จ่ายสูงมาก เช่น องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย...
- ลักษณะของผู้รับสารมวลชน
ผู้รับสารมีจำนวนมา ไม่สามารถกำหนดได้ว่า จำนวนผู้รับสารมจำนวนเท่าไร แต่มีหลักเกณฑ์ที่นำมาใช้ตัดสินว่า จำนวนผู้รับสารมีลักษณะที่จะเป็นผู้รับสารมวลชนได้ ถ้าผู้รับสรจำนวนหนึ่งมีส่วนในกิจกรรมการสื่อสารในช่วงเวลาหนึ่ง โดยที่ไม่สามารถมีปฏิกิริยาโต้ตอบได้ในทันที ก็ถือว่าเป็นลักษณะของผู้รับสารมวลชน
ผู้รับสารมีลักษณะทางสังคมที่แตกต่างกัน
ผู้สื่อสารและผู้รับสารไม่รู้จักกัน
- ลักษณะของประสบการณ์ภูมิหลังของการสื่อสารมวลชน มีลักษณะสำคัญดังนี้
มีความเกี่ยวข้องกับสาธารณชน ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว หรือเกี่ยวกับใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ เนื้อหาของสารเป็นเรื่อสำหรับสาธารณชน
มีความเร่งด่วยน สารในการสื่อสารมวลชน จะต้องส่งไปยังผู้รับสารจำนวนมากในเวลาพร้อมกัน
ไม่ยั้งยืนถาวร สารในการสื่อสารมวลชน มีลักษณะที่ไม่ยั่งยืน เพราะสารในการสื่อสารมวลชนจะต้องผลิตขึ้นใหม่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันต่อสถานกาณ์ มีความใหม่สดเสมอ
กระบวนการสื่อสารมวลขนแนวเส้นตรง สามารถให้ข้อคิดภายในขอบเขตกว้าง ๆ ของแบบจำลอง ซึ่งช่วยอธิบายการสื่อสารแบบเผชิญหน้ากัน แต่ละขั้นตอนมีความซับซ้อนมาก แต่ก็สามารถมองเห็นถึงความซับซ้อนได้ การสื่อสารแบบเผชิญหน้าขั้นพ้นฐาน และขั้นตอนของการสื่อสารมวลชนมีความเหมือนกันมากกังนี้
1. การสื่อสารมวลชน เริ่มต้นที่ผู้ส่งสารมืออาชีพ เลือกสาร โดยคำนึงถึงธรรมชาิตและจุดมุ่งหมายของสาร โดยคำนึงถึงธรรมชาิตและจุดมุ่งหมายของสารที่จะส่งไปยังผู้รับสาร โดยใช้สื่อใดสื่อหนึ่งโดยเฉพาะ สารที่ส่งอาจเป็ฯรายงานข่าว การโฆษณา ภาพยนตร์ หรืออาจเป็นการนำเสนอทางสื่ออื่นด้วย
2. การเข้ารหัสความหมายของสาร โดยผู้ส่งสารมืออาชีพ เช่นทีมงานข่าว บริษัทภาพยนตร์ ทีมงานของนิตยสารฯ กระบวนการเข้ารหัสสาร รวมถึงการเลือกสัญลักษณ์ ไม่เฉพาะแต่วัจนและอัจนสัญลักษณ์ เท่านั้ แต่รวมถึงผลที่เกิดขึ้นโดยเกิดกับสื่อด้วย เช่น เสียง รูปภาพ สี เป็นต้น
3. สารถูกเผยแพร่ โดยผ่่านการใช้เทคนิคพิเศษของสื่อภาพยนตร์ ส่ิงพิมพ์ หรือการกระจายเสียง ไปอย่างกว้างไกล เท่าที่สามารถจะทำได้
4. ผู้รับสารมีจำนวนมากและมีความหลากหลาย ในการรับสารและเข้าใจสาร ในช่องทางได้ที่เลือก
5. ผู้รับสารแต่ละบุคคล แปลความหมายของสาร โดยขึ้นอยู่กับประสบการณ์ภูมิหลังของผู้รับสารแต่ละคนด้วย ซึ่งอย่างน้อยควรจะเหมือนๆ กันกับผู้ส่งสาร เพื่อจะได้เข้าใจความหมายของสารได้ตรงกัน
6.ผลของประสบการณ์ในการแปลความหมายเหล่านี้ ผู้รับสารจะหด้รับอิทธิพลในทางใดทางหนึ่ง ในความรู้สึก ความคิด หรือการกระทำ และสิ่งนี้คือ การสื่อสารทำให้มีผลบางอย่าง
ทั้ง 6 ขั้นตอนของแบบจำลองของการสื่อสารมวลชนนี้ ไม่เพียงได้แสดงให้เห็นถึงลักษณะพื้นฐานของสิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสารมวลชน แต่ยังเป็นกรอบการทำงานที่เหมาะสมสำหรับการให้คำจำกัดความอย่างรอบคอบ หลังจากอภิปรายแต่ละขั้นตอยอย่างละเอียด เราจะสามารถกำหนดคำจำกัดความที่ถูกต้องของการสื่อสารมวลชนได้
ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ของการสื่อสารมวลชน
Harold Lasswell & Charles Wright เป็นผู้พิจารณาถึงหน้าที่และบทบาทของสื่อมวลชนในสังคมอย่างจริงจัง
ลาสเวลล์ กำหนดหน้าที่ของสื่อมวลชนไว้ 3 ประการ คือ
- การรวบรวมและกระจายข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ในสภาพแวดล้อม ทั้งที่เกิดขึ้นภายในสังคมและภายนอกสังคม ในการปฏิบัติหน้าที่นี้ สื่อมวลชนจะเตือนในเราทราบถึงอันตรายที่คาดว่าจะมี รวมถึงการให้ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อเศรษฐกิจ สังคม และประชาชนทั่วไป
- การประสานสัมพันธ์ส่วนต่าง ๆของสังคมให้รวมกันอยู่ได้ตามสภาพแวดล้อม คือการตีความข้อมูลซึ่งถูกเสนอเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม และการแนะนำว่าควรปฏิบัติต่อเหตุการณ์ต่าง ๆที่เกิดขึ้นอย่างไร หน้าที่นี้ถูกมองว่าเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ ชักชวนให้ปฏิบัติ และธำรงไว้ซึ่งความคิดเห็นที่เป็นเอกฉันท์
- การถ่ายทอดมรดกทางสังคมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนรุ่นต่อไป คือ การถ่ายทอดและปลูกฝังค่านิยมความเชื่อ บรรทัดฐานทางสังคม ความรู้ และส่วนประกอบอื่นๆ ทางด้านวัฒนธรรมสู่สมาชิกในสังคม
ต่อมา Charles Wright ได้เพิ่มหน้าที่ประการที่ 4 ขึ้นมาอีกหน้าที่หนึ่งคือ
- การให้ความบันเทิง คือ การสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินให้แก่สมาชิกในสังคม เพื่อเป็นการพักผ่อน และลดความตึงเครียดจากสถานการณ์ต่างๆ ที่แต่ละคนประสบอยู่
แนวคิดทฤษฎีผู้กรองสาร กระบวนการสื่อสารเป็นเรื่องของการถ่ายทอดข่าวสารที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล หรือบุคคลหนึ่งกับบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งการถ่ายทอดข่าวสารนี้ อาจเกิดขึ้นโดยตรงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง หรืออาจเกิดขึ้นโดยทางอ้อมจากจุดหนึ่งผ่านจุดอื่นก่อนที่จะถึงผู้รับสาร
การสื่อข่าวสารในสังคม ทั้งการส่อสารระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม หรือการสื่อข่าวสารในการสื่อสารมวลชน ต่างก็มีลักษณะที่การไหลของข่าสารมีการผ่านตัวกลาง จากผู้ส่งสารคนหนึ่งไปยังผู้ส่งสารอีกคนหนึ่ง หรือจากผู้รับสารคนหนึ่งไปยังผู้รับสรคนอื่นๆ ซึ่งการไหลของข่าวสารที่ต้องผ่านหลายขั้นตอนนี้ อาจทำให้ข่าวสารมีการแต่เติม ตัดทอน หรืออาจบิดเบืนได้ เคิร์ท เลวิน ได้อธิบายให้เห็นถึงกระบวนการที่ข่าวสารผ่านตัวกลางโดยชี้ให้เห็นว่า ข่าวสารจะผ่านประตู ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ คัดเลือก ตีความสาร ก่อนที่จะส่งผ่านไปยังผู้รับสาร ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ คัดเลือก ตีความสาร เรียกว่า ผู้เฝ้าประตู ซึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กร
วิลเบอร์ ชแรมม์ กล่าวว่า ผู้กรองสารเป็นผู้มีสิทธิในการเปิดเผย หรือปิดบังข่าวสารที่จะส่งผ่่านไปยังประชาชน ผู้กรองสาร เป็นผู้มีสิทธิในการเปิดเผย หรือปิดบังข่าวสารที่จะส่งผ่านไปยังประชาชน ผู้กรองสารจึงเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่งสารขององค์การทางสื่อสารมวลชน เป็นบุคคลที่ควบคุมการไหลของข่าวสาร และตัดสินว่า ข่าวอะไรควรจะส่งต่อไป ข่าวอะไรควรจะตัดออกไป ทั้งหมด บุคคลดังกล่าวได้แก่ นักข่าว บรรณาธิการ ผู้เขียน ผู้พิมพ์ นักวิจารณ์ เป็นต้น
วิลเบอร์ ชแรมม์ อธิบายว่า สื่อมวลชนปฏิบติหน้าที่ไปตามรูปแบบและสีสันของโครงสร้างทางสังคมและการเมืองถ้าจะดูความแตกต่างระหว่างระบบสื่อมวลชนได้อย่างครบถ้วน จึงต้องดูที่ระบบสังคมที่สื่อมวลชนปฏิบัติหน้าที่ ในการมองความสัมพันะ์ที่แท้จริงของระบบสังคมกับสื่อมวลชน จำเป็นต้องดูถึงความเชื่อและสมมติฐานพื้นฐานของสังคม ได้แก่ ลักษณะของคน ลักษณะของสังคม ลักษณะของรัฐ ความสัมพันะ์ของคนกับรัฐและลักษณะของความรู้กับความจริง การจำแนกระบบของสื่อมวลชนในโลกนี้ สามารถจำแนกตามเหตุผลหรือทฤษฎีทางปรัชญาและการเมืองได้เป็น 4 ทฤษฎีตามวิวัฒนาการของระบบสื่อมวลชนดังนี้
1.ทฤษฎีอำนาจนิยม
2.ทฤษฎีเสรีนิยม
3.ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
4.ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
- ทฤษฎีอำนาจนิยม ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีนี้เก่าแก่ที่สุด เกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศอำนาจนิยมของช่วงท้ายในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา หลังกำเนิดของการประดิษฐ์การพิมพ์ สังคมแบบนี้ความจริงไม่ได้ถูกกำหนดโยมวลชน แต่ถูกกำหนดโดยคนที่อยู่ในตำแหน่งที่จะนำและสั่งประชาชน ความจริงจึงถูกจัดวางอยู่ใกลืศูนย์กลางของอำนาจ การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนจึงเป็นการกระทำตามคำสั่งจากเบื้องบนสู่เเบื้องล่าง สื่อมวลชนใช้เพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบถึงความคิดของผู้ปกครองที่ประชาชนควรจะรู้ และนโยบายของผู้ปกครองที่ประชาชนควรจะสนับสนุน
ทฤษฎีอำนาจนิยมนี้ สื่อมวลชนจะเป้ฯผู้รับใช้รัฐหรือผู้ปกครอง และรับผิดชอบเหนื้อหาของสื่อมวลชนต่อผู้มีอำนาจในรัฐบาลที่บริหารประเทศ ทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับและนำมาใช้ปฏิบัตกัอย่างแพร่หลายในศตวรรษที่ 16 และ 17
- ทฤษฎีเสรีนิยม เกิดขึ้นหลังทฤษฎีอำนาจนิยม ประเทศต่างๆ มีความเจริญมากขึ้นเกิดเมืองใหญ่ๆ ขึ้นมากมาย แนวคิดทางการเมืองเปลี่ยนแปลงจาสมบูรณาญามาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความเป็นอิสระทางศาสนา การขยายการค้ามีการท่องเี่ยวที่เป็นระบบเสรี ยอมรับระบบเศรษฐกิจแบบเสรี และยอมรับปรัชญาในยุคของการรู้แจ้ง ทฤษฎีนี้มีมุมมองแตกต่างจาอำนาจนิยม โดยให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์ สามารถพึงตนเองได้ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น มนุาญืเป็นนที่มีเหตุผล สามารถมองเห้ฯความแตกต่างระหว่างความจริง และความผิด สามารถตัดสินใจเลือกทางทีดีกับทางเลือกที่เลว เมื่อต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ขัดแย้งหรือต้องเลือกทางเลือกต่างๆ ความจริงไม่ได้ถูกกำหนดโดยผู้มีอำนาจ
ตามทฤษฎีนี้สื่อมวลชนไม่ได้เป็นเครื่องมือของรัฐบาลแต่เป็นเครื่องมือในการควบคุมจากรัฐบาล จึงสามารถทำให้ความจริงปรกกฎขึ้นความคิดทุกความคิดจะต้องได้รับการับฟัง จะต้องมี "ตลาดเสรี" ของความคิดและข่าวสาร คนส่วนน้อย และคนส่วนมาก คนอ่อนแด และคนแข็งแรงจะต้องมีโอกาสในการเข้าถึงสื่อมวลชนได้เท่าเทียมกัน
จริยธรรมของสื่อมวลชน ตามพจนานุกรมฉบับราชยัณฑิตสถาน หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบีติของสื่อมวลชน
จริยธรรมสำหรับสื่อสารมวชน คือ หลักประพฤติปฏิบัติสำหรับนักสื่อสารมวลชนหรือธรรมะที่บุคคลควรประพฤติปฏิบัติ จริยธรรมจึงเป้นคุณธรรมของผู้ประกอบอาชีพด้านสื่อสารมวลชน
จรรยาบรรณสำหรับสื่อสารมวลชน คือ หลักจริยธรรมซึ่งได้ตราขึ้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยกลุ่มบุคคลที่ประกอบอาชีพ เพื่อให้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติที่ดีงาน และให้มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพของตน
หลักจริยธรรมที่ได้ตราขึ้นไว้ไม่ใช่กฎหมาย ความประพฤติบางอยางไม่ผิดกฎหมายแต่ผิดจริยธรรมหรือไร้จรรยาบรรณ จรรยาบรรณจะให้หลักเกณฑ์ซึ่งชี้แนะให้ผู้ประกอบอาชีพสื่อสารมวลชนสามารถตัดสินใจได้ในเรื่องที่เกี่ยกับจริยธรรม เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการตัดสินว่า การกระทำใดนั้นผิดหรือถูก ดีหรือเลว มีความรับผิดชอบ
จรรยบรรณ หรือจริยธรรม จึงเป็นเรื่องของความสมัครใจในการที่จะปฏิบัติตามหรือไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ การมีจริยธรรมหรือไม่ จะก่อให้เกิดผลแก่ตัวสื่อมวลชนเองผู้ใดปฏิบัติตามจรรยาบรรณ การมีจริยธรรมหรือไม่ จะก่อให้เกิดผลแก่ตัวสื่อมวลชนเองผู้ใดปฏิบัติตามจรรยาบรรณจะได้รับความเชื่อถือ เลื่อมใส และยกย่อง
จรรยาบรรณของสื่อมวลชน มีเจตนารมณ์เพื่อควบคุมให้สื่อมวลชนทำงานอย่างเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริง ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่และยึดถือประโยชน์ของสาธารณชนเป็นใหญ่ ดังจะเห็นได้จากข้อกำหนดแห่งจรรยาบรรณของสื่อมวลขนประเภทต่างๆ ที่ตราไว้อย่างละเอียดซึ่งหากสื่อมวลชนสามารถรักษาจริยธรรมของตนคือการปฏิบัติตามหลักแห่งจรรยบรรณได้อย่างที่แล้ว
วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
Publics (มหาชน)
สังคมที่คนจำนวนหนึ่งอยู่กันอย่างกระจัดกระจายในสังคมเดี่ยวกันลักษณะต่างคนต่างอยู่และสามารถใช้ของส่วนกลางร่วมกันตามกติกาสังคม มีการติดต่อกันโดยอาศัยสื่อสารมวลชนเป็นหลัก มีลักษณะการรวมตัวกันเป็นกลุ่มในรูปของทุติยภูมิ และความเป็นทางการมากขึ้นเป็นปรากฎการณ์ทางสังคมประเภทหนึ่ง อันแสดงให้เห็นว่าเป็นสังคมที่สมาชิกแต่ละคนแทบจะไม่มีความสัมพันธ์กันเลย แต่สามารถติดต่อกันได้ทางสื่อสารมวลชน อันเป็นการรวมกลุ่มกันของคนหมู่มาก โดยไม่ได้เป็นตัวแทนหรือรูปแบบในลักษณะที่เป็นทางการเลย ไม่มีความสัมพันธ์ด้านกายภาพต่างคนต่างอยู่กระจัดกระจายกำันออกไป
มหาชนเป็นคำที่หากนำมาใช้แยกก็เป็นคุณศัพท์ หมายถึงให้คนทั่วไปตรวจได้ใช้ได้หรือเข้าไปเกี่ยวข้องได้ ซึ่งตรงข้ามกับส่วนตัว หากใช้เป็นคำนาม หมายถึง กลุ่มที่รวมบุคคลอื่นนอกจากครอบครัวหรือญาติมิตร และเป็นคำนามรวมหมายถึง ประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็ฯการบ่งบอกให้รู้ความหมายการอยู่ของคนในสังคมในรูปของมหาชน
การที่มหาชนแต่ละกลุ่มต่างมาอยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายตรงกัน ต่างมีความสนใจปัญหา หรือประเด็นใดๆ ตรงกัน จัดเป็นมหาชนประเภทหนึ่ง จะมีจำนวนเท่าใดไม่จำกัดขึ้นอยู่กับความสนใจปัญหาหรือประเด็นต่าง ๆการพิจาณาปัญหาหรือประเด็นใดๆ ตลอดจนคำแถลงของผู้ที่ยอมรับนับถือกันว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อปัญหาที่มีผู้นำมาปรึกษา เรียกว่า มติ แต่ความคิดเห็นเฉพาะหรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญ่ที่มีต่อประเด็นสำคัญๆ ของสังคม กันขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นเรื่องของการวิเคราะห์และการใช้เหตุผล เรียกว่า มติมหาชน อันถือว่าเป็นมติที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาหรือวิเคราะห์ปัญหาหรือประเด็นใด ๆ ด้วยหลักวิชาและเหตุผล ผลสรุปรวบยอดจากการพิจารณาหรือวิเคราะห์ดังกล่าวของคนหมู่มาก ก็จัดเป็นมติมหาชนเช่นกัน
ลักษณะเฉพาะ คือ ขาดความสัมพันธ์ด้านกายภาพสำหรับสมาชิก ซึ่งผิดกับฝูงชนและมาวลชนส่วนที่มีลักาะมวลชนนั้นก็คือ เป็นการรวมหมู่แบบกระจัดกระจายออกไปแตกต่างกันตรงที่มหาชนเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา หรือสถานการณ์เชิงปัญหาที่ต้องมีการถกเถียงอภิปรายกัน และรู้ประเด็นปัญหาโดยผ่านทางสื่อมวลชน
มหาชนจัดเป็นปรากฎการณ์ทางสังคมประเภทหนึ่ง เป็นรูปแบบชนิดหนึ่งของพฤติกรรมรวมหมู่ที่มีลักษณะเป็นการรวมกันของประชาชนซึ่งต่างมีความสนใจตรงกัน เกี่ยวกับผลประโยชน์อันจะพึงมีพึงได้ บางครั้งอาจเกิดปัญหาหรือข้อโต้เถียงที่อาจจะร่วมกันพิจารณาหาข้อตกลงกันได้การกระทำต่อกันบางอย่าง ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างบรรดามหาชนที่ต่างร่วมอภิปรายปัญหากันโดยตรง ซึ่งการกระทำนั้นเหมือนกับว่าเป็ฯการสนทนาหรือว่าโต้เถียงอยู่กับเพื่อฝูงหรือสมาชิกครอบครัวเดียวกัน แต่ส่วนมากของการกระทำร่วมกันนั้น จะถูกนำมาเผยแพร่ทางสื่่อโดยอ้อมของการสื่อสารมวลชนอีกด้วย มหาชนนั้นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับสังคม ซึ่งมีลักษณะเป็นไปตามโครงสร้าง ที่ยอมให้มีการสนทนาโต้เถียงและอภิปรายกันได้ โดยถือเป็นแบบอย่างหนึ่งที่จะทำให้บรรลุถึงการเกิดขึ้นชั่วคราวของประเด็นที่ขัดแย้งกัน เมื่อเป็นเชนนี้มหาชนจึงมีลักษณะเป็นกลุ่มของคนที่มีความสนใจตรงกัน แต่ไม่จำเป็นต้องมีมติหรือความเห็นอันเป็นข้อสรุปประเด็นปัญหาตรงกันเสมอไป
เนื่องจากมหาชนมักเกิดขึ้นมาจากประชาชนซึ่งไม่จำเป็นต้องีความใกล้ชิดกันด้านกายภาพดังเช่นผูงชน ถึงแม้ว่าประชาชนจะอยู่ภายใต้การควบคุมทางอารมณ์ก็ตาม แต่ก็ยังมีลักษณะของการโต้เถียงกันอยู่ ความหลากกลายของสมาชิกเองก็ดี การดำรงอยู่นานกว่าฝูงชนก็ดี ตลอดจนการเป็นสมาชิกมหาชนก็ดีไม่ได้มีกำหนดไว้ตายตัว หรือกำหนดแน่นอนลงไป ยกเว้นแต่การกระทำของปัจเจกบุคคลในด้านการตัดสินใจ ไม่ว่าแต่ละคนจะมีการติดต่อกับคนอื่นๆ หรือไม่ก็ตาม ซึ่่งก็มีส่วนร่วมด้านชีวิตสังคมกันโดยเฉพาะ ลักษณะดังกล่าวนี้ จึงเป็นเรื่องของการร่วมมือกันในการแก้ปัญหาอย่างเปิดเผยในรูปของมหาชน
ในบางโอกาสมหาชนอาจได้รับอิทธิพลบางอย่างจากการแพร่ติดต่อทางสังคม ในกรณีเช่นนี้สามารถทำให้บรรดาปัจเจกบุคคลเกิดจิตผูกพันะป็นอันหนึ่งอันเดียวกันชั่วคราว เมื่อเกิดกลุ่มขึ้นแล้วก็สลายตัวไป นอกจากนี้การสนใจส่ิงเดียวกัก็ทำให้เกิดมหาชนได้เช่นกัน
จากลักษณะที่แสดงออกมาของมหาชนดังกล่าวข้างต้นนั้น จะเห็นว่ามหาชนนั้นมีลักษณะที่น่าพิจารณาก็คือ เป็นกลุ่มประชาชนที่อยู่แยกกันกระจัดกระจาย ต่างมีความสนใจและตัิดสินใจเกี่ยวกับประเด็น หรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยมีการอฎิปรายถกเถียงกันในทัศนะต่างๆ ซึ่งสมาชิกต่างแสดงความคิดเห็ฯอย่างอิสระเสรีเต็มที่ เพื่อให้มีมติรวมอมู่อันเป็นมติของคนส่วนมากออกมาให้เป็นที่ยอมรับกัน อันเป็นการคาดหวังเพื่อให้เกิดการกระทำหรือการปฏิบัติการของคนบางคนหรือบางกลุ่มขึ้น ส่วนมหาชนจะมีความคล้ายคลึงกับมวลชนตรงที่ว่า เป็นการรวมหมู่กันแบบกระจายแต่แตกต่างกัตรงที่มหาชนเกี่ยวกับประเด็นปัญหาหรือสถานการณ์เชิงปัญหาที่ต้องมีการถกเถียงอภิปรายกันโดยเหตุผล มีการยุติการถกเถียงอภิปรายโดยความเห็นของคนจำนวนมากอันถือเป็น "มติ") มหาชนสามารถติดต่อกถึงกันและล่วงรู้ประเด็นปัญหาต่างๆ โดยผ่านทางสื่อสารมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เอกสารสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัสน์ ภาพยนตร์ และอื่นๆ ส่วนการเปลี่ยนแปลงด้านองค์ประกอบของมหาชนด้านอื่นๆ
องค์ประกอบที่สำคัญของมหาชนคือ
ประกอบด้วยบุคคลซึ่ง
- ถือว่าพวกตนได้รับการกระทบกระเทือนจากเหตุกาณ์หรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
- สามารถแสดงความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งและ
- เห็นว่าความคิดเห็นหรือผลประโยชน์ของพวกตนได้รับการพิจารณา
มหาชนเป็นคำที่นำมาใช้กันทั่วไปในกิจการต่าง ๆ อาจใช้ได้กับกลุ่มผู้เป็นสมาชิกวารสาร ผู้ถือหุ้นในบริษัท ผู้ออกเสียงเลือกตั้งและกลุ่มหรือประเภทบุคคลอื่นๆ อีก ความสนใจส่วนใหญ่ของเราอยู่ที่มหาชนที่มีความคิดเห็นทางการเมือง โดยกลุ่มเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีประเด็นหรือปัญหา กล่าวคือ เกิดความคิดเห็นแตกแยกในหมู่ประชาชนว่าอะไรเป็นสิ่งควรทำ เช่น รัฐควรจะสนับสนุนโครงการช่วยเหลือทางการแพทย์แก่ประชาชนหรือไม่ การเมืองเกิดขึ้นเมื่อประชาชนแตกแยกออกเป็นหลายฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายต่างดำเนินการตามความคิดเห็นและผลประโยชน์ของตน
มหาชนอาจประกอบด้วยบุคคลที่อยู่กระจัดกระจาย ไม่จำเป็นต้องมีสมาชิกแน่นอนและไม่จำเป็นต้องมีการจัดระเบียบว่าผุ้ใดจะมีบทบาทอย่างใด เนื่องจากมหาชนประกอบด้วยบุคคลผู้เกี่ยวข้องในผลของเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง องค์ประกอบของมหาชนจึงเปลี่ยนเมื่อสถานการณ์ เปลี่ยนและมีการมองปัญหาเกียวกันนี้ในแง่ใหม่ คนใหม่จะเกิดความสนใจ คนเก่าจะหมดความสนใจและหันไปทางอื่น จะมีการเคลื่อนไหวในมหาชนขึ้น บางคนจะถอนตัวออกจากการอภิปรายเม่อมีผู้ประนามการสนับสนุนการช่วยเลหือทางการแพทย์แก่ประชาชนของรัฐบาลว่าเป็น "การแพทย์แบบสังคมนิยม" คนอื่นอาจจะเข้าร่วมในแผนการรักษาพยาบาล ซึ่งจัดขึ้นเฉพาะคนงานในสถานที่ทำงานของพวกตนและไม่มีความสนใจในประเด็นทั่วไป มหาชนจึงเป็นการรวมกันชั่วคราวสังเกตได้โดยดูที่ความสนใจร่วมกันที่มีต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง และชนาดและองค์ประกอบจะเปลี่ยนแปลงไปตามประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
เมื่อประเด็นเกิดขึ้นบ่อยๆ มหาชนที่มีคามคิดเห็ฯทางการเมืองบางพวกอาจจะมีลักษณะแนนอนมากขึ้น ในแต่ละเรื่องที่อยู่ในความสนใจมักจะมีจุดศูนย์กลางประกอบด้วยบุคคลที่ติดตามพัฒนาการของเรื่องอย่างใกล้ชิด และให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ในกรณีการช่วยเหลือทางการแพทย์ เราอาจคาดหมายได้ว่ากลุ่มนักธุรกิจอาจมีความเห็นอย่างหนึ่ง สหภาพแรงงานอาจจะมีความเห็นอีกอย่างหนึ่ง กลุ่มทหารผ่านศึกอาจจะมีความเห็นแตกแยกกันออกไปอีก
การที่มหาชนเกิดขึ้นโดยค่อนข้างจะเป็นรูปแบบที่แนนอนเป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้ความพยายามติดต่อกัน เพื่อรักษาผลประโยชน์ในประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่งต่อเนหื่องกัน จริงอยู่เราจะทราบได้ว่าเป็นมหาชนกลุ่มใด ก็ดูที่หนังสือ หนังสือพิมพ์ และวารสารที่สมาชิกในกลุ่มอ่าน บุคคลที่ทราบข่าวคราวจากสื่อการติดต่อประเภทเดียวกันมักจะมองปัญหาในแง่เดียวกันและมักจะมีความเห็นเช่นเดียวกันเสมอในประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้น
นิยามมหาชน
มหาชนมีลักษณะการรวมตัวกันที่ทุกคนสามารถเข้าไปเกี่ยวข้องได ดังนั้น มหาชนจึงเป็นคำที่มีความหมายรวมถึงการรวมบุคคลอื่นนอกจากวงศาคณาญาติหรือมิตรสหาย ซึ่งหมายถึง ประชาชนโดยทั่วไปนั้นเอง
หมายถึงกลุ่มคนที่กระจัดกระจายกันประเภทหนึ่ง ซึ่งต่างมีความสนใจประเด็นปัญหาอย่างเดียวกัน และมีทัศนะในเรื่องนั้นๆ ตลอดจนปัญหาและความคิดเห็นในการวิเคราะห์หรืออภิปรายประเด็นปัญหานั้นๆ แตกต่างกันออกไป การวิเคราะห์หรืออภิปรายประเด็นปัญหานั้น ๆ มีแนวทางที่จะสร้างมติรวมหมู่ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการกระทำของบางกลุ่มหรือปัจเจกบุคคลขึ้นมา
จากนิยามดังกล่าวข้างต้น มหาชนเป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางออกไปมาก เพราะเป็นคำที่มีลักษณะใช้เป็นคุณศัพท์ในรูปที่ให้คนทั่วไปตรวจได้ ใช้ได้ หรือเข้าไปเกี่ยวข้องได้ ซึ่งบ่งถึงความเป็นของกลางสำหรับคนทั่วไป เช่น ถนนหลวง หรือทางสาธารณะ
ในความหมายทั่วไปที่ใช้ในรูปของนามรวม อันเป็นความหมายโดยนตรงของมหาชนหมายถึงประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งอาจหมายถึงใครก็ได้ ตามปกติแล้วหมายถึงกลุ่มของคนซึ่งต่างมีความสนใจตรงกันหรือมีความสนใจร่วมกัน แต่ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นตรงกัน ไม่จำเป็นต้องมีความใกล้ชิดด้านกายภาพ ขอแต่เพียงมีอารมณ์ร่วมมกันเท่านั้น ...
ตามปกติแล้ว คำว่า มหาชนนี้ มักจะไม่ค่อยเคร่งครัดในการใช้มากนัก ทั้งนี้ก็เนื่องจากการหมายถึงคนทั่วๆ ไปดังที่กล่าวแล้ว แต่อย่างไรก็ดี ในกรณีที่เกิดปัญหาหรือมีประเด็นปัญหาอาจจะมีความแตกต่างกันทางด้านความคิดเห็นขึ้น ซึ่งข้อนี้เองที่ทำให้มหาชนเกิดความหลากหลายขึ้นมา และความคิดเห็นอันหลากหลายเหล่านี้ มิได้ทำใ้มหาชนสิ้นสภาพไปได้เลย
มหาชนเป็นการรวมตัวกันของคนที่ทุกคนสามารถเข้าไปใช้เข้าไปเกี่ยวข้องได้ ในฐานะที่เป็นประชาชนโดยทัั่วไป รวมตัวกันโดยไม่มีกฏเกณฑ์หรือกติกาใดๆ แต่ทุกคนมีเป้าหมายหรืออามณ์ร่วกัน แม้ในกรณีที่เกิดปัญหาอย่างนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคลที่อยู่ในมหาชนนั้น ดังนั้น การนิยามมหาชนจึงขึ้นอยู่กับการรวมตัวกันของคนที่มีเป้าหมายตรงกันหรือมีอารมณ์ร่วมกันดังกล่าว
มติมหาชน ในการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนของคนจำนวนมากในสังคม มักจะประสบปัญหามากมายปัญหาต่าง ๆ เหลานั้นมีทั้งปัญหาที่หนักและปัญหาที่เบา บางอย่างก็สามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีบางอย่งก็ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหา
มติหรือความคิดเห็น เป็นเรื่องหนึ่งของปัญหาในสังคม ทั้งที่มีวัฒนธรรมเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกันและในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มติหรือความคิดเห็นของคนที่อยู่ในสังคมเดียวกัน หากตรงกันและเข้ากันได้ก็ไม่มีปัญหาอะไร หากไม่ตรงกันและขัดแย้งกันก็ไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ อันอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้น ซึ่งจะก่อความยุ่งยากและสับสน และก่อให้เกิดควมขัดแย้งในสังคมขึ้นมาได้
มติหรือความเห็นนี้ มีความหมาย 3 ประการด้วยกันคือ
- หมายถึง ข้อพิจารณาเห็นว่าเป็นจริงจากการใช้ปัญญาความคิดประกอบ ถึงแม้จะไม่ได้อาศัยหลักฐานพิสูจน์ยืนยันได้เสมอไปก็ตาม
- ทัศนะหรือประมาณการเกี่ยวกับปัญหาหรือประเด็นใดประเด็นหนึ่ง เช่น ทัศนะเกี่ยวกับความเหมาะสมของนโยบายวางแผนครอบครัว
- คำแถลงของผู้ที่ยอมรับนับถือกันว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อปัญหาที่มีผู้นำมาขอปรึกษา
ความจริงแล้ว มติหรือความคิดเห็น เป็นเรื่องที่น่าศึกษาและทำความเข้าใจ เพราะเป็นสื่ออย่างหนึ่งในการทำความเข้าใจอันดีให้เกิดขึ้นกับสังคมได้ โดยที่สังคมจะไม่มีความสับสนวุ่นวายอันใดเลย
จากนิยามหรือความหายของมติหรือความเห็นนี้ทำให้เรามองเห็นภาพกลางของมันได้ชัดขึ้นว่ามันมีความหมายและขอบเขตการใช้ที่อาจครอบคลุมได้มากน้อยเพียงใด การที่คนอยู่ในสังคมหนึ่ง ๆ สามารถที่จะมีมติหรือความเห็นได้ในข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้ง 3 ข้อนี้เลยก็ได้
ความจริงแล้ว มติหรือความเห็นนี้จะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่หากจะว่าไปแล้วบรรดามติหรือความเห็นนี้ส่วนใหญเป็นเรื่องที่เราสนใกันใน 4 ประการด้วยกัน คือ มติหรือความเห็นเกี่ยวกับระบบทางการเมือง การปกครอง..ประการที่สอง คำถามเกี่ยวกับการสรรหาผู้จงรักภักดีต่อกลุ่ม และการมีเอกลักษณ์ประจำกลุ่ม มติเหล่านี้จะรวมกันได้ก็โดยกลุ่มต่าง ๆ เช่นแหล่งกำเนินดทางภูมิภาค ชาติ พเผ่าพันธ์ ศาสนา สถานะทางเมืองหลวง ชนบท และชั้นชน สถานภาพทางสังคมด้วย...ประการที่สาม คือการเลือกหัวหน้าด้วยตนเอง และประการที่สี่ มีเนื้อหาในด้านมหาชนที่มีผลออกมาเด่นชัด เช่น การให้สิทธิพลเรือนออกกฏหมาย หรือการยอมรับจีนเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ หรือการห้ามส่งสินค้าไปคิวบาเป็นต้น
จะเห็นว่ามติหรือความเห็นส่วนใหญ่จะเน้นอยู่กับบางสิงบางอย่างที่เกี่ยวกับระบบการเมือง การถามหาความสมัครใจของสมาชิกในเรื่องเอกลักษณ์ประจำกลุ่มก็ดี การเลือกัวหน้าของตนเองก็ดี และการใช้คะแนนเสียงจากมหาชนก็ดีเหล่านี้ ล้วนเป็นมติหรือควาทเห็นที่ถูกนำมาใช้กันเป็นส่วนมาก อันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ละยิ่งกว่านั้นยังเป็นมติหรือความเห็นของคนเพีียงคนเดีว หรือเป็นมติที่จำกัดอยู่ในวงแคบอีกด้วย
สำหรับมหาชนนั้นเป็นเรื่องของคนจำนวนมาก ในขณะเดียวกันหากเกิดปัญหาใดปัญหาหนึ่งขึ้นกับมหาชนแล้ว มหาชนจะแสดงความคิดเห็นตามสติปัญญาของตน ... เป็นความคิดเห็นเฉพาะหรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญที่มีต่อประเด็นสำคัญๆ ของสังคม เมื่อว่าโดยหลักการแล้วจะขึ้นอยู่กับช้อเท็จจริง ซึ่งเป็นเรื่องของการวิเคราะห์และการใช้เหตุผล ในการแก้ปัญหาจากการพิจารณาวินินฉยของคนหมู่มากนั่นเอง
มติมหาชนจึงเป็นเรื่องข้อตกลงของคนส่วนมากหรือคนจำนวนากที่ต่างมีความคิดเห็นหรือมติอันเป็นข้อตกลง ซึ่งเกิดมาจากมหาชนนั้นเอง จากลักษณะดังกล่าว จะเห็นว่ามติมหาชนนั้นได้มีการแยกแยะรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆออกไป และเมือพิจารณาในแง่ของความหมายแล้ว มติมหาชนก็คือ การรวบรวมมติต่างๆ ของประชาชนตามหัว้อที่มหาชนให้ความสนใจ และวิเคาะห์มติเหล่านี้โดยนเทคนิควิธีทางสถิติ ซึ่งมีการใช้การสุ่มตัวอย่งจากประชาชนผู้ตั้งคำถามอันเป็นสิ่งซึ่งถูกกำหนดอย่างพื้นๆ โดยมติมหาชน
มติมหาชนนั้นเป็นความคิดเห็นเฉพาะ หรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญ่ที่มีต่อประเด็นสำคัญ ๆ ของสังคม โดยกลักการแล้วมติมหาชนขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นเรื่องของการวิเคราะห์และการให้เหตุผล แต่บางครั้งก็มีอารมณ์เข้าไปประกอบด้วย เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรูปพฤติกรรมผูงชน...
"มติมหาชน" นัน เกิดจากประเด็นปัญหาที่มาจากความคิดเห็นและมีการนำเสนอต่อมหาชนเพื่อดำนินการต่อไป โดยการอภิปรายวิเคราะห์แยกแยะปัญหานั้นๆ โดยหลักเหตุผล ข้อตกลงขั้นสุดท้ายที่ได้จากการอภิปรายหรือการแก้ปัญหานั้นเป็นข้อตกลงที่มหชน่วนใหญ่หรือเสียงสวนมากของสังคมนั้น ยอมรับกัน นั้นคือ "มติมหาชน"
การอยู่รวมกันของคนจำนวนหนึ่งซึ่งกระจัดกระจายกันอยู่ทัี่วไป โดยที่แต่ละคนต่างมีความสนใจและผลประโยชน์ร่วมกัน มีแบบฉบับการดำเนินชีวิตตามวิถีทางของตน แต่ไม่อาจรมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนได้ สามารถใช้สิ่งของหรือวัตถุบางอยางอันเป็นของกลางร่วมกันได้โดยกาปฏิบัติตนตามกติกาทางสังคมที่กำหนดไว้ ซึ่งปรากฎการณ์เช่นนี้ มักเรียกกันว่า มหาชน ซึ่งจัดเป็นรูปแบบของพฤติกรรมรวมหมู่ประเภทหนึ่ง เป็นปรากฎการณ์ทางสังคม ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของมันเอง.....
วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
Noam Chomsky
ดร. แอฟแรม โนม ชอมสกี (Avram Noam Chomsky) เกิดที่เมืองฟิลาเดลเฟีย มลรัฐแพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1928 และสำเร็จการศึกษาขึ้นสูงสุดในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาภาษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแพนซิลเวเนียในปี 1955 งานวิจัยทีผลักดันให้เขาสำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่มาจากการที่ได้เป็นสมาชิกในกลุ่มนักวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ต ระหว่างปี 1951-1955 หลังจากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแพนซิลเวเนีย ซอมสกี็ได้เข้าสอนในภาควิชาภาษาและภาษาศาสตณ์ ของสถาบันเทคโนโลนีแห่งแมชซาซูเซส สหรัฐอเมริกาในปี 1961 เขาได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ทางด้านภาษาศาสตร์และจากนั้นในปี 1976 เขชาได้รับเกี่ยติให้เป็นศาสตราจารย์เกี่ยติคุณผู้สร้างชื่อเสียงให้แก่ทางสถาบัน
แนวคิดพื้นฐานทางภาษาศาสตร์ ชอมสกี้ ได้พยายามแสดงแนวคิดในการอธิบายภาษามนุษย์ โดยการนำเสนอทฤษฎีไวยกรณ์ปริวรรตเพีิมพูน ซึ่แสดงให้รู้ถึงการที่เ้าของภาษหนึ่ง ๆ จะเขาใจระบบไวยกรณ์ในการใช้ภาษาจริงๆ ในชีวิตประจำวัน โดยที่เขาชี้ให้เห็นว่าเจ้าของภาษานั้นๆ จะสามารถสร้างประโยคในภาษาได้ยอ่างไม่จำกัดหรือไม่รู้จบโดยอาศัยกฎของภาษาในจำนวนที่จำกัน และความสามารถนี้เป็นสิ่งที่กล่าวได้ว่าเป็นตัวนำผู้ที่เกิดและเติบโตมาพร้อมกับภาษานั้นได้กลายเป็นผู้ใช้ภาษาที่สมบูรณ์แบบที่เป็นเช่นนี้ สืบผลเนืองมาจากการทำงานอันทรงประสิทธิภาพของสมองมนุษย์ซึ่งถ้าว่่าไปแล้วอาจมีข้อจำกัดในการเรียรู้ที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่ในเรื่องของการแสดงออกทางภาษาและ้วนั้น มนุษย์ที่มีสติปัญญาสมประกอบย่อมสามารถสร้างและเข้าใจประโยคในภาษาของตนเองที่ยาวและยากอย่างไม่มีปัญหา ในปี 1960 ชอมสกี็ได้เสนอความคิดหลักที่สำคัญนี้ในการอธิบายภาษมนุษย์ดังนี้
- ความรู้ในภาษาและการใช้ภาษา
- โครงสร้างลึก และโครงสร้างผิว
นอกจากจะเป็นบุคคลพิเศษในฐานะนักภาษาศาสตร์ เขายังเป็นักวิจารณ์นโยบายด้านต่างประเทศ ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาผู้มีชื่อเสียงมากที่สุด
ชอมสกี้มักมีจุดยืนทางการเมืองตรงข้ามกับกระแสหลัก การวิเคราะห์ที่ลึกซึ้งและเฉลียวฉลาดของเขาเกี่ยวกับระเบียบโลก ไม่ว่าเก่าหรือใหม่ก็ดี ช่วยให้เราเห็นว่านโยบายด้านต่างประเทศ บรรษัทต่างๆ ในอเมริกาและนักวิชาการอเมริกันต่างยอมรับใช้รัฐและนโยบายของรัฐบาลอย่างไร ทั้งเขายังชี้ให้เห็นว่าองค์กรเหล่านี้ร่วมมือกับพันธมิตรทางทหาร รัฐบาลและชนชั้นนำในประเทศโลกที่สามทั่วโลกอย่างไร ดังประเทศไทยเองเดินตามนโยบายของรัฐบาลและบรรษัทในสหรัฐอเมริกาอย่างเซื่อง ๆ ผลงานด้านภาษาศาสตร์และการวิเคราะห์นโยบายด้านต่างประเทศของเขา เป้นความสำเร็จที่นำชื่อเสียงมาแก่เขามากที่สุด รวมทั้งภาพชองนักวิจารณ์ปากกล้าด้วยคอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์ิวยอร์กไทมส์ที่มีชื่อเสียงมากกว่าวถึงชอมสกี้ว่า "ในช่วงอายุยี่สิบ นอม ชอมสกี้ปฏิวัติทฤษฎีด้านภาษา ในช่วสงสามสิบเขาพยายามจะปฏิวัติสังคม ในช่วงอายุสี่สิบ ซึ่งกำลังจะมาถึง คงแทบจะไม่มีประเด็นใดในโลกเหลือให้เขา
บทวิเคราะห์การเมืองของเขาชัดเจน ตรงประเด็นท้าทายและอยู่บนฐานความจริง การนำเสนอแต่ความจริงเป็นแนวทางการเขียนที่สำคัญของเขา บทความและหนังสือของเขาเต็มไปด้วยความเห็นค้านซึ่งมีแหล่งอ้างอิงข้อมูลที่ชัดเจน น่าเชื่อถือและตวจสอบได้ "ในประวัติศาสตร์ของอเมริกา ไม่มีงานเขียนของนักเขียนคนใดที่สร้างความวุ่นวายได้มากเท่ากับงานของ นอม ชอมสกี้ ชอมสกี้เป็นนักคิดในแนวค้านที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง ส่ิงที่เขาเขียนไม่เคยตกอยู่ใต้อิทธิพลของสำนักวิชาการใด และเขาเหลี่ยดการคิดตามกรอบเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีพรรคไหนถือเขาเป็ฯพวก และเขาเองไม่เคยเชิดชูอุดมการณ์ใดเป็นสำคัญ จุดยืนของเขาไม่ใช่ทั้งพวกเสรีนิยมที่ขบทหรือพวกอนุรักษ์นิยมที่ต่อต้านการแหกคองออกจากกรอบธรรมเนียม สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าความคิดที่ถอนรากถอนโคนของเขาไม่อาจจำแนกเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้"
ทัศนะเกี่ยวกับลัทธิก่อการร้ายของ "นอม ชอมสกี้"
: คุณประณามลทธิก่อการรร้ายใช่ไหม? เราสามารถตัดสินได้อย่างไรว่าการกระทำใดเป็นลัทธิก่อการร้าย และการกระทำใดเป็นเนื่องการต่ต้านของประเทศที่เขาตาจน ต่อ ผู้กดขี่ หรือผู้ใช้อำนาจเข้าครอบครอง ? เกี่ยวกับการจัดประเภทต่าง ๆ ข้างต้น คุนได้ "แบ่งแยก"การโจมตีสหรัฐอเมริกาเมื่อเร็วๆ เนี้เป็นอย่างไหน?
: ผลเข้าใจศัพท์คำว่า "ลัทธิก่อการร้าย"ในความหมายที่นิยามกันในเอกสารทางราชการของสหรัฐอเมริกาดี นั้นคือ มีการใช้คำๆนี้ในลักษณะของการคาดการณ์เกี่ยกับความรุแรง หรือการคุกคามด้วยความรุนแรงเพื่อบรรลุเป้าหมายถ่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางการเมือง ศาสนา หรืออุดมการณ์ใดก็ตาม มันถูกกระทำโดยผ่านการทำให้เกิดความกลัว การข่มขู่ การคุกคาม หรือค่อยๆ ทำให้เกิดความหวั่นเกรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆสอดคล้องกันและลงรอยสนิทกับการนิยามข้องต้น การโจมตีตึกเวิร์ดเทรด เป็นการกระทำของลัทธิก่อการร้าย ในข้อเท็จจริง มันเป็นอาชกญกรรมของผู้ก่อการร้ายที่ทำให้เกิดความหวาดกลัว เป็นเรื่องที่ยากมากที่จะมีใครไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับเรื่องนี้...
แท้จริงแล้ว การใช้ประโยชน์ทางด้านการโฆษณาเป็นไปในลักษณะสากล ทุกๆคนต่างตำหนิประณามลัทธิก่อการร้ายในความหมายของรูปศัพท์ดังกล่าว พวกนาซีก็ประณามลัทธิก่อการร้ายอย่างเกรี้ยวกรด และวิพากษ์วิจารณ์ลัทธิก่อการร้ายในฐานะที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับพวกผู้ก่อการร้าย ใกรกเป็นตัวอย่าง โดยพื้นฐานแล้ว สหรัฐอเมริกาก็เห็นด้วย
ในการรวมตัว และปฏิบัติการในทำนองเดียวกันเกี่ยวกับการต่อต้านลัทธิก่อการร้ายในกรีกและที่อื่นๆ ในช่วงปีหลังสงคราม โครงการด้านการทหารที่เรกียกว่า counter-insurgency ซึ่งมีมีการปฏิบัติการต่อสู้กับสมาชิกกางโจรและการและการปฏิวัติได้นำเอาแบบจำลองมาจากพวกนาซีมาใช้อย่างชัดเจนที่เดียว และได้รับการนำมาปฏิบัติด้วยความเอาใจใส่อย่างยิ่ง กองกำลัง Wehrmacht กอกำลังเยอรมันจากปี 1921-1945 ได้รับการนำมาหารือ และคู่มือต่าง ๆของกองกำลังนี้ได้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบโครงการต้านการทหารที่เรียกว่า counter-insurgency program ไปทั่วโลกซึ่งมีชื่อเรียกเป็นทางการวว่า การต่อต้านลัทธิก่อการร้าย
ขนบธรรมเนียมต่างๆ ที่ยกมา คนๆเดียวกันแท้ๆและการกระทำอย่างเดียวกันก็ว่าได้ สามารถที่จะปรับเปลี่ยนไปได้อย่างรวดเร็วจาก "การเป็นผู้ก่อการร้าย"มาเป็น "นักต่อสู้เพื่อิสรภาพ"และเปลี่ยนกลับไปอีกครั้ง อันนี้เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเช่นในกรีก...
ไม่จำเป็นต้องชี้แจงว่า ลัทธิก่อการร้ายส่วนใหญ่เป็นสิ่งประดิษญ์มาตรฐานอันหนึ่งของรัฐต่าง ๆ ที่ทรงอำนาจดังข้อสังเกตว่า เช่นสงครามสหรัฐฯที่มีต่อนิคารากัว ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวได้ทำให้ผู้คนชาวนิคารากัวเสียชีวิตกว่าหมื่นคน และประเทศตกอยู่ในความหายนะ นิคารากัวดึงดูดความสนใจต่อศาลโลกซึ่งได้มีการประณามสหรัฐสำหรับการกระทำที่ไม่ต่างอะไรกับลัทธิก่อการร้ายระหว่างประเทศ แล๐ด้วยการใช้กำลังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย"และได้มีคำสั่งให้ระงับการใช้กำลังดังกล่าวในทันที่ พร้อมทั้งให้เร่งปรับปรุงเพื่อฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ แต่สหรัฐฯกลับใช้อำนาจวีโต้(สิทธิยับยั้ง)
: มีข้อถกเถียงกนมาก ว่าตลอดเวลาทั้งหมดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์มันไม่เคยมีอภิมหาอำนาจทางด้านจริยธรรม หรือหลักปฏิับัติที่ถูกต้องเพียงหนึ่งเดียวโดดๆ
นักวิเคราะห์ นักประวัติศาสตร์ นักการเมือง และนักวิชาการทั้งหลายอ้างถึงอภิมหาอำนาจ รัฐชาติ และสถาบันของมนุษย์ต่างๆ ทั้งหมดว่า สนใจเพียงทำตัวของพวกมันให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น กล่าวอีกนัย พลังและอำนาจหน้าที่มันไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเรื่องคุณค่าจริยธรรม ความคิด พวกมันเพียงเกี่ยวข้องกันเรื่องของพลังที่เพิ่มขึ้น เงินทองที่มากขึ้น อิทธิพลที่เพิ่มพูนขยายออกไปและอำนาจหน้าทที่ใหญ่โตมโหราฆ คุณเชื่อเช่นนั้นไหม พวกเรามีตัวอย่างในประวัติศาสต์สักตัวอย่างหรือไม่เกี่ยวกับจักรวรรดิ์ใดจักรวรรดิ์หนึ่ง รัฐใดรัฐหนึ่ง หรืออภิมหาอำนาจหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวพันกับโลกและพลโลกที่เหลือในเรื่องที่เกี่ยวกับคุณค่าซึ่งมีอยู่ในใจบ้าง
: ผลรู้สึกประหลาดใจที่ยังมีการโต้เถียงเรื่องนี้กันอยู่ รัฐต่างๆ ไม่ใช่ตัวแทนทางศีลธรรม พวกมันคือระบบของอำนาจ ซึ่งโต้ตอบกับการกระจายอำนาจภายใน แต่อย่างไรก็ตามในทางตรงข้ามนั้นมนุษย์เป็นตัวแทนทางศีลธรรม และสามารถกำหนดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญต่อความรุนแรงของรัฐต่างๆ ของพวกเขาเองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมต่าง ๆ ที่ค่อนข้างอิสระ พวกเขาอาจล้มเหลวที่จะกระทำเช่นนั้นก็ได้ กล่าวในกรณีหนึ่ง พฤติกรรมระหว่างประเทศของเอเธนส์สมัยคลาสสิคไม่ค่อยน่ายินดีมากนัก และเราไม่ต้องพูดถึงตัวอย่างของประวัติศาสตร์สมัยใหม่เลย แต่พวกเขาสามารถทำได้และต้องทำ
: เป็นที่ชัดเจนว่า บรรดานักการเมืองอเมริกันและเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรอง ที่ทรงสติปัญญาทั้งหลายต่าง ๆ รู้อะไรมากมายกับโศกนาฎกรรมดังกล่าว ในหลายๆ กรณีเราจะได้ยินข้อเท็จจริซึ่งมีความจริงเพียงครึ่งเดียว และคำโกหกซึ่งๆหน้า ผมได้อ่านบทความและหนังสือขจองคุณมากมายที่ว่า เมื่อนักการเมืองพูดโกหกเพียงในระยะเวลาสั้นๆเขาก็จะเชื่อว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ คำถามคือเราสามารถที่จะอธิบายท่าที่หรือทัศนคติเช่นนี้อย่างไร และ คุณคิดไหมว่านั้นคือคำโกหกคำใหญ่ที่สุดและเป็นข้อเท็จจริงเพียงครึ่งเดียวที่เราได้ยินมา จนกระทั่งถึงโศกนาฎกรรมล่าสุดนี้
: ผมไม่เห็นด้วย ผมสงสัยว่าหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯรู้อะไรมากมายที่คนอื่นไม่สามารถค้นพบ นันคือกรณีทั่วๆไป จากที่เราได้เรียนรู้จากประวัติศาสตร์ ใครก็ตามที่หใ้ความสนใจน้อยที่สุดต่อข้อเท็จจริงพวกนี้ต่างรู้ว่า เหตุผลหลายหลากนั้นมันแตกต่างไปเลยที่เดียว ไม่เพียงท่านกลางเครือข่ายผู้ก่อการร้ายต่างๆ ที่ซีไอเอ ให้การช่วยเหลือในการจัดตั้ง สนับสนุนทางด้านอาวุธ ให้การฝึกฝน และอุปถัมภ์ค้ำชู เพื่อสงครามอันศักดิ์สทิธิ์ต่อชาวรัสเซีย แต่ยังรวมถึงท่ามกลางความมั่งคั่ง สิทธิพิเศษ และส่วนของประชาชนที่สนับสนุนอเมริกันด้วย
วอลสตรีท จอยเนอร์ได้ตีพิมพ์บทวิจารณ์เกี่ยวกับความคิดเห็นต่างๆ ของ "มุสลิมที่มั่งคั่งร่ำรวย" ในภูมิภาคนั้น พวกเขารู้สึกตกใจและโกรธแค้นเกี่ยวกับการสนับสนุนของสหรัฐฯที่มีต่อรัฐเผด็จการที่เกรี้ยวกราด และอุปสรรคต่างๆ ที่วอชิงตันวางไว้กับการพัฒนาที่เป็ฯอิสระ และประชาธิปไตยทางการเมืองโดยนโยบายของมันเกี่ยวกับการให้ความสนับสนุนการปกครองที่กดขี่ขูดรีดทั้งหลาย"....
และที่กล่าวมานี้เป็นส่วนหนึ่งจากบทสัมภาษณ์ นอม ชอมสกี้
แนวคิดพื้นฐานทางภาษาศาสตร์ ชอมสกี้ ได้พยายามแสดงแนวคิดในการอธิบายภาษามนุษย์ โดยการนำเสนอทฤษฎีไวยกรณ์ปริวรรตเพีิมพูน ซึ่แสดงให้รู้ถึงการที่เ้าของภาษหนึ่ง ๆ จะเขาใจระบบไวยกรณ์ในการใช้ภาษาจริงๆ ในชีวิตประจำวัน โดยที่เขาชี้ให้เห็นว่าเจ้าของภาษานั้นๆ จะสามารถสร้างประโยคในภาษาได้ยอ่างไม่จำกัดหรือไม่รู้จบโดยอาศัยกฎของภาษาในจำนวนที่จำกัน และความสามารถนี้เป็นสิ่งที่กล่าวได้ว่าเป็นตัวนำผู้ที่เกิดและเติบโตมาพร้อมกับภาษานั้นได้กลายเป็นผู้ใช้ภาษาที่สมบูรณ์แบบที่เป็นเช่นนี้ สืบผลเนืองมาจากการทำงานอันทรงประสิทธิภาพของสมองมนุษย์ซึ่งถ้าว่่าไปแล้วอาจมีข้อจำกัดในการเรียรู้ที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่ในเรื่องของการแสดงออกทางภาษาและ้วนั้น มนุษย์ที่มีสติปัญญาสมประกอบย่อมสามารถสร้างและเข้าใจประโยคในภาษาของตนเองที่ยาวและยากอย่างไม่มีปัญหา ในปี 1960 ชอมสกี็ได้เสนอความคิดหลักที่สำคัญนี้ในการอธิบายภาษมนุษย์ดังนี้
- ความรู้ในภาษาและการใช้ภาษา
- โครงสร้างลึก และโครงสร้างผิว
นอกจากจะเป็นบุคคลพิเศษในฐานะนักภาษาศาสตร์ เขายังเป็นักวิจารณ์นโยบายด้านต่างประเทศ ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาผู้มีชื่อเสียงมากที่สุด
ชอมสกี้มักมีจุดยืนทางการเมืองตรงข้ามกับกระแสหลัก การวิเคราะห์ที่ลึกซึ้งและเฉลียวฉลาดของเขาเกี่ยวกับระเบียบโลก ไม่ว่าเก่าหรือใหม่ก็ดี ช่วยให้เราเห็นว่านโยบายด้านต่างประเทศ บรรษัทต่างๆ ในอเมริกาและนักวิชาการอเมริกันต่างยอมรับใช้รัฐและนโยบายของรัฐบาลอย่างไร ทั้งเขายังชี้ให้เห็นว่าองค์กรเหล่านี้ร่วมมือกับพันธมิตรทางทหาร รัฐบาลและชนชั้นนำในประเทศโลกที่สามทั่วโลกอย่างไร ดังประเทศไทยเองเดินตามนโยบายของรัฐบาลและบรรษัทในสหรัฐอเมริกาอย่างเซื่อง ๆ ผลงานด้านภาษาศาสตร์และการวิเคราะห์นโยบายด้านต่างประเทศของเขา เป้นความสำเร็จที่นำชื่อเสียงมาแก่เขามากที่สุด รวมทั้งภาพชองนักวิจารณ์ปากกล้าด้วยคอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์ิวยอร์กไทมส์ที่มีชื่อเสียงมากกว่าวถึงชอมสกี้ว่า "ในช่วงอายุยี่สิบ นอม ชอมสกี้ปฏิวัติทฤษฎีด้านภาษา ในช่วสงสามสิบเขาพยายามจะปฏิวัติสังคม ในช่วงอายุสี่สิบ ซึ่งกำลังจะมาถึง คงแทบจะไม่มีประเด็นใดในโลกเหลือให้เขา
บทวิเคราะห์การเมืองของเขาชัดเจน ตรงประเด็นท้าทายและอยู่บนฐานความจริง การนำเสนอแต่ความจริงเป็นแนวทางการเขียนที่สำคัญของเขา บทความและหนังสือของเขาเต็มไปด้วยความเห็นค้านซึ่งมีแหล่งอ้างอิงข้อมูลที่ชัดเจน น่าเชื่อถือและตวจสอบได้ "ในประวัติศาสตร์ของอเมริกา ไม่มีงานเขียนของนักเขียนคนใดที่สร้างความวุ่นวายได้มากเท่ากับงานของ นอม ชอมสกี้ ชอมสกี้เป็นนักคิดในแนวค้านที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง ส่ิงที่เขาเขียนไม่เคยตกอยู่ใต้อิทธิพลของสำนักวิชาการใด และเขาเหลี่ยดการคิดตามกรอบเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีพรรคไหนถือเขาเป็ฯพวก และเขาเองไม่เคยเชิดชูอุดมการณ์ใดเป็นสำคัญ จุดยืนของเขาไม่ใช่ทั้งพวกเสรีนิยมที่ขบทหรือพวกอนุรักษ์นิยมที่ต่อต้านการแหกคองออกจากกรอบธรรมเนียม สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าความคิดที่ถอนรากถอนโคนของเขาไม่อาจจำแนกเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้"
ทัศนะเกี่ยวกับลัทธิก่อการร้ายของ "นอม ชอมสกี้"
: คุณประณามลทธิก่อการรร้ายใช่ไหม? เราสามารถตัดสินได้อย่างไรว่าการกระทำใดเป็นลัทธิก่อการร้าย และการกระทำใดเป็นเนื่องการต่ต้านของประเทศที่เขาตาจน ต่อ ผู้กดขี่ หรือผู้ใช้อำนาจเข้าครอบครอง ? เกี่ยวกับการจัดประเภทต่าง ๆ ข้างต้น คุนได้ "แบ่งแยก"การโจมตีสหรัฐอเมริกาเมื่อเร็วๆ เนี้เป็นอย่างไหน?
: ผลเข้าใจศัพท์คำว่า "ลัทธิก่อการร้าย"ในความหมายที่นิยามกันในเอกสารทางราชการของสหรัฐอเมริกาดี นั้นคือ มีการใช้คำๆนี้ในลักษณะของการคาดการณ์เกี่ยกับความรุแรง หรือการคุกคามด้วยความรุนแรงเพื่อบรรลุเป้าหมายถ่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางการเมือง ศาสนา หรืออุดมการณ์ใดก็ตาม มันถูกกระทำโดยผ่านการทำให้เกิดความกลัว การข่มขู่ การคุกคาม หรือค่อยๆ ทำให้เกิดความหวั่นเกรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆสอดคล้องกันและลงรอยสนิทกับการนิยามข้องต้น การโจมตีตึกเวิร์ดเทรด เป็นการกระทำของลัทธิก่อการร้าย ในข้อเท็จจริง มันเป็นอาชกญกรรมของผู้ก่อการร้ายที่ทำให้เกิดความหวาดกลัว เป็นเรื่องที่ยากมากที่จะมีใครไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับเรื่องนี้...
แท้จริงแล้ว การใช้ประโยชน์ทางด้านการโฆษณาเป็นไปในลักษณะสากล ทุกๆคนต่างตำหนิประณามลัทธิก่อการร้ายในความหมายของรูปศัพท์ดังกล่าว พวกนาซีก็ประณามลัทธิก่อการร้ายอย่างเกรี้ยวกรด และวิพากษ์วิจารณ์ลัทธิก่อการร้ายในฐานะที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับพวกผู้ก่อการร้าย ใกรกเป็นตัวอย่าง โดยพื้นฐานแล้ว สหรัฐอเมริกาก็เห็นด้วย
ในการรวมตัว และปฏิบัติการในทำนองเดียวกันเกี่ยวกับการต่อต้านลัทธิก่อการร้ายในกรีกและที่อื่นๆ ในช่วงปีหลังสงคราม โครงการด้านการทหารที่เรกียกว่า counter-insurgency ซึ่งมีมีการปฏิบัติการต่อสู้กับสมาชิกกางโจรและการและการปฏิวัติได้นำเอาแบบจำลองมาจากพวกนาซีมาใช้อย่างชัดเจนที่เดียว และได้รับการนำมาปฏิบัติด้วยความเอาใจใส่อย่างยิ่ง กองกำลัง Wehrmacht กอกำลังเยอรมันจากปี 1921-1945 ได้รับการนำมาหารือ และคู่มือต่าง ๆของกองกำลังนี้ได้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบโครงการต้านการทหารที่เรียกว่า counter-insurgency program ไปทั่วโลกซึ่งมีชื่อเรียกเป็นทางการวว่า การต่อต้านลัทธิก่อการร้าย
ขนบธรรมเนียมต่างๆ ที่ยกมา คนๆเดียวกันแท้ๆและการกระทำอย่างเดียวกันก็ว่าได้ สามารถที่จะปรับเปลี่ยนไปได้อย่างรวดเร็วจาก "การเป็นผู้ก่อการร้าย"มาเป็น "นักต่อสู้เพื่อิสรภาพ"และเปลี่ยนกลับไปอีกครั้ง อันนี้เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเช่นในกรีก...
ไม่จำเป็นต้องชี้แจงว่า ลัทธิก่อการร้ายส่วนใหญ่เป็นสิ่งประดิษญ์มาตรฐานอันหนึ่งของรัฐต่าง ๆ ที่ทรงอำนาจดังข้อสังเกตว่า เช่นสงครามสหรัฐฯที่มีต่อนิคารากัว ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวได้ทำให้ผู้คนชาวนิคารากัวเสียชีวิตกว่าหมื่นคน และประเทศตกอยู่ในความหายนะ นิคารากัวดึงดูดความสนใจต่อศาลโลกซึ่งได้มีการประณามสหรัฐสำหรับการกระทำที่ไม่ต่างอะไรกับลัทธิก่อการร้ายระหว่างประเทศ แล๐ด้วยการใช้กำลังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย"และได้มีคำสั่งให้ระงับการใช้กำลังดังกล่าวในทันที่ พร้อมทั้งให้เร่งปรับปรุงเพื่อฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ แต่สหรัฐฯกลับใช้อำนาจวีโต้(สิทธิยับยั้ง)
: มีข้อถกเถียงกนมาก ว่าตลอดเวลาทั้งหมดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์มันไม่เคยมีอภิมหาอำนาจทางด้านจริยธรรม หรือหลักปฏิับัติที่ถูกต้องเพียงหนึ่งเดียวโดดๆ
นักวิเคราะห์ นักประวัติศาสตร์ นักการเมือง และนักวิชาการทั้งหลายอ้างถึงอภิมหาอำนาจ รัฐชาติ และสถาบันของมนุษย์ต่างๆ ทั้งหมดว่า สนใจเพียงทำตัวของพวกมันให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น กล่าวอีกนัย พลังและอำนาจหน้าที่มันไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเรื่องคุณค่าจริยธรรม ความคิด พวกมันเพียงเกี่ยวข้องกันเรื่องของพลังที่เพิ่มขึ้น เงินทองที่มากขึ้น อิทธิพลที่เพิ่มพูนขยายออกไปและอำนาจหน้าทที่ใหญ่โตมโหราฆ คุณเชื่อเช่นนั้นไหม พวกเรามีตัวอย่างในประวัติศาสต์สักตัวอย่างหรือไม่เกี่ยวกับจักรวรรดิ์ใดจักรวรรดิ์หนึ่ง รัฐใดรัฐหนึ่ง หรืออภิมหาอำนาจหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวพันกับโลกและพลโลกที่เหลือในเรื่องที่เกี่ยวกับคุณค่าซึ่งมีอยู่ในใจบ้าง
: ผลรู้สึกประหลาดใจที่ยังมีการโต้เถียงเรื่องนี้กันอยู่ รัฐต่างๆ ไม่ใช่ตัวแทนทางศีลธรรม พวกมันคือระบบของอำนาจ ซึ่งโต้ตอบกับการกระจายอำนาจภายใน แต่อย่างไรก็ตามในทางตรงข้ามนั้นมนุษย์เป็นตัวแทนทางศีลธรรม และสามารถกำหนดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญต่อความรุนแรงของรัฐต่างๆ ของพวกเขาเองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมต่าง ๆ ที่ค่อนข้างอิสระ พวกเขาอาจล้มเหลวที่จะกระทำเช่นนั้นก็ได้ กล่าวในกรณีหนึ่ง พฤติกรรมระหว่างประเทศของเอเธนส์สมัยคลาสสิคไม่ค่อยน่ายินดีมากนัก และเราไม่ต้องพูดถึงตัวอย่างของประวัติศาสตร์สมัยใหม่เลย แต่พวกเขาสามารถทำได้และต้องทำ
: เป็นที่ชัดเจนว่า บรรดานักการเมืองอเมริกันและเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรอง ที่ทรงสติปัญญาทั้งหลายต่าง ๆ รู้อะไรมากมายกับโศกนาฎกรรมดังกล่าว ในหลายๆ กรณีเราจะได้ยินข้อเท็จจริซึ่งมีความจริงเพียงครึ่งเดียว และคำโกหกซึ่งๆหน้า ผมได้อ่านบทความและหนังสือขจองคุณมากมายที่ว่า เมื่อนักการเมืองพูดโกหกเพียงในระยะเวลาสั้นๆเขาก็จะเชื่อว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ คำถามคือเราสามารถที่จะอธิบายท่าที่หรือทัศนคติเช่นนี้อย่างไร และ คุณคิดไหมว่านั้นคือคำโกหกคำใหญ่ที่สุดและเป็นข้อเท็จจริงเพียงครึ่งเดียวที่เราได้ยินมา จนกระทั่งถึงโศกนาฎกรรมล่าสุดนี้
: ผมไม่เห็นด้วย ผมสงสัยว่าหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯรู้อะไรมากมายที่คนอื่นไม่สามารถค้นพบ นันคือกรณีทั่วๆไป จากที่เราได้เรียนรู้จากประวัติศาสตร์ ใครก็ตามที่หใ้ความสนใจน้อยที่สุดต่อข้อเท็จจริงพวกนี้ต่างรู้ว่า เหตุผลหลายหลากนั้นมันแตกต่างไปเลยที่เดียว ไม่เพียงท่านกลางเครือข่ายผู้ก่อการร้ายต่างๆ ที่ซีไอเอ ให้การช่วยเหลือในการจัดตั้ง สนับสนุนทางด้านอาวุธ ให้การฝึกฝน และอุปถัมภ์ค้ำชู เพื่อสงครามอันศักดิ์สทิธิ์ต่อชาวรัสเซีย แต่ยังรวมถึงท่ามกลางความมั่งคั่ง สิทธิพิเศษ และส่วนของประชาชนที่สนับสนุนอเมริกันด้วย
วอลสตรีท จอยเนอร์ได้ตีพิมพ์บทวิจารณ์เกี่ยวกับความคิดเห็นต่างๆ ของ "มุสลิมที่มั่งคั่งร่ำรวย" ในภูมิภาคนั้น พวกเขารู้สึกตกใจและโกรธแค้นเกี่ยวกับการสนับสนุนของสหรัฐฯที่มีต่อรัฐเผด็จการที่เกรี้ยวกราด และอุปสรรคต่างๆ ที่วอชิงตันวางไว้กับการพัฒนาที่เป็ฯอิสระ และประชาธิปไตยทางการเมืองโดยนโยบายของมันเกี่ยวกับการให้ความสนับสนุนการปกครองที่กดขี่ขูดรีดทั้งหลาย"....
และที่กล่าวมานี้เป็นส่วนหนึ่งจากบทสัมภาษณ์ นอม ชอมสกี้
วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
Balance of Power and Terror Theory
ทฤษฎีดุลญือำนาจ องค์ประกอบทฤษฎีมีดังนี้
- จะต้องมีชาติหลายชาติจำนวนมากเข้าเกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละชาตินอกจากจะมีกำลังอำาจที่แตกต่างกันออกไปแล้ว ยังพยายามหาทางที่จะเพิ่มกำลังอำนาจของตนให้มีมากยิ่งขึ้น ในกรณีอังกล่าว จะมีแนวโน้มทำให้เกิดดุลยภาพในระบบโลกตราบเท่าที่อำนาจที่เข้มแข็งเหนือกว่า เมื่อใดก็ตาม มีรัฐที่มีกำลังอำนาจเหนือกว่ารัฐอื่นๆ รัฐนั้นจะถูกถ่วงดุลย์จากชาติหรือกลุ่มชาติที่เป็นปรกักษ์ หรือจากพวกที่เป็นฝ่ายตรงกันข้าม ตราบใดที่กำลังอำนาจของชาติในแต่ละค่ายมีความทัดเทียมกัน ดุลยภาพหรือสภาพความสมดุลจะเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อสันติภาพโลก
- จะต้องมีชาติทุกหน้าที่เป็นผู้ถ่วงดุล ในกรณีที่กำลังอำนาจที่อยู่ด้านหนึ่งของตราชั่งได้เพิ่มมากขึ้น จนทำให้เกิดเสียดุลยภาพ
ทฤษฎีดุลย์แห่งอำนาจอธิบายการแบ่งกำลังอำนาจอย่างทัดเทียมกันระหว่างชาติหรือกลุ่มชาติที่เป็นปรกักษ์ต่อกัน และบางครั้งใช้ปะปนกับคำว่า "ดุลยภาพ"ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายกว้าง ๆ ซึึ่งถ้าไม่ทำความเข้าใจให้ดีแล้ว อาจเกิดความสับสนได้ นอกจากนี้แล้ว ทฤษฎีดุลย์แห่งอำนาจบางครั้งอธิบายถึงการมีอำนาจครอบงำที่เด่นของชาติที่ทำหน้าที่เป็นผู้ถ่วงดุลย์
ริดชาร์ด คอบเดน Richard Cobden กล่าวเตือนใจไว้ว่า "ดุลย์แห่งอำนาจเป็นเรื่องความฝันที่แสนจะเพ้อเจ้อ ไม่ใช่เป็นเรื่องการเข้าใจผิดผลาดหรือเป็นการหลอกลวง แต่เป็นเรื่องที่ไม่อาจจะอธิบายให้เห็นชัดได้ สุดเหลือที่จะพรรณนาได้ และไม่อาจเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีลัษณะที่ยังพอรับฟังได้"
ทฤษฎีแห่งความหวาดกลัว วินสตัน เชอร์ชิล อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ " นักศีลธรรมอาจมีจิตใจห่อเหี่ยวเมื่อเจอกับแนวความคิดที่ว่า โลกเราจะไม่มีสันติภาพอันมั่นถาวรจนกว่าจะมีวิธีที่ทำให้ชาติต่างๆ มีความเหรงขามหวาดกลัวซึ่งกันและกัน"
ดุลย์แห่งความหวาดกลัว มีความหมายในแง่ที่ว่า จะต้องมีชาติสองชาติหรือมากกว่านั้นขึ้นไป มีความหวาดกลัวเกรงขามซึ่งกันและกัน และไม่กล้าที่จะเสี่ยงภัยกระทำการใด ๆ อันเป็นการกรุตุ้นให้อีกฝ่าหนึ่งโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์กล่าวคือต่างฝ่ายต่างเกรงกลัวว่าเกิดเป็นสงครามนิวเคลียร์จงมีความเกรงขามซึ่งกันและกัน
ทฤษฎีดุลย์แห่งความหวาดกลัวมีสาระที่สำคัญคือ
- ตราบใดที่ระบบป้องกันการโจมตี ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ยังไม่มีประสิทธิภาพเียงพอ ประเทศที่ถูกโจมตีก่อนด้วยอาวุธนิวเคลียร์ จะโจมตีตอบโต้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์อย่างเดียวกันอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งพฤติรรมดังกล่าวมีส่วนทำให้แต่ละฝ่ายไม่กล้าที่จะลงมือโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ก่อน และทำให้ต่างฝ่ายต่างอยู่ในสภาวะของดุลย์แห่งควาหวาดกลัว
- ความเสียหายอันเกิดจากการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ต้องอยู่ในลักษณะที่ไม่อาจยอมรับได้ ซึ่งเป็นจุดสำคัญของทฤษฎีดุลย์แห่งความหวาดกลัวเพราะถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายสามารถยอมรับความเสียหายจากการโจมตีได้อย่างไม่สะทกสะท้านแล้วดุลย์แห่งความหวาดกลัวคงจะเกิดได้ยาก
- จะต้องมีชาติหลายชาติจำนวนมากเข้าเกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละชาตินอกจากจะมีกำลังอำาจที่แตกต่างกันออกไปแล้ว ยังพยายามหาทางที่จะเพิ่มกำลังอำนาจของตนให้มีมากยิ่งขึ้น ในกรณีอังกล่าว จะมีแนวโน้มทำให้เกิดดุลยภาพในระบบโลกตราบเท่าที่อำนาจที่เข้มแข็งเหนือกว่า เมื่อใดก็ตาม มีรัฐที่มีกำลังอำนาจเหนือกว่ารัฐอื่นๆ รัฐนั้นจะถูกถ่วงดุลย์จากชาติหรือกลุ่มชาติที่เป็นปรกักษ์ หรือจากพวกที่เป็นฝ่ายตรงกันข้าม ตราบใดที่กำลังอำนาจของชาติในแต่ละค่ายมีความทัดเทียมกัน ดุลยภาพหรือสภาพความสมดุลจะเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อสันติภาพโลก
- จะต้องมีชาติทุกหน้าที่เป็นผู้ถ่วงดุล ในกรณีที่กำลังอำนาจที่อยู่ด้านหนึ่งของตราชั่งได้เพิ่มมากขึ้น จนทำให้เกิดเสียดุลยภาพ
ทฤษฎีดุลย์แห่งอำนาจอธิบายการแบ่งกำลังอำนาจอย่างทัดเทียมกันระหว่างชาติหรือกลุ่มชาติที่เป็นปรกักษ์ต่อกัน และบางครั้งใช้ปะปนกับคำว่า "ดุลยภาพ"ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายกว้าง ๆ ซึึ่งถ้าไม่ทำความเข้าใจให้ดีแล้ว อาจเกิดความสับสนได้ นอกจากนี้แล้ว ทฤษฎีดุลย์แห่งอำนาจบางครั้งอธิบายถึงการมีอำนาจครอบงำที่เด่นของชาติที่ทำหน้าที่เป็นผู้ถ่วงดุลย์
ริดชาร์ด คอบเดน Richard Cobden กล่าวเตือนใจไว้ว่า "ดุลย์แห่งอำนาจเป็นเรื่องความฝันที่แสนจะเพ้อเจ้อ ไม่ใช่เป็นเรื่องการเข้าใจผิดผลาดหรือเป็นการหลอกลวง แต่เป็นเรื่องที่ไม่อาจจะอธิบายให้เห็นชัดได้ สุดเหลือที่จะพรรณนาได้ และไม่อาจเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีลัษณะที่ยังพอรับฟังได้"
ทฤษฎีแห่งความหวาดกลัว วินสตัน เชอร์ชิล อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ " นักศีลธรรมอาจมีจิตใจห่อเหี่ยวเมื่อเจอกับแนวความคิดที่ว่า โลกเราจะไม่มีสันติภาพอันมั่นถาวรจนกว่าจะมีวิธีที่ทำให้ชาติต่างๆ มีความเหรงขามหวาดกลัวซึ่งกันและกัน"
ดุลย์แห่งความหวาดกลัว มีความหมายในแง่ที่ว่า จะต้องมีชาติสองชาติหรือมากกว่านั้นขึ้นไป มีความหวาดกลัวเกรงขามซึ่งกันและกัน และไม่กล้าที่จะเสี่ยงภัยกระทำการใด ๆ อันเป็นการกรุตุ้นให้อีกฝ่าหนึ่งโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์กล่าวคือต่างฝ่ายต่างเกรงกลัวว่าเกิดเป็นสงครามนิวเคลียร์จงมีความเกรงขามซึ่งกันและกัน
ทฤษฎีดุลย์แห่งความหวาดกลัวมีสาระที่สำคัญคือ
- ตราบใดที่ระบบป้องกันการโจมตี ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ยังไม่มีประสิทธิภาพเียงพอ ประเทศที่ถูกโจมตีก่อนด้วยอาวุธนิวเคลียร์ จะโจมตีตอบโต้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์อย่างเดียวกันอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งพฤติรรมดังกล่าวมีส่วนทำให้แต่ละฝ่ายไม่กล้าที่จะลงมือโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ก่อน และทำให้ต่างฝ่ายต่างอยู่ในสภาวะของดุลย์แห่งควาหวาดกลัว
- ความเสียหายอันเกิดจากการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ต้องอยู่ในลักษณะที่ไม่อาจยอมรับได้ ซึ่งเป็นจุดสำคัญของทฤษฎีดุลย์แห่งความหวาดกลัวเพราะถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายสามารถยอมรับความเสียหายจากการโจมตีได้อย่างไม่สะทกสะท้านแล้วดุลย์แห่งความหวาดกลัวคงจะเกิดได้ยาก
Human Rights
มักเชื่อกันว่ามนุษย์โดยทั่วไปเป็นส่ิงมีชีวิตที่มีความรุนแรงอยู่โดยธรรมชาติ มีคนสรุปว่า "มนุษย์" คือสัตว์ล่าเหยื่อที่มีการฆ่าโดยใช้อาวุธเป็ฯสัญชาตญาณตามธรรมชาติผู้ศึกษาพฤติกรรมของสัตว์บางคนก็เชื่อว่า ความก้าวร้าวรุนแรงนั้นเป็ฯสิ่งที่มีคุณต่อสิงมีชีวิตทั้งนี้เพราะความก้าร่วงรุนแรงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต หากปราศจากสัญชาติญาณนี้แล้วสิ่งมีชีวิตก็จะอดตาย ยิ่งไปกว่านั้นความก้าวร้าวรุนแรงนี้เป็ฯสิ่งที่เกิดขึ้น-ายในตัวส่ิงมีชีวิตและไม่ใ่ผลของปัจจัยแวดล้อม ความรุนแรงก็เป็นสิ่งที่ฝังรากลึกอยู่ในธรรมชาติของมนุษย์ด้วยประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติไม่เคยว่างเว้นความขัดแย้ง ไม่ว่าะเป็นในระดับบุคคล หรือในระดับสังคม มนุษย์มิได้ถือกำเนิดมาเหมือนกันทุกประการ หากมีความแตกต่างอันเป็นผลมาแต่ "พันธุกรรมหรือสภาพแวดล้อมทางสังคม ความแตกต่างทำนองนี้มักเป็นบ่อเกิดของความขัดแย้งแต่ขณะเดียวกันบ่อยครั้งที่ความขัดแย้งเป็น "พลังทะยานชีวิต"ของมนุษย์เพราะมันโน้มนำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อันยังประโยชน์แก่สังคมมนุษย์ แต่จุดสำคัญนั้นคือความรุนแรงหรือสงครามมิใช่ผลของความขัดแย้ง หากเป็นวิธีการแบบหนึ่งที่มนุษย์ใช้แก้ไขหาข้อยุติให้กับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นด้วยสาเหตุต่างๆ
กฎบัติสหประชาชาติ แม้นว่าในแต่ละระบบการเมืองจะมีความกังวลห่วงใยต่อมนุษย์อันเป็นองค์ประกอบมูลฐานที่สำคัญของสังคม และต่างก็มีความพยายามที่จะพัฒนาปรับปรุงให้มนุษยชาติมีสภาพการณ์มูลฐานที่สำคัญของสังคม และต่างก็มีความพยายามที่จะพัฒนาปรับปรุงให้มนุษยชาติมีสภาพการณ์ต่างๆ ที่ดีขึ้น แต่ในสังคมของมนุษยชาตินั้น การกดขี่และการฆ่าฟันต่อกลุ่มชนต่างๆ ก็เกิดขั้นมากมาย ชีวิตและเสรีภาพของแต่ละบุคคลต่างก็ดูไร้ค่า ไม่มีราคาแต่อย่งใด มีผู้คนล้มตายผู้อพยพและผู้ไร้ถิ่นฐานเป็นจำนวนนับล้าน ๆ คน สหประชาชาติจึงมีจุดมุ่งมั่นและได้กล่วยืนยันไว้ในคำปรารภของกฎบัติสหประชาชาติโดยยืนยันถึงความตั้งใจที่จะรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมเพื่อประชาชนแห่งสหประชาชาติ และนับเป็นครั้งแรกที่มีการกล่าวรับรองเรื่องสิทธิมนุญชนไว้โดยตรงในกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีองค์การระหว่างประเทศทำหน้าที่เป็นกลไกการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในคำปรารภได้ยืนยันถึงหลักการนี้ว่า "..ยืนยันความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชน อันเป็นหลักมูลในเกี่ยรติศักดิ์และคุณค่าของมนุาย์บุคคล ในสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรี และของประชาชาิตใหญ่น้อย" จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นได้ว่า สหประชาชาติมีความปรารถนาในความตั้งมั่นและจริงจังโดยความผูกพันทางกฎหมายที่จะตามมา
แม้จะมีการยอมรับในเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วยการร่วมมือระหว่างประเทศแล้วก็ตามแต่การเคารพสิทธิมนุษยชนโดยหลักการไม่เลือปฏิบัตินั้นก็กลายเป็นปัญหาในการคุ้มครองระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพราะภายใต้กฎบัติสหประชาชาติไม่ได้มีการกำนหดถึงรายละเอียดของสิทธิว่ามีอะไรบ้าง ดังนั้งจังมีการพิจารณาจากกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยพันธกรณีที่กำหนดไว้ให้มีการเคารพและปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพอันเป็นหลักมูลมีความหมายค่อยช้างกว้าง และกฎบัติสหประชาชาติเองก็ไม่ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่าอะไรคือสิทธิมนุษยชน และอะไรคืออิสรภาพอันเป็นหลักมูลที่สามารถเห็นได้โดยชัดเจนคือการส่งเสริมให้มีการเคารพโดยสกกลและปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนสำหรับทุกคน ซึ่งนับได้ว่าเป็นการยอมรับหลักการพื้นฐานใหม่ที่สำคัญอันเป็นสากลคือบุคคลทุกๆ คนควรจะได้รับสิทธิมนุษยชนซึ่งพึงมี ดังนั้นเพื่อให้การเคารพและปฏิบัติตามเป็นจริงได้นั้น รัฐสมาชิกและองค์การระหว่างประเทศจะต้องดำเนินการโดยเป็นรูปธรรมและมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพ
รัฐสมาชิกนอกจากจะต้องดำเนินการตามพันธกรณีในรัฐของตนแล้วยังต้องดำเนินการร่วมมือกบรัฐอื่น ๆ และกับองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ด้วยโดยเฉพาะอย่งยิ่งกับองค์กรซึ่งมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
กฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนซึ่งเปรีบเสมือนกฎหมายที่มีการอกล่าวอ้างโดยทั่วไปในเวลทีระหว่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตา สิทธิมนุษยชนตามกฎบัติสหประชาชาตินั้น ย่อมไม่มีลักษณะของกฎหมายระหว่างประเทศแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะสิทธิมนุษยชนในแต่ละรัฐเป้ฯเรื่องเขตอำนาจภายในของแต่ละรัฐนั้น
แต่เดิมนั้นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่มีอำนาจอธิปไตยโดยเฉพาะเท่านั้น หรืออาจกล่าวได้ว่า "รัฐ" นั้นเป็น "เป้าประสงค์" ตามกฎหมายระหว่างประเทศที่สามารถใช้หรือดำเนินการตามขอบเหขตที่กำนดแม้ว่ากฎหมายระหว่างประเทศจะพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ แต่ในช่วงระยะเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง "บุคคล" ตามกฎหมายระหว่างประเทก็ยังเป็นเพียง "ผลของเป้าประสงค์" อยู่เหมือนเดิม ขณะเดียวกันเมื่อสิทธิมนุษยชนเข้ามามีบทบาทในเวทีระหว่างประเทศมากขึ้น "บุคคล" ตามกฎหมายระหว่งปรเทศก็ค่อย ๆ เปลี่ยนสถานะ จาก "ผลของเป้าประสงค์" เป็น "เป้าประสงค์" แทน และยัะงเป็น "เป้าประสงค์" ที่กระตือรือร้นส่งผลตามมาให้เกิดกฎกมายและการดำนเนนการต่าง ๆเพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ด้วย ดังนั้นองค์การระวห่างประเทศจึงมีบทบาทสำคัญในการผลักดันใก้เป็นจริงทั้งในระดับภูมิภาคและสากร สิทธิมนุษยชนจึงเป็นกฎหมายที่สำคัญส่้วนกนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศนับตั้งแต่นี้ไป
สิทธิมนุษยชนเป็นส่วนหนึ่งของมนุษยชาติ และเราคงไม่สามารถดำรงอยู่ได้โดยปราศจากสิทธิมนุษยชน โศกนาฎกรรมที่เกกิดขึ้นต่อมวลมนุษยชาติ ความไม่สงบสุขที่เกิดขึ้นในทางสังคมและทางการเมือง ความรุนแรงในสังคมที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลกเป็นมูลเหตุที่ผลักดันให้ประเทศต่างๆ รวมตัวกันเพื่อจัดทำข้อกำหนดในการให้ความคุ้มครองต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพข้นมูลญานต่างๆ นับได้ว่าเป็นแนวความคิดร่วมกันของประชาชนทุกคนและของรัฐต่างๆ ทุกรัฐในความปรารถนาให้มีการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของความเป้นมนุษชาติอันเป็นรากฐานของเสรีภาพ ความยุติธรรมและสันติภาพในโลก
เป็นที่ยอมรับกันว่า กฎหมายพื้นฐานที่มีเนื้อหาไม่มากนักได้ส่งผลต่อมา ทำให้เกิดเป็นกฎหมายของประชาคมระหว่างประเทศร่วมกันซึ่งตั้งอยู่บนหลักการของศักดิ์ศรี และความเท่าเทียมกันของมนุษย์ กฎหมายดังกล่าวจึงเป็ฯของทุกชนชาติและศาสนาโดยไม่อาจมีการแบ่งแยกได้ปฏิญญาสากำลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเปรียบเสมือนเป็นกฎหมายพื้นฐนของสิทธิมนุษยชนทั้งมวล ปฏิญญาฯนี้ไม่มีผลผูกพันให้รัฐต่างๆ ต้องปฏิบัติตาม แต่ก็เป็นผลให้เกิดกฎหมายต่างๆ ตามมา ทั้งกฎหมายระหว่างปะเทศและกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศก็กล่าวอ้างถึงหลักการสิทธิมนุษยชนต่างๆ ไม่โดยตรงก็โดยอ้อมด้วยสำหรับกฎหมายภายในประเทศ กฎหมายรัฐธรรมนูญของหลายประเทศได้บัญญัติถึงสิทธิมนุษยชนต่างๆ ไว้
คงกล่าวได้ว่ากฎหมายระหว่างปรเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเป็นกฎหมายที่กำหนดถึงสิทธิของปัจเจกชน ส่วนกฎหมายภายในของแต่ละประเทศนั้นเป็นกฏหมายที่ให้การเคารพต่อความเป็นมนุษยชนแย่างแท้จริง กล่าวคือ เป็นการให้ความเคารพและคุ้มครองประชาชนให้มีศักดิ์ศรีสิทธิและเสรีภาพ อันเป็นแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ที่จะมีชีวิตอยู่ในสังคมโดยเท่าเทียมกันกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยกับสิทธิมนุษยชนโยทั่วไป นั้นจะมีการกำหนดถึง "สิทธิและเสรรีภาพบางประการที่ไม่อาจหลักเลี่ยงได้ไว้ด้วย" สิทธิต่างๆ เหล่านี้ถือได้ว่าเป็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญจึงมีการบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือยกเว้นไม่ปฏิบัติตามได้ กฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นกฎหมายทั่วไปซึ่งกำหนดถึงสที่เป็นกฎหมายทั่วไปซึ่งกำหนดถึงสิทธิและเสรีภาพบางประการทีไม่อาจหลีกเลี่ยงได้มีอยู่ 3 ฉบับ
หลักการและจุดมุ่งหมายของสหประชาชาติ
" เราบรรดาประชาชนแห่งสหประชาชาติได้ตั้งเจตจำนง ที่จะช่วยชนรุ่นหลังให้พ้นจากภัยพิบัติแห่งสงคราม ซึ่งได้นำความวิปโยคอย่างสุดจะพรรณนามาสู่มนุษยชาติในชั่วชีวิตของเราถึงสองครั้งแล้ว และที่จะยืนยันความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชน อันเป็นหลักมูลในเกี่ยรติศักดิ์และคุณค่าของมนุษย์บุคคล ในสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรี และของประชาชาติใหญ่น้อย และที่จะสถาปนาภาวการณ์ อันจะธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมและความเคารพต่อข้อผูกพันทั้งปวงอันเกิดมาจากสนธิสัญญาและที่มาอื่นๆ ของกฎหมายระหว่างประเทศ และที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคม และมาตรฐานอันดีย่ิงขึ้นแห่งชีวิตในอิสรภาพที่กว้างขวางยิ่งขึ้น"
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องในระดับประเทศและระว่างประเทศ ประเทศต่างๆ จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาสิทธิมนุษยชนไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเมื่อพิจารณากฎบัติสหประชาชาติแล้วะเห็นว่า องค์การสหประชาชาติมีหลักการส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ มีการดำเนินการร่วมกันหรือแยกกันเพื่อให้มีการเคารพและปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชนโดยสากล แต่ขณะเดียวกันก็ขัดแย้งกับหลักการไม่แทรกแซงซึ่งเป็นหลักการสน่วนหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศด้วย
กลไกในการทำงานและดำเนินงานที่สหประชาชาติจะต้องจัดตั้งขึ้นจัดทำกฎหมายและพัฒนามาตรฐานของกฎหมาย ติดตามเผ้าดูสถานการณ์ทางสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นทุกมุมโลก และผลักดันให้กฎหมายระหว่างประเทศต่างๆ มีผลใช้บังคับและมีการปฏิบัติตามอย่างได้ผล การจัดตั้งกลไกในการทำงานเพื่อให้มีการเคารพสิทธิมนุษยชนแาจจะเกิดขึ้นได้โดยกฎบัติสหประชาชาติส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งจากฎหมายระหว่างประเทศต่างๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...