กลไกการควบคุมทางสังคมภายใน คือการที่บุคคลยอมรับเอาบรรทัดฐานและค่านิยมของกลุ่มเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของบุคคลและปรารถนาที่จะปฏิบัติตามบรรทัดฐานดังกล่าวทำให้มีผลต่อการควบคุมตนเอง กระบวนการี้เป็นผลมาจากกระบวนการขัดเกลาทางสังคม หากกระบวนการขชัดเกล่าทางสังคมไม่สัมฤทธิ์ผล บุคคลน้นมีแนวโน้มจะมีพฤติกรรมเบียงเบน สังคมจึงต้องอาศัยการควบคุมทางสังคมภายนอกมาต่อต้านกับพฤติกรรมดังกล่าวเพื่อความเป็นระเบียบของสังคม
การควบคุมทางสังคมไม่ควรสับสนกับการเป็นประมุขศิลปหรือความเป็นผู้นำส่วนบุคคล เมื่อบุคคลหนึ่งพยายามควบคุมพฤติกรรมคนอื่นๆ นั้น แสดงว่าเป็นการใช้ความเป็นผู้นำหรือมุขภาพ มากกว่าเป้นการควบคุมทางสังคม แต่เมืี่่อเขารวบรวมกลุ่มที่ประกอบด้วยเพื่อสมาชิกเข้าร่วมกับเขา และพยายามที่จะใช้อิทธิพลต่อความประพฤติของกลุ่มที่มีขนาดใหญ่กว่า นั่นคือ เขากำลังกระทำในฐานะตัวแทนการควงคุมทางสังคม เราอาจกล่าวได้ว่า บางครั้งความเป็นผู้นไใช้ในลักษณะความหายของการเห็นพ้องระหว่างผู้ที่มีความพยายามในการควบคุมทางสังคมกับความปรารถนาเหรือค่านิยมในการดำเนินชีวิตของคนใดคนหนึ่งในทำนองเดียวกัน การโฆษณาชวนเชื่ออาจเป็นคำที่บ่งขอกถึงการที่ผู้พูดพยายามพฤติกรรมคนอื่น ๆ นั้นแสดงว่าเป็นการใช้ความเป็ฯผู้นำหรือมุขภาพ มากกว่าเป็นการควบคุมสังคม แต่เมื่อเขารวบรวมกลุ่มที่ประกอบด้วยเพื่อสมาชิกเข้าร่วมกับเขา และพยายามที่จะใช้อิทธิพลต่อความประพฤติของกลุ่มที่มีขนาดใหญ่กว่า นั้นคื เขากำลังกระทำในฐานะตัวแทนการควบคุมทางสังคม เราอาจกล่าวได้ว่า บางครั้งความเป็นผู้นำใช้ในลักษณะควารมหมายของการเห็นพ้องระหว่างผู้ที่มีความพยายามในการควบคุมทางสังคมกับความปารถนาหรือค่านิยมในการดำเนินชีวิตของคนใดคนหนึ่ง ในทำนองเดียวกัน การโฆษณาชวนเชื่ออาจเป็นคำที่บ่งบอกถึงการที่ผู้พูดพยายามควบคุมทางสังคมโดยอาศัยความพยายามบางอย่างเพื่อให้คนเ่อเกิดความเห็นคล้อยตามแล้วแต่ผู้พูด
การควบคุมทางสังคมเป็นคำกล่าวรวมๆ ของกระบวนการที่ได้วางแผนหรือไมมีการวางแผนมากอ่น ซึ่งนำมาใช้อบรมสั่งสอน ชักจูง หรือบังคับปัจเจกบุคคลให้คล้อยตามค่านิยมในการดำเนินชีวิตของกลุ่มให้เป็นปกติวิสัย การควบคุมความประพฤติของสมาชิกในกลุ่มหรือเมื่อปัจเจกบุคคลมีอิทธิพลต่อการตอบสนองของคนอื่น ๆเพราะฉะนั้นการควบคุมทางสังคมนำมาใช้ปฏิบัติ 3 ระดับ คือ กลุ่มเหนือกลุ่ม กลุ่มเหนือสมาชิกกลุ่ม และปัจเจกบุคคลเหนือเพื่อสมาชิกด้วยกัน กล่าวอีกแง่หนึ่ง การควบคุมทางสังคมเกิดขึ้น เมื่อปัจเจกบุคคลถูกเหนี่ยวนำ หรือบังคับให้กระทำสอดคล้องกับการปรรถนาของคนอื่นๆ ไม่ว่าจะสอดคล้องกับผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลเองหรอืไม่ก็ตาม
สังคมทุกสังคมจำเป็นต้องมีการควบคุมสามาชิกของสังคม ดังนั้นปัจเจกบุคคลคือแต่ละคนซึ่งอยู่ในฐานะสมาชิกขององค์การทางสังคมใดก็ตาม ย่อมไม่มีความเป็นเสรีเต็มที่แต่ต้องอยู่ในวงกรอบหรือขอบเขตแห่งการประพฤติปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นวจีกรรมหรือกายกรรมสำหรับด้านมโนกรรมนั้น แารจะคิดอย่างไรยอมขึ้นอยู่กับการเรียนรู้จากสังคมโดยผ่านกระบวนการสังคมประกิตเป็นสำคัญ
ทฤษฎีการควบคุมทางสังคมแพร่หลายและได้รับการยอมรับอยางกว้างขวางกล่าวได้ว่าทฤษฎีรุ่งเรื่องขึ้นมาเป้ฯผลมาจากแนวคิดทางอาชญาวิทยาที่แตกต่างกัน 3 แนว
แนวที่หนึ่ง คือ ปฏิกิริยาโต้ตอบต่อการหันเหไปในทางการขัดแย้งและการตีตราและการหันกลับมาพิจารณาพฤติกรรมที่มีความผิดทางอาญา นักอาชญาวิทยาที่เป็นพวกอนุรักษ์นิยม จะสนใจอาชญาวิทยาสมัยใหม่เพียงเล็กน้อย และต้องการหวนกลับไปหาเขอบเขตของเนื้อหาสาระแบบเก่าคืออาชญากร
แนวที่สอง เกิดการศึกษาความยุติธรรมทางอาญาเป็นประเด็นสำคัญขึ้นมา ซึ่งช่วยให้อาชญาวิทยาเปลี่ยนไปสู่ทิศทางที่มีแนวโน้มจะเป็นรเบบและเชิงปฏิบัติมากขึ้น รัฐบาลก็มีความสนใจมากขึ้น และมากพอที่จะให้มีโครงการเกี่ยวกับความยุติธรรมทางอาญา และการต่อสู้ความผิดทางอาญา ซึ่งจะช่วยให้ธรรมชาติของการเคลื่อนไหวเป็นไปในเชิงปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น ผลก็คืออาชญาวิทยาย่อมมีอิสระจากงานตามทฤษฎี และเหลือไว้เพียงสิ่งที่สร้างตามทฤษฎีจากช่วง 1960-1969 ทฤษฎีซึ่งสอดคล้องกับการอธิบายเกี่ยวกับพฟติกรรมอาชญากรก็คือ แนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมทางสังคมของ Hirschi
แนวที่สาม ทฤษฎีการควบคุมทางสังคมต่าง ๆ มีความเชื่อมโยงกับวิธีการสำรวจแบบใหม่ สำหรับกำหนดแหล่งพฤติกรรมเกะรคือ การสำรวจโดยให้ายงานเกี่ยวกับตนเอง
ทฤษฎีการควบคุมทางสังคมของเดอร์ไคม์ ทฤษฎีการควบคุมทางสังคมทั้งหมด ยึดถือปัจจัยทางสังคมสำหรับอธิบายว่าคนทั่วไปสามารถเหนี่ยวรั้งจากการกระทำที่เป็นผลร้ายต่อคนอื่น ๆ ได้อย่าง การอธิบายแนวนี้เริ่มต้นมาจากเดอร์ไดม์ เขากล่าวว่าสังคมมักจะมีผู้ที่เบี่ยงเบนจำนวนหนึ่งแนนอน และการเบี่ยงเบนนั้นแท้จริงแล้วก็เป็นปรากฎการณ์ปกติ นอกจากนี้ การเบี่ยงเบนยังช่วยคำจุนระเบียบทางสังคมด้วย เพราะเหตุว่ามีขอบเขตทางศีลธรรมที่ไม่แน่ชัดในการให้ำนิยามว่า พฤติกรรมอะไรบ้างที่อนุญาตให้กระทำได้และพฤติกรรมอะไรที่ไม่เห็นด้วย ขอบเขตเหล่านี้ได้ระบบุได้แจ่มชัดถึงความไม่พอใจระดับต่างๆ ที่มีต่อการกระทำต่างๆ โดยเรียงลำดับจากความไม่พอใจแบบไม่รุนแรงจนถึงการบังคับใช้ทากฎหมายและการจำคุก เนื่องจากเส้นแบ่งขอบเขตที่เป็นจริงยังไม่แน่ชัด ปฏิกิริยาโต้ตอบทางสังคมต่อพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนของคนอื่น จึงช่วยให้ประชาชนตัดสินได้สิ่งไหนที่พวกสมควรกระทำ ดังนี เดอร์ไคม์ จึงได้กล่าวว่ พฤติกรรมถูกควบคุมโดยปฏิกริยาโต้ตอบทางสังคม
ทฤษฎีการควบคุมทางสังคมในเชิงบุคลิกภาพ ในปี 1950-1959 นักทฤษฎีหลายท่านได้เสนอคำอธิบายการควบคุมทางสังคมเกี่ยวกับทุรกรรม ทฤษฎีเหล่านี้กำหนดขึ้นตอนเพื่อเป็นแนวทางการอธิบายอาชญากรรมและทุรกรรมในปัจจุบั นับตั้งแต่สมัยเดอร์ไคม์เป็นต้นมา ความคิดเห็นเกี่ยวกับการควบคุมทางสังคมได้มีการปรับปรุงหลายครั้ง แนวความคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพและการขัดเหลาทางสังคมกลายเป็นเรื่องธรรมดา และไม่ว่าเป็นบุคลิกภาพหรือการขัดเกลาทางสังคมมักจะนำมาใบช้ในผลงานทางสังคมวิทยาว่าด้วยการเบียงเบนมากที่สุด ย่ิงไปกว่าน้นงานวิจยและงานเขียนในหลายทศวรรษ ก็เน้นความสามรถของสิ่งแวดล้อมทางครอบครัว สถาบันศาสนา โรงเรียนพรรคพวกเพีือนที่ดี และองค์การชุมชนต่างๆ ในการควบคุมทุรกรรม
อับเบิร์ต.เจ.รีซซ์ ได้รวมแนวคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพและการขัดเกลาทางสังคมกับผลงานของสำนักชิคาโกและเขียนทฤษฎีการควบคุมทางสังคม ซึ่งสามารถคาดการณ์ถึงผลงานในเวลาต่อมาได้เป็นส่วนใหญ่ แม้ทฤษฎีของเขาจะใช้ทฟษฎีจิตวิเคราะห์และ บุคคลิกภาพมากกว่าก็ตาม เขาก็ได้เสนอแนะถึงองค์ประกอบของการควบคุมทางสังคม 3 ประการ สำหรับใช้อธิบายกรกระทำผิด เขากล่าว่า ทุรกรรมหรือการกระทำผิด เป็นผลมาจากปัจจัยใดปจจัยหนึ่ง หรือหลายปัจจัยทั้งหมดดังนี้
- ขาดการควบคุมในที่เหมาะสมในช่วงวัยเด็ก
- ความล้มเหลวของกลไกการควบคุมภายในดังกล่าว
- ปราศจาก หรือการขัดแย้งในกฎเกณฑ์ทางสังคม ซึ่งกลุ่มทางสังคมที่มีความสำคัญได้กำหนดขึ้น ปัจจัยที่ 3 ประการเหล่านี้เองที่นักทฤษฎีการควบคุมทางสังคมทุกคนนำมใช้เขียนงานตลอดมา
ทฤษฎีความผูกพันทางสังคม หรือทฤษฎีสายสัมพันะ์ทางสังคม แนวคิดเกี่ยวกับกลไกการควบคุมทางสังคมภายนอกได้เด่นขึ้นมา เนื่องจากผลงานของเดวิด แมทซา แห่งมหาวิทยาลับแคลิฟอร์เนีย เอบร์คลี่ย์ เขาได้เขยนผลงานครั้งแรกร่วกับ เกซแฮม สคีซ คือการวิจารณ์ทฤษฎีอนุวัฒนธรรมของ อัลเบิรต โคเฮน อย่างไรก็ตา คำวิพากษ์วิจารณ์นั้นก็เป็นความคิดเห็นที่ว่าทุกคน (แม้แต่แก็งคทุรกรรมที่เป้นชนชั้นต่ำ)มักผูกัมอยู่กับระบบค่านิยมของสังคมที่มีอิทธิพลเหนือกว่ พวกเขาได้เสนอว่า คนเราจะมีอิสระที่จะกระทำทรุกรรม โดยผ่านการใช้เทคนิคของ "ความเป็นกลางหรือความเป็นสูญค่า" เทคนิคเหล่นี้ทำให้ปัจเจกบคคลรู้จักเป็น และละทิ้งการพัวพันต่อค่านิยมทางสังคมชั่วคราว ดังนั้น ทำให้มีอิสระที่จะกระทพฤติกรรมทุรกรรม และได้เสอนรายชื่อรูปแบบ(วิธีการ)ของความเป็นกลาง 5 ประการ ได้แก่ ความปฏิเสธความรับผิดชอบ การปฏิเสธการทำร้าย การปฏิเสธผู้เสียหาย การปรักปรำจาผู้กล่าวร้าง การทุทธรณ์เพื่อความซื่อสัตย์ต่อกลุ่ม
ทฤษฎีการควบคุมทางสังคมที่แพร่หลายเมือไม่นานมานี้ทั้งหมดไม่ใช่สิ่งใหม่ ย่ิงกว่านั้นอาจถือว่าเป็นแนวการศึกษาเชิงทฤษฎีแนวหนึ่งที่สอดคล้องอย่างมากกับแนวความคิดของสาะารณชนที่ว่า ทำไมคนจึงกลายเป็นอาชญากร ไม่ว่าใครจะเชื่อว่าบุคคลกลายเป็นอาชญากรเพราะการสมาคมกับเพื่อที่ไม่ดี เพราะครอบครัวเลี้ยงดุอย่งไม่ถูกต้อง เพราะขาดความเชื่อทางศาสนา หรือเพราะขาดการศึกษา ทฟษฎีการควบคุมทางสังคมสามารถมองว่าเป็นการสะท้อนถึงความเชื่อดังกล่าว นอกจานี้ สำหรับนักอาชญาวิทยาเอง ทฤษฎีนี้มีส่วนของทฤษฎีการเสียระเบียบทางสังคมร่วมอยู่บ้าง การสมาคมที่แตกต่างกัน และความไร้บรรทัดฐานจึงดึงดูดความสนใจของนักอาชญาวิทยาที่ไม่อย่งยอมรับเอาแนวทฤษฎีการขัดแย้ง
ระเบียบทางสังคมหมายถึงคุณภาพของการจัดระเบียบทางสังคมทั้งหมด นักวิชาการบางคนเรียกว่า "ความเชื่อมแน่น" หรือ "การบูรณาการ" หรือ "ความเป็นปึกแผ่น" และบางคนใช้ในความหมายเดียวกับ "การจัดระเบียบองค์การ" หากจะกล่าวให้ชัดก็คือระเบียบทางสังคมมีความมหายตรงกันข้ามกับการเสียระเบียบทางสังคม ความยุ่งเหยิง การไม่มีรัฐบาลหรือกฎหมาย ระเบียบหมายถึงบุคคลไม่แยกตัวเองมาทำอะไรตามใจชอบ โดยไม่มองดูคนส่วนใหญ่ การกระทำของบุคคลต้องสอดคล้องกับส่วนรวมที่มีจำนวนมากกว่า
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า แบบอย่างที่ค่อนข้องคงที่ อันเป็นผลมาจากการกระทำระหว่างกันทางสังคมระเบยบสังคมเป็นเครื่องกำหนดให้ส่วนต่าง ในโครงสร้างสังคมดำเนินไปตามหน้าที่และมีความสัมพันะ์กัน เพื่อประโยชน์ของสังคมนั้นๆ
ระเบียบทางสังคมกำหนดขึ้นโดยผ่านโครงสร้างและวัฒนธรรม เนื่องจากปัจเจหชนทุกคนในองค์การถูกกำหนดตำแหน่งไว้ในโครงสร้างและได้เรียนรู้วัฒนธรรมร่วมกัน โครงสร้างและวัฒนธรรมผูกมมัดบุคคลไว้ ดังนั้นบุคคลจะไม่ปฏิบัติในฐานะปัจเจกบลุคคล แต่ในฐานะสมาชิกขององค์การ นักสังคมวิทยาจำนวนมากใช้แบบแผน 2 ประการนี้เพื่อทำความเข้้าใจรากฐานของระเบยบทางสังคม
ระเบียบทางสังคมขึ้นอยู่กับการขัดเกลาทางสังคม รเกิดขึ้นจากความพยายามนานัปการขององค์การทุกองค์การที่จะทำให้ปัจเจกชนยินยอมปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ และไห้ยอมรับโครงสร้างและวัฒนธรรมที่บุคคลเป็นเจ้าของ
เดอร์ไคม์ อธิบายสังคมที่พัฒนาแล้วก่อให้เกิดโครงสร้างที่ซับซ้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ บุคคลมักมีตำแน่งมากมายและแตกต่างกันไปตามตำแหน่งของเขาเหล่านั้น ในขระเดียวกันก็มีการพึงพาซึงกันและกันมากขึ้น งานทุกย่างจะมีลักษณะแตกต่างกัน แต่ก็สนับสนุนส่วนรวม แม้จะส่งเสริมในลักษณะที่แตกต่างกันไป ส่วนหนึ่งก็เป็นผู้ชำนาญการ ผู้บริหาร ..การแบ่งงานก่อให้เกิดสังคมที่ประกอบด้วยบุคคลที่แตกต่างกัน และการมีวัฒนธรรมเดียวกนั้นน้อย และไม่่อยเห็นแน่ชัด วัฒนธรรมก็ยังคงมีความสำคัญแต่แทนที่ด้วยความเป็นปึกแผ่นทางโครงสร้างเพ่ิมเข้ามา โดยที่ทุกคนทำหน้าที่แตกต่างกันไป แต่ผลสุดท้ายก็เป็นการสนองต่อความตองการของคนอื่นๆ จำนวนมากหากปราศจกาการมีวัฒนธรรมร่วมกันเป็นแกนกลางของความเป็นปึกแผ่นแล้วจะต้องมีความอดกลั้นต่อความแตกต่างของปัจเจกชนมากขึ้น และการลงโทษคนที่ละเมิดกฎหมายเข้มงวดน้อยลง
สำหรับเดอร์ไคม์ทั้งโครงสร้งและวัฒนธรรมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการยึดเหนี่ยวสังคมเข้าด้วยกัน และสร้างพื้นฐานที่มั่นคงให้กับระเบียบทางสังคม นักสังคมวิทยาท่านอื่นที่เน้นความสำคัญของแบบแผนวัฒนธรรมและโครงสร้างด้วยเชนกัน คือ คาร์ล มาร์กซ์
คาร์ล มาร์กซ์เสนอการวิเคราะห์เกี่ยวกับระเบียบในลักษณะที่แตกต่างจากเดอร์ไคม์แต่แนวการวิคเคราะห์ของเขาก็เห็นว่าโครงสร้างและวัฒนธรรมมีความสำคัญ มาร์กซ์ไม่ได้ใช้มโนทัศน์ของระเบียบทางสังคม แต่ใช้คำวว่า "การควบคุมทางสังคม" แทน ซึ่งหมายถึงวิธีการต่างๆ มากมายทีามีอิทธิพลในสังคม ซึ่งพยายามที่จะปราบปรามปัจเจกชนการควบคุมปัจเจกชนก็เพื่อผลประฏยชน์ของคนส่วนน้อย แนวคิดของมาร์กซ์มองโครงสร้างทางสังคมหมายถึงความไม่เท่าเที่ยมกันทางชนชั้น และความไม่เท่าเที่ยมกันดังกล่วปล่อยให้คนส่วนน้อยเป็นเจ้าของิถีการผลิต ใช้อำนาจบังคับและจักการคนจำนวนมากให้ยอมรับสังคมที่เป็นอยู่ อำนาจในโครงสร้างทางสังคมก่อให้เกิดการควบคุมงาน รัฐบาล กองทัพ ตำรวจ ศาล และสื่อมวลชน และในทางกลับกันสิ่งนี้ก็นำมาซึ่กการควบคุมเหนือปัจเจกชน วัฒนธรรมมีหน้าที่คล้ายคลึงกัน ความคิด ค่านิยม และมาตฐษนที่เด่น ๆ ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัตในสังคมทำหน้าที่ปราบปรามแลควบคุมปัจเจกชน ดังนั้นบุคคลจึงยอมรับสังคมที่เป็ฯอยู่ด้วยความเต็มใจ หน้าที่ของัฒนธรรมก้คือสนับสนุนความไม่เท่าเทียมกันในโครงสร้าง ดังนั้น ตามแนวความคิดของมาร์กซ์ระเบียบทางสังคมสร้างจากเบื้องบนและทำหน้าที่ให้ผลประโยชน์กับผู้ที่มีสินทรัยพย์ และในที่สุดระเยียบทางสัคมก็ไม่ได้ให้ผลประโยชน์กับประชากรโดยส่วนรวมทั้งหมด ทั้งโครงสร้างและวัฒนธรรมเป็นแบบแผนทางสังคมที่ผุ้มีอำนาจเป็นคนกำหนดขึ้นมาและใช้เองด้วย
กลไกการควบคุมทางสังคม สังคมและกลุ่มทางสังคมทุกประเภท มีแนวทางที่จะชักจูงหรือฝึกฝนพฤติกรรมของสมาชิกให้ปฏิบัติตามค่านิยม และบรรทัดฐานของกลุ่มนักสังคมวิทยาเรียกระบวนการเหล่านี้ว่ากลไกการควบคุมทางสังคม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือการควบคุมทางสังคมภายใน และการควบคุมทางสังคมภายนอก
กลไกการควบคุมทางสังคมภายนอก คือ แนวทางที่สมาชิกของกลุ่มหรือสังคมต้องการให้ปัจเจกบุคคลปฏิบัติในทางที่กำหนดไว้ และปัจเจกชนต่อต้านการปฏิบัติในแนวทางดังกล่าว กลุ่มจึงหาทางหยุดการต่อต้าน โดยการใช้บังคับใช้เชิงปฏิฐานหรือเชิงบวกและการบังคับใช้เชิงนิเสธหรือเชิงลบ เพื่อชักจูงพฤติกรรมของบุคคลไปสู่รูปแบบที่สอดคล้องกับบรรทัดฐานและค่านิยมของสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น