Publics (มหาชน)


     สังคมที่คนจำนวนหนึ่งอยู่กันอย่างกระจัดกระจายในสังคมเดี่ยวกันลักษณะต่างคนต่างอยู่และสามารถใช้ของส่วนกลางร่วมกันตามกติกาสังคม มีการติดต่อกันโดยอาศัยสื่อสารมวลชนเป็นหลัก มีลักษณะการรวมตัวกันเป็นกลุ่มในรูปของทุติยภูมิ และความเป็นทางการมากขึ้นเป็นปรากฎการณ์ทางสังคมประเภทหนึ่ง อันแสดงให้เห็นว่าเป็นสังคมที่สมาชิกแต่ละคนแทบจะไม่มีความสัมพันธ์กันเลย แต่สามารถติดต่อกันได้ทางสื่อสารมวลชน อันเป็นการรวมกลุ่มกันของคนหมู่มาก โดยไม่ได้เป็นตัวแทนหรือรูปแบบในลักษณะที่เป็นทางการเลย ไม่มีความสัมพันธ์ด้านกายภาพต่างคนต่างอยู่กระจัดกระจายกำันออกไป

     มหาชนเป็นคำที่หากนำมาใช้แยกก็เป็นคุณศัพท์ หมายถึงให้คนทั่วไปตรวจได้ใช้ได้หรือเข้าไปเกี่ยวข้องได้ ซึ่งตรงข้ามกับส่วนตัว หากใช้เป็นคำนาม หมายถึง กลุ่มที่รวมบุคคลอื่นนอกจากครอบครัวหรือญาติมิตร และเป็นคำนามรวมหมายถึง ประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็ฯการบ่งบอกให้รู้ความหมายการอยู่ของคนในสังคมในรูปของมหาชน
     การที่มหาชนแต่ละกลุ่มต่างมาอยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายตรงกัน ต่างมีความสนใจปัญหา หรือประเด็นใดๆ ตรงกัน จัดเป็นมหาชนประเภทหนึ่ง จะมีจำนวนเท่าใดไม่จำกัดขึ้นอยู่กับความสนใจปัญหาหรือประเด็นต่าง ๆการพิจาณาปัญหาหรือประเด็นใดๆ ตลอดจนคำแถลงของผู้ที่ยอมรับนับถือกันว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อปัญหาที่มีผู้นำมาปรึกษา เรียกว่า มติ แต่ความคิดเห็นเฉพาะหรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญ่ที่มีต่อประเด็นสำคัญๆ ของสังคม กันขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นเรื่องของการวิเคราะห์และการใช้เหตุผล เรียกว่า มติมหาชน อันถือว่าเป็นมติที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาหรือวิเคราะห์ปัญหาหรือประเด็นใด ๆ ด้วยหลักวิชาและเหตุผล ผลสรุปรวบยอดจากการพิจารณาหรือวิเคราะห์ดังกล่าวของคนหมู่มาก ก็จัดเป็นมติมหาชนเช่นกัน
     ลักษณะเฉพาะ คือ ขาดความสัมพันธ์ด้านกายภาพสำหรับสมาชิก ซึ่งผิดกับฝูงชนและมาวลชนส่วนที่มีลักาะมวลชนนั้นก็คือ เป็นการรวมหมู่แบบกระจัดกระจายออกไปแตกต่างกันตรงที่มหาชนเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา หรือสถานการณ์เชิงปัญหาที่ต้องมีการถกเถียงอภิปรายกัน และรู้ประเด็นปัญหาโดยผ่านทางสื่อมวลชน
       มหาชนจัดเป็นปรากฎการณ์ทางสังคมประเภทหนึ่ง เป็นรูปแบบชนิดหนึ่งของพฤติกรรมรวมหมู่ที่มีลักษณะเป็นการรวมกันของประชาชนซึ่งต่างมีความสนใจตรงกัน เกี่ยวกับผลประโยชน์อันจะพึงมีพึงได้ บางครั้งอาจเกิดปัญหาหรือข้อโต้เถียงที่อาจจะร่วมกันพิจารณาหาข้อตกลงกันได้การกระทำต่อกันบางอย่าง ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างบรรดามหาชนที่ต่างร่วมอภิปรายปัญหากันโดยตรง ซึ่งการกระทำนั้นเหมือนกับว่าเป็ฯการสนทนาหรือว่าโต้เถียงอยู่กับเพื่อฝูงหรือสมาชิกครอบครัวเดียวกัน แต่ส่วนมากของการกระทำร่วมกันนั้น จะถูกนำมาเผยแพร่ทางสื่่อโดยอ้อมของการสื่อสารมวลชนอีกด้วย มหาชนนั้นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับสังคม ซึ่งมีลักษณะเป็นไปตามโครงสร้าง ที่ยอมให้มีการสนทนาโต้เถียงและอภิปรายกันได้ โดยถือเป็นแบบอย่างหนึ่งที่จะทำให้บรรลุถึงการเกิดขึ้นชั่วคราวของประเด็นที่ขัดแย้งกัน เมื่อเป็นเชนนี้มหาชนจึงมีลักษณะเป็นกลุ่มของคนที่มีความสนใจตรงกัน แต่ไม่จำเป็นต้องมีมติหรือความเห็นอันเป็นข้อสรุปประเด็นปัญหาตรงกันเสมอไป
      เนื่องจากมหาชนมักเกิดขึ้นมาจากประชาชนซึ่งไม่จำเป็นต้องีความใกล้ชิดกันด้านกายภาพดังเช่นผูงชน ถึงแม้ว่าประชาชนจะอยู่ภายใต้การควบคุมทางอารมณ์ก็ตาม แต่ก็ยังมีลักษณะของการโต้เถียงกันอยู่ ความหลากกลายของสมาชิกเองก็ดี การดำรงอยู่นานกว่าฝูงชนก็ดี ตลอดจนการเป็นสมาชิกมหาชนก็ดีไม่ได้มีกำหนดไว้ตายตัว หรือกำหนดแน่นอนลงไป ยกเว้นแต่การกระทำของปัจเจกบุคคลในด้านการตัดสินใจ ไม่ว่าแต่ละคนจะมีการติดต่อกับคนอื่นๆ หรือไม่ก็ตาม ซึ่่งก็มีส่วนร่วมด้านชีวิตสังคมกันโดยเฉพาะ ลักษณะดังกล่าวนี้ จึงเป็นเรื่องของการร่วมมือกันในการแก้ปัญหาอย่างเปิดเผยในรูปของมหาชน
     ในบางโอกาสมหาชนอาจได้รับอิทธิพลบางอย่างจากการแพร่ติดต่อทางสังคม ในกรณีเช่นนี้สามารถทำให้บรรดาปัจเจกบุคคลเกิดจิตผูกพันะป็นอันหนึ่งอันเดียวกันชั่วคราว เมื่อเกิดกลุ่มขึ้นแล้วก็สลายตัวไป นอกจากนี้การสนใจส่ิงเดียวกัก็ทำให้เกิดมหาชนได้เช่นกัน
     จากลักษณะที่แสดงออกมาของมหาชนดังกล่าวข้างต้นนั้น จะเห็นว่ามหาชนนั้นมีลักษณะที่น่าพิจารณาก็คือ เป็นกลุ่มประชาชนที่อยู่แยกกันกระจัดกระจาย ต่างมีความสนใจและตัิดสินใจเกี่ยวกับประเด็น หรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยมีการอฎิปรายถกเถียงกันในทัศนะต่างๆ ซึ่งสมาชิกต่างแสดงความคิดเห็ฯอย่างอิสระเสรีเต็มที่ เพื่อให้มีมติรวมอมู่อันเป็นมติของคนส่วนมากออกมาให้เป็นที่ยอมรับกัน อันเป็นการคาดหวังเพื่อให้เกิดการกระทำหรือการปฏิบัติการของคนบางคนหรือบางกลุ่มขึ้น ส่วนมหาชนจะมีความคล้ายคลึงกับมวลชนตรงที่ว่า เป็นการรวมหมู่กันแบบกระจายแต่แตกต่างกัตรงที่มหาชนเกี่ยวกับประเด็นปัญหาหรือสถานการณ์เชิงปัญหาที่ต้องมีการถกเถียงอภิปรายกันโดยเหตุผล มีการยุติการถกเถียงอภิปรายโดยความเห็นของคนจำนวนมากอันถือเป็น "มติ") มหาชนสามารถติดต่อกถึงกันและล่วงรู้ประเด็นปัญหาต่างๆ โดยผ่านทางสื่อสารมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เอกสารสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัสน์ ภาพยนตร์  และอื่นๆ ส่วนการเปลี่ยนแปลงด้านองค์ประกอบของมหาชนด้านอื่นๆ
     องค์ประกอบที่สำคัญของมหาชนคือ
     ประกอบด้วยบุคคลซึ่ง
- ถือว่าพวกตนได้รับการกระทบกระเทือนจากเหตุกาณ์หรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
- สามารถแสดงความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งและ
- เห็นว่าความคิดเห็นหรือผลประโยชน์ของพวกตนได้รับการพิจารณา
     มหาชนเป็นคำที่นำมาใช้กันทั่วไปในกิจการต่าง ๆ อาจใช้ได้กับกลุ่มผู้เป็นสมาชิกวารสาร ผู้ถือหุ้นในบริษัท ผู้ออกเสียงเลือกตั้งและกลุ่มหรือประเภทบุคคลอื่นๆ อีก ความสนใจส่วนใหญ่ของเราอยู่ที่มหาชนที่มีความคิดเห็นทางการเมือง โดยกลุ่มเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีประเด็นหรือปัญหา กล่าวคือ เกิดความคิดเห็นแตกแยกในหมู่ประชาชนว่าอะไรเป็นสิ่งควรทำ เช่น รัฐควรจะสนับสนุนโครงการช่วยเหลือทางการแพทย์แก่ประชาชนหรือไม่ การเมืองเกิดขึ้นเมื่อประชาชนแตกแยกออกเป็นหลายฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายต่างดำเนินการตามความคิดเห็นและผลประโยชน์ของตน
     มหาชนอาจประกอบด้วยบุคคลที่อยู่กระจัดกระจาย ไม่จำเป็นต้องมีสมาชิกแน่นอนและไม่จำเป็นต้องมีการจัดระเบียบว่าผุ้ใดจะมีบทบาทอย่างใด เนื่องจากมหาชนประกอบด้วยบุคคลผู้เกี่ยวข้องในผลของเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง องค์ประกอบของมหาชนจึงเปลี่ยนเมื่อสถานการณ์ เปลี่ยนและมีการมองปัญหาเกียวกันนี้ในแง่ใหม่ คนใหม่จะเกิดความสนใจ คนเก่าจะหมดความสนใจและหันไปทางอื่น จะมีการเคลื่อนไหวในมหาชนขึ้น บางคนจะถอนตัวออกจากการอภิปรายเม่อมีผู้ประนามการสนับสนุนการช่วยเลหือทางการแพทย์แก่ประชาชนของรัฐบาลว่าเป็น "การแพทย์แบบสังคมนิยม" คนอื่นอาจจะเข้าร่วมในแผนการรักษาพยาบาล ซึ่งจัดขึ้นเฉพาะคนงานในสถานที่ทำงานของพวกตนและไม่มีความสนใจในประเด็นทั่วไป มหาชนจึงเป็นการรวมกันชั่วคราวสังเกตได้โดยดูที่ความสนใจร่วมกันที่มีต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง และชนาดและองค์ประกอบจะเปลี่ยนแปลงไปตามประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
     เมื่อประเด็นเกิดขึ้นบ่อยๆ มหาชนที่มีคามคิดเห็ฯทางการเมืองบางพวกอาจจะมีลักษณะแนนอนมากขึ้น ในแต่ละเรื่องที่อยู่ในความสนใจมักจะมีจุดศูนย์กลางประกอบด้วยบุคคลที่ติดตามพัฒนาการของเรื่องอย่างใกล้ชิด และให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ในกรณีการช่วยเหลือทางการแพทย์ เราอาจคาดหมายได้ว่ากลุ่มนักธุรกิจอาจมีความเห็นอย่างหนึ่ง สหภาพแรงงานอาจจะมีความเห็นอีกอย่างหนึ่ง กลุ่มทหารผ่านศึกอาจจะมีความเห็นแตกแยกกันออกไปอีก
     การที่มหาชนเกิดขึ้นโดยค่อนข้างจะเป็นรูปแบบที่แนนอนเป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้ความพยายามติดต่อกัน เพื่อรักษาผลประโยชน์ในประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่งต่อเนหื่องกัน จริงอยู่เราจะทราบได้ว่าเป็นมหาชนกลุ่มใด ก็ดูที่หนังสือ หนังสือพิมพ์ และวารสารที่สมาชิกในกลุ่มอ่าน บุคคลที่ทราบข่าวคราวจากสื่อการติดต่อประเภทเดียวกันมักจะมองปัญหาในแง่เดียวกันและมักจะมีความเห็นเช่นเดียวกันเสมอในประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้น
     นิยามมหาชน
     มหาชนมีลักษณะการรวมตัวกันที่ทุกคนสามารถเข้าไปเกี่ยวข้องได ดังนั้น มหาชนจึงเป็นคำที่มีความหมายรวมถึงการรวมบุคคลอื่นนอกจากวงศาคณาญาติหรือมิตรสหาย ซึ่งหมายถึง ประชาชนโดยทั่วไปนั้นเอง
      หมายถึงกลุ่มคนที่กระจัดกระจายกันประเภทหนึ่ง ซึ่งต่างมีความสนใจประเด็นปัญหาอย่างเดียวกัน และมีทัศนะในเรื่องนั้นๆ ตลอดจนปัญหาและความคิดเห็นในการวิเคราะห์หรืออภิปรายประเด็นปัญหานั้นๆ แตกต่างกันออกไป การวิเคราะห์หรืออภิปรายประเด็นปัญหานั้น ๆ มีแนวทางที่จะสร้างมติรวมหมู่ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการกระทำของบางกลุ่มหรือปัจเจกบุคคลขึ้นมา
     จากนิยามดังกล่าวข้างต้น มหาชนเป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางออกไปมาก เพราะเป็นคำที่มีลักษณะใช้เป็นคุณศัพท์ในรูปที่ให้คนทั่วไปตรวจได้ ใช้ได้ หรือเข้าไปเกี่ยวข้องได้ ซึ่งบ่งถึงความเป็นของกลางสำหรับคนทั่วไป เช่น ถนนหลวง หรือทางสาธารณะ
     ในความหมายทั่วไปที่ใช้ในรูปของนามรวม อันเป็นความหมายโดยนตรงของมหาชนหมายถึงประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งอาจหมายถึงใครก็ได้ ตามปกติแล้วหมายถึงกลุ่มของคนซึ่งต่างมีความสนใจตรงกันหรือมีความสนใจร่วมกัน แต่ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นตรงกัน ไม่จำเป็นต้องมีความใกล้ชิดด้านกายภาพ ขอแต่เพียงมีอารมณ์ร่วมมกันเท่านั้น ...
     ตามปกติแล้ว คำว่า มหาชนนี้ มักจะไม่ค่อยเคร่งครัดในการใช้มากนัก ทั้งนี้ก็เนื่องจากการหมายถึงคนทั่วๆ ไปดังที่กล่าวแล้ว แต่อย่างไรก็ดี ในกรณีที่เกิดปัญหาหรือมีประเด็นปัญหาอาจจะมีความแตกต่างกันทางด้านความคิดเห็นขึ้น ซึ่งข้อนี้เองที่ทำให้มหาชนเกิดความหลากหลายขึ้นมา และความคิดเห็นอันหลากหลายเหล่านี้ มิได้ทำใ้มหาชนสิ้นสภาพไปได้เลย
     มหาชนเป็นการรวมตัวกันของคนที่ทุกคนสามารถเข้าไปใช้เข้าไปเกี่ยวข้องได้ ในฐานะที่เป็นประชาชนโดยทัั่วไป รวมตัวกันโดยไม่มีกฏเกณฑ์หรือกติกาใดๆ แต่ทุกคนมีเป้าหมายหรืออามณ์ร่วกัน แม้ในกรณีที่เกิดปัญหาอย่างนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคลที่อยู่ในมหาชนนั้น ดังนั้น การนิยามมหาชนจึงขึ้นอยู่กับการรวมตัวกันของคนที่มีเป้าหมายตรงกันหรือมีอารมณ์ร่วมกันดังกล่าว
     มติมหาชน ในการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนของคนจำนวนมากในสังคม มักจะประสบปัญหามากมายปัญหาต่าง ๆ เหลานั้นมีทั้งปัญหาที่หนักและปัญหาที่เบา บางอย่างก็สามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีบางอย่งก็ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหา
     มติหรือความคิดเห็น เป็นเรื่องหนึ่งของปัญหาในสังคม ทั้งที่มีวัฒนธรรมเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกันและในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มติหรือความคิดเห็นของคนที่อยู่ในสังคมเดียวกัน หากตรงกันและเข้ากันได้ก็ไม่มีปัญหาอะไร หากไม่ตรงกันและขัดแย้งกันก็ไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ อันอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้น ซึ่งจะก่อความยุ่งยากและสับสน และก่อให้เกิดควมขัดแย้งในสังคมขึ้นมาได้
     มติหรือความเห็นนี้ มีความหมาย 3 ประการด้วยกันคือ
     - หมายถึง ข้อพิจารณาเห็นว่าเป็นจริงจากการใช้ปัญญาความคิดประกอบ ถึงแม้จะไม่ได้อาศัยหลักฐานพิสูจน์ยืนยันได้เสมอไปก็ตาม
     - ทัศนะหรือประมาณการเกี่ยวกับปัญหาหรือประเด็นใดประเด็นหนึ่ง เช่น ทัศนะเกี่ยวกับความเหมาะสมของนโยบายวางแผนครอบครัว
     - คำแถลงของผู้ที่ยอมรับนับถือกันว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อปัญหาที่มีผู้นำมาขอปรึกษา
     ความจริงแล้ว มติหรือความคิดเห็น เป็นเรื่องที่น่าศึกษาและทำความเข้าใจ เพราะเป็นสื่ออย่างหนึ่งในการทำความเข้าใจอันดีให้เกิดขึ้นกับสังคมได้ โดยที่สังคมจะไม่มีความสับสนวุ่นวายอันใดเลย
     จากนิยามหรือความหายของมติหรือความเห็นนี้ทำให้เรามองเห็นภาพกลางของมันได้ชัดขึ้นว่ามันมีความหมายและขอบเขตการใช้ที่อาจครอบคลุมได้มากน้อยเพียงใด การที่คนอยู่ในสังคมหนึ่ง ๆ สามารถที่จะมีมติหรือความเห็นได้ในข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้ง 3 ข้อนี้เลยก็ได้
     ความจริงแล้ว มติหรือความเห็นนี้จะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่หากจะว่าไปแล้วบรรดามติหรือความเห็นนี้ส่วนใหญเป็นเรื่องที่เราสนใกันใน 4 ประการด้วยกัน คือ มติหรือความเห็นเกี่ยวกับระบบทางการเมือง การปกครอง..ประการที่สอง คำถามเกี่ยวกับการสรรหาผู้จงรักภักดีต่อกลุ่ม และการมีเอกลักษณ์ประจำกลุ่ม มติเหล่านี้จะรวมกันได้ก็โดยกลุ่มต่าง ๆ เช่นแหล่งกำเนินดทางภูมิภาค ชาติ พเผ่าพันธ์ ศาสนา สถานะทางเมืองหลวง ชนบท และชั้นชน สถานภาพทางสังคมด้วย...ประการที่สาม คือการเลือกหัวหน้าด้วยตนเอง และประการที่สี่ มีเนื้อหาในด้านมหาชนที่มีผลออกมาเด่นชัด เช่น การให้สิทธิพลเรือนออกกฏหมาย หรือการยอมรับจีนเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ หรือการห้ามส่งสินค้าไปคิวบาเป็นต้น
     จะเห็นว่ามติหรือความเห็นส่วนใหญ่จะเน้นอยู่กับบางสิงบางอย่างที่เกี่ยวกับระบบการเมือง การถามหาความสมัครใจของสมาชิกในเรื่องเอกลักษณ์ประจำกลุ่มก็ดี การเลือกัวหน้าของตนเองก็ดี และการใช้คะแนนเสียงจากมหาชนก็ดีเหล่านี้ ล้วนเป็นมติหรือควาทเห็นที่ถูกนำมาใช้กันเป็นส่วนมาก อันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ละยิ่งกว่านั้นยังเป็นมติหรือความเห็นของคนเพีียงคนเดีว หรือเป็นมติที่จำกัดอยู่ในวงแคบอีกด้วย
     สำหรับมหาชนนั้นเป็นเรื่องของคนจำนวนมาก ในขณะเดียวกันหากเกิดปัญหาใดปัญหาหนึ่งขึ้นกับมหาชนแล้ว มหาชนจะแสดงความคิดเห็นตามสติปัญญาของตน ... เป็นความคิดเห็นเฉพาะหรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญที่มีต่อประเด็นสำคัญๆ ของสังคม เมื่อว่าโดยหลักการแล้วจะขึ้นอยู่กับช้อเท็จจริง ซึ่งเป็นเรื่องของการวิเคราะห์และการใช้เหตุผล ในการแก้ปัญหาจากการพิจารณาวินินฉยของคนหมู่มากนั่นเอง
     มติมหาชนจึงเป็นเรื่องข้อตกลงของคนส่วนมากหรือคนจำนวนากที่ต่างมีความคิดเห็นหรือมติอันเป็นข้อตกลง ซึ่งเกิดมาจากมหาชนนั้นเอง จากลักษณะดังกล่าว จะเห็นว่ามติมหาชนนั้นได้มีการแยกแยะรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆออกไป และเมือพิจารณาในแง่ของความหมายแล้ว มติมหาชนก็คือ การรวบรวมมติต่างๆ ของประชาชนตามหัว้อที่มหาชนให้ความสนใจ และวิเคาะห์มติเหล่านี้โดยนเทคนิควิธีทางสถิติ ซึ่งมีการใช้การสุ่มตัวอย่งจากประชาชนผู้ตั้งคำถามอันเป็นสิ่งซึ่งถูกกำหนดอย่างพื้นๆ โดยมติมหาชน
     มติมหาชนนั้นเป็นความคิดเห็นเฉพาะ หรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญ่ที่มีต่อประเด็นสำคัญ ๆ ของสังคม โดยกลักการแล้วมติมหาชนขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นเรื่องของการวิเคราะห์และการให้เหตุผล แต่บางครั้งก็มีอารมณ์เข้าไปประกอบด้วย เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรูปพฤติกรรมผูงชน...
     "มติมหาชน" นัน เกิดจากประเด็นปัญหาที่มาจากความคิดเห็นและมีการนำเสนอต่อมหาชนเพื่อดำนินการต่อไป โดยการอภิปรายวิเคราะห์แยกแยะปัญหานั้นๆ โดยหลักเหตุผล ข้อตกลงขั้นสุดท้ายที่ได้จากการอภิปรายหรือการแก้ปัญหานั้นเป็นข้อตกลงที่มหชน่วนใหญ่หรือเสียงสวนมากของสังคมนั้น ยอมรับกัน นั้นคือ "มติมหาชน"

      การอยู่รวมกันของคนจำนวนหนึ่งซึ่งกระจัดกระจายกันอยู่ทัี่วไป โดยที่แต่ละคนต่างมีความสนใจและผลประโยชน์ร่วมกัน มีแบบฉบับการดำเนินชีวิตตามวิถีทางของตน แต่ไม่อาจรมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนได้ สามารถใช้สิ่งของหรือวัตถุบางอยางอันเป็นของกลางร่วมกันได้โดยกาปฏิบัติตนตามกติกาทางสังคมที่กำหนดไว้ ซึ่งปรากฎการณ์เช่นนี้ มักเรียกกันว่า มหาชน ซึ่งจัดเป็นรูปแบบของพฤติกรรมรวมหมู่ประเภทหนึ่ง เป็นปรากฎการณ์ทางสังคม ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของมันเอง.....
    


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)