แนวคิดทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ของสื่อมวลชน เป็นแนวทางในการศึกษาสื่อมวลชนทฤษฎีนี้จัดอยู่ในประเภททฤษฎีทางสังคมวิทยา ซึ่งอธิบายถึงกิจกรรมต่าง ๆที่เกิดขึ้นอย่างซ้ำซาก และกิจกรรมต่าง ๆเหล่านี้ถูกรวบรวมจัดขึ้นในรูปของความเป็นสถาบันด้วย เหตุผลในแง่ความจำเป็นทางสังคม สังคมนั้นถูกพิจารณาว่าเป็นระบบหนึ่งที่ส่วนต่าง ๆหรือระบบย่อยมีความเหี่ยวพันติดต่อถึงกัน ซึ่งสื่อมวลชนเป็นส่วนหนึ่งของระบบด้วย ระบบย่อยๆ แต่ละระบบเหล่านี้จะช่วยกันผดุงรักษาระบบใหญ่เอาไว้ ในทฤษฎีสื่อสารมวลชนถูกเน้นว่าเป็นตัวเชื่อม เพื่อมำให้เกิดการรวมตัวกันเข้าของทุกส่วนในสังคม เพื่อความเป็นหนึ่งอันเดียวกันของสังคม สื่อมวลชนพยายามที่จะสนองต่อความต้องการของสมาชิกในสังคม ทั้งที่เป็นรายบุคคลและที่เป็นกลุ่มก้อนอย่างสมำ่เสมอ ผลก็คือสื่อมวลชนได้ทำประโยชน์ให้แก่สังคมโดยไม่ได้ตั้งใจ ในแง่ที่สามารถรวมสมาชิกทั้งหมดเข้าไว้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังนั้น ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่จึงไม่ต้องยึดกับฐานคติที่เกี่ยวกับว่า สื่อมวลชนเป็นผู้ชี้นำทางอุดมการณ์ที่ถูกกำหนดมาจากสถาบันอื่นๆ ในสังคม แต่สื่อมวลชนเป็นทั้งผู้ชี้นำและผู้แก้ไขด้วยตัวของสื่อมวลชนเอง ภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดมาจากสถาบันที่ควบคุมสื่อมวลชน
การสื่อสารมวลชน คือ การสื่อสารที่เกี่ยงข้องกับสื่อพิมพ์ หรือสื่ิออเล็กทรอนิกส์ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง หรือ วิทยุโทรทัศน์ เพื่อทการสื่อสารกับคนจำนวนมาก ซึ่งอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ หรือทั่วโลก ผู้รับสารของการส่อสารมวลชน อาจเป็นหลุ่มคนที่มีจำนวนมากน้อยแตกต่างกันไป หรืออาจจะเป็นคนเพียงคนเดียวก็ได ปัจจัยสำคัญที่แตกต่างกันในสื่อการสื่อสารมวลขน คือ ภาลักษณ์ ภาษาการพูด ภาษาเขียน เสียงประกอบ ดนตรี สี แสง และเทคนิคต่างๆ ที่ถูกใช้ในกาสือสาร เนื้อหา และในผลที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะ
ปัจจุบัน สื่อสารมวลชนมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของเรามาก เราใช้เวลามากเท่าใดในการรายการโทรทัศน์ ฟังวิทยุ อ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯ สินค้าทั้งหลายที่เราซื้อ ซึ่งก็ได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งที่เราเห็น สิ่งที่เราได้ยิน หรือสิ่งที่ได้อ่านจากสื่อมวลชน
สื่อมวลชนเป็นแหล่งที่สำคัญของข่าวสารและความบันเทิงสำหรับเรา ทุกวันนี้เราอยู่โดยที่มีสื่อสารมวลชนล้อมรอบอยู่ การทำความเข้าใจสื่อมวลชนว่ามีผลกระทบต่อการสื่อสารอย่างไรเป็นทสิ่งที่สำคัญสำหรับเราทุกคน
ชิรลีย์ ไบย์จิ อธิบายถึงการสื่อสารมวลชนว่า คือ การสื่อสารจากคนๆ หนึ่ง หรือคนกลุ่มหนึ่ง ผ่านเครื่องมือถ่ายทอดข่าวสาร (สื่อกลาง)ไปยังผู้รับารกลุ่มใหญ่
Charles Wright กล่าวถึง "คุณลักษณะที่สำคัญของการสื่อสารมวลชน" ซึ่งขึ้นกับปัจจัยที่สำคัญหลายประการ ดังนี้
- ลักษณะของผู้่งสารมวลชน มีลักษณะการดำเนินงาน ในรูปแบบของการเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้น ผู้ส่งสาร จึงไม่ได้เป็นใครคนใดคนหนึ่งที่ทำงานเพียงคนเดียว แต่ผู้ส่งสารเป็นผู้ทำงานในองค์กรขนาดใหญ่ มีฌครงสร้างองค์กรที่ซับซ้อน มีค่าใช้จ่ายสูงมาก เช่น องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย...
- ลักษณะของผู้รับสารมวลชน
ผู้รับสารมีจำนวนมา ไม่สามารถกำหนดได้ว่า จำนวนผู้รับสารมจำนวนเท่าไร แต่มีหลักเกณฑ์ที่นำมาใช้ตัดสินว่า จำนวนผู้รับสารมีลักษณะที่จะเป็นผู้รับสารมวลชนได้ ถ้าผู้รับสรจำนวนหนึ่งมีส่วนในกิจกรรมการสื่อสารในช่วงเวลาหนึ่ง โดยที่ไม่สามารถมีปฏิกิริยาโต้ตอบได้ในทันที ก็ถือว่าเป็นลักษณะของผู้รับสารมวลชน
ผู้รับสารมีลักษณะทางสังคมที่แตกต่างกัน
ผู้สื่อสารและผู้รับสารไม่รู้จักกัน
- ลักษณะของประสบการณ์ภูมิหลังของการสื่อสารมวลชน มีลักษณะสำคัญดังนี้
มีความเกี่ยวข้องกับสาธารณชน ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว หรือเกี่ยวกับใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ เนื้อหาของสารเป็นเรื่อสำหรับสาธารณชน
มีความเร่งด่วยน สารในการสื่อสารมวลชน จะต้องส่งไปยังผู้รับสารจำนวนมากในเวลาพร้อมกัน
ไม่ยั้งยืนถาวร สารในการสื่อสารมวลชน มีลักษณะที่ไม่ยั่งยืน เพราะสารในการสื่อสารมวลชนจะต้องผลิตขึ้นใหม่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันต่อสถานกาณ์ มีความใหม่สดเสมอ
กระบวนการสื่อสารมวลขนแนวเส้นตรง สามารถให้ข้อคิดภายในขอบเขตกว้าง ๆ ของแบบจำลอง ซึ่งช่วยอธิบายการสื่อสารแบบเผชิญหน้ากัน แต่ละขั้นตอนมีความซับซ้อนมาก แต่ก็สามารถมองเห็นถึงความซับซ้อนได้ การสื่อสารแบบเผชิญหน้าขั้นพ้นฐาน และขั้นตอนของการสื่อสารมวลชนมีความเหมือนกันมากกังนี้
1. การสื่อสารมวลชน เริ่มต้นที่ผู้ส่งสารมืออาชีพ เลือกสาร โดยคำนึงถึงธรรมชาิตและจุดมุ่งหมายของสาร โดยคำนึงถึงธรรมชาิตและจุดมุ่งหมายของสารที่จะส่งไปยังผู้รับสาร โดยใช้สื่อใดสื่อหนึ่งโดยเฉพาะ สารที่ส่งอาจเป็ฯรายงานข่าว การโฆษณา ภาพยนตร์ หรืออาจเป็นการนำเสนอทางสื่ออื่นด้วย
2. การเข้ารหัสความหมายของสาร โดยผู้ส่งสารมืออาชีพ เช่นทีมงานข่าว บริษัทภาพยนตร์ ทีมงานของนิตยสารฯ กระบวนการเข้ารหัสสาร รวมถึงการเลือกสัญลักษณ์ ไม่เฉพาะแต่วัจนและอัจนสัญลักษณ์ เท่านั้ แต่รวมถึงผลที่เกิดขึ้นโดยเกิดกับสื่อด้วย เช่น เสียง รูปภาพ สี เป็นต้น
3. สารถูกเผยแพร่ โดยผ่่านการใช้เทคนิคพิเศษของสื่อภาพยนตร์ ส่ิงพิมพ์ หรือการกระจายเสียง ไปอย่างกว้างไกล เท่าที่สามารถจะทำได้
4. ผู้รับสารมีจำนวนมากและมีความหลากหลาย ในการรับสารและเข้าใจสาร ในช่องทางได้ที่เลือก
5. ผู้รับสารแต่ละบุคคล แปลความหมายของสาร โดยขึ้นอยู่กับประสบการณ์ภูมิหลังของผู้รับสารแต่ละคนด้วย ซึ่งอย่างน้อยควรจะเหมือนๆ กันกับผู้ส่งสาร เพื่อจะได้เข้าใจความหมายของสารได้ตรงกัน
6.ผลของประสบการณ์ในการแปลความหมายเหล่านี้ ผู้รับสารจะหด้รับอิทธิพลในทางใดทางหนึ่ง ในความรู้สึก ความคิด หรือการกระทำ และสิ่งนี้คือ การสื่อสารทำให้มีผลบางอย่าง
ทั้ง 6 ขั้นตอนของแบบจำลองของการสื่อสารมวลชนนี้ ไม่เพียงได้แสดงให้เห็นถึงลักษณะพื้นฐานของสิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสารมวลชน แต่ยังเป็นกรอบการทำงานที่เหมาะสมสำหรับการให้คำจำกัดความอย่างรอบคอบ หลังจากอภิปรายแต่ละขั้นตอยอย่างละเอียด เราจะสามารถกำหนดคำจำกัดความที่ถูกต้องของการสื่อสารมวลชนได้
ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ของการสื่อสารมวลชน
Harold Lasswell & Charles Wright เป็นผู้พิจารณาถึงหน้าที่และบทบาทของสื่อมวลชนในสังคมอย่างจริงจัง
ลาสเวลล์ กำหนดหน้าที่ของสื่อมวลชนไว้ 3 ประการ คือ
- การรวบรวมและกระจายข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ในสภาพแวดล้อม ทั้งที่เกิดขึ้นภายในสังคมและภายนอกสังคม ในการปฏิบัติหน้าที่นี้ สื่อมวลชนจะเตือนในเราทราบถึงอันตรายที่คาดว่าจะมี รวมถึงการให้ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อเศรษฐกิจ สังคม และประชาชนทั่วไป
- การประสานสัมพันธ์ส่วนต่าง ๆของสังคมให้รวมกันอยู่ได้ตามสภาพแวดล้อม คือการตีความข้อมูลซึ่งถูกเสนอเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม และการแนะนำว่าควรปฏิบัติต่อเหตุการณ์ต่าง ๆที่เกิดขึ้นอย่างไร หน้าที่นี้ถูกมองว่าเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ ชักชวนให้ปฏิบัติ และธำรงไว้ซึ่งความคิดเห็นที่เป็นเอกฉันท์
- การถ่ายทอดมรดกทางสังคมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนรุ่นต่อไป คือ การถ่ายทอดและปลูกฝังค่านิยมความเชื่อ บรรทัดฐานทางสังคม ความรู้ และส่วนประกอบอื่นๆ ทางด้านวัฒนธรรมสู่สมาชิกในสังคม
ต่อมา Charles Wright ได้เพิ่มหน้าที่ประการที่ 4 ขึ้นมาอีกหน้าที่หนึ่งคือ
- การให้ความบันเทิง คือ การสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินให้แก่สมาชิกในสังคม เพื่อเป็นการพักผ่อน และลดความตึงเครียดจากสถานการณ์ต่างๆ ที่แต่ละคนประสบอยู่
แนวคิดทฤษฎีผู้กรองสาร กระบวนการสื่อสารเป็นเรื่องของการถ่ายทอดข่าวสารที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล หรือบุคคลหนึ่งกับบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งการถ่ายทอดข่าวสารนี้ อาจเกิดขึ้นโดยตรงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง หรืออาจเกิดขึ้นโดยทางอ้อมจากจุดหนึ่งผ่านจุดอื่นก่อนที่จะถึงผู้รับสาร
การสื่อข่าวสารในสังคม ทั้งการส่อสารระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม หรือการสื่อข่าวสารในการสื่อสารมวลชน ต่างก็มีลักษณะที่การไหลของข่าสารมีการผ่านตัวกลาง จากผู้ส่งสารคนหนึ่งไปยังผู้ส่งสารอีกคนหนึ่ง หรือจากผู้รับสารคนหนึ่งไปยังผู้รับสรคนอื่นๆ ซึ่งการไหลของข่าวสารที่ต้องผ่านหลายขั้นตอนนี้ อาจทำให้ข่าวสารมีการแต่เติม ตัดทอน หรืออาจบิดเบืนได้ เคิร์ท เลวิน ได้อธิบายให้เห็นถึงกระบวนการที่ข่าวสารผ่านตัวกลางโดยชี้ให้เห็นว่า ข่าวสารจะผ่านประตู ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ คัดเลือก ตีความสาร ก่อนที่จะส่งผ่านไปยังผู้รับสาร ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ คัดเลือก ตีความสาร เรียกว่า ผู้เฝ้าประตู ซึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กร
วิลเบอร์ ชแรมม์ กล่าวว่า ผู้กรองสารเป็นผู้มีสิทธิในการเปิดเผย หรือปิดบังข่าวสารที่จะส่งผ่่านไปยังประชาชน ผู้กรองสาร เป็นผู้มีสิทธิในการเปิดเผย หรือปิดบังข่าวสารที่จะส่งผ่านไปยังประชาชน ผู้กรองสารจึงเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่งสารขององค์การทางสื่อสารมวลชน เป็นบุคคลที่ควบคุมการไหลของข่าวสาร และตัดสินว่า ข่าวอะไรควรจะส่งต่อไป ข่าวอะไรควรจะตัดออกไป ทั้งหมด บุคคลดังกล่าวได้แก่ นักข่าว บรรณาธิการ ผู้เขียน ผู้พิมพ์ นักวิจารณ์ เป็นต้น
วิลเบอร์ ชแรมม์ อธิบายว่า สื่อมวลชนปฏิบติหน้าที่ไปตามรูปแบบและสีสันของโครงสร้างทางสังคมและการเมืองถ้าจะดูความแตกต่างระหว่างระบบสื่อมวลชนได้อย่างครบถ้วน จึงต้องดูที่ระบบสังคมที่สื่อมวลชนปฏิบัติหน้าที่ ในการมองความสัมพันะ์ที่แท้จริงของระบบสังคมกับสื่อมวลชน จำเป็นต้องดูถึงความเชื่อและสมมติฐานพื้นฐานของสังคม ได้แก่ ลักษณะของคน ลักษณะของสังคม ลักษณะของรัฐ ความสัมพันะ์ของคนกับรัฐและลักษณะของความรู้กับความจริง การจำแนกระบบของสื่อมวลชนในโลกนี้ สามารถจำแนกตามเหตุผลหรือทฤษฎีทางปรัชญาและการเมืองได้เป็น 4 ทฤษฎีตามวิวัฒนาการของระบบสื่อมวลชนดังนี้
1.ทฤษฎีอำนาจนิยม
2.ทฤษฎีเสรีนิยม
3.ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
4.ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
- ทฤษฎีอำนาจนิยม ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีนี้เก่าแก่ที่สุด เกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศอำนาจนิยมของช่วงท้ายในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา หลังกำเนิดของการประดิษฐ์การพิมพ์ สังคมแบบนี้ความจริงไม่ได้ถูกกำหนดโยมวลชน แต่ถูกกำหนดโดยคนที่อยู่ในตำแหน่งที่จะนำและสั่งประชาชน ความจริงจึงถูกจัดวางอยู่ใกลืศูนย์กลางของอำนาจ การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนจึงเป็นการกระทำตามคำสั่งจากเบื้องบนสู่เเบื้องล่าง สื่อมวลชนใช้เพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบถึงความคิดของผู้ปกครองที่ประชาชนควรจะรู้ และนโยบายของผู้ปกครองที่ประชาชนควรจะสนับสนุน
ทฤษฎีอำนาจนิยมนี้ สื่อมวลชนจะเป้ฯผู้รับใช้รัฐหรือผู้ปกครอง และรับผิดชอบเหนื้อหาของสื่อมวลชนต่อผู้มีอำนาจในรัฐบาลที่บริหารประเทศ ทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับและนำมาใช้ปฏิบัตกัอย่างแพร่หลายในศตวรรษที่ 16 และ 17
- ทฤษฎีเสรีนิยม เกิดขึ้นหลังทฤษฎีอำนาจนิยม ประเทศต่างๆ มีความเจริญมากขึ้นเกิดเมืองใหญ่ๆ ขึ้นมากมาย แนวคิดทางการเมืองเปลี่ยนแปลงจาสมบูรณาญามาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความเป็นอิสระทางศาสนา การขยายการค้ามีการท่องเี่ยวที่เป็นระบบเสรี ยอมรับระบบเศรษฐกิจแบบเสรี และยอมรับปรัชญาในยุคของการรู้แจ้ง ทฤษฎีนี้มีมุมมองแตกต่างจาอำนาจนิยม โดยให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์ สามารถพึงตนเองได้ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น มนุาญืเป็นนที่มีเหตุผล สามารถมองเห้ฯความแตกต่างระหว่างความจริง และความผิด สามารถตัดสินใจเลือกทางทีดีกับทางเลือกที่เลว เมื่อต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ขัดแย้งหรือต้องเลือกทางเลือกต่างๆ ความจริงไม่ได้ถูกกำหนดโดยผู้มีอำนาจ
ตามทฤษฎีนี้สื่อมวลชนไม่ได้เป็นเครื่องมือของรัฐบาลแต่เป็นเครื่องมือในการควบคุมจากรัฐบาล จึงสามารถทำให้ความจริงปรกกฎขึ้นความคิดทุกความคิดจะต้องได้รับการับฟัง จะต้องมี "ตลาดเสรี" ของความคิดและข่าวสาร คนส่วนน้อย และคนส่วนมาก คนอ่อนแด และคนแข็งแรงจะต้องมีโอกาสในการเข้าถึงสื่อมวลชนได้เท่าเทียมกัน
จริยธรรมของสื่อมวลชน ตามพจนานุกรมฉบับราชยัณฑิตสถาน หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบีติของสื่อมวลชน
จริยธรรมสำหรับสื่อสารมวชน คือ หลักประพฤติปฏิบัติสำหรับนักสื่อสารมวลชนหรือธรรมะที่บุคคลควรประพฤติปฏิบัติ จริยธรรมจึงเป้นคุณธรรมของผู้ประกอบอาชีพด้านสื่อสารมวลชน
จรรยาบรรณสำหรับสื่อสารมวลชน คือ หลักจริยธรรมซึ่งได้ตราขึ้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยกลุ่มบุคคลที่ประกอบอาชีพ เพื่อให้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติที่ดีงาน และให้มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพของตน
หลักจริยธรรมที่ได้ตราขึ้นไว้ไม่ใช่กฎหมาย ความประพฤติบางอยางไม่ผิดกฎหมายแต่ผิดจริยธรรมหรือไร้จรรยาบรรณ จรรยาบรรณจะให้หลักเกณฑ์ซึ่งชี้แนะให้ผู้ประกอบอาชีพสื่อสารมวลชนสามารถตัดสินใจได้ในเรื่องที่เกี่ยกับจริยธรรม เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการตัดสินว่า การกระทำใดนั้นผิดหรือถูก ดีหรือเลว มีความรับผิดชอบ
จรรยบรรณ หรือจริยธรรม จึงเป็นเรื่องของความสมัครใจในการที่จะปฏิบัติตามหรือไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ การมีจริยธรรมหรือไม่ จะก่อให้เกิดผลแก่ตัวสื่อมวลชนเองผู้ใดปฏิบัติตามจรรยาบรรณ การมีจริยธรรมหรือไม่ จะก่อให้เกิดผลแก่ตัวสื่อมวลชนเองผู้ใดปฏิบัติตามจรรยาบรรณจะได้รับความเชื่อถือ เลื่อมใส และยกย่อง
จรรยาบรรณของสื่อมวลชน มีเจตนารมณ์เพื่อควบคุมให้สื่อมวลชนทำงานอย่างเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริง ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่และยึดถือประโยชน์ของสาธารณชนเป็นใหญ่ ดังจะเห็นได้จากข้อกำหนดแห่งจรรยาบรรณของสื่อมวลขนประเภทต่างๆ ที่ตราไว้อย่างละเอียดซึ่งหากสื่อมวลชนสามารถรักษาจริยธรรมของตนคือการปฏิบัติตามหลักแห่งจรรยบรรณได้อย่างที่แล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น