ภัยพิบัติ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากพบอยากเจอ ภัยพิบัติสามารถเกิดขึ้นได้จาก ธรรมชาติ
ภัยพิบัติจากโรคระบาด และภัยพิบัติจากน้ำมือมนุษย์ จากสถิติภัยพิบัติทางธรรมชาติของไทยในรอบ 20
ปีอุกทกภัยสร้างความเสียหายมากที่สุด
โดยเฉพาะมหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นเมือปี 2544
แต่ภัยพิบัติที่คร่าชีวิตและมีผุ้บาดเจ็บมากที่สุดคือภัยจากการคมนาคมและขนส่ง
ขณะเดียวกัน ในพื้นที่ภาคเหนือมีปัญหาไฟป่าที่สร้างปัญหาหมอกควัน
ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงฤดู๔แล้วเป็นประจำทุกและนับจากปี 2550
ก็ทวีความรุนแรงมากยิงึ้น จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ นายแพทย์พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช
ผู้อำนายการศูนย์วิจัยและจัดการคุณาพอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า
ศูนย์ทะเบียนมะเร็งเชียงใหม่ปี 2550 พบว่า “คนเชียงใหม่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคนไทยทั่งไปถึงเกือบ
7 เท่าตัวและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
อย่างไรก็ตาม
แม้ถัยธรรมชาติจะเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเอง
แต่บ่อยครั้งพบว่าการกระทำของมนุษย์กลับกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ยิ่ง “ซ้ำเติม”
ให้ภัยธรรมชาติรุนแรงและเสียหายมากขึ้น
เห็นได้ชัดจากเหตุกาณ์ดินโคลนและซุงถล่มหลังผนตกหนักที่บ้านกะทูนเหนือ อ.พิปูน
จ.นครศรีธรรมราช ทั้งสองพื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบ
ทำให้เมีผุ้บาดเจ็บและเสียชิวิตประมาณ 230 คน บ้านเรือนเสียหายประมาณ 1,500หลัง
พื้นที่การเกษตณเสียหาย 6,150 ไร่ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,000ล้านบาท
หรือเหตุการณ์ฝนตกหนักเมือ
10-11 สิงหาคม 2544 ที่ยบ้านน้ำก้อ
อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์
จนเกิดดินถล่มน้ำป่าบนภูเขาสูงไหลทะลักเข้าใส่หมู่บ้านที่อยู่ในรัศมีทางน้ำหอบเอาทั้งดินโคลนและซากต้นไม่หลากลงมาพร้อมกระแสน้ำรุนแรง
ซัดเอาบ้านเรือนจำนวนมากหายไปในพริบตากลางดึก และคร่ชีวิตชาวย้านไปอีก 147 คน
ทั้งสองเหตุการณ์ล้วนเป็นผลมาจากการลักลอบตัดไม่ทำลายป่า
เมื่อเกิดฝนตกหลักอย่างต่อเนื่อง หน้าดินจึงอุ้มน้ำไม่ไหวและพังทลาย
จนกลายเป็ฯโศกนาฎกรรมที่สร้างความเสียหายครั้งใหญ่
อีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สะท้อพลังแห่งการ “ซ้ำเติม”ให้ภัยธรรมชาติในบ้านของเรารุนแรงมากขึ้นนั้นคือ
การก่อสร้างโครงการพัฒนาต่าง ที่กีดขวางเส้นทางเดินของน้ำ
จนนำไปสู่เหตุอุทกภัยครั้งร้ายแรงใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
จากเหตุการณ์ผนตกหนักระหว่างวันที่ 21 – 23 พฤศจิการยน 2543
เส้นทางระบายน้ำที่เคยผ่านคลองอู่ตะเภา ผ่านเขต อ.หากใหญ่ ก่อนไหลลงสุ่อ่าวไทยที่บริเวณทะเลสาบสงขลา
ถูกแทนที่ด้วยถนนลพบุรีราเมศวร์ที่สร้างเร็จเมือปี 2533
ถนนสายสนามบิน – ควนลัง และทางรถไฟ
อีทั้งคูคลองก็ตื้อเขินพื้นที่ลุ่มแอ้งกระทะของหาดใหญ่จึงจมอยู่ใต้น้ำทันที
สร้างความเสียหายมากกว่า 10,000 ล้านบาททางการประกาศผุ้เสียชีวิต 35
คนแต่ข้อมูลไม่เป็นทางการสูงถึง 233 คน ไม่รวมชาวต่างประเทศ
สึนามิ..
คนไทยส่วนใหญ่รู้สึกว่าเหตุกาณ์แผ่นดินไหวเป็นเรื่องไกลตัว
แม้พงศาวดารจะเคยจารึกเหตุแผ่นดินไหว เช่น ณ เมืองโยนกนครหลายครั้ง จนทำให้เวียงล่มลงกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่
ในปีพ.ศ. 1558
พงศวดารน่านยังบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ในเขตดินแดนล้านนาจำทำให้ยอดพระธาตุและวิหารหลฃายหลังชำรุดหักพังลงมาในปี 2344 หรือในบันทึกของหมอบรัดเลย์
ก็เคยกล่าวถึงแผ่นดินไหวที่รู้สึกสั่นสะเทือนในกรุงเทพฯทั้งที่จุดศูนย์กลางอยู่ในพม่า
ด้วยความที่รู้สึกว่าแผ่นดินไหวเป็นเรื่องไกลตัว
และยิ่งไม่มีความรู้ว่าแผ่นดินไหวในที่ต่าง
ๆก่อให้เกิดอะไรได้บ้างเมื่อเหตุการณ์แผ่นไหวขนาด 9.3 ริกเตอร์
ที่ระดับความลึกจากพื้นท้องทะเล 28.6 กิโลเมตร
ศูนย์กลางอยู่ในทะเลนอกชายฝังด้านตะวนตกของตอนเหนือเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อ 26 ธันวาคม 2547 ส่งพลังงานมหาศาลเทียบเท่าระเยิดปรมฯูที่เมืองฮิโรชิมา 23,000 ลูก ก่อให้เกิดการสั่นไหวนรุนแรงของแผ่นดินและเกิดสึนามิตามมาในมหาสมุทรอินเดียเข้าถล่มชายฝั่ยประเทศต่างๆ ที่อยู่โดยรอบ ได้แก่ อินโดนีเซีย ศรีลังกา อินเดีย ไทย โซมาเลีย มัลดีฟส์ พม่า แทนซาเนีย บังคลาเทศ และเคนยา ประเทศไทย โดยเฉพาะพื้อนที่ 6 จังหวัดของชายฝั่งอันดามันคื อภูเก็ต พงงา ระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล จึงเผชิญหน้ากับคลื่อยักษ์ สึนามิครั้งรุนแรงที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในทะเลอันดามัน โดยปราศจากการป้องกันหรือรับมือใดๆ
ตัวเลขจากสำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุว่า มีผุ้เสียชีวิต 5,401 คน บาดเจ็บ 11,775 คน สูญหาย 2,921 คน มูลค่าความเสียหายรวม 44,491 ล้านบาท ...
คลืนยักษ์สึนามิในปี 2547 ถือเป็นธรณีพิบัติครั้งรุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่ คร่ชีวิตผุ้คนใน 14 ประเทศ รวมมากกว่า 2.3 แสนคน และสูญเสียกว่าสี่หมื่นคน ประเทศที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดตาลำดับ คือ อินโดนีเซีย ศรีลังกา อินเดีย และไทย...
หลังจากเหตุการณ์นี้ทำให้ประเทศไทยเริ่มหันมาเตรียมพร้อมเพื่อรับมอกับภัยธรรมชาติอย่างคลื่นยักษ์สึนามิในหลายระดับ โดยเฉพาะการสร้างระบบเตือนภัยทั้งระดับชาติและท้องถิ่น รวมทั้งการให้ความรู้แก่ประชาชน พร้อมกับมีการซักซ้อมแผนการอพยพเพื่อลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง
มหาอุทกภัย 2554
เริ่มจากฝนที่ตกหนักและเร็วกว่าปกติ รวมทั้งพายุหลายลุก ประเดิมด้วยพายุโซนร้อนในช่วงปลายเดืนอมิถุนายน ตามมาด้วยพรยุโซนร้อน..และพายุไต้ฝุ่นรวม พายุ ถ ลูกโหมกระหน่ำไล่เลียกัน ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ิกฤติกิมหาอุทกภัย...
น้ำที่ไหลบ่าเข้าท่วมพื้อที่ถาคเหนือ แล้วค่อย ๆ รุกไล่งสูพื้อภาคกลาง การรับมือของรัฐบาลล้มเหลว ปริมาณรนำ้มากเกินกว่าจะรับมือไหว โดยเฉาพะเมื่อเขื่อนใหญ่อย่า่งเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนป่าศํกฯ กักเก็ฐน้ำว้มากเป้นปวัติการณ์ จนต้องระบายน้ำออกจากเขื่อนทันที ..
มวลน้ำล้นจากเขื่อนทำให้พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาสำลักน้ำอย่างสาหัสสากรรจ์ และหลังจากพนังกั้นน้ำแตก ทำให้พื้อนที่เมืองนครสวรรค์จมอยุ่ใต้บาดาล ซึ่งไม่ต่างกับการนับถอยหลังแห่งความหายนะของชาวเมืองหลวง
กรุงเทพตกอยู่ในอาการโกลาหลกับการเตรียมรับมือน้ำ..น้ำมาไวดังไฟลามทุ่งกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียงพื้อนที่สูงอย่างทางด้่วนและสะพานลอยกลายสภาพเป็นลานจอดรถ ไม่เหลือเส้นทางสำหรับการอพยพ คำสังอพยพถูกประกาศครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ผุ้นส่วนหนึ่งก็ไม่ยอมทิ้งบ้านแม้จะจมอยู่ใต้น้ำเหลือเพียงชั้นบนหรือหลังคา เพระเกรงว่าทรัพย์สินจะสูญหาย อาหารและน้ำดือ่มขาดแคลน ไฟฟ้า น้ำประปาถูกตัดขาด ถุงยังชีพจำนวนมหาศาลถูกแจกจ่าย แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ 1,085 รายทั้งจมน้ำและถูกไฟฟ้าช๊อต..
เหตุการณ์สิ้นสุดลงเมือก้าวเข้าสู่เดือนมกราคม ปีถัดมา ท่ามกลางขยะอกงโตกลางกรุ..และตัวเลขความเสียหายที่สูงลิบลิ่ว ธนาคารโลกประเมินความเสียหายจากมหาอุทกภัยครั้งนี้สูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท ต้องใช้เงินฟืนฟูเศรษฐกิจสูงถึึงกว่า 755,000 ล้านบาท ประชาชนได้รับผลกระทบมากกว่า 13.5 ล้านคน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 150 ล้านไร่ ใน 65 จังหวัด 26 นิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งจมน้ำ ความเสียหายของภาคอุตสาหกรรมทั้งที่อยุ่ในและนอกนิคมอุตสาหกรรม 474,750 ล้านบาทและยังส่งผลกระทบต่อกิจกราเอสเอ็มอีจำนวน 285,000 ราย ภาคการเกษตรได้รับความเสียหาย 2.7 หมื่นล้าน โครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะในส่ววนการคมนาคมอีกว่า 2.2 หมื่นล้าน...