วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557

change(II)


       เศรษฐกิจไทย ช่วงต้นทศวรรษ 2500 ประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชิาตฉบับที่ 1 คำว่า "พัฒนา"และ "ความเจริญ" ก็ติดปากคนไทย เศรษฐกิจไทยยุคจอมพล รวม 13 ปี อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจาก ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าไปสู่การผลิตเพื่อส่งออก แลสภาพเศรษฐกิจโดยรวมถูกผูกขาดในมือกลุ่มตระกูลไม่กี่กลุ่มโดยเฉพาะนายทุนธนาคารทีถูกนักวิชาการ และสื่อมวลชน ให้สมญาเสื่อนอนกิน โดยใช้แบ่งค์ เป็นปลาหมึกยกษ์ตลัดหนวดเกี่ยวพันธุรกิจไว้ในมือมากมาย อาจกล่าวได้ว่าช่วงเวลานั้น อำนาจทางการเมืองอยู่ในท็อปบู๊ต อำนาจเศรษฐกิจอยู่ในมือนายแบงค์

        กระบวนการในการที่จะนำสังคมไปสู่ความกินดีอยุ่ดีทางเศรษฐกิจของสังคมนั้น W"W" Rostow กล่าวว่าต้องผ่านขั้นตอนคือ
              ภาวะเศรษฐกิจทีมีระดับของความสามารถในการผลิตต่ำ การทำกินบนผืนแผ่นดิน หรือการเกษตร ใช้เครื่องมือแบบง่ายๆ
              เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในระดับหนึ่ง มีการนำวิทยาการสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะแรงผลักจากการรุกรานของประเทศที่ก้านหน้ากว่า แลละแ่กให้เกิลัทะิชาตินิยมอันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางการเมืองและสังคม ตลอดจนค่านิยมบางประการ
               ช่วงที่อุปสรรคต่างๆที่กีดขวางการพัฒนาได้ถูกขจัดไปเป็นส่วนใหญ่เป็นผลให้เกศรษฐกิจของสังคมก้าวหน้าไปเป็นอย่างมาก วิทยาการสมัยใหม่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญช่วยให้การผลิตเป้นอย่างมีประสิทธิภาพ
               ขั้นตอนวิทยาการสมัยใหม่ถุกนำมาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตโดยทั่วไป ความสามารถในการใช้เครื่องจักรกลแทนแรงงานคนอยู่ในระดับสูง
                และขั้นของความกินดีอยู่ดีของประชาชน รายได้ของประชาชนจะอยุ่ในระดบที่สุงเกินกว่าระดับเพื่อยังชีพ
       การที่สังคมจะพัฒนาไปยังขั้นตอนการกินดีอยู่ดีได้นั้น สังคมย่อมที่จะประสบปัญหาที่แตกต่างกันไปรอสโทว์ จึงสเสอนทางเลือก 3 ปรกรดังนี้
- สร้างเสริมอำนาจและอิทธิพลของประเทศให้เป็นที่เกรงกลังของประเทศอื่น
- ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีปะสิทธิภาพเพื่อให้สวัสดิการแก่สมาชิกของสังคมอย่างเป็นธรรมโดยถ้วนหน้า
-  เพิ่มระดับของการบริโภคให้สุงเกินกว่าระดับความจำเป็ฯ โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถอุปโภคบริโภคได้โดยไม่จำกัด
     จากทางเลือกทั้งสามทาง สังเกตุห้ว่าทางแรกเป็นแนวปฏิบัติของสังคมเผด็จการ ทางที่สองเป็นของสังคมนิยม และทางเลือกที่สามเป็นแนวปฏิบัติของเสรีนิยมนั้นเอง
      ผลกระทบต่อโครงสร้างของสังคมในหลายด้านด้วยกัน ดังนี้
- ความซับซ้อนทางโครงสร้างทางสังคมที่เพ่ิมมากขึ้น เช่น เกิดระบบอุตสาหกรรมโรงงานขึ้นแทนที่อุตวาหกรรมในครัวเรือน มีระบบแบ่งงานกันทำ ระบบการศึกษาอยู่ในลักษณะที่เป็นทางการยิ่งขึ้น โรงเรียนเข้ามามีบทบาท
- กิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบเก่าๆ จะเปลี่ยนแปลงไป มีระบบเศรษฐกิจแบบตลาด เกิดขึ้น ระบบเงินตราจะเป็นตัวบังคับ และจะตัวทำลายระบบเก่าๆทีเป็นสถาบันที่ควบคุมกิจกรรมการผลิตในอดีต
- ครอบครัวจะทำหน้าที่เฉพาะอย่างมากขึ้น  ครอบครัวไม่ได้เป็นหน่วยในทางเศรษฐกิจอีกต่อไป ครอบครัวจะเร่ิมออกจากบ้านเพื่อหางานทำในตลาดแรงงาน
      กิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบใหม่จะเป็นตัวสร้างค่านิยมและปทัสถานใหม่ๆ ระบบอาวุโสเร่ิมหมกความสำคัญ คัดเลือกคนจากความสามารถ
      การเปลี่ยนแปลงนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาได้ดังนี้
- กระบวนการสร้างความแตกต่างซับซ้อน จะอ่กให้เกิดกิจกรรมใหม่ๆ มีค่านิยมปทัสถานแบบใหม่ๆ ซึ่งอาจให้เกิดความขัดแย้งกับค่านิยม และปทัสถานในแบบเก่าๆ
- ความไม่เท่าเที่ยมกันในการเปลียนโครงสร้าง และการไม่กลมกลืนกันของการเปลี่ยนแปลงเองก็เป็นสาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่ง
     การศึกษา จะเป้นตัวแปรที่สำคัญตัวหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสัคมไปสู่ภาวะการณ์ที่ทันสมัย การเปลียนแปลงทางสังคมเพื่อให้ไปสู่ภาวะการณ์ที่มุ่งหมายอย่างสัมฤทธิผลนั้น จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงการศึกษาอย่างสอดคล้องกันไปด้วย
      เราจะเห็นได้ว่าทั้งกระบวนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการศึกษซึ่งถือได้ว่าเป็นการเปลี่นแปลงส่วนหนึ่งของสังคมนั้นมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะในทางการเมืองด้วยเช่นกัน กระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นเป็ฯกระบวนการหนึ่งที่จะนำความเป็นทันสมัยมาสู่สังคม มีการสร้างระบบอุตสาหกรรม พัฒนาเทคโนโลยีอย่างกว้างขวาง ในขณะที่ประชากรเองก็จะอพยพเข้ามาหางานทำในแหล่งอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น เมืองจึงเกิดขึ้นตามมา
      เมื่อมีเมือง มีการอุตสาหกรรมก็จะเป็นผลให้รัฐจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้กับเยาชนที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่รอดในสังคมได้
      ผลที่ตามมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษาก็คือความคาดหวังที่ประชาชนต้องการจะให้รัฐสนองตอบก็จะมีเพ่ิมมากขึ้นเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่รอดในสังคมได้
      ผลที่ตามมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษาก็คือความคาดหวังที่ประชาชนต้องการจะให้รัฐสนองตอบก็จะมีเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะความคิดความเชื่อแบบดั้งเดิมที่เคยมองว่าสภาพแร้นแค้น อับจนนั้นเป็นผลมาจากกรรมเก่าหรือการลงโทษจากเทวดาฟ้าดินจะเปลี่ยนไป แน่นอนว่าถ้าสถาบันทางการเมืองที่มีอยู่ไม่สามารถสกัดกั้นข้อเรียกร้องที่เพิ่มมากขึ้นได้ การไร้เสถียรภาพทางการเมืองก็จะเกิดขึ้นโดยไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ และปัญหานี้เป็นปัญหาที่สำคัญยิ่งของประเทศกำลังพัฒนา....

       เศรษฐกิจไทย ช่วงต้นทศวรรษ 2500 ประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชิาตฉบับที่ 1 คำว่า "พัฒนา"และ "ความเจริญ" ก็ติดปากคนไทย เศรษฐกิจไทยยุคจอมพล รวม 13 ปี อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจาก ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าไปสู่การผลิตเพื่อส่งออก แลสภาพเศรษฐกิจโดยรวมถูกผูกขาดในมือกลุ่มตระกูลไม่กี่กลุ่มโดยเฉพาะนายทุน ธนาคารทีถูกนักวิชาการ และสื่อมวลชน ให้สมญาเสื่อนอนกิน โดยใช้แบ่งค์ เป็นปลาหมึกยกษ์ตลัดหนวดเกี่ยวพันธุรกิจไว้ในมือมากมาย อาจกล่าวได้ว่าช่วงเวลานั้น อำนาจทางการเมืองอยู่ในท็อปบู๊ต อำนาจเศรษฐกิจอยู่ในมือนายแบงค์
       ยุคโชิช่วง ในยุคป๋าเปรม คนไทยผันถึงความมั่งคั่งกันถ้วนหน้า เมื่อรัฐบาลเดินหน้าโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออกเพื่อเป็นแม่เหล็กดึงดูดทุนต่างชาติข่าวการค้นพบแหล่งก๊าซในอ่าวไทยจนคนไทยรุ้สึกโชติช่วงชัชวาลไปตามๆกัน
        พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน นายกรัฐมนตรีเจ้าของวาทะ "โนพร็อบเปล็ม"เข้ารับช่วงต่อจากรัฐป๋าซ฿เปรมซึ่งได้รับอานิสงค์บวกทางเศรษฐกิจทั้งจากรัฐบาลก่อนและเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ตวมถึงความสามารถในการใช้โอกาสของ พล.อ.ชาติชายเอง เศรษฐกิจไทยเติบโตมากว่า 10 เปอร์เซนต์จนได้รับการขนานนามว่ายุคทอง...
        ณ เวลานั้น ผุ้รู้ต่างชาติฟันธงแบบไม่เฉลี่ยวใจว่าประเทศไทยกำลังจะเป็นเสือเศรษฐกิจตัวที่ห้าแห่งเอเซีย หรือประเทศอุตสาหกรรมใหม่ที่คนไทยรู้จักกันในนาม นิกส์(NICs : new industrialized countries)
         วิกฤตต้มยำกุ้ง  ความผันจะเป็ฯนิกส์มีพลังมาก แม้รัฐบาลชาติชายจะถูก รสช.ยึดอนาจในปี 2534 แต่รัฐบาลที่เข้ามาบริหารต่อคงไม่ละท้ิงความพยายามที่จะไปสู่ฝันอันยิ่งใหญ่คือ "ประเทศอุตสาหกรรมใหม่" แต่ทว่าในปี 2540 ในสมัยรัฐบาลชวลิต ความผันนั้นแตกสลายเป็นเสี่ยง เมื่อประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นต้นตอวิกฤติต้มยำกุ่ง วิกฤตเศรษฐกิจที่ร้ายแรงที่สุดในชั่วอายุคน เจ้าสังหลายคนกลายเป็ฯเจ้าสัวเมือวันวาน ประเทศไทยต้องยอมเป็นเมืองขึ้นทางเศรษฐกิจกับ IMF เพื่อแรกกับเงินกู้พร้อมคำพูดที่สวยหรูว่า "ความช่วยเหลือทางวิชาการ" เพราะสำรองเงินตราเหลือไม่พอค้ำยันความน่าเชื่อถือทางเศรษฐกิจของประเทศ
         วิกฤติการณ์ครั้งนี้นั้นเกิดจาภาคเอกชนไทยก่อหนี้เกินตัว แบงก์ชาติพลาดทา่โจสลัดทางการเงิน สูญสำรองเงินตราของชาติเกือบหมด  ที่มาของวิกฤติสะสมมาจากการบริหารเศรษฐฏิจโดยไม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโล และไม่มีประสบการณ์ในการับมือกับเศรษฐฏิจฟองสบู่ ทุกรัฐบาลก่อนหน้านี้บริหารเศรษฐกิจแบบมุ่งโตไปข้างหน้าโดยละเลยทำความเข้าใจกับวัฏจักรเศรษฐกิจที่มีช่วงเฟื่องฟู กับถดถอยสลับกนไป ไม่ใช่ขาขึ้นตลอด
         จากเหตุการณ์ดังกล่าว นำไปสู่การปฏิรูปอุตสาหกรรมธนาคารและการเสื่อมถอยของทุนแบงก์ที่ผูกขาดเศรษฐกิจมากกว่า 3 ทศวรรษ และทำให้มีคำถามถึง การขับเคลื่อนทิสทางเศรษฐกิจโดยผูกกับกระแสโลกแบบที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องนั้น เป็นหนทางที่ใช่หรือไม่... นักการเมืองของเรามีความรู้พอสำหรับบริหารบ้านเมืองในสถานการณ์ที่โครงสร้างเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ตามคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงหรือไม่... นักเศรษฐศาสตร์หลายคนเริ่มตั้งคำถามว่าแนวคิด พัฒนาด้วยการสร้างเมืองให้โตแล้วหวังว่าความเจริญจะกระฉอกออกไปสู่ชนบทเองนั้น เป็นจริงามสมมติฐานที่เชื่อหรือไม่...
       ทักษิโนมิกส์ หลังวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนั้น คนไทยเริ่มตระหนักถึงคุณค่าของคำว่าพอเพียง..
       การขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุครัฐบาลทักษิณ การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลทักษิณหวือหวาและเเปลกใหม่กว่ารัฐบาลที่ผ่านมา ดังคำกล่วในการประชุมครั้งหนึ่งว่า "วันนี้ภาคการเมืองอำนวยให้แล้ว ผมจะต้องเปลี่ยน..ทุกคนที่ถูกกระทบต้องเปลี่ยนก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน"..และแทรกแนวคิดการแก้ปหัญหาความยากจนลงในนโยบายเศรษฐกิจทุกครั้งที่มีการนำเสนอมุมอง ตัวอย่งที่ฮือฮาที่สุดเมื่อเขารับความคิดของ ซินญอร์ เอดอซาโต หรือ มานโต เดอ ซา โต นักวิชาการชาวเปรูเจ้าของงานเขียน The Mystery of capital หรือ ความลี้ลับของทุนมปรับใช้เป็นนโยบายแปลงทรัพย์สินเป็นทุน โดยมุ่งนำที่ดินในเขตปฏิรูป 12.8 ล้านไร่มาแปลงเป็นทรัพย์สินให้เกษตรกรนำไปใช้เป็นหลักทรัพย์หาทุนจากธนาคาร อีกทั้งชุดนโยบายของรัฐบาลทักษิณที่มีความแปลกใหม่ถูกสื่อมวลชนตะวันตกให้คำจำกัดความว่า ทักษิโนมิกส์...
       การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลทักษิณนั้นถ้าถามคนส่วนใหญ่ถึงสิ่งที่จดจำเกี่ยวกับอดีตนายกฯทักษิณนอกจากความชื่นชมในการบริหารเศรษฐฏิจแระเทศแบบกล้าได้กล้าเสีย หนึ่งในความจดจำที่แทรกตัวอู่ด้วยก็คือ เขาเป็นผู้แพร่เชื้อนโยบายประชานิยมในไทยจนกลายเป็นโรคเรื้อรังในวงการเมืองไทย จบชีวิตทางการเมืองจากนโยบายผลประโยชน์ทับซ้อน และพยายามกลัยมามีอำนาจด้วยการชักใยอยู่เบื้องหลัง...
       หลังการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลทักษิณ  ประเด็นเรื่องเศรษฐกิจถูกบดบังจากวิกฤติการการเมือง และความปั่นป่วนของเศรษฐกิจโลกจกาวิกฤติซับไพร์ รัฐบาลหลังการยึดอำนาจใช้เวลาส่วนใหญ่กับการับมือปัญหาการเมือง และกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมกับการบรรเทาความเดือนร้อนให้กับปรชาชนในนาม ประชานิยม หรือ ประชาวิวัฒน์ จนไม่มีเวลาคิดคำนึงเรื่อง การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เท่าทันสภาวะแวดล้อมใหม่ของโลก และสร้างความเท่าเทียม 

       

    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...