วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Suffer

     ทุกข์ หรือ ทุกขัง เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาษนา แปลว่ทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก โดยทั่วไปหมายถึงสังขาร ทั้งปวง อันได้แก่ ขันธ์ 5 ซ฿่งเป็นที่ตั้งของกองทุกข์
       ในทางพุทธศาสนา การกำหนดทุกข์เป้ฯกิจในอริยสัจ 4 ที่ชาวพุทธต้องทำเพื่อละและปล่อยวางในลำดับต่อไปในกิจทั้งสี่ในอริยสัจ อันได้แก่ รู้ทุกข์ เพื่อค้นหาสาเกตุในการดับทุกข์ (สมุหทัย)แล้วจึงตั้งจุดมุ่งหมายในการดับทุกข์(นิโรธ) และดำเนินตามเส้นทางสู่ความดับทุกข์(มรรค)
      ทุกข์คือความเป็นจิรงอันประเสริฐหนึ่งในสี่ข้อของ อริยสัจ4  ทุกขสัจ ประกอบด้วย
-ชาติ คือ ความเกิด ความปรากฎแห่งขันธ์ ความอายตนะครอบ
- ชรา ความแก่
- มรณะ ความเคลื่อนภาวะความแคลื่อน ความแตกทำลาย มฤตยู ความตาย..
- โสกะ ความแห้งใจ ภาวะที่บุคคลประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
- ปริเทวะ ความคร่ำครวญ รำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ
- ทุกข์ คือ ความลำบากทางกาย ความไม่รำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส
- โทมนัส คือความทุกข์ทางจิต ความทุกข์ทางมโนสัมผัส
- อุปายาส คือ ความคับแค้นภาวะของผู้คับแค้น
- ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ความรู้สึกทางกายที่ไม่น่าปรารถนา หรือด้วย บุคคลผู้ไม่ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ(กิเลส)ซึ่งมีแก่ผู้นั้น
- ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก คือ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ระคนด้วยกามคุณ 5 อันน่าปารถนา หรือบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลจากโยคะ
- ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น  เช่นการปารถนาการไม่เกิด การปารถนาการไม่แก่เป็นต้น
         ทุกข์ที่กล่าวมานี้มีใจความกว้างขวางกว่าทุกขเวทนา

      เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความรู้สึกและยังคงเป็นปริศานากระทั่งทุกวันคือ กรณีสวรรคตซึ่งเกี่ยวพันต่อทุกสถาบันของประเทศ ตั้งแต่สถาบันกษัตริย์ ชาติ และรวมถึงศาสนาด้วย
        กรณีการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 "พระบาทสมเด็จพรปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดีนทร" เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2498 ทรงสวรรคตด้วยพระแสงปืนซึ่งยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่เกิดขึ้นได้ยอย่างไร ในช่วงเวลาดังกล่าว กรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ก่อให้เกิดผลต่อการเมืองไทยอย่างรุนแรง โดยเฉพาะกรณี นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น และกลุ่มการมเืองสาายนายปรีดีถูกกลุ่มจอมพล ป. พิบูลสงครามทำการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 ด้วยเหตุผลเกี่ยวเนื่องกับคดีสวรรคตดังกล่าว
        เจ้าฟ้าชายภูมิพลอดุลย์เดช ทรงมีพระราชดำรัสให้การต่อศาลอาญา ณ สวนจิตลดา เมื่อ 12 พ.ค. 2493 ดังนี้
       - ในวันที่ 8 ข้าพเจ้าไปในงานพระราชทางเพลิงศพพระองค์เจ้าอาทิตย์แทนในหลวงรัชกาลที่ 8 และในคืนเดีวกันได้ไปกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เหตุที่รัชกาลที่ 8 ไม่ได้เสด็จในงานพระศพพระองค์เจ้าอาทิตย์ก็เพราะทรงประชวรแต่อาการประชวรนั้นไม่ถึงขนาดต้องบรรทมอยู่กับพระแท่น ยังทรงพระราชดำเนินไปมาในพระที่นั่งได้ จะทรงประชวรด้วยโรคอะไรข้าพเจ้าไม่ทราบ ได้ยินรับสั่งเพียวงว่าไม่สบาย
       - ในเช้าวันที่ 9 มิ.ย. 2489 ข้าพเจ้ารับประทานอาหารเช้าประมาณเวลา แปดโมงสามสิบนาที ทุ่มุขพระที่นั่งชั้นบนด้านหน้า รับประทานอาหารแล้วพข้าพเจ้สได้เดินไปทางห้องบรรทมของในหลวงรัชกาลที่ ค ซึ่งเป็นเวลา เก้าโมงตรง ได้พบนายชิตกับนายบุศย์นั่งอยูที่หน้าห้องแต่งพระองค์ ข้าพเจ้าได้ถามเขาว่า "ในหลวงพระอาการเป็นอย่างไร" ไ้ดรับคำตอบว่าพระอาการดีขึ้นได้เสด็จห้องสรงแล้ว ใครเป็นผู้ตอบจำไม่ได้ ต่อจากนั้นข้พเจ้าได้เดินไปยังห้องของข้าพเจ้าโดยเดินไปตามเฉลี่ยงด้านหลัง ตรงเข้าไปในห้องนอนของข้าพเจ้าแล้วก็เข้าไปในห้องเครื่องเล่น เดินเข้าๆ ออกๆ อยู่ที่สองห้อง ระหว่างนั้นเวลาประมาณ เก้าโมงยี่สิบห้านาทีได้ยินเสียงคนร้องเป้ฯเสียงใครนั้นจำไม่ได้ ได้ยินในขณะที่อยู่ในห้องเครื่องเล่น ก่อนได้ยินเสียงร้องได้เห็นคนวิ่งผ่านประตูห้องบันไดซึ่งอยู่ติดกับห้องเครรื่องเล่นข้าพเจ้าได้ออกจากห้องเครื่องเล่นไปยังเฉลี่งด้านหน้า โดยผ่านห้องบันไดได้พบ น.ส. จรูญที่หน้อห้องข้าหลวง สอบถาม น.ส. จรูญว่าเกิดเรื่องอะไร ได้รับคำตอบว่าในหลวงทรงยิงพระองค์ ข้าพเจ้าได้ยินดังนั้นก็ตรงไปยังห้องพระบรรทอในหลวงรัชกาลที่ 8
       ทรงประทานสัมภาษณ์ สำนักข่าว บีบีซี ประเทศอังกฤษกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ซึ่งปรากฎอยู่ในสารคดี Soul of Nation ดังนี้
       - ท่านเชื่อว่า ร.8 สิ้นพระชนม์อย่างไร
       - จากหลักฐานทางราชการ รับกาลที่ 8 สิ้นพระชนม์ด้วยลูกปืนที่ยิ่งเข้าที่ พระนลาฎ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่อุบัติเหตุ ไม่ใช่การฆ่าตัวตายแต่ไม่มีใครทราบว่าเกิดอะไรขึ้น ดังนั้นมีัจึงเป็นความจริงที่ไม่แน่ชัด ข้าพเจ้าทราบเพียงแค่ว่าอะไรเกิดข้นหลังจากเกิดเหตุร้ายขึ้นหลักฐานต่างๆ ก็ถูกสับเปลี่ยนไป และเพราะว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเมือง แม้แต่อธิบดีตำรวจก็เล่นการเมือง เพราะเมือไปถึงรัชกาลที่ 8 ก็สิ้นพระชนม์แล้ว ในเรื่องนี้ประชาชก็ต้องการที่จะทราบความจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะทุกคนเสียใจต่อเหตุการณ์ครั้งนี้....

        นายปรีดีในฐานะนายกรัฐมนตรี และว่าการสไนักพระราชวังให้เรียกตัวนายชิต นายบุศย์ นางสาวเนื่อง มาสอบถาม
        นายชิตให้ถ้อยคำในเวลานั้นว่าในหลวงยิงพระองค์  นายปรีดีให้ทำท่าให้ดูนายชิดจึงลงนอนหวายมือจับปืนทำท่าส่องหน้าที่หน้าผาก ม.จ.ศุภสวัสดิ์ ซึ่งอยู่ในที่นั้นรับสั่งว่า ปืนอย่างนี้ยิงเองที่พรนลาฏอย่างนั้นไม่ได้ จึงปรึกษากันว่าจะออกแถลงการณ์อย่างไรดี นายปรีดีพูดว่าออกแถลงการณ์ว่าสวรรคตเพราะนาภีเสียได้ไหม ..หลวงนิตย์ตอบว่า ถ้าเช่นนั้นผมไปก่อนเพื่อนแน่ๆ เพราะเมือวานนี้ยังดีๆอยู่ วันนี้สวรรคตไม่ได้..พันเองช่วงว่า ถ้าอย่างนั้นเอเป็นโรคหัวใจได้ไหม..หลวงนิตย์ฯตอบว่า ไม่ได้เหมือนกัน..
       กรมพรยาชัยนาทนเรนทรรับสั่งว่าเห็นจะต้องแถลงตามความจริง นายปรีดีว่า เพื่ถวายพระเกี่ยรติให้ออกแถลงการณ์ว่าเป้ฯอุบัติเหตุ จึงออกแถลงการณ์ของสำนักพระราชวังเป็นฉบับแรก ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2489...
        เกี่ยวกับบาดแผลที่พระบรมศพ คร้งแรกหลงนิตย์ ฯไม่ได้พบแผลทางเบื้องหลังพระเศียร เข้าใจว่ามีแผลทางพระนลาฏด้านเดียวบรรดาท่านที่ประชุมกันอยู่ก็พลอยเข้าใจเช่นัี้น ครั้นรุ่งขึ้น เจ้าหน้าที่จากสภากาชาดมาแต่งพระบรมศพ เพื่อเตรียมการสรงน้ำพระบรมศพในตอนเย็นมีพระเกศากคลุมบาดแผลทำให้แลเห็นเป็นแผลเล็กกว่าแผลที่พระนลาฎจึงมีเสียงกล่าวกันว่า ถูกยิงทางเบื้องหลังพระเศียรทะลุออกทางพระนลาฎ
       ด้วยเหตุนี้ คำแถลงการณ์ฉบับแรกจึงมีเสียงครหาว่าไม่ถูกต้องต่อความเป็นจริง
       และจากแถลงการณ์ฉบับแรกไม่ถูกต้องต่อความเป็นจริง นายกรัฐมนตรีและพระบรมวงศานุวงศ์ได้ปผระชุมกันพิจารณารายงานของอธิบดีกรมตำรวจ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน แล้วได้ออกเป็นคำแถลงการณ์ของกรมตำรวจในวันที่ 10 มิถนายน 2489 มีข้อความประกอบคำแถลงการณ์ของสำนักพระราชวัง เพื่อจะให้ฟังได้อนักแน่แนยิ่งขึ้น โดยอ้างการสอบสวนอย่างกว้างขวาง ตั้งเป้นข้อสังเกตคือ มีผู้ลอบปลงพระชนม์ ทรงปลงพระชนม์เอง และ อุบัติเหตุ..........
     
ข้อความบางตอนจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1544/2497
      คำพิพากษาของศาลได้สรุปให้เห็นข้อเท็จจริงว่า หลักฐานของกลางที่เป็นอาวุธในที่เกิดเหตุรวมทั้งกระสุนปืน และปลอกกระสุนปืนที่จำเลยนำมามอบให้นั้นไม่ใช่ของจริง แสดงว่าต้องมีคนร้ายจงใจสร้างหลักฐานดังกล่าวไว้เพื่อให้เกดความเข้าใจผิดในการสืบสวนว่าเป็นอุบัติเหตุ และมีพยานหลายปากหลายเหตุกาณ์ที่ยืนยัยตรงกันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีการวางแผนลอบปลงพระชนม์จริง จากหลักฐานจำเลยทั้ง 2 คนยังได้เผลอเที่ยวอวดตัวไปพูดกับบุคคลต่างๆ ว่า ร.8 จะไม่ได้เสด็จกลับต่างประเทศในวันที่ 13 มิถุนายน 2489 อีกจากหลักฐานและพยานทีี่แน่นหนาดังกล่าวสามารถยืนยันได้ว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์จากบุคคลกลุ่มหนึ่ง หาใช่การปลงพระชนม์เองหรืออุบัติเหตุไม่
      สำหรับนายปรีดีย์  พนมยงค์นั้น ถึงแม้จะมีพยานที่ให้ถ้อยคำต่อศาลพาดพิงถึง แต่ศาลก็มิได้ตัดสินว่ามีความผิดแต่อย่างใด ด้วยศาลมีดุลพินิจว่าจะฟังเฉพาะถอ้ยคำที่พยานกล่าวพาดพิงให้เป็นที่แน่ชัดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ถนัดนัก ซึ่งข้อพิจารณานี้ผู้เขียนเองก็เห็นด้วยกับศาลนอกจากนั้นกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นย่อมเป็นผลเสียต่อนายปรีดี เอง ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีอยุ่ในขณะนั้น ส่วนนายปรีดี หรือพรรคพวก จะมีมูลเหตุจูงใจประการใดก็ไม่เป็นที่ชัดเจน
      จำเลยทั้ง 3 คนมีความผิดด้วยพยานหลักฐานชัดเจนว่า
- นายบุศย์ และนายชิต อยู่ใกล้ชิดกับที่เกิดเหตุมีความบกพร่องต่อการปฏิบัตหน้าที่ ปล่อยให้คนร้ายลอบปลงพระชนม์ได้สำเร็จ
- นายชิด บังอาจเพทุบายนำเอาปลอกกระสุนปืนที่เป็นหลักฐานเท็จส่งมอบให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์ให้เจ้าหน้าที่หลงเชื่อเพื่อช่วยเหลือคนร้าย
- นายเฉลียว และนายชิด รู้เห็นเป็นใจ จนถึงสมรู้ร่วมคิดต่อการลอบปลงพระชนของคนร้าย โดยทราบล่วงหน้าแล้ว แต่ปกปิดไว้มิได้แจ้งข่าวให้ทางการทราบ


         






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...