วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

Republik Indonesia III (Budi Utom)

       ก่อนคริสตกาลประมาณ 3,000-5,000ปี ชาวมาเลย์สายมองโกลอด์จากจีนตอนใต้ ยูนาน และตังเกี๋ย อพยพเข้ามาในอินโดนิเซีย ได้นำวัฒนธรรมของยุคหินใหม่ ยุคพรอนซ์ รวมทั้งภาาออสโตรนีเซีย เข้ามาในอินโดนิเซีย รวมตลอดถึงในฟิลิปปินส์ด้วย เข้ามาอยู่อาศัยและแต่งงานกับชาวพื้นเมือง สอนวิธีปลูกข้าว สร้างที่พักอาศัย และวิธีการปั้นหม้อ และทอผ้า รวมทั้งการหาเลี้ยงชีพ และการผจญภัยในทะเล พวกเขาเหล่านี้มีความสามารในการเกิเรือ และสามารถแล่นเรือออกไปไกลถึงหมู่เกาะมาดากัสการ์ ทางทิศตะวันตก และเกาะอีเจี๋นย โปลีนีเซียตลอจนหมู่เกาะต่างๆ ทางทิศตะวันออก

           
 ช่วงคริสตศตวรรษแรกมีการติดต่อค้าขายระหว่างจีนตอนใต้กับหมู่เกาะอินโดนิเซีย ชาวฮินดูจากอินเดียตะวันออกเฉียงใต้ อพยพเข้ามาในอินโดนีเซีย และนำภาษาสันสกฤต และภาษาปัลวะ เข้ามเผยแพร่ซึ่งต่อมาได้วิวัฒนาการเป็นภาษา ชวาเก่า ชวาใหม่ และอักษรอินโดนิเซียอื่นๆ การหลังไหลเข้ามาในอินโดนิเซียของชาวฮินดู ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องกระคริสตศตวรรษที่ 7 ทำให้อิทธิพล และความเชื่อถือในลัทธิต่างๆ ได้ขยายวงกว้างออกไปโดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูง ซึ่งในที่สุดได้ปสมปสานกลืนกลายเป็วัฒนธรรมประจำชาติ วัฒนธรรมส่วนใหญ่ที่ชาวอินโดได้รับจากชาวฮินดู ได้แก่ สถาปัตยกรรมการปันรูป วรรณคดี คนตรี นาฏศิลป์ และการเล่นพื้นบ้าน ซึงอยู่ในบาลีและลอมบอร์กตะวันตก
              พ.ศ.643-743 พุทธศษสนาฝ่ายมหายาน และฝ่ายเถรวาท จากอินเดียได้เริ่มเผยแผ่ดข้ามาในอินโดนิเซีย ในระยะแรกๆ ไม่ได้รับความสนใจกระทั้งสมัยอาณาจักรศรีวิชัย พุทธศาสนาจึงได้รุ่งเรืองมากขึ้น ในปี พ.ศ.1215 โดยมีศูนย์กลางที่เมืองเลมบังในเกาะสุมาตรา และชวาตอนกลาง และเร่ิมเสื่อมลงเมื่อสิ้นสุดอิทธิพลของอาณาจักรศรีวิชัย
               พ.ศ.1389 ชาวอาหรับได้เดินทางมาถึงสุมาตรา ครั้งแรกเป็นพวกพ่อค้า กระทั้ง ปีพ.ศ. 1493 พ่อค้าเหล่านี้ได้นำศาสนาอิสลามาเผยแพร่ โดยในระยะแรกตั้งศูรย์กลางเผยแพร่ศสนาขึ้นทางตอนเหนือของเกาสุมาตรา จากนั้นจึงขยายออกไปทั่วประเทศ
             สมัยอาณาจักรมอสเลม เมื่ออาณาจักรฮินดูเริ่มตกต่ำระหว่างปี พ.ศ.2050-2063 อาณาจักรมอสเลมก็เริ่มรุ่งเรืองขึ้นในชวาตอนกลาง สุมาตรา สุลาเวสี กาลิมันตัน จนถึงอิเรียนตะวันตก และมีผลให้ภาษามาเลย์ซึ่งชาวมุสลิมบริเวณนี้ใช้อยู่ได้แพร่ขยายออำปและกลายเป็นภาษาประจำชาติของอินโดนีเซียในระยะนั้นด้วย
             เมืองจาการ์ตายังเป็นเมืองเล็กๆ บนเกาะชวา มีชื่อว่าซุนดาเคลาปา ต่อมาเมืองนี้ได้ถูกนายพลฟามาเตอีนแห่งอาณาจักรเดมัด ยึดได้ จึงให้เปลี่ยนชื่อเป็น "จาการ์ตา" ซึ่งหมาขถึงสถานที่แห่งชัยชนะ ซึ่งเป็นชัยชนะต่อชาวโปตุเกส
             พ.ศ. 2164 ฮอลแลด์ได้เข้ามายึดครองอินโดนีเซีย อินโดนนีเซียตกอยู่ในฐานะอาณานิคมของฮอลเลแนด์(ฮอลแลนด์ตั้งบริษัท United Dutch East India Company)เมื่อปี พ.ศ.2145)  การทำสงครามต่อต้านฮอลแลนด์ได้เริ่มขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2209 โดยสุลต่านฮานุดดิแห่งโกลา แต่ประสบความล้มเหลว และต้องเซ็นสัญญายอมแพ้ในปี พ.ศ. 2310 ในปี พ.ศ.2233-2367 บริษัท ส่งทหารเข้าควบคุมหมู่เกาะโมลุกัส (มาลูกู) เพื่อเข้าควบคุมการค้าเครื่องเทศในระยะเวลาเดียวกันได้ปรากฎมีชาวอังกฤษเข้ามาตั้งถ่ินฐานอยู่ในเมืองเบวกูเลน นนฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตรา และได้มีการสร้างป้อมค่ายขึ้น ในระยะนี้ชาวอังกฟษยังไม่มีบทบามมากนัก ในปี พ.ศ. 2283 ชาวจีนที่อาศัยอยูในจากการ์ตาได้ทำการต่อต้านชาวดัตช์เนื่องจากไม่พอใจที่ถูกเอารัดเอเปรียบทั้งในด้านเศรษฐกิจ และในด้านอื่นๆ ชาวอินโดนีเซียได้เข้าร่วมในการต่อต้านครั้งนี้ด้วย แต่ไม่สามารถเอาชนะได้ เป็นผลให้ชาวจีนถูกชาวดัทช์สังหารมากกว่าหมื่นคน
            การเข้าปกครองของอังกฤษ  ในระหว่างรัชสมัยของนโปเลีย โบนาบาร์ด ฝรังเศสได้เข้าครอบครองฮอลแลนด์ บริษัท British East Company จึงได้เข้าปกครองอินโดนีเซียแทน (พ.ศ. 2358-2359) เมื่อนโปเลียนสิ้นอำนาจอินโดนีเซียก็กลับไปเป็นอาณานิคมของออลแลนด์อีกครั้ง การปราบปรามของฮอลแลนด์หลายครั้งนั
          นับตั้งแต่อินโดนีเซียตกอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลแลนด์ ชาวอินโดนีเซียได้ลุกขึ้นต่อต้านการปกครองของฮอลแลนด์หลายครั้ง แต่ไม่สามารถเอาชนะได้ มีการจัดตั้งสมาคม Budi Utom (ความบากบั่นอันสูงส่ง) ขึ้นในปี 2451 โดยร่วมกันก่อตั้งพรรคกากรเมืองขึ้นหลายพรรค เพื่อเป็นข้อต่อรองในการเรียกร้องเอกราชจากฮอลแลนด์ ปี พ.ศ.กลุ่มนักศึกษา ได้ตั้งสมาคมนักศักษาอินโดนีเซีย โดยมี ดร.โมฮัมหมัดอัตตาเป็นหัวหน้า ได้จัดตั้งองค์การสหพันธ์ โดยรวมพรรคการเมืองของอินโดนีเซียทั้งหมดเข้าด้วยกันในปีเดียวกัน ดร.ซูการ์โน และบุคคลชั้นน้ำอีกหลายคนได้ร่วมกันจัดตั้งพรรคชาตินิยมอินโดนีเซียขึ้น และใช้ภาษาบาฮาซา อินโดนีเซียเป็นภาษากลางในกาติดต่อ ประสานงสานสนับสนนุนโยบายที่จะไม่ให้ความร่วมมือใดๆ แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของฮอลแลนด์ การเคลื่อหไหวดังกล่าวได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในกลุ่มเยาวชนและทำให้เกิดองค์การยุวชนขึ้นในท้องถ่ินต่างๆ
         
ในระหว่างสงครามมหาเอเซียบูรพา กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองอินโดนีเซียในระหว่างปี พ.ศ. 2485-2487 กองทัพญี่ปุ่นพยายามเอาใจชาวอินโดนีเซียด้ยวยการปล่อยตัวผุ้นำทางการเมืองที่ถูกทางการฮอนแลนด์คุมขัง และเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามในปี พ.ศ. 2488 ญี่ปุ่นไดเ้เปิดโดกาศให้ชาวอินโดนีเซียในการนพของ ดร.ซูการ์โน และ ดร.โมฮัมหมัด ฮัตตา ประกาศอิสระภาพของอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2488 พร้อมกับประกาศหลักการแห่งรัฐห้าประการ(ปัญจศีล)..
            อินโดนีเซียได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก เมื่อปี พ.ศ. 2488 และได้เลือกตั้ง  ดร.ซูการ์โน เป้นประธานาธิบดี และ ดร.โมฮัมหมัด ฮัตตา เป็นรองประธานาธิบดีหลังจากที่ได้ประกาศอิสระภาพได้ไม่นาน ฮอลแลนด์พยายามกลับเข้ายึดคีองอินโดนีเซียอีก ทำให้เกิดการสู้รบอย่างรุนแรงบนเกาะสุมาตรา เหตุจากการนองเลือดดังกล่าว อินโดนีเซียจึงประกาศใช้นโยบายสันติและเป็นมิตรกับทุกประเทศ และแสวงหาการสนับสนุนจากอังกฤษ และตกลงเซ็นสัญญาโดยฮอนแลนด์ยอมรับรองอธิปไตยของอินโดนีเซียเหนือเกาะชวา มาดุราและสุมาตรา แต่ฮอนแลนด์ไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญา กลับสงทหารเข้ายึดครองอินโดนีเซีย และจับกุมประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีไปควบคุมตัวไว้ในปี พ.ศ. 2492 ประเทศในเอเซียรวม 19 ประเทศ ได้ร่วมประชุมกันที่กรุงนิวเดลฮี เพื่อเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ บังคับให้ฮอลแลนด์ ปล่อยตัวนักโทษการเมือง ของอินโดนีเซียทั้งหมด และมอบอธิปไตยให้อินโดนีเซีย ภายในปี พ.ศ.2493 สหประชาชาติได้ตกลงให้มีการหยุดยิงในอินโดนีเซีย และให้ฮอลแลนด์ ปล่อยตัวนักโทษการเมือง ของอินโดนีเซียทั้งหมด และมอบอธิปไตยให้อินโดนีเซีย ภายในปี พ.ศ. 2493 สหประชาชาติได้ตกลงให้มีการหยุดยิงในอินโดนีเซีย และให้ฮอลแลนด์ปล่อยตัวผุ้นำทางการเมืองทั้งหมด กับจัดให้มีการประชุมขึ้นที่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2492 จากการประชุมครั้งนั้น ทำให้อินโดนีเซีย ได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ เมื่อ 27 ธันวาคม 2492 ยกเว้นเกาะอิเรียนตะวันตก ยังคงอยู่ในการปกครองของเนเธร์แลนด์
           

Lee Kuan Yew

           สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายู ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกษ และเกาะอูจงในภาษามลาู และเกาะที่เล็กกว่ามาอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยปจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเชียโดยช่องแคบสิงคโปร์ ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะเป็นแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายออย่างต่อเนื่องโดยากรแปรสภาพที่ดิน
           หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และ่ต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1819 โดยเซอร์สแตมฟอร์ด รัฟเฟิลส์ เป็นสถานี้การค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกโดยการอนุญาตจากรัฐสุลต่านยะฮอร์ อังกฤษได้อธิปไตยเหนือเกาะใน ค.ศ. 1824 และสิงคโปร์กลายเป็นหนึ่งในอาณานิคมช่องแคบอังกฤษใน ค.ศ. 1826 หลังถูกญี่ปุ่นยึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี 1963 และเข้าร่วมกับอดีตดินแดนของอังกฤษอื่นเพื่อตั้งประเทศมาเลเซีย แต่ต้องแยกตัวออกมาอีกเนื่องจากมีการเหยีดชนชาติ อีกสองปีต่อมาผ่านพระราชบัญญัติโดยเอกฉันท์ นับแต่นั้น ประเทศสิงค์โปร์พัฒนาอย่างรวดเร็ว จนไดรับการรับรองว่าเป็นหนึ่งสี่เสือแห่งเอเซีย (wikipedia .th.org/...ประเทศสิงคโปร์)
             ลี กวนยู เป็นนักการเมืองชาวสิงคโปร์อีกทั้งยังเป็นนายกรัฐมนตรีาิงคโปร์คนแรกซึ่งปกครองประเทศเป้นเวลาสามทศวรรษ เขาได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นบิดผู้ก่อตั้งประเทศสิงคโปร์สมัยใหม่ เขาเป็นผุ้ร่วมก่อตั้งและเป็นเลขาธิการพรรคกิจประชาชน คนแรก และนำพรรคชนะการเลือกตั้งแปดครั้งและควบคุมการแยกสิงคโปร์จาประเทศมาเลเซีย และแปลงจากด่านอาณานิคมค่อนข้งอ้อยพัฒนาซึ่งไม่มีทรัพยากรธรรมชาติสู่การเป็นเสือและก้าวสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วตามลำดับ
           นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่สอง โก๊ะ จ๊กตง แต่งตั้งเขาเป็นรัฐมนตรีอาวุโสในปี 1995 เขดำรงตำแหน่างที่ปรึกษารัฐมนตรี
           นายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ที่ตั้งแต่งเขาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นาย ลี เซียนลุง ด้วยการดำรงตำ
แน่างรัฐมนตรีติดต่อกันเป็นเวลากว่า 50 ปีของเขา ทำให้เป็นรัฐมนตรีที่รับราชการนานที่สุดใประวัติศาสตร์คนหนึ่ง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2554 ลี และ โก๊ะ ประกาศเกษียณจากคณะรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งทั่วไปปี 2554 แต่ลียังคงเป็นสมาชิกรัฐสภา  ลี กวน ยู ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2558 ด้วยโรคปอดบวม( wikipedia.th.org./...ลี กวนยู)
           ..จริงๆ แล้วสิงคโปร์เป็นประเทศประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งตอลดมาแต่ก็มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพมากมาย ฝ่ายคต้านถูกกีดกันสื่อมวลชนถูกควบคุมเข้มงวด จนถือกันทั่วไปว่าลี กวน ยูเป็นเผด็จการ แต่ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็น "เผด็จการผู้ทรงคุณ"  สิงคโปร์ภายใต้การนำของ ลี กวน ยู ได้ชื่อว่าเป็นประเทศเดียวในโลกที่สามารถพัฒนาจากการเป็นประเทศด้อยพัฒนาไปสุ่ประเทศพัฒนาแล้ว ได้ภายในหนึ่งช่วงอายุคน เมื่อได้รับเอกราช และแยกตัวออกมาจากมาเลเซีย สิงคโปร์มีจีดีพีต่อหัวอยู่ที่ 516 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งก็มีรายได้มากที่สุดในอาเซียนแต่ก็ยังเป็นประเทศที่ยากจนอยู่ เพราะสหรัฐอเมริกปีนั้นค่าจีดีพีต่อหัวต่อคนอยูที่ 3,665 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ประเทศในยุโรปตะวันตกส่วนใหญ่ก็มีเกิน2,000ดอลล่าร์สหรัฐฯ กว่าห้าสิบปีต่อมา..ในปี พ.ศ.2556 คนสิงคโปร์มีรายได้เฉพลี่ยถึงปีละ 55,182 ดอลล่าร์สหรัฐฯ แซงอเมริกาที่มีรายได้ต่อหัว 53,042 สูงกว่าอินโดนีเซียห้าเท่า และสูงกว่าไทยสิบเท่า
            เป็นที่ชัดเจนว่า ลี กวนยู ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายอันดับหนึ่ง โดยเชื่อว่าถ้าเศรษฐกิจเจริญสิ่งดีๆ อื่นๆ จะตามมาเอง(ทำให้ถูกวิจารณ์มากในเรื่องเสรีภาพ) สิ่งที่ลี กวนยูทำ นอกจากจะใช้ความแข็งกร้าวและกฎเหล็กสร้างวินัย ทำให้มีเสถียรภาพมากโดยเฉพาะด้านการเมืองเรื่องที่ได้รับการยกย่องก็มีอีกมาก เช่น การพัฒนาการศึกษา การปราบคอร์รัปชันอย่างจริงจัง การพัฒนาเทโนโลยี การสร้างเมืองให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินและการค้าในภูมิภาคฯลฯ
             หลักการที่ ลี กวนยูยึดมั่น และใช้เป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนา ก็คือ หลัการของทุนนิยม(ที่ดี)ไม่ยอมให้มีระบบพรรคพวกนิยม(Cronyism) และมุ่งเนนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ ซึ่งถึงแม้รัฐบาลยังคงมีกิจการรัฐวิสาหกิจอยุ่ไม่น้อย แต่ทุกแห่งก็ถูกบริหารแบบเอกชน ส่งเสริมให้มีการแข่งขัน ถูกกดดันให้มีประสิทธิภาพระบบราชการก็เช่นเดียวกัน เน้นความมีประสิทธิภาพเป็นสำคัญ ข้าราชการมีรายได้เที่ยบเท่าหรือมากกว่าเอกชน...(thaipublica.ลี กวน ยู: มหาบุรุษผู้สร้างประเทศ ผุ้ยึดมั่นในทุนนิยม และเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ)

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560

Battery of ASEAN

           พลังงานอาเซียน
           พลังงานเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชนและเป็นปัจจัยพื้นฐานการผลิตในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ดังนั้จึงต้องมีกาจัดหาพลังงานให้มีปริมาณที่เีพียงพอ มีระคาที่เหมาะสม และมีคุณภาพที่ดีสอดคล้องกับความต้องการของผุ้ใช้ในภูมิภาคอาเซียนมีแหล่งทรัพยากรต้นพลังงานที่หลากหลาย ทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาต ถ่านหินและ ไฮโดว์ โปเทรนเทียล ที่มีศักยภาพในการใช้นำผลิตไฟฟ้าและกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ เช่นประเทศริมฝั่งโขง รวมไปถึงบางส่วนของอินโดนีเซีย และรัฐซาราวัคของมาเลเซียจะมีศักยภาพสูงในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ส่วนทางด้านใต้อุดมไปด้วยแหล่งพลังงานจากน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ


             อินโดนีเซีย มีถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติในปริมาณสูงมาก โดยเฉพาะถ่านหินคาดว่าจะสามารถใช้ได้นานถึง 150 ปี ทั้งน้ำมันและถ่านหินสามารถส่งออกทำรายได้ให้ประเทศสูงมาก เป็นผ้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของอาเซียนและเป็นสมาชิกในกลุ่ม OPEC
            มาเลเซีย มีแหล่งพลังงานประมาณมากและมีความหลากหลาย ทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและพลังงานน้ำ สามารถผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติไว้ใช้ในประเทศได้อย่างเพียงพอ และเป็นประเทศผุ้ส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสุทธิ
             บรูไน มีน้ำมันและก๋าซธรรมชาติประมาณมาร รายได้หลักมาจากการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และเป็นผุ้ผลิตก๊าซ LNG อันดับ 4 ของโลก
            เวียดนาม สามารถผลิตน้ำมันดิได้เกินความต้องการ แต่ก็ยังต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปอยู่ เพราะความสามารถในการกลั่นยังไม่สุงพอ ส่วนใหญ่จะส่งไปยังญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลี เวียดนามได้ผลิตก๊าซธรรมชาติสำหรับใช้ภายในประเทศเท่านั้น โดยนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก
             ไทย มีก๊าซธรรมชาติมากในอ่าวไทย และมีลิกไนต์มี่แม่เมาะ แต่ยังมีประมาณไม่มากเมื่อเทียบกับอินโดนีเซีย
              เมียนมา มีพลังงานน้ำหลายหมื่อเมกะวัตต์ และก็าซธรรมชาติจำนวนมาก ซึ่งส่วนหนึ่งส่งออกมายังประเทศไทยด้วย
              ฟิลิปปินส์ มีความหลากหลายของแหล่งพลังงาน เช่น พลังงานน้ำ พลังงานความร้อนใต้พิภพ และพลังชีวมวล
             สปป.ลาว มีพลังงานน้ำมากสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 2 หมื่นเมกะวัตต์ นโยบายส่งเสริมการผลิตพลังงาน และมีการพัฒนาแหล่งพลังงานเพื่อการบริโภคภายในประเทศ ในปัจจุบันไฟฟ้าจึงเป็นสินค้าส่งออกหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งของ สปป.ลาว ซึ่งรายได้จากการส่งออกกระแสไฟฟ้าแต่ละปีมีอัตราเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นธุรกิจหลักที่สร้างรายได้ที่สำคัญต่อประเทศจนได้ชื่อว่าเป็นแหล่งพลังงานของอาเซียน
              กัมพูชา มีแหล่งก๊าซธรรมชาติในบริเวณแหล่งทับซ้อนในอ่าวไทย และมีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากเวียดนาม ไทยและสิงคโปร์ (ศูนย์ข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์, พลังงานอาเซียน)
             สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลตั้งอยู่ใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีน ดลอแนวชายแดนล้อมรอบด้วยประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ทิศเหนือจีน ทิศตะวันออก เวียดนาม ทิศใต้ไทยและกัมพูชา และทิศตะวันตกติกดังประเทศไทยและพม่า
            ลักษณะภูมิประเทศของลาวอาจแบ่งเป็น
            - เขตภูเขาสูง เป็นพืนที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,500 เมตรขึ้นไป พื้นที่น้อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ
            - เขตที่ราบสูง คือพื้นที่ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร ปรากฎตั้งแต่ทางทิศตะวันออกเฉีงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวนไปจนถึงชายแดนกัมพูชา เขตที่ราบสูงนี้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ราบสูงเมืองพวน แขวงเชียงขวาง ที่รบสูงนากาย แขวงคำม่วน และที่ราบสูงบริเวณภาคใต้
            - เขตที่ราบลุ่ม เป้นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำต่างๆ เป้นพื้นที่ที่มีความอุดมสมูรณ์มากที่สุดในเขตพื้นที่ทั้ง 3 เขต นับเป็นพื้ีที่อู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญขอ
ประเทศ แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฎตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำงึม เรียกว่าที่รบลุ่มเวียงจันทร์ ผ่านที่ราบลุ่มสุวรรณเขต ซึงอยู่ตอนใต้เซบั้งไฟ และดซบั้งเหียง และที่ราบจำปาศักดิ์ทางภาคใต้ของลาว ซึ่งปรากฎตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา ทั้งนี้ เมื่อนำพื้นที่ของเขตภูเขาสูงและเขตที่ราบสูงมารวมกันแล้ว จะมากถึง 3 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศลาวทั้งหมด โดยจุดที่สูงที่สุดของประเทศลาวอยู่ที่ภูเบี้ย ในแขวงเชียงขวาง
              ประเทศลาวมีแม่น้ำสายสำคัญอยู่หลายสาย โดยแม่น้ำซึ่งเป้นสายหัวใจหลัก คือ แม่น้ำโขง ซึ่งไหลผ่านประเทศลาวกว่า 1,835 กิโลเมตร นอกจากจะมีคตวามสำคัญทั้งในด้านการ เกษตร การประมง การผลิตพลังงานไฟฟ้า กาคมนาคมจากลาวเหนือไปจนถึงลาวใต้แล้ว ยังเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาวกับประเทศเพื่อนบ้าน และยังมีแม่ส้ำสายสำคัญๆ ของลาวแห่งอื่นๆ อีกได้แก่ แม่น้ำอู แม่น้ำงึม แม่น้ำเซบั้งเหียง แม่น้ำทา แม่น้ำเซกอง แม้น้ำเซบั้งไฟ แม่น้ำแบ่ง แม่น้ำเซโดน แม่น้ำเซละนอง แม่น้ำกะดิ่ง แม่น้ำคาม
            สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ โดยมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ ซึ่งพรรคนี้เร่ิมมีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยมเมื่อ 2 ธันวาคม 2518 (wikipedia.th.org/..สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)
             การพยายามจะเป็น "แบตเตอรี่ของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้"ทำให้เกิดการตื่นตัวของอุตสาหกรรมไฟฟ้าพลังน้ำในลาวเป็นอย่างมาก ความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทยและเวียดนามประกอบกับนักลงทุนใหม่ๆ จากประเทศไทย จีน รัสเซีย เวียดนาม และมาเลเซียช่วยหนุนให้เกิดากรขยายตัวของอุตสาหกรรมนีเพิ่มมากขึ้นลาวมีรายได้หลักจากการส่งออกพลังงาน อาทิ ไฟฟ้าพลังน้ำของลาว รวมถึงน้ำมันและก๊าซธรรมชาติพองพม่าให้กับจีและอาเซียนลาวมีศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจาพลังน้ำสูงมาก ไทยจึงสนใจที่จะลงทุนก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำและรับซื้อไฟฟ้าจากลาว
           ในส่วนของการสร้างเขื่อนการที่ลาวซึ่งเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล และเป้นประเทศที่ยังไม่ได้ทำอะไรมากนักการสร้างเขื้อนกั้นแม่น้ำโขงตรงช่วงที่ทั้งสองฟากฝั่งต่างอยู่ภายในพรมแดนของลาวนั้น จะทำให้เป็นช่องทางสำคัญที่ทำให้มีรายได้เข้าประเทศ
            ลาวมีการวางแผนการที่จะสร้างเขื่อนแห่งใหม่ๆ ทอดข้ามตอนล่างของแม่น้ำโขง อันเป็นปม่น้ำสายใหญ่ที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม เวียดนามได้ออกโรงแสดงการคัดค้านความมุ่งมาดปรารถนาในเรื่องเขื่อนไฟฟ้าพลังงานของลาวแล้ว นักวิจารณ์ในเวียดนามกล่าวว่าโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังงานเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจำนวน 1,260 เมกะวัตต์แห่งนี้จะกลายเป็นความหายนะทางสิ่งแวดล้อม(siamintelligence.com./..ตะลุยสำรวจ ขุนทรัพย์พลังงานกลุ่มประเทศ CLMV)
            ASEAN Power Grid แนวคิดของอาเซีย เพาเวอร์ กริด ...การเชื่อโยงระบบไฟฟ้าในอาเซียน จึงเป็ฯการรวมพลังของทุกชาติในภูมิภาคนี้ที่จะร่วมกันจัดสรร และใช้ทรัพยากรพลังงานของเราให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าที่สุดส่งเสริมแนวคิดการใชพลังงานอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพเพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงานและเศรษฐกิจผลักดันให้อาเซียนพัฒนาทัดเทียมภูมิภาคอื่นของโลก
             วิสัยทัศน์อาเซียน 2563 อาเซียน เพาะเวอร์ กริด เกิดขึ้นในการประชุมผุ้นำสูงสุด อย่างไม่เป็นทางการ ที่กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซียเพื่อกำหนดทิศทางใหม่สู่ 2563 ด้วยวิสัยทัสน์อาเซียน 2563
             "...การมีส่วนร่วมของกลุ่มประเทศอาเซียน ในการผนึกกำลังกันเพื่อพัฒนาความเจริญ และสร้างความแข้.แกร่งทางด้านเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยหนึ่งในกลยุทธ์หลักด้านพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของอาเซียนคือ การเชื่อมโยงโครงข่ายระบบพลังงานและสาธารณูปโภคในอาเซียนได้แก่ ไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติและน้ำ โดยผ่่านระบบเชื่อมโยงไฟฟ้าอาเซียน ระบบท่อส่งก๊าซและท่อส่งน้ำ รวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเพ่ิมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การอนุรักษณ์พลังงานและการพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนมาใช้ใหม่ได้อีก
              ประโยชน์ที่จะได้รับพอสรุปดังนี้คือ เพิ่มความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจในภูมิภาคจากการจัดสรรและใช้ทรัพยากรด้านพลังงานร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด..ถ่ายเทพลังงานระหว่างประเทศ จากการที่เรามีความหลากหลายของทรัพยากรด้านพลังงานในแต่ละพื้นที่...เกิดเครือข่ายเชื่อมโยงทางการสื่อสารรวมถึงการวางท่อก๊าซ อาเซียน เพาะเวอร์ กริด จะให้เกิดประโยชน์ด้านการสื่อสารในภูมิภาค คือเราสามารถวางระบบโครงข่าวเส้นใยแก้วนำแสง คู่ไปกับระบบสายส่งไฟฟ้า...( temica_magazine..ASEAN Power Grid)
             การลงทุนในลาว หากย้อนไปเมื่อสิบกว่าปี ประเทศไทยไได้ชื่อว่าเป็นอันดับหนึ่งในการลงทุนใน สปป.ลาวในแง่ของเงินลงทุน แต่ถ้านับในปัจจุบัน เวียดนามเป้ฯอันดับหนึ่ง จีนเป็นอีกประเทศที่อันดับสอง สำหรับธุรกิจของไทย ถึงจุดอิ่มตัว
            รัฐบาล สปป.ลาว ตั้งเป้าหมายไว้ว่าในปี 2563 จะต้องหลุดพ้นจากาการเป็นจากการเป็นประเทศด้อยพัฒนา หลุดพ้นจากการเป็นประเทศยากจน ซึ่งในสายตามจากผุ้สันทันเกี่ยวกับ สปป.ลาวเห็นว่า เนื่องจากประชากรลาวมีเพียง 6 ลานคน ประชากรจำนวนจำนวนนี้เที่ยบกับศักยภาพประเทศทางด้านเศราฐกิจไม่ว่าจะเป็นด้านเหมื่องแร่ พลังงานไฟฟ้า ภาคเกษตรอุตสาหกรรม ภาคท่องเทียว และการบริการสามารถนำประเทศหลุดพ้นจากความยากจนภายในปี 2563 ได้อย่างแน่นอน
           ยิ่งไปกว่านั้น ลาวเปรียบเสมือนแลนด์บริดจ์ของอนุภูมิภาค จะเป็นตัวเชื่อมระหว่าง ไทย-เวียดนาม-กัมพูชา-จีนตอนใต้ เส้นทาง East-West Corridor หรือระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกและเส้นทาง North-South Economic Corridor หรือระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ผ่านลาวจึงเหมือนเป็นศูนย์กลางการเชือมโยงเครือข่ายในภูมิภาค เพราะฉะนั้นในแง่ของการฉกฉวยโอกาสเป็นไปได้สูงมาก ประกอบกับภาคเกษตรอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ผนวกกับการเชื่อมโยงเส้นทาง 4 ประเด็นหลักๆ จะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่จะทำให้ลาวบรรลุเป้าหมาย..."(www.thaiseoboard.com)
            "ลาวให้สัมปทาน 357 เขื่อน 942 เหมืองแร่" กระทรวงพลังงานและย่อแร่ของลาว เสนอรายงานล่าสุดในปลายเดือนตุลาคม 2016 ว่าทางการลาวทั้งในส่วนกลางแลระดับท้องถ่ิน ได้อนุญาตสัมปทานการศึกษาสำรวจเพื่อการก่อสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าแก่เอกชนลาวและต่างชาติไปแล้ว 357 โครงการและได้ให้สัมปทานการสำรวจ ขุดค้นแร่ธาตุไปแล้ว 942 โครงการทั่วประเทศ ในขณะที่ผลผลิตภาคพลังงานและหมืองแร่ในช่วง 5 ปี (2010-2015) ที่ผ่านมา มีมูลค่ารวมกว่า 11,792 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็น 12% ของผลผลิตมวลรวมภายใน ของลาวในระยะย 5 ปีดังกล่าว โดยผุ้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดก็คือบรรดาวิสาหกิจจากจีน...
 

          ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานและบ่อแร่ ได้วางแผนการจะผลิตพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า(12,500เมกะวัตต์)ภายในปี 2020 โดยจากาการศึกษาสำรวจพบว่าการก่อสร้างเขื่นในลาวอย่างเต็มศักยภาพนั้นจะทำให้สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้รวมกันถึง 30,000 เมกะวัตต์ เลยทีเดียว
               รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและย่อแร่ บอกว่า วิสัยทัศน์การพัฒนาทางด้านพลังงานไฟฟ้าถึงปี 2025 คือกรพัฒนาลาวให้เป็นผุ้ส่งออกพลังงานไฟฟ้ารายใหญ่ของอาเซียนให้ได้อย่างแท้จริงซึ่งก็ทำให้มีความจำเป็ฯอย่างยิ่งที่จะต้องทำการเชื่อมต่อระบบสายส่งกระแสไฟฟ้าจากลาวมาไทยต่อไปมาเลเซียและสิงคโปร์ให้ได้ด้วย...(www.thaisugarmillers.com/...ลาวให้สัมปทาน 357 เขื่อน 942 เหมืองแร่)

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560

Indochina

          อินโดจีน Indochina หรือคาบสมุทรอินโดจีน เป็นคาบสมุทรที่ยื่นออกมาจาแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเซียและเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเซียตะวัีนออกเฉียงใต้ ที่มาของชื่อว่าอินโดจีนนั้น ก็เพราะว่าคอบสมุทรนี้ตั้งอยู่ทางใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และทางตะวันออกของ ประเ?สอินเดีย คำว่า
"Indochina"มีที่มาจากคำว่า อินโดไชน่าในภาษาฝรั่งเศส และถูกใช้ในระหว่างยุคล่าอาณานิคม
            ในทางประวัติศาสตร์แล้วประทเศในอิโดจีนส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียและจีน ซึ่งแต่ละประเทศต่างก็รับเอาวัฒนาธรรมจากทั้งสองชาตินี้เข้ามาระดับที่แตกต่างกัน อย่างเช่น ไทยและลาวได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมรจากจีนเป็นส่วนใหญ่ ต่อมา ในยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ชาติส่วนใหญ่ในอินโดจีนก็รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเช่นกัน
           ภูมิศาสตร์ ถ้ากล่าวตามนิยามอย่างเคร่งครัดแล้ว อิโดจีนจะหมายถึงอดคตประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศส "อินโดจีนของฝรั่งเศส"เท่านั้น ซึ่งประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เวียดนาม แต่ปัจจุบัน ความหมายของอินโดจีนหมายถึงแผ่นดินใดญ่ของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งนับรวม คาบสมุทรมลายู ไทย พม่า สิงคโปร์ (th.wikipedia.org/..อินโดจีน.)
            สงครามอินโดจีน เป็นสงครามย่อยหลายสงครามที่เกิดขึ้นทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 ถึง พ.ศ.2522 ระหว่างชาวเวียดนามชาตินิยมกับ ฝรั่งเศส อเมริกา และจีน คำว่า "อินโดจน"เดิมทีจะหมายถึงอินโดจีนของฝรั่งเศส ซึ่งรวมทั้งรัฐปัจจุบันของเวียดนาม ลาว  และกัมพูชา การใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่หมายถึงภูมิภาคทางภูมิศาสตร์มากกว่าพื้นที่ทางการเมืองสงครามแบ่งออกเป็นสงครามย่อย 4 ส่งครามได้แก่
           สงครามอินโดจีนครั้งที่ 1 ในฝรั่งเศสเรียกว่า สงครามอินโดจีน ในเวียดนามเรียกว่า สงครามฝรั่งเศส เร่ิมขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ดำเนินต่อมาจนถึงการพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2497 หลังจากการต่อต้านอันยาวนานของกำลังเวียดมินห์ ในที่สุดก็ได้รับชัยชนะหลังกองทัพญี่ปุ่นและฝรั่งเศสยอมแพ้ทางตอนเหนือเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในช่วงสงครามโลกทางใต้ถูกครอบครองโดย
กองกำลังของอังกฤษที่ฟื้นคืนการควบคุมอาณานิคมของสาธารณรัฐฝรั่งเศสในสหประชาชาติลแะชาติพันธมิตรพร้อมกับอังกฤษและสหรัฐ ฝรั่งเศสได้ร้องของที่จะกลับคืนสู่เวียดนามที่เป็นอาณานิคมของพวกเขาก่อนที่จะต้องลงเข้าร่วมในพันธมิตรนาโต้เพื่อต่อต้านการขยายอำนาจของโซเวียตที่เกินอาณาเขตของกลุ่มประเทศในสนธิสัญญาวอร์ซอในสงครามเย็นเวียดมินห์ที่เป็นคอมมิวนิสต์และชาตินิยมยังคงต่อสู้กับฝรั่งเศสต่อไปโดยได้รับการสนับสนุนจากจีนและสหภาพโซเวียต จนในที่สุดก็ผลักให้ฝรั่งเศสที่มีนาโต้คอยหนุนหลังต้องล่าถอยออกจาอินโดจีน
              สงครามอินโดจีนครั้งที่ 2 ตะวันตกเรียกว่า สงครามเวียดนาม ในเวียดนามเรียกว่าสงครามอเมริกา ที่เริ่มขึ้นเมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลเวียดนามใต้ทีสนับสนุนโดยสหรัฐฯกับฝ่ายเหนือ ทั้งกองกำลังของเวียดกง และกองทัพเวียดนามเหนือ ปัจจุบันกลายเป็ฯกองทัพประชาชนเวียดนาม เร่ิมขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 และจบลงในปี พ.ศ. 2518 สหรัฐสนับสนุนฝรั่งเศสในสงครามคร้งแรกได้เข้าสนับสนุนรัฐบาลเวียนามใต้เพื่อต่กรกับเวียดกงและเวียดนามเหนือที่เป็นคอมมิวนิสต์ ฝ่ายเหนือได้รับการสนับสนุนทางทหารและเงินจากจีนและสหภาพโซเวีต การต่อสู้ยังเกิดขึ้นในกัมพูชาระหว่างอกงทัพที่สหรัฐ
สนับสนุนกับฝ่ายเขมรแดงที่เป็นคอมมิวนิสต์ (รู้จักกันในชื่อ สงครามกลางเมืองกัมพูชา) และในลางก็มีการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลที่สหรัฐสนับสนุน กองทัพประชาชนเวียนาม และขบวนการปะเทดลาวที่เป็นคอมมิวนิสต์ (รู้จักกันในชื่อ สงครามกลางเมืองลาว)
                สงครามกัมพูชา-เวียดนาม เป็นสงครามที่เกิดหลังจากสงครามอินโดจีนครั้งที่ 2 เมื่อเวียดนามหด้เข้าบุกกัมพูชาและขับไล่การปกครองของเขมรแดงออกไป สงครามดำเนินตั้งแต่เมื่อพฤษภาคม 2518 - ธันวาคม พ.ศ. 2532

                สงครามอินโดจีนครั้งที่ 3 หรือสงครามเวียดนาม-จีน เป็นการต่อสู้ระยะสั้นๆ ในเดือนกุมพาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2520 ระหว่างสาธารณรับประชาชนจีนและสาธารณรับสังคมนิยมเวียดนาม จีนได้เข้าบุกเวียดนามเพื่อเป็นการ "ลงโทษ"สำหรับการที่เวียดนามเข้าบุกกัมพูชา และถอนกำลังออกหนึ่งเดือนหลังจากนั้นเมื่อได้รับความสูญเสียอย่างมาก (th.wikipedia.org/..สงครามอินโดจีน)
              อินโดจีน มีความสำคัญทางการค้ามาช้านาน เป็นเเหล่งเศรษฐกิจโบราณที่เคยมีบทบาทในภูมิภาคนี้มาก่อน ไม่เช่นนั้นเรื่อสำเภคงไม่แล่นเข้ามาและไปมาหาสู่เมืองต่างๆ ดันมากมาย จนทำให้มหาสมุทรอินเดียและอินเดียและจีนมีความสำคัญต่อการเดินเรือของชาติต่างๆ ถึงกับพากันมาตั้งสถานีการค้าตามเมืองท่าที่อยู่ริมทะเล
              เมืองที่ตั้งอยู่ระหว่งมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนจึงถูกเรียกว่า "อินโดจีน" โดยมีราคำที่มาจากคำว่า "อินเดีย"กับ "จีน" เช่นเดียวกับคำว่า "อินโดนีเซีย" ที่มาจากคำว่า "อินเดีย" และ "เอเซีย" ชาวอินเดียและชาวจีน นำเรือสินค้าเดินทางไปตามเมืองต่างๆ พร้อมกับศาสนา ทั้ง ฮินดู พราหมณ์ และพุทธ
              ในอดีตประเทศที่อยู่ข้างฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขงเป็นเขตอินโดจีน เนื่องจาฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองประเทศนั้น แล้วมีทีท่าจะลุกลามมายังฝั่งซ้ายคือดินแดอีสานของไทย จนต้องีการสร้างสัมพันธ์ไมตรีกับรัสเซีย ประเทศมหาอำนาจในสมัยนั้น เพื่อปรามฝรั่งเศสให้เกรงใจและยุติการยึดครองในสมัยรัชกาลที่ 5
              ภาพของการเรียกร้องอินแดนอินโดจีนคืนจาฝรั่งเศสนั้น เคยปรากฎในประวัติศาสตร์ไทยสมัยจอมพล. ป. พิบูลสงคราม จนเข้าใจว่า แหลมอินโดจีนนั้นคือ ลาว เขมร ญวน จึงมีการนับเอาไทย พม่า ว่าเป็นแหลมสุวรรภูมิหรือแหลมทอง ส่วนมลายู สิงคโปร์ นั้นเป็นแหลมมลายู แต่ความเป็น "อินโดจีน"ในปัจจุบัน ได้หมายถึงประเทศที่อยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้ หรือส่วนที่เรียกกันว่า "อุษาคเณย์"เป็นประเทศในเขตแหลมอินโดจีน หากจะรวมไปถึงเกาสุมาตรา บอร์เนียว อินโดนีเซีย บูรไนด้วยก็พออนุโลมเนื่องจากมีเชื้อ่ชาติและวัฒนธรรมเดียวกันกับมาเลเซีย ที่มาจากรากคำว่ "มะละกา" กับ "อินเดีย"
              การเดินทางมายังดินแดนต่างๆ ที่เรียกว่าอินโดจีนในอตีตใช้เส้นทางมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้เป็นหลัง ด้วยเหตุนี้จึงมีเมืองท่าสำคัญเกิดขึ้นหลายแห่งตามฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในระยะแรกหรือตลาดใหญ่ที่มีเรือสินค้าติดต่อและจอดรอลมมรสุมพัดกลับตามท่าต่างๆ นั้น บางแห่งก็ถุกชาวต่างชาติยึดครองตั้งสถานีการค้าในเมืองท่านั้น กว่าจะหลุดพ้นสิทธิอำนาจจอกอาณาเขตมาเป็นเมืองเอกราช ก็ใช้เวลานาน
             ภาพที่เห็นชัดคือ ดินแดนอินโดจีนส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีกษัตริย์ครองเมือง และมีศาสนาฮินดู พราหมณ์และศษสาพุทธ เป็นหลัก  โดยศาสนาฮินดูและพราหมร์เกิดขึ้นมาก่อนและพุทธจึงแพร่หลาย อันเป็นผลที่ทำให้ผุ้คนในแถบอินโดจีนนั้นสามารถเชื่อมโยงความเชื่อและวิถีชีวิตความเป็นอยู่คบ้ายคลึงกัน และมีความสัมพันธ์กันทางพุทธรรม คัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้า แม้จะมีศาสนาอิสลาม คริสต์สาสนาเกิดขึ้นในระยะเวลาต่อมาก็สามารถผสมกลมกลืนอยุ่ร่วมกันได้ในที่สุด
            วัฒนธรรมของความเป็นอินโดจีนในบริบททางวัฒนธรรมนั้น จึงมีศาสนาเป็นจุดประสานให้ทุกชนชาตและประเทศในแถบอินโดจีนได้หันหน้าเข้าหากัน ผู้คนอินโดจีนแม้จะมีความต่างทางศาสนาก็สามารถหลอมรวมเป็นวัฒนธรรมเดียวกันได้ ....(www.manager.co.th/..ชื่อดินแดนแห่งนี้มีที่มา)

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

Regional Organizations

           ในความพยายามที่จะจัดวางระเบีบแบบแผนให้กัีบการเมืองระหว่างประเทศหรือควบคุมพฤติกรรมทางการเมืองของประเทศต่างๆ บรรดานักคิดและรัฐบุรุษทั้เงหบายต่างเห็นพ้องถึงความจำเป็นแห่งการร่วมมือกันเป็นหลักสำคัญ ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับวางหลักประกันในการรักษาความมั่นคงระหว่างชาติและสันติสุขชให้คงอยู่ จากการประชุมระหว่างประเทศและการหารือที่มีเรืทอยมาแต่อดีตเป็นผลให้เกิดความเชื่อที่ว่าในการร่วมมือกันนั้น ควรที่จะมีสภาบันนานาชาติส่วกลาง Universal Actor ดำเนินการรักษาผลประโยชน์ร่วมกันให้แก่รัฐต่างๆ ทีั้งหลาย อิทธิพลแรวความคิดนี้ได้แสดงออกในแบบของการจัดร่างกฎเกณฑ์หรือกฎหมายระหว่างประเทศขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือควบคุมความเคลื่อนไหวและพฟติกรรมทางการเมืองของบรรดารัฐต่างๆ
            องค์การระหว่างรัฐนี้คือ สถาบันนานาชาติที่สวมบทบาทของผุ้ปกป้องรักษาความมั่นคงร่วมกัน เป็นองค์การที่มีอำนาจเหนือรัฐในการชี้ขาดตัดสินข้อพิพาทระหว่างผระเทศ และไกล่เกลี่ยข้อบาทหมางที่บังเกิดขึ้นในความสัมพันะ์ระหว่างรัฐต่ารงๆ ตลอดจนอำนาจในการดำเนินการและแก้ไขปัญหากิจกรรมแขนงอื่นๆ ท่ประเทศทั้งหลายมีผลประโยชน์ร่วมกันอยู่
             ความมุ่งหวังใฝ่ฝันที่จะให้องค์การระหวา่งรัฐบาลเป็นศูนบ์กลางอำนวยประโยชน์ให้แก่นานาประเทศนัี้นได้รับการสนับสนุนทั้งในระดับสาก และในระดับภาคอื้น สำหรับแนวความคิดสนับสนุนองค์การส่วนภูมิภาคนั้นได้แผ่ขยายออกไปในระยะระหว่างก่อนและหลังสังครามโลกครั้งที่สอง และดูเหมือนว่าความล้มเหลวขององค์การสันนิบาตซึ่งมีลักาณะเป็ฯองค์ฏารสากล ในการยับยั้งและยุติกรณีพิพาทจะเป็นแรงดันให้เหล่าประเทศต่างๆ หันมาให้ความสำคัญแก่แนวองค์การส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้นกว่าเดิม แม้แต่ในระหว่างที่มีการประชุมตระเรียมเสนอโครงร่างกฎบัตรสหประชาชาติ ก็ยังมีการถกเถียงกันถึงประโยชน์และความสำคัญขององค์การส่วนภูมิภาคเมื่อเปรียบกับองค์การระดับสากล หนึ่งในรัฐบุรุษที่เห็นด้วยและสนับสนุนหลักข้อสเนอแนวภูมิภาคนิยม คือ อดีตนายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์ ซึ่งมีทัศนาะว่า ระบบนานาชาติควรเปิดโอาสให้มีการจัดตั้งองค์การส่วนภูมิภาคต่างหากแต่ละรายไปในส่วนของยุโรปบ้าง
 ทวีปอเมริกาบ้าง และส่วนเอเซียบ้าง ตามแต่ความสมัครใจของกลุ่มชาติในภฺมิภาคหนึ่งภาคใดและเห็นว่าบรรดารัฐต่างๆ ควรมีสิทธิเข้ารวมกลุ่มจัดตั้งขบวนการป้องกันในท้องถิ่น นอกเหนือจากการเป็นสมาชิกองค์การระดับโลก
           ต่อเมื่อความเลื่อมใสศรัทธาต่อองค์การสหประชาชาติได้หย่อนคลายลงไปการสนับสนุนข้อตกลงร่วมมือระหว่างรัฐบาลในส่วนภูมิภาคจึงทวีขึ้นตามลำดับ ดังที่ปรากฎจากจำนวนสมาคมหรือสถาบันต่าง ๆ ส่วนภูมิภาคที่เพ่ิมขึ้นมากรายในระยะหลังๆ
            อย่างไรก็ดี การหมายมั่นให้องค์การส่วนภูมิภาคเป็นวิถีทางหนึ่งในการส่งเสริมความมั่นคงระหว่งชาติเป็นปัญหาที่จะต้องวิเคราะห์และพิจารณากันต่อไปว่าจะบ่ายโฉมหน้าไปทางทิศใด แต่เท่าที่ปรากฎให้ประจักษ์ สถาบันระวห่างประเทศไม่ได้ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร กล่าวคือ ไม่สามารถสนองตอบเป้าหมายที่ได้วางไว้แต่แรกเริ่มได้ ทั้งนี้ด้วยอุปสรรคขัดขวางหลายประการด้วยกัน ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาและศึกษาต่อไป
           ประเภทขององค์การสวนภฺมิภาค การแบ่งประเภทองค์การส่วนภูมิภา อาจกระทำได้โดยใช้บงรรทัดฐานแห่งความมั่นคงเป็นเกณฑ์ ทั้งนี้ด้วยเหตุที่ว่า ปั้จจัยเบื้องแรกที่ดึงดูดให้รัฐต่างๆ สนใจต่อการร่วมมือกันจัดตั้งองค์การระหว่างรัฐบาล คือ ความปรารถนาที่จะเห็นความมั่นคงและความปลอดภัยบังเกิดขึ้นแก่ชาติของตน ตลอดจนกลุ่มชาติในบริเวณใกล้เคียง ความมั่นคงนี้ไม่จำเป็นต้องตีควาใมในเชิงความปลอดภัยจาการคุกคามทางทหารอย่างเดียว แต่อาจมีนัยความหมายในเชิงการมีเสถียรภาพมั่นคงทางเศราฐกิจ สังคม และการเมืองได้เช่นเดียวกัน  ถ้าพิจารณาโดยละเอียดจะเห็นว่า องค์การระหว่างรัฐต่างๆ ไม่ว่าจะสถาปนาขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เช่นไร จุดมุ่งหมายสุดยอด คือ เจตจำนงที่จะสร้างความมั่นคงให้ลังเกิดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เช่นไร จุดมุ่งหมายสุดยอด คือเจตจำนงที่จะสร้างความมั่นคงให้บังเกิดขึ้นในทุกๆ ด้าน ด้งที่กล่าวข้างต้น
          ลักษณะหรือจุดหมาย เน้นในทางสมานสมัคคีกันเองในกลุ่ม กล่วคือ พยายามสนับสนุนการประนีประนอมในการระงับข้อพิพาทบาดหมางโดยสันติวิธีทั้ง่งเสริมใหมีการประสานนโยบายทั่วไปให้สอดคล้องกันเองภายในกลุ่มด้วย
            ลักษณะที่สอง มักจะเน้นการตกลงผูกมัดด้วยเลื่อนไข การร่วมือทางทหารตามพันธกรณีที่บัญญัติไว้ ผุ้ร่วมสัญญาจะต้องยอมรับหลักการให้ความช่วยเหลือหรือร่วมป้องกันเมื่อมีการรุกรานหรือโจมตีสมาชิกฝ่ายอื่นๆ
            ลักษณะที่สาม จะเป็ฯในรูปของการเจาะจงหน้าที่ในด้านต่างๆ กัน เพื่อการพัฒนาและเชื่อมความสัมพันธ์์ต่อกันและกันของกลุ่มสมาชิกในเครือ ส่วนมากส่งเสริมผลประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนช่วยเลหือกันทางสวัสดิการ ด้านวิทยาการเทคนิค โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเศรษฐกิจ ตลอดจนด้านอื่นๆ ด้วย
             ด้วยลักษณะทั้งสามประการจึงแยประเภทขององค์การส่วนภูมิภาคออกเป็น สามกลุ่มใหญ่ ดังนี้
             1) ประเภท Cooperative องค์การที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้มีลัษณะแนวโน้มทั้งสองประการแรกรวมกกันน กล่าวคือ มีลักษณะเด่นในทางส่งเสริมความเป็ฯปึกแผ่นของภาคีในภาคพื้น องค์การมีบทบาทในการจัดแจงไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทระหว่างรัฐในหลุ่มเดี่ยวกัน
พร้อมทั้งส่งเสริมนโยบายการป้องกันร่วมกันของภาคีสมาชิก หากมีการรุกรานแทรกแซงจากภายนอก เช่น องค์การรัฐอเมริกัน OAS และองค์การเอกภาพแห่งอาฟริกา OAU อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีสัญญข้อตกลงร่วมป้องกันการุกรานรวมอยู่ในกฎบัตร องค์การเหล่านนี้ไม่ถือว่มีลักาณะเป็นพันธมิตรแบบเดียวกับองค์การสนธิสัญญป้องกันร่วมกันโดยตรงเพราะเจตจำนงใหญ่ขององค์การ คือ การร่วมประสานนโยายและรับผิดชอบต่อภูมิภาคส่วนตนเหนืออื่นใด
             2) ประเถทพันธมิตรทางทหาร Alliance องค์การที่สังกัดอยู่ในกลุ่มนี้ทั้งหมดถือกำเนินจากสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกัน โดยที่กลุ่มประเทศในเครือสนธิสัญญาร่วมตกลงผุกมัดตนเองเข้าด้วยกัน และวางเงื่อนไขว่า กรณีที่มีการโจมตีภาคีสมาชิกชาติหนึ่งชาติใด สมาชิกฝ่ายอื่นๆ หรือทั้งหมดจะต้องใช้มาตรการต่างๆ โดยเฉพาะทางทหานให้ความคุ้ม
กันภัยแก่ภาคีนั้นๆ องค์การสนธิสัญญาประเภทนี้ เกิดขึ้นมากมานในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่สองตามอาณาบริเวณต่างๆ กัน เช่น องค์การ นาโต้, วอร์ซอว์แพคท์,แอนซุส,และเซนโต้ เป็นต้น แม้องค์การประเภทนี้ระยะล่าสุดลดกิจกรรมทางทหารและเพิ่มบทบาททางพลเรือนแทน แต่องค์การเหล่านี้ยังคงรักษาเจตจำนงดั้งเดิมไว้ไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแต่อย่างไร
            3) ประเภทFunctional คือมองในแง่หน้าที่ -ประโยชน์ องค์การประเภทนี้คือ บรรดาสภาบันระหว่งรัฐบาล ซึ่งได้วางจุดมุ่งหมายหน้าที่โดยเฉพาะไว้เพื่อส่งเสริมผลประโยชขน์จากากรร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเมือง ภาพพจน์ขององค์การเหล่านี้ไม่ได้แสดงออกในรูปของการจัดตั้งขบวนการป้องกันทางทหารหรือเกี่ยวพันกับกิจกรรมทางทหารแต่อย่างใด องค์การที่จัีดอยู่ในหมู่ที่สามนี้โดยทั้งไป
             
       - สมาชิกในเครือองค์การเหล่านี้ มีความแน่นอนใจล่วงหน้าแล้ว การขัดแย้งที่ถึงบังเกิดขึ้นในหมู่ภาคีของตนจะไม่ก้าวไปถึงขนาดการใช้กำลังอาวุธ ประเทศในกลุ่มต่างนอนใจได้ว่า การขัดแย้งทางผลประโยชน์กันเองสามารถลงเอยได้ด้วยการประนีประนอมของคู่กรณี
                        - ลักษณะหลัง คือ สถาบันระหว่างรัฐเหล่านรรี้ มุ่งปฏิบัติภารกิจหน้าที่ เช่นด้านเศรษฐกิจการค้า วิทยาการเทคนิค หรือในด้านระบบการเงิน เพื่อให้เกิดการคงตัวในระดับการพัฒนา จะไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องหรือมีพันธกรณีทางทหารและกำลังอาวุธทั้งปวง
                อาจกล่าวเป็นแนวกว้างๆ ได้ว่า ความคิดแนวภูมิภาคนิยมได้เป็นพลังจูงใจ และสร้างความเลื่อมใสให้บังเกิดขึ้นในหมู่รัฐบุรุษจากนานาประเทศทัวๆ โลก ทั้งนี้อาจวัดความนิยมดังกล่าวได้จากจำนวนองค์การส่วนภูมิภาคที่บรรดาชาติต่างๆ ได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อเ่รงแสวงหาความมั่นคงและส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันในขอบเขตของตน
               แม้ว่าบรรดาประเทศทั้งเล็กและใหญ่ต่างเล็งเห็นความสำคัญของอวค์การในระดับภูมิภาคทั้งในแง่เพื่อยึดเหนี่ยวและอำนวยประโยชน์ซึ่งกันและกัน ตลอดจนเพื่อควบคุมความเป็นระเบียบในความสัมพันธ์ระหว่างกัน แต่ปัจจุบันภาวะอย่างหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้คือ องค์การส่วนภูมิภาคไม่สามารถปฏิบัติการสนองตอบให้สมกับความมุ่งมาดปรารถนาดังที่กำหนดไว้แต่แรกเริ่มได้ การประเมินประสิทธิภาพขององค์การส่วนภูมิภาค บ่งให้เห็นว่าความพยายามทุกๆ วิถีทางที่จะบรรเทาความ
ตึงเครียดและรักษาความมั่นคงในระดับภูมิภาคให้คงอยู่ต่อไปนั้นมิได้สัมฤทธิผลตามวัตถประสงค์มากเท่าใดนัก ในข้อนี้จะเห็นได้จากบทบาทขององค์การส่วนภูมิภาคจำพวกพันธมิตรทางทหารโดยเฉพาะ ซึ่งเมื่อพิจารณาในทางเป็ฯจริงแล้ว องค์การประเภทนี้กลับกลายเป็นเครื่อบงทวีความคลางแคลงสงสัีย และตัวถ่วงรั้งความตึงเครียดไว้ในบรรยากาศการเมืองระหว่างประเทศมากกว่าที่จะช่วยเสริมสร้างสันติภาพและเสถียรภาพระหว่างประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากชาติมหาอำนาจต่างก็มีเบื้องหลังเคลื่อบแฝงอยู่ในนโยบายของตน และพยายามชักนำผลประโยชน์มาสู่ฝ่ายตนให้ได้มากที่สุด เพื่อที่ต่างฝ่ายต่างจะได้ใช้กลไกข้อตกลงเป็นเครื่องคอนคุมเชิงซึ่งกันและกัน และคอยรักษาอำนาจและเขตอิทธิพลของตนเงอไว้ สภาพการณ์ขององค์การส่วนภูมิภาคในลักษณะดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้องค์การพันธมิตรทางทหารเริ่มเสื่อมคลาย
ทางบทบาทลง เพราะไม่ได้ยังประโยชน์ให้กับสังคมระหว่างชาติส่วนรวมเท่าใดนัก แต่ความจริงประการนี้มิได้หมายความว่า คุณประโยชน์ความหมายและความเจริญก้าวหน้าขององค์ฏารส่วนภูมิภาคจะหมดสิ้นไป อันที่จริงแล้ว นักวิเคราะห์ในสาขานี้หลายท่านกลับเล็งเห็นว่าพลังของการร่วมมือในกรูปแบบขององค์การเศรษฐฏิจ ซึ่งมุ่งส่งเสริมารพัฒนางานด้านสวัสดิการในอันที่จะช่วยยกระดับทางเศรษฐกิจของชาติภาคีในกลุ่มนั้นต่างหากที่จะ่วยพยุงหลักการภูมิภาคนิยมให้ยืนหยัดต่อไ ตลอดจนสามารถขยายวงงานในขอบเขตภูมิภาคให้ก้าวไปสู่การร่วมมือกันของประชาชาติในระดับโลกได้
              ปัจจัยที่สร้างความตื่นตัว และดึงดูดความสนใจในเเขนงนี้เนื่องมาจากความสำเร็จขององค์การตลาดร่วมยุโรปที่ทั่วๆ ไปต่างยอมรับกันว่าเป็นสถาบันที่มีความมั่นคงเพียงพอ แลฃะเป็นรากฐานที่แข็.กกร่งสำหรับก้าวไปสู่การวาวนฝโยบายร่วมกันในทางการเมืองได้ แต่กระนั้นก็ดี อุปสรรคที่กีดขวางและรั้งความเจริญก้าวหน้าขององค์การส่วนภูมิภาคก็เป็นส่ิงที่ไม่ควรละเลย แต่ควรได้รับการพัฒนาหาลู่ทางออกตามแต่กรณี ปัญหาพอกพูนที่ขวางกั้นมิให้องค์ฏารดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอนั้นเป็นเรื่องของการกระทบกระทั่งกันทางผลประโยชน์ของแต่ละรัฐเสียส่วนมาก การทะเลาะเบาะแว้งกันเองเป็นสาเหตุที่ไม่มีจุดส้ินสุด ในเมื่อต่างฝ่ายต่าง
คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติตนเป็นสำคัญ ทั้งนี้สืบเนื่องมาแต่ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจของแต่ละชาติภาคีบ้าง รูปแบบของสังคม ทัศนคติโครงการปกครองที่ผิดแผกจากกันบ้าง หรือความเห็ฯไม่ลงรอยของรํฐบุรุษที่ยึดถืออุถดมการณ์คนะลแนวทาง ตลอดจนปัญหาความแตกต่างทางวัฒนธรรมและอื่นๆ นอกจากนั้นยังเป็นการยากที่สถบันระหว่างรัฐจะดำเนินรอยตามเจตนารมณ์ได้อย่างสมบูรณ์ในเมื่อหลายชาติยังไม่เพียบพร้อมที่จะยอมรบอำนาจสถาบันที่มีัลักษณธเป็การบั่นทอนการใช้อำนาจอธิปไตยในบางกรณีได้ อนึ่ง ความกระตือรือร้นที่จะลอกเลียนแบบพัฒนาการของการรวมตัวทางเศรษฐกิจเยี่ยงในยุโรป ทำให้บรรดากลุ่มองค์การส่วนภูมิภาคอื่นๆ มองข้ามความต้องการทางเศรษฐกิจของแต่ละภาคีสมารชิกในกลุ่มด้วยกันเองเสียสิ้น จะเห็นได้ว่า ชาติภาคีด้วยกันเองส่วนมากเป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางเกษตรกรรม และมีผลผลิตคล้ยคลึงกัน การส่งสิ้นค้าออกจำหน่ายจึงมีลักษณะเป็นการแข่ขันกันเองมากกว่า และคงต้องอาศัยการค้าขายกับประเทศนอกกลุ่มเช่นเดิม ลำพังการและเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันเองคงไม่สามารถป้อนความต้องการทางเศรษฐกิจของแต่ละสมาชุกได้พอเียง ดังน้ันปัญหาในลักษณธที่กล่าวจึงทำให้ภาคีของสถาบันเหล่านี้ไม่อยู่ในฐานะที่จะพึ่งพากันเองได้เต็มที่และโอกาสที่องค์การเหล่านี้จะร่วมกันประสานระบบการค้าแบบปกป้องคุ้มกันภาคีสมาชิกในกลุ่มจากการเอารัดเอาเปรียบของกลุ่มภายนอก ย่อมลดลงเป็นเงาตามตัว ฉะนั้น ปัฐหาทั้งหมดจึงอยู่ที่ความตั้งใจจริงและการรอมชอมของภาคีสมาชิกในทุกๆ กลุ่มที่จะช่วยลดความขัแย้งทั้งหมดให้น้อยลง และหันมาส่งเสิรมการ่วมือกันเองโดยตรง

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560

Mekong River

             กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพญานาคราช สองตัวเป็นเพื่อนรักกันมาก ชื่อ ฑพญาศรีสุทโธนาค" กับพญาสุวรรณนาค"ทั้งสองแบ่งกันปกครองเมืองบาดาลหนองกระแสฝ่ายละครึ่งเมือง ซึ่งคนสมัยก่อนเชื่อกันว่า "หนองกระแส" คือเมืองบาดาลอยู่ใต้ทะเลสาบ"หนองหาน" พญานาคทั้งสองนั้นมีพญานาคบริวารฝ่ายละ 500 ตัว ทุกๆ ปีทั้งสองฝ่ายจะไปมาหาสู่กันเพื่อเยียมยามถามข่าวถึงสารทุกข์สุกดิบกันอยู่เสมอมิได้ขาด

             อยู่มาวันหนึ่งพญาศรีสุทโธนาคได้พาบริวารออกไปล่าสัตว์ในป่าเผอิญล่าได้ช้าป่ามาตัวหนึ่งพญาศรีสุทโธนาคนึกถึงสหายพญาสุวรรณนาค จึงชำเเหละเนือช้างให้บริวารนำไปให้ครึ่งตัว เมื่อพญาสุวรรณนาคได้รับของฝากจาเพื่อรักเป็นเนื้องช้างก็มีความยินดี จึงได้ส่งสาส์นแสดงความขอบใจมายังพญาศรรีสุทโธนาค ทั้งบอกว่าในโอกาสหน้าตนคงจะได้ส่งของฝากมาเป็นการตอบแทนบ้าง  วันหนึ่งพญาสุวรรณนาคได้พาบริวารออกไปล่าสัตว์ในป่า โดยล่าได้เม่นมาหนึ่งตัว พญาสุวรรณนาคจึงสั่งให้ชำแหละเนื้อเม่นแล้วแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเอาไว้กินเอง และอีกส่วนหนึ่งให้บริวารนำไปให้แก่พญาศรีสุทโธนาค เพื่อเป็นของฝาก พญาศรีสุทโธนาคเมื่อได้รับเนื้อเม่น เห็นว่ามีจำนวนน้อยนิดผิดกับเนื้อช้างที่ตนนำไปให้ก็ไม่พอใจ โดยคิดว่าเม่นน่าจะตัวใหญ๋หว่าช้าง เพราะขนเม่นยาวกว่าขนช้าง จึงไม่รับของฝากนั้น
พอพญาสุวรรณนาคทราบดังนั้นก็ไม่สบายใจ รีบเดินทางมาอธิบายชีแจงใหพญาศรีสุทโธนาคฟังว่า แม้ขนเม่นจะยาวกว่าขนช้างแต่เม่นก็ตัวเล็กกว่าช้างมาก ฉะนั้น เนื้อเม่นคตังตัวจึคงน้อยกว่าเนื้อช้างครึ่งตัวแน่นอน แต่พญาศรีสุทโธนาคก็ไม่ฟังเหตุผล หาว่าพญาสุวรรณนาคเอาเปรียบตน จคึงเกิดการโต้เถียงทะเลาะกันอย่างรุนแรงจนถึงประกาศท้ารบกันขึ้น พญาศรีสุทโธนาคผุ้มุทะลุจึงยกทัพนาคมาบุกประชิดติดชายแดนเมืองหนองกระแสด้านที่อยู่ในความปกครองของพญาสุวรรณนาค การเคลื่อนพลมาอย่างรีบร้อนทำให้น้ำในทะเลสาบหนองกระแสขุ่นคลั่กเป็นสีชมพู ฝ่ายพญาสุวรรณนาคเห็นดังนั้นก็จนใจต้องพาบริวารออกต่อสู้กับเพื่อนรัก เพื่อป้องกันแว่นแคว้นในปกครอง พญานาคทั้งสองฝ่ายได้เข้าต่อสู้ประหัตประหารกันอยู่นานถึง 7 ปี แต่ก็ไม่มีฝ่ายใดชนะอย่างเด็ดขาดสงครามนาคครั้งนี้ทำให้โลกสั่นสะเทือนลั่นหวั่นไหวสะท้านไปถึงสวรรค์และบาดาล เดือดร้อนกันไปทั่วทั้งมนุษย์ เทวดา และนาค จากเรื่องที่เข้าใจผิดกัน
             พญาแถนผู้เป็นใหญ่บนสวรรค์เห็นเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจึงเสด็จมายังดลมนุษย์ ณ บริเวณสนามรบที่เมืองหนองกระแส พร้อมมีเทวโองการว่า
             "ข้าพญาแถนจอมสวรรค์ผู้ยิ่งใหญ่ ขอสั่งให้สองฝ่ายหยุดรบกันพวกเจ้าไม่มีใครเก่งกว่าใคร และขอประกาศให้เมืองหนองกระแสเป็นเขตปลอดสงคราม ให้ทั้งสองจงพาไพล่พลออกจากเมืองหนองกระแสโดยด่วนที่สุด ถ้าเจ้าทั้งสองเก่งจริงขอจงไปสร้างแม่น้ำแข่งขันกันเถิดใครสร้างแม่น้ำไปถึงทะเลก่อนถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ชนะ แล้วข้อจะปล่อยปลาบึกลงในแม่น้ำสายที่สร้างเสร็จก่อน"
         
  พอสิ้นเทวโองการ พญานาคทั้งสองต่างก็พากันแยกย้ยไปในทันที โดยพญาศรีสุทโธนาคผู้มีอารมณ์อันมุทะลุดุดันและมุ่งหวังเอาชนะ ได้สร้างแม่น้ำไปทางทิศตะวันออกของเมืองหนองกระแสอย่างรีบร้อยไม่พิถีพิถันเอาเสร็จเข้าว่า แม่น้ำจึงคดเคี้ยวเลี้ยวไปมาตามแนวภูเขชาจึงเรียกว่า "แม่น้ำโค้ง"ต่อมาเพี้ยนเป็น "แม่น้ำโขง" ส่วนพญาสุวรรณนาคผุ้ใจเย็นสุขุมลุ่มลึก พาไพล่พลสร้างแม่น้ำมุ่งไปยังทิศใต้ของเมืองหนองกระแส โดยตั้งใจสร้างอย่างพิถีพิถันเป็นเส้นตรง เพื่อย่นระยะทางในการสร้าง แม่น้ำสายนี้จึงเรียกชื่อว่า "แม่น้ำน่าน" ผลของการสร้างแม่น้ำแข่งกันในครั้งนี้ ปรากฎว่าพญาศรีสุโธนาคเป็น่ายชนะ พญาแถนจึงปล่อยปลาบึกซึ่งเป็นน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดลงในแม่น้ำโขง และเป็นแม่น้ำสายเดียวเท่านั้นที่มีปลาบึกอาศัียอยู่จนทุกวัีนนี้( วิเชียน เกษประทุม. นิทานพื้นบ้าน ชุดที่ 5 ชุดตำนาน, กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์พัีฒนาศึกษา, 2551.)
             แม่น้ำโขง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัยไหลผ่านบริเวณที่รอบสูงทิเบตและ มณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ผ่านประเทศ จีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งสิ้น 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชาง หรือ แม่น้ำล้านช้างและเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่าและประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึคงคำเมืองล้านนาก็เรียกแม่น้ำของ เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง
            ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือมีตลิ่งสูงชันมากทั้งสองฝั่่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปีระดับ ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศต่างๆ หลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่า แม้น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูปตะวันออก
             นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็นหนึ่งในสามของแม่น้ำที่ำด้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนานภายใต้ชื่อพื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนานพื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลากทางชีวภาพสูง(wikipedia. แม่น้ำโขง)
       
 6 เหลี่ยมเศรษฐกิจ กลุ่มความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง Greater Mekong Subregion cooperation(GMS) คือ กลุ่มประเทศอาเซียนที่เชื่อมโยงโดยผ่านแม่น้ำโขงมี 5 ประเทศและรวมกับจีนแทบยูนนานเป็น 6 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว เวยดนาม กัมพูชา และทางตอนใต้ของจีนแทบยูนนาน ได้มีการจัดทำแผนความร่วมมือเชื่อมโยงเครือข่ายด้านสธารณูปโภคพื้นฐานมากว่า 2 ทศวรรษ โครงการดังกล่าวเิร่มจากากรทำแผนจังหวัดยุทธศาสตร์ของกระทรวงมหาดไทยซึ่งมีคุณอนันต์ อนันตกูล เป็นปลัดกระทรวงซึ่งได้ริเริ่มจัดทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัด 5 แห่ง ได้แก่ ภูเก็ต นครศณีธรรมราช ชลบุรี มุกดาหารและเชียงราย ในกรอบยุทธศาสตร์ของจังหวัดเชียงรายกได้มีวิสัยทัศน์เชื่อมโยงจังหวัดเชียงรายเข้ากับประเทศเพื่นบ้าน ซึ่งก็คือต้นกำเนิดของ 6 เหลี่ยมเศรษฐกิจ ต่อมา ADB ได้ให้การสนับสนุนกับโครงการดังกลาวและกลายเป็นนโยบายของรัฐบาลไทยซึ่งในยุคนั้นมีรองนายกฯ คือคุณศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นผู้ริเริ่มและให้การสนับสนุนจนกลายเป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ
            ในกรอบ AEC ข้อที่ 2 คือการส่งเสริมขีด

ความสามารถการแข่งขันและอีก 1 องค์ประกอบคือ พัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานร่วมกัน GMS จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของ AEC ซึ่งเป็นโครงการพัี่พัฒนาต่อเนื่องมาก่อนหน้านี้ และเมื่อพม่าเปิดประเทศ โครงการดังกล่าวยิ่งได้รับความสนใจและมีพลวัตรของการขับเคลื่อนที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ภายใต้กรอบดังกล่าว แต่ละประเทศตกลงที่จะรับผิดขอบในการพัฒนาเครือข่ายสาธารณูปโภคพื้นฐานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางน้ำ ทางบก และอื่นๆ และแน่นอน เครือข่ายดังกล่าวย่อมทำให้เกิดการขยายตัวของเครือข่ายคมนาคม โลจิสติกส์ หรือเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ซึ่งจะช่วยหนุนด้านการค้าและการลงทุนของประเทศในกรอบดังกล่าว ภายใต้ GMS จะมีกรอบเชื่อมโยงที่เรียกว่า ระเบียง Corridors 3 ระเบียง กล่าวคือ
         1) เรียกว่า North-South ซึ่งมีการเชื่อมโยง 3 เส้นทาง เริ่มจากยูนนาน ลาว พม่า จังหวัดพิษณุโลก กรุงเทพฯ เข้า ประจวบ และไปเชื่อมโยงกับสามเหลี่ยมทางตอนใต้ (Indonesia-MalaySia-Thailand Growth Triangle : IMT-GT)
          2) เรียกว่า East-West เริ่มจาก แว้ ดานัง สุวรรณเขต เข้าอีสาน เชื่อมต่อ พิษณุโลก กรุงเทพฯ ไปออกเมืองมะละแหม่ง และเมาะลำไยของพม่า ไปสู่กลุ่ม BIMST-ECไปออกอินเดีย เชื่อต่อไปสู่ตะวันออกกลาง และยุโรป
          3) South-South เชื่อมต่อ 4 เส้นทาง เริ่มจากกรุงเทพฯไปจบที่เวียดนาม บางเส้นจบที่หวงเตา บางเส้นจบผ่านเสียมเรียบ บางเส้นผ่านตราดและกาะง การเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้เกิดการขยายตัวของเมืองทำให้เกิดการขยายตัวของเขตเศรษบกิจจำเพาะ โดยเฉพาะบริเวณรอบต่อ เช่น แม่สอด แม่สายกับเมียวดี หนองคายกับลาว ตราด เกาะกงกับกัมพูชา การเชื่อมต่อจะทำให้เกิดการขยายตัวของการค้าและการลงทุน ซึ่งทำให้ราคาที่ดินขึ้นอย่างมหาศาล จังหวัดที่อยุ่ในกรอบเส้นทางดังกล่าว โดยเฉพาะพิษณุโลก ราคาที่ดินขึ้นถึง 1,000 เปอร์เซนต์(http//www.chaoprayanews.com, ความร่วมมือเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(GMS),1 สิงหาคม 2014.)
           ...เตือนใจ ดีเทศน์ อดีต ส.ว. จังหวัดเชียงราย กล่าวว่า แม่น้ำโขงตอนบนอยู่ในประเทศจีนที่เรียกว่า แม้น้ำล้านช้าง หรือหลานชางเจียง ถูกรัฐบาลจีนกำนหดแผนสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้า 28 เขื่อน ขณะนี้สร้าเสร็จแล้ว 6 เขื่อน
              นักธรณีวิทยาระบุว่า แม่น้ำโขในจีนตั้งอยุ่บนรอยเลื่อนของเปลือกโลกที่ยังมีพลังแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในยูนนานหลายครั้ง หากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงเขื่อนอาจแตก
              งานวิจัยหลายช่ินชี้ว่านับแต่มีเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงในจีน "ปริมณน้ำในฟดูน้ำหลกลดลง แต่ปริมาณน้ำในฤดูแล้วกลับเพิ่มขึ้น" ในฤดูแล้งเกือบ 100 เปอร์เซนต์ของน้ำโขง ที่อำเภอเชียงแสน จ.เชียงราย ไหลจากมแ่น้ำโขงไปจีน ส่วนในฤดูน้ำหลากปริมาณน้ำโขงกลับลดลง เพราะมีการเก็บกักน้ำไว้ในเขื่อน สิบกว่าปีที่ผ่านมาพบว่าส่งผลกระทรุนแรง ทำให้พื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่างที่น้ำท่วมถึงลดลงทำลายความมั่นคงทางอาหารประเทศท้ายน้ำ ตะกอนดิน สารอาหารที่สมบูรณ์ถูกเก็บกักไว้ในเชื่อ ส่งผลต่อการทำเกษตรริมฝั่ง เกิดการกัดเซาะตลิ่งและท้องน้ำ
              "ทางท้ายน้ำกด้ฒีความกังวลว่าสามเหลี่ยนมปากแม่น้ำโขงในเวียดนามที่ค่อยๆ จมลงนั้นอาจเป็นเพราะขาดดินตะกอนมาทับถมเพ่ิมเติมจากแม่น้ำโข เมื่อเกิดพายุความเสียหายจะรุนแรงยิ่งขึ้น"
              สำหรับ.."ชะตากรรมของแม่น้ำโขงตอนล่าง" อดีต ส.ว.เชียงราย กบล่าวว่า รัฐบาล 4 ประเทศในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ได้แก่ ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม มีแผนสร้างเขื่อนและโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ 12 โครงการ (http//www.thairath.co.th, อภิมหาเขื่อนยักษ์ หายนะแม่โขง)

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

The Socialist Republic of Vietnam

            เวียดนาม เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ของชาติที่ยาวนานประเทศหนึ่ง มีสภาพแวดล้อมประชิดติดกับจีน ลาว และกัมพุชา การที่เวียดนามตั้งอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีนทำให้เวียนดนามได้รับอิทธิพลด้านต่างๆ อาทิ วัฒนธรรม ศาสนา ภาษา และการเมืองการปกครองในอดีตมาจากอินเดียและจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจีน ซึ่งเวียดนามเคยตกเป็นเมืองขึ้นเป้นเวลานับพันปี ต่อมาเวยนามเป็นเอกราชกว่า 900 ปี จึงตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสในยุคอาณานิยมจนถึงสงครามโลครั้งที่ 2 จึงตกเ็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่นชั่วคราว เมื่อสิ้นสุดสงครามเวียดนามได้รับเอกราชในห้วยระยะเวลาสั้นๆ ก่อนผรังเศสกลับเข้ายึดครองอีกครั้ง  เวียดนามรบชนะฝรั่งเศสที่เดียน เบียน ฟู เป็นผลให้มีการเจรจาสันติภาพที่กรุงเจนีวา
กำหนดให้แบ่งเวียดนามเป็นเหนือ-ใต้ ชั่วคราวเป็นเวลา 2 ปี แต่ก็ไม่สามารถรวมกันได้ โดยผุ้นำเวียดนามใต้อ้างว่าไม่ได้ลงนามในสนธิสัญญานั้น เวียดนามใต้เกรงกลัวว่าหากปล่อยให้มีการเลือกตั้งเพื่อรวมปรเทศในครั้งนั้นฝ่ายใต้จะเป็นฝ่ายแพ้เนื้องจากความนิยมชองชาวเวียดนามที่ีมีต่อโอจิมินห์ ซึ่งเป็นผู้นำเวียดนามตอนเหนือ (ความแตกแยกเหนือ-ใต้ ของเวียดนามมีมาตั้งแต่โบราณจากความแตกต่างทางภฺมิศาสตร์ แนวคิด อุดมการณ รวมทั้งคุณลักษณะของประชากร) ทำให้เวียดนามตกอยู่ในสภาวะสงครามภายใน ซึ่งต่อมากลายเป็นสงครามตัวแทนของฝ่ายคอมมิวนิสต์และฝ่ายโลกเสรีในยุคสงครามเย็น กระทั่งปี พ.ศ. 2518 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของเวียดนามเหนือและเวียดกง ต่อเวียดนามใต้และพันธมิตร ในปีต่อมาเวียดนามก็สามารถรวมประเทศได้อีกครั้งภายใต้ระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
           จากชัยชนะครั้งนั้น ประกอบกับการหนุนหลังของสหภาพโซเวียตและประเทศในยุโรปตะวันออกในการขยายอิทะิพลอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ รวมทั้งแนวคิดของอดีตผู้นำเวียดนามคือ โฮจิมินห์ ที่เรียกว่าพินัยกรรม ฉบับ พ.ศ.2512 และสรรนิพนธ์โฮจิมินห ซึ่งพิจารณาว่าลาวและกัมพูชาเป็นดินแดอยู่ในอาณัติของเวียดนามด้วย ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เป็นผลให้เวียดนามกำหนดนโยบายต่างประเทศเป็นมิตรกับประเทศในกลุ่มคอมมิวนิสต์และเป็นศัตรูกับประเทศโลกเสรีทั้งยังส่งทหารเข้ารุกรามกัมพูชา และยึดพนมเปญได้ใน ผลจากการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และการกระทำของเวียดนามในครั้งนั้นได้กระทบต่อสภาพแวดล้อมในภูมิภาคอย่างใหญ่หลวง ประเทศโลกเสรีทั้งหบลาย รวมทั้งอาเซียนต่างก็วิตกถึงภัยคุกคามจาการแพร่ขยายของคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประทเศไทยฐานะประเทศด่านหน้า ทำให้ประเทศต่างๆ ในอาเซียนหันมากระชับความร่วมมือระหว่างกันมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการยึดครองกัมพูชาของเวียดนาม ทั้งทางการเมืองระหว่างประเทศและการให้ความช่วยเลหือกองกำลังกัมพูชา 3 ฝ่ายอย่างลับๆ ในกาต่อสู้กับรัฐบาลหุ่น เฮง สัมริน ของเวียดนาม อาจกล่าวได้ว่า ผลจากสิ่งแวดล้อมในขณะนั้นได้กระทบต่อนโยบายของแต่ละประเทศในอาเซียนและนโยบายของอาเซียนโดยส่วนรวม
             เมื่อสถานะการณ์เปลี่ยนไป อภิมหาอำนาจสหภาพโซเวียตประสบปัญหาเศรษบกิจภายในประเทศ มิคาเอง กอร์บาชอฟ เปลี่ยนนโยบายทั้งนโยบายภายในและต่างประเทศโดยนำนโยบายการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการเปิดกว้างทางการเมืองมาใช้ และการดำเนินการของอาเชียนในเวทีการเมอืงโลก เพื่อผลักดันเวียดนามให้ออกจากกัมพูชา และปัญหาภายในเวียดนามเอง ส่งผลให้เวียดนามต้องถอนทหารออกจากกัมพูชาในปี พ.ศ. 2532 ซึ่งช่วยคลายความตึงเครียดในภูมิภาคเป็นอย่างมาก  และเมื่อโลกสิ้นสุดยุคสงครามเย็นอันเนื่องมาจากการล้มสลายของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2534 เวียดนามเองก็ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้ จึงปรับท่าที่โดยใน พ.ศ. 2535 เวียดนามได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งเป็นฉบับที่ 4 สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ เลิกระบุชาติที่เป็นศัตรู เลิกระบุถึงพินัยกรรมโอจิมินห์ ทางด้านนโยบายต่างประเทศได้ปรับเปลี่ยนเป็นการสร้างความร่วมมือต่อทุกประเทศโดยไม่คำนึงถึงคามแตกต่างทางการเมือง นอกจากนี้ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจก็มีส่วนสำคัญ ที่ทำให้เวียดนามต้องทำการปฏิรูปทางเศรษฐกิจของตนเองโดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2529 จนถึงปัจจุบัน เวียดนามมีระบบเศรษฐกิจที่ยินยอมให้การตลอดเข้ามามีบทบาทสำคัญ ภายใต้ระบบการเมืองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (งานวิจัย "ทัศนะของทหารต่อการเข้าร่วมเป็นสมาขิกอาเซียนของเวียดนาม" บทที่ 2, น.17-19, 2538.)
             ลักษณะการปกครอง  เวียดนามเป็ฯประเทศสัีงคมนิยมที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ (พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเวียดนาม Communist of Vietnam-CPV ซึ่งเป็นสถาบันการเมืองที่มีอำนาจสูงสุด ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายในการปกครองประเทศโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการร่างกฎหมายและปกครองทั่วไป ประธานาธิบดีทำหน้าที่ดูแลนโยบายของรัฐ การทหาร และการรักษาความสงบภายในประเทศและมีสถาบันที่สำคัญคือ รัฐบาล ซึ่งแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีและรับรองโดยสภาแห่งชาิต โดยมีวาระ 5 ปีเวียดนามแบ่งออกเป็น 59 จังหวัด และ 5 เขตเมือง หรือเรียกว่า นคร (Can Tho, Da Nang, Hai Phong, Ha Noi, Ho Chi Minh)
           การเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพ เนื่องจากมีพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นองค์กรที่มีอำนาจ สูงสุดผูกขาดการชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม ที่คานอำนาจระหว่างกลุ่มผุ้นำ ได้แก่
           - กลุ่มปฏิรูป ที่สนับสนุนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ฟาน วัน
           - กลุ่มอนุรักษ์นิยม ซึ่งต่อต้านหรือชะลอการเปิดประเทศ เพราะเกรงภัยของ "วิวัฒนาการที่สันติ" อันเนื่องมากจากการเปิดประเทศ
           - กลุ่มที่เป็นกลาง ประนีประนอมระหว่างสองกลุ่มแรก นำโดยอดีตประธานาธิบดี เจิ่น ดึ๊ก เลือง ส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามต้องปรับแนวทางการบริหารประเทศให้ยือหยุ่นและเปิดกว้างมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถดำเนินไปได้ในย่างก้าวที่รวดเร็วนัก(http//www.61.47.41.107/..การเมืองการปกครองเวียดนาม)
           โครงสร้างการปกครองเวียดนาม
   ฝ่ายนิติบัญญัติ สภาแห่งชาติทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกรวม 493 คน มีอำนาจสูงสุดในการกำหนดนโยบายทั้งภายในและต่างประเทศ มีหน้าที่บัญญํติและแก้ไขกฎหมาย แต่งตั้งประธานาธิบดีตามที่พรรคคอมมิวนิสต์เสนอ ให้การรับรองหรือถอดถอนนายกรัฐมนตรีตามที่ประธานาธิบดีเสนอ รวมทั้งแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ อันเป็นระบบการบิหารแบบผู้นำร่วมสมาชิกสภาแห่งชาติมาจากเลือกตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี  แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต แต่กฎหมายเวียดนามก็อนุญาตให้ผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกของพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งได้เช่นกันโดยต้องได้รับความเห็นชอบจากแนวร่วมปิตุภูมิแห่งชาติ อันเป็นองค์กรส่วนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์ ทำหน้าที่ดูแลรักษาอุดมการณ์สังคมนิยม
           ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี รวมไปถึงตำแหน่งสำคัญในพรรคคอมมิวนิสต์ เช่น สมัชชาของพรรคคอมมิวนิสต์ มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี มีหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการำนินงานขององค์กรริหารระดับสูง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นผุ้มีอำนาจสูงสุดของพรรค คณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์ ทำหน้าที่กำหนดนโยบายด้านการเสือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กรมการเมือง เป็นองค์กรบริหารสูงสุด เป็นศูนย์กลางอำนาจในการกำหนดนโยบายและควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนด
           สภาเเห่งชาติ ของเวียดนาม ปัจจุบันเป็นชุดที่ 12 ได้รับเลือกตั้งเมื่อเดือน พฤษภาคม 2550 ซึ่งในครั้งนี้มีการลงมติรับรองการปรับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยปรับลดจำนวนกระทรวงและรัฐมนตรีเหลือเพียง 22 ตำแหน่ง จากเดิม 26 ตำแหน่ง โดยรวมและยกเลิกกระทรวงต่างๆ ที่มีลักษณะงานใหกล้เคียงหรือสามารถบริหารร่วมกันได้ อาทิเช่น กระทรวงการประมงรวมกับกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทกระทรวงการค้าเปลียนชื่อเป็นกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า คณะกรรมการพลศึกษาและการกีศา รวมกับองค์กรด้านการท่องเที่ยว เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงวัฒนธรรมท กีฆา และท่องเที่ยว กระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม รวมกับกระทรวงวัฒนธรรมและข่าวสาร เปลี่ยนเป็นกระทรวงข้อมูลแบะการสื่อสาร และยกเลิกคณะกรรมการด้านประชากร ครอบครัวและเด็ก เป็นต้น นโยบายดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาลที่ต้องการลดขั้นตอนและซ้ำซ้อนในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ
           การปกครองท้องถิ่น แต่ละจังหวัดจะมีคณะกรรมการประชาชน ทำหน้าที่บริหารงานภายในท้องถ่ินให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ นโยบายและกฎระเบียบต่างๆ ที่บัญญัติโดยองค์กรของรัฐที่อยู่ในระดับสูงกว่า ระบบการบริาหรราชการท้องถิ่นของเวียดนามแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คอื ระดับจังหวัดและเทียบเท่า มี 59 จังหวัด กับอีก 5 นคร คือ ฮานอย โอจิมินห์ ไฮฟอง ดานัง และเกิ่นเธอ ซึ่งจะได้รับงบประมาณจากส่วนหลางโดยตรง รวมทั้งข้าราชการจะได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากส่วนกลาง จึงมีอำนาจในการตัดสินใจอย่างเต็มที่ ชวยให้เกิดความคล่องตัวในการบิรหารงาน สำหรับระดับเมืองและเทศบาลมีประมาณ 600 หน่วยและระดับตำบลมประมาณ 10,000 ตำบล (http//www.boi.go.th/.., โครงสร้างการปกครองของเวียดนาม)

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...