Battery of ASEAN

           พลังงานอาเซียน
           พลังงานเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชนและเป็นปัจจัยพื้นฐานการผลิตในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ดังนั้จึงต้องมีกาจัดหาพลังงานให้มีปริมาณที่เีพียงพอ มีระคาที่เหมาะสม และมีคุณภาพที่ดีสอดคล้องกับความต้องการของผุ้ใช้ในภูมิภาคอาเซียนมีแหล่งทรัพยากรต้นพลังงานที่หลากหลาย ทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาต ถ่านหินและ ไฮโดว์ โปเทรนเทียล ที่มีศักยภาพในการใช้นำผลิตไฟฟ้าและกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ เช่นประเทศริมฝั่งโขง รวมไปถึงบางส่วนของอินโดนีเซีย และรัฐซาราวัคของมาเลเซียจะมีศักยภาพสูงในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ส่วนทางด้านใต้อุดมไปด้วยแหล่งพลังงานจากน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ


             อินโดนีเซีย มีถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติในปริมาณสูงมาก โดยเฉพาะถ่านหินคาดว่าจะสามารถใช้ได้นานถึง 150 ปี ทั้งน้ำมันและถ่านหินสามารถส่งออกทำรายได้ให้ประเทศสูงมาก เป็นผ้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของอาเซียนและเป็นสมาชิกในกลุ่ม OPEC
            มาเลเซีย มีแหล่งพลังงานประมาณมากและมีความหลากหลาย ทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและพลังงานน้ำ สามารถผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติไว้ใช้ในประเทศได้อย่างเพียงพอ และเป็นประเทศผุ้ส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสุทธิ
             บรูไน มีน้ำมันและก๋าซธรรมชาติประมาณมาร รายได้หลักมาจากการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และเป็นผุ้ผลิตก๊าซ LNG อันดับ 4 ของโลก
            เวียดนาม สามารถผลิตน้ำมันดิได้เกินความต้องการ แต่ก็ยังต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปอยู่ เพราะความสามารถในการกลั่นยังไม่สุงพอ ส่วนใหญ่จะส่งไปยังญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลี เวียดนามได้ผลิตก๊าซธรรมชาติสำหรับใช้ภายในประเทศเท่านั้น โดยนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก
             ไทย มีก๊าซธรรมชาติมากในอ่าวไทย และมีลิกไนต์มี่แม่เมาะ แต่ยังมีประมาณไม่มากเมื่อเทียบกับอินโดนีเซีย
              เมียนมา มีพลังงานน้ำหลายหมื่อเมกะวัตต์ และก็าซธรรมชาติจำนวนมาก ซึ่งส่วนหนึ่งส่งออกมายังประเทศไทยด้วย
              ฟิลิปปินส์ มีความหลากหลายของแหล่งพลังงาน เช่น พลังงานน้ำ พลังงานความร้อนใต้พิภพ และพลังชีวมวล
             สปป.ลาว มีพลังงานน้ำมากสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 2 หมื่นเมกะวัตต์ นโยบายส่งเสริมการผลิตพลังงาน และมีการพัฒนาแหล่งพลังงานเพื่อการบริโภคภายในประเทศ ในปัจจุบันไฟฟ้าจึงเป็นสินค้าส่งออกหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งของ สปป.ลาว ซึ่งรายได้จากการส่งออกกระแสไฟฟ้าแต่ละปีมีอัตราเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นธุรกิจหลักที่สร้างรายได้ที่สำคัญต่อประเทศจนได้ชื่อว่าเป็นแหล่งพลังงานของอาเซียน
              กัมพูชา มีแหล่งก๊าซธรรมชาติในบริเวณแหล่งทับซ้อนในอ่าวไทย และมีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากเวียดนาม ไทยและสิงคโปร์ (ศูนย์ข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์, พลังงานอาเซียน)
             สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลตั้งอยู่ใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีน ดลอแนวชายแดนล้อมรอบด้วยประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ทิศเหนือจีน ทิศตะวันออก เวียดนาม ทิศใต้ไทยและกัมพูชา และทิศตะวันตกติกดังประเทศไทยและพม่า
            ลักษณะภูมิประเทศของลาวอาจแบ่งเป็น
            - เขตภูเขาสูง เป็นพืนที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,500 เมตรขึ้นไป พื้นที่น้อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ
            - เขตที่ราบสูง คือพื้นที่ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร ปรากฎตั้งแต่ทางทิศตะวันออกเฉีงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวนไปจนถึงชายแดนกัมพูชา เขตที่ราบสูงนี้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ราบสูงเมืองพวน แขวงเชียงขวาง ที่รบสูงนากาย แขวงคำม่วน และที่ราบสูงบริเวณภาคใต้
            - เขตที่ราบลุ่ม เป้นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำต่างๆ เป้นพื้นที่ที่มีความอุดมสมูรณ์มากที่สุดในเขตพื้นที่ทั้ง 3 เขต นับเป็นพื้ีที่อู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญขอ
ประเทศ แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฎตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำงึม เรียกว่าที่รบลุ่มเวียงจันทร์ ผ่านที่ราบลุ่มสุวรรณเขต ซึงอยู่ตอนใต้เซบั้งไฟ และดซบั้งเหียง และที่ราบจำปาศักดิ์ทางภาคใต้ของลาว ซึ่งปรากฎตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา ทั้งนี้ เมื่อนำพื้นที่ของเขตภูเขาสูงและเขตที่ราบสูงมารวมกันแล้ว จะมากถึง 3 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศลาวทั้งหมด โดยจุดที่สูงที่สุดของประเทศลาวอยู่ที่ภูเบี้ย ในแขวงเชียงขวาง
              ประเทศลาวมีแม่น้ำสายสำคัญอยู่หลายสาย โดยแม่น้ำซึ่งเป้นสายหัวใจหลัก คือ แม่น้ำโขง ซึ่งไหลผ่านประเทศลาวกว่า 1,835 กิโลเมตร นอกจากจะมีคตวามสำคัญทั้งในด้านการ เกษตร การประมง การผลิตพลังงานไฟฟ้า กาคมนาคมจากลาวเหนือไปจนถึงลาวใต้แล้ว ยังเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาวกับประเทศเพื่อนบ้าน และยังมีแม่ส้ำสายสำคัญๆ ของลาวแห่งอื่นๆ อีกได้แก่ แม่น้ำอู แม่น้ำงึม แม่น้ำเซบั้งเหียง แม่น้ำทา แม่น้ำเซกอง แม้น้ำเซบั้งไฟ แม่น้ำแบ่ง แม่น้ำเซโดน แม่น้ำเซละนอง แม่น้ำกะดิ่ง แม่น้ำคาม
            สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ โดยมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ ซึ่งพรรคนี้เร่ิมมีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยมเมื่อ 2 ธันวาคม 2518 (wikipedia.th.org/..สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)
             การพยายามจะเป็น "แบตเตอรี่ของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้"ทำให้เกิดการตื่นตัวของอุตสาหกรรมไฟฟ้าพลังน้ำในลาวเป็นอย่างมาก ความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทยและเวียดนามประกอบกับนักลงทุนใหม่ๆ จากประเทศไทย จีน รัสเซีย เวียดนาม และมาเลเซียช่วยหนุนให้เกิดากรขยายตัวของอุตสาหกรรมนีเพิ่มมากขึ้นลาวมีรายได้หลักจากการส่งออกพลังงาน อาทิ ไฟฟ้าพลังน้ำของลาว รวมถึงน้ำมันและก๊าซธรรมชาติพองพม่าให้กับจีและอาเซียนลาวมีศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจาพลังน้ำสูงมาก ไทยจึงสนใจที่จะลงทุนก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำและรับซื้อไฟฟ้าจากลาว
           ในส่วนของการสร้างเขื่อนการที่ลาวซึ่งเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล และเป้นประเทศที่ยังไม่ได้ทำอะไรมากนักการสร้างเขื้อนกั้นแม่น้ำโขงตรงช่วงที่ทั้งสองฟากฝั่งต่างอยู่ภายในพรมแดนของลาวนั้น จะทำให้เป็นช่องทางสำคัญที่ทำให้มีรายได้เข้าประเทศ
            ลาวมีการวางแผนการที่จะสร้างเขื่อนแห่งใหม่ๆ ทอดข้ามตอนล่างของแม่น้ำโขง อันเป็นปม่น้ำสายใหญ่ที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม เวียดนามได้ออกโรงแสดงการคัดค้านความมุ่งมาดปรารถนาในเรื่องเขื่อนไฟฟ้าพลังงานของลาวแล้ว นักวิจารณ์ในเวียดนามกล่าวว่าโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังงานเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจำนวน 1,260 เมกะวัตต์แห่งนี้จะกลายเป็นความหายนะทางสิ่งแวดล้อม(siamintelligence.com./..ตะลุยสำรวจ ขุนทรัพย์พลังงานกลุ่มประเทศ CLMV)
            ASEAN Power Grid แนวคิดของอาเซีย เพาเวอร์ กริด ...การเชื่อโยงระบบไฟฟ้าในอาเซียน จึงเป็ฯการรวมพลังของทุกชาติในภูมิภาคนี้ที่จะร่วมกันจัดสรร และใช้ทรัพยากรพลังงานของเราให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าที่สุดส่งเสริมแนวคิดการใชพลังงานอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพเพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงานและเศรษฐกิจผลักดันให้อาเซียนพัฒนาทัดเทียมภูมิภาคอื่นของโลก
             วิสัยทัศน์อาเซียน 2563 อาเซียน เพาะเวอร์ กริด เกิดขึ้นในการประชุมผุ้นำสูงสุด อย่างไม่เป็นทางการ ที่กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซียเพื่อกำหนดทิศทางใหม่สู่ 2563 ด้วยวิสัยทัสน์อาเซียน 2563
             "...การมีส่วนร่วมของกลุ่มประเทศอาเซียน ในการผนึกกำลังกันเพื่อพัฒนาความเจริญ และสร้างความแข้.แกร่งทางด้านเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยหนึ่งในกลยุทธ์หลักด้านพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของอาเซียนคือ การเชื่อมโยงโครงข่ายระบบพลังงานและสาธารณูปโภคในอาเซียนได้แก่ ไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติและน้ำ โดยผ่่านระบบเชื่อมโยงไฟฟ้าอาเซียน ระบบท่อส่งก๊าซและท่อส่งน้ำ รวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเพ่ิมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การอนุรักษณ์พลังงานและการพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนมาใช้ใหม่ได้อีก
              ประโยชน์ที่จะได้รับพอสรุปดังนี้คือ เพิ่มความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจในภูมิภาคจากการจัดสรรและใช้ทรัพยากรด้านพลังงานร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด..ถ่ายเทพลังงานระหว่างประเทศ จากการที่เรามีความหลากหลายของทรัพยากรด้านพลังงานในแต่ละพื้นที่...เกิดเครือข่ายเชื่อมโยงทางการสื่อสารรวมถึงการวางท่อก๊าซ อาเซียน เพาะเวอร์ กริด จะให้เกิดประโยชน์ด้านการสื่อสารในภูมิภาค คือเราสามารถวางระบบโครงข่าวเส้นใยแก้วนำแสง คู่ไปกับระบบสายส่งไฟฟ้า...( temica_magazine..ASEAN Power Grid)
             การลงทุนในลาว หากย้อนไปเมื่อสิบกว่าปี ประเทศไทยไได้ชื่อว่าเป็นอันดับหนึ่งในการลงทุนใน สปป.ลาวในแง่ของเงินลงทุน แต่ถ้านับในปัจจุบัน เวียดนามเป้ฯอันดับหนึ่ง จีนเป็นอีกประเทศที่อันดับสอง สำหรับธุรกิจของไทย ถึงจุดอิ่มตัว
            รัฐบาล สปป.ลาว ตั้งเป้าหมายไว้ว่าในปี 2563 จะต้องหลุดพ้นจากาการเป็นจากการเป็นประเทศด้อยพัฒนา หลุดพ้นจากการเป็นประเทศยากจน ซึ่งในสายตามจากผุ้สันทันเกี่ยวกับ สปป.ลาวเห็นว่า เนื่องจากประชากรลาวมีเพียง 6 ลานคน ประชากรจำนวนจำนวนนี้เที่ยบกับศักยภาพประเทศทางด้านเศราฐกิจไม่ว่าจะเป็นด้านเหมื่องแร่ พลังงานไฟฟ้า ภาคเกษตรอุตสาหกรรม ภาคท่องเทียว และการบริการสามารถนำประเทศหลุดพ้นจากความยากจนภายในปี 2563 ได้อย่างแน่นอน
           ยิ่งไปกว่านั้น ลาวเปรียบเสมือนแลนด์บริดจ์ของอนุภูมิภาค จะเป็นตัวเชื่อมระหว่าง ไทย-เวียดนาม-กัมพูชา-จีนตอนใต้ เส้นทาง East-West Corridor หรือระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกและเส้นทาง North-South Economic Corridor หรือระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ผ่านลาวจึงเหมือนเป็นศูนย์กลางการเชือมโยงเครือข่ายในภูมิภาค เพราะฉะนั้นในแง่ของการฉกฉวยโอกาสเป็นไปได้สูงมาก ประกอบกับภาคเกษตรอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ผนวกกับการเชื่อมโยงเส้นทาง 4 ประเด็นหลักๆ จะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่จะทำให้ลาวบรรลุเป้าหมาย..."(www.thaiseoboard.com)
            "ลาวให้สัมปทาน 357 เขื่อน 942 เหมืองแร่" กระทรวงพลังงานและย่อแร่ของลาว เสนอรายงานล่าสุดในปลายเดือนตุลาคม 2016 ว่าทางการลาวทั้งในส่วนกลางแลระดับท้องถ่ิน ได้อนุญาตสัมปทานการศึกษาสำรวจเพื่อการก่อสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าแก่เอกชนลาวและต่างชาติไปแล้ว 357 โครงการและได้ให้สัมปทานการสำรวจ ขุดค้นแร่ธาตุไปแล้ว 942 โครงการทั่วประเทศ ในขณะที่ผลผลิตภาคพลังงานและหมืองแร่ในช่วง 5 ปี (2010-2015) ที่ผ่านมา มีมูลค่ารวมกว่า 11,792 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็น 12% ของผลผลิตมวลรวมภายใน ของลาวในระยะย 5 ปีดังกล่าว โดยผุ้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดก็คือบรรดาวิสาหกิจจากจีน...
 

          ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานและบ่อแร่ ได้วางแผนการจะผลิตพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า(12,500เมกะวัตต์)ภายในปี 2020 โดยจากาการศึกษาสำรวจพบว่าการก่อสร้างเขื่นในลาวอย่างเต็มศักยภาพนั้นจะทำให้สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้รวมกันถึง 30,000 เมกะวัตต์ เลยทีเดียว
               รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและย่อแร่ บอกว่า วิสัยทัศน์การพัฒนาทางด้านพลังงานไฟฟ้าถึงปี 2025 คือกรพัฒนาลาวให้เป็นผุ้ส่งออกพลังงานไฟฟ้ารายใหญ่ของอาเซียนให้ได้อย่างแท้จริงซึ่งก็ทำให้มีความจำเป็ฯอย่างยิ่งที่จะต้องทำการเชื่อมต่อระบบสายส่งกระแสไฟฟ้าจากลาวมาไทยต่อไปมาเลเซียและสิงคโปร์ให้ได้ด้วย...(www.thaisugarmillers.com/...ลาวให้สัมปทาน 357 เขื่อน 942 เหมืองแร่)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)