องค์การระหว่างรัฐนี้คือ สถาบันนานาชาติที่สวมบทบาทของผุ้ปกป้องรักษาความมั่นคงร่วมกัน เป็นองค์การที่มีอำนาจเหนือรัฐในการชี้ขาดตัดสินข้อพิพาทระหว่างผระเทศ และไกล่เกลี่ยข้อบาทหมางที่บังเกิดขึ้นในความสัมพันะ์ระหว่างรัฐต่ารงๆ ตลอดจนอำนาจในการดำเนินการและแก้ไขปัญหากิจกรรมแขนงอื่นๆ ท่ประเทศทั้งหลายมีผลประโยชน์ร่วมกันอยู่
ต่อเมื่อความเลื่อมใสศรัทธาต่อองค์การสหประชาชาติได้หย่อนคลายลงไปการสนับสนุนข้อตกลงร่วมมือระหว่างรัฐบาลในส่วนภูมิภาคจึงทวีขึ้นตามลำดับ ดังที่ปรากฎจากจำนวนสมาคมหรือสถาบันต่าง ๆ ส่วนภูมิภาคที่เพ่ิมขึ้นมากรายในระยะหลังๆ
อย่างไรก็ดี การหมายมั่นให้องค์การส่วนภูมิภาคเป็นวิถีทางหนึ่งในการส่งเสริมความมั่นคงระหว่งชาติเป็นปัญหาที่จะต้องวิเคราะห์และพิจารณากันต่อไปว่าจะบ่ายโฉมหน้าไปทางทิศใด แต่เท่าที่ปรากฎให้ประจักษ์ สถาบันระวห่างประเทศไม่ได้ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร กล่าวคือ ไม่สามารถสนองตอบเป้าหมายที่ได้วางไว้แต่แรกเริ่มได้ ทั้งนี้ด้วยอุปสรรคขัดขวางหลายประการด้วยกัน ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาและศึกษาต่อไป
ลักษณะหรือจุดหมาย เน้นในทางสมานสมัคคีกันเองในกลุ่ม กล่วคือ พยายามสนับสนุนการประนีประนอมในการระงับข้อพิพาทบาดหมางโดยสันติวิธีทั้ง่งเสริมใหมีการประสานนโยบายทั่วไปให้สอดคล้องกันเองภายในกลุ่มด้วย
ลักษณะที่สอง มักจะเน้นการตกลงผูกมัดด้วยเลื่อนไข การร่วมือทางทหารตามพันธกรณีที่บัญญัติไว้ ผุ้ร่วมสัญญาจะต้องยอมรับหลักการให้ความช่วยเหลือหรือร่วมป้องกันเมื่อมีการรุกรานหรือโจมตีสมาชิกฝ่ายอื่นๆ
ลักษณะที่สาม จะเป็ฯในรูปของการเจาะจงหน้าที่ในด้านต่างๆ กัน เพื่อการพัฒนาและเชื่อมความสัมพันธ์์ต่อกันและกันของกลุ่มสมาชิกในเครือ ส่วนมากส่งเสริมผลประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนช่วยเลหือกันทางสวัสดิการ ด้านวิทยาการเทคนิค โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเศรษฐกิจ ตลอดจนด้านอื่นๆ ด้วย
ด้วยลักษณะทั้งสามประการจึงแยประเภทขององค์การส่วนภูมิภาคออกเป็น สามกลุ่มใหญ่ ดังนี้
1) ประเภท Cooperative องค์การที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้มีลัษณะแนวโน้มทั้งสองประการแรกรวมกกันน กล่าวคือ มีลักษณะเด่นในทางส่งเสริมความเป็ฯปึกแผ่นของภาคีในภาคพื้น องค์การมีบทบาทในการจัดแจงไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทระหว่างรัฐในหลุ่มเดี่ยวกัน
พร้อมทั้งส่งเสริมนโยบายการป้องกันร่วมกันของภาคีสมาชิก หากมีการรุกรานแทรกแซงจากภายนอก เช่น องค์การรัฐอเมริกัน OAS และองค์การเอกภาพแห่งอาฟริกา OAU อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีสัญญข้อตกลงร่วมป้องกันการุกรานรวมอยู่ในกฎบัตร องค์การเหล่านนี้ไม่ถือว่มีลักาณะเป็นพันธมิตรแบบเดียวกับองค์การสนธิสัญญป้องกันร่วมกันโดยตรงเพราะเจตจำนงใหญ่ขององค์การ คือ การร่วมประสานนโยายและรับผิดชอบต่อภูมิภาคส่วนตนเหนืออื่นใด
2) ประเถทพันธมิตรทางทหาร Alliance องค์การที่สังกัดอยู่ในกลุ่มนี้ทั้งหมดถือกำเนินจากสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกัน โดยที่กลุ่มประเทศในเครือสนธิสัญญาร่วมตกลงผุกมัดตนเองเข้าด้วยกัน และวางเงื่อนไขว่า กรณีที่มีการโจมตีภาคีสมาชิกชาติหนึ่งชาติใด สมาชิกฝ่ายอื่นๆ หรือทั้งหมดจะต้องใช้มาตรการต่างๆ โดยเฉพาะทางทหานให้ความคุ้ม
กันภัยแก่ภาคีนั้นๆ องค์การสนธิสัญญาประเภทนี้ เกิดขึ้นมากมานในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่สองตามอาณาบริเวณต่างๆ กัน เช่น องค์การ นาโต้, วอร์ซอว์แพคท์,แอนซุส,และเซนโต้ เป็นต้น แม้องค์การประเภทนี้ระยะล่าสุดลดกิจกรรมทางทหารและเพิ่มบทบาททางพลเรือนแทน แต่องค์การเหล่านี้ยังคงรักษาเจตจำนงดั้งเดิมไว้ไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแต่อย่างไร
3) ประเภทFunctional คือมองในแง่หน้าที่ -ประโยชน์ องค์การประเภทนี้คือ บรรดาสภาบันระหว่งรัฐบาล ซึ่งได้วางจุดมุ่งหมายหน้าที่โดยเฉพาะไว้เพื่อส่งเสริมผลประโยชขน์จากากรร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเมือง ภาพพจน์ขององค์การเหล่านี้ไม่ได้แสดงออกในรูปของการจัดตั้งขบวนการป้องกันทางทหารหรือเกี่ยวพันกับกิจกรรมทางทหารแต่อย่างใด องค์การที่จัีดอยู่ในหมู่ที่สามนี้โดยทั้งไป
- สมาชิกในเครือองค์การเหล่านี้ มีความแน่นอนใจล่วงหน้าแล้ว การขัดแย้งที่ถึงบังเกิดขึ้นในหมู่ภาคีของตนจะไม่ก้าวไปถึงขนาดการใช้กำลังอาวุธ ประเทศในกลุ่มต่างนอนใจได้ว่า การขัดแย้งทางผลประโยชน์กันเองสามารถลงเอยได้ด้วยการประนีประนอมของคู่กรณี
- ลักษณะหลัง คือ สถาบันระหว่างรัฐเหล่านรรี้ มุ่งปฏิบัติภารกิจหน้าที่ เช่นด้านเศรษฐกิจการค้า วิทยาการเทคนิค หรือในด้านระบบการเงิน เพื่อให้เกิดการคงตัวในระดับการพัฒนา จะไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องหรือมีพันธกรณีทางทหารและกำลังอาวุธทั้งปวง
อาจกล่าวเป็นแนวกว้างๆ ได้ว่า ความคิดแนวภูมิภาคนิยมได้เป็นพลังจูงใจ และสร้างความเลื่อมใสให้บังเกิดขึ้นในหมู่รัฐบุรุษจากนานาประเทศทัวๆ โลก ทั้งนี้อาจวัดความนิยมดังกล่าวได้จากจำนวนองค์การส่วนภูมิภาคที่บรรดาชาติต่างๆ ได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อเ่รงแสวงหาความมั่นคงและส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันในขอบเขตของตน
แม้ว่าบรรดาประเทศทั้งเล็กและใหญ่ต่างเล็งเห็นความสำคัญของอวค์การในระดับภูมิภาคทั้งในแง่เพื่อยึดเหนี่ยวและอำนวยประโยชน์ซึ่งกันและกัน ตลอดจนเพื่อควบคุมความเป็นระเบียบในความสัมพันธ์ระหว่างกัน แต่ปัจจุบันภาวะอย่างหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้คือ องค์การส่วนภูมิภาคไม่สามารถปฏิบัติการสนองตอบให้สมกับความมุ่งมาดปรารถนาดังที่กำหนดไว้แต่แรกเริ่มได้ การประเมินประสิทธิภาพขององค์การส่วนภูมิภาค บ่งให้เห็นว่าความพยายามทุกๆ วิถีทางที่จะบรรเทาความ
ตึงเครียดและรักษาความมั่นคงในระดับภูมิภาคให้คงอยู่ต่อไปนั้นมิได้สัมฤทธิผลตามวัตถประสงค์มากเท่าใดนัก ในข้อนี้จะเห็นได้จากบทบาทขององค์การส่วนภูมิภาคจำพวกพันธมิตรทางทหารโดยเฉพาะ ซึ่งเมื่อพิจารณาในทางเป็ฯจริงแล้ว องค์การประเภทนี้กลับกลายเป็นเครื่อบงทวีความคลางแคลงสงสัีย และตัวถ่วงรั้งความตึงเครียดไว้ในบรรยากาศการเมืองระหว่างประเทศมากกว่าที่จะช่วยเสริมสร้างสันติภาพและเสถียรภาพระหว่างประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากชาติมหาอำนาจต่างก็มีเบื้องหลังเคลื่อบแฝงอยู่ในนโยบายของตน และพยายามชักนำผลประโยชน์มาสู่ฝ่ายตนให้ได้มากที่สุด เพื่อที่ต่างฝ่ายต่างจะได้ใช้กลไกข้อตกลงเป็นเครื่องคอนคุมเชิงซึ่งกันและกัน และคอยรักษาอำนาจและเขตอิทธิพลของตนเงอไว้ สภาพการณ์ขององค์การส่วนภูมิภาคในลักษณะดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้องค์การพันธมิตรทางทหารเริ่มเสื่อมคลาย
ทางบทบาทลง เพราะไม่ได้ยังประโยชน์ให้กับสังคมระหว่างชาติส่วนรวมเท่าใดนัก แต่ความจริงประการนี้มิได้หมายความว่า คุณประโยชน์ความหมายและความเจริญก้าวหน้าขององค์ฏารส่วนภูมิภาคจะหมดสิ้นไป อันที่จริงแล้ว นักวิเคราะห์ในสาขานี้หลายท่านกลับเล็งเห็นว่าพลังของการร่วมมือในกรูปแบบขององค์การเศรษฐฏิจ ซึ่งมุ่งส่งเสริมารพัฒนางานด้านสวัสดิการในอันที่จะช่วยยกระดับทางเศรษฐกิจของชาติภาคีในกลุ่มนั้นต่างหากที่จะ่วยพยุงหลักการภูมิภาคนิยมให้ยืนหยัดต่อไ ตลอดจนสามารถขยายวงงานในขอบเขตภูมิภาคให้ก้าวไปสู่การร่วมมือกันของประชาชาติในระดับโลกได้
ปัจจัยที่สร้างความตื่นตัว และดึงดูดความสนใจในเเขนงนี้เนื่องมาจากความสำเร็จขององค์การตลาดร่วมยุโรปที่ทั่วๆ ไปต่างยอมรับกันว่าเป็นสถาบันที่มีความมั่นคงเพียงพอ แลฃะเป็นรากฐานที่แข็.กกร่งสำหรับก้าวไปสู่การวาวนฝโยบายร่วมกันในทางการเมืองได้ แต่กระนั้นก็ดี อุปสรรคที่กีดขวางและรั้งความเจริญก้าวหน้าขององค์การส่วนภูมิภาคก็เป็นส่ิงที่ไม่ควรละเลย แต่ควรได้รับการพัฒนาหาลู่ทางออกตามแต่กรณี ปัญหาพอกพูนที่ขวางกั้นมิให้องค์ฏารดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอนั้นเป็นเรื่องของการกระทบกระทั่งกันทางผลประโยชน์ของแต่ละรัฐเสียส่วนมาก การทะเลาะเบาะแว้งกันเองเป็นสาเหตุที่ไม่มีจุดส้ินสุด ในเมื่อต่างฝ่ายต่าง
คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติตนเป็นสำคัญ ทั้งนี้สืบเนื่องมาแต่ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจของแต่ละชาติภาคีบ้าง รูปแบบของสังคม ทัศนคติโครงการปกครองที่ผิดแผกจากกันบ้าง หรือความเห็ฯไม่ลงรอยของรํฐบุรุษที่ยึดถืออุถดมการณ์คนะลแนวทาง ตลอดจนปัญหาความแตกต่างทางวัฒนธรรมและอื่นๆ นอกจากนั้นยังเป็นการยากที่สถบันระหว่างรัฐจะดำเนินรอยตามเจตนารมณ์ได้อย่างสมบูรณ์ในเมื่อหลายชาติยังไม่เพียบพร้อมที่จะยอมรบอำนาจสถาบันที่มีัลักษณธเป็การบั่นทอนการใช้อำนาจอธิปไตยในบางกรณีได้ อนึ่ง ความกระตือรือร้นที่จะลอกเลียนแบบพัฒนาการของการรวมตัวทางเศรษฐกิจเยี่ยงในยุโรป ทำให้บรรดากลุ่มองค์การส่วนภูมิภาคอื่นๆ มองข้ามความต้องการทางเศรษฐกิจของแต่ละภาคีสมารชิกในกลุ่มด้วยกันเองเสียสิ้น จะเห็นได้ว่า ชาติภาคีด้วยกันเองส่วนมากเป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางเกษตรกรรม และมีผลผลิตคล้ยคลึงกัน การส่งสิ้นค้าออกจำหน่ายจึงมีลักษณะเป็นการแข่ขันกันเองมากกว่า และคงต้องอาศัยการค้าขายกับประเทศนอกกลุ่มเช่นเดิม ลำพังการและเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันเองคงไม่สามารถป้อนความต้องการทางเศรษฐกิจของแต่ละสมาชุกได้พอเียง ดังน้ันปัญหาในลักษณธที่กล่าวจึงทำให้ภาคีของสถาบันเหล่านี้ไม่อยู่ในฐานะที่จะพึ่งพากันเองได้เต็มที่และโอกาสที่องค์การเหล่านี้จะร่วมกันประสานระบบการค้าแบบปกป้องคุ้มกันภาคีสมาชิกในกลุ่มจากการเอารัดเอาเปรียบของกลุ่มภายนอก ย่อมลดลงเป็นเงาตามตัว ฉะนั้น ปัฐหาทั้งหมดจึงอยู่ที่ความตั้งใจจริงและการรอมชอมของภาคีสมาชิกในทุกๆ กลุ่มที่จะช่วยลดความขัแย้งทั้งหมดให้น้อยลง และหันมาส่งเสิรมการ่วมือกันเองโดยตรง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น