วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560

Mekong River

             กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพญานาคราช สองตัวเป็นเพื่อนรักกันมาก ชื่อ ฑพญาศรีสุทโธนาค" กับพญาสุวรรณนาค"ทั้งสองแบ่งกันปกครองเมืองบาดาลหนองกระแสฝ่ายละครึ่งเมือง ซึ่งคนสมัยก่อนเชื่อกันว่า "หนองกระแส" คือเมืองบาดาลอยู่ใต้ทะเลสาบ"หนองหาน" พญานาคทั้งสองนั้นมีพญานาคบริวารฝ่ายละ 500 ตัว ทุกๆ ปีทั้งสองฝ่ายจะไปมาหาสู่กันเพื่อเยียมยามถามข่าวถึงสารทุกข์สุกดิบกันอยู่เสมอมิได้ขาด

             อยู่มาวันหนึ่งพญาศรีสุทโธนาคได้พาบริวารออกไปล่าสัตว์ในป่าเผอิญล่าได้ช้าป่ามาตัวหนึ่งพญาศรีสุทโธนาคนึกถึงสหายพญาสุวรรณนาค จึงชำเเหละเนือช้างให้บริวารนำไปให้ครึ่งตัว เมื่อพญาสุวรรณนาคได้รับของฝากจาเพื่อรักเป็นเนื้องช้างก็มีความยินดี จึงได้ส่งสาส์นแสดงความขอบใจมายังพญาศรรีสุทโธนาค ทั้งบอกว่าในโอกาสหน้าตนคงจะได้ส่งของฝากมาเป็นการตอบแทนบ้าง  วันหนึ่งพญาสุวรรณนาคได้พาบริวารออกไปล่าสัตว์ในป่า โดยล่าได้เม่นมาหนึ่งตัว พญาสุวรรณนาคจึงสั่งให้ชำแหละเนื้อเม่นแล้วแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเอาไว้กินเอง และอีกส่วนหนึ่งให้บริวารนำไปให้แก่พญาศรีสุทโธนาค เพื่อเป็นของฝาก พญาศรีสุทโธนาคเมื่อได้รับเนื้อเม่น เห็นว่ามีจำนวนน้อยนิดผิดกับเนื้อช้างที่ตนนำไปให้ก็ไม่พอใจ โดยคิดว่าเม่นน่าจะตัวใหญ๋หว่าช้าง เพราะขนเม่นยาวกว่าขนช้าง จึงไม่รับของฝากนั้น
พอพญาสุวรรณนาคทราบดังนั้นก็ไม่สบายใจ รีบเดินทางมาอธิบายชีแจงใหพญาศรีสุทโธนาคฟังว่า แม้ขนเม่นจะยาวกว่าขนช้างแต่เม่นก็ตัวเล็กกว่าช้างมาก ฉะนั้น เนื้อเม่นคตังตัวจึคงน้อยกว่าเนื้อช้างครึ่งตัวแน่นอน แต่พญาศรีสุทโธนาคก็ไม่ฟังเหตุผล หาว่าพญาสุวรรณนาคเอาเปรียบตน จคึงเกิดการโต้เถียงทะเลาะกันอย่างรุนแรงจนถึงประกาศท้ารบกันขึ้น พญาศรีสุทโธนาคผุ้มุทะลุจึงยกทัพนาคมาบุกประชิดติดชายแดนเมืองหนองกระแสด้านที่อยู่ในความปกครองของพญาสุวรรณนาค การเคลื่อนพลมาอย่างรีบร้อนทำให้น้ำในทะเลสาบหนองกระแสขุ่นคลั่กเป็นสีชมพู ฝ่ายพญาสุวรรณนาคเห็นดังนั้นก็จนใจต้องพาบริวารออกต่อสู้กับเพื่อนรัก เพื่อป้องกันแว่นแคว้นในปกครอง พญานาคทั้งสองฝ่ายได้เข้าต่อสู้ประหัตประหารกันอยู่นานถึง 7 ปี แต่ก็ไม่มีฝ่ายใดชนะอย่างเด็ดขาดสงครามนาคครั้งนี้ทำให้โลกสั่นสะเทือนลั่นหวั่นไหวสะท้านไปถึงสวรรค์และบาดาล เดือดร้อนกันไปทั่วทั้งมนุษย์ เทวดา และนาค จากเรื่องที่เข้าใจผิดกัน
             พญาแถนผู้เป็นใหญ่บนสวรรค์เห็นเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจึงเสด็จมายังดลมนุษย์ ณ บริเวณสนามรบที่เมืองหนองกระแส พร้อมมีเทวโองการว่า
             "ข้าพญาแถนจอมสวรรค์ผู้ยิ่งใหญ่ ขอสั่งให้สองฝ่ายหยุดรบกันพวกเจ้าไม่มีใครเก่งกว่าใคร และขอประกาศให้เมืองหนองกระแสเป็นเขตปลอดสงคราม ให้ทั้งสองจงพาไพล่พลออกจากเมืองหนองกระแสโดยด่วนที่สุด ถ้าเจ้าทั้งสองเก่งจริงขอจงไปสร้างแม่น้ำแข่งขันกันเถิดใครสร้างแม่น้ำไปถึงทะเลก่อนถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ชนะ แล้วข้อจะปล่อยปลาบึกลงในแม่น้ำสายที่สร้างเสร็จก่อน"
         
  พอสิ้นเทวโองการ พญานาคทั้งสองต่างก็พากันแยกย้ยไปในทันที โดยพญาศรีสุทโธนาคผู้มีอารมณ์อันมุทะลุดุดันและมุ่งหวังเอาชนะ ได้สร้างแม่น้ำไปทางทิศตะวันออกของเมืองหนองกระแสอย่างรีบร้อยไม่พิถีพิถันเอาเสร็จเข้าว่า แม่น้ำจึงคดเคี้ยวเลี้ยวไปมาตามแนวภูเขชาจึงเรียกว่า "แม่น้ำโค้ง"ต่อมาเพี้ยนเป็น "แม่น้ำโขง" ส่วนพญาสุวรรณนาคผุ้ใจเย็นสุขุมลุ่มลึก พาไพล่พลสร้างแม่น้ำมุ่งไปยังทิศใต้ของเมืองหนองกระแส โดยตั้งใจสร้างอย่างพิถีพิถันเป็นเส้นตรง เพื่อย่นระยะทางในการสร้าง แม่น้ำสายนี้จึงเรียกชื่อว่า "แม่น้ำน่าน" ผลของการสร้างแม่น้ำแข่งกันในครั้งนี้ ปรากฎว่าพญาศรีสุโธนาคเป็น่ายชนะ พญาแถนจึงปล่อยปลาบึกซึ่งเป็นน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดลงในแม่น้ำโขง และเป็นแม่น้ำสายเดียวเท่านั้นที่มีปลาบึกอาศัียอยู่จนทุกวัีนนี้( วิเชียน เกษประทุม. นิทานพื้นบ้าน ชุดที่ 5 ชุดตำนาน, กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์พัีฒนาศึกษา, 2551.)
             แม่น้ำโขง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัยไหลผ่านบริเวณที่รอบสูงทิเบตและ มณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ผ่านประเทศ จีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งสิ้น 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชาง หรือ แม่น้ำล้านช้างและเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่าและประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึคงคำเมืองล้านนาก็เรียกแม่น้ำของ เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง
            ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือมีตลิ่งสูงชันมากทั้งสองฝั่่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปีระดับ ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศต่างๆ หลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่า แม้น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูปตะวันออก
             นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็นหนึ่งในสามของแม่น้ำที่ำด้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนานภายใต้ชื่อพื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนานพื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลากทางชีวภาพสูง(wikipedia. แม่น้ำโขง)
       
 6 เหลี่ยมเศรษฐกิจ กลุ่มความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง Greater Mekong Subregion cooperation(GMS) คือ กลุ่มประเทศอาเซียนที่เชื่อมโยงโดยผ่านแม่น้ำโขงมี 5 ประเทศและรวมกับจีนแทบยูนนานเป็น 6 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว เวยดนาม กัมพูชา และทางตอนใต้ของจีนแทบยูนนาน ได้มีการจัดทำแผนความร่วมมือเชื่อมโยงเครือข่ายด้านสธารณูปโภคพื้นฐานมากว่า 2 ทศวรรษ โครงการดังกล่าวเิร่มจากากรทำแผนจังหวัดยุทธศาสตร์ของกระทรวงมหาดไทยซึ่งมีคุณอนันต์ อนันตกูล เป็นปลัดกระทรวงซึ่งได้ริเริ่มจัดทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัด 5 แห่ง ได้แก่ ภูเก็ต นครศณีธรรมราช ชลบุรี มุกดาหารและเชียงราย ในกรอบยุทธศาสตร์ของจังหวัดเชียงรายกได้มีวิสัยทัศน์เชื่อมโยงจังหวัดเชียงรายเข้ากับประเทศเพื่นบ้าน ซึ่งก็คือต้นกำเนิดของ 6 เหลี่ยมเศรษฐกิจ ต่อมา ADB ได้ให้การสนับสนุนกับโครงการดังกลาวและกลายเป็นนโยบายของรัฐบาลไทยซึ่งในยุคนั้นมีรองนายกฯ คือคุณศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นผู้ริเริ่มและให้การสนับสนุนจนกลายเป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ
            ในกรอบ AEC ข้อที่ 2 คือการส่งเสริมขีด

ความสามารถการแข่งขันและอีก 1 องค์ประกอบคือ พัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานร่วมกัน GMS จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของ AEC ซึ่งเป็นโครงการพัี่พัฒนาต่อเนื่องมาก่อนหน้านี้ และเมื่อพม่าเปิดประเทศ โครงการดังกล่าวยิ่งได้รับความสนใจและมีพลวัตรของการขับเคลื่อนที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ภายใต้กรอบดังกล่าว แต่ละประเทศตกลงที่จะรับผิดขอบในการพัฒนาเครือข่ายสาธารณูปโภคพื้นฐานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางน้ำ ทางบก และอื่นๆ และแน่นอน เครือข่ายดังกล่าวย่อมทำให้เกิดการขยายตัวของเครือข่ายคมนาคม โลจิสติกส์ หรือเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ซึ่งจะช่วยหนุนด้านการค้าและการลงทุนของประเทศในกรอบดังกล่าว ภายใต้ GMS จะมีกรอบเชื่อมโยงที่เรียกว่า ระเบียง Corridors 3 ระเบียง กล่าวคือ
         1) เรียกว่า North-South ซึ่งมีการเชื่อมโยง 3 เส้นทาง เริ่มจากยูนนาน ลาว พม่า จังหวัดพิษณุโลก กรุงเทพฯ เข้า ประจวบ และไปเชื่อมโยงกับสามเหลี่ยมทางตอนใต้ (Indonesia-MalaySia-Thailand Growth Triangle : IMT-GT)
          2) เรียกว่า East-West เริ่มจาก แว้ ดานัง สุวรรณเขต เข้าอีสาน เชื่อมต่อ พิษณุโลก กรุงเทพฯ ไปออกเมืองมะละแหม่ง และเมาะลำไยของพม่า ไปสู่กลุ่ม BIMST-ECไปออกอินเดีย เชื่อต่อไปสู่ตะวันออกกลาง และยุโรป
          3) South-South เชื่อมต่อ 4 เส้นทาง เริ่มจากกรุงเทพฯไปจบที่เวียดนาม บางเส้นจบที่หวงเตา บางเส้นจบผ่านเสียมเรียบ บางเส้นผ่านตราดและกาะง การเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้เกิดการขยายตัวของเมืองทำให้เกิดการขยายตัวของเขตเศรษบกิจจำเพาะ โดยเฉพาะบริเวณรอบต่อ เช่น แม่สอด แม่สายกับเมียวดี หนองคายกับลาว ตราด เกาะกงกับกัมพูชา การเชื่อมต่อจะทำให้เกิดการขยายตัวของการค้าและการลงทุน ซึ่งทำให้ราคาที่ดินขึ้นอย่างมหาศาล จังหวัดที่อยุ่ในกรอบเส้นทางดังกล่าว โดยเฉพาะพิษณุโลก ราคาที่ดินขึ้นถึง 1,000 เปอร์เซนต์(http//www.chaoprayanews.com, ความร่วมมือเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(GMS),1 สิงหาคม 2014.)
           ...เตือนใจ ดีเทศน์ อดีต ส.ว. จังหวัดเชียงราย กล่าวว่า แม่น้ำโขงตอนบนอยู่ในประเทศจีนที่เรียกว่า แม้น้ำล้านช้าง หรือหลานชางเจียง ถูกรัฐบาลจีนกำนหดแผนสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้า 28 เขื่อน ขณะนี้สร้าเสร็จแล้ว 6 เขื่อน
              นักธรณีวิทยาระบุว่า แม่น้ำโขในจีนตั้งอยุ่บนรอยเลื่อนของเปลือกโลกที่ยังมีพลังแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในยูนนานหลายครั้ง หากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงเขื่อนอาจแตก
              งานวิจัยหลายช่ินชี้ว่านับแต่มีเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงในจีน "ปริมณน้ำในฟดูน้ำหลกลดลง แต่ปริมาณน้ำในฤดูแล้วกลับเพิ่มขึ้น" ในฤดูแล้งเกือบ 100 เปอร์เซนต์ของน้ำโขง ที่อำเภอเชียงแสน จ.เชียงราย ไหลจากมแ่น้ำโขงไปจีน ส่วนในฤดูน้ำหลากปริมาณน้ำโขงกลับลดลง เพราะมีการเก็บกักน้ำไว้ในเขื่อน สิบกว่าปีที่ผ่านมาพบว่าส่งผลกระทรุนแรง ทำให้พื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่างที่น้ำท่วมถึงลดลงทำลายความมั่นคงทางอาหารประเทศท้ายน้ำ ตะกอนดิน สารอาหารที่สมบูรณ์ถูกเก็บกักไว้ในเชื่อ ส่งผลต่อการทำเกษตรริมฝั่ง เกิดการกัดเซาะตลิ่งและท้องน้ำ
              "ทางท้ายน้ำกด้ฒีความกังวลว่าสามเหลี่ยนมปากแม่น้ำโขงในเวียดนามที่ค่อยๆ จมลงนั้นอาจเป็นเพราะขาดดินตะกอนมาทับถมเพ่ิมเติมจากแม่น้ำโข เมื่อเกิดพายุความเสียหายจะรุนแรงยิ่งขึ้น"
              สำหรับ.."ชะตากรรมของแม่น้ำโขงตอนล่าง" อดีต ส.ว.เชียงราย กบล่าวว่า รัฐบาล 4 ประเทศในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ได้แก่ ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม มีแผนสร้างเขื่อนและโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ 12 โครงการ (http//www.thairath.co.th, อภิมหาเขื่อนยักษ์ หายนะแม่โขง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...