รูปแบบการเล่นของแต่ละทีมสะท้อนวิธีชีวิตของแต่ลชาติค่อนข้างชัดเจน อาทิ
อิตาลี เป็นศิลปิน มีลีลา ค่อนข้างขีเกียจ อยากเล่นก็เล่นไม่อยากเล่นก็เล่น
สเปน สนุกสนานร่าเริง ชิล ไม่ค่อยมีวินัยมัวัฒนธรรมการนอนกลางวัน แต่ชอบทำอะไรให้คนเห็นว่าเจ๋ง จะเห็นว่าฟุตบอลสเปนมีเทคนิค มีความแม่นยำ ยึดมั่นกับฟุตบอลพาสซิ่งเกมมาตลอด
เยรมัน มีวินัย นับผิดชอบ แข็งแร่ง อาจจะมไ่สวยงาน แต่หวังผลได้ ไม่ยอมแพ้คำว่าเครื่องจักรอิบายความเยอรมันได้ดี
ฝรั่งเศส โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่า "แม้ฝรั่งเศสจะมีความยูนีคมาก แต่ทีมบอลวฝรั่งเศสเล่นแบบปั้นเทพเจ้าขึ้นมา เป็นศูนย์รวมของทีม และนักเตะทั้งทีมมีหน้าที่ ซัพพอร์ตเทพเจ้า
https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1466362099
"ตอนทีมฮอลแลนด์แพ้ คนฮอลแลนด์บอกว่ามันสะท้อนวิถีชีวิต คนเยอรมันตึงตลอด ขณะที่ฮอลแลนด์ชิล การที่ฮอลแลนด์ชนะมันสะท้อนว่า สบายๆ แบบฮอลแลนด์ก็ชนะเยอมนได้ ในขณะเดียวกันเยอรมันบอกว่าดัตช์เหลาะแหละส่วนชาติที่ชนะเยรมันตอลดคือ อิตาลี ฉะนั้นคนอิตาลีจึงภุมิใจว่าไม่ต้องตึงตลอดเวลาเหมือนเยอรมันก็ชนะได้ถ้ามีความคิดสร้างสรรค์"
ยูโร 2016 วุ่น สะท้อนการเมือง-สังคมอียู วิกฤต
ในขณะที่อังกฤษกำลังยุ่งกับการประชามติ "บรีซิสท์" ชาวอังกฤษอีกส่วนก็เข้าไปสร้างความวุ่นวายในการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2016 ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา มหกรรมบอลยูโรมีแต่เหตุแฟนบอลตีกัน เรื่องนี้สะท้อนสภาพการเมืองและสังคนยุโรปอย่างไร
บรรยากาศการแข่งขันแม้ผ่านไปเกือบ 1 สัปดาห์ก็เป็นไปอย่างไม่ราบรื่นนัก แต่แทนที่ปัญหาจะเกิดจาปัจจัยที่รัฐบาลกังวลอย่างเหตุก่อการร้าย น้ำท่วม หรือการประท้วงจากสหภาพแรงงาน เรื่องที่กลายเป็นพาดหัวข่าวไปทั่วโลกกับกลายเป็นการปะทะกันอย่างต่อเนื่องและรุนแรงระหว่างแฟนบอล โดยเฉพาะอังกฤษกับรัสเซีย ซึ่งเกิดขึ้นในเมืองมาร์กเซย และเมืองลีลล์ 2 ใน 10 เมืองที่ใช้เป็นสถานที่แข่งขันฟุตบอลยูโร
แน่นอนว่าสาเหตุที่แฟนบอลอังกฤษกับรัสเซียมีปัญหามากว่าชาติอื่นๆ เป็รนเพราะทั้ง 2 ปผระเทศขึ้นชื่อยู่แล้วในเรื่องการมีแฟนบอลหัวรุนแรงชาตินิยมสุดโต่ง ฝั่งอังกฤษก็คือกลุ่มแฟนบอลที่ถุกขนานนามว่า "ฮูลิแกน" ส่วนฝั่งรัสเซีย ก็มีแฟนบอลกลุ่มอัลตรา ที่ดุดันและนิยมใช้ความรุนแรงไม่แพ้กัน
นอกจากนี้ แฟนบอลอังกฤษยังเข้ามาชมการแข่งขันบอลยูดรปีนี้มากเป็นพิเศษ เนื่องจากทั้งมา์กเซย และลีลล์อยู่ไม่ไกลจากขายแดนอังกฤษมากนัก เดินทางได้สะดวกง่ายดายเพียงข้ามช่องแคบอังกฤษจึงไม่แปลกที่เมือมีแฟนบอลหัวรุนแรงแออัดหนาแน่นกันอยู่ในสอบเมืองเล็กๆ การปะทะกันถึงขึ้นจลาจลจึงพร้อมจะเกิดขึ้นได้ทุขณะ
แต่ปัจจัยสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ในเหตุรุนแรงและการทำร้ายกันของแฟนบอล ก็คือการเมืองและสภาพสังคมที่ตึงเครยดของยุโรป สถานกาณณ์ระหว่างอังกฤษกับอียูไม่ดีนักอยู่แล้วจากการทำประชติ บริทริซท์ ที่อังกฤษจะตัดสินใจอยู่หรือไปจากอียู การถกเถียงกัีนในเรื่องนี้ปลุกเร้ากระแสต่อต้านยุโรปและชาตินิยมสุดโต่งให้เข้มข้นรุนแรงขึ้นในอังกฤษ เมื่อมาเจอกับแฟนบอลรัศเวีย ที่มีความชาตินิยมสูงมาก และมีประเด็นการเมืองขัดแย้งกับสหภาพยุโรปอยู่แล้งจขากการถูกคว่ำบาตในกรณีการผนวกรวมยูเครนโดยไม่ชอบธรรม การกระทบกระทั่งกันจึงเกิดขึ้นและบานปลายได้ง่าย
ฝรั่งเศสและเยอรมนี ต่างก็เผชิญกับกระแสขวาสุดโต่งที่โหมกระฟือขึนมาจากวิกฤตผู้อพยพลี้ภัยและความหวาดกลัวภัยก่อการร้าย ยังไม่นับสภาพเศราฐกิจที่ยังตกต่ำเรื้อรัง ทำให้ความตงเครียดในสังคมที่สูง ความหวาดระแวงชาวต่างชาติเพ่มิขึ้น และความอดทนต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมก็ลดน้อยลงอย่างมาก
เหตุวุ่นวาย ที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ถุากมอางว่าเป็นภาพสะท้อนของสังคมยุโรปปัจจุบัน ที่คุณค่าประชาธิไตยและการเคาพรสิทธิเสรีภาพ ถูกท้าทายด้วยความเกลียดกลัวภัยคุกคามต่าง ๆจนนาสงสัยว่าในอนาคตอันใกล้ โฉมหน้าของยุโรปจะกลายเป็นเมืองจลาลจแบบมาร์กเซยและลีลล์ในช่วงบอลยูโรหรือไม่...https://www.voicetv.co.th/read/378165