Football culture

           ฟุตบอลแยกไม่ออกจาเรื่องวัฒนธรรม เศราฐกิจ และการเมือง ในเชิงสังคม อังกฤษเป็บ้านเกิดของสิ่งทีเรียกว่าฟุตบอลสมัยใหม่ หรือ "โมเดิร์นฟุตบอล" ฟุตบอลเคยเป็นกีฬาที่มีความดิบและเถื่อนกว่าที่เห็นทุกวันนี้มาก
           "ฟุตบอลในอดีตมีมานานแล้วในยุโรป ประมษร ศตวรรษที่ 13-14 แตว่าเป็น folk football ซึ่งเป็นกีฬาพื้นบ้านเป็นการแข่งระหว่างหมู่บ้าน วิธีเอาชนะคือนำลูกบอลจากหมู่บ้านตนไปวางกลางหมู่บ้านคู่ต่อสู้ให้ได้ ด้วยวิะีการใดก็ตาม ถ้าคุณแพ้ หมู่บ้านคุณก็แพ้ด้วย จึงเป็นกีฬาที่มีความรุนแรงกระทั้งอังกฤษต้องออกกฎห้ามเล่น folk football "
           "ส่วนฟุตบอบลสมัยใหม่เกิดขึ้นมาช่วงกลางๆ ศตวรรษที่ 19 ประมาณ 1860 โรงเรียนเอกชนที่ช่นช้นสูงส่งลกมาเ่รียนโรงเรยนพวกนี้มองว่าเด็มีอำนาจ สปอยล์ พวกบ้านรวย เอาแต่ใจตัวเอง เพื่อท่จะดัสันดานเด็กพวกนี้ ฟุตบอลก็ถูกนำขึ้นมา ตั้งกฎกติกา ให้เล่นอย่างสุภาพบุรุษ "
            หลังลูกหลายผู้ดีเรียนจบ สิ่งที่ติดตัวไปมีมากกว่าความรุ้ กีฬาฟุตบอลถูกถ่ยทอดสู่ working class และเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการรวมกลุ่มชนชั้นแรงงาน ที่เรียกร้องหใ้มีวันหยุด และเมื่อมีวันหยุด ชีวิตของพวกเขาก็คือ "ฟุตบอล"
            "ชนชั้นสูงจึงแยกกีฬาอีกชนิดหนึ่งออกมา คล้ายๆ กับฟุตบอล รักบี้กับฟุตบอลก็มีที่มาไม่ต่างกัน ชนชั้นสูงจะเล่นกีฬารักบี้
            ในฝรั่งเศสมีแง่มุมที่แตกต่าง เพราะมีเรื่อง "เชื้อชาติ" และสีผิว" เข้ามาเกี่ยวบ้อง หลังจากสงครามปลดปล่อยอาณานิคมต่างๆ ในสงครามพวนีจะมีการยอมรับคนในเมืองขึ้นที่ยังอยากเป็นคนฝรั่งเศสอยู่ ซึ่งตาม ไทม์ไลน์ มันคือยุคที่ลูกหลายของคนอพยพได้สัญชาติวรั่งเสส หรือไม่ก็เป็นคนฝรั่งเศสโดยกำเนิดแต่ว่าพ่อแม่มาจากผู้อพยพ ก็เข้าโรงเรียนฟุตบอล และแน่นอนว่าเมื่อคัดทีมชาติ เขาก็ต้องเลือกจากคนเก่งที่สุด แล้วฝรั่งเศสก็มีคำขวัญประจำประเทศ เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ ดังนั้นคุนเกิดมาจากไหนไม่รู้ คุณเตะบอลเก่งคุณก็ต้องติดทีัมชาติ มันก็ทให้ในที่สุดทีมชติฝรั่งเศสก็แทบไม่มีฝรั่งเศสจริงๆ เหลืออยู่เลย แต่อย่างไรก็ตาม คนฝรังเศสก็เหมือนคนที่ไหนๆ ในโลก คือ พอชนะก็เฮด้วย พ่อจะเป็นเซเนกัล เป็นอัลจีเรีย เป็นใครก็ตาม แต่สุดท้ายธงที่ไปโบกตอนรับเหรียญแชมป์โลกมันก็คือธงชาติฝรั่งเศส
         
 ในอังกฤษ ฟุตบอลเป็นกีฬาของ working class และก็เป็นคนขาว บนอัฒจันทร์ฟุตบอลส่วนหนึ่งเจึงเป็นคนขาว ทำให้วัฒนธรรมแฟนบอลกลายเป็นพื้นที่ของคนผิวขาว ที่เลี่ยงไม่ได้ว่าต้องมีกลุ่มเหยียดผิวปะปนอยู่  โดยมีเรื่องย้อนแย้ง คือ "จาหังสือเล่มหนึ่ง เป็นคนดำทีเ่ป็นแฟนบอล อยากดุบอล ก็ไปดุบอล ก็เข้าไในกลุ่มฮุฃิแกน แล้วคนดำก็ถูกผลักถูกดันเป็นเรื่องปกติ แต่ด้วยความอยากอยู่ เขาก็ทนได้ แล้ววันหนึ่งเขาก็กลายเป็นพวกเดียวกับพวก racism พวกนั้น แล้วก็ไป แรคซิม คนผิวสี คนอื่น คือคุณเป็นคนที่ถุกเหลียด แต่พอเข้าไปสังคนนี้แล้ว คุณก็กลายเป็นคนแบบเดียวกัน คือกลายเป็นพวกเหยียดคนอีกกลุ่ม"
            แม้จะก้าวผ่านจุดสุโต่งไปมาก แต่ แรคซึม ยังอยู่คุ่กับวัฒนธรรมฟุตบอล จนปัจจุบัน เมื่อผูอพยพกลายเป็นปัญหาระดับโลก นักฟุตบอลคือกลุ่มคนแรกๆ ที่ตื่นตัว และยื่นมือเข้าช่วย เรพาะวงการฟุตบอลเต็มไปด้วยคนหลากหลายเชื้อชาติ ...
           กลุ่มทุน และแฟนบอล
            วิวัฒนาการของฟุตบอลต่างประเทศในระดับสโมสรคือ ชุมชนต้องมาก่อน นั่นคือความเป็นทีมทั้องถ่ิน กระดูกสันหลังของทุกทีมคือแฟนบอล คนในชุมชน แต่เวลาผ่านไป เมื่อกลุ่มทุนเข้ามามีอำนาจ ทีมถูก เทคโอเวอร์ ด้วยชาวต่างชาติมองในอีกมุมหนึ่ง กล้าตั้งสมมุติฐานว่า ทุนอาจจะเป็นกลไกที่ทำให้ทีมฟุตบอบยังยืนก็ได้
            "ถ้านายทุนไม่ท้อง คนท้องถ่ินเชียร์ คนมีเงินทาทำทีมแล้วไม่ท้อง มันก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่คนท้องถิ่นเขาจะท้ิงทีมแล้วดีไม่ดี ยังจะทำให้ทีมนั้นพ้นความเป็นท้องถิ่นไปด้วย
            "เมื่อการเข้ามาของกลุ่มทุนกลายเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ แต่สิ่งที่ทำให้ฟุตบอลกลายเป็นอุตสาหกรรม เป็นธุรกิจที่ทำเงินมหาศาลกลบไม่ใช่การทำกำไรทางตรงจากสโมสร แต่มาจากนวัตกรรมสคำคัญของโลก คือการ "ถ่ายทอดสด" 
              การถ่ายทอดสดคือนวัตกรรมที่สุดยอดที่มีขึ้นมาในกีฬา ถ้าคุณผลิตสินค้าแบบทุนนิยม ส่ิงที่คุณต้องทำคือผลิตสินค้าแบบเดินจำนวนมากๆ ขึ้นมา แต่กีฬาเป็นอุตาสหกรรมรายได้ เพราะคุณผลิตซ้ำได้ดวยต้นทุนที่คุณถ่ายเพียงครั้งเดียว ซึ่งคนทีรับสัญญาณถ่ายทอดสดมีมากเท่าไหร่คุณก็ผลิตซ้ำด้มาเท่านั้น คือส่ิงที่ทำให้ฟุตบอลกลายเป็นอุตสาหกรรม
               ฟุตบอลพัฒนาจากกีฬาของ เวิร์คกิ้ง คลาส สู่โลกธุรกิจเต็มตัว ฟุตบอลกลายเป็นแหล่งรวมของกลุ่มทุนต่างชาติ ที่ตัวเงินมีค่ามาก่าความสนุกของกาเรป็นกีฬา จนฟุตบอลในสนามจึงกลายเป็นกิจกรรรมของชันชั้นกลาง เป็นกิจกรรมของนักท่องเที่ยว ในเมืองที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างลอนดอนมีทีมใหเ้เชียร์มากมาย
              ฟุตบอลเป็นสินคาที่ราคาแพง คุณไปดูในสนามไม่ได้ จะมคำว่า ฟุตบอล สำหรับแฟนบอล ไม่ใช่เพื่อการค้า นี่คือสเ้นทางของแฟนบอลแท้ๆ แบบเดนตาย คือคุณไม่มีเงินซื้อตั๋วดุในสนาม เพราะในสนามมันแพง ทีมใหญ่ๆ ลิเวอร์พูล แมนยูอาร์เซนอล สเปอร์ส คุณไม่มีเงิน คุณไปดุในผับ"
              ที่ประเทศไทย เมื่อเริมมีการแข่งฟุตลอลอาลีพ วัฒนธรรมใหม่บางอย่างก็เกิดขึ้นเช่น ักน แม้มจุดเร่ิมต้นไม่เหมือนยุโรป เพราะคนไทยเร่ิมดุบอลจากชนชั้นกลางที่มีเงินจ่ายค่าเคเบิลทีวี รบชมผ่นหน้าจอ แต่ปัจจุบัน ชนชั้นใหม่อย่างชนชั้นกลางกลุ่มล่างได้เขามามีส่วนร่วมในการสร้างวัฒนธรรมการดุฟุตบอลใหม่ของไทยขึ้นมา
         
"ถ้าใครเป็นคอการเมืองจะห็นว่ามีคำใหม่เกิดขึ้นมา เป็นชนชั้นกลางใหม่ ชนชั้นกลางระดับล่ง คุณฯจะพบเขาที่สนามฟุตบอล เป็นวิถีชีวิตของคนกลุ่มใหม่ที่เกิดขึ้นมา คือพลวัตรของความเปลี่ยนแลวงในไทยเป็นทำนองนี้ จากชนชั้นสูง สุ่ชนชั้นกลาง ทุกวันนี้ชนชั้นกลางระดับล่างเร่ิมเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น"
           ปัจจับสำคัญที่ทำให้วัฒนธรรมชชั้นใมห่และฟุตบอลไทยเกิดขึ้นมา คือความเป็นท้องถิ่น ที่แฟนบอลในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมได้ง่าย มันเกิดสิ่งที่ว่า ทีมที่ "เชียร์ไม่ได้" เช่น ถ้าบ้านอยู่ลำปาง เราไม่สามารถเชียร์แมืองทองฯที่แจ้งวัฒนะได้ เราจึงต้องเชียร์ลำปางเอฟซี "คือมันไกล ไปทีี่อื่นไม่ได้ คุณก็ต้องมี โลคอล ทีม เหมือนที่ยุโรปเคยมี และมีมานานแล้ว ก่อนหน้านี้ที่คนไทยเชียร์ฟุตบอลต่างประเทศ คุณอยากเชียร์ทีัมแบบไหนที่พุกใจคุณ พุดให้มัมือหม่นกว่านั้นคือ คุณถุกสื่อบังคับให้เชียร์ทีม่..อาทิ แมนยูฯ ลิเวอร์พูล..อาร์เซนอล แต่หากคุณมีทีมในบ้านเกิดแล้ว คุณเลื่อไม่ได้เท่าไหร่ คุณจำเป็นต้องสนุกกับมัน มันจะเกิดวัฒนธรรมการดุฟุตบอลขึ้นมา เพราะไม่ใช่กิจกรรมที่ดูเพียงอย่างเีดยว คุณเข้าไปในสนาม ร้องเพลงคุณไปรอบๆ สนามบอล โบกธง จับกลุ่มพูดคุยกัน มันเกิดไลฟ์สไตล์ มัเกิดวัฒนธรรมบางอบย่างขึ้นมา" https://waymagazine.org/euro-2016-event/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)