วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

Israel

 


      Israel อิสลาเอลเป็นประเทศที่มีภูมิลักษณ์หลากหลายมีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก กรุงเทลาวีฟเป็นศุูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ที่ตั้งของรัฐบาลตามประกาศคือกรุงเยรูซาเล็มแม้ยังไม่ได้รับรองในระดับนานาชาติ..
     ในคัมภีร์อิบรู  ราชอาณาจักรอิสลาเอลเป็นหนึ่งในสองรัฐที่ก่อตั้งขึ้นหลังจากกษัตริย์ชาโลมอนสวรรคต นักประวัติศาสตร์มักใช้ชื่อว่า "อาณาจักรสะมาเรีย" เพื่อให้มีชื่อแตกต่างกับอาณาจักรยูดาห์ตอนใไต้
      ราชอาณาจักรอิสราเอลก่อตั้งใน 930 ปีก่อนคริสตกาลจน๔ุกพวกจักรวรรดิอิสซีเรยใหม่ยึดครองใน 720 ปีก่อนคริสตกาล มีเมืองสำคัญได้แก่ เซเคม.ทิรซาห์ และ สะมาเรีย
       คัมภีร์ฮบรูพรรณนาถึงอาณาจักรสะมาเรีย เป็นหนึ่งในสองรัฐที่สืบทอดต่อจากสหราชอาณาจักรอิสราเอล ซึ่งเคยถูกปกครองโดยกษัตริย์ดาวิดและซาโลมอนพระราชโอรส อีกแห่งคืออาณจักรยูดาห์ทองตอนใต้ อย่างไรก็ตามนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีไม่เชื่อเรืองราวที่มีอยู่พระคัมภีร์
       อาณาจักรต่างๆในดินแดนนี้มีหลายอาณาจักรปกครองผ่านเวลานับพันปี อาณาจักรที่สำคัญอาทิ
       อิสซีเรีย  เป็นอารยธรรมหลักในเมโสโปเตเมียโบราณที่เร่ิมต้นในฐานะนครรัฐในศตวรรษที่ 21 ก่อนคริสตศาสนาถึงศตวรรษที่ 14 แล้วพัฒนาเป็นรัฐอาณาเขตและกลายเป็นจักรวรรดิ์ในศตวรรษที่ 14 ถึง ศตวรรตที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช
         อาณาจักรบาบิโลนเนีย อารยธรรมของชาวบาบิโลนเนียได้พัฒนามาจากชาวสุมาเรียนซึ่งตั้งหลักปักฐานบริเวณแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรทีส(3,200-2,300ปีก่อนคริสตกาล)ซึ่งมีความเจริญมาก่อนหลายร้อยปี
         อัสซีเรียถือเป็นหนึ่งในสองอาณาจักรหลักร่วมกับ บาบิโลน ในตะวันออกใกล้โบราณ อัสซีเรียมีอำนาจสูงสุดในสมัยอัสซีเรียใหม่ โดยก    องทัพอัสซีเรียเคยเป็นกองทัพที่แข็งแกร่งที่สุดในโลกและเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่ในประวัติศาสตร์โลก กินพื้นที่ในอิหร่านทางตะวันออกถึงอียิปต์ทางตะวันตกในปัจจุบัน
                                                                                

        จักรวรรดิอัสซีเรียล่มสลายตอนปรลายศตวรรษที่ 7 กอ่นคริสตกาล อยางไรก็ตามวัณนธรรมและธรรมเนียมอัสซีเรยโบราณยังคงดำรงอยู่หลายศตวรรษ อัสซีเรียได้ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะในจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่สร้างความประทับใจในอัสซีเรียยุคหลัง กรีก โรมัน และวรรณกรรมกับธรรมเนียมทาศาสนาในภาษาฮิบรู
         บาบิโลนใหม่(อาณาจักรคาลเดีย) ในสมัยที่รุ่งเรื่องในยุคพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ ได้ยกทัพไปพิชิตเมืองเยรูซาเรมและกวาดต้อนเชลยชาวยิวมายังกรุงบาบิโลน มีการสร้างพระราชวังขนาดใหญ่และวิหารบนฝั่งแม่น้ำยูเฟรตีสและเหนือพระราชวังมีการสร้างสวนลอยฟ้าเรียกว่า"สวนลอยแห่งบาบิโลนน"เป็นสิ่งมหัส

บาบิโลนใหม่

จรรย์ของโ่ลกในยุคสมัยก่อน มีการนำความรู้ทางการชลประทานทำให้สวนลอยเขียวทั้งปีมีความรู้ด้านดาราศาสตร์ แบ่งสัปดาห์ออกเป็น 7 วันแบ่งวันออกเป็น 12 คาบคาบละ 120 นาทีสามารถคำนวนเวลาโคจรของด้วยดวงอาทิตย์ในรอบ 1 ปีได้อยางแม่นยำพยาการณ์สุริยุปราคา ชาวคาลเดียนเป็นชาติแรกที่ริเริ่มนำเอาความรุ้ทางดาราศาสตร์มาทำนายโชคชะตาของมนุษย์อาณาจักรบาบิโลนใหม่ถูกกองทัพเปอร์เซียเข้ายึดครอง..
           จักรวรรดิ์เปอร์เซ๊ย เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในยุคโลราณ และมารุ่งเรื่องที่สุดในยุคพระเจ้าดาไรอัสมหาราชผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นศ้ตรูคนสำคัญของอาณาจักรกรีกโบราณ ที่ตั้งเดิมของอาณาจักรในปัจจุบันอยู่ในอิหร่าน
           สมัยเฮลเลนนิสต์ เป็นสมัยที่เริ่มขึ้นหลังจากอเล็กซานเดอร์มหาราชได้รับชัยชนะต่อจักรวรรดิเปอร์เซ๊ย ในช่วงนี้อารยธรรมกรีกเจริญขั้นสุดทั้งในยุโรปและเอเซีย เป็นสมัยคาบเกี่ยว(สมัยของความเสื่อมโทรมสมัยของการใช้ชีวิตที่เกินเลย)ระหว่างความรุ่งเรืองของสมัยกรีกคลาสสิคกับความเร่ิมก่อตัวของจักรวรรดิ์โรมัน เป็นยุคหลังจากอเลกซานเดอมหารราชได้สวรรคต(อเลกซานเดอร์มหาราช
        จักรวรรดิซิลูซิต เป็นรัฐอารยธรรมกรีกที่ดำรงอยู่ระหว่าง 312-63ปีก่อนคริสตกาลสถาปนาหลังมีการแบ่งราชอาณาจักรมาแกโดนีของอเล็กซานเดอร์มหาราชใน 321 ปีก่อนคริสตกาล ซิลูซิสได้ครอบครอง

บาบิโลเนีย ก่อนขยายอำนาจไปทางตะวันออกเฉียงเหนือจนตรดแม่น้ำสินธุ ในยุคที่เจริญถึงขีดสุดครอบครองดินแดนตั้งแต่ อนาโตเลียกลาง ลิแวนด์ เมโซโปเตเมีย เปอร์เซีย เติร์กเมนิสถาน อัฟกานิถานไปถึงบางส่วนของปากีสถาน
         กบฎทัคคานี เป็นการกบฎของชาวยิวนำโดยกลุ่มัคคานีเพื่อต่อต้านจักรวรรดิ์ซิลูซิสและอิทธิพลของกรีกการกบฎช่วงหลังเกิดขึ้นระหว่าง 167-160 ปีก่อนคริสตกาลและจบลงเมื่อซิลูซิสเข้าควบคุมยูเดีย แต่ความขัดแย้งระหว่าง มัคคานี ชาวยิวเฮลิลนิสต์ และซิลูซิสยังดำเนินไปจนถึง 134ปีก่อนคริสตกาล 
         จุดเริ่มต้นของการกบฎเกิดจากการปราบปรามผู้นับถือศาสนายูดาห์ใน 168 ปีก่อนคริสตกาล สาเหตุไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดแต่เชื่อกันว่าอาจมาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่มีความเชื่อเป็นองค์ประกอบ แอนดิโอคัส และเยรูซาเลม ตกอยู่ใต้อำนาจ ซิลูซัส สั่งห้ามประกอบพิธีทางศษสนายูดาห์และดัดแปลงพระวิหารที่สองให้เป็นศาสนาสถานของลัทธิผสาน กรีก-ยูดาห์ การปราบปรามนี้น้ำไปสู่การกบฎ และทัคคนีสามารถเป็นอิสระจากการปกครองของซิลูซิสมากขึ้นกระทั้งในปี141 กอ่นคริสตกาลสามารถขับไล่กรีกออกจากป้อมอะคราในเยรุูซาเลมได้าำเร็จและก่อตั้ง ราชวงแอสโมเนียที่ปกครองยูเดียจนถึง 37 ปีก่อนคริตกาลและ 6 ปีก่อนคริสตกาลสถาปนามณฑลยูเดียของโรมัน...
                                                             
                                                              แหล่งที่มาข้อมูล wikipidai

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565

Thein Sein

            อองซาน ซูจี ถูกควบคุมตัวอยู่ 15 ปี ระหว่างปี 1989-2010 เมื่อรัฐบาลทหาร(เปลี่ยนือจาก"สลอร์ค"ในปี 1997) จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2010  พรรคึ NLD มีมติบอยคอตการเลือกตั้ง เพราะมองว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม แต่อย่างน้อยที่สุด หลังการเลือกตั้งปี 2010 และการขึ้นดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี เต็ง เส่ง จากพรรค USDP พม่าก็มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี เร่ิมมีการแก้ไขกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศแต่ในด้านการเมืองและการจัดการความขัดแย้ง รัฐบาลฃเต็ง เส่ง ยังอยู่ีภายใต้การควบคุมของกองทัพ ซึ่งยังมีนายพล ตาน ฉ่วย ควบคุมใอยู่ อิทธิพลของกองทัพพท่าเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดในการก้าวสู่คงวามเป็นประชาธิปไตย...เมื่อการเมืองของประชาชนฝากความหวังไว้ที่ NLD มาโดยตลอด NLD จึุงเป็นพรรคการเมืองในฝั่งประชธิปไตยเพียนงพรรคเดียวที่พอจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ และประชาชนเอง แม้จะเป็นในพื้นที่ของพรรคกลุ่มชาติพันธุุ์ ก็พร้อมใจกันเลือก NLD เข้าไป เมื่อมีการเลือกตั้งในปี 2012 เพราะเชื่อว่า แตกต่างและจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นได้จริง การขาดพรรคการเมืองทางเลือก..ทำให้การเมือิงพม่าเป็นอัมาพาตเมือเกิดวิกฤตกีับพรรค NLD  และแนวโน้มในอนาคตคือกองทัพพท่าจะทำทุกวิถีทางเพื่อสกัดกั้นพรรค NLD...

            บทบาทที่โดเด่นของ อูเต็ง เส่ง ต่อพัฒนาการทางการเมืองในพม่าที่กล่าวได้ว่าอยุ่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากการปกครองแบบเผด็จการทหาร มาเป็นประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แม้อิทธิพลของทหารหรือกรอบคิดเก่าจะไม่จางหายไปง่ายๆ 

          แม้ว่า เต็ง เส่งจะมีจากการแต่งตั้งโดยผู้นำทางการทหารและ เป็นทหารผู้มีอิทธิพล ลำดับ 4 ของประเทศซึ่งหนีไม่พ้นที่จะถูกกล่าวหาว่าสนับสนัุนเผด็จการทหาร แต่ผลงานที่เด่นชัดและคึวามตั้งใจตที่จะนำพม่าออกจากระบอบเผด็จการทหาร ซึ่งได้ เต็ง เส่งเป็นนักเจรจรต่อรองในหลายระดับ พม่าจึงดำเนินไปในทิศทางที่ดีร นายพลเต็ง เส่งมีท่าที่ที่ชัีดเจนและจริงจังกับคำพูด ที่จะยกเลิกระบบเก่าและสร้างสังคมใหม่ อีกทั้งบทบาทของนักปฏิรูป ของ เต็ง เส่ง เด่นชัีดมาก

           ประธานาธิบดีเต็งเส่ง แห่ง พม่า แถลงทางวิทยุเมื่อวัีนที่ 2 มกราคม 2557 ว่าสนับสนุนก

ารแก้ไขรัฐธรรมนูญ 



          3 ม.ค.2557 สำนักข่าวอิระวดีรายงานว่าในการกล่าวสุนทรพจนร์ออกอากาศทางวิทยุประจำเดือนมกราคมของ ประธานาธิบดเต็งเส่งแห่งสาธารณรัีฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ หรือ ประเทศพม่า ประธานาธิบดีเต็ง เส่งกล่าวว่า "รัฐธรรมนูญที่มีความเหมาะสมนั้นจะต้องมีการแก้ไขเป็นระยะ เพื่อที่จะได้ตอบสนองความต้องการของชาติ เศรษฐกิจ และความจำเป็นทางสังคึามมขของพวกเรา

         "ข้าพเจ้าไม่ต้องการให้มีข้อกำนดที่จำกัดสิทธิของพลเมืองไม่ว่าบุคคลใดก็ตามที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำประถเทศ" เขากล่าว "ในขณะเดียวกัน พวกเราต้องการมารตรการที่เหมาะสมเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติและอธิปไตย" (รัฐธรรมนูญแบับเก่าที่บัญญัติไว้มีผลทำให้ ออง ซาน ซูจี ซึ่งมีสามีถือสัญชาติอังกฤษ และบุตรสองคนถุือเป็นพลเมืองต่างชาติ ไม่สามารถขึ้นเป็นประธานธิบดีได้) 

         เต็ง เส่ง กล่าว่า เขาเชื่อว่ามีความจำเป็นในการแก้ไขรัฐธรรมานูญเพื่อความปรองดองแห่งชาติ นอกจากนี้เขายังต้องการทำสัญญาหยุดยิงทั่วประเทศกับกองทัพของกลุ่มชาติพันธุ์? หลังจากผ่านสงครามหลายทศวรรษ...และกล่าวว่า "การเจรจาทางการเมือง มีความจตำเป็นสำหรัีบกระบวนการปรองดองแห่งชาติ และเป็นรากฐานของกระบวนการสันติภาพแห่งชาติ ซึ่งความจำเป็นต้องแก้ไขหรือทบทืวนรัฐธรรมนูญ" ต่อข้อเรียกร้องของกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า เต็ง เส่งเตือนหากเรียกร้องจนเกิดรงรับ อาจเผชิญทางตัน จึงขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันประคับประคอง "อย่างไรก็ตาม ข้พเจ้าอยากกล่าวว่า หากข้อเรียกร้องทางการเมืองขบองสาธารณะชนหญ่เกิดกว่าที่ระบบการเมืองปัจจุบันจะรองรับได้พวกเราก็จะเผชิญกับทางตคันทางการเมือง ถ้าสิ่งที่เกิดขึ้น เราก็จะเสียเสรีภาพทางการเมืองที่เราได้บรรลุมาไปทั้งหมด ข้าเจ้าอยากจะเตือนพวกเราทุกคนให้ช่วยกันประคับประคองสถานการณ์นี้ด้วสยความห่วงใยและใช้ภุมิปัญญา"

         รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของพม่า กำหนดให้ที่นัี่งในรัฐสภาพร้อยละ 25 ให้กับตัวแทนจากกองทัพ ขณะเดียวกันพม่าจะมีการเลือกตั้งทัี่วไปใน พ.ศ. 2558  ซึ่ง ออง ซาน ซูจีร แสดงความประสงค์ที่จะลงสมัครเป็นประธานธิบดี โดยเธอเคยกล่าวว่าพรรคอาจจะคว่ำบาตรการเลือกตั้งหากไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามล่าสุดพรรค NLDได้แถลงว่า จะลงชิงชัยการเลือกตั้งไม่ว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรอไม่ก็ตาม

        ในการเลือกตั้งซ่อมปี 2555 ทำให้อองซาน ซูจีชนะเลือกตั้งได้เป็น ส.ส. นั้น พรรค NLD ชนะเลือกตั้ง 41 เขต จากทั้งหมดที่มีการเลือกตั้งซ่อม 43 เขต

       ในวันที่ 31 ธ.ค. ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ได้ลงนามคำสั่ง  ซึ่งเป็นคำสั่งอภัยโทษให้กับนักโทษการเมืองในพม่า และยกเลิกการดำเนินคดีแก่ผุ้ที่ถูกฟ้องร้องกล่าวหาตามความผิดของกฎหมายวต่างๆ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการรวมตัวสมาคมอย่างผิดกฎหมาย, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.122 ฐานทรยศ. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 124 ฐานปลลุกระดม, กฦฎหมายว่าด้วยการป้เองกำันรัฐจากการบ่อนทำลาย,กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมและการเดินขบวนอย่างสันติ, ประมวลกฎหมายวงิธีพิจารณาความอาญา ม. 505 ว่าด้วยการกระทำที่ขัดกับผลประโยชน์สาธารณะ, และกฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉิน ค.ศ. 1950 โดยให้ผุ้ที่ต้องคำพิพากษาแล้วให้ได้รับการอภัยโทษ.ให้ทุกคดีที่กำลังดำเนินคดีในขันศาล ให้มีการยุตคิการพิจารณาคดีทันที และให้ทุกคดีที่กำลังอยู่ในขั้นสอบสวน สิ้นสุดการสอบสวนทันทีดดยไม่มีมาตการเพ่ิมเติมใดๆ ออกมา่....

      

          ข้อมูลบางส่วนจาก...มติชนออนไลน์ ลิลิตา หาญวงษ์ "33 ปี พรรค NLD ไปต่อหรือหุดแค่นี้"

                                          ประัชาไท "ผู้นำพม่า "เต็ง เส่ง" หนุนแก้ไข รธน. ให้ "ออง ซาน ซูจี" ลงสมัครประธานาธิบดีได้

                                          "เต้นเซน" วิกิพีเดีย

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565

NLD (National League for Demacracy)

             พรรค NLD หรือสันนิบาตแห่งชาสติเพื่อประชาธิปไตย เกิดขึ้นมาพร้่อมๆ กับการประท้วงครั้งใหย๋ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ของพม่าใน 1988  ก่อตั้งเมื่อ 24 กันยายน พ.ศ. 2531 เพื่อต่อต้าน "สภาฟื้นฟูระเบียบและกฎหมายแห่งรัฐ" หรือ "SLORC" ซึ่งเข้ายึดอำนาจการปกครองในนามของคณะทหาร ทำให้เกิดการจลาจลนองเลือดในเมืองใหญ่ของพม่าหลายเมือง ผุ้ก่อตั้งพรรคได้แก่ อองซาน ซูจี อองจี และติ่นจู พรรคการเมือง NLD กลายเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลสุงสุด มีสมาชิกทั่วประเทศถึง 2 ล้านคน ในปัจจะบันอาจกล่าวได้ว่าความนิยม NLD เกิดขึนเพราะความนิยม อองซาน ซูจี...

          "อองซาน ซูจี"เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2488 เป็นบุตรสาวคนสุดท้องของนายพลอู อองซาน "วีรบุรุษอิสรภาพของประเทศพม่า" ผู้นำการต่อสู้กับญี่ปุ่นและ สหราชอาณาจักร จนนำไปสู่การได้รับอิสรภาพเป็นรัฐเอกราช นายพล อู อองซาน ถูกลอบสังหารก่อนทีพม่าจะได้รับเอกราช ขณะนั้น ออง ซาน ซูจีมีอายุเพียง 2 ขวบ


          ในปี พ.ศ. 2503 นางดอว์ซิ่นจี มารดาของอองซาน ซูจีได้รับการแต่างตคั้งให้ไปดำรงตำแหน่งทูตพม่าประจำประเทศอินเดีย ซูจี จึงถูกส่งเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยม ที่ประเทศดังกล่าว

          พ.ศ. 2507-2510 อองซาน ซูจีเดินทางไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสาขาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ที่เชนด์ฮิวจส์คอลลเลจมหาวิทยาลั่ยอ๊ออกฟอร์ดในช่วงเวลานั้นเธอได้พบรักกับ "ไมเคิลอริส" นักศึกษาสาขาวิชาอารยธรรมทิเบต ภายหังจบการศึกษาเธอเดินทางไป "นิวยอร์ก"เพื่อเข้าทำงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการประจำคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการตั้งคำถามเกี่ยวกับงบประมาณและการจัดการของสำนักงานเลขาธิการองค์การสหประชาชาติเป็นเวลา 3 ปี โดยในช่วงเวลาดังกล่าง องค์การสหประชาชาติมีเลขาธิการเป็นชาวพม่าชื่อนายอู่ถั่น

           พ.ศ.2515 อองซาน ซุจีแต่งงานกับไมเคิลอริสและย้ายไปอยู่กับสามีที่รราชอาณาจัีกภูำาน ซูจี ทำงานเป็นนักวิจัยในกระทรวงต่างประเทศของรัฐบาลภูฎานขณะที่ไม่เคิลมีตำแหน่งเป็นหัวกรมการแปล รวมทั้งทำหน้าที่ถวายการสอนแก่สมาชิกของราชวงศ์ภูฎาน

          พ.ศ. 2516-2520 อองซานซูจ และสามีย้ายกลับมาพำนักที่กรุงลอนดอน ประเทศองักฤษ อริสได้งานสอนวิชาหิมาลัยและทิเบตศึกษา ที่มหาวิทยาลัย อ๊อกซฟอร์ด ส่วน ซูจี ให้กำเนิดบุตรชายคนแรก "อเล็กซานเดอร์" และบุตชายคนเล็ก "คิมในปี พ.ศ. 2520 ในช่วงนี้ ซูจีเร่ิมทำงานเขชียนและงานวิจัยเกี่ยวกัยบชีวประวัติของบิดาและยังช่วยงานวิจัยด้านหิมาลัยศึกษาของสามดีด้วย ปี พ.ศ. 2528-2529  ซูจี ได้รับทุนวิจัยจากศูนย์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัีบยเกียวโต ให้ทำวิจัยเรื่องเกี่ยวกับบทบาทของนายพล อูอองซาน ที่ประเทศญี่ปุ่น ขณะที่ไม่เคิลอริสได้รับทุนให้ไปทำวิจัยที่อินเดีย เมืองซิมลาทางภาคตะวันออกของอินเดียและต่อมา ซูจีก็ได้รับทุนวิจัยจากที่สถาบันแห่งนี้ด้วยเช่นกัน

         พ.ศ. 2530 อองซานซูจีและสามีพาครอบครวย้ายกลับมาอยู่ที่ปเทศอังกฤษเธอเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่ London  School of Oriental and African Studies ณ กรุงลอนดอน โดยทำวิยานิพนธ์เกี่ยวกับวรรณคดีพม่า


       ในวัย 34 อองซาน ซูจี เดินทางกลับบ้านเกิดที่กรุงย่างกุ้งเพื่อมาพยาบาลมารดา ดอว์ซิ่น ที่่กำลังป่วยหนักในขณะนั้น ในปี พ.ศ. 2531 ซึ่งในขณะนั้นเศรษฐกิจตกต่ำ และมีความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศพม่าประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะกลุุ่มนักศึกษาชุมนุมเคลื่อนไหวกดดันให้นายพลเนวินลาออกจากฃตแหน่ง ประธานพรรค นายพลเนวินลาออกจากตำแหน่ง ตามมาด้วยการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยของนักศึกษาและประชาชนหลายแสนคนในกรุงย่างกุ้ง เมืองหลวงของพม่าก่อนที่การชขุมนุมจะแพร่ลามไปทั่วไปรเทศ ต่อมมาผู้นำทหารได้สั่งการให้ใช้กำลังอาวุธสลายการชุมนุมของประชาชนนับล้านคนที่รวมตัวกันเรียกร้องประชาธิไตยในกรุงย่างกุ้งและเมืองต่างๆ ทั่วประเทศพม่าผู้ร่วมชุมนุมหลายพันคนเสียชีวิต ซึ่งเรียกเหตุการณืนี้ว่า 8-8-88 

        อองซานเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นครั้งแรกในปี วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2531 โดยส่งจดหมายเปิดผนึกถึุงรัฐบาลเรียกร้องให้มีการจัดต้้งคณะกรรมการอิสระเพื่อเตรียมการเลือกตั้งทั่วไป

        26 สิงหาคม พ.ศ. 2531 อองซาน ซูจี ขึ้นกล่าวปราศรัยเป็นครั้งแรกต่อหน้าผูงชขนกว่าห้าแสนคน ณ มหาเจดีย์ชเวดากอง เธอเรียกร้องให้มีรัฐบาลประชาธิปไตย แต่รัฐบาลทหารจัดตั้ง "สภาพผื้นผูกฎระเบียบแห่งรัฐ" หรือ "ส่ลอร์ค"ขึ้น และทำการปราบปรามสังหารและจับกุมผู้ตอ่้ต้านอีกหลายร้อยคน

        24 กันนยายน พ.ศ. 2531 อองซาน ซูจี ได้ร่วมจัดตั้ง "พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิไตย" หรือ NLD ขึ้นมา และได้รับดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค

         พรรค NLD ตั้งขึ้นมาเพื่อเข้าร่วมการเลือกตั้งท่วไปที่"สลอร์ค"สัญญาว่าจะจัดขึ้นในปี 1990 (พ.ศ.2533) การควบคุมตัวอองซาน ซูจีไว้ในบ้านพัก พร้อมทๆกับผู้นำพรรคอีกหลายคนย่ิงทำให้ NLD ได้รับการสนับสนุนจากมวลชขนเพิ่มขึ้น ทั้งๆ ที่ตลอดปี 1989 และต้น 1990 รัฐบาบ "สลอร์ค"พยายามทำลายความน่าเชื่อถือของ NLD มาโดยตลอด

        ผลการเลื อกตั้งในเดือนมีนาคม 1990 ซึ่งพรรคการเมืองกวา 90 พรรคเข้าร่วม ปรากฎว่าพรรค NLD ได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมทั้นคิืดเป็นร้อยละ 58.7 นำห่างพรรค NUP พรรคนอมินีที่กองทัพตั้งขึ้นมาเพื่อแข่งขันกับ NLD โดยเฉพาะ ทีได้คะแนนเสียงเพียนงร้อยละ 21.1 ความนิยมใน NLD และอองซาน ซูจี ยิ่งสร้างความไม่พอใจให้กับคนในกองทัพ กองทัพออกมาประกาศให้การเลือกตั้งปี 1990 เป็นโมฆะ..

         "เอ็นแอลดี"ตอบโต้มติของกองทัพได้ไม่มากนัก แต่ก็นัดประชุมสมาชขิกพรรคและมีมติเรียกร้องให้ "สลอร์ค" มอบอำนาจคืนให้กับประชาชนและยอมารับผลการเลือกตั้ง เพื่อนำไปสู่กระบวนการเจรจาที่ยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจระหว่าง "เอ็นแอลดี"และ "สลอร์ค"ต่อไป แต่ฝ่ายทหารไม่ต้องการการเจรจา


           ในวันที่ 8 สิงหาคม 1990 อันเป็นวันครบรอบ 2 ปีของเหตุการณ์ 8888 พรสงห์จำนวนหนึ่งเดินขบวนประท้อง "สลอร์ค"ที่มัณฑะเลย์ และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนนับพันคน แต่ก็ถูกยิงและทุบตีจนได้รับบาดเจ็บสาหัส การประท้วงขยายมาถึงย่างกุ้ง สมาคมสงฆ์มีมติคว่ำบาตรคนในกองทัพ พระสงฆ์ประเทศจะไม่ยอมรับบาตรและประกอบพิธีกรรมทางศาสนาใดๆ ให้กับคนในกองทัพและครอบครัว "สลอร์ค"ที่ในเวลานั้น มี นายพล ซอ หม่อง เป็นประธานสั่งจับกุมแกนนำพรรค "เอ็นแอลดี"รวมทั้งสมาชิกสภาพผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามารในปี 1990 จำนวน 65 คน และประกาศยุบองค์กรสงฆ์ที่ยังดำเนินกิจกรรมททางการเมืองโดยขู่ว่าหากไม่ทำตาม พระสงฆ์จะถูกจับสึกทันที นอกจากนี้ วัดนัดร้อยวัดทั่วประเทศก็ถูกบุกยึดพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงหลายรูปถูกจับกุม

           ระหว่างปี 1988-1990 ซูจีเป็นที่รู้จักในหมุ่ชาวพม่าผุ้รักประชาธิปไตยภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อเธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปลายปี 1991 ด้วยการผลักดันของไม่ีเคิล แอรส สามีของเธอเอง เธอกลายเป็นวีรสตรีประชาธิปไตยที่ต่อสู้เพื่อความเสมอภาคในสังคม..ในเวลานั้นซุจีถูกคุถมตัวอยู่ในบ้านพัก อเล็กซานเดอร์ แอริส บุตรชายคนโตจึงเป็นผุ้กล่าวสุนทรพจน์เพื่อสดุดี อองซาน ซูจี อาจกล่าวได้ว่า อองซาน ซูจี และขบวนรการเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าถภูกกดดันมากขึ้นโดยรัฐบาล..ภายหลังซูจีได้รับรางวัลโนเบล องค์กรระดับโลกหลายแห่ง เช่น สหประชาชาติ จับตามองสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในพม่าเพิ่มขึ้น และพยายามเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าหันมาเจรจากับ "เอ็นแอลดี"ตลอดจนชขนกลุ่มน้อยอื่นๆ ที่ยังทำสงครามกัีบกองทัพพม่าอยู่ แต่ข้อเสนอเหล่้านี้ก็ถูกคนในกองทัพพม่าปฏิเสธมาโดยตลอด

         10 กรกฎาคม 1995 (พ.ศ.2538) ซูจีได้รับการปล่อยตัว หลังจากถภูกควบคึุมในบัานพักของเธอมาั้งแต่กลางปี 1989 แม้จะถูกจำกัดการเคลื่อนไหว แต่ซูจีและคนในพรรค "เอ็นแอลดี"ก็เดินสายพบปะประชาชนทีั่วประเทศอีกครั้งเธอถูกกักบริเวณในบ้านพักอีกครัี้งในยปี 2000 กองทัพอ้างว่าเธอละเมิดข้อตกลงเพื่อเดินทางไปมัณฑะเดลย์ก่อนหน้านัี้น 1 ปี "สลอร์ค" ยื่นข้อเสนอให้เะอเดินทางออกนอกประเทศเพื่อไปเยี่ยมสามี ที่ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย แต่เธอปฏิเสธเพราะมองว่าหากตัดสินใจเดินทางออกนอกประเทศ จะไม่สามารถกลับเข้าพม่าได้อีก เธอถูกปล่อยตัวอีกครั้ง ในปี 2002 แต่ก็ถูกตัดสินจำคุกในระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน2003 ภายหลังมีการปะทะกันระหว่างผุ้สนับสนุน "เอ็นแอลดี"และผุ้สนับสนุนรัฐบาล "สลอร์ค"ในเหตุการณ์ที่เรียว่า "การสังหารหมุ่ที่เดปา"หลังจากนี้ ซูจีจะถูกควบคุมตัวในบ้านพักต่อไปจนถึงปลายปี 2010 เมื่อเธอถูกปล่อยตัวถาวรใสนวันที่ 13 พฤศจิกายน...

             ข้อมูลบางส่วนจาก...มติชนออนไลน์ "กำเนิด NLD และวิถีพม่าสู่ระบอบประธิปไตย(?) โดย ลลิตา หาญวงษ์

                                          ... digitalschool.club "ประวัติของอองซานซูจี"

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565

"SLORC" State Law Order Restoration Council

           คณะนายทหารที่เรียกว่า สภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ หรือรัฐบาล "สลอร์ค State Law
Order Restoration Council-SLORCc และ พรรึคเอกภาพแห่งชาติ ร่วมกันปกครองพม่าหลัง ตามคำสังนายพล เนวิน ดดยมีนายพลซอ หม่อง ทำรัฐประหารเมืองวันที่ 18 กันยายน 

          เืพ่อสร้างภาพว่ารัฐบาลกำลังจะเปลี่ยนระบบการปกครองและเสณาฐกิจไปสู่ความเป็นเสรีมากขึ้นได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญของปี ค.ศ.1974 และเป็ดประเดศด้วยการปรับนโยบายเศรษฐกิจไปสู่ระบบตลาดเปิดเสรีให้ต่ารงชาตินำเงินเข้ามาลงทุนใช้ทราัพยากรธรรมชาตอันอุดมสมบูรณ์ และยกเลิกระบบเศรษบกิจแบบสังคมนิยมที่นายพล เนวิน ประกาศใช้เมือ 26 ปีก่อน และการจัดตั้งพรรคสันนิบาตแห่งขาติเพื่อประชาธิไตยหรือ NLD National League for Democracy) ที่อีอ่อง ยี เป็นประธานพรรค และนาง ออง .าน .ูจี เป็นเลขาะิการพรคฯ ทั้งหมดนี้นับเป็รเริ่มขบวนการประชาธิไตยและสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้แก่ประเทศและรัฐบาล

         รัีฐบาล "สลอร์ค" เปลี่ยนชื่อประเทศพม่าเป๋น "สหภาพเมียนมาร์โดยอ้างว่าเป็นชื่อที่มีความเป็นเอกภาพมากกว่า พม่า และสิ่งทีไม่ได้คาดไว้ก็เกิดขึ้น คือ ในอี่ก 1 ปีต่อมาราัฐบาลสลอร์คได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไปแบบหลายพรรคการเมือง ลหังจากที่ครั้งสุดทื้ายมีการเลือกตั้งในลักษณะนี้เมือประมาณ 30 ปีที่แล้ว อย่างไรก็พรรค NUP  ของรัฐบาลได้ที่นั่งเพียง 10 ที่่นีั่ง จาก 485 ที่นั้ง ที่นีั้งส่วนใหญ่ตกเป็นของพรรค NLD 

         ถึงอย่างไร แม้ผลการเลือกตั้งจะชี้ชัดว่าพรรคึต่อต้านรัฐบาลมีความชอบธรรมที่จะปกครองประเทศ แต่กลุ่ม"สลอร์ค"ก็ประกาศว่า รัฐบาลจะยังไม่มอบอำนาจใน้พรรค NLD จนกว่าจะร่างรัฐธรรมนูญฉบัยใหม่เสร็จสิ้น และให้ประชาชนแสดงความเห็นชอบก่อนแล้วจึงจะพิจารณาการถ่ายโอนอำนาจการปกครอง

          นายพล ซอ หม่องไม่ระบุระยะเวลาที่แน่น่อนในการร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้ประชาชนเดินขบวนประท้วง แต่้รัฐบาล "สลอร์ค"ก้ตอบไต้ด้วยการจับกุมประชานและกวาดล้างสมาชิกพรรค NLD ในที่บรรดาผู้นำพรรคฯ จึงต้องยอมรัีบข้อเสนอของรัฐบาลทหารที่จให้มีการร่างรัฐธรรมนูญแบับใหม่ก่อนการถ่ายโอนอำนาจ  ในเวลาเดียวกันนายพล ซอ หม่อง เริมมีอาการป่วย และ ลงจากตำแหน่าง นายพลตาน ฉ่วย เข้ารับตำแหน่งต่างๆ ตำคำสั่งและการบงการของนายพล เนวิน

          เก้าเดือนต่อมา นายพล ตาน ฉ่วย เริ่มประชุมสมัชชาเพื่อร่างรัฐะรรมนูญ กองทัพจะยัวคึงเป็นเสา่หลักในการปครองซึ่งทำให้ยากที่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นประชาธิปไตยมากกว่านี้

          นับตั้งแต่ นายพล ตาน ฉ่วย ขึ้นมาปกครองประเทศเมืองปลาย เมษา 1992 จนถึงปี 2005 กลไกที่รัฐใช้เป็นเป็นศูนย์อำนาจของรัฐในการกำนดและควบคุมการดำเนินการปกครองและบิรหารประทเศพม่า คือ สภาพ "สลอร์ค"พฤศจิกายน 1997 เมื่อรัฐบาลของ พลเอก ตาน แ่วย ประกาศยุบ "สลอร์ค"และตั้งกลไกใหม่ขึ้นมารทำหน้าที่ทแรนภายใต้ชืิ่อว่า "สภาพสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ" "SPDCซึ่งเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้วก็ไม่มีอะไรแตกต่างกากเดิมเป็นดัง "เหล้าเก่าในขวดใหม่"เพียงแต่ภาพของการช่วงชิงอำนาจระหว่างผู้บริหารระดับสูงปรากฎชัดเจนขึ้น นายพล ตาน ฉ่วย เองก็สามารถเข้าควบคุมประทเสได้ในปลายปี 2004 

     ...ปัจจัยที่อาจเป็นภัยคุกคามต่ออำนาจองรับบาลทหารได้แก่ ผลจากการจลาจลครั้งใหญ่ค.ศ. 19898, การแย่งชิงอำนาจภายในกลุ่มผุ้นำทางทหาร, ความตกต่ำของเศรษฐกิจเมียนมา, การกบฎของชขนกลุ่มน้อย และ ความกังวลต่อการคุกคามจากต่างชาติ ในภาพรวม สาเหตุปัจจัยดังกล่าวเป็นผลมาจากบริบทโลกและสถานการณ์ภายในเมียนมาทมี่เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงดังกล้่าวมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงนโยบายและการดำเนินการต่างๆ ของรัฐบาลทหารเพื่อที่จะรักษาอำนาจซึ่งหากรัฐบาลทหารบังคงวิธีการเดิมเช่นเดียวกับสมัยนายพล เนวิน โดยไม่เปลี่ยนแปลงอาจนำไปสู่การสุญเสียอำนาจของตนในทางการเมืองก็ได้

         ระหว่าง ค.ศ. 1988-2008 รัฐบาล SLORC/SPDCจึงได้ดำเนินการรักษาอำนาจด้วยวิธีการที่หลากหลายมากขึ้น กล่าวคือ 

         - การใช้่การปฏิรูปทางการเมืองและเศรษฐกิจเพื่อสร้างความชอบธรรม

          - การกดขี่และการใช้กำลัง

          - การสร้างความภักดีและการดังเข้าเป็นพวก

           - การแบ่งแยกและปกครอง และ

           - การเตรียมการเืพ่อรักษาอำนาจภายใต้การปกครองแบบประชาธิไตย วิธีการที่กลบ่าวนี้่ทำให้รัฐบาลทหารสามารถคงอำนาจทางการเมืองและอยู่รอดจากการต่อต้านและความพยายบามล้เมล้างรัฐบาลทีังจากภายในและภายนอกประเทศ จนกระทั่งรัฐบาลทหารสามารสละอำนาจการปกครองประเทศให้แก่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในลักษณะที่กองทั้พยังคงมีบทบาทและอิทธิพลในทางการเมือง...

      

          ข้อมูลบางส่วนจาก   ...วิยานิพนธ์ "การรักษาอำนาจของรํฐบาลทหารเมียนมา ค.ศ. 1988-2008" โดย นายวีรศักดิ์ ฉัตรรุ่งนพคุณ

                                         ..."กองทัพพม่ากับการปกครองแบบอำนาจนิยม" โดย ชขัยโชค จุลศิริวงศ์


วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2565

Burma Soldier (ทหารพม่า)

            แนวความคิดทางการปกครองประเทศ ของนายพลเน วิน และหลังจากยุคสมัยนั้น มีความแตกต่างกันไม่้มากนัก มีผู้กล่าวไว้ว่า ผู้นำทางทหารยังคงมีจุดยืนว่าประเทศหรือรัฐ รัฐบาล และกองทัพเป็นสามสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ดังนั้นก่อนและหลังการป้วงของพม่า ในปี 1988 รัฐบาลและกองทัพจึงถูกมองว่าเป็นสองสิ่งที่ถูกรวมเข้าด้วยกันอยางแนบแน่น การรักษาควารมมั่นคงของรัฐเท่้ากับการรักษาความมั่นคงในอำนาจจของคณะทหารเพื่อคงอำนาจการบริหารให้่อยู่ภายใต้รัฐ มีผู้วิเคราะห์ว่าผู้นำทหารของเมียนมามีมโนทัศน์ที่ยึดถือร่วมกันคื อการรักษาเอกภาพ บูรณภถาพ และอธิไตยของประเทศ ซั่งนั้นคือเหตุผลหลักที่ทำให้กองทัพยัคงปกป้องอำนาจของตนเอง รวมถึงพร้อมที่จะปราบปรามฝ่ายตรงข้เามด้วย

          กองทัพพม่าสมัยใหม่มีกำเนิดมาจากสงครามโลกครนั้่งที่ 2 โดยขบวนการชาตินิยมพม่าพยายามหาความช่วยเหลือจากต่างประเทศทั้งในด้านอาวุธ ยุทธโธปกรณ์และการฝึกฝนสทางทหาร กลุ่มตรีทศมิตครที่ประกอบด้วย ออง ซาน และคณะที่เคึลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ ได้เดินทางไปฝึุกอาวุธ ที่เกาะไหหลำภายใต้การอำนวยการของทหารญี่ปุ่ถน ถือเป็นต้นกำเนิดของกองทัพเอราชพม่้าที่ก่อตัวขึ้นเมืองปลายปี ค.ศ.1941


          ต่อมามีคนหนุ่มจำนวนมากสมัคึรเข้าเป็นทหารจนกองทัพเอกราชพม่าขยายตัวอย่างรวดเร็ว กองทัพที่กำลังพลถึคงราว สองหมื่นสามพันคน ระหว่าง ค.ศ. 1942-43 กองทัพปฏิบัติงานใกล้ชิดกับญี่ปุ่นและถูกปรับโคึรงสร้างองค์กรใหม่อยู่เป็นยระยะโดยเปลี่ยนเชื้อเป็นกองทัพป้องกันพม่า และกองทัพแห่งชาติพม่า

          กองทัพพม่าเกิดขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากการต่อสู้กู้เอกราชของขบวนการชาตินิยม ตลอดจนจากระเบียบวินัยที่เข้มงวดแข็.กร้าวของทหารญี่ปุ่นและจากระบบการปกครองแบบทหารเมืองครั้งที่ญี่ปุ่นยึดครองพม่า ต่อมากองทัพพม่าหันไปรวมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อรุกรบต่อต้านญี่ปุ่น ชข่วงการต่อสู้และเจรจาเพื่อเอกราชนี้ กองทัพมีประสบการณ์ทั้งในด้านการรบและการเมืองในกลุ่มอำนาจในกองทัพ ออง ซาน ซึ่งเคยเป็นผู้นำก่อตั้งกองทัพ เริ่มมีบทบาทหนักทางด้านการเมืองและการเจรจาขอเอราชคืนจากอังกฤษทไใก้ภารกิจกองทัพตกอยู่ใต้การควบคุมของ เน วิน หนึ่งในผู้นำทางทหารของกองทัพพม่าเป็นหลัก

           ในช่วง 6 ปีที่ญี่ปุ่นยึดครองพม่าจนถึงช่วงที่พม่าประกาศเอราชจากอังกฤษ ได้เกิดกลุถ่มอำนาจและองค์กรการเมืองมากมายบางกลุ่มก็พยายามยึดอำนาจรัฐทั้งประเทศ บางกลุ่มก็ระดมมวลขนเพื่อครอบครองดินแดนบางส่วนในพม่า ในบรรดากลุ่มเหล่านี้ กลุ่มที่มีบทบาทสำคัญ ได้แก่้่ "กลุ่มสันนิบาตเสรีภาพต่อต้านฟาสซิสต์" กลุ่มกองทัพม่า" "กลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์แห่งพม่า" กลุ่มสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง" เป็นต้น ท่ามกลางความร่มอและกำารแข่งขันเชิงอำนาจ "กลุ่มกองทัพพม่า" เป็นขั่วอำนาจที่ดดดเด่นที่สุด


           อ.ดุุลยภาค กล่าวว่า กองทัีพแห่งชาติได้พัฒนาตัวเองใน สองลักษณะ คือ

          1 นายทหารและกำลังพลเริ่มมีประสบการณ์ในการทำงานกู้ชาติเคียงข้รางประชาชน จึงทำให้ทหารพม่าต้องศรัทธาต่อความเป็นเอกรารชแห่งรัฐและจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และ

           2 กองทัพรู้สึกว่าจำเป็นต้องเข้าำปมีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อแข่งขันกับกลุ่มการเมืองอื่น โรงเรียนผึกหัดนายทหารในขช่วงสงครามได้ผลิตนายทหารออกมาหลายรุ่น ซึ่งได้รับการฝึกอบรมตามแบบฉบับกองทัพญี่ปุ่น หากแต่ทหารอีกหลายนายก็แอบศึกษาภาษาจีนและอ่านข้อเขียนของฝ่ายคอมมิวนิสต์จึงทำให้รับรู้ถึงธรรมชาติกองทัพประชาชนด้วยเหตุนี้ นายทหารระดับนำจึงมีเป้าหมายด้านการเมืองที่เกี่ยวเนื่องกับประชาชนด้วย"บทบาทกองทัพพม่าในรทางการเมืองจึงมีให้เห็นเป็นระยะๆ..

         จากแนวคิดที่ว่า รัฐ รัฐบาล และกองทัพไม่สามารถแยกออกจากกันได้ นำมาซึ่งคึวามพยายามในการสร้างอำนาจส่วนกลางให้เข้เามแข็งเพื่อที่จะควบคุมพื้นที่ต่างๆ  

           ข้อมูลบางส่วนจาก..วิทยานิพนธ์ ไการรักษาอำนาจของรัฐบาลทหารเมียนมา ค.ศ. 1988-2008" โดย นายวีรศกดิ์ ฉัตรรุ่งนพคุณ

                                          .SILPA-MAG.COM ,"การุลุกฮือ 8888 นักศึกษา-ประชาชน-พระในพม่า ร่วมขับไล่เปด็จการรทหาร"

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565

Four Eights Uprising' 8888

            "ข้าพเจ้าต้องแจ้งให้ท่ารซึ่งเป็นพลเมืองของสหภาพ(พม่า) รู้่ว่ากองทัพต่างๆ ได้ร่วมกันเข้า
ยึดอำนาจ และขอรับผิดชอบต่อการรักษาความปลอดภัยของประเทศชาติ ทั้งนี้ต่อเนื่องมา แต่สภาพอันเสื่อมโทรมของสหภาพ

            "ข้าเจ้าขอร้องให้ท่าน จงปฏิบัติหน้าที่ดังเข่นที่ใด้กระทำมาแต่เดิม โดยปราศจากความกลัวภัยและความไม่สบายใจ

           "เราซึ่งเป็นกลุ่มคณะปฏิวัติจะพยายามอย่างที่สุด ในอันที่จะเสริมสร้างควารมสุขและความอยู่กินดีให้แก่บรรดา ประชาชน ทุกคนของสหภาพ"

           นายพลเนวิน (ในฐานะหัวหน้เาคณะปฏิวัติ) ได้กล่าวคำปราศรัยแก่ประชาชนทางวิทยุ 

           นายพลเนวินได้ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจจาก นายอูนุ นายกรัฐมนตรีของพม่าหลังได้รับเอกราช โดยนายอูนุ บริหารประเทศด้วยระบอบประชาธิไตย และพยายามสร้างรัฐสวัสดิการ แต่ทั้งนี้ นายอูนุ ได้ยอมรับว่าปัญหาของพม่ากว่า หมื่นสองพันกว่าเรื่อง ต้องใช้เวลาในการสะสางกว่า 20 จึงจะลุล่วง 

          ในเวลานั้นประชาชนพม่าโดยทัี่วไป ต่างก็แสดงความยินดีต่อการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากปัญหาต่างๆ ทั้งทางการเมืองเศรษฐกิจ สังคม และศาสนาเพิ่มขึนมากมาย ื

          นายพลเนวิน ระลึกถึงอยู่เสมอว่า คึวามล้มเหลวของระบบประชลาธิไตยของอูนุที่ใช้กันมา ดังนั้เนในการวางนธยบายทางสังคมและเศรษบกิจ จึงเน้นหนักไปในรุปของการนำเอา ระบบสังคมนิยมมาใช้อย่างแท้จริง "สังคมนิยมตามแบบพม่า" จึงได้กลายเป็นหัวใจของการปฏิรูปประเทศ อย่างไรก็ดี จากนโยบาย กีดกันเอกชน และการยึดกิจการแทบทุกอย่างของเอกชนมาเป็นของรัฐบาล สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจแก่พม่าอย่างมา เนวินทำสิ่งที่ตรงกันข้ามกับทั่ในปัจจุบัน คือ การให้เอกชนเป็นเจ้าของหน่วยงานสำคัญๆ เพื่อให้เกิดการแข่งขัน เนวินยนึดธุรกิจขนาดใหญ่กลับเข้าไปเป็นของรัฐบาลทั้งหมด โดยเฉพาะกิจการที่เกี่ยวข้องกับการค้ากับอินเดีย จีน และปากีสถาน ซึ่งทำให้เศรษฐกิจของประเทศดิงลงเหว และยังได้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อให้พม่าเป็นประเทศที่ปกครองด้วยพรรคเดียว และ เนวินก็กลายเป็นประธานาธิบด รวมอำนาจไว้ที่ตนแต่เพียงผู้เดียว

           ในยุค 80 นดยบายปิดประเทศและนโยบายสังคมนิยมของเนวินเปลี่ยนพม่าให้กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก ประชาชนสุดจะทนเกิดการลุกฮิอประท้วงที่เรียกว่า การปฏิวัติ 8888 อันเป็นการประท้วงที่มีรากเหง้ามารจากปัญหาเศรษฐกิจโดยแท้ัการประท้วงครัั้งนี้ทำให้อองซานซูจีกลายเป็นคนสำคัญของประัเทศ เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้กับยรัฐบาลทหาร นำไปสู่การเลือกตั้งในปี 1990...

           ...ผู้ประท้วงวางแผนให้ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาสคม 1988 เป็นต้นไป นักศึกษา ประชาชน พระสงห์ พร้อมใจกันประท้วงและหยุดงานทั้่วประเทศ นักศึกษาแห่งพม่า เคลื่อนไหวเืพ่อปลุกระดมประชานให้เข้าร่วมในการประท้วงใหญ่ทั่วประเทศในวันนั้น ซึ่งมีประชาชนเข้าร่วมกว่า ล้านคน และเป็นวันที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนเมียนมาไม่ยอมอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของนายพลเนวิน และรัฐบาล

             นายพบเส่ง สวิน ประธานาธิบดีและประธานพรร BSSP สั่งใช้กำลังทหารปราบปรามผู้ประท้วงอย่างรุนแรงและการใช้กระสุนจริง มีผุ้เสียชีวิตกวว่า 4'000 คน และอีกจตำนวนมารกที่ถูกจับกุม ซึ่งสร้างความกังวลในแก่นานาชาติในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมหาอำนาจอย่ารงสหรัฐอเมริกาออกมาประณามการกระทำของรัีบาลพม่าา ขณะที่รัฐบาลก็ไม่มีท่าทีสว่าจะยุติลง  สุดท้ายนายพลเส่ง ลวิน  ลาออกจากตำแหน่างประธานาธิบดีและประธานพรรค

           19 สิงหาคม 1988 ดร.หม่อง หม่อง นักกฎหมายที่ใกล้ชิด และเคยทืำงานร่วมกับนายพลเน วิน ขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ของเมียนม่า แต่ก็ฌไมท่ได้ช่วยให้สถานการณ์คลีคลายไปในทืางที่ด ประชาชนส่วนมารกไใ่ไว้วางใจและเห็นว่าเขาเป็น "ร่างทรง" ของนายพล เน วิน นอกจากนี้การประท้วงของประชาชนก็ไปไกลเกิดกวว่าที่แค่เพียงเปลี่ยนตัวผุ้นำแล้วจะช่วยได้ และสิ่งที่ผุ้ประท้วงต่องการคือการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลขึ้นเพื่อเตรียมการเลือกตั้งเป็นเงื่อนไขสำคัญ แต่้ข้อเสนอนี้ถูก ดร. หม่อง หม่องปฏิเสธ และมีการส่งข้อเรียกร้องนี้ให้นักการเมืองฝ่ีายตรงข้าม เช่น นางออง ซานซูจี อดีตนายพลออง ยีฯลฯ

           24 สิงหาคม 1988 รัฐบาลประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกและสั่งให้ทหารถอนตัวออกจากมเืองย่างกุ้ง หลังจากนั้นไม่กี่วันนักโทืษในเรือนจำทั่วประเทศถูกปล่่อยตัว หรือหลบหนีออกมา ซึ่งมีข่าวว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ของหน่วยข่าวกองของกองทัพและนายพล เน วิน เพื่อให้ทหารมีความชอบธรรมที่จะเข้ามาแทรากแซงการบริหารจักการบ้านเมือง สถานการณืในเมียนมาเข้าขึ้นวิกฤติ เกิดการปล้นสะดม เกิดความกลัวและหวาดระแวงในหมุ่ประชาชนทั่วไปจากข่าวลือต่างๆ เช่น การวางยาพิษในนำ้ดื่อมและแหล่งน้ำสาะารณะโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล

          26 สิงหาคม 1988 นางอองซาน ซูจี ขึ้นปราศรัยทีั่หน้าเจดีย์ชขเวดากอง จนเป็นที่รู้จักไปทั่วดลกครั้งแรก

           10 กันยายน 1988 รัฐบาล จัดประชุมเร่งด่าวน ที่ประชุมสรุปว่าให้มีจัดการการเลือกตั้งดดยไม่ต้องทำประชามติและได้ตั้งคณะกรรมธิการเพื่อจัดการเลือกตั้งแต่ก็ไม่ได้การยอมรับจากประชาน ที่ต้องการให้รัฐบาลเฉพาะกาลเป็นผูั้จัดการเลือกตั้งเมทือทางออกถูกปิดฃง ทหารก็เร่ิมส่งกำลังเข้าประจำการตามเมืองสำคัญต่างๆ ของเมียนมา ขณะเดียวกันก็มีข่าวลือว่ากองเรือสหรัฐอเมริการปรากฎตัวในน่านน้ำเมียนม่า

         18 กันยายน 1988 นายพลซอ หม่อง รัฐมนตรีและหัะวหน้เา เสนาธิการกองทัพนำคณะทหารภายใต้ชืิ่อสภาฟื้นฟูกฎและระเบียบแห่งรัฐ ประกาศยึดอำนาจ เพื่อสร้างระเบียบและความเรียบร้อยให้กับประเทศ...

         ข้อมูลบางส่วนจาก...SILPA-MAG.COM  ประวัติศาสตร์ "การลุกฮือ 8888 นักศึกษา-ประชาชน-พระในพม่า ร่วมขับไล่เผด็จการทหาร"

                                      ...The 101 World "จุดจมของ นายพลผู้ทำลายประเทศชาติ  โตมร ศุขปรีชา..

                                       "สังคมนิยมตามแบบพม่า"  โดย ชัยโขค จุลศิริวงศ์..        


           

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ฺBurma : religious conflict

           การเหยียดชาติพันธ์ุและศษนาที่มีความรุนแรงในปัุจจุบันกระทั้งเกิดปัญหา "โรฮิงญา" กล่าวได้ว่า
เป็นผลจากการตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ในขช่วงที่อังกฤษเป็นเจ้าอาณานิคม ได้มีชขาวต่างชาติเข้ามาในพม่าจำนวนมาก เช่น ชาวจีนและชาวอินเดียเป็นพิเศษ กล่าวว่าชาวอินเดียมีบทบาทสำคัญเพราะอังกฤษใช้ชาวอินเดียเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการดูแลพม่า อย่างในเขตหุบเขาตอนใต้ "South Valleys" ที่ถูกนับเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย การถูกชาวต่างชาติควบคุมดูแลในช่วงอาณษนิคมทำให้ชาวพม่าไม่พอใจ อีกทั้งยังมีควารมไม่เท่าเทียมและความโกรธแค้นจาการถูกกดขี้จากทั้งโครงสร้างสังคมและเศรษฐกิจ อย่างกรณีที่ชาวพม่าจำนวนมากได้กลายเป็นลูกหนี้ต่อระบบกู้ยืมเงินของชาวอินเีย ส่งผลให้ผุ้ที่ไม่สามารถาขำรีะหนี้คืนต้องสูญเสียที่ดินทำนาไป ความเกลี่ยดกลัวคนต่างชาตจิในปัจจุบันจึงเกิดขึ้นและบ่มเพาะม

          ความเกลียดชังนี้ส่งผลต่อชารวโรฮิงญาโดยตรนง เพราะถึงแม้บรรพบุรุษชาวโรฮิงญาจะเข้ามาตคั้งรกตากใสนพม่าตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 7 และมีบวามสัมพันธ์กับพมท่ามาหลายศตวรรษ แต่การที่ชาวดรฮิงญามีลักษณะทางกายภาพ ภาษา วัฒนธรรมและศาสนาที่คล้ายกับคนในแถบเอเซียใต้ ทำให้ชาวพม่าไม่เห็นพวกเขาเป็นชาวพม่าดั้งเดิมแต่กลับเห็นเป็นชาวบังคลาเทศและชชาวอินเดียที่อพยพข้ามาตอนช่วงอาณานิคม..

        ภายหลังได้รับเอกราช การเหยียดชาติพันธุ์ในพม่ยังได้รับการสนับสนุนจากนโยบายของรัฐบาลในปี ค.ศ. 1962 นายพลเนวิน อ้างความชอบธรรมจากปัญหาชนกลุ่มน้อยเข้ายึอำนาจรัฐบาสลอูนุ นายพลเนวินมีทัศนรคติกับชนกลุ่มน้อยในด้านลบและไม่ยอมรับการอยุู่ร่วมกันบนพื้นฐานวัฒนธรรมที่แตกต่าง ดูได้จากคพูดของนายพลท่านนี้ในวันที่ทำรัฐประหาร  เขาจึงใช้นดยบายวิถีพม่าสู่สังคมนิยม สร้างระบบที่รวมแนวคิดชาตินิยม สังคมนิยมและพุทธศาสนา ที่บอกว่าชนกลุ่มน้อยและชาวต่างชาติจะยึดครองพม่าหากไม่ถูกควบคุมโดยทหารและนโยบายกระบวนการทำให้เป็นพม่า ที่พยายบามท ี่จะลบอัตลักษณ์ของชาติพันะ์อื่นและคงไว้ซึ่งความเป็น"พม่า"่อย่างเดียว

            ในประเด็นศาสนา พุทธศาสนามีความสำคัญกับพม่ามาก ไม่ว่าจะในช่วงก่อนยุคอาณษนิคมพุทธศานามีอิทธิพลในทุกแง่มุมของชีวิต ไมว่าจะเป็นวิถีการดำเนินชีวิตการศึกษา สถานะทางสังคม ล้่วนถูกกำหนดโดยคำสอนทางพุทธศาสนร รวมถึงการปกครองก็ใช้หลักการทางพุทธศาสนา ในขณะเดียวกันพุทธศาสนาก็ได้รับการปกป้องจากชนชั้นปกครองเช่นกัน 

             ต่อมาในช่วงอาณานิคม พุทธศาสนากลับถูกลดความสำคัญลงเพราะมีการศึกษาแบบตะวันตกและศาสนาคริสต์เข้ามาใมนพม่า ทำให้เกิดความแตกแขกระหว่างคนพม่าที่เปลี่ยนเป็นศาสนาคริสต์และคนพม่าที่ยังศรัทธาในพุทธศาสนา ถึคงขนาดที่คนพม่าส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาพุทธกล่าวถึงคนที่เปลี่ยนศาาสนาว่าเป็น "disloyal citizens of the Buddhist of Burma" ถึงอิทธิพะลของพุทธศาสนาใในช่วงนี้จะถูกสั่นคลอน แต่พระสงฆ์ยังคงมี่บทบาทสำคัญทางการเมือง เพราะหลังจากที่ถุกลดบทบาทและคยวามศักดิ์สิทะิ์ลง พระสงฆ์ได้ออกมาต่อต้านแนวทางแบบตะวันตกและถกลายเป็นกำลังชาตินิยมทีั่สำคัญในการต่้อต้่านเจ้าอาณานิคมอย่าง เช่น พระสงฆ์ทีมีการปลุกระดมมวลชนเพื่อต่อต้านอังกฤษของพระสงฆ์ อู โอตตะมะ

          ภายหลังพม่ามีเอกราช พุทธศาสนาก็ได้รับการพลิกพื้นให้เป็นศูนย์รวมทางจิตใจและมีบทบาทต่อวิถีชีวิตชาวพม่าอีกครั้งส่งผลให้พระสงห์กลับมารเป็นผุ้นำทางจิตใจและผุถ้มีอิทธิพลทางวัฒนธรรมและการเมอืงอย่างเต็มข้ัน รวมถึงผลจากการใช้นโยบาย "บรูม่านิเซชั้น" ประชาชนจึงกำแพงต่อการเปิดรับความแตกต่างที่หนาขึ้น อีกทั้ง"การเหยียดชาติพันธุ์และศาสนนายังรุนแรงขึ้นอีกเพราะการเกิดขึ้นอุถดมการณ์พุทธศานา ชาตินิยมสุดโต่ง ตั้งแต่การเคลื่อนของพระอู วิระธู ผู้ขับเคลื่นขบวนการ 969 ซึ่งได้ถ่ายทอดและสั่งสอนอุดมการณ์ต่อต้านชาวมุสลิมและความเกลียดกลัวขาวต่างชาติให้แก่พุทธศาสนิกชนสร้างภาพลักษณ์ชาวมุสลิมให้เป็นศัตรู ด้วยความหวังที่จะคงไว้ซึ่ง "ความบริสุทธิ์ทางเชื ้อชาติอและศาสนา" ถึงแม้ว่าคำสั่งสอนของพระวีระธูจะแผงไปด้วยความเหยียดชาติพันธุ์และศาสนาและมีนัยยะทางการเมืองแร่ยัะงคงได้รับความเคารพศรัธทา ด้วยเหตุผลที่ว่าพระสงฆ์เป็นที่พึ่งทางใจและเป็นผู้ขี้นำสั่งสอนชาวพม่าที่นับถือศาสนาพุทธอันเป็นอัตลักษณ์ของชาวพม่าและเป็นสิ่งที่ฝั่งรากลึกในวัฒนธรรมและความเป็นชาติพม่าอีกทั้งความคิดเหยยดเชื้อชาติและศาสนาที่เป็๋นมรดกจากช่วงอาณานิคมและนโยบายของนายพลเนวินทำให้ขบวนการมีผุ้สนับสนุยนยจำนวนมาก...



          ่ข้อมูลบางส่วนจาก.."การเหยียดชาติพันธ์ุ่ ศาสนา ปัจจัยอุปสรรคสำคัญในการแก้ไขปัญหาชาวโรฮิงญาในพม่า...สถาบันเอเชียศึกษา โดย กรกช เรืองจันทร์...


Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...