วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565

Four Eights Uprising' 8888

            "ข้าพเจ้าต้องแจ้งให้ท่ารซึ่งเป็นพลเมืองของสหภาพ(พม่า) รู้่ว่ากองทัพต่างๆ ได้ร่วมกันเข้า
ยึดอำนาจ และขอรับผิดชอบต่อการรักษาความปลอดภัยของประเทศชาติ ทั้งนี้ต่อเนื่องมา แต่สภาพอันเสื่อมโทรมของสหภาพ

            "ข้าเจ้าขอร้องให้ท่าน จงปฏิบัติหน้าที่ดังเข่นที่ใด้กระทำมาแต่เดิม โดยปราศจากความกลัวภัยและความไม่สบายใจ

           "เราซึ่งเป็นกลุ่มคณะปฏิวัติจะพยายามอย่างที่สุด ในอันที่จะเสริมสร้างควารมสุขและความอยู่กินดีให้แก่บรรดา ประชาชน ทุกคนของสหภาพ"

           นายพลเนวิน (ในฐานะหัวหน้เาคณะปฏิวัติ) ได้กล่าวคำปราศรัยแก่ประชาชนทางวิทยุ 

           นายพลเนวินได้ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจจาก นายอูนุ นายกรัฐมนตรีของพม่าหลังได้รับเอกราช โดยนายอูนุ บริหารประเทศด้วยระบอบประชาธิไตย และพยายามสร้างรัฐสวัสดิการ แต่ทั้งนี้ นายอูนุ ได้ยอมรับว่าปัญหาของพม่ากว่า หมื่นสองพันกว่าเรื่อง ต้องใช้เวลาในการสะสางกว่า 20 จึงจะลุล่วง 

          ในเวลานั้นประชาชนพม่าโดยทัี่วไป ต่างก็แสดงความยินดีต่อการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากปัญหาต่างๆ ทั้งทางการเมืองเศรษฐกิจ สังคม และศาสนาเพิ่มขึนมากมาย ื

          นายพลเนวิน ระลึกถึงอยู่เสมอว่า คึวามล้มเหลวของระบบประชลาธิไตยของอูนุที่ใช้กันมา ดังนั้เนในการวางนธยบายทางสังคมและเศรษบกิจ จึงเน้นหนักไปในรุปของการนำเอา ระบบสังคมนิยมมาใช้อย่างแท้จริง "สังคมนิยมตามแบบพม่า" จึงได้กลายเป็นหัวใจของการปฏิรูปประเทศ อย่างไรก็ดี จากนโยบาย กีดกันเอกชน และการยึดกิจการแทบทุกอย่างของเอกชนมาเป็นของรัฐบาล สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจแก่พม่าอย่างมา เนวินทำสิ่งที่ตรงกันข้ามกับทั่ในปัจจุบัน คือ การให้เอกชนเป็นเจ้าของหน่วยงานสำคัญๆ เพื่อให้เกิดการแข่งขัน เนวินยนึดธุรกิจขนาดใหญ่กลับเข้าไปเป็นของรัฐบาลทั้งหมด โดยเฉพาะกิจการที่เกี่ยวข้องกับการค้ากับอินเดีย จีน และปากีสถาน ซึ่งทำให้เศรษฐกิจของประเทศดิงลงเหว และยังได้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อให้พม่าเป็นประเทศที่ปกครองด้วยพรรคเดียว และ เนวินก็กลายเป็นประธานาธิบด รวมอำนาจไว้ที่ตนแต่เพียงผู้เดียว

           ในยุค 80 นดยบายปิดประเทศและนโยบายสังคมนิยมของเนวินเปลี่ยนพม่าให้กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก ประชาชนสุดจะทนเกิดการลุกฮิอประท้วงที่เรียกว่า การปฏิวัติ 8888 อันเป็นการประท้วงที่มีรากเหง้ามารจากปัญหาเศรษฐกิจโดยแท้ัการประท้วงครัั้งนี้ทำให้อองซานซูจีกลายเป็นคนสำคัญของประัเทศ เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้กับยรัฐบาลทหาร นำไปสู่การเลือกตั้งในปี 1990...

           ...ผู้ประท้วงวางแผนให้ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาสคม 1988 เป็นต้นไป นักศึกษา ประชาชน พระสงห์ พร้อมใจกันประท้วงและหยุดงานทั้่วประเทศ นักศึกษาแห่งพม่า เคลื่อนไหวเืพ่อปลุกระดมประชานให้เข้าร่วมในการประท้วงใหญ่ทั่วประเทศในวันนั้น ซึ่งมีประชาชนเข้าร่วมกว่า ล้านคน และเป็นวันที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนเมียนมาไม่ยอมอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของนายพลเนวิน และรัฐบาล

             นายพบเส่ง สวิน ประธานาธิบดีและประธานพรร BSSP สั่งใช้กำลังทหารปราบปรามผู้ประท้วงอย่างรุนแรงและการใช้กระสุนจริง มีผุ้เสียชีวิตกวว่า 4'000 คน และอีกจตำนวนมารกที่ถูกจับกุม ซึ่งสร้างความกังวลในแก่นานาชาติในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมหาอำนาจอย่ารงสหรัฐอเมริกาออกมาประณามการกระทำของรัีบาลพม่าา ขณะที่รัฐบาลก็ไม่มีท่าทีสว่าจะยุติลง  สุดท้ายนายพลเส่ง ลวิน  ลาออกจากตำแหน่างประธานาธิบดีและประธานพรรค

           19 สิงหาคม 1988 ดร.หม่อง หม่อง นักกฎหมายที่ใกล้ชิด และเคยทืำงานร่วมกับนายพลเน วิน ขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ของเมียนม่า แต่ก็ฌไมท่ได้ช่วยให้สถานการณ์คลีคลายไปในทืางที่ด ประชาชนส่วนมารกไใ่ไว้วางใจและเห็นว่าเขาเป็น "ร่างทรง" ของนายพล เน วิน นอกจากนี้การประท้วงของประชาชนก็ไปไกลเกิดกวว่าที่แค่เพียงเปลี่ยนตัวผุ้นำแล้วจะช่วยได้ และสิ่งที่ผุ้ประท้วงต่องการคือการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลขึ้นเพื่อเตรียมการเลือกตั้งเป็นเงื่อนไขสำคัญ แต่้ข้อเสนอนี้ถูก ดร. หม่อง หม่องปฏิเสธ และมีการส่งข้อเรียกร้องนี้ให้นักการเมืองฝ่ีายตรงข้าม เช่น นางออง ซานซูจี อดีตนายพลออง ยีฯลฯ

           24 สิงหาคม 1988 รัฐบาลประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกและสั่งให้ทหารถอนตัวออกจากมเืองย่างกุ้ง หลังจากนั้นไม่กี่วันนักโทืษในเรือนจำทั่วประเทศถูกปล่่อยตัว หรือหลบหนีออกมา ซึ่งมีข่าวว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ของหน่วยข่าวกองของกองทัพและนายพล เน วิน เพื่อให้ทหารมีความชอบธรรมที่จะเข้ามาแทรากแซงการบริหารจักการบ้านเมือง สถานการณืในเมียนมาเข้าขึ้นวิกฤติ เกิดการปล้นสะดม เกิดความกลัวและหวาดระแวงในหมุ่ประชาชนทั่วไปจากข่าวลือต่างๆ เช่น การวางยาพิษในนำ้ดื่อมและแหล่งน้ำสาะารณะโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล

          26 สิงหาคม 1988 นางอองซาน ซูจี ขึ้นปราศรัยทีั่หน้าเจดีย์ชขเวดากอง จนเป็นที่รู้จักไปทั่วดลกครั้งแรก

           10 กันยายน 1988 รัฐบาล จัดประชุมเร่งด่าวน ที่ประชุมสรุปว่าให้มีจัดการการเลือกตั้งดดยไม่ต้องทำประชามติและได้ตั้งคณะกรรมธิการเพื่อจัดการเลือกตั้งแต่ก็ไม่ได้การยอมรับจากประชาน ที่ต้องการให้รัฐบาลเฉพาะกาลเป็นผูั้จัดการเลือกตั้งเมทือทางออกถูกปิดฃง ทหารก็เร่ิมส่งกำลังเข้าประจำการตามเมืองสำคัญต่างๆ ของเมียนมา ขณะเดียวกันก็มีข่าวลือว่ากองเรือสหรัฐอเมริการปรากฎตัวในน่านน้ำเมียนม่า

         18 กันยายน 1988 นายพลซอ หม่อง รัฐมนตรีและหัะวหน้เา เสนาธิการกองทัพนำคณะทหารภายใต้ชืิ่อสภาฟื้นฟูกฎและระเบียบแห่งรัฐ ประกาศยึดอำนาจ เพื่อสร้างระเบียบและความเรียบร้อยให้กับประเทศ...

         ข้อมูลบางส่วนจาก...SILPA-MAG.COM  ประวัติศาสตร์ "การลุกฮือ 8888 นักศึกษา-ประชาชน-พระในพม่า ร่วมขับไล่เผด็จการทหาร"

                                      ...The 101 World "จุดจมของ นายพลผู้ทำลายประเทศชาติ  โตมร ศุขปรีชา..

                                       "สังคมนิยมตามแบบพม่า"  โดย ชัยโขค จุลศิริวงศ์..        


           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...