NLD (National League for Demacracy)

             พรรค NLD หรือสันนิบาตแห่งชาสติเพื่อประชาธิปไตย เกิดขึ้นมาพร้่อมๆ กับการประท้วงครั้งใหย๋ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ของพม่าใน 1988  ก่อตั้งเมื่อ 24 กันยายน พ.ศ. 2531 เพื่อต่อต้าน "สภาฟื้นฟูระเบียบและกฎหมายแห่งรัฐ" หรือ "SLORC" ซึ่งเข้ายึดอำนาจการปกครองในนามของคณะทหาร ทำให้เกิดการจลาจลนองเลือดในเมืองใหญ่ของพม่าหลายเมือง ผุ้ก่อตั้งพรรคได้แก่ อองซาน ซูจี อองจี และติ่นจู พรรคการเมือง NLD กลายเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลสุงสุด มีสมาชิกทั่วประเทศถึง 2 ล้านคน ในปัจจะบันอาจกล่าวได้ว่าความนิยม NLD เกิดขึนเพราะความนิยม อองซาน ซูจี...

          "อองซาน ซูจี"เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2488 เป็นบุตรสาวคนสุดท้องของนายพลอู อองซาน "วีรบุรุษอิสรภาพของประเทศพม่า" ผู้นำการต่อสู้กับญี่ปุ่นและ สหราชอาณาจักร จนนำไปสู่การได้รับอิสรภาพเป็นรัฐเอกราช นายพล อู อองซาน ถูกลอบสังหารก่อนทีพม่าจะได้รับเอกราช ขณะนั้น ออง ซาน ซูจีมีอายุเพียง 2 ขวบ


          ในปี พ.ศ. 2503 นางดอว์ซิ่นจี มารดาของอองซาน ซูจีได้รับการแต่างตคั้งให้ไปดำรงตำแหน่งทูตพม่าประจำประเทศอินเดีย ซูจี จึงถูกส่งเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยม ที่ประเทศดังกล่าว

          พ.ศ. 2507-2510 อองซาน ซูจีเดินทางไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสาขาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ที่เชนด์ฮิวจส์คอลลเลจมหาวิทยาลั่ยอ๊ออกฟอร์ดในช่วงเวลานั้นเธอได้พบรักกับ "ไมเคิลอริส" นักศึกษาสาขาวิชาอารยธรรมทิเบต ภายหังจบการศึกษาเธอเดินทางไป "นิวยอร์ก"เพื่อเข้าทำงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการประจำคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการตั้งคำถามเกี่ยวกับงบประมาณและการจัดการของสำนักงานเลขาธิการองค์การสหประชาชาติเป็นเวลา 3 ปี โดยในช่วงเวลาดังกล่าง องค์การสหประชาชาติมีเลขาธิการเป็นชาวพม่าชื่อนายอู่ถั่น

           พ.ศ.2515 อองซาน ซุจีแต่งงานกับไมเคิลอริสและย้ายไปอยู่กับสามีที่รราชอาณาจัีกภูำาน ซูจี ทำงานเป็นนักวิจัยในกระทรวงต่างประเทศของรัฐบาลภูฎานขณะที่ไม่เคิลมีตำแหน่งเป็นหัวกรมการแปล รวมทั้งทำหน้าที่ถวายการสอนแก่สมาชิกของราชวงศ์ภูฎาน

          พ.ศ. 2516-2520 อองซานซูจ และสามีย้ายกลับมาพำนักที่กรุงลอนดอน ประเทศองักฤษ อริสได้งานสอนวิชาหิมาลัยและทิเบตศึกษา ที่มหาวิทยาลัย อ๊อกซฟอร์ด ส่วน ซูจี ให้กำเนิดบุตรชายคนแรก "อเล็กซานเดอร์" และบุตชายคนเล็ก "คิมในปี พ.ศ. 2520 ในช่วงนี้ ซูจีเร่ิมทำงานเขชียนและงานวิจัยเกี่ยวกัยบชีวประวัติของบิดาและยังช่วยงานวิจัยด้านหิมาลัยศึกษาของสามดีด้วย ปี พ.ศ. 2528-2529  ซูจี ได้รับทุนวิจัยจากศูนย์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัีบยเกียวโต ให้ทำวิจัยเรื่องเกี่ยวกับบทบาทของนายพล อูอองซาน ที่ประเทศญี่ปุ่น ขณะที่ไม่เคิลอริสได้รับทุนให้ไปทำวิจัยที่อินเดีย เมืองซิมลาทางภาคตะวันออกของอินเดียและต่อมา ซูจีก็ได้รับทุนวิจัยจากที่สถาบันแห่งนี้ด้วยเช่นกัน

         พ.ศ. 2530 อองซานซูจีและสามีพาครอบครวย้ายกลับมาอยู่ที่ปเทศอังกฤษเธอเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่ London  School of Oriental and African Studies ณ กรุงลอนดอน โดยทำวิยานิพนธ์เกี่ยวกับวรรณคดีพม่า


       ในวัย 34 อองซาน ซูจี เดินทางกลับบ้านเกิดที่กรุงย่างกุ้งเพื่อมาพยาบาลมารดา ดอว์ซิ่น ที่่กำลังป่วยหนักในขณะนั้น ในปี พ.ศ. 2531 ซึ่งในขณะนั้นเศรษฐกิจตกต่ำ และมีความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศพม่าประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะกลุุ่มนักศึกษาชุมนุมเคลื่อนไหวกดดันให้นายพลเนวินลาออกจากฃตแหน่ง ประธานพรรค นายพลเนวินลาออกจากตำแหน่ง ตามมาด้วยการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยของนักศึกษาและประชาชนหลายแสนคนในกรุงย่างกุ้ง เมืองหลวงของพม่าก่อนที่การชขุมนุมจะแพร่ลามไปทั่วไปรเทศ ต่อมมาผู้นำทหารได้สั่งการให้ใช้กำลังอาวุธสลายการชุมนุมของประชาชนนับล้านคนที่รวมตัวกันเรียกร้องประชาธิไตยในกรุงย่างกุ้งและเมืองต่างๆ ทั่วประเทศพม่าผู้ร่วมชุมนุมหลายพันคนเสียชีวิต ซึ่งเรียกเหตุการณืนี้ว่า 8-8-88 

        อองซานเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นครั้งแรกในปี วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2531 โดยส่งจดหมายเปิดผนึกถึุงรัฐบาลเรียกร้องให้มีการจัดต้้งคณะกรรมการอิสระเพื่อเตรียมการเลือกตั้งทั่วไป

        26 สิงหาคม พ.ศ. 2531 อองซาน ซูจี ขึ้นกล่าวปราศรัยเป็นครั้งแรกต่อหน้าผูงชขนกว่าห้าแสนคน ณ มหาเจดีย์ชเวดากอง เธอเรียกร้องให้มีรัฐบาลประชาธิปไตย แต่รัฐบาลทหารจัดตั้ง "สภาพผื้นผูกฎระเบียบแห่งรัฐ" หรือ "ส่ลอร์ค"ขึ้น และทำการปราบปรามสังหารและจับกุมผู้ตอ่้ต้านอีกหลายร้อยคน

        24 กันนยายน พ.ศ. 2531 อองซาน ซูจี ได้ร่วมจัดตั้ง "พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิไตย" หรือ NLD ขึ้นมา และได้รับดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค

         พรรค NLD ตั้งขึ้นมาเพื่อเข้าร่วมการเลือกตั้งท่วไปที่"สลอร์ค"สัญญาว่าจะจัดขึ้นในปี 1990 (พ.ศ.2533) การควบคุมตัวอองซาน ซูจีไว้ในบ้านพัก พร้อมทๆกับผู้นำพรรคอีกหลายคนย่ิงทำให้ NLD ได้รับการสนับสนุนจากมวลชขนเพิ่มขึ้น ทั้งๆ ที่ตลอดปี 1989 และต้น 1990 รัฐบาบ "สลอร์ค"พยายามทำลายความน่าเชื่อถือของ NLD มาโดยตลอด

        ผลการเลื อกตั้งในเดือนมีนาคม 1990 ซึ่งพรรคการเมืองกวา 90 พรรคเข้าร่วม ปรากฎว่าพรรค NLD ได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมทั้นคิืดเป็นร้อยละ 58.7 นำห่างพรรค NUP พรรคนอมินีที่กองทัพตั้งขึ้นมาเพื่อแข่งขันกับ NLD โดยเฉพาะ ทีได้คะแนนเสียงเพียนงร้อยละ 21.1 ความนิยมใน NLD และอองซาน ซูจี ยิ่งสร้างความไม่พอใจให้กับคนในกองทัพ กองทัพออกมาประกาศให้การเลือกตั้งปี 1990 เป็นโมฆะ..

         "เอ็นแอลดี"ตอบโต้มติของกองทัพได้ไม่มากนัก แต่ก็นัดประชุมสมาชขิกพรรคและมีมติเรียกร้องให้ "สลอร์ค" มอบอำนาจคืนให้กับประชาชนและยอมารับผลการเลือกตั้ง เพื่อนำไปสู่กระบวนการเจรจาที่ยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจระหว่าง "เอ็นแอลดี"และ "สลอร์ค"ต่อไป แต่ฝ่ายทหารไม่ต้องการการเจรจา


           ในวันที่ 8 สิงหาคม 1990 อันเป็นวันครบรอบ 2 ปีของเหตุการณ์ 8888 พรสงห์จำนวนหนึ่งเดินขบวนประท้อง "สลอร์ค"ที่มัณฑะเลย์ และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนนับพันคน แต่ก็ถูกยิงและทุบตีจนได้รับบาดเจ็บสาหัส การประท้วงขยายมาถึงย่างกุ้ง สมาคมสงฆ์มีมติคว่ำบาตรคนในกองทัพ พระสงฆ์ประเทศจะไม่ยอมรับบาตรและประกอบพิธีกรรมทางศาสนาใดๆ ให้กับคนในกองทัพและครอบครัว "สลอร์ค"ที่ในเวลานั้น มี นายพล ซอ หม่อง เป็นประธานสั่งจับกุมแกนนำพรรค "เอ็นแอลดี"รวมทั้งสมาชิกสภาพผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามารในปี 1990 จำนวน 65 คน และประกาศยุบองค์กรสงฆ์ที่ยังดำเนินกิจกรรมททางการเมืองโดยขู่ว่าหากไม่ทำตาม พระสงฆ์จะถูกจับสึกทันที นอกจากนี้ วัดนัดร้อยวัดทั่วประเทศก็ถูกบุกยึดพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงหลายรูปถูกจับกุม

           ระหว่างปี 1988-1990 ซูจีเป็นที่รู้จักในหมุ่ชาวพม่าผุ้รักประชาธิปไตยภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อเธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปลายปี 1991 ด้วยการผลักดันของไม่ีเคิล แอรส สามีของเธอเอง เธอกลายเป็นวีรสตรีประชาธิปไตยที่ต่อสู้เพื่อความเสมอภาคในสังคม..ในเวลานั้นซุจีถูกคุถมตัวอยู่ในบ้านพัก อเล็กซานเดอร์ แอริส บุตรชายคนโตจึงเป็นผุ้กล่าวสุนทรพจน์เพื่อสดุดี อองซาน ซูจี อาจกล่าวได้ว่า อองซาน ซูจี และขบวนรการเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าถภูกกดดันมากขึ้นโดยรัฐบาล..ภายหลังซูจีได้รับรางวัลโนเบล องค์กรระดับโลกหลายแห่ง เช่น สหประชาชาติ จับตามองสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในพม่าเพิ่มขึ้น และพยายามเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าหันมาเจรจากับ "เอ็นแอลดี"ตลอดจนชขนกลุ่มน้อยอื่นๆ ที่ยังทำสงครามกัีบกองทัพพม่าอยู่ แต่ข้อเสนอเหล่้านี้ก็ถูกคนในกองทัพพม่าปฏิเสธมาโดยตลอด

         10 กรกฎาคม 1995 (พ.ศ.2538) ซูจีได้รับการปล่อยตัว หลังจากถภูกควบคึุมในบัานพักของเธอมาั้งแต่กลางปี 1989 แม้จะถูกจำกัดการเคลื่อนไหว แต่ซูจีและคนในพรรค "เอ็นแอลดี"ก็เดินสายพบปะประชาชนทีั่วประเทศอีกครั้งเธอถูกกักบริเวณในบ้านพักอีกครัี้งในยปี 2000 กองทัพอ้างว่าเธอละเมิดข้อตกลงเพื่อเดินทางไปมัณฑะเดลย์ก่อนหน้านัี้น 1 ปี "สลอร์ค" ยื่นข้อเสนอให้เะอเดินทางออกนอกประเทศเพื่อไปเยี่ยมสามี ที่ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย แต่เธอปฏิเสธเพราะมองว่าหากตัดสินใจเดินทางออกนอกประเทศ จะไม่สามารถกลับเข้าพม่าได้อีก เธอถูกปล่อยตัวอีกครั้ง ในปี 2002 แต่ก็ถูกตัดสินจำคุกในระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน2003 ภายหลังมีการปะทะกันระหว่างผุ้สนับสนุน "เอ็นแอลดี"และผุ้สนับสนุนรัฐบาล "สลอร์ค"ในเหตุการณ์ที่เรียว่า "การสังหารหมุ่ที่เดปา"หลังจากนี้ ซูจีจะถูกควบคุมตัวในบ้านพักต่อไปจนถึงปลายปี 2010 เมื่อเธอถูกปล่อยตัวถาวรใสนวันที่ 13 พฤศจิกายน...

             ข้อมูลบางส่วนจาก...มติชนออนไลน์ "กำเนิด NLD และวิถีพม่าสู่ระบอบประธิปไตย(?) โดย ลลิตา หาญวงษ์

                                          ... digitalschool.club "ประวัติของอองซานซูจี"

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)