ประเทศกำลังพัฒนาจะประสบกับวัฏจักรของการมีส่วนร่วมแบบเทคโนเครตและบางประเทศที่อยู่ในรูปของมวลประชา นั้นคือลักษณะการเมืองของประเทศกำลังพัฒนาซึ่งผู้ปกครองมักจะมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ และเพื่อที่จะให้เกิดความสัมฤทธิผลในการนี้ได้ ก็จำเป็นต้องจำกัดการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของบรรดาสมาชิกของสังคม
แต่เมื่อพัฒนาไป ผลพวงของความเจริญตลอดจนความทั่งคั่งทางเศรษฐกิจ นำมาซึงความไม่เสมอภาคทางสังคมขึ้น กล่าวคือ ผู้ที่ได้รับประโชน์ก็คือกลุ่มชนชั้นสูงและนักธุรกิจจำนวนหนึ่งซึ่งไม่ใช่กับคนส่วนใหญ่ที่กลับยากจนกว่าเดิม ช่องว่างระหว่างชนชั้นจึงกว้างมากขึ้นทุกที ในที่สุดเหตุการณ์ก็นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยการใช้กำลังรุนแรง เพื่อล้มล้างผู้ปกครองเก่า หรือสถรบันทางการเืองแบบเก่าที่ไม่เอื้อต่อคนส่วนใหญ่
การไร้เสถียรถาพทางการเมือง จะเกิดขึ้นเมื่อสถาบันทางการเมืองตลอดจนกระบวนการต่าง ๆ ไม่ได้พัฒนาอย่างเป็นสัดส่วนกบระดับของการเข้ามมามีส่วนร่วมทางการเมือง เมื่อระบบพัฒนาไป แต่ละกลุ่มต่างก็พยายามใช้วิธีการที่เป็นของต้นเอง อาทิ การให้สินบน นักศึกษเดินขบวน กรรมกรประท้อง การจลาจล การรัฐประหาร
ในประเทศกำลังพัฒนาอาจกล่าวได้ว่า การต่อสู้สับเปลี่ยนกันในระหว่างพลังของสถานภาพเดิมกับพลังของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการเมืองหนึ่ง ก็เป็นตัวแทนของระเบียบทางสังคมในช่วงเวลาหนึ่งๆเท่านั้น จึงไม่อาจที่จะแก้ไปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตลอดไป
รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
- การเปลี่ยนแปลงแบบสถิตย์ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในขอบเขตจำกัด จะเกิดขึ้นในสังคมหรือระบบการเมืองแบบดั้งเดิมเป้ฯส่วนใหญ่ซึ่งสังคมเหล่านี้มีลักษณะของวัฒนธรรมร่วมและมีระดับของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในสังคมสูง การเปล่ียนแปลงจึงเกิดขึ้นได้ยากจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นต่อเมื่อกษัตริย์หรือผู้ปกครองของสังคมนั้น ๆ สิ้นชีวิตและมีการสืบทอดอำนาจทางการเมืองเท่านั้น
เราจะพบว่าการที่สังคมชนิดนี้อยู่รอดได้ หาใช่เป็นผลมาจากความสามารถของสังคมเองในการที่จะแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง แต่เป็นผลมาจากความสามารถในการักษาหรือพิทักษ์ไว้ไม่ให้มีสาเหตุของการเปลี่นแปลงเกิดขขึ้น และถ้าเผอิญเกิดสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงขึ้นมา สังคมนี้จะตอกยู่ในภาวะอันตรายทันที
- การเปลี่ยนแปลงแบบกลมกลืน หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบการเมืองที่สมารถปรับตนให้เข้ากันได้อย่างผสมกลมกลืน โดยที่โครงสร้างพื้นฐานของระบบการเมืองที่สามารถปรับตนให้เข้ากันได้อย่างปสมกลมกลืน โดยที่โครงสร้างพื้นฐานของระบบเองไม่กระทบกระเทือนโครงร่างของอำนาจหน้าที่ทั่วๆ ไปของการเปลี่ยนแปลงแบบนี้คงอยู่ในลักษณะเกี่ยวกันกับแผนสถิตย์ แต่ต่างกันที่ว่าแบบนี้มีเสถียรภาพอยู่ได้ไม่ใช่เป็นผลมาจากการปิดกั้นไม่ให้เกิดพลังของการเลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม แต่เป็นผลมาจากความสามารถของระบบในการซึมซาบเอาผละกระทบของพลังต่างๆ ไว้ได้และในขณะเดียวกัน ระบบก็ยังคงไว้ซึ่งความต่อเนื่องของกฎระเบียบทางการเมืองให้ดำเนินต่อไปได้ แม้ว่าพื้นฐานของระบบจะไม่เปลี่ยนแปลง ในระยะเวลาต่อมา กฎหมายนโยบาย วิธีการในการเข้าไปมีอิทธิพลต่อการเมือง รูปแบบของกลุ่มการเมืองในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีรัีฐธรรมฉบับเดียว ในขณะที่มีการเลือกตั้ง มีระบบพรรคการเมืองที่ไม่เปล่ียนแปลงและมีวิวัฒนาการของประเพณีและค่านิยมทางการเมืองที่เป็ไปตามขึ้นตอนมาตลอด
- การเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัติ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่มุ่งที่ระบบ คือเปลี่ยนจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่งการปฏิวัติจึงมักใช้กำลังรุนแรง เช่น การปฏิวัติฝรั่งเศส การปฏิวัติโซเวียต การปฏิวัติจีน
การเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัตินั้น จะมีผลกระทบต่อสังคมอย่างทันทีทันใด แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการสร้างความชอบธรรมให้กับระบบใหม่ หรืออุดมการณ์แบบใหม่ การปฏิบัติจึงไม่ใช่เป็นเพียงการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจระหว่างผู้นำหรือกลุ่มทางการเมืองเท่านั้น
- การเปี่ยนแปลงแบบไร้เสถียรภาพ หมายถึงลักษณะของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ไม่ปะติดปะต่อกัน โดยมากจะใช้กำลังรุนแรงเข้าห้ำหั่นกันโดยที่ความสัมพันะ์ในเชิงอำนาจภายในสังคมไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแต่ประการใด การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้มักจะพบกันมากในประเทศด้วยพัฒนาแถบลาตินอเมริกาและเอเซีย
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
โดยทั่วไป เมื่อสัฝคมใดเกิดขบวนการอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง และขบวนการนี้จะใช้วิะีการต่างๆ เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ กัน สังคมนั้นจะประสบกับภาวะตึงเครียดอย่างหนัก และจะมีปัญหาเกิดขึ้น ความอยู่รอดของสังคม ขึ้นอยู่กับความสามารถของสังคมเองในการที่จะสนองตอบ หรือซึมซาบเอาพลังของการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นไว้ได้มากน้อยขนาดใด สามารถที่เพิ่ม ซับพอร์ต และลด ดีมาร์น ได้หรือไม่ในระดับใด สาเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงอาจกล่าวได้ดังนี้
- การสร้างความเป็นทันสมัย ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องกับปัจจัยต่างๆ มากมาย ฮันติงตัน กล่าวว่า ถ้าการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองเพ่ิมมากขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่างความสามารถของระบบหรือสถาบันทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในรูปแบบที่รุนแรงก็จะเกิดขึ้น
- สภาพทางจิตวิทยา Gurr แบ่งประเด็นในการวิเคราะห์หลักๆคือ
ศักยภาพที่จะนำไปสู่การใช้กำลังรุนแรงร่วมกันในบรรดาประชาชน
ศักยภาพที่จะนำไปสู่การใช้กำลังรุนแรงทางการเมือง
ขนาดของการใช้กำลังรุนแรงทางการเมือง
รูปแบบของการใช้กำลังรุนแรงทางการเมือง
กูรร์ วางแนวทางในการวิเคราะห์ความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันในระหว่างประเด็นทั้งสี่ข้างต้นเป็น 3 ขั้นตอนคือ
พัฒนการหรือการขยายตัวของความไม่พอใจ
การทำให้ความไม่พอใจนั้นเป็นประเด็นทางการเมือง
เปลี่ยนสภาพของความไม่พอใจให้กลายเป็นการใช้กำลังรุนแรงทางการเมือง
พัฒนการ "ความไม่พอใจ" มีสาเหตุมาจากการที่คนรับรู้ว่าตนเองถูกแย่งชิงในสิ่งที่ตนเองควรจะได้รับ ซึ่งสภาวะนี้หมายถึง ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่มีคุณค่าอันเป็นที่คาดหวังกัยสิ่งที่มีคุณค่าที่สามารถจะหามาได้จริงๆ ในระดับหรือความเข้มข้นของความคาดหวังเพิ่มสูงขึ้น โดยที่ไม่มีการเพิ่มในความสามารถก็จะเป็นผลให้ควมเข้มข้นในความไม่พอใจจะสูงมากขึ้น แนวโน้มที่จะนำไปสู่กำลังรุนแรงก็จะยิ่งมากขึ้นด้วย แต่แรงผลัักที่จะทำให้คนใช้กำลังรุนแรงนั้นขึ้นอยู่กับความเชื่อเกี่ยวกับที่มาของการถูกแย่งสิทธิและการยอมรับในความถูกต้องของการใช้กำลังรุนแรงต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่รับผิดชอบด้วย
นอกจากนี้ยังมีตัวแปรที่กระทบต่อความมุ่งหมายที่ความไม่พึงพอใจมีต่อเป้าหมายทางการเมืองอื่นๆ อีก เช่น ขอบเขตของการลงโทษในทางวัฒนธรรมและวัฒนธรรมย่อยที่มีต่อการกรทำที่ก้าวร้าว ขอบเขตและระดับของความสำเร็จในการใช้กำลังรุนแรงในอดีต ความชอบธรรมของระบบการเมืองใช้เพื่อแก้ไขสภาวะของความรู้สึกว่าถูกแย่งชิง เป็นต้น
- วัฒนธรรมทางการเมือง หมายถึงระบบความเชื่อสัญญลักษณ์ที่แสดงออก ตลอดจนค่านิยมของทั้งผุ้นำกและประชาชนอันจะนำไปสู่พฤติกรรมทางการเมืองในรูปแบบใดๆ ขึ้น บางสังคมมีวัฒนธรรมที่เอื้ออำนวยต่อการใช้กำลังรุนแรง
ตัวนำของการเปลี่ยน
ตัวนำที่สำคัญยิ่งอันจะนำไปสู่การเปล่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมก็คือ "คน" แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นทุกคนไป จะมีก็เพียงบางคนเท่านั้นที่อาจถือได้ว่าเป็นตัวนำที่แท้จริง พวกนี้จะเป็นผุ้วิพากษ์วิจารณ์สังคม ตลอดจนให้แนวทางใหม่ ๆ แต่ก็ใช่ว่าคนเหล่านี้จะต้องมาจากคนชั้นต่ำ ผุ้นำของขบวนการก้ายหน้า มักจะเป็นผุ้ที่ได้รับการศึกษามาอย่างดีเป็นคนชั้นกลางหรือ คนชั้นสูง เช่น ฟิเดล คาสโตร ..มหาตมะ คานธี เป็นต้น
วิธีการเปลี่นแปลงทางการเมือง โดยทั่วไปอาจแบ่งเป็น 2 วิธีหลักๆ คือ
- การเปลี่ยนแปลงโดยสันติ ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับกาพัฒนาและนำมาใช้ในระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยกันมาก กระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งการเปล่ียนแปลงวิะีนี้จะใช้ได้ดีก็ต่อเมือระบบการเมืองได้ให้ความั่นใจต่อมลชนในระดับหนึ่งว่า แม้จะมีพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายเกิดขขึ้นในช่วงดำเนินการบ้าง รัฐก็จะไม่ใช้เครื่องมอของรัฐ คือ ตำรวจทหารทำลายขบวนการนั้นๆ
- การเปลี่ยนแปลงแบบรุนแรง ในการดำเนินการเพื่อหใ้ได้มาซึ่กงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนั้น การใช้กำลังรุนแรงถือเป็นวิธีการที่จะนำมาใช้กันจนเป็นปกติวิสัยทางการเมืองปัจจุบันวิธีการใช้กำลังรุนแรงทางการเมืองนี้ อาจแบ่งหยาบๆ ได้เป็น
การก่อการร้าย เป็นวิธีการที่สามารถสร้างความสพึงกลัวได้มากกว่าแบบอื่นๆ เพื่อที่จะโจมตีหรือท้าทายอำนาจรัฐในการที่จะรักษากฎ ระเบียบ ตลอดจนให้ความมั่นใจในความปลอดภัยแก่ประชาชน หรือบางครั้งการก่อการร้ายถูกใช้เพื่อสร้างความสนใจให้แก่กลุ่มของตน
- การจลาจล คือ การที่กลุ่มบุคคลเข้ากระทำการรุนแรงต่อทรัพย์สินหรือบุคคล แต่เป็นการดำเนินการที่ปราศจากการางแผน หรือมีขบวนการควบคุมอย่างเช่น การก่อการร้ายทั้งผู้ที่เข้าร่วมในการดำเนินการโดยที่ไม่จำกัดจำนวน
- การรัฐประหาร หมายถึงการโค่นล้มรัฐบาลโดยใช้กำลังเป็นการเปลี่ยนผู้ปกครองใหม่ ซึ่งอาจจะมีผลให้เกิดนโยบายใหม่ แต่ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองอย่างเช่นการปฏิวัติ
- สงครามปฏิวัติ เป็นลักษณะหนึ่งของวิธีการปฏิวัติซึ่งเกิดขึ้นเมือมีข้อขัดแย้งในเรื่องการปกครอง โดยมีกลุ่มชนเข้าใช้กำลัง ด้วยความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการเมือง รูปแบบของสงครามปฏิวัติในโลกปัจจุบัน ก็คือสงครามกองโจรซึ่งมีเป้าหมายทางการเมืองคือบ่อนทำลายรัฐบาล พร้อมกับสร้างความจงรักภักดีทางการเมืองที่มีต่อขชบวนการปฏิวัติให้เกิดขึ้นกับประชาชน
วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557
วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557
change(II)
เศรษฐกิจไทย ช่วงต้นทศวรรษ 2500 ประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชิาตฉบับที่ 1 คำว่า "พัฒนา"และ "ความเจริญ" ก็ติดปากคนไทย เศรษฐกิจไทยยุคจอมพล รวม 13 ปี อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจาก ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าไปสู่การผลิตเพื่อส่งออก แลสภาพเศรษฐกิจโดยรวมถูกผูกขาดในมือกลุ่มตระกูลไม่กี่กลุ่มโดยเฉพาะนายทุนธนาคารทีถูกนักวิชาการ และสื่อมวลชน ให้สมญาเสื่อนอนกิน โดยใช้แบ่งค์ เป็นปลาหมึกยกษ์ตลัดหนวดเกี่ยวพันธุรกิจไว้ในมือมากมาย อาจกล่าวได้ว่าช่วงเวลานั้น อำนาจทางการเมืองอยู่ในท็อปบู๊ต อำนาจเศรษฐกิจอยู่ในมือนายแบงค์
กระบวนการในการที่จะนำสังคมไปสู่ความกินดีอยุ่ดีทางเศรษฐกิจของสังคมนั้น W"W" Rostow กล่าวว่าต้องผ่านขั้นตอนคือ
ภาวะเศรษฐกิจทีมีระดับของความสามารถในการผลิตต่ำ การทำกินบนผืนแผ่นดิน หรือการเกษตร ใช้เครื่องมือแบบง่ายๆ
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในระดับหนึ่ง มีการนำวิทยาการสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะแรงผลักจากการรุกรานของประเทศที่ก้านหน้ากว่า แลละแ่กให้เกิลัทะิชาตินิยมอันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางการเมืองและสังคม ตลอดจนค่านิยมบางประการ
ช่วงที่อุปสรรคต่างๆที่กีดขวางการพัฒนาได้ถูกขจัดไปเป็นส่วนใหญ่เป็นผลให้เกศรษฐกิจของสังคมก้าวหน้าไปเป็นอย่างมาก วิทยาการสมัยใหม่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญช่วยให้การผลิตเป้นอย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนวิทยาการสมัยใหม่ถุกนำมาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตโดยทั่วไป ความสามารถในการใช้เครื่องจักรกลแทนแรงงานคนอยู่ในระดับสูง
และขั้นของความกินดีอยู่ดีของประชาชน รายได้ของประชาชนจะอยุ่ในระดบที่สุงเกินกว่าระดับเพื่อยังชีพ
การที่สังคมจะพัฒนาไปยังขั้นตอนการกินดีอยู่ดีได้นั้น สังคมย่อมที่จะประสบปัญหาที่แตกต่างกันไปรอสโทว์ จึงสเสอนทางเลือก 3 ปรกรดังนี้
- สร้างเสริมอำนาจและอิทธิพลของประเทศให้เป็นที่เกรงกลังของประเทศอื่น
- ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีปะสิทธิภาพเพื่อให้สวัสดิการแก่สมาชิกของสังคมอย่างเป็นธรรมโดยถ้วนหน้า
- เพิ่มระดับของการบริโภคให้สุงเกินกว่าระดับความจำเป็ฯ โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถอุปโภคบริโภคได้โดยไม่จำกัด
จากทางเลือกทั้งสามทาง สังเกตุห้ว่าทางแรกเป็นแนวปฏิบัติของสังคมเผด็จการ ทางที่สองเป็นของสังคมนิยม และทางเลือกที่สามเป็นแนวปฏิบัติของเสรีนิยมนั้นเอง
ผลกระทบต่อโครงสร้างของสังคมในหลายด้านด้วยกัน ดังนี้
- ความซับซ้อนทางโครงสร้างทางสังคมที่เพ่ิมมากขึ้น เช่น เกิดระบบอุตสาหกรรมโรงงานขึ้นแทนที่อุตวาหกรรมในครัวเรือน มีระบบแบ่งงานกันทำ ระบบการศึกษาอยู่ในลักษณะที่เป็นทางการยิ่งขึ้น โรงเรียนเข้ามามีบทบาท
- กิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบเก่าๆ จะเปลี่ยนแปลงไป มีระบบเศรษฐกิจแบบตลาด เกิดขึ้น ระบบเงินตราจะเป็นตัวบังคับ และจะตัวทำลายระบบเก่าๆทีเป็นสถาบันที่ควบคุมกิจกรรมการผลิตในอดีต
- ครอบครัวจะทำหน้าที่เฉพาะอย่างมากขึ้น ครอบครัวไม่ได้เป็นหน่วยในทางเศรษฐกิจอีกต่อไป ครอบครัวจะเร่ิมออกจากบ้านเพื่อหางานทำในตลาดแรงงาน
กิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบใหม่จะเป็นตัวสร้างค่านิยมและปทัสถานใหม่ๆ ระบบอาวุโสเร่ิมหมกความสำคัญ คัดเลือกคนจากความสามารถ
การเปลี่ยนแปลงนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาได้ดังนี้
- กระบวนการสร้างความแตกต่างซับซ้อน จะอ่กให้เกิดกิจกรรมใหม่ๆ มีค่านิยมปทัสถานแบบใหม่ๆ ซึ่งอาจให้เกิดความขัดแย้งกับค่านิยม และปทัสถานในแบบเก่าๆ
- ความไม่เท่าเที่ยมกันในการเปลียนโครงสร้าง และการไม่กลมกลืนกันของการเปลี่ยนแปลงเองก็เป็นสาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่ง
การศึกษา จะเป้นตัวแปรที่สำคัญตัวหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสัคมไปสู่ภาวะการณ์ที่ทันสมัย การเปลียนแปลงทางสังคมเพื่อให้ไปสู่ภาวะการณ์ที่มุ่งหมายอย่างสัมฤทธิผลนั้น จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงการศึกษาอย่างสอดคล้องกันไปด้วย
เราจะเห็นได้ว่าทั้งกระบวนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการศึกษซึ่งถือได้ว่าเป็นการเปลี่นแปลงส่วนหนึ่งของสังคมนั้นมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะในทางการเมืองด้วยเช่นกัน กระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นเป็ฯกระบวนการหนึ่งที่จะนำความเป็นทันสมัยมาสู่สังคม มีการสร้างระบบอุตสาหกรรม พัฒนาเทคโนโลยีอย่างกว้างขวาง ในขณะที่ประชากรเองก็จะอพยพเข้ามาหางานทำในแหล่งอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น เมืองจึงเกิดขึ้นตามมา
เมื่อมีเมือง มีการอุตสาหกรรมก็จะเป็นผลให้รัฐจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้กับเยาชนที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่รอดในสังคมได้
ผลที่ตามมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษาก็คือความคาดหวังที่ประชาชนต้องการจะให้รัฐสนองตอบก็จะมีเพ่ิมมากขึ้นเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่รอดในสังคมได้
ผลที่ตามมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษาก็คือความคาดหวังที่ประชาชนต้องการจะให้รัฐสนองตอบก็จะมีเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะความคิดความเชื่อแบบดั้งเดิมที่เคยมองว่าสภาพแร้นแค้น อับจนนั้นเป็นผลมาจากกรรมเก่าหรือการลงโทษจากเทวดาฟ้าดินจะเปลี่ยนไป แน่นอนว่าถ้าสถาบันทางการเมืองที่มีอยู่ไม่สามารถสกัดกั้นข้อเรียกร้องที่เพิ่มมากขึ้นได้ การไร้เสถียรภาพทางการเมืองก็จะเกิดขึ้นโดยไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ และปัญหานี้เป็นปัญหาที่สำคัญยิ่งของประเทศกำลังพัฒนา....
เศรษฐกิจไทย ช่วงต้นทศวรรษ 2500 ประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชิาตฉบับที่ 1 คำว่า "พัฒนา"และ "ความเจริญ" ก็ติดปากคนไทย เศรษฐกิจไทยยุคจอมพล รวม 13 ปี อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจาก ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าไปสู่การผลิตเพื่อส่งออก แลสภาพเศรษฐกิจโดยรวมถูกผูกขาดในมือกลุ่มตระกูลไม่กี่กลุ่มโดยเฉพาะนายทุน ธนาคารทีถูกนักวิชาการ และสื่อมวลชน ให้สมญาเสื่อนอนกิน โดยใช้แบ่งค์ เป็นปลาหมึกยกษ์ตลัดหนวดเกี่ยวพันธุรกิจไว้ในมือมากมาย อาจกล่าวได้ว่าช่วงเวลานั้น อำนาจทางการเมืองอยู่ในท็อปบู๊ต อำนาจเศรษฐกิจอยู่ในมือนายแบงค์
ยุคโชิช่วง ในยุคป๋าเปรม คนไทยผันถึงความมั่งคั่งกันถ้วนหน้า เมื่อรัฐบาลเดินหน้าโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออกเพื่อเป็นแม่เหล็กดึงดูดทุนต่างชาติข่าวการค้นพบแหล่งก๊าซในอ่าวไทยจนคนไทยรุ้สึกโชติช่วงชัชวาลไปตามๆกัน
พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน นายกรัฐมนตรีเจ้าของวาทะ "โนพร็อบเปล็ม"เข้ารับช่วงต่อจากรัฐป๋าซ฿เปรมซึ่งได้รับอานิสงค์บวกทางเศรษฐกิจทั้งจากรัฐบาลก่อนและเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ตวมถึงความสามารถในการใช้โอกาสของ พล.อ.ชาติชายเอง เศรษฐกิจไทยเติบโตมากว่า 10 เปอร์เซนต์จนได้รับการขนานนามว่ายุคทอง...
ณ เวลานั้น ผุ้รู้ต่างชาติฟันธงแบบไม่เฉลี่ยวใจว่าประเทศไทยกำลังจะเป็นเสือเศรษฐกิจตัวที่ห้าแห่งเอเซีย หรือประเทศอุตสาหกรรมใหม่ที่คนไทยรู้จักกันในนาม นิกส์(NICs : new industrialized countries)
วิกฤตต้มยำกุ้ง ความผันจะเป็ฯนิกส์มีพลังมาก แม้รัฐบาลชาติชายจะถูก รสช.ยึดอนาจในปี 2534 แต่รัฐบาลที่เข้ามาบริหารต่อคงไม่ละท้ิงความพยายามที่จะไปสู่ฝันอันยิ่งใหญ่คือ "ประเทศอุตสาหกรรมใหม่" แต่ทว่าในปี 2540 ในสมัยรัฐบาลชวลิต ความผันนั้นแตกสลายเป็นเสี่ยง เมื่อประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นต้นตอวิกฤติต้มยำกุ่ง วิกฤตเศรษฐกิจที่ร้ายแรงที่สุดในชั่วอายุคน เจ้าสังหลายคนกลายเป็ฯเจ้าสัวเมือวันวาน ประเทศไทยต้องยอมเป็นเมืองขึ้นทางเศรษฐกิจกับ IMF เพื่อแรกกับเงินกู้พร้อมคำพูดที่สวยหรูว่า "ความช่วยเหลือทางวิชาการ" เพราะสำรองเงินตราเหลือไม่พอค้ำยันความน่าเชื่อถือทางเศรษฐกิจของประเทศ
วิกฤติการณ์ครั้งนี้นั้นเกิดจาภาคเอกชนไทยก่อหนี้เกินตัว แบงก์ชาติพลาดทา่โจสลัดทางการเงิน สูญสำรองเงินตราของชาติเกือบหมด ที่มาของวิกฤติสะสมมาจากการบริหารเศรษฐฏิจโดยไม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโล และไม่มีประสบการณ์ในการับมือกับเศรษฐฏิจฟองสบู่ ทุกรัฐบาลก่อนหน้านี้บริหารเศรษฐกิจแบบมุ่งโตไปข้างหน้าโดยละเลยทำความเข้าใจกับวัฏจักรเศรษฐกิจที่มีช่วงเฟื่องฟู กับถดถอยสลับกนไป ไม่ใช่ขาขึ้นตลอด
จากเหตุการณ์ดังกล่าว นำไปสู่การปฏิรูปอุตสาหกรรมธนาคารและการเสื่อมถอยของทุนแบงก์ที่ผูกขาดเศรษฐกิจมากกว่า 3 ทศวรรษ และทำให้มีคำถามถึง การขับเคลื่อนทิสทางเศรษฐกิจโดยผูกกับกระแสโลกแบบที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องนั้น เป็นหนทางที่ใช่หรือไม่... นักการเมืองของเรามีความรู้พอสำหรับบริหารบ้านเมืองในสถานการณ์ที่โครงสร้างเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ตามคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงหรือไม่... นักเศรษฐศาสตร์หลายคนเริ่มตั้งคำถามว่าแนวคิด พัฒนาด้วยการสร้างเมืองให้โตแล้วหวังว่าความเจริญจะกระฉอกออกไปสู่ชนบทเองนั้น เป็นจริงามสมมติฐานที่เชื่อหรือไม่...
ทักษิโนมิกส์ หลังวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนั้น คนไทยเริ่มตระหนักถึงคุณค่าของคำว่าพอเพียง..
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุครัฐบาลทักษิณ การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลทักษิณหวือหวาและเเปลกใหม่กว่ารัฐบาลที่ผ่านมา ดังคำกล่วในการประชุมครั้งหนึ่งว่า "วันนี้ภาคการเมืองอำนวยให้แล้ว ผมจะต้องเปลี่ยน..ทุกคนที่ถูกกระทบต้องเปลี่ยนก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน"..และแทรกแนวคิดการแก้ปหัญหาความยากจนลงในนโยบายเศรษฐกิจทุกครั้งที่มีการนำเสนอมุมอง ตัวอย่งที่ฮือฮาที่สุดเมื่อเขารับความคิดของ ซินญอร์ เอดอซาโต หรือ มานโต เดอ ซา โต นักวิชาการชาวเปรูเจ้าของงานเขียน The Mystery of capital หรือ ความลี้ลับของทุนมปรับใช้เป็นนโยบายแปลงทรัพย์สินเป็นทุน โดยมุ่งนำที่ดินในเขตปฏิรูป 12.8 ล้านไร่มาแปลงเป็นทรัพย์สินให้เกษตรกรนำไปใช้เป็นหลักทรัพย์หาทุนจากธนาคาร อีกทั้งชุดนโยบายของรัฐบาลทักษิณที่มีความแปลกใหม่ถูกสื่อมวลชนตะวันตกให้คำจำกัดความว่า ทักษิโนมิกส์...
การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลทักษิณนั้นถ้าถามคนส่วนใหญ่ถึงสิ่งที่จดจำเกี่ยวกับอดีตนายกฯทักษิณนอกจากความชื่นชมในการบริหารเศรษฐฏิจแระเทศแบบกล้าได้กล้าเสีย หนึ่งในความจดจำที่แทรกตัวอู่ด้วยก็คือ เขาเป็นผู้แพร่เชื้อนโยบายประชานิยมในไทยจนกลายเป็นโรคเรื้อรังในวงการเมืองไทย จบชีวิตทางการเมืองจากนโยบายผลประโยชน์ทับซ้อน และพยายามกลัยมามีอำนาจด้วยการชักใยอยู่เบื้องหลัง...
หลังการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลทักษิณ ประเด็นเรื่องเศรษฐกิจถูกบดบังจากวิกฤติการการเมือง และความปั่นป่วนของเศรษฐกิจโลกจกาวิกฤติซับไพร์ รัฐบาลหลังการยึดอำนาจใช้เวลาส่วนใหญ่กับการับมือปัญหาการเมือง และกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมกับการบรรเทาความเดือนร้อนให้กับปรชาชนในนาม ประชานิยม หรือ ประชาวิวัฒน์ จนไม่มีเวลาคิดคำนึงเรื่อง การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เท่าทันสภาวะแวดล้อมใหม่ของโลก และสร้างความเท่าเทียม
วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557
change
นักคิดในสมัยโบราณให้ความสนใจอย่างมากเกี่ยกับเรื่องของการเปลี่ยนแปลง เป้นที่ประจักษ์แล้วว่า ในเวลาที่หมุนเวียนไป ทุกสิ่งในโลกจะมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอแนวควาคิดของนักปรัชญาโบราณพยายามที่จะศึกษาถึงความจริงข้อนี้ โดยกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นกับทุกสิ่ง
ในปัจจุบันไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีสภาพมั่นคง ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา สังคมและวัฒนธรรมก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ไม่มีสงคมและวัฒนธรรมใดหยุดอยู่กับที่่โดยแท้จริงตลอดเวลา มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ อันเป็นลักษณะธรรมดาของสังคมมนุษย์
การเปลี่ยนแปลงจะเกี่ยวข้องหรือขึ้นอยู่กับเวลาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเวลาในรูปใด แม้แต่เวลาที่นับการครบรอบเหตุการ์หนึ่ง เช่นฤดูกาล ลักษณะหรือสถานภาพของสิ่งนั้นจะแตกต่างไปจากเดิมที่เป็นอยู่ โดยอาศัยองค์ประกอบด้านเวลาเป็นหลัก ในสังคมมีเหตุการร์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่สองอย่างคือ การเกิดและการตาย แต่กระบวนการตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องกันโดยอาศัยเวลาเป็นเครื่องกำหนด
อนิจจลักษณะ คือ เครื่องกำหนดขันธ์ 5 ทั้งหมดซึ่งเป็นตัวอนิจจัง อนิจจัง หมายถึง ขันธ์ 5 ทั้งหมด เป็นปรมัตถ์ เป็นสภาวะธรรม มีอยู่จริง และเป็นชื่อหนึ่งของขันธ์ 5
อนิจจลักษณะทำให้เราทราบได้ว่ขชันธ์ 5 เป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ซึ่งได้แก่ อาการความเปลี่ยนแปลง
บางตอนจาก วิสุทธิมรรค
ก็ลักษณะทั้งหลายยอมไม่ปรากฎ เพราะอะไรปิดบังไว้ เหตุไม่มนสิการถึงอะไร.. อับดับแรก อนิจจลักษณะไม่ปรากฎ เพราะถูกสัตติปิดบังไว้เหตุไม่มนสิการถึงความเกิดขึ้น และความเสื่อไป ทุกขงักษณไม่ปรากฏเพราะถูกอิริยาลปิดบังไว้ เหตุไม่มนสิการถึงความถูกบีบคั้นอยู่เนืองๆ อนัตตลักาณะไม่ปรากฏเพราะถูกฆนะ(กลุ่มก้อน) ปิดบังไว้ เหตุไม่มนสิการถึงความแยกจากกันไ้ดแห่งธาตุต่าง ๆ ต่อเมือสันตติถูกทำให้ยกเลิกไป เพราะกำหนดจากความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปได้ อนจจลักษณะจึงปรากฎตามสภาพที่เป็นจริงได้ เมื่ออิริยาบทถูกเพิกเพราะมนสิการถึงความถูกบีบคั้นอยู่เนืองๆ ทุกขลักษณะจึงปรากฎตามสภาพที่เป็นจริงได้ เมื่อทำฆนวินิพโภค(ย่อมก้อนออก) ได้เพราะปยกธาตุต่างๆ ออกอนัตตลักษณะจึงปรากฎจึงปรากฎตามสภาพที่เป็นจริง....
สังคมวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ของสังคม และในสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบความสัมพันธ์ของบุคคล ที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็ฯพวกเดียวกัน และการเปลี่ยนแปลงประเภทที่กล่าวนี้ เกิดขึ้นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงในกรอบกำหนดขอบเขตสิทธิและหน้าที่ ที่บุคคลจะปฏิบัติต่อกันได้จากที่เคยกำหนดกันอยู่ก่อน
สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทั้งในระดับ จุลภาค และระดับ มหาภาคจากหนังสือ "ฝูงชนผุ้เปล่าเปลี่ยว" ของศาสตราจารย์ เดวิด ริสแมน ซึ่งเขียนร่วมกับ นาทาร์น แกลเซอร์ และ โรลแนล เดนนี่ได้บรรยายถึงการเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยหรือลักษณะนิสัยหรือลักษณะประจำาติของชาวอเมริกัน ดดยถือว่ามีส่วนสัมพันธ์กับสภาวะทางประชากรศาสตร์ ตามทัศนะของศาสตราจารย์ริสแมน สังคมที่ภวะเกี่ยวกับประชากรสามประเภทคือ มีการขยายตัวมาก ประชากรขยังขึ้นสูงระยะหนึ่ง และเริ่มทีอัตราการเพิ่มขยายตัวลดน้อยลง
สังคมสามยุค ได้แก่ สังคมประเพณีนำ เกิดขึ้นในช่วงที่ประชากกรมีโอกาสขยายตัวมาก, สังคมสำนึกนำ สังคมประเภทนี้มีประชากรซึ่งขยับตัวสูงขึ้นระยะหนึ่ง และยึดถือหลักการเป้นแนวทางแห่งชีวิตมีขึ้นในยุโรปพร้อมกับการฝื้นูทางวัฒนธรรม(เรอแนสซอง)การปกิรูปทางศาสนา การขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม ความเจริญทางเทคโนโลยี การมีสินค้าและตลาดมากยิ่งข้ึน การสำรวจการแสวงหาหาอาณานิคม และการใช้ระบบจักรวรรดินิยมมากยิ่งขึ้น, สังคมผู้นำ
กลไกที่ควบคุมพฤติกรรมในสังคมประเภทต่างๆ ในระบบ "ประเพณีนำ" หรือ "ธรรมเนียมบัญชา" กลไกที่ควบคุมให้คนในสังคมอยู่ในกรอบ ได้แก่ ความรู้สึก "ละอาย" ต่อผุ้ใหญ่ ต่อวงศาคณาญาติ หรือต่อบรรพบุรุษ ในระบบ "สำนึกนำ" หามีการทำผิดจุดประสงค์หรือหลักการที่วางไว้ จะเกิดความรู้สึกทำนอง หิริ โอตตับปะ หรือมีความ "รู้สึกผิด" หรือสำนึกผิด ความสำนึกผิดเป็นความรู้สึกซึ่งประทุอยู่ในจิตใจ ทั้ง ๆ ที่ผู้อื่นอาจมองไม่เห็นหรือไม่ทราบเลย ผุ้มี "สำนึกนำ" หรือ "ผุ้ร่วมสมัยนำ" กลไกที่บังคับให้ทำตามผู้อื่นอยู่เสมอ คือ ความกระวนกระวายใจ โดยคอนึกกังวลว่าจะล้าสมัย และเกรงว่าจะถูกเยาะเย้ยว่าเชยเป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม วัฒนะรรมมีลักษณะที่ไม่อยู่นิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมหากเป็นไปอย่างช้าๆ เรียกว่า สตาติค ถ้าเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เรียกว่า ไดดามิค การเปลี่ยนแปลในด้านนี้ เช่น ภาษา มารมีการคิดค้นคำใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงแนวความคิด กฎเกณฑ์ ศีลธรรม จรรยา รูปแบบของดนตรี ศิลป ความเสมอภาคของชายและหญิง ...
การเปลียนแปลงทางวัฒนธรรม ขึ้นอยู่กับการเลือกปฏิบัติของคนในสังคม ความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมในอุดคติ และที่ปกิบัติกันจริง ๆ ย่อมปรากฎให้เห็นได้ชัดในกาเลือปฏิบัติของคนในสังคม แต่โดยที่การปฏิบัติจริงกลับมีแนวโน้มที่จะรับเอาวัตถุนิยมหรือเพ่งเล็งค่านิยมในทางเศรษษฐกิจมากว่า เมื่อการปฏิบัติของคนในสังคม แต่โดยที่การปฏิบัติจริงกลับมีแนวโน้มที่จะรับเอาวัตถุนิยมหรือเพ่งเล็งค่านิยมในทางเศรษฐกิจมากว่า เมื่อการปฏิบัติมีแนวโน้มที่แยกออกจาด้านอุดมคติมากขึ้น วัฒนธรรมยิ่งเปลี่ยนแปลงมากขึ้นไปอีก ทั้งนี้เพราะ การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ หรือทางอุดมคติ แม้จะเป็นเรื่องที่เห็นได้ยากแต่ก็มีผลลึกซึ้งต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมมากเพราะเมื่อใดก็ตามที่ความคิดของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป เมื่อนั้นย่อมมีการเปลี่ยนแปลงในด้านพฟติกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เนื่องจากวัฒนธรรมที่แท้จริงนั้นเป็นการเลือกปฏิบัติของคนในสังคม
วัฒนธรรมย่อมไม่อยู่คงที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ถ้ายังยึดมั่นอยู่ในสิ่งเดิมโดยไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ก็จะไม่มีความสามารถในการริเริ่มสร้างความก้าวหน้าให้แก่วัฒนธรรม เพราะสิ่งใดถ้าอยู่คงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงนานมากเกินไป สิ่งนั้นจะรัดตัวแข็.กระด้าง และเข้าไม่ได้กับเหตุการณ์ปรือสิ่งแวดล้อมใหม่ ก็จะสลายตัวลงถ้าต้านทานเหตุการณ์ใหม่ไม่อยู่ การเปลี่ยนแปลงนี้เองที่ทำให้วัฒนธรรมในสังคมนั้นยังคงมีอยุ่ได้ แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงนั้นทำไปโดยรวดเร็วก็จะเปลี่ยนบุคลิกลักษณะของวัฒนธรรมนั้น หมดเอกลักษณ์ของตัวเอง การมีวัฒนธรรมจะมีความเจริญงอกงามได้ ก็ต้องมีหลักในการเปลี่ยนแปลง คือ ต้องมีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่ในขณะเดียวกันก็จะต้องมีเสถียรภาพอยู่ด้วย ไม่เช่นนั้นความเจริญก้าวหน้าของวัฒนธรรมก็จะมีขึ้นไม่ได้ การเปล่ียนแปลงใดๆ ก็ตามในวัฒนธรรม จึงควรยึดหลักของขงจื้อที่ว่า "สิ่งเก่าไม่ใช่จะดีเสมอไป และสิ่งใหม่ก็ไม่ใใช่ว่าจะไใ่ดีเสมอไป ผู้มีปรีชาญาณย่อมรู้จักเลือเฟ้นเมื่อได้ทดลองชิมดูแล้ว"
การต่อต้านและการยอมรับการเปลี่ยนแปลงสังคม วัฒนธรรมใหม่ไม่ใช่ว่าจะได้รับการยอมรับจากสังคมเสมอไป กระบวนการการยอมรับสิ่งใหม่ ๆ บางครั้งสิ่งนั้นจะถุกยอมรับทั้งหมด และบางอย่างอาจต้องใช้เวลาในการยอมรับบางอย่างอาจถูกปฏิเสธไปเลย และบางอย่างอาจยอมรับเพียงบางส่วน การยอมับสิ่งใหม่ไม่ได้เป็นไปโดยอัตโนมัติจะต้องมีการเลือกสรร ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละสังคม
ในปัจจุบันไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีสภาพมั่นคง ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา สังคมและวัฒนธรรมก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ไม่มีสงคมและวัฒนธรรมใดหยุดอยู่กับที่่โดยแท้จริงตลอดเวลา มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ อันเป็นลักษณะธรรมดาของสังคมมนุษย์
การเปลี่ยนแปลงจะเกี่ยวข้องหรือขึ้นอยู่กับเวลาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเวลาในรูปใด แม้แต่เวลาที่นับการครบรอบเหตุการ์หนึ่ง เช่นฤดูกาล ลักษณะหรือสถานภาพของสิ่งนั้นจะแตกต่างไปจากเดิมที่เป็นอยู่ โดยอาศัยองค์ประกอบด้านเวลาเป็นหลัก ในสังคมมีเหตุการร์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่สองอย่างคือ การเกิดและการตาย แต่กระบวนการตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องกันโดยอาศัยเวลาเป็นเครื่องกำหนด
อนิจจลักษณะ คือ เครื่องกำหนดขันธ์ 5 ทั้งหมดซึ่งเป็นตัวอนิจจัง อนิจจัง หมายถึง ขันธ์ 5 ทั้งหมด เป็นปรมัตถ์ เป็นสภาวะธรรม มีอยู่จริง และเป็นชื่อหนึ่งของขันธ์ 5
อนิจจลักษณะทำให้เราทราบได้ว่ขชันธ์ 5 เป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ซึ่งได้แก่ อาการความเปลี่ยนแปลง
บางตอนจาก วิสุทธิมรรค
ก็ลักษณะทั้งหลายยอมไม่ปรากฎ เพราะอะไรปิดบังไว้ เหตุไม่มนสิการถึงอะไร.. อับดับแรก อนิจจลักษณะไม่ปรากฎ เพราะถูกสัตติปิดบังไว้เหตุไม่มนสิการถึงความเกิดขึ้น และความเสื่อไป ทุกขงักษณไม่ปรากฏเพราะถูกอิริยาลปิดบังไว้ เหตุไม่มนสิการถึงความถูกบีบคั้นอยู่เนืองๆ อนัตตลักาณะไม่ปรากฏเพราะถูกฆนะ(กลุ่มก้อน) ปิดบังไว้ เหตุไม่มนสิการถึงความแยกจากกันไ้ดแห่งธาตุต่าง ๆ ต่อเมือสันตติถูกทำให้ยกเลิกไป เพราะกำหนดจากความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปได้ อนจจลักษณะจึงปรากฎตามสภาพที่เป็นจริงได้ เมื่ออิริยาบทถูกเพิกเพราะมนสิการถึงความถูกบีบคั้นอยู่เนืองๆ ทุกขลักษณะจึงปรากฎตามสภาพที่เป็นจริงได้ เมื่อทำฆนวินิพโภค(ย่อมก้อนออก) ได้เพราะปยกธาตุต่างๆ ออกอนัตตลักษณะจึงปรากฎจึงปรากฎตามสภาพที่เป็นจริง....
สังคมวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ของสังคม และในสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบความสัมพันธ์ของบุคคล ที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็ฯพวกเดียวกัน และการเปลี่ยนแปลงประเภทที่กล่าวนี้ เกิดขึ้นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงในกรอบกำหนดขอบเขตสิทธิและหน้าที่ ที่บุคคลจะปฏิบัติต่อกันได้จากที่เคยกำหนดกันอยู่ก่อน
สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทั้งในระดับ จุลภาค และระดับ มหาภาคจากหนังสือ "ฝูงชนผุ้เปล่าเปลี่ยว" ของศาสตราจารย์ เดวิด ริสแมน ซึ่งเขียนร่วมกับ นาทาร์น แกลเซอร์ และ โรลแนล เดนนี่ได้บรรยายถึงการเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยหรือลักษณะนิสัยหรือลักษณะประจำาติของชาวอเมริกัน ดดยถือว่ามีส่วนสัมพันธ์กับสภาวะทางประชากรศาสตร์ ตามทัศนะของศาสตราจารย์ริสแมน สังคมที่ภวะเกี่ยวกับประชากรสามประเภทคือ มีการขยายตัวมาก ประชากรขยังขึ้นสูงระยะหนึ่ง และเริ่มทีอัตราการเพิ่มขยายตัวลดน้อยลง
สังคมสามยุค ได้แก่ สังคมประเพณีนำ เกิดขึ้นในช่วงที่ประชากกรมีโอกาสขยายตัวมาก, สังคมสำนึกนำ สังคมประเภทนี้มีประชากรซึ่งขยับตัวสูงขึ้นระยะหนึ่ง และยึดถือหลักการเป้นแนวทางแห่งชีวิตมีขึ้นในยุโรปพร้อมกับการฝื้นูทางวัฒนธรรม(เรอแนสซอง)การปกิรูปทางศาสนา การขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม ความเจริญทางเทคโนโลยี การมีสินค้าและตลาดมากยิ่งข้ึน การสำรวจการแสวงหาหาอาณานิคม และการใช้ระบบจักรวรรดินิยมมากยิ่งขึ้น, สังคมผู้นำ
กลไกที่ควบคุมพฤติกรรมในสังคมประเภทต่างๆ ในระบบ "ประเพณีนำ" หรือ "ธรรมเนียมบัญชา" กลไกที่ควบคุมให้คนในสังคมอยู่ในกรอบ ได้แก่ ความรู้สึก "ละอาย" ต่อผุ้ใหญ่ ต่อวงศาคณาญาติ หรือต่อบรรพบุรุษ ในระบบ "สำนึกนำ" หามีการทำผิดจุดประสงค์หรือหลักการที่วางไว้ จะเกิดความรู้สึกทำนอง หิริ โอตตับปะ หรือมีความ "รู้สึกผิด" หรือสำนึกผิด ความสำนึกผิดเป็นความรู้สึกซึ่งประทุอยู่ในจิตใจ ทั้ง ๆ ที่ผู้อื่นอาจมองไม่เห็นหรือไม่ทราบเลย ผุ้มี "สำนึกนำ" หรือ "ผุ้ร่วมสมัยนำ" กลไกที่บังคับให้ทำตามผู้อื่นอยู่เสมอ คือ ความกระวนกระวายใจ โดยคอนึกกังวลว่าจะล้าสมัย และเกรงว่าจะถูกเยาะเย้ยว่าเชยเป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม วัฒนะรรมมีลักษณะที่ไม่อยู่นิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมหากเป็นไปอย่างช้าๆ เรียกว่า สตาติค ถ้าเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เรียกว่า ไดดามิค การเปลี่ยนแปลในด้านนี้ เช่น ภาษา มารมีการคิดค้นคำใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงแนวความคิด กฎเกณฑ์ ศีลธรรม จรรยา รูปแบบของดนตรี ศิลป ความเสมอภาคของชายและหญิง ...
การเปลียนแปลงทางวัฒนธรรม ขึ้นอยู่กับการเลือกปฏิบัติของคนในสังคม ความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมในอุดคติ และที่ปกิบัติกันจริง ๆ ย่อมปรากฎให้เห็นได้ชัดในกาเลือปฏิบัติของคนในสังคม แต่โดยที่การปฏิบัติจริงกลับมีแนวโน้มที่จะรับเอาวัตถุนิยมหรือเพ่งเล็งค่านิยมในทางเศรษษฐกิจมากว่า เมื่อการปฏิบัติของคนในสังคม แต่โดยที่การปฏิบัติจริงกลับมีแนวโน้มที่จะรับเอาวัตถุนิยมหรือเพ่งเล็งค่านิยมในทางเศรษฐกิจมากว่า เมื่อการปฏิบัติมีแนวโน้มที่แยกออกจาด้านอุดมคติมากขึ้น วัฒนธรรมยิ่งเปลี่ยนแปลงมากขึ้นไปอีก ทั้งนี้เพราะ การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ หรือทางอุดมคติ แม้จะเป็นเรื่องที่เห็นได้ยากแต่ก็มีผลลึกซึ้งต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมมากเพราะเมื่อใดก็ตามที่ความคิดของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป เมื่อนั้นย่อมมีการเปลี่ยนแปลงในด้านพฟติกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เนื่องจากวัฒนธรรมที่แท้จริงนั้นเป็นการเลือกปฏิบัติของคนในสังคม
วัฒนธรรมย่อมไม่อยู่คงที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ถ้ายังยึดมั่นอยู่ในสิ่งเดิมโดยไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ก็จะไม่มีความสามารถในการริเริ่มสร้างความก้าวหน้าให้แก่วัฒนธรรม เพราะสิ่งใดถ้าอยู่คงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงนานมากเกินไป สิ่งนั้นจะรัดตัวแข็.กระด้าง และเข้าไม่ได้กับเหตุการณ์ปรือสิ่งแวดล้อมใหม่ ก็จะสลายตัวลงถ้าต้านทานเหตุการณ์ใหม่ไม่อยู่ การเปลี่ยนแปลงนี้เองที่ทำให้วัฒนธรรมในสังคมนั้นยังคงมีอยุ่ได้ แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงนั้นทำไปโดยรวดเร็วก็จะเปลี่ยนบุคลิกลักษณะของวัฒนธรรมนั้น หมดเอกลักษณ์ของตัวเอง การมีวัฒนธรรมจะมีความเจริญงอกงามได้ ก็ต้องมีหลักในการเปลี่ยนแปลง คือ ต้องมีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่ในขณะเดียวกันก็จะต้องมีเสถียรภาพอยู่ด้วย ไม่เช่นนั้นความเจริญก้าวหน้าของวัฒนธรรมก็จะมีขึ้นไม่ได้ การเปล่ียนแปลงใดๆ ก็ตามในวัฒนธรรม จึงควรยึดหลักของขงจื้อที่ว่า "สิ่งเก่าไม่ใช่จะดีเสมอไป และสิ่งใหม่ก็ไม่ใใช่ว่าจะไใ่ดีเสมอไป ผู้มีปรีชาญาณย่อมรู้จักเลือเฟ้นเมื่อได้ทดลองชิมดูแล้ว"
การต่อต้านและการยอมรับการเปลี่ยนแปลงสังคม วัฒนธรรมใหม่ไม่ใช่ว่าจะได้รับการยอมรับจากสังคมเสมอไป กระบวนการการยอมรับสิ่งใหม่ ๆ บางครั้งสิ่งนั้นจะถุกยอมรับทั้งหมด และบางอย่างอาจต้องใช้เวลาในการยอมรับบางอย่างอาจถูกปฏิเสธไปเลย และบางอย่างอาจยอมรับเพียงบางส่วน การยอมับสิ่งใหม่ไม่ได้เป็นไปโดยอัตโนมัติจะต้องมีการเลือกสรร ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละสังคม
วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
In my mind
ทรรศนะทางพุทธปรชญาเถรวาท สรุปธรรมชาติของจิตดังนี้
- ภาวะเดิมของจิตผ่องใน แต่เศร้าหมองเพราะกิเลสต่าง ๆ
- ภาวะของจิตขณะที่รับอารมณ์ไม่คงที่ เปลี่ยนอารมณ์อยู่เสมอ
- จิตไม่มีรูปร่าง การเกิดของจิตเป็นที่ละขณะเมื่อถึงคราวดับก็ดับไปที่ละขณะ จิตสามารถรับอารมณ์แม้จะอยู่ในที่ไกล อาศัยอยุ่ในเรื่อนกายมนุษย์และสัตว์
ความหมายของจิต สิ่งที่วิจิตรทั้งหลายในโลก เกิดขึ้นเพราะอาศัยจิตต้นคิด ตัวจิตเองเป็นธรรมชาติอันวิจิตรรวมอยุ่ด้วย ภูมิ อารมณ์ ทั้งที่เลว ประณีต และปานกลาง มีวิบาก(กรรมและกิเลสที่เก็บสังสมไว้ )พฤติกรรมต่างๆ ซึ่งเก็บสังสมไว้คือสันดานของตนและเกิดขึ้นเป็นวิถีจิต จิตนั้นรับอารมณ์มากมายไม่มีที่สิ้นสุด จิตจะเว้นจากอารมณ์ไม่ได้
ลักษณะของจิตแบ่งออกเป็น
- จิตเป็นสภาพธรรมที่รุ้แจ้งอารมณ์
- จิตสั่งสมสันดานของตนด้วยการเสพอารมณ์
- จิตเป็นสภาพธรรมอันประกอบด้วยกิเลสสั่งสมวิบากผล
- จิตทุกดวงเป็นธรรมชาติวิจิตร
หน้าที่ของจิต
- ทำหน้าที่สืบต่อภพ จากอดีตภพเรียกว่ ปฏิสนธิจิต(เกิด)
- ทำหน้าทีรักษาภพของบุคคล เช่น เกิดปฏิสนธิจิตมาด้วจิตใดก็ไห้จิตนั้นเป็นไปตลอดชีวิตในภพหนึ่ง เรียกว่า ภวังคจิต
- ทำหน้าท่ีพิจารณาอารมณ์จากทวารทั้ง 6 เรียกว่า
- ทำหน้าที่เห็นรูป
- ทำหน้าที่ได้ยินเสียง
- ทำหน้าที่ดมกลิ่น
- ทำหน้าที่ลิ้มรส
- ทำหน้าที่สัมผัสทางกาย
- ทำหน้าที่รับอารมณ์ทั้ง 6
- จิตที่ทำหน้าที่ตรจสอบอารมณ์ทั้ง 6
- ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์
- ทำหน้าที่เสพอารมณ์
- ทำหน้าที่ยึดหน่วงอารมณ์
- ทำหน้าที่เคลื่อนจากภพ จากปัจจุบัน จุติจิต
จากลัดษณะหน้าที่ของจิต โดยปกติจิตจะอยู่ภายใน10 ฐาน แต่จะกล่าวเพียง 3 ฐาน คือ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิต ทั้ง 3 ฐานเป็นจิตที่พ้นวิถีจิตที่ทำหน้าที่ไม่รับอารมณ์จากภายนอก ซึ่งมีปฏิสนธิ ภวัคจิต และจุติจิต จะมีหน้าที่เกี่ยวสัมพันธ์กันหรือทำงานร่วมกันกับภวัคจิตในการสืบต่อดังนี้
ปฏิสนธิจิต เป็นจิตที่ทำหน้าที่สืบต่อภพมีอยู่ 1 ฐาน คือปฏิสนธิจิตจะอยู่ระหว่างจุติจิต(ดับ)กับภวังคจิตผเก็บสั่งสมกรรมเก่า)
ภวังคจิต เป็นจิตที่ทำหน้าที่รักษาภพการเกิดในภพปัจจุบันหรือภพใหม่ ของบุคคลให้เป็นไปโดยำม่ให้เป็นอย่างอื่น
จุติจิตเป็นจิตที่ทำหน้าที่เคลื่อนจากภพหรือการดับของจิตมีอยู่ฐานคือ
ระหว่างเสพอารมณ์กับสืบต่อภพใหม่, ระหว่างรับอารมณ์ต่อจากชวนจิตกับสือต่อภพใหม่และระหว่างรักษาภพชาติกับสืบต่อภพใหม่
ภวังคจิต คือจิตขณะหนึ่งในจำนวน 17 ขณะที่จัดเป็นปกติจิตหรือปกติมโนธรรมชาติเป็นอัพยากฟต คือไม่เป้นบุญไม่เป็นบาป หรือไม่เป็นผลของอะไร แต่มีบทบาทสำคัญในฐานะเป้นองค์ของธรรมชาติหรือเป้นที่เก็บสังสมนิสัยสันดาน
ภวังคจิตแม้จะเกิดติดต่อนับไม่ถ้วย แต่ขณะที่จิตรับอารมณ์มีภวังคจิตเกิดขึ้นเพียง 2 ขณะ(ดวง)เท่านั้น คือ ขณะก่อนรับอารมณ์และขณะที่รับอารมณ์เสร็จแล้ว และมีอีนัยหนึ่งคือ มนะ(ใจปภายในมดนทวาร)
ภวังคจิต คือจิตที่ทำหน้าที่รักษาองค์ของภพ หมายถึง รักษากรรมวิบากของรูปนามสืบต่อจากปติสนธิวิบากจิต และปฏิสนธิกรรมรูปให้ดำรงอยู่ในภพนั้น ๆตราบเท่าอำนาจของกรรมที่ทำให้เกิด จะส่งผลให้เป็นไปเท่าอายุสังขารที่ดำรง
อยู่ได้ ..
บ่อเกิด
ภวังคจิตจะเก็บสั่งสมอารมณ์ หรือเจตนาของอารมณ์ไว้และสืบต่อสู่วิถีจิต ทวารทั้ง 6 คือวิถีจิตรับอารมณ์แล้วภวังคจิตซึ่งเหมือนคลังพัสดุจะเก็บอารมณ์ต่าง ๆ ไว้ที่ผ่านช่องทวารทั้ง 6 แดนภวังคจิตนี้เป็นจิตที่นอนนิ่งอยุ่ในบ้านของตนที่เป็นศูนย์กลางรับผลการกระทำของวิถีจิต จะไม่ข้ึนสุ่วิถีจิตรับอารมณ์ภายนอกใดๆ ทั้งสิ้นเพราะมีกำลังอ่อนแต่จะเกิดดับรับอารมณ์อยู่ภายในอย่างปกติ
ภวังคจิตที่อยู่ในแดนมโนทวาร คือ ภวังคจิตขึ้นสู่วิถีจิต แต่ยังไม่ได้ออกมารับอารมณ์ภายนอก(วิถีจิต)ซึ่งจะมารับอารมณ์ภายในแดนมโนทวาร ธรรมารมณ์ อาการเย่างนี้จะเกิดมโนภาพและจิตนาการต่างๆที่ภวังคจิตเก็บสั่งสมไว้ในนโมทวาร ภวังคจิตที่ทำให้บุคคลเกิดความคิดคำนึงถึงอดีต หรือคิดนึกอย่างลึกซึ้งในอนาคต และเกิดความคิดนึกในขณะทำสมาธิ เป็นต้นหรือมีพฤติกรรมแสดงออกในชีวิตประจำวัน
ภวังคจิตที่ตื่นจากภวังค์ออกมาแสดงพหติกรรทมี่ภวังคจิตเก็บสั่งสมไว้จากทางทวารทั้ง 5 คือ ตา หู จมุก ลิ้น กาย เมือ่ภวังคิตมีกำลังมากหรือมีเตนามากก็จะแสดงพฟติกรรมออกจากทวารทั้ง 5 ภวังคจิตจะอยู่ในภาวะตื่นเต็มที่ เรียกว่า วิถีจิตทำให้ไม่รู้สึกตัวในการแสดงพฤติกรรมอะไรไปตามที่ภวังคจิตได้เก็บสั่งสมไว้ภายในที่จะพบมี 4 ประเด็น คือ ช่วงรอยต่อก่อนหลับ, ช่วงรอยต่อก่อนตื่น, ระหว่างเข้าถึงอัปปนาสมาธิ, เวลาหลับสนิทไม่ฝัน ลักษณะทั้ง 4 อย่างเป็นช่วงที่มีกิริยาอาการย่อมไม่รู้ตัวมากก่อนหรือไม่รู้สึกตัวหมายถึงเป็นภาวะที่จิตอยู่ในช่วงการตกลงสู่ภวังค์ในกระแสจิตนั้นเอง
จะเห็นได้ว่าบ่อเกิดของภวังคจิตจะเกิดจากกระแสวิถีจิต นั้นหมายความว่าถ้ากระแสวิถีจิตมีการดับลงเกิดขึ้น การเก็บสั่งสมอารมณ์ของภวังคจิตก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน
กระบวนการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต โดยธรรมชาติแล้วภวังคจิตจะมีกระบวนการรับรู้อามรณ์อยู่ 2 ลักาณะคือ ลักษณะการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต และภาวะการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต
ลักษณะการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต
อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่รับรู้โดยทางอายตนะ ภายในคือ ตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้เกิดรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมมารมณ์ ที่เรียกรวมกันว่าอายตนะภายนอก
อารมณ์หมายถึง สิ่งที่จิตรับรู้และสิ่งที่ "ถูกจิตรู้" จิตเป็นผู้รู้ ส่วนอารมณ์เป็นตัวถูกรู้
อารมณ์ คือ สิ่งที่เป็นที่ยึดหน่วงของจิตและเจตสิกหรือเป็นสิ่งที่ยินดีของจิตและเจตสิกคืออารมณ์ 6
ส่วนหนึ่งจากวิทยานิพนธ์ "การศึกษาเปรียบเที่ยภวังคจิตของพุทธปรัชญาเถรวาทกับจิตใต้สำนึกของซิกมันด์ ฟรอยด์"
- ภาวะเดิมของจิตผ่องใน แต่เศร้าหมองเพราะกิเลสต่าง ๆ
- ภาวะของจิตขณะที่รับอารมณ์ไม่คงที่ เปลี่ยนอารมณ์อยู่เสมอ
- จิตไม่มีรูปร่าง การเกิดของจิตเป็นที่ละขณะเมื่อถึงคราวดับก็ดับไปที่ละขณะ จิตสามารถรับอารมณ์แม้จะอยู่ในที่ไกล อาศัยอยุ่ในเรื่อนกายมนุษย์และสัตว์
ความหมายของจิต สิ่งที่วิจิตรทั้งหลายในโลก เกิดขึ้นเพราะอาศัยจิตต้นคิด ตัวจิตเองเป็นธรรมชาติอันวิจิตรรวมอยุ่ด้วย ภูมิ อารมณ์ ทั้งที่เลว ประณีต และปานกลาง มีวิบาก(กรรมและกิเลสที่เก็บสังสมไว้ )พฤติกรรมต่างๆ ซึ่งเก็บสังสมไว้คือสันดานของตนและเกิดขึ้นเป็นวิถีจิต จิตนั้นรับอารมณ์มากมายไม่มีที่สิ้นสุด จิตจะเว้นจากอารมณ์ไม่ได้
ลักษณะของจิตแบ่งออกเป็น
- จิตเป็นสภาพธรรมที่รุ้แจ้งอารมณ์
- จิตสั่งสมสันดานของตนด้วยการเสพอารมณ์
- จิตเป็นสภาพธรรมอันประกอบด้วยกิเลสสั่งสมวิบากผล
- จิตทุกดวงเป็นธรรมชาติวิจิตร
หน้าที่ของจิต
- ทำหน้าที่สืบต่อภพ จากอดีตภพเรียกว่ ปฏิสนธิจิต(เกิด)
- ทำหน้าทีรักษาภพของบุคคล เช่น เกิดปฏิสนธิจิตมาด้วจิตใดก็ไห้จิตนั้นเป็นไปตลอดชีวิตในภพหนึ่ง เรียกว่า ภวังคจิต
- ทำหน้าท่ีพิจารณาอารมณ์จากทวารทั้ง 6 เรียกว่า
- ทำหน้าที่เห็นรูป
- ทำหน้าที่ได้ยินเสียง
- ทำหน้าที่ดมกลิ่น
- ทำหน้าที่ลิ้มรส
- ทำหน้าที่สัมผัสทางกาย
- ทำหน้าที่รับอารมณ์ทั้ง 6
- จิตที่ทำหน้าที่ตรจสอบอารมณ์ทั้ง 6
- ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์
- ทำหน้าที่เสพอารมณ์
- ทำหน้าที่ยึดหน่วงอารมณ์
- ทำหน้าที่เคลื่อนจากภพ จากปัจจุบัน จุติจิต
จากลัดษณะหน้าที่ของจิต โดยปกติจิตจะอยู่ภายใน10 ฐาน แต่จะกล่าวเพียง 3 ฐาน คือ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิต ทั้ง 3 ฐานเป็นจิตที่พ้นวิถีจิตที่ทำหน้าที่ไม่รับอารมณ์จากภายนอก ซึ่งมีปฏิสนธิ ภวัคจิต และจุติจิต จะมีหน้าที่เกี่ยวสัมพันธ์กันหรือทำงานร่วมกันกับภวัคจิตในการสืบต่อดังนี้
ปฏิสนธิจิต เป็นจิตที่ทำหน้าที่สืบต่อภพมีอยู่ 1 ฐาน คือปฏิสนธิจิตจะอยู่ระหว่างจุติจิต(ดับ)กับภวังคจิตผเก็บสั่งสมกรรมเก่า)
ภวังคจิต เป็นจิตที่ทำหน้าที่รักษาภพการเกิดในภพปัจจุบันหรือภพใหม่ ของบุคคลให้เป็นไปโดยำม่ให้เป็นอย่างอื่น
จุติจิตเป็นจิตที่ทำหน้าที่เคลื่อนจากภพหรือการดับของจิตมีอยู่ฐานคือ
ระหว่างเสพอารมณ์กับสืบต่อภพใหม่, ระหว่างรับอารมณ์ต่อจากชวนจิตกับสือต่อภพใหม่และระหว่างรักษาภพชาติกับสืบต่อภพใหม่
ภวังคจิต คือจิตขณะหนึ่งในจำนวน 17 ขณะที่จัดเป็นปกติจิตหรือปกติมโนธรรมชาติเป็นอัพยากฟต คือไม่เป้นบุญไม่เป็นบาป หรือไม่เป็นผลของอะไร แต่มีบทบาทสำคัญในฐานะเป้นองค์ของธรรมชาติหรือเป้นที่เก็บสังสมนิสัยสันดาน
ภวังคจิตแม้จะเกิดติดต่อนับไม่ถ้วย แต่ขณะที่จิตรับอารมณ์มีภวังคจิตเกิดขึ้นเพียง 2 ขณะ(ดวง)เท่านั้น คือ ขณะก่อนรับอารมณ์และขณะที่รับอารมณ์เสร็จแล้ว และมีอีนัยหนึ่งคือ มนะ(ใจปภายในมดนทวาร)
ภวังคจิต คือจิตที่ทำหน้าที่รักษาองค์ของภพ หมายถึง รักษากรรมวิบากของรูปนามสืบต่อจากปติสนธิวิบากจิต และปฏิสนธิกรรมรูปให้ดำรงอยู่ในภพนั้น ๆตราบเท่าอำนาจของกรรมที่ทำให้เกิด จะส่งผลให้เป็นไปเท่าอายุสังขารที่ดำรง
อยู่ได้ ..
บ่อเกิด
ภวังคจิตจะเก็บสั่งสมอารมณ์ หรือเจตนาของอารมณ์ไว้และสืบต่อสู่วิถีจิต ทวารทั้ง 6 คือวิถีจิตรับอารมณ์แล้วภวังคจิตซึ่งเหมือนคลังพัสดุจะเก็บอารมณ์ต่าง ๆ ไว้ที่ผ่านช่องทวารทั้ง 6 แดนภวังคจิตนี้เป็นจิตที่นอนนิ่งอยุ่ในบ้านของตนที่เป็นศูนย์กลางรับผลการกระทำของวิถีจิต จะไม่ข้ึนสุ่วิถีจิตรับอารมณ์ภายนอกใดๆ ทั้งสิ้นเพราะมีกำลังอ่อนแต่จะเกิดดับรับอารมณ์อยู่ภายในอย่างปกติ
ภวังคจิตที่อยู่ในแดนมโนทวาร คือ ภวังคจิตขึ้นสู่วิถีจิต แต่ยังไม่ได้ออกมารับอารมณ์ภายนอก(วิถีจิต)ซึ่งจะมารับอารมณ์ภายในแดนมโนทวาร ธรรมารมณ์ อาการเย่างนี้จะเกิดมโนภาพและจิตนาการต่างๆที่ภวังคจิตเก็บสั่งสมไว้ในนโมทวาร ภวังคจิตที่ทำให้บุคคลเกิดความคิดคำนึงถึงอดีต หรือคิดนึกอย่างลึกซึ้งในอนาคต และเกิดความคิดนึกในขณะทำสมาธิ เป็นต้นหรือมีพฤติกรรมแสดงออกในชีวิตประจำวัน
ภวังคจิตที่ตื่นจากภวังค์ออกมาแสดงพหติกรรทมี่ภวังคจิตเก็บสั่งสมไว้จากทางทวารทั้ง 5 คือ ตา หู จมุก ลิ้น กาย เมือ่ภวังคิตมีกำลังมากหรือมีเตนามากก็จะแสดงพฟติกรรมออกจากทวารทั้ง 5 ภวังคจิตจะอยู่ในภาวะตื่นเต็มที่ เรียกว่า วิถีจิตทำให้ไม่รู้สึกตัวในการแสดงพฤติกรรมอะไรไปตามที่ภวังคจิตได้เก็บสั่งสมไว้ภายในที่จะพบมี 4 ประเด็น คือ ช่วงรอยต่อก่อนหลับ, ช่วงรอยต่อก่อนตื่น, ระหว่างเข้าถึงอัปปนาสมาธิ, เวลาหลับสนิทไม่ฝัน ลักษณะทั้ง 4 อย่างเป็นช่วงที่มีกิริยาอาการย่อมไม่รู้ตัวมากก่อนหรือไม่รู้สึกตัวหมายถึงเป็นภาวะที่จิตอยู่ในช่วงการตกลงสู่ภวังค์ในกระแสจิตนั้นเอง
จะเห็นได้ว่าบ่อเกิดของภวังคจิตจะเกิดจากกระแสวิถีจิต นั้นหมายความว่าถ้ากระแสวิถีจิตมีการดับลงเกิดขึ้น การเก็บสั่งสมอารมณ์ของภวังคจิตก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน
กระบวนการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต โดยธรรมชาติแล้วภวังคจิตจะมีกระบวนการรับรู้อามรณ์อยู่ 2 ลักาณะคือ ลักษณะการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต และภาวะการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต
ลักษณะการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต
อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่รับรู้โดยทางอายตนะ ภายในคือ ตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้เกิดรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมมารมณ์ ที่เรียกรวมกันว่าอายตนะภายนอก
อารมณ์หมายถึง สิ่งที่จิตรับรู้และสิ่งที่ "ถูกจิตรู้" จิตเป็นผู้รู้ ส่วนอารมณ์เป็นตัวถูกรู้
อารมณ์ คือ สิ่งที่เป็นที่ยึดหน่วงของจิตและเจตสิกหรือเป็นสิ่งที่ยินดีของจิตและเจตสิกคืออารมณ์ 6
ส่วนหนึ่งจากวิทยานิพนธ์ "การศึกษาเปรียบเที่ยภวังคจิตของพุทธปรัชญาเถรวาทกับจิตใต้สำนึกของซิกมันด์ ฟรอยด์"
วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
Life Continuum
ภวังคจิต ภวังคะ หรือ ภะ-วัง-คะ ภว+องฺคะ แปลตามพยัญชนะว่า "องค์ของภพ" มักใช้รวมกับจิต เป็นภวังคจิต ในทางพระพุทธศาสนา ถือว่า จิตมีลักษณะเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการสืบต่อสันตติของจิต ย่อมอาศัยการถ่ายทอดข้อมูลจากภวังคจิตจิตดวงเดิม ไปสู่จิตดวงใหม่ ด้วยกระบวนการของการทำงานของภวังคจิต เพราะเหตุว่าภวังคจิตเป็นเหตุให้สร้างจิตดวงใหม่ตลอดเวลาก่อนจิตดวงเก่าจะดับไป จึงชื่อว่าเป็นเหตุแห่ง "ภพ" หรือเป็นเหตุสร้าง"ภพ"
จิต ในทางศาสนาพุทธแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ 1.วิถีจิต จิตสำนึก 2.ภวังคจิต จิตใต้สำนึก
ภวังคจิต คือจิตใต้สำนึกในทางศาสนาพุทธหมายถึงเป็นกระบวนการทำงานแบบอัตตโนมัติของจิต จิตใต้สำนึกในความหมายของภวังคจิตนี้จึงอาจแตกต่างจากทางจิตวิทยา
ภวังคจิต มี 3 อย่าง คือ
- ภวังคบาท คือภวังคจิตที่ทรงอารมณ์เก่า อันเป็นอารมณ์ที่ได้มาจากภพหรือจิตดวงก่อน และกำลังกระทบอารมณ์ใหม่
- ภวังคจลนะ คือ เป็นภวังคจิตที่ไหวตัว เพราะเหตุที่มีอารมณ์ใหม่ มากระทบ จึงน้อมไปในอารมณ์ใหม่(สร้างและถ่ายทอดข้อมูลสู่จิตดวงใหม่)
- ภวังคปัจเฉทะ คือเป็นภวังคจิตที่ตัดกระแสภวังค คือ ปล่อยอารมณ์เก่า วางอารมณ์เก่า เพื่อรับอยู่กับอารมณ์ใหม่หรือจิตดวงใหม่
ภวังคจิต เป็น วิบากจิต คือ จิตใต้สำนึกส่วนลึกที่สุดของจิตเป็นที่สั่งสมอารมณ์จนกลายเป็นอุปนิสัย
ภวังคจิต จะเกิดคั่นระหว่างวิถีจิตในแต่ละวาระ ทำหน้าที่สืบต่อและดำรงภพชาติ
ภวังคจิต จะเกิดขึ้นเมื่อวิถีจิตดับ และเมื่อเกิดวิถีจิตภวังคจิตจะดับลง เมื่อวิถีจิตดับลงภวังคจิตจะเกิดขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่มีภวังคจิต พอขาดวิถีจิต จิตจะไม่มีการสืบต่อสันตติก็เท่ากับสิ้นชีวิต
ภวังคจิต ในขณะที่เปลี่ยนภพจุติใหม่สู่ชาติใหม่ จะใช้ชื่อว่า ปฏิสนธิจิตแทน ซึ่งเป็นขณะจิตแรกของแต่ละชาติ ภวังคจิตจึงสืบต่อภพในระดับเปลี่ยนชาติด้วย
ภวังคจิต คือมโนทวารเป็นอายตนะที่ ๖ อันเป็นวิบาก เป็นอัพยากฤต ซึ่งเป็นจิตตามสภาพปกติ เมื่อยังไม่ขึ้นสู่วิถีจิตรับรู้อารมณ์ จะเป็นเพียงมโน ยังไม่เป็นมโนวิญญาณ เมื่อรับอารมณ์คือเจตสิก จะกลายเป็นมโนวิญญาณ
มีพุทธพจน์ว่า “จิตนี้ประภัสสร (ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา" จิตที่ประภัสสรในที่นี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่าหมายถึงภวังคจิต
ภวังคจิต หมายถึง เป็นชื่อเรียกจิตขณะหนึ่งใน 17 ขณะ ภวังคจิต คือปกติจิตมีธรรมชาติเป็นอัพยากฤตมีบทบาทสำคัญ คือเป็นฐานแห่งองค์ภพชาติหรือเก็บสั่งสมสันดาน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือจิตที่ไม่ได้ขึ้นวิถีรับอารมณ์ แต่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา มีหน้าที่รักษาปัจจุบันรูปนามให้คงอยู่ไปจนถึงอายุขัย เช่น ขณะที่นอหลับสนิ และไม่ฝันเป็นต้น และรวบตวมกรรม(การกระทำ) ที่ยังไม่ได้ให้ผลเก็บไว้แผงอยู่ในภวังคจิตและปล่อยสู่วิถีจิตต่อไป
จิตใต้สำนึก หมายถึง ภาวะของจิตที่ไม่อาจรู้สึกได้เพราะอยู่ในส่วนของจิตหรือความรู้สึกนึกคิดหรือุปนิสัยใจคอที่ฝังอยู่ในส่วนของจิตมาแต่เกิด (คำว่าจิตใต้สำนึกนี้เป็นศัพท์ที่นักจิตวิทยารุ่นใหม่นิยมกัน)
จิตไร้สำนึก หมายถึงความคิด ความรู้สึก และแรงผลักดันซึ่งถูกกดเก็บไว้ภายในจิตใจโดยไม่รู้ตัว แม้จะพยามนึกอย่างไรก็นึกไม่ออก(ซิกมัน ฟรอยด์ใช้ควำว่าจิตไร้สำนึก)
จิตสำนึก หมายถึง ภาวะที่จิตตื่อนและรู้ตัวสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากประสาทสัมผัสทั้ง 6 คือ รุป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่สัมผัสได้ทางกาย และธรรมมารมณ์อยู่ตลอดเวลา
จิตกึ่งสำนึก หรือจิตก่อนสำนึก หมายถึง เป็นกระบวนทางจิตที่มีได้อยู่ในระดับจิตสำนึก คือภาวะจิตไม่ค่อยรู้สึกตัวเมือปลุกอาจรู้สึกตัวดีขึ้นแต่ไม่รู้ตัวเต็มที่และพร้อมที่คืนสู่ระดับจิตนี้ได้โดยอาศัยความพยายามเพียงเล็กน้อย
ภวังคจิต การเข้าใจเรื่องภวังคจิตของพุทธปรัชญาเถรวาทจะต้องมีความรู้พื้นฐานเรื่องจิตในพุทธปรชญาเถรวาท เพราะภวังคจิตก็อยู่ในกระแสจิตที่มีกระบวนการเกิดดับอยู่ 17 ขณะจิต หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือภวังคจิตอยู่ในกระแสจิตที่มีการเกิดดับ ๆ โดยหนึ่งกระแสจิตจะมีองค์ประกอบการทำงานที่แตกต่างกันตามลักษณะหมายถึง จิตหนึ่งกระแสจะมีองค์แระกอบการทำงายอยู่ 4 อย่าง คือ ปฏิสนธิจิต ภวัคจิต จุติจิต วิถีจิต เรียกกระบวนการทั้งหมดนี้ว่าจิต ดังที่คำกล่าวไว้ว่า "ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิต ก็เป็นอย่างเดียวกันนั้นเอง และมีอารมณ์อย่งเดียวกัน ในชาติหนึ่งเหมือนอย่างนั้แล ในทางอภิธรรมของพุทธปรัชญาเถรวาท ได้มีการแบ่งจิตออกไว้ 89 ดวง คำว่าจิตในถุทธปรัชญาเถรวาทนั้นจะประกอบไปด้วยเจตสิกอยู่ด้วยเสมอ จิตและเจตสักเป็นนามธรรมโดยที่จิตจะเป็นประธานในการับรู้อารมณ์ ส่นเจตสิกมีหน้าที่ในการเกิดร่วมกับจิตโดยการปรุงแต่งจิตให้มีอามณ์เป็นไปต่าง ๆ ซึ่งจะมีอาการของเจตสิกหรือลักษณะของเจตสิกอยู่ 4 ประการ คือ เกิดพร้อมกับจิตหนึ่ง ดับพร้อมกับจิตหนึ่ง มีอามร์เดียวกับจิตหนึ่ง อาศัยอยู่ในสถานที่เดียวกับจิตหนึ่ง จะเห็นได้ว่าจิตมิได้เกิดขึ้นเพียงลำพังแต่เป็นธรรมชาติของจิตที่มีเตจสิกเข้ามาประกอบ่าวมด้วยเสมอๆ ที่จะทำให้จิตมีความสามารถจะรับรู้อารมณ์ได้ยอ่างละเอียดประณต หรือสามารถที่จะแบ่งแยกอารมณ์ต่างๆ ออกได้ โดยปกติจิตจะสามารถบังคับควบคุมเจตสิกได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...