วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

change

      นักคิดในสมัยโบราณให้ความสนใจอย่างมากเกี่ยกับเรื่องของการเปลี่ยนแปลง เป้นที่ประจักษ์แล้วว่า ในเวลาที่หมุนเวียนไป ทุกสิ่งในโลกจะมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอแนวควาคิดของนักปรัชญาโบราณพยายามที่จะศึกษาถึงความจริงข้อนี้ โดยกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นกับทุกสิ่ง
       ในปัจจุบันไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีสภาพมั่นคง ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา สังคมและวัฒนธรรมก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ไม่มีสงคมและวัฒนธรรมใดหยุดอยู่กับที่่โดยแท้จริงตลอดเวลา มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ อันเป็นลักษณะธรรมดาของสังคมมนุษย์
       การเปลี่ยนแปลงจะเกี่ยวข้องหรือขึ้นอยู่กับเวลาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเวลาในรูปใด แม้แต่เวลาที่นับการครบรอบเหตุการ์หนึ่ง เช่นฤดูกาล ลักษณะหรือสถานภาพของสิ่งนั้นจะแตกต่างไปจากเดิมที่เป็นอยู่ โดยอาศัยองค์ประกอบด้านเวลาเป็นหลัก ในสังคมมีเหตุการร์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่สองอย่างคือ การเกิดและการตาย แต่กระบวนการตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องกันโดยอาศัยเวลาเป็นเครื่องกำหนด
   
        อนิจจลักษณะ คือ เครื่องกำหนดขันธ์ 5 ทั้งหมดซึ่งเป็นตัวอนิจจัง อนิจจัง หมายถึง ขันธ์ 5 ทั้งหมด เป็นปรมัตถ์ เป็นสภาวะธรรม มีอยู่จริง และเป็นชื่อหนึ่งของขันธ์ 5
        อนิจจลักษณะทำให้เราทราบได้ว่ขชันธ์ 5 เป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ซึ่งได้แก่ อาการความเปลี่ยนแปลง
         บางตอนจาก วิสุทธิมรรค
         ก็ลักษณะทั้งหลายยอมไม่ปรากฎ เพราะอะไรปิดบังไว้ เหตุไม่มนสิการถึงอะไร.. อับดับแรก อนิจจลักษณะไม่ปรากฎ เพราะถูกสัตติปิดบังไว้เหตุไม่มนสิการถึงความเกิดขึ้น และความเสื่อไป ทุกขงักษณไม่ปรากฏเพราะถูกอิริยาลปิดบังไว้ เหตุไม่มนสิการถึงความถูกบีบคั้นอยู่เนืองๆ อนัตตลักาณะไม่ปรากฏเพราะถูกฆนะ(กลุ่มก้อน) ปิดบังไว้ เหตุไม่มนสิการถึงความแยกจากกันไ้ดแห่งธาตุต่าง ๆ ต่อเมือสันตติถูกทำให้ยกเลิกไป เพราะกำหนดจากความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปได้ อนจจลักษณะจึงปรากฎตามสภาพที่เป็นจริงได้ เมื่ออิริยาบทถูกเพิกเพราะมนสิการถึงความถูกบีบคั้นอยู่เนืองๆ ทุกขลักษณะจึงปรากฎตามสภาพที่เป็นจริงได้ เมื่อทำฆนวินิพโภค(ย่อมก้อนออก) ได้เพราะปยกธาตุต่างๆ ออกอนัตตลักษณะจึงปรากฎจึงปรากฎตามสภาพที่เป็นจริง....

        สังคมวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลง
        การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ของสังคม และในสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบความสัมพันธ์ของบุคคล ที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็ฯพวกเดียวกัน และการเปลี่ยนแปลงประเภทที่กล่าวนี้ เกิดขึ้นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงในกรอบกำหนดขอบเขตสิทธิและหน้าที่ ที่บุคคลจะปฏิบัติต่อกันได้จากที่เคยกำหนดกันอยู่ก่อน

        สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทั้งในระดับ จุลภาค และระดับ มหาภาคจากหนังสือ "ฝูงชนผุ้เปล่าเปลี่ยว" ของศาสตราจารย์ เดวิด ริสแมน ซึ่งเขียนร่วมกับ นาทาร์น แกลเซอร์ และ โรลแนล เดนนี่ได้บรรยายถึงการเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยหรือลักษณะนิสัยหรือลักษณะประจำาติของชาวอเมริกัน ดดยถือว่ามีส่วนสัมพันธ์กับสภาวะทางประชากรศาสตร์ ตามทัศนะของศาสตราจารย์ริสแมน สังคมที่ภวะเกี่ยวกับประชากรสามประเภทคือ มีการขยายตัวมาก ประชากรขยังขึ้นสูงระยะหนึ่ง และเริ่มทีอัตราการเพิ่มขยายตัวลดน้อยลง
       สังคมสามยุค ได้แก่ สังคมประเพณีนำ เกิดขึ้นในช่วงที่ประชากกรมีโอกาสขยายตัวมาก, สังคมสำนึกนำ สังคมประเภทนี้มีประชากรซึ่งขยับตัวสูงขึ้นระยะหนึ่ง และยึดถือหลักการเป้นแนวทางแห่งชีวิตมีขึ้นในยุโรปพร้อมกับการฝื้นูทางวัฒนธรรม(เรอแนสซอง)การปกิรูปทางศาสนา การขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม ความเจริญทางเทคโนโลยี การมีสินค้าและตลาดมากยิ่งข้ึน การสำรวจการแสวงหาหาอาณานิคม และการใช้ระบบจักรวรรดินิยมมากยิ่งขึ้น, สังคมผู้นำ
       กลไกที่ควบคุมพฤติกรรมในสังคมประเภทต่างๆ ในระบบ "ประเพณีนำ" หรือ "ธรรมเนียมบัญชา" กลไกที่ควบคุมให้คนในสังคมอยู่ในกรอบ ได้แก่ ความรู้สึก "ละอาย" ต่อผุ้ใหญ่ ต่อวงศาคณาญาติ หรือต่อบรรพบุรุษ ในระบบ "สำนึกนำ" หามีการทำผิดจุดประสงค์หรือหลักการที่วางไว้ จะเกิดความรู้สึกทำนอง หิริ โอตตับปะ หรือมีความ "รู้สึกผิด" หรือสำนึกผิด ความสำนึกผิดเป็นความรู้สึกซึ่งประทุอยู่ในจิตใจ ทั้ง ๆ ที่ผู้อื่นอาจมองไม่เห็นหรือไม่ทราบเลย ผุ้มี "สำนึกนำ" หรือ "ผุ้ร่วมสมัยนำ" กลไกที่บังคับให้ทำตามผู้อื่นอยู่เสมอ คือ ความกระวนกระวายใจ โดยคอนึกกังวลว่าจะล้าสมัย และเกรงว่าจะถูกเยาะเย้ยว่าเชยเป็นต้น
       การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม วัฒนะรรมมีลักษณะที่ไม่อยู่นิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมหากเป็นไปอย่างช้าๆ เรียกว่า สตาติค ถ้าเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เรียกว่า ไดดามิค การเปลี่ยนแปลในด้านนี้ เช่น ภาษา มารมีการคิดค้นคำใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงแนวความคิด กฎเกณฑ์ ศีลธรรม จรรยา รูปแบบของดนตรี ศิลป ความเสมอภาคของชายและหญิง ...
       การเปลียนแปลงทางวัฒนธรรม ขึ้นอยู่กับการเลือกปฏิบัติของคนในสังคม ความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมในอุดคติ และที่ปกิบัติกันจริง ๆ ย่อมปรากฎให้เห็นได้ชัดในกาเลือปฏิบัติของคนในสังคม แต่โดยที่การปฏิบัติจริงกลับมีแนวโน้มที่จะรับเอาวัตถุนิยมหรือเพ่งเล็งค่านิยมในทางเศรษษฐกิจมากว่า เมื่อการปฏิบัติของคนในสังคม แต่โดยที่การปฏิบัติจริงกลับมีแนวโน้มที่จะรับเอาวัตถุนิยมหรือเพ่งเล็งค่านิยมในทางเศรษฐกิจมากว่า เมื่อการปฏิบัติมีแนวโน้มที่แยกออกจาด้านอุดมคติมากขึ้น วัฒนธรรมยิ่งเปลี่ยนแปลงมากขึ้นไปอีก ทั้งนี้เพราะ การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ หรือทางอุดมคติ แม้จะเป็นเรื่องที่เห็นได้ยากแต่ก็มีผลลึกซึ้งต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมมากเพราะเมื่อใดก็ตามที่ความคิดของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป เมื่อนั้นย่อมมีการเปลี่ยนแปลงในด้านพฟติกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เนื่องจากวัฒนธรรมที่แท้จริงนั้นเป็นการเลือกปฏิบัติของคนในสังคม
       วัฒนธรรมย่อมไม่อยู่คงที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ถ้ายังยึดมั่นอยู่ในสิ่งเดิมโดยไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ก็จะไม่มีความสามารถในการริเริ่มสร้างความก้าวหน้าให้แก่วัฒนธรรม เพราะสิ่งใดถ้าอยู่คงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงนานมากเกินไป สิ่งนั้นจะรัดตัวแข็.กระด้าง และเข้าไม่ได้กับเหตุการณ์ปรือสิ่งแวดล้อมใหม่ ก็จะสลายตัวลงถ้าต้านทานเหตุการณ์ใหม่ไม่อยู่ การเปลี่ยนแปลงนี้เองที่ทำให้วัฒนธรรมในสังคมนั้นยังคงมีอยุ่ได้ แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงนั้นทำไปโดยรวดเร็วก็จะเปลี่ยนบุคลิกลักษณะของวัฒนธรรมนั้น หมดเอกลักษณ์ของตัวเอง การมีวัฒนธรรมจะมีความเจริญงอกงามได้ ก็ต้องมีหลักในการเปลี่ยนแปลง คือ ต้องมีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่ในขณะเดียวกันก็จะต้องมีเสถียรภาพอยู่ด้วย ไม่เช่นนั้นความเจริญก้าวหน้าของวัฒนธรรมก็จะมีขึ้นไม่ได้ การเปล่ียนแปลงใดๆ ก็ตามในวัฒนธรรม จึงควรยึดหลักของขงจื้อที่ว่า "สิ่งเก่าไม่ใช่จะดีเสมอไป และสิ่งใหม่ก็ไม่ใใช่ว่าจะไใ่ดีเสมอไป ผู้มีปรีชาญาณย่อมรู้จักเลือเฟ้นเมื่อได้ทดลองชิมดูแล้ว"
       การต่อต้านและการยอมรับการเปลี่ยนแปลงสังคม วัฒนธรรมใหม่ไม่ใช่ว่าจะได้รับการยอมรับจากสังคมเสมอไป กระบวนการการยอมรับสิ่งใหม่ ๆ บางครั้งสิ่งนั้นจะถุกยอมรับทั้งหมด และบางอย่างอาจต้องใช้เวลาในการยอมรับบางอย่างอาจถูกปฏิเสธไปเลย และบางอย่างอาจยอมรับเพียงบางส่วน การยอมับสิ่งใหม่ไม่ได้เป็นไปโดยอัตโนมัติจะต้องมีการเลือกสรร ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละสังคม


       
     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...