วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Life Continuum

ภวังคจิต ภวังคะ หรือ ภะ-วัง-คะ ภว+องฺคะ แปลตามพยัญชนะว่า "องค์ของภพ" มักใช้รวมกับจิต เป็นภวังคจิต ในทางพระพุทธศาสนา ถือว่า จิตมีลักษณะเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการสืบต่อสันตติของจิต ย่อมอาศัยการถ่ายทอดข้อมูลจากภวังคจิตจิตดวงเดิม ไปสู่จิตดวงใหม่ ด้วยกระบวนการของการทำงานของภวังคจิต เพราะเหตุว่าภวังคจิตเป็นเหตุให้สร้างจิตดวงใหม่ตลอดเวลาก่อนจิตดวงเก่าจะดับไป จึงชื่อว่าเป็นเหตุแห่ง "ภพ" หรือเป็นเหตุสร้าง"ภพ"
จิต ในทางศาสนาพุทธแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ 1.วิถีจิต จิตสำนึก 2.ภวังคจิต จิตใต้สำนึก
ภวังคจิต คือจิตใต้สำนึกในทางศาสนาพุทธหมายถึงเป็นกระบวนการทำงานแบบอัตตโนมัติของจิต จิตใต้สำนึกในความหมายของภวังคจิตนี้จึงอาจแตกต่างจากทางจิตวิทยา
ภวังคจิต มี 3 อย่าง คือ
  1. ภวังคบาท คือภวังคจิตที่ทรงอารมณ์เก่า อันเป็นอารมณ์ที่ได้มาจากภพหรือจิตดวงก่อน และกำลังกระทบอารมณ์ใหม่
  2. ภวังคจลนะ คือ เป็นภวังคจิตที่ไหวตัว เพราะเหตุที่มีอารมณ์ใหม่ มากระทบ จึงน้อมไปในอารมณ์ใหม่(สร้างและถ่ายทอดข้อมูลสู่จิตดวงใหม่)
  3. ภวังคปัจเฉทะ คือเป็นภวังคจิตที่ตัดกระแสภวังค คือ ปล่อยอารมณ์เก่า วางอารมณ์เก่า เพื่อรับอยู่กับอารมณ์ใหม่หรือจิตดวงใหม่
ภวังคจิต เป็น วิบากจิต คือ จิตใต้สำนึกส่วนลึกที่สุดของจิตเป็นที่สั่งสมอารมณ์จนกลายเป็นอุปนิสัย
ภวังคจิต จะเกิดคั่นระหว่างวิถีจิตในแต่ละวาระ ทำหน้าที่สืบต่อและดำรงภพชาติ
ภวังคจิต จะเกิดขึ้นเมื่อวิถีจิตดับ และเมื่อเกิดวิถีจิตภวังคจิตจะดับลง เมื่อวิถีจิตดับลงภวังคจิตจะเกิดขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่มีภวังคจิต พอขาดวิถีจิต จิตจะไม่มีการสืบต่อสันตติก็เท่ากับสิ้นชีวิต
ภวังคจิต ในขณะที่เปลี่ยนภพจุติใหม่สู่ชาติใหม่ จะใช้ชื่อว่า ปฏิสนธิจิตแทน ซึ่งเป็นขณะจิตแรกของแต่ละชาติ ภวังคจิตจึงสืบต่อภพในระดับเปลี่ยนชาติด้วย
ภวังคจิต คือมโนทวารเป็นอายตนะที่ ๖ อันเป็นวิบาก เป็นอัพยากฤต ซึ่งเป็นจิตตามสภาพปกติ เมื่อยังไม่ขึ้นสู่วิถีจิตรับรู้อารมณ์ จะเป็นเพียงมโน ยังไม่เป็นมโนวิญญาณ เมื่อรับอารมณ์คือเจตสิก จะกลายเป็นมโนวิญญาณ
มีพุทธพจน์ว่า “จิตนี้ประภัสสร (ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา" จิตที่ประภัสสรในที่นี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่าหมายถึงภวังคจิต

     
      ภวังคจิต หมายถึง เป็นชื่อเรียกจิตขณะหนึ่งใน 17 ขณะ ภวังคจิต คือปกติจิตมีธรรมชาติเป็นอัพยากฤตมีบทบาทสำคัญ คือเป็นฐานแห่งองค์ภพชาติหรือเก็บสั่งสมสันดาน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือจิตที่ไม่ได้ขึ้นวิถีรับอารมณ์ แต่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา มีหน้าที่รักษาปัจจุบันรูปนามให้คงอยู่ไปจนถึงอายุขัย เช่น ขณะที่นอหลับสนิ และไม่ฝันเป็นต้น และรวบตวมกรรม(การกระทำ) ที่ยังไม่ได้ให้ผลเก็บไว้แผงอยู่ในภวังคจิตและปล่อยสู่วิถีจิตต่อไป
      จิตใต้สำนึก หมายถึง ภาวะของจิตที่ไม่อาจรู้สึกได้เพราะอยู่ในส่วนของจิตหรือความรู้สึกนึกคิดหรือุปนิสัยใจคอที่ฝังอยู่ในส่วนของจิตมาแต่เกิด (คำว่าจิตใต้สำนึกนี้เป็นศัพท์ที่นักจิตวิทยารุ่นใหม่นิยมกัน)
      จิตไร้สำนึก หมายถึงความคิด ความรู้สึก และแรงผลักดันซึ่งถูกกดเก็บไว้ภายในจิตใจโดยไม่รู้ตัว แม้จะพยามนึกอย่างไรก็นึกไม่ออก(ซิกมัน ฟรอยด์ใช้ควำว่าจิตไร้สำนึก)
       จิตสำนึก หมายถึง ภาวะที่จิตตื่อนและรู้ตัวสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากประสาทสัมผัสทั้ง 6 คือ รุป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่สัมผัสได้ทางกาย และธรรมมารมณ์อยู่ตลอดเวลา
      จิตกึ่งสำนึก หรือจิตก่อนสำนึก หมายถึง เป็นกระบวนทางจิตที่มีได้อยู่ในระดับจิตสำนึก คือภาวะจิตไม่ค่อยรู้สึกตัวเมือปลุกอาจรู้สึกตัวดีขึ้นแต่ไม่รู้ตัวเต็มที่และพร้อมที่คืนสู่ระดับจิตนี้ได้โดยอาศัยความพยายามเพียงเล็กน้อย

      ภวังคจิต การเข้าใจเรื่องภวังคจิตของพุทธปรัชญาเถรวาทจะต้องมีความรู้พื้นฐานเรื่องจิตในพุทธปรชญาเถรวาท เพราะภวังคจิตก็อยู่ในกระแสจิตที่มีกระบวนการเกิดดับอยู่ 17 ขณะจิต หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือภวังคจิตอยู่ในกระแสจิตที่มีการเกิดดับ ๆ โดยหนึ่งกระแสจิตจะมีองค์ประกอบการทำงานที่แตกต่างกันตามลักษณะหมายถึง จิตหนึ่งกระแสจะมีองค์แระกอบการทำงายอยู่ 4 อย่าง คือ ปฏิสนธิจิต ภวัคจิต จุติจิต วิถีจิต เรียกกระบวนการทั้งหมดนี้ว่าจิต ดังที่คำกล่าวไว้ว่า "ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิต ก็เป็นอย่างเดียวกันนั้นเอง และมีอารมณ์อย่งเดียวกัน ในชาติหนึ่งเหมือนอย่างนั้แล ในทางอภิธรรมของพุทธปรัชญาเถรวาท ได้มีการแบ่งจิตออกไว้ 89 ดวง คำว่าจิตในถุทธปรัชญาเถรวาทนั้นจะประกอบไปด้วยเจตสิกอยู่ด้วยเสมอ จิตและเจตสักเป็นนามธรรมโดยที่จิตจะเป็นประธานในการับรู้อารมณ์ ส่นเจตสิกมีหน้าที่ในการเกิดร่วมกับจิตโดยการปรุงแต่งจิตให้มีอามณ์เป็นไปต่าง ๆ ซึ่งจะมีอาการของเจตสิกหรือลักษณะของเจตสิกอยู่ 4 ประการ คือ เกิดพร้อมกับจิตหนึ่ง ดับพร้อมกับจิตหนึ่ง มีอามร์เดียวกับจิตหนึ่ง อาศัยอยู่ในสถานที่เดียวกับจิตหนึ่ง จะเห็นได้ว่าจิตมิได้เกิดขึ้นเพียงลำพังแต่เป็นธรรมชาติของจิตที่มีเตจสิกเข้ามาประกอบ่าวมด้วยเสมอๆ ที่จะทำให้จิตมีความสามารถจะรับรู้อารมณ์ได้ยอ่างละเอียดประณต หรือสามารถที่จะแบ่งแยกอารมณ์ต่างๆ ออกได้ โดยปกติจิตจะสามารถบังคับควบคุมเจตสิกได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...