In my mind

     ทรรศนะทางพุทธปรชญาเถรวาท สรุปธรรมชาติของจิตดังนี้
- ภาวะเดิมของจิตผ่องใน แต่เศร้าหมองเพราะกิเลสต่าง ๆ
- ภาวะของจิตขณะที่รับอารมณ์ไม่คงที่ เปลี่ยนอารมณ์อยู่เสมอ
- จิตไม่มีรูปร่าง การเกิดของจิตเป็นที่ละขณะเมื่อถึงคราวดับก็ดับไปที่ละขณะ จิตสามารถรับอารมณ์แม้จะอยู่ในที่ไกล อาศัยอยุ่ในเรื่อนกายมนุษย์และสัตว์
     ความหมายของจิต สิ่งที่วิจิตรทั้งหลายในโลก เกิดขึ้นเพราะอาศัยจิตต้นคิด ตัวจิตเองเป็นธรรมชาติอันวิจิตรรวมอยุ่ด้วย ภูมิ อารมณ์ ทั้งที่เลว ประณีต และปานกลาง มีวิบาก(กรรมและกิเลสที่เก็บสังสมไว้ )พฤติกรรมต่างๆ ซึ่งเก็บสังสมไว้คือสันดานของตนและเกิดขึ้นเป็นวิถีจิต จิตนั้นรับอารมณ์มากมายไม่มีที่สิ้นสุด จิตจะเว้นจากอารมณ์ไม่ได้
     ลักษณะของจิตแบ่งออกเป็น
- จิตเป็นสภาพธรรมที่รุ้แจ้งอารมณ์
- จิตสั่งสมสันดานของตนด้วยการเสพอารมณ์
- จิตเป็นสภาพธรรมอันประกอบด้วยกิเลสสั่งสมวิบากผล
- จิตทุกดวงเป็นธรรมชาติวิจิตร
       หน้าที่ของจิต
- ทำหน้าที่สืบต่อภพ จากอดีตภพเรียกว่ ปฏิสนธิจิต(เกิด)
- ทำหน้าทีรักษาภพของบุคคล เช่น เกิดปฏิสนธิจิตมาด้วจิตใดก็ไห้จิตนั้นเป็นไปตลอดชีวิตในภพหนึ่ง เรียกว่า ภวังคจิต
- ทำหน้าท่ีพิจารณาอารมณ์จากทวารทั้ง 6 เรียกว่า
- ทำหน้าที่เห็นรูป
- ทำหน้าที่ได้ยินเสียง
- ทำหน้าที่ดมกลิ่น
- ทำหน้าที่ลิ้มรส
- ทำหน้าที่สัมผัสทางกาย
- ทำหน้าที่รับอารมณ์ทั้ง 6
- จิตที่ทำหน้าที่ตรจสอบอารมณ์ทั้ง 6
- ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์
- ทำหน้าที่เสพอารมณ์
- ทำหน้าที่ยึดหน่วงอารมณ์
- ทำหน้าที่เคลื่อนจากภพ จากปัจจุบัน จุติจิต
     จากลัดษณะหน้าที่ของจิต โดยปกติจิตจะอยู่ภายใน10 ฐาน แต่จะกล่าวเพียง 3 ฐาน คือ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิต ทั้ง 3 ฐานเป็นจิตที่พ้นวิถีจิตที่ทำหน้าที่ไม่รับอารมณ์จากภายนอก ซึ่งมีปฏิสนธิ ภวัคจิต และจุติจิต จะมีหน้าที่เกี่ยวสัมพันธ์กันหรือทำงานร่วมกันกับภวัคจิตในการสืบต่อดังนี้
     ปฏิสนธิจิต เป็นจิตที่ทำหน้าที่สืบต่อภพมีอยู่ 1 ฐาน คือปฏิสนธิจิตจะอยู่ระหว่างจุติจิต(ดับ)กับภวังคจิตผเก็บสั่งสมกรรมเก่า)
     ภวังคจิต เป็นจิตที่ทำหน้าที่รักษาภพการเกิดในภพปัจจุบันหรือภพใหม่ ของบุคคลให้เป็นไปโดยำม่ให้เป็นอย่างอื่น
      จุติจิตเป็นจิตที่ทำหน้าที่เคลื่อนจากภพหรือการดับของจิตมีอยู่ฐานคือ
ระหว่างเสพอารมณ์กับสืบต่อภพใหม่, ระหว่างรับอารมณ์ต่อจากชวนจิตกับสือต่อภพใหม่และระหว่างรักษาภพชาติกับสืบต่อภพใหม่

     ภวังคจิต  คือจิตขณะหนึ่งในจำนวน 17 ขณะที่จัดเป็นปกติจิตหรือปกติมโนธรรมชาติเป็นอัพยากฟต คือไม่เป้นบุญไม่เป็นบาป หรือไม่เป็นผลของอะไร แต่มีบทบาทสำคัญในฐานะเป้นองค์ของธรรมชาติหรือเป้นที่เก็บสังสมนิสัยสันดาน
     ภวังคจิตแม้จะเกิดติดต่อนับไม่ถ้วย แต่ขณะที่จิตรับอารมณ์มีภวังคจิตเกิดขึ้นเพียง 2 ขณะ(ดวง)เท่านั้น คือ ขณะก่อนรับอารมณ์และขณะที่รับอารมณ์เสร็จแล้ว และมีอีนัยหนึ่งคือ มนะ(ใจปภายในมดนทวาร)


      ภวังคจิต คือจิตที่ทำหน้าที่รักษาองค์ของภพ หมายถึง รักษากรรมวิบากของรูปนามสืบต่อจากปติสนธิวิบากจิต และปฏิสนธิกรรมรูปให้ดำรงอยู่ในภพนั้น ๆตราบเท่าอำนาจของกรรมที่ทำให้เกิด จะส่งผลให้เป็นไปเท่าอายุสังขารที่ดำรง
อยู่ได้ ..
      บ่อเกิด
      ภวังคจิตจะเก็บสั่งสมอารมณ์ หรือเจตนาของอารมณ์ไว้และสืบต่อสู่วิถีจิต ทวารทั้ง 6 คือวิถีจิตรับอารมณ์แล้วภวังคจิตซึ่งเหมือนคลังพัสดุจะเก็บอารมณ์ต่าง ๆ ไว้ที่ผ่านช่องทวารทั้ง 6 แดนภวังคจิตนี้เป็นจิตที่นอนนิ่งอยุ่ในบ้านของตนที่เป็นศูนย์กลางรับผลการกระทำของวิถีจิต จะไม่ข้ึนสุ่วิถีจิตรับอารมณ์ภายนอกใดๆ ทั้งสิ้นเพราะมีกำลังอ่อนแต่จะเกิดดับรับอารมณ์อยู่ภายในอย่างปกติ
      ภวังคจิตที่อยู่ในแดนมโนทวาร คือ ภวังคจิตขึ้นสู่วิถีจิต แต่ยังไม่ได้ออกมารับอารมณ์ภายนอก(วิถีจิต)ซึ่งจะมารับอารมณ์ภายในแดนมโนทวาร ธรรมารมณ์ อาการเย่างนี้จะเกิดมโนภาพและจิตนาการต่างๆที่ภวังคจิตเก็บสั่งสมไว้ในนโมทวาร ภวังคจิตที่ทำให้บุคคลเกิดความคิดคำนึงถึงอดีต หรือคิดนึกอย่างลึกซึ้งในอนาคต และเกิดความคิดนึกในขณะทำสมาธิ เป็นต้นหรือมีพฤติกรรมแสดงออกในชีวิตประจำวัน
       ภวังคจิตที่ตื่นจากภวังค์ออกมาแสดงพหติกรรทมี่ภวังคจิตเก็บสั่งสมไว้จากทางทวารทั้ง 5 คือ ตา หู จมุก ลิ้น กาย เมือ่ภวังคิตมีกำลังมากหรือมีเตนามากก็จะแสดงพฟติกรรมออกจากทวารทั้ง 5 ภวังคจิตจะอยู่ในภาวะตื่นเต็มที่ เรียกว่า วิถีจิตทำให้ไม่รู้สึกตัวในการแสดงพฤติกรรมอะไรไปตามที่ภวังคจิตได้เก็บสั่งสมไว้ภายในที่จะพบมี 4 ประเด็น คือ ช่วงรอยต่อก่อนหลับ, ช่วงรอยต่อก่อนตื่น, ระหว่างเข้าถึงอัปปนาสมาธิ, เวลาหลับสนิทไม่ฝัน ลักษณะทั้ง 4 อย่างเป็นช่วงที่มีกิริยาอาการย่อมไม่รู้ตัวมากก่อนหรือไม่รู้สึกตัวหมายถึงเป็นภาวะที่จิตอยู่ในช่วงการตกลงสู่ภวังค์ในกระแสจิตนั้นเอง
     จะเห็นได้ว่าบ่อเกิดของภวังคจิตจะเกิดจากกระแสวิถีจิต นั้นหมายความว่าถ้ากระแสวิถีจิตมีการดับลงเกิดขึ้น การเก็บสั่งสมอารมณ์ของภวังคจิตก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน
     กระบวนการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต โดยธรรมชาติแล้วภวังคจิตจะมีกระบวนการรับรู้อามรณ์อยู่ 2 ลักาณะคือ ลักษณะการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต และภาวะการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต
      ลักษณะการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต
      อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่รับรู้โดยทางอายตนะ ภายในคือ ตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้เกิดรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมมารมณ์ ที่เรียกรวมกันว่าอายตนะภายนอก
     อารมณ์หมายถึง สิ่งที่จิตรับรู้และสิ่งที่ "ถูกจิตรู้" จิตเป็นผู้รู้ ส่วนอารมณ์เป็นตัวถูกรู้
     อารมณ์ คือ สิ่งที่เป็นที่ยึดหน่วงของจิตและเจตสิกหรือเป็นสิ่งที่ยินดีของจิตและเจตสิกคืออารมณ์ 6


     ส่วนหนึ่งจากวิทยานิพนธ์ "การศึกษาเปรียบเที่ยภวังคจิตของพุทธปรัชญาเถรวาทกับจิตใต้สำนึกของซิกมันด์ ฟรอยด์"
     

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)