เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า..หลักการของมินิมอลลิสต์นั้น..เป็นผลกระทบจากสังคมในแบบบริโภคนิยม..ซึ่งมินิมอลลิืสต์จะเป็นประเภทที่ใช้สอยน้อย..บริโภคน้อย..ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการตอบโจทก์และอุดลอยรั่วในสังคมบริโภคนิยม..ใดใดก็แล้วแต่..แนวทางของมินิมอลนิสต์นั้นมาความสอดคล้องกับปรัชญาการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนาทางฝ่ายเภรวาทอยู่บ้าง..ไม่มากก็น้อย..ซึ่งในหลายๆ วัฒนธรรมที่เรานำเข้าจากตะวันตกนั้นบางอย่างไม่มีความสอดคล้องหรือหรือใกล้เคียงกับวัฒนธรรมทางฝากฝั่งตะวันออก..หรือสอดคล้องกับความเชื่อหรือแม้กระทังขั้นแย้งกับความเชื่อ..ก็ยังเคยมีมาและยังคงเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับความนิยมและแพร่หลายอีกด้วย..
ที่นี้มาว่ากันถึงส่วนที่มีความคล้ายคลึงหรือสามารถนำมาปรับใช้่กับชีวิตพุทธศาสนิกชนดูบ้างว่าจะมีอะไรที่น่าสนใจ…ยกตัวอย่าง..หลักของมินิมอล คือลดละสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิตให้มากที่สุด..พื้นที่ว่างหรือ Space เป็นสิ่งที่สำคัญ..ที่นี้การจะลดละ(แม้จะเป็นเพียงแค่สิ่งของ) นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ..ลองนึกถึง..ผู้ที่รักการจับจ่ายใช่เงิน..ชอบซื้อของ อย่าเพียงว่าซื้อของที่จำเป็นเท่านั้นเลย..ส่วนใหญ่แล้วถูกไจซื้อๆ..แม้ว่าซื้อไปแล้วบ้างครั้งบางอย่างแทบจะไม่ได้ใช้ด้วยซ้ำ..ซึ่งห่างไกลจากคำว่า..ใช่สอยเฉพาะสิ่งจำเป็น..หรือลดทอนส่ิงที่ไม่จำเป็นออกจากชีวิต..
แล้วพุทธ่ศาสนิกชนละ..เมื่อเกิดความต้องการที่เกินพอดีควรทำอย่่างไร..แน้นอนว่าไม่ว่ารูปแบบในสังคมใดๆของชาวพุทธจะพบเจอคำว่า..กิเลส..กิเลส..ซึุ่งในส่วนนี้ทุกคนก็เข้าใจดีว่าเป็นกิเลส..แต่่มั้งจงใจจะเลือกให้เป็นกิเลสที่ได้รับการตอบสนอง…จึงมีคำที่ตามมาคือ..สนองกิเลส..สนองNeed
แน่นอนว่าพุทธศานิกชนที่ดีย่อมมีวิธีที่จะจัดการกับความต้องการเหล่านั้นในแบบวิธี..วิถีแห่งพุทธ..ในที่นี้ขอยกองค์ธรรมสักหนึ่งข้อ..อินทรีย์สังวร..ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าสิ่งใดใดในโลกนั้น..สิ่งที่ปุุถุชนสละได้ยากที่สุดคือ..กามคุณ หรือ ความสุขที่ได้จาสกสัมผัสทั้ง ๕ และ ธรรมารมณ์อีก ๑ เป็น ๖ หรือที่ เรียกว่า อาตคยนะ ๖ หรือสุขเวทนาในหมวด ขันธ์ ๕
อินทรีย์สังวรจึงเป็นองค์ธรรมในลำดับต้นๆ ที่จะทำหน้าที่ในการที่จะเหนี่่ยวรังกุศลให้เกิดในจิตใจ..
ยกตัวอย่าง..ของบางอย่าง อาทิ เสื้อผ้า กระเป๋า อาหาร ดนตรี รถยนต์ ที่อยู่อาศัย..หรือใดๆก็แล้วแต่..ซึ่งในบางครั้งเรารู้และเข้าใจแล้วว่า..สิ่งต่างๆเหล่านี้เราเกิดกว่าความจำเป็น..แต่เมื่อเห็น..สัมผัส..ครุ่นคิด..เกิดความอย่างได้..จึงเกิดกเป็นความทุกข์..(เราบางคนไม่รู้สึกตัว) ทั้งที่อินทรีย์สังวรเราทำหน้าที่อย่างเต็มความสา่มารถไม่นึก..ไม่คิด..ถึงสิ่งยั่วเย้าเหล่านี้..แต่ก็อดใจไม่ได้..ฮับๆๆๆๆ..อินทรีย์สังวรต้องทำหน้าที่่อย่างหนัก..กระทั่งได้มีเวลาได้ทบทวนไตร่ตรองอย่างรอบคอบ..แล้วจึงตัดสินใจโดยสติมิใช่..กิเลส..จึุงจะเป็นวิธี..วิถีแห่งพุทธ..
อย่างไรก็ดีในชั้นต่อจากอินทรีย์สังวรก็คือการใช้ปัญญา..แล้วพิจารณาในสิ่้งต่างๆ แต่อย่างไรก็ดีหากถึงแม้ว่่าปัญญาจะหลักแหลมเพียงใดแต่ไม่ได้มีโดยการได้ใช้..หรือไม่มีความยับยั้งชั้งใจ..หรือไม่มีความสังวรในอินทรีย์แล้วก็จะกลับเข้าสู่วัฎฎะเดิมๆ..ทีึ่กล่าวมานั้นเป็นการนำเข้าสิ่งของที่ไม่จำเป็นต่างเข้ามาในชีวิต..แต่ มินิมอลลิสต์นั้น การกำจัด หรือการนำสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกจากชีวิตเป็นสิ่งที่บางคนเรียกว่า ขมขื่นกว่า..การละ..การสละ..เป็นส่ิงที่ทำได้ยากสำหรับบางคน..องค์ธรรมในข้อนี้ขอยก ปหาร เทียบให้กับเป็นการกำจัดต้นเหตุกิเลสกันเลยที่เดียว..หากมีโอกาสจะนไเสนอในโอกาสต่อไป…