Raffaello Sanzio,

   raphae11  ราฟาเอล ซันซิโอ เป็นจิตรกรชาวอิตาลี ในยุคสมัยเรอเนซองส์ ราฟาเอลอายุน้อยกว่าเลโอนาร์โด ดา วินชี 31 ปี และน้อยกว่ามีเกลันเจโล บัวนาร์โรตี 8 ปี ราฟาเอลเดินทางมายังฟลอเรนซืเพื่อศึกษางานของ ดาวินชี และมีเกลันเจโล และมาอยู่ที่กรุงโรม เขาพากเพียรเขียนภาพเพื่อให้ทัดเทียมกับศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองที่เขายกย่อง
      ราฟาเอลได้เขียนจิตรกรรมฝาผนังหลายชิ้นในนครวาติกัน ซึ่งถือกันวาเป็นผลงานขั้นสูงสุดในยุคฟื้นผูศิลปวิทยาที่สามารถรวมความสงบนิ่งไว้กับความสมดุลได้อย่างกลมกลืน ราฟาเอลได้รับการแต่งตั้งเป็นสถาปนิกผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ และมีส่วนร่วมในการวางผังเมืองกรุงโรม
     งานจิตรกรรมในระยะหลังมีความเรียบง่ายและมีความใหญ่โตมากขึ้น แต่ยังคงรักษาความมีชีวิตชีวาของงานยุคต้นของเขาไว้ได้ งานของของระฟาเอลที่แสดงถึงความงามของผู้หญิงเป็นผลงานที่มีอิทธิพลต่อศิลปินกลุ่ม สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีกโรมัน (นีโด-คลาสสิค) เป็นอย่างมาก
     ราฟาเอลมีความใกล้ดสนิดสนมกับเจ้าผู้ครองนครและพระสันตะปาปามากในช่วงปลายของชีวิต ราฟาเอลเสียชีวิตด้วยวัยเพียง 37 ปี ศพของราฟาเอลได้รับการฝังไว้ที่มหาวิหารแพนเธอนอนในกรุงโรมโดยพระบัญชาของพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 
     ห้องราฟาเอล Raphael Roomsหรือ Stanze di Raffaello เป็นห้องชุดสี่ห้องภายในห้องชุดที่ประทับของพระสันตะปาปาภายในวัง พระสันตะปาปาในนครรัฐวาติกันเป็นห้องชุดที่มีชื่อเสียงจากจิตกรรมาผาฝนังที่เขียนโดยราฟาเอล และชาเปลซิสติน โดย ไมเคิลแอนเจโล  ซึ่งเป็นงานชิ้นเอกของศิลปะเรอเนซองส์
    สมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ทรงจ้างราฟาเอล ให้ตกแต่งภายในห้องชุดใหม่ทั้งหมด ซึ่งอาจจะทรงประสงค์ที่จะทำให้ดีกว่าพระสันตะปาปาองค์ก่อน ผู้ทรงเป็นปรปักษ์ เพราะห้องเหล่านี้อยู่เหนือห้องบอร์เจีย ของพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์โดยตรงพอดี ห้องชุดราฟาเอลอยู่บนชั้นสามที่มีทิวทัศน์ทางด้านใต้ของลานเบลเวเดียร์ ในปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ “ห้องราฟาเอล”อันประกอบด้วย
  

ห้องคอนแสตนติน 

  
7814608998_b4a7e8faf4_z
“ห้องคอนแสตนติน เป็นห้องที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาสี่ห้อง ภาพในห้องนี้เริ่มเขียนหลังจากราฟาเอลเสียชีวิตแล้ว เป็นห้องที่อุทิศให้แก่ชัยชนะของคริสต์ศาสนจักรต่อผู้นอกศาสนา จิตรกรรมฝาผนังแสดงความขัดแย้งของจักพรรดิคอนแสตนติน เป็นงานที่เขียนโดย จานฟรานเชสโค เพ็นนิ,จุยลิโอ โรมาโน และราฟาเอลลิโน เดล โคลเล



“ทิพยทัศน์ของกางเขน”                                             “จักรพรรดิคอนแสตนตินอุทิศดินแดน”               “จักรพรรดิคอนแสตนตินรับศีลจุ่ม”                         “ยุทธการสะพานมิลเวียน”          


ห้องเฮลิโอโดรัส

0eliodopraffaello-sanzio-view-of-the-stanza-di-eliodoro




ภาพที่อยู่ในห้อง “เฮลิโอโดรัส” ประกอบด้วย “การพบปะระหว่างพระสันตะปปาเลโอกับอัตติลา”  “การปลดปล่อยนักบุญปีเตอร์”  “การขับเฮลิโอโดรัสออกจากวัด”  “ปาฎิหาริย์ที่โบลเซนา” ตามลำดับ





ห้องเซนยาทูรา

     เป็นห้องแรกที่ตกแต่งโดยราฟาเอล เป็นห้องที่ใช้เป็นห้องสมุดของพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ซึ่งเดิมเป็ฯห้องที่ประชุมทางศาลของพระสันตะปาปา จิตรกรนำความหมายของห้องทางคริสต์ศานปรัชญาและความยุติธรรมในการศาลมาแปรเป็นภาพโดยใช้สัญลักษณ์ภาพกลม Tando เหนือผนังตรงกลาง หัวใจของภาพเขียนในห้องนี้คือความมีสติปัญญาในทางโลกและทางธรรมและความสัมพันธ์อันดีของความคิดเรอเนซองส์ในด้านมนุษยนิยมระหว่างคริสต์จักรและปรัชญากรีก ห้องถูกใช้เป็นที่ลงนามเอกสารสำคัญต่าง ๆ ของสันตะปาปา (ห้องลายเซ็นต์)





     ห้องเซนยาทูรา Stanza della Segnatura ประกอบดวยภาพ“ปุจฉาวิสัชชาเรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์” ภาพที่อยู่ด้านบนกลับห้ว“โรงเรียนแห่งเอเธนส์” คือภาพที่อยู่ด้านล่างสุดในมุมปกติ “ภูเขาพาร์นาสสัส” ภาพที่อยู่ทางด้านขวามือและ“คุณธรรมสามอย่าง”คือภาพที่อยู่ทางซ้ายมือ ส่วนภาพตรงกลางนั้นคือ เพดานของห้องเซนยาทูรา


ห้องเพลิงไหม้ในเมือง

     ตั้งชื่อตามภาพ “เพลิงไหม้ในเมือง” ที่เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่แสดงภาพสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 4 ทำสัญญาณให้พระเพลิงที่เผาผลาญบริเวฯหนึ่งของกรุงโรมไม่ไกลจากวาติกันให้หยุด โดยการให้พร ห้องนี้เตียมไว้สำหรับเป็นห้องดนตรีของพระสันตะปาปาองค์ต่อจากจูเลียส คือ สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10  ภาพ”เพลิงไหม้ในเมือง” ราฟาเอลเพียงแต่ร่าง และเสียชีวิตไปก่อน ผู้เขียนคือผู้ช่วยของราฟาเอล







   “เพลิงไหม้ในเมือง” วาดจาก หนังสือพระสันตะปาปา ที่เป็นคำบรรยายของเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นในแขวงหนึ่ง
ของกรุงโรมในปี ค.ศ. 847 ตามตำนาน สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 4 ทรงทำให้ไฟสงบโดยการประทานพร
ชายหนุ่มที่แบกชายแก่บนหลังทางมุมซ้ายของภาพสะท้อนหัวเรื่องของตำนานคลาสสิกของเอเนียสและอันคิซิส
หนีเพลิงไหม้ที่ทรอย ซึ่งมีความหมายเป็นนัยว่าโรมคือกรุงทรอยใหม่ ส่วนอีก สามภาพคือ “พิธีราชาภิเษกของชาร์เลอมาญ
“ยุทธการออสเตีย” และ”คำสัตย์ปฏิญาณของพระสันตะปาปาลีโอที่สาม”

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)