วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ฺิิิืืืืืฺิิ้่่ีBurma : Ethnic

          พม่าประกอบขึ้นจากคนกลุ่้มใหญ่และถชนกลุ่มน้อย ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้่มีชาติพันธ์ที่แตกต่างกัน ชนกลุ่มใหญ่นั้นหมายถึงชนที่มีเชื้อสายพม่าโดยแท้ ส่วนชนกลุ่มน้อยประกอบขึ้นจากหลายกลุ่มชาติพนธ์ด้วยกัน โดยที่พม่าซึ่้งมีเชื้อชาติพม่าแท้มีเพียง กึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด ที่เหลือเป็นพลเมองชาติพะนธ์อื่น เช่น ฉานหรือไทยใหญ่ มอญ กะเหรีียง คะฉิ่น ฉอ่ม คะย้า จนและแขกลดหลั่นกันตามลำดับ..กลุ่มชาติพันธ์เหล่านี้มาอยู่รวมกันในพม่า แต่ก็มีการแบ่งอาณาเขตคกันอยู่เป็นชาติพันธุ์ไป โดยที่แต่ละชาติพันธุ์ได้อยู่รวมกันเป็นรัฐและส่งตัวแทนไปร่วมรัฐบาลเพื่อปกครองประเทศที่กรุงย่างกุ้ง อย่างไรก็ตามกลุ่มชาติพันธ์ที่ต่างกันนี้ มีจำนวนน้อยกว่า ชาวพม่าแท้่และยังคงไม่สามารถรวมตัวได้ แม้ในปัจจุบันจะมีการตั้งไแนวร่วมแห่้งชาติประชาธิอไตย" เพื่อต่อต้านรัฐบาลกลาง แต่ก็ยังไม่มีอิทธิพลที่จะทำให้วัตถุปรสงค์ของกลุ่มบรรลุเป้าหมายได้ ดังนัี้นจึงถูกพม่าแท้่เข้าครอบงำทางการเมืองการปกครองกและพยายามกำหนดนโยบายของประเทศตามความต้องการของตัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เพิ่มความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกลางกับชนกลุ่มน้อยที่มีอยู่เดิมแล้วให้ขยายวงกว้างออกไปอีก ความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า นัีบเป็นปัญหาพื้นฐานของประเทศพม่ากระทั่งทุกวัีนนี้

       ในประวัติศาสตร์ก่อนการเข้ามาของอังกฤษ พม่าซึ่งมีอาณาจักรอยู่ในแถบลุ่มน้ำอิรวดี ได้ส่งกองทัพไปรบกับ "มอญ"ตอนใต้ "ฉาน"หรือไทยใหญ่ ทางตอนเหนือ และ "อารกัน" ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ทางตะวันตกติดกับอนิเดีย เพื่อขยายจัีรวรรดิของตน ความพยายามของชนพท่าประสบผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2327 เมื่อพรเจ้าโบดอพยาแห่ง ราชวงฯศ์ลองพญา สามารทำการยึคดครองอาณาจักรของพวกอารกันได้สำเร็จ ความขมขื่นและอาฆาตของชนกลุ่มน้อยก็เร่ิมปรากฎขึ้นในหน้าประวัติศาสตร์

         ความแตกแยกเพิ่มมากขึ้นเมื่ออังกฤษเข้ามาปกครองพม่า กล่าวคือ อังกฤษได้รับการต่อต้านจากผู้นำท้องถิ่นอย่างรุนแรง จนถึงขั้นต้องใช้กำลังทหารปราบปราม อังยังนำระบบการปกครองใหม่ไ เข้ามาใช้เพื ่อ ทำลายฐานอำนาจเดิม เช่น การยกเลิกระบบตำบลที่มำให้ผุ้นำท้องถ่ินมีอิทธิพลลง อังกฤษได้ตั้งหมู่บ้านขึ้นแทนและแบ่งเขตการปครองในตอนเหนือของพม่าตอนบน ออกเป็นเขชต ดดยมีข้าราชการอังกฤษเป็นผุ้เปกครอง และให้นำเอากฎหมายและระบบการศึกษาแบบบอังกฤษเข้ัามาใช้ด้วย และยังลดอิทธิพลของพระสงฆ์และทำลายศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการรวมชนพม่ามาโดยตลอด 

           ต่อมาอังฏษได้นำระบบปกครองแบบ "แบ่งแยกและปกครอง"(divice and rule)มาใช้เพื่อแยกชนกลุ่้ถมน้อยต่างๆ ทีมีเขตยึคดครอง ร้อยละ 45 ออกจากพม่าแท้ โดยให้กลุ่มต่างๆ ของชนกลุ้่มน้อยมีความเป็ฌนอิสระในการปกครองตคนเองภายใต้การดูแลของข้าเหลวงอังกฤษชนกลุ่มน้อยเช่น กะเหรี่ยงได้ก่อตั้งองค์กรแห่งชาติกะเหรียงขึ้นตม่เพื่อสร้า่งชาติกะเหรี่ยง และสร้างตัวแทนของกลุ่มเพื่อให้เข้าไปนั่งในสภาที่อังกฤษตั้งขึ้นเพือปกครองประเทศพม่า


         อังกฤษยังได้ส่งเสริมให้พวกชนตกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เข้ารมาสมัครรับราชการอยุ่ในกองทัพที่ยึดครองดินแดนอยู่นั้น ชนกลุ่่มน้อยได้อาสาเข้ารบในกองทัพอังกฤษ และอังกฤษได้ทำการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ให้ชนกลุ่้มน้อยซึ่งได้ผลมากที่สุดในการปครองในรูปแบบ "แบ่งแยกแล้วปกครอง" กล่าวคือ ชนกลุ่มน้อยนับถือ ศาสนาคริสต์ ชาวพม่านับถือศาสนาพุทธ

         ก่อนพม่าจะได้รับเอกราช ในตัวบทรัฐธรรมนูญของพม่าปี พ.ศ.2478 ได้มีการส่งเสริมความเป็นอิสระของชนยกลุ่มน้อยอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ รัฐะรรมนูญได้ระบุไว้ว่า "พวกที่อาศัยอยู่ในเขตจำกัด (คือ พวกไทยใหญ่และพวกชาวเขา) จะคงอยู่ภายใต้การดูแลของข้าหลวงอังกฤษต่อไปจนกว่าพวกนี้ประสนงค์จะนำเอาเขตการปกครองของตนเข้าร่วมการปกครองกับพม่า ตามรูปแบบใดๆ ก็ไพด้ที่พวนี้จะยอม" ในลักษณะช่นนี้ และในหมูผู้ปกครองชาวอังกฤษในพม่าก็ได้พยายามส่งเสริมความเช ื่อของชนกลุ่มน้อยว่า การที่พวกเขาเชื่้อฟังอังกฤษและยินยอมอยู่ภายใต้การปกครองของอัะงกฤษ จะทำใหรัฐบาลที่กรุงลอนดอนสนับสนุนุ์การรักษาเอกลักษณ์ของชาติพันธตน และจะได้เป็นรัฐเอกราช ความเชื่อเช่นนี้ได้ฝังใจชนกลุ่มน้อยมาโดยตลอดกระทั่งปัจจุบัน..และเมือ่ดินแดนทั้งหมดตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า จึุงเกิดการต่อต้านทันที..


      ข้อมูลบางส่วนจาก.."พื้ันฐานของปัุญหาความมั่นคงชายแดนไทย-พม่า" รศ.ดร.ชัยโชค จุลศิริวงศ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...