วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Public policy

นโบายสาธารณะ คือ สิ่งที่รัฐบาลเลือกที่จะทำ และไม่ทำ นโยบายสาธารณะและการตัดสินใจจึงแยกกันไม่ออก
 - เป็นการปฏิบัติการที่มีเป้าหมาย
 - มิใช่การตัดสินใจแต่อย่างเดียวแต่เป็นการปฏิบัติตามนโยบายด้วย เพื่อให้บรรลุผลของนโยบายนั้น โดยเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
 - เป็นสิ่งที่รัฐบาลปฏิบัติอยู่ในขณะนั้น มิใช้เพียงสิ่งที่ตั้งใจว่าจะทำ
 - เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจว่าจะทำ
 - การใช้อำนาจบังคับ ตามนโยบายที่รัฐออกมา โดยการออกกฎหมาย ่หรือระเบียบ หรือคำสั่ง

กระบวนการนโยบายเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกทั้งตัวบุคคล แลุ่มผลประโยชน์และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคม กระบวนการนโยบายสาธารณะเป็นหระบวนการทางจริยธรรมเกี่ยวข้องกับปัจจัยและกระบวนการสำคัญโดยเรื่อตั้งแต่การกำหนดนโยบาย การบริหารนโยบายแารประเมินผลนโยบายและการเลิล้มนโยบาย
         องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะจะประกอบด้วยปัจจัยสำคัญคือ ตัวนโยบาย สภาพแวดล้อม
ของนโยบายและผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบาย

สภาพแวดล้อม การเมือง เศรษฐกิจ สังคม โลกาภิวัฒน์
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  ประชาชน นักการเมือง  ข้าราชการ  นักธุรกิจ  กลุ่มผลประโยชน์
นโยบายสาธารณะ

การก่อรูปของนโยบายสาธารณะ
ปัญหา  - ปัญหาเฉพาะบุคคล
             - ปัญหาเฉพาะกลุ่ม
             - ปัญหามหาชน
ประเด็นปัญหาสังคม  
             - ปัญหาความขัดแย้ง
             - หาทางแก้ปัญหา
ระเบียบวาระสังคม
              - คนรับรู้และเกี่ยวข้อง
              - รัฐควรเข้าแก้ไข
ระเบียบวาระรัฐบาล
นโยบาย

ในสังคมไทยขั้นตอนในการกำหนดนโยบายที่่จัดเป็นขั้นตอนของการนำเข้ามีความสำคัญน้อย เพราะส่วนใหญ่ข้าราชการและคณะผู้บริหารจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและตัดสินนโยบาย ข้อเสนอของรัฐส่วนใหญ่จึงมาจากข้าราชการและตัดสินนโยบายโดยข้าราชการ การนำนโยบายไปกฏิบัติและการประเมินผลการปฏิบัติงานจึงดำเนินการโดยข้าราขการและระบบราชการเป็นสำคัญ
     ปัญหาที่ตามมาคือปัญหาในด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการนำนโยบายไปปฏิบัติ ปัญหาประสิทธิผลคือการแก้ปัญหาไม่ตรงตามเป็าหมายที่ประชาชนต้องการเพราะประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ส่วนปัญหาประสทิธิภาพคือขาดตัวชี้วัดจากประชาชนเพราะไม่มีหน่วยงานติดตามควบคุมการปฏิบัติงานของข้าราชการ เมื่อไม่สามารถประเมินประสิทธิภาพของการดำเนินงานในกิจกรรมของรัฐบาลได้ ต้นทุนการบริหารจัดการจึงสูง งบประมาณทั้งหมดมาจากภาษีของประชาชนแต่ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบการดำเนินงานได้ ...

ความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับภาครัฐและภาคเอกชนในโครงการของภาครัฐ
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นหายโครงการมีสาเหตุจากปัญหาหลายประการ ที่สำคัญประการหนึ่งคือประชาชนไม่สนับสนุนโครงการหรือนโยบายอันเนื่องมาจากขาดการประชาสัมพันธ์โครงการหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการเป็นต้ัน กรณีตัวอย่างอาทิ กรณีโครงการเขื่อนน้ำโจน จ.กาญจนบุรี กรณีเขื่อนปากมูบ จ.อุบลราชธานี ชี้ให้เห็นว่าการวางแผนจัดทำโครงการที่ไม่คำนึงถึงความต้องการของประชาชน ความคิดเห็นของประชาชนหรือของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใในโครงการของรัฐ เมื่อโครงการเกิดขึ้นประชาชนจึงได้รับรู้ถึงผลกระทบและมัสร้างความสับสน และความไม่เข้าใจรวมทั้งไม่พอใจ ไม่สนับสนุนโครงการและนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างภาคประชาชกับภาครัฐ หรือภาคเอกชนผู้รับผิดชอบโครงการ

กระบวนการนโยบายสาธารณะจากการมีส่วนร่วม Participatory Public Policy Process
รูปแบบแรก คือ กระบวนการนโยลายสาธารณะที่กำหนดขึ้นจากแกนนำที่เป็นตัวแทนประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายแทนภาคประชาชน
รูปแบบสองคือกระบวนการนโยบานสาธารณะจำกภาคประชาชนที่รวมตัวกันในรูปของประชาคมร่วมกำหนดปัญหา ประเด็นนโยบายที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริง ๆ ในสังคมวัฒนธรรมของแต่ละชุมชนเนื่องมาจากกระบวนการนโยบายจากแกนนำภาครัฐไม่สามารถตอบสนองการแก้ปัญหาเหล่านั้นได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมเป็นกระบวงนการกำหนดนโยบายจากรากแก้วจากความรู้และกระบวนการเรียนรู้ในภาคปฏิบัติ

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Vinaya

เมื่อกล่าวถึงผู้หญิงหรือสตรีนั้นเมื่อจะทำ หรือกระทำสิ่งใดๆ อย่างที่บุรุษกระทำและปฏิบัตินั้น ย่อมมีพิธี กฎระเบียบที่เคร่งครัดและ รัดกุม มากกว่า บุรุษ จะด้วยเหตุผลกลใดก็แล้วแต่ การที่จะให้ผู้หญิงหรือสตรีเพศกระทำและปฏิบัติได้เฉกเช่นชายนั้น กระบวนการและวิธีการจำต้องมีวิธีการที่มากกว่าและยุ่งยากกว่าชาย
 เมืืือครั้งสตรีขอบวชในบวรพุทธศาสนานั้น พระสัมมาสัมพุทธในครั้งแรกทรงไม่อนุญาค แม้จะปลงผมห่มผ้าไตร พระพุทธองค์ก้ไม่ทรงอนุญาต
  กระทั้งพระอานนท์เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวและไถ่ถามเมืองทราบเหตุการณ์ตั้งแต่ต้นจึงเข้าเฝ้าพระศาสดา ทูลขอให้ผู้หญิงบวชในพระธรรมวินัยหลายครั้ง หลายหน พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงอนุญาติจนในที่สุดพระอานนท์จึงทูลถามว่า
 พระอานนท์: พระองค์ผู้เจริญ ผู้หญิงถ้าได้บวชในพระธรรมวินัยแล้ว ควรจะทำมรรคผลให้แจ้งได้หรือไม่?
 พระสัมมาสัมพุทธะ: ควร อานนท์
 พระอานนท์ : ถ้าควร พระนางมหาปชาบดีโครมีซึ่งเป็นน้านางของพระองค์ มีอุปการะมาก เมื่อพระชนนีของพระองค์สวรรคตแล้ว ได้เป็นผู้เลี้ยงและถวายนมมา ของผู้หญิงพึงได้บวชในพระธรรมวินัยนี้เถิด
 พระสัมมาสัมพทธ : หากยอมรับครุธรรม 8 ประการ ข้อนั้นจงเป็นอุปสัมปทาของนางเถิด

 พระศาสดา : อานนท์ ถ้าผู้หญิงจักไม่ได้บวชในพระธรรมวินัยนี้แล้ว พรหมจรรย์จักตั้งอยู่ได้นาน เพราะผู้หญิงได้บวชแล้ว พรหมจรรย์จักไม่ตั้งอยู่นาน เหมือนตระกูลอันใดอันหนึ่งที่มีผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ตระกูลน้นโจรกำจัดได้ง่าย อีกย่างอหนึ่งเหมือนขยอก (หนอนชนิดหนึงกินต้นข้าว)ที่ลงในนาข้าวสาลีที่บริบูรณ์ แฃะเพลี้ยที่ลงในไรอ้อย ทำให้ข้เาวสาลีในนาแฃอ้อยในไร่เสียไปไม่ตั้งอยู่นานได้ เราบัญญัติครุธรรม 8 ประการนี้ ไม่ให้ภิกษุณีก้าวล่วงตลอดชีวิต เหมือนดังบุรุษกั้นทำนบแห่งสระกั้นนั้ำไม่ให้ไหลออกฉันนั้น

    ครุธรรม 8 ประการ
ภิกษุณีแม้บวชนานกว่า จะต้องกราบไหว้  ทำสามีจิกกรรมแม้ภิกษุผู้บวชในวันนั้น
ภิกษุณีอย่าพึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ
ภิกษุณีต้องหวังธรรม 2 ประการ ถามวันอุโบสถ (วันพระ) และ สอง เข้าไปฟังคำสังสอนของภิกษุทุกกึ่ง        
     เดือน
ภิกษณีอยู่พรรษาแล้วต้องปาวรณาด้วยสงฆ์ทั้งสองฝ่าย
ภิกษุณีเมือต้องอาบัติหนัก ต้องประพฤติมานัติในสงฆ์ทั้งสองฝ่าย
ภิกษุณีต้องแสดงอุปสัมปทาในสงฆ์ทั้งสองฝ่าย
ภิกษุณีอย่าพึงด่า อย่งพึงเพิดเพ้ยต่องภิกษุด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปห้ามภิกษุณีว่ากล่าวภิกษุให้ภิกษุว่ากล่าวภิกษุณีฝ่ายเดียว

  จะเห็นว่าเป็นกรรมที่หนักหนาสาหัสมากสำหรับผู้หญิงที่จะเข้ามาบวชในพุทธศาสนา และแม้บวชแล้วศีลต่างๆ ของภิกษุณีนั้นไม่ใช่เรีือ่งง่ายๆ เลยที่เดียว ศีลภิกษุณีมีมากกว่าของภิกษุ คือ ถือศีลในฝ่ายภิกษุด้วย คือ 227 ข้อ และถือของฝ่ายภิกษุณีรวมเป็น 311 ข้อ

ตัวอย่างศีลฝ่ายภิกษุณี ที่เป็นศึลที่ทำใ้ห้ขาดจากความเป็นภิกษุณีหาทำการล่วงละเมิด  อาทิ ห้ามภิกษุณียินดีการจับต้องของชายที่บริเวณใต้รากขวัญ(ไหปลาร้า)ลงมาเหนือเข่าขึ้นไป หากล่วงละเมิดต้องอาบัติปาริก
ห้ามภิกษุณีปกปิดโทษของภิกษุณีผู้ต้องอาบัติปาราชิก....
ห้ามภิกษุณีประพฤติตามภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม....
ห้ามภิกษุณียินดีกรณี 8 อย่าง เช่น ยินดีการที่ชายจับต้องมือ เป็นต้น หายินดีครบทั้ง 8 กรณี ต้องอาบัติปาราชิก ....

จะเห็นได้จากเหตุการณ์ตั้งแต่การเข้าทูลขอบวชสตรีในพระธรรมวินัยนั้นแล้วใช้ว่าผู้หญิงไม่สามารถบรรลุธรรมอันสูงสุดในพระพุทธศาสนา แต่การบรรลุของสตรีจะต้องอยู่ในกรอบอันเคร่งครัดหากมองตามครุธรรม แปดนั้นคือจะต้องอยู่ในความดูแลของภิกษุ..


นั้นเป็นเรื่องราวเมื่อสมัยพุทธกาลขยับเข้าใกล้หน่อยในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นความเป็นหวงเป็นใยในสตรีเพศโดยการอบรมสั่งสอนโดยบุรุษมีให้เห็นอาทิสุภาษิตสอนหญิง ซึ่งจะมองเป็นในด้านประเพณีวัฒนธรรม หรือระบบจารีต ก็แล้วแต่ ล้วนเป็นกฎเกณฑ์ที่จะต้องระมัดระวังรวมถึงปฎิบัติตาม ตัวอย่าง


    ขอเจริญเรื่องตำรับฉบับสอน    ชาวประชาราษฎรสิ้นทั้งหลาย
อันความชั่วอย่าให้มัวมีระคาย       จะสืบสายสุริยวงศ์เป็นมงคล
ผู้ใดเกิดเป็นสตรีอันมีศักติ์              บำรุงกายไว้ให้เป็นผล
สงวนงามตารระบอบให้ชอบกล     จึงจะพ้นภัยพาลการนินทา
เป็นสาวแซ่แร่รวยสวยสะอาด         ก็หมายมาดเหมือนมณีอันมีค่า
แม้นแตกร้าวรานร่อยถอยราคา       จะพลอยพาหอมหายจากกายนาง
อันตัวตำ่แล้วอย่าาทำให้กายสูง     ดูเยี่ยงยูงแววยังมีที่หวงหาง
ค่อยเสงี่ยมเจียมใจจะไว้วาง           ให้ต้องอย่างกริยาเป็นนารี


     จะนุ่งห่มดูพอสมศักดิ์สงวน         ให้สมควรรับพักตร์ตามศักดิ์ศรี
จะผัดหน้าทาแป้งแต่างอินทรีย์         ดูฉวีผิวเนื้ออย่าเหลือเกิน
จะเก็บไรไว้ผมให้สมพักตร์                บำรุงศักดิ์ตามศรีมิให้เขิน
เป็นสภาพราบเรียบแลเจริญ              คงมีผู้สรรเสริญอนงค์ทรง
ใครเห็นน้องต้องนิยมชมไม่ขาด       ว่าฉลาดแต่งร่างเหมือนอย่างหงส์
ถึงรูปงามทรามสงวนนวลอนงค์        ไม่รู้จักแต่งองค์ก็เสียงาม.....


      อันที่จริงหญิงชายย่อมหมายรัก          มิใช่จักตัดทางที่สร้างสม
แม้จักรักรักไว้ในอารมณ์                           อย่ารักชมนอกหน้าเป็นราคี
ดังพฤกษาต้องวายุพัดโบก                       เขยื้อนโยกก็แต่กิ่งไม่ทิ้งที่
จงยับยั้งช่างใจเสียให้ดี                            เหมือนจามรีรู้จักรักษากาย
อันตัวนางเปรียบอย่างปทุเมส                  พึงประเวศผุดพ้นชลสาย
หมอผกาเกศรขจรขจาย                           มิได้วายภุมรินถวิลปอง
ครั้นได้ชมสมจิตพิศวาส                           ก็นิราศแรมจรัลผันผยอง
ไม่อยู่เฝ้าเคล้รสเที่ยวจดลอง                   ดูทำนาองใจชายก็คล้ายกัน
แม้นชายใดหมายประสงค์มาหลงรัก         ให้รู้จักเชิงชายที่หมายมั่น
อันความรักของชายนี้หลายชั้น                 เขาว่ารักรักนั้นประการใด
จงพินิจพิศดูให้รู้แน่                                   อย่าทำแต่ใจเร็วจะเหลวไหล
เปรียบเหมือนคิดปริศนาอย่าไว้ใจ             มันมักไพล่แพลงขุมเป็นหลุมพราง
อันแม่สื่ออย่าได้ถือเป็นพรรทัด                 สารพัดเขาจะพูดนี้สุดอย่าง
แต่ล้วนดีมีบุญลูกขุนนาง                           มาอวดอ้างให้อนงค์หลงอาลัย  
................                
   
          เป็นสตรีสุดีแต่เพียงผัว                   จะดีชั่วก็ยังกำลังสาว
ลงจนสองสามจือไม่ยือยาว                      จะกลับหลังอย่างสาวสิเต็มตรอง
ถ้าคนดีมิได้ช้ำระยำยับ                              ถึงขัดสนจนทรัพย์ไม่เศร้าหมอง
คงมีผู้ชูช่วยประคับประคอง                       เปรียบเหมือนทองธรรดาราคามี
ถ้าแม้นตัวชั่วช้ำระยำแล้ว                          จะปัดแผ้วถางฝืนไม่คืนที่
เหมือนทองแดงแฝงเฝ้าเป็นราคี                ยากจะมีผู้ประสค์จำนงใน    
จงรักตัวอยาให้มัวราคีหมอง                       ถือทำนองแบบโบราณ ท่านขานไข
อย่าเอาผิดมาเป็นชอบประกอบใจ              จงอยู่ในโอวาทญาติวงศ์

........................


     จงรักนวลสงวนนามห้ามใจไว้                อย่าหลงไหลจำคำที่ร่ำสอน
คิดถึงหน้าบิดาและมารดร                           อย่ารีบร้อนเร็วนักมักไม่ดี
เมื่อสุกงอมหอมหวานจึงควรหล่น               อยู่กับต้นอย่าให้พรากไปจากที่
อย่าชิงสุกก่อนห่มไม่งามดี                          เมื่อบุญมีคงจะมาอย่าปรารมภ์
อย่าคิดเลยถูเชยคงหาได้                            อุตส่าห์ทำลำไพ่เก็บประสม
อย่าเกียจคร้านงานสตรีจงนิยม                   จะอุดมสินทรัพย์ไม่อับจน.....
    
                                 








วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Structural-Functional Approach

แนวการวิเคราะห์โครงสร้าง-หน้าที่
  เป็นการวิเคราะห์ระบบโดยอาศัยกิจกรรมหน้าที่และระบบเป็นเกณฑ์ โดยสนใจปัญหาที่ว่า โครงสร้างใด ทำหน้าที่อะไร และภายใต้อะไรในระบบหนึ่งๆ กล่าวคือ เป็นการอธิบายและทำนายความจริงในสังคม จากการศึกษาโครงสร้างหน้าที่ขบวนการและกลไกในสังคมนั้นๆ โดยจุดหมายหลักคือการค้นหากฎเกณฑ์ของหน้าที่ทางสังคม โดยเฉพาะในแง่ที่ว่า โครงสร้างรูปธรรมทั้งหลายในสังคมปฏิบัิติหน้าที่อย่างไร รูปแบบของโครงสร้างต่างๆ บำรุงรักษาให้คงอยู่ได้อย่างไร โครงสร้างและหน้าที่ในหน่วยต่างๆ ช่วยบำรุงรักษาระบบอย่างไร โดยมีสมมติฐานมีดังนี้คือ
   - พิจารณาว่าสังคมเป็นส่วนเดียว
   - พิจารณาว่าสังคมมีส่วนประกอบหลายหน่วย
   - ในสังคมย่อยมีเป้าหมายกว้างๆ และสมาชิกในสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่พึงประสงค์

แนววิเคาะห์แบบโครงสร้างหน้าที่สะท้อนให้เห็นลักษณะกิจกรรมทางการเมืองทั้งระบบว่ามีโครงสร้างและหน้าที่อย่างไร และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ทั้งนี้ผู้ที่ทำการศึกษาอาจเน้นตามแนววิเคราะห์นี้ที่มีนักทฤษฎีมากมายได้ทำการศึกษา ซึ่งผู้ศึกษาอาจให้ความสำคัญแตกต่างกัน

  งานเขียนที่มีอิทธิพลต่อนักรัฐศาสตร์โดยเฉพาะ สาขาการเมืองเปรีียบเทียบ คือ ผลงานของแกเบียล อัลมอนด์ เนื่องจากพื้อฐานการมองระบบการเมืองโดยพิจารณาโครงสร้าง หน้าที่ประกอบกันไปและนำเอาวัฒนธรรมทางการเมืองมาเกี่ยวข้องรวมอยู่ด้วย ทำให้สามาถเปรรยบเทียบการเมืองหนึ่ง ๆ กับการเมืองอื่นๆ ได้อย่างเห็นข้องแตกต่าง โดยอาศัยกรอบการวิเคราะห์เดียวกัน

  การวิเคราะห์หน้าที่ของระบบการเมืองนี้ก็เป็นวิธีการศึกษาโดยอาศัยกจิกรรมหน้าทที่ของระบบเป็นเกำณฑ์  ระบบการเมืองแต่ละระบบจะประกอบด้วย หน้าที่ ของระบบการเมืองระบบการเทืองทุกระบบมีหน้าที่อะไรบ้างที่ต้องทำและแจกแจงว่ามีหน้าที่ใดเป็ฯหน้าที่ท้างด้าน input และปัจจัยใดเป็ฯปัจจัยทางด้าน  output เท่ากับเป็นการเน้นว่าหน้าที่ต่าง เป็ฯหน้าท่ีซึ่งระบบการเมืองจะต้องกระทำ แต่โครงสร้างใดสถาบันใดจะเป็นผู้กระทำหน้าที่นั้น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างกันไปในแต่ละสังคม คือ หน้าที่เป็นตัวยืน ส่วนโครงสร้างนั้นเป็นตัวแปรผันไปตามลักาณะของแต่ละสังคม โครงสร้างที่กระทำหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใดอาจแตกต่างไปจากสังคมอื่นก็ได้ โดยมิได้แสดงว่าระบบสังคมหรือระบบการเมืองของสังคมนั้นมีข้อด้อยในตัวของมันเองแต่อยางใด
  หน้าที่ในการนำเข้าสู่ระบบการเมือง input ได้แก่
- การกล่อมเกลาและเลือกสรรทางการเมือง
- การเรียกร้องผลประโยชน์
-  การรวบรวมจัดระบบผลประโยชน์
- การสื่อสารทางการเมือง
      หน้าที่ในการนำออกจากระบบการเมือง
- การสร้างกฏระเบียบ
- การนำกฏระเบียบไปใ้ช้
- การตีความ /ตัดสินใจความในกรณีต่าง ๆ
       ความสามารถของระบบ
- ความสามารถในการ ควบคุมสมาชิกในสังคม
- ความสามารถในการดึงทรัพยากรมาใช้
- ความสามารถในกาตจัดสรรทรัพยากร หรือสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม
- ความสามารถในการสร้างผลผลิตเชิงสัญลักษณ์
- ความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของระบบ

หน้าที่ในการนำเข้าสู่กระบวนการทางการเมือง (input)
    1 การกล่อมเกลาหรือการให้การเรียนรู้ทางการเมืองและการสรรหาคนเข้าระบบ คือการที่สภาบันต่อง ๆ ของสังคม ร่วมกันปลูกอบรมสั่งสอนให้สมาชิกของชุมชนการเมืองมีค่านิยม ทัศนคติ ความจงรักภักดีต่อระบบสังคม การเมือง และเศรษฐกิจที่ตนเป็ฯสมาชิกอยู่ ซึ่งกระบวนการนี้เป็นหลักประกันที่สำคัญที่จะให้สมาชิกของชุมชนการเมืองมีความจงรักภักดี มีความรู้สึกนึกคิดใกล้เคียงกัน ทั้งนี้เืพ่อให้สังคมและระบบการเมืองนั้นมีความาั่นคง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาและความขัดแย้งหรือความระสำ่ระสาย ซึ่งอาจถึงขั้นทำลายระบบการเมืองทั้งหมด
  - กระบวนการกล่อมเกลาทางการเมืองมี 3 ขั้นตอน
      การให้การเรียนรู้ที่เจตนาให้สมาชิกชุมชนได้เข้าใจว่าตนเป็นใคร
      การให้เรียนรู้ที่มุ่งจะสร้างความรู้ึสึกผูกพันทางอารมณ์ต่อวัตถุทางการเมือง เช่น ผูกพันต่อธงชาติฯ
      การประเมินและการมีพฤติกรรม เช่น เมื่อเกิดสึกสงครามก็อาสาเข้าเป็นทหารฯ
  - กระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง  คือระบบราชการนั้นยึดหลักใหญ่ๆ คือ
      หลักความสามรถ และ หลักชาติกำเนิด ซึ่งมีความสัมพันกันที่ว่า แม้จะมีความสามารถแค่ไหน แต่จะต้องเข้าระบบได้ ซึ่งระบบส่วนใหญ่ต้องการรับคนที่มีค่านิยม แนวคิดความภักดีแบบที่ระบบตอ้งการ
    2 การแสดงออกซึ่งผลประโยชน์หรือการเรียกร้องผลประโยชน์ คือ การแสดงออกต่อระบบการเมืองว่า ต้องการให้ระบบการเมืองตอบสนอง เช่น การยื่นคำร้องทุกข์ การเรียกร้องผ่านสื่อ การเรียกร้องโดยการแสดงออกในทางลบ  เช่น การประท้วง ในทุกระบบการเมืองจะต้องมีการแสดงออกซึ่งผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดรูแบบหนึ่งก็ตาม แต่ในสังคมที่เจริญแล้ว การแสดงออกมักจะออกมาในรูปการจับกลุ่ม หรือที่เรียกว่า "กลุ่มผลประโยชน์"
    กลุ่มผลประโยชน์นั้นถ้ามองในแง่โครงสร้างจะมี 4 กลุ่มคือ
          -กลุ่มผลประโยชน์ในสถาบัน
          - กลุ่มผลประโยชน์ที่ไม่ได้อยู่ในรูปสมาคม
          - กลุ่มผลประโยชน์ที่รวมตัวกันชั่วคราว
          - กลุ่มผลประโยชน์ที่ตั้งเป็นสมาคม
    3 การรวบรวมผลประโยชน์ ได้แก่การที่นำเอาการเรียกร้องประเด็นที่ชัดเจนนำมาเป็นนโยบายเพื่อเพิ่มน้ำหนักในการเรียกร้อง กลุ่มที่ทำหน้ารวบรวมผลประโยชน์ทีเห็นได้ชัด คือ พรรคการเมือง
  การผนวกการเรียกร้อง ในมุมหนึ่งเท่ากับทำหน้าที่รักษาประตู (gate keeper) เพื่อไม่ให้การข้ามจจากนอกระบบการเมืองไปสู่ระบบการเมืองตามแนวทางระบบมีมากเกินกว่าเหตุ

    4 การสื่อสารทางการเมือง ในระบบการเมืองหรือในแนวทางระบบนั้น ข้อมูลย้อมกลับก็มาจากการสื่อสารซึ่งแบบแนวโครงสร้างปน้าที่ก็จำเป็นต้องมีข้อมูลย้อนกลับเช่นเดียวกัน การสื่อสารในแนวทางโครงสร้างหน้าที่คือการแสดงหน้าที่คือการแสดงออกซึ่งผลประโยชน์ หรือการเรียกร้องผลประโยชน์ วิธีการสื่อสารทางการเมือง
        - การสื่อสารโดยผ่านสภาบันทางการเมือง เช่น ระบบราชการ
        - การสือสารโดยผ่านสื่อสารมวลชน
        - การสื่อสารโดยผ่านกลุ่มผลประโยชน์หรือพรรคกการเมือง
        - การสื่อสารโดยการเรียกร้องโดยตรง
        - การเรียกร้องโดยสัญลักษณ์ เช่น การประท้วง
  การสื่อสารทางการเมืองมีผลโดยตรงต่อประสิทธภาพของการปฏิบัตินโยบายของระบบการเมืองเพราะการเมืองที่มีข่าวสารข้อมูลจากการสื่อสารครบถ้วย การแก้ปัญหาหรือการตอบสนองต่อการเมืองขาดตกบกพร่องหรือได้รับข่าวสารที่บิดเบื่อน จะทำให้เกิดนโยบายที่ผิดพลาด ซึ่งมีผลทำให้ระบบสามารถตอบสนองความต้องการหรือการเรียกร้องผลประโยชน์สำฤทธิ์ผลไ้ด้



วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Interest

เมื่อกล่าวถึงผลประโยชน์ในทางการเมืองย่อม ต้องกล่าวถึงพรรคการเมือง และกลุ่มผลประโยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องของการจัดสรรประโยชน์ และปกป้ิองรวมทั้งเรียกร้องในประโยชน์อันพึงมีพึงได้ของกลุ่ม หรือพรรค หรือพวกพ้อง พรรคการเมืองและ กลุ่มผลประโยชน์ แม้จะมีความเกี่ยวข้องกันแต่เป้าหมายในทางการเมืองนั้นต่างกัน

พรรคการเมืองมีหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนและองค์กรของรัฐ โดยกลุ่มผลประโยชน์ทำหน้าที่ เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับพรรคการเมือง

พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ต่างก็เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญต่อการเมือง และกระบวนการทางการเมืองทั้งสองสถาบันนี้มีหน้าที่เชื่อมโยงกั โดยที่กลุ่มผลประโยชน์มีบทบาทในการเรียกร้องร้องหรือแสดงออกซึ่งผลประโยชน์ ส่วนพรรคการเมืองมีบทบาทในการนำข้อเียกร้อง หรือการแสดงออกซึ่งผลประโยชน์ นั้นนำเสนอต่อรัฐบาล

แตกต่างกันตรงที่พรรคการเมืองต้องการเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาล โดยที่กลุ่มผละประโยชน์ไม่ต้องการเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาล เพียงแต่ต้องการมีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจหรือนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้รัฐบาลสนองตอบต่อข้อเรียกร้องหรือความต้องการของตน ปรทเศไทยกลุ่มผลประโยชน์ที่มีบทบาทมากจะเป็นกลุ่มที่มี บทบาททางเศรษฐกิจ เช่น สภาหอการค้อแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ เป็นต้น

ผลประโยชน์ในทางการเมืองไม่ได้มาในรูปของเงินหรือกำไรขาดทุน อาจจะมาในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งผลประโยชน์เหล่านี้หากจัดสรรไม่ทั่วถึงกับผู้ที่ให้การสนับสนุนหรือ ขัดกับผู้สนับสนุนพรรคย่อมเกิดปัญหาตามมาไม่อย่างใดก็อย่่างหนึ่ง
ประเทศโลกที่ 3 ทั่วไปมีลักษณะที่องค์การทางผลประโยชน์มีอิทธิพลเหนือพรรคการเมือง และหรือความสัมพันธ์ที่ไม่เปิดเผยระหว่างพรรคการเมืองกับกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
กลุ่มผลประโยชน์ มีความหมายใกล้เคียงกับกลุ่มอิทธิพล คำสองคำนี้อาจใช้แทนกันได้ ในความหมาเดียวกัน
เมื่อพิจารณาตามหลักความเป็นจริงจากพฤติกรรมแล้วเป็นการรวมตัวของกลุ่มชนที่มีผลประโยชน์ได้ยึดถือเอาแนวอาชีพเดียวกันเป็นหลัก เมื่อการรวมตัวกันดำนินิไปได้ด้วยดี มีการจัดองค์การที่ดี มีประสิทธิภาพแล้ว ก็จะสามารถสร้างพลังและเปลี่ยนแปลงกลายเป็นหลุ่มที่มีอิทธิพล และอำนาจ เหนือรัฐบาล เหนือผุ้บริหารประเทศ พลังอำนาจทีว่านี้รวมถึงจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมในกลุ่มด้วย
วิธีดำเนินกรของกลุ่มผลประโยชน์นั้นสามารถกระทำได้ในระดับต่าง ๆ กัน เช่น การบีบบังคับโดยตรงต่อหน่วยงานของรัฐ ต่อคณะรัฐมนตรี ต่อสมาชิกรัฐสภา ต่อเจ้าหน้าที่ขั้นสูงของรัฐเพื่อสร้างความกดดันแก่ผุ้บริหารของรัฐโดยใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือนอกจากนี้ยังมีวิธีการบีบบังคับโดยทางอ้อม ดังนั้นคำว่า การใช้วิธีการบับบังคับจึงเกี่ยวข้องกับอิทธิพลเกี่ยวข้องกับอำนาจบังคับอันเป็นผลทำใ้ห้กลุ่มผลประโยชน์พยายามแสวงหาหรือสร้างอิทธิพลและอำนาจเพื่อที่จะได้ดำเนินการรักษาผลประโ่ยชน์ของกลุ่มได้ตามเป้าหมาย

ลอบบี้ยิสต์
ล็อบบีคือระเบียบงของรัฐสภาในกรุงวอชิงตัน
ล็อบยี้จะมีความหมายไปในทาง ชักชวน จูงใจโน้มน้าว และผลักดัน
ล็อบบี้คือการใช้อิทธิพลทางการค้าทางธุรกิจ บีบบัีงคับให้สมาชิกรัฐสภา ปฏิบัติตามความต้องการ
ล็อบบี้เป็นสถานที่(เฉลียง)ที่พบปะระหว่างตัวแทนธุรกิจใหญ๋ ๆ สมาชิกรัฐสภาหักการเมือง และเจ้าหน้าที่บริหารชั้นสูงของรัฐบาลอเมริกัน
ล็อบบี้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา คือ สมคมไรเฟิลแห่งชาติ สมาคมนี้สามารถยับยั้งมิให้ร่างรัฐบัญญัติควบคุมอาวุธปืน ผ่านรัฐสภาโดยสมาคมนี้ได้ทำการชักจูงโน้มน้าว หรือล็อบบี้สมาชิกรัฐสภาบางส่วนให้คัดค้าน กฎหมายฉบับนี้ได้ถึง14 ครั้ง นอกจานี้ยังมีร่างกฎหมายหลายฉยบับที่ถูกยับยัเงโดยวิธีการล็อบบี้...
กฎหมายหลายฉบับไม่สามรถผ่านรัฐสภาไปได้เนื่องจากผลการปฏิบัิติการของพวก "ระเบียงชน"หรือล็อบบี้ยิสต์เหล่านี้..

จากคำกล่าวที่ว่า"การเมืองเป็นกิจกรรมที่มีจุดสนใจอยู่ที่การแสวงหาผลประโยชน์ด้วยการแข่งขันกันในระดับบุคคลต่อบุคคล กลุ่มบุคคลต่อกลุ่มบุคคล และสังคมต่อสังคม " การเมืองเป็นเป็นพฤติกรรมของมนุษย์อย่างหนึ่ง ทีสืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์ของมนุษย์ในแง่ของอำนาจ เช่นการแสวงหาอำนาจ การใช้อำนาจ หรือิทธิพลเพื่อแสงหาผลประโยชน์ สำหรับตนเองหรือผู้อื่น และการเมืองจะเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์เสมอ ไม่ว่าจะป็นผลประโยชน์เฉพาะบุคคล หรือกลุ่มบุคคล หรือประเทศชาติก็ตา ม
อับราฮัมส์ เอช มาสโลว์ นักวิชาการจิตวิทยาได้ศึกษาถึงความต้องการของมนุษย์ ซึ่งพบว่ามนุษย์มีความต้องการจากขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงขั้นสูงสุด เรียงลำดับดังนี้
- ความต้องการทางร่างกาย
-ความต้องการความปลอดภัย
-ความต้องการความรักและความเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
-ความต้องกรเกียรติยศ
-ความต้องการที่จะเป็นบุคคลโดยสมบูรณ์
ดังนั้น มนุษย์มีการรวมกลุ่มกันด้วยเหตุผลอย่างน้อย 2 ประการคือ
เป็นความต้องการทางธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องการเป็นส่วยหนึ่งของสังคม และ เป็นควาต้องการที่มีอำนาจหรืออิทธิพลในทางการเมือง ที่จะได้รับผลประโยชน์มาสู่กลุ่มของตนเอง ดังนั้น กิจกรรมทางการเมือง จังเป็นกิจกรรมของกลุ่มบุคคล ที่จะแสวงหาผลประโยชน์มาสู่ตนเองหรือผู้อื่น
Truman นักทฤษฎีกลุ่ม  กล่าวว่า"กลุ่มทางการเมืองเกิดขึ้นโดยบุคคลหลายคนมีสัมพันธ์ภาพต่อกัน"แนวปรัชญาเรื่องกลุ่มของTruman อยู่ว่า"กลุ่มคือผลรวมของส่วนต่าง ๆ ที่เข้ากันได้ และพฤติกรรมของกลุ่มเป็นหน่วยการวิเคราะห์ที่มีประโยชน์ที่สุด"กระบวนการทางการเมืองถูกมองในรูปของระบบ ที่มีกรเชื่อมโยงกัน และเป็นการรวมของกลุ่มย่อยต่าง ๆ ในทางดึงดูดเข้าหากัน หรือในทางต้านทานกัน ในการแข่งขันกันอย่างไม่มีวัน จบสิ้น
การตัดสินใจของรัฐบาล ตามแนวคิดนักทฤษฎีกลุ่ม แบ่งเป็น 2 แนวทาง
- รัฐบาลเป็นกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มหนึ่ีง กิจกรรมที่เป็นทางการของรัฐบาลในกระบวนการทางการเมือง คือากรใช้เทคนิคหลาย ๆ อย่าง โดยผ่านทางกลุ่มผลประโยชน์ มากกว่ากระทเองอย่างเป็นอิสระ กลุ่มที่เข้าแข่งขันจะต้องกำหนดผลประโยชน์ของกลุ่้มไว้ และรัฐบาลเป็นผู้ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มใดเป็นผู้ชนะ และกลุ่มใดเป็นผู้แพ้ รัฐสภาก็ถือว่าเป็นกลุ่มการเมืองกลุ่มหนึ่ง ในบรรดากลุ่มทัี้งหลาย
- บทบาทรัฐบาล ในรูปของกลุ่มการเมือง รัฐสภา หรือสถาบันประธานาธิพดี หรือ สถาบันตุลาการ เป็นกลุ่มที่มีความสำคํญมากพอ ๆ กับกลุ่มผลประโยชน์ เพราะแต่ละกลุ่มเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแข่งขันทางการเมือง ซึ่งเกี่ยวพันกับบทบาทของรัฐบาล ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีดุลย์แห่งอำนาจมากกว่ากลุ่มอื่นๆ เป็นกลุ่มที่มีพลังที่สุด รัฐบาลและกลุ่มผลประโยชน์มีความแตกต่างกันอย่างมีนั้ยยะสำคัญ คือ กลุ่มผลประโยชน์ เป็นกลุ่มของผู้มีทัศนคติร่วมกัน และพยบายารมเรียกร้องสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเหนือกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม
นักทฤษฎีกลุ่มมีความคิดจำกับขอบเขตของการเมือง ไฝ้เพียงเป็นเรื่องกิจกรรมของกลุ่ม ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันของรัฐบาล มีอยู่สองสถาบันเท่านั้น ที่กลุ่มต่าง ๆ จะทำงานด้วยคือสถาบันที่เกี่ยวกับการเลื่อกตั้ง และสถาบันที่เกี่ยวกับมติมหาชน แต่ยังมีกิจกรรมของกลุ่มบางอย่างที่อยู่นอกเหนือจากการเมือง
สถาบันต่าง ๆ ของรัฐบาลเป็นกลุ่ม แต่เป้นกลุ่มชนิดพิเศษ เพราะมีผลประโยชน์ และมีการแข่งขันกับกลุ่มอื่น เช่น มีการต่อสู้ระหว่างกลุ่มย่อยต่าง ๆ ของรัฐบาล และในขณะเียวกัน ก็มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอื่นๆ ตามฐานะ และบทบาทของกระบวนการทางการเมือง รัฐบาลเป็นผู้กำหนดการต่้อสู้ของกลุ่ม และีจักดุลย์แห่งอำนาจของกลุ่มให้อยู่ในระบบ นอกจากนั้น รัฐบาลยังกำหนดกฎต่างๆ เพื่อเป็นการตัดสินรูปแบบของการต่อสู้ จึงสรุปได้ว่า การตัดสินใจของรัฐบาลเป็นผลมาจากความต้องการทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นภายในคณะรัฐบาล หรือวัตถุประสงค์ของกลุ่มผลประโยชน์และสถาบันต่าง ๆ ของรัฐบาล
จุดมุ่งหมายเบื้องต้นของทุก ๆ กลุ่มการเมือง คือการตระหนักถึงความสำเร็จในวัตถุประสงค์ของกลุ่มที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งหมายความว่า ทฤษฎีกลุ่มต้องสามารถแสดงผลประโยชน์ของกลุ่มได้ ถ้าเป็นผลของกระบวนการทาง การเมือง หรืออาจกล่าวได้ว่า กลุ่มทั้งหลายต่างพยายามทำให้วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เป็น ผลสำเร็จซึ่งหมายความว่า ทุก ๆ กลุ่มจะพยายามแสวงหา อำนาจ หรืออิทธิพลในการตัดสินใจกระทำการใดๆ เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์จะพยายามที่จะทำให้วัตถุประสงค์ของกลุ่มบรรลุผลสำเร็จ ด้วยความพยายามที่จะเข้าไปมีอิทธิพลต่อกลุ่มผุ้มีอำนาจตัดสินใจ



วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

metropolitan

การกระจายอำนาจ
การปกครองประเทศไทยแบ่งออกเป็นส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวงทบวง กรม(centralization การรวมอำนาจ)
ส่วนภูมิภาค ได้แก่ อำเภอ จังหวัด(Decentralization การแบ่งอำนาจ)
ส่วนท้องถ่ินได้แก่ อบจ. อบต. เทศบาลฯ การปกครองแบบพิเศษ (Decentralizationการกระจายอำนาจ)
รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น
-หน่วยการปกครองท้องถิ่นประเภทมหานคร เช่น มหานครโตเกียว มหานครนิวยอร์ก กรุงเทพมหานคร
-หน่วยการปกครองท้องถิ่นของชุมชนที่เป็นเมือง เช่น เทศบาล Countrt เป็นต้น
-หน่วยการปกครองท้องถิ่นของชุมชนขนาดเล็ก เช่น Villege อบต.เป็นต้น
การปกครองส่วยท้องถิ่นของไทย
     ช่วงแรกตั้งแต่การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 กระทั้งถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475มีการตราพระราชบัญญัติสุขาภิบาล ร.ศ. 127 จัดการหัวเมืองเพื่อรองรับการจัดตั้งสุขาภิบาลแก่หัวเมืองที่มีความพร้อม แต่มีการจัดตั้งน้อยมาก มีการจัดตั้งเพียงที่กรุงเทพมหานคร และหัวเมืองไม่กี่แห่ง
     ช่วงที่สอง ตั้งแต่การเปลี่ยแปลงการปกครอง จนถึง พ.ศ.2540 ุ 65 ปีแห่งการวิวัฒนาการของการปกครองท้องถิ่นไทย หรือการกระจายอำนาจ เร่ิมจากการจัดตั้งเทศบาลในปี 2476 สภาจังหวัด ปี 2481 สุขาภิบาลในปี 2495 องค์การบริหารส่วนตำบลในปี 2499 เป็นการเริ่มให้มีรุปแบบการปกครองท้องถิ่นในเขตเมืองก่อน  แม้จะมีการเลือกตั้งสภาท้องถิ่น แต่ผู้บริหารของสุขาภิบาลและองค์การบริหารส่วนจังหวัดยังมาจากข้าราชการ และอบต.มาจากกำนัน ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งของราษำร การมีส่วนร่วมของประชาชนจึงไม่สามารถทำได้อย่างเต็มี่ นอกจากนั้นเริ่มมีการจักการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เช่น กรุงเทพมหานครปี 2518เมืองพัทยา2521 ต่อมามีการปรับรูปแบบขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
      ช่วงที่สาม ปี 2540ถึงปัจจุบัน เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 กำหนดเรื่อการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นอย่างชัดเจน โดยให้ท้องถิ่นมีอำนาจอิสระในการบริหารตนเองมากขึ้น  ผู้บริหารและสภาท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง โดยมีกฎหมายรองรับให้มีเป้าหมายในการกระจายอำนาจที่ชัดเจน เช่นใน้ท้องถิ่นมีรายได้ 20% ของรายได้รัฐบาล ภายในปี 44 และ35% ภายในปี 2549 ดำเนินการถ่ายโอนภารกิจหน้าที่ที่มีความซ้ำซ้อนระหว่างส่วนกลาง ภูมิภาค กับท้องถิ่นแบบต่าง ๆ ...

- ทฤษฎีเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ
เงื่อนไขและประเด็นปัญหาที่มีผลต่อความสำเร็จของการกระจายอำนาจจากการศึกษาค้ัอนคว้าผลงานวิจัยและการทบทวนวรรณกรรมหลายชิ้นทั้งใน และต่างประเทศมีข้อค้นพบองค์ความรู้ที่คล้ายกันว่า การกระจายอำนาจจะประสบความสำเร็จได้นั้น มีเลื่อนไขหลายประการ เช่นธรรมชาติองท้องถ่ิน สถาบันระดับชาติ สมรรถภาพและความสามรถของท้องถ่ินฯลฯ ซึ่งเงื่อนไขเหล่านี้สามารถเป็นทั้งปัญหาหรือเครื่องส่งเสริมการดำเนินการตามนโยบาย
    -เงื่อนไขที่เกี่ยวกับนโยบายภาคการเมือง รวมทั้งที่เกียวกับภาคราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมภาค เช่น การที่นโยบายของรัฐขาดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ฝ่ายการเมืองไม่มีความจริงใจต่อการกระจายอำนาจ
             นโยบายในการบริหารประเทศแยกเป็น 3 ระดับ
นโยบายหลักหรือยโยบายระดับชาต เป็นนดยบายที่มีลักษณะเป็นแนวทางกว้าง ๆ ที่ใช้เป็นกรอบในการกำหนดนโยบายระดับอื่นต่อไป
นโยบายการบริหาร เป็นนโยบายระดับกระทรวง ทบวง กรมโดยผู้บริหารเป็นผู้กำหนดขึ้นตามกรอบของนโยบายหลักหรือนโยบายระดับชาติ แต่มีขอบเขตที่แคบลง มีความละเียดและเจาะจงมากขึ้น ตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและภารกิจของหน่วยงาน
นโยบายเฉพาะกิจ เป็นนโยบายระดับล่างสุดซึ่งกำหนดขึ้นโดยผู้บริหารระดับกองหรือระดับฝ่าย โดยยึดถือนโยบายหลักหรือนโยบายระดับชาติและนโยบายการบริหารในเวลาเดียวกันย หรืออาจจะเป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
    จากกรอบความคิดนี้ โดยที่รัฐบาลไม่ได้กำหนดกลยุทธ์และเง่อนไขที่ชัดเจนเพียงพอ รวมถึงกรารขาดความมุ่งมั่นในการกระจายอำนาจ การขาดเจตนารมณ์ในการดำเนเนการตามกระบวนการกระจายอำนาจอย่างจริงจัง ของนักการเมืองและพรรคกาเมือง การที่ภาคราชการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคไม่สนับสนุนให้เกิดการกระจายอำนาจไปสู้ท้องถ่ินอย่างเต็มที่ เนื่องจากความำม่ชัดเจนเรื่องบทบาทของตนเอง และสถานภาพที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดความไม่เต็มใจในการถ่ายโอนอำนาจไไปสู่ท้องถ่ิน และเกิดความไม่ไว้ใจต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากการกระจายอำนาจ เป็นต้น

     - เงื่อนไขที่เกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะรองรับการกระจายอำนาจ ความรู้ และโอกาสในการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงความสามารถในด้านบริหารจัดการการเงินการคลังของท้องถิ่น   ความไม่พร้อมในเรื่องการบริหารและจักการที่ดี ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่มีความโปร่งใสที่สามารถตรวจสอบได้ การดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลหลายแห่งยังเป็นการดำเนินงานของกลุ่มผู้นำ ผู้มีอิทธิพล หรือกลุ่มที่แสงหาผลประโยชน์ ทำให้เกิดปัญหาทุจริต และคอรับชั่น ปัญหาการขาดความเข้าใจของบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์ในระดับท้องถิ่น ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายในการดำเนินงาน ระเบียบราชการที่จะต้องปฏิบัติ และการดำเินินบทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลที่กฎหมายกำหนด...

      - เงื่อนไขภาคประชาชน ความเข้มแข็งของชุมชนรวมถึงความพร้อมของชุมชนในการบริหารจัดการในหน้าที่ของตนปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะเกี่ยวกับการขาดความสนใจการไม่สนใจที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น การขาดข้อมูลความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยงกับนโยบายกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่น ระบบอุปถัมภ์ในท้องถิ่น เป็นต้น


จังหวัดจัดการตนเอง


กรอบคิดในการสร้างรูปแบบที่เหมาะสมกับการบริหารท้องถิ่นของไทย ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จในระดับจังหวัด เป็นการแก้ไขปัญหาในเชิงพื้นที่ มองพื้นที่เป็นตัวตั้งมากกว่าศูนย์กลาง ซึ่งในประเทศไทยก็มีแนวคิดเรื่องพื้นที่เป็นตัวตั้งในลักษณะรูปธรรมคือ ท้องถิ่นและภูมิภาค เช่น อบต. เทศบาล อบจ. เป็นต้น ซึ่งมีอำนาจเบ็ดเสร็จน้อยมาก จึงเห็นว่า ท้องถิ่นควรจะขยายอำนาจให้ใหญ่ขึ้นไปสู่ ระดับจังหวัด


คือการจะจัดการบริหารส่วนท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องขยายอำนาจท้องถิ่นให้ใหญ่ขึ้นไปสู่ระดับจังหวัด ทั้งนี้และทั้งนั้น การปกครองส่วนภูมิภาค คือ อำเภอ และจังหวัด จะยุบสลายไป จะคงอยู่ในสภาพใด จะให้อยู่ตรงไหน ซึ่งตรงนี้คือความต้องการความชัดเจนจากภาคการเมือง   ข้าราชการอำเภอและจังหวัดจำนวนกี่อัตรา และความพร้อมกับความต้องการการกระจายอำนาจนั้นมีความพร้อมและมีความต้องการจริงๆ หรือ ในส่วนนี้เป็นความคุลุ่มเคลือ คือไม่ชัดเจน ทั้งภาคประชาชน ภาคราชการและภาคการเมือง 












root

root


aqua=water:Aquarium=an artificial  pond for water creaturesfact=make,do: Manufacture=to make (goods) using machineryject=throw: Trajectory= a path of something thrown in the machineryvert=turn,change:Convert=to changefrom one form to anotherport=carry:Portable=that can be easily carriedprefixre=againreuse=use againreload=load againreheat=heat againsuffixport=carryportable=(adj.)=that can bi easily carriedportably=(adv.)=in the way that can be easily carriedportative (adj.)=of carrying ; able to carried



จรวด อ่านออกเสียง จะ-หลวด
ภาษาเขมร กำชฺรวจ(พลุ)

กัญชา รากศัพท์จากภาษาฮินดี(ganja)
อ่านออกเสียง กัน-ชา (kan'c-aa)

ภูเก็ต รากศัพทย์จากภาษามาเลย์bukit(เนินเขา)
พู-เก็ด (p-uu'ket)

ฆร รากศัพท์จากภาษาสันสกฤต:คฺฤห
อ่านออกเสียง คะ-ตะ
คำเกี่ยวข้อง
-ฆรณี(เมีย,แม่เรือน)
-ฆรวาส
-คฤหัสถ์

โบ้ย รากศัพท์จากภาษาจีน บ้วย(ปลาย,หาง)
คำกริยา
-โยน หรือ ปัดไปให้เป็นเรื่องหรือความรับผิดชอบของคนอื่น


วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โคน






โคนอาวุธ สั้นอันทรงประสิทธิภาพ เป็นหมากที่คอยรุกระหน่ำในเกม (แม้จะไม่เหี้ยมเกรียมเท่าเบี้ยหงาย) และในขณะเดียวกัน ยังเป็นกองหลังที่ทรงประสิทธิภาพ โดยมากจะใช้เป็นหมากผูกให้เม็ดหรือม้า
           คือถ้าเป็นนักเตะก็สารพัดประโยชน์ ถ้าเป็นสนามรบก็เป็นพวกเสนาธิการบัญชาการรบ

โคน หมายถึง ช้าง หมากรุกจะมี พลช้าง พลม้า พลเรื่อ พลราบ(เบี้ย) รวมเป็น จตุรงค์







หมูหลบหอก

หมูหลบหอกหมูหลบหอก กลอกกลิ้งสิ่งสังเกต
ฝ่ายประเภทหมากหนีวิธีสรร
โคนกับเรือเผื่อช่วแรงกัน
หมากไล่นั้นเรือคู่จู่ประจำ
ขนานเรียงเคียงควบขนาบล้อม
เข้าโอบอ้อมแอบรุกบุกกระหน่ำ
ข้างหมากหนีลี้ซุ่มเข้ามุมทำ
ในที่ขำโคนเคียงเรีบประนัง
ถึงจะรุกคลุกขลุมตลุมไล่
เรือกันไว้มิได้หวั่นถวิลหลัง
เรือกับโคนสู้กันขันประดัง
ตามบทบังคับไว้ในตำรา
แม้ครบยกหกสิบสี่ไม่จนแต้ม
ในกลแกมเกณฑ์นับตำหรับว่า
ทั้งสองข้างต่างเสมอเหมือนสัญญา
ก็เลิกลาละลดงดกันไป







คลื่นกระทบฝั่ง



ควายสู้เสือ

ควายสู้เสือเหลือลำบากพวกมากหนี
คือโคนมีอยู่กับเบี้ยไม่เสียท่า
คอยป้องปิดติดแย้งทะแยงตา
เข้ารับน่ากันรุกทุกกระบวน
ข้าหมากไล่ได้เรื่อไว้กับเม็ด
คอยลอดเล็ดล้อมเลี้ยงตลบหวล
มีเกณฑ์บทบังคับนับจำนวน
ไม่จนถ้วนหกสิบสี่เสมอกัน












ควายสู้เสือ


คลื่นกระทบฝั่ง

อีก กลหนึ่งนาม คลื่นกระทบฝั่ง
นิยมหวังอย่าแหนงระแวงหลง
ข้างหมากหนีโคนหนึ่งพึงจำนง
ทะแยงยงเยื้องท่าคอยรารับ
หมากไล่มีม้าหนึ่งกับเบี้ยสอง
เข้าล้อมป้องหลังโคนโผนขยับ
โคนแอบลับแอบขุนคอยคุมที
ทั้งสองข้างต่างแต้มไม่ตกต่ำ
จบเกณฑ์กำหนดนับหกสิบสี่
เป็นเขตขั้นสัญญาอย่างพอดี
ก็ต่างมีส่วนสมเสมอกัน









หอกข้างแคร่หอกข้างแคร่

อีอ ชื่อมีชี้ชัดถนัแน่
เรียกกล หอกข้างแคร่ สำเนาสนอง
มีเบี้ยงเดียวเลี้ยวลดบทละบอง
ยกย้ายย่องแอบขุนจุนประจำ
พวกหมากไล่ได้ท่าก็ฝ่าแฝง
โคนทะแยงเยื้องย่างสามขุมขำ
ผูกกระชับกับเบี้ยคลอเคลียคลำ
รวมรุมรำรุกรบตลบไป
ไล่ไม่จนพ้นพิกัดบัญญัติยก
เกินเกณฑ์หกสิบสี่สิ้นสงสัย
ทั้งสองข้างต่างแต้มไม่ต่ำไกล
ก็ยอมให้สมเสมอเสมือนกัน





Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...