วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Public policy

นโบายสาธารณะ คือ สิ่งที่รัฐบาลเลือกที่จะทำ และไม่ทำ นโยบายสาธารณะและการตัดสินใจจึงแยกกันไม่ออก
 - เป็นการปฏิบัติการที่มีเป้าหมาย
 - มิใช่การตัดสินใจแต่อย่างเดียวแต่เป็นการปฏิบัติตามนโยบายด้วย เพื่อให้บรรลุผลของนโยบายนั้น โดยเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
 - เป็นสิ่งที่รัฐบาลปฏิบัติอยู่ในขณะนั้น มิใช้เพียงสิ่งที่ตั้งใจว่าจะทำ
 - เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจว่าจะทำ
 - การใช้อำนาจบังคับ ตามนโยบายที่รัฐออกมา โดยการออกกฎหมาย ่หรือระเบียบ หรือคำสั่ง

กระบวนการนโยบายเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกทั้งตัวบุคคล แลุ่มผลประโยชน์และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคม กระบวนการนโยบายสาธารณะเป็นหระบวนการทางจริยธรรมเกี่ยวข้องกับปัจจัยและกระบวนการสำคัญโดยเรื่อตั้งแต่การกำหนดนโยบาย การบริหารนโยบายแารประเมินผลนโยบายและการเลิล้มนโยบาย
         องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะจะประกอบด้วยปัจจัยสำคัญคือ ตัวนโยบาย สภาพแวดล้อม
ของนโยบายและผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบาย

สภาพแวดล้อม การเมือง เศรษฐกิจ สังคม โลกาภิวัฒน์
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  ประชาชน นักการเมือง  ข้าราชการ  นักธุรกิจ  กลุ่มผลประโยชน์
นโยบายสาธารณะ

การก่อรูปของนโยบายสาธารณะ
ปัญหา  - ปัญหาเฉพาะบุคคล
             - ปัญหาเฉพาะกลุ่ม
             - ปัญหามหาชน
ประเด็นปัญหาสังคม  
             - ปัญหาความขัดแย้ง
             - หาทางแก้ปัญหา
ระเบียบวาระสังคม
              - คนรับรู้และเกี่ยวข้อง
              - รัฐควรเข้าแก้ไข
ระเบียบวาระรัฐบาล
นโยบาย

ในสังคมไทยขั้นตอนในการกำหนดนโยบายที่่จัดเป็นขั้นตอนของการนำเข้ามีความสำคัญน้อย เพราะส่วนใหญ่ข้าราชการและคณะผู้บริหารจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและตัดสินนโยบาย ข้อเสนอของรัฐส่วนใหญ่จึงมาจากข้าราชการและตัดสินนโยบายโดยข้าราชการ การนำนโยบายไปกฏิบัติและการประเมินผลการปฏิบัติงานจึงดำเนินการโดยข้าราขการและระบบราชการเป็นสำคัญ
     ปัญหาที่ตามมาคือปัญหาในด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการนำนโยบายไปปฏิบัติ ปัญหาประสิทธิผลคือการแก้ปัญหาไม่ตรงตามเป็าหมายที่ประชาชนต้องการเพราะประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ส่วนปัญหาประสทิธิภาพคือขาดตัวชี้วัดจากประชาชนเพราะไม่มีหน่วยงานติดตามควบคุมการปฏิบัติงานของข้าราชการ เมื่อไม่สามารถประเมินประสิทธิภาพของการดำเนินงานในกิจกรรมของรัฐบาลได้ ต้นทุนการบริหารจัดการจึงสูง งบประมาณทั้งหมดมาจากภาษีของประชาชนแต่ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบการดำเนินงานได้ ...

ความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับภาครัฐและภาคเอกชนในโครงการของภาครัฐ
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นหายโครงการมีสาเหตุจากปัญหาหลายประการ ที่สำคัญประการหนึ่งคือประชาชนไม่สนับสนุนโครงการหรือนโยบายอันเนื่องมาจากขาดการประชาสัมพันธ์โครงการหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการเป็นต้ัน กรณีตัวอย่างอาทิ กรณีโครงการเขื่อนน้ำโจน จ.กาญจนบุรี กรณีเขื่อนปากมูบ จ.อุบลราชธานี ชี้ให้เห็นว่าการวางแผนจัดทำโครงการที่ไม่คำนึงถึงความต้องการของประชาชน ความคิดเห็นของประชาชนหรือของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใในโครงการของรัฐ เมื่อโครงการเกิดขึ้นประชาชนจึงได้รับรู้ถึงผลกระทบและมัสร้างความสับสน และความไม่เข้าใจรวมทั้งไม่พอใจ ไม่สนับสนุนโครงการและนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างภาคประชาชกับภาครัฐ หรือภาคเอกชนผู้รับผิดชอบโครงการ

กระบวนการนโยบายสาธารณะจากการมีส่วนร่วม Participatory Public Policy Process
รูปแบบแรก คือ กระบวนการนโยลายสาธารณะที่กำหนดขึ้นจากแกนนำที่เป็นตัวแทนประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายแทนภาคประชาชน
รูปแบบสองคือกระบวนการนโยบานสาธารณะจำกภาคประชาชนที่รวมตัวกันในรูปของประชาคมร่วมกำหนดปัญหา ประเด็นนโยบายที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริง ๆ ในสังคมวัฒนธรรมของแต่ละชุมชนเนื่องมาจากกระบวนการนโยบายจากแกนนำภาครัฐไม่สามารถตอบสนองการแก้ปัญหาเหล่านั้นได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมเป็นกระบวงนการกำหนดนโยบายจากรากแก้วจากความรู้และกระบวนการเรียนรู้ในภาคปฏิบัติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...