Structural-Functional Approach

แนวการวิเคราะห์โครงสร้าง-หน้าที่
  เป็นการวิเคราะห์ระบบโดยอาศัยกิจกรรมหน้าที่และระบบเป็นเกณฑ์ โดยสนใจปัญหาที่ว่า โครงสร้างใด ทำหน้าที่อะไร และภายใต้อะไรในระบบหนึ่งๆ กล่าวคือ เป็นการอธิบายและทำนายความจริงในสังคม จากการศึกษาโครงสร้างหน้าที่ขบวนการและกลไกในสังคมนั้นๆ โดยจุดหมายหลักคือการค้นหากฎเกณฑ์ของหน้าที่ทางสังคม โดยเฉพาะในแง่ที่ว่า โครงสร้างรูปธรรมทั้งหลายในสังคมปฏิบัิติหน้าที่อย่างไร รูปแบบของโครงสร้างต่างๆ บำรุงรักษาให้คงอยู่ได้อย่างไร โครงสร้างและหน้าที่ในหน่วยต่างๆ ช่วยบำรุงรักษาระบบอย่างไร โดยมีสมมติฐานมีดังนี้คือ
   - พิจารณาว่าสังคมเป็นส่วนเดียว
   - พิจารณาว่าสังคมมีส่วนประกอบหลายหน่วย
   - ในสังคมย่อยมีเป้าหมายกว้างๆ และสมาชิกในสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่พึงประสงค์

แนววิเคาะห์แบบโครงสร้างหน้าที่สะท้อนให้เห็นลักษณะกิจกรรมทางการเมืองทั้งระบบว่ามีโครงสร้างและหน้าที่อย่างไร และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ทั้งนี้ผู้ที่ทำการศึกษาอาจเน้นตามแนววิเคราะห์นี้ที่มีนักทฤษฎีมากมายได้ทำการศึกษา ซึ่งผู้ศึกษาอาจให้ความสำคัญแตกต่างกัน

  งานเขียนที่มีอิทธิพลต่อนักรัฐศาสตร์โดยเฉพาะ สาขาการเมืองเปรีียบเทียบ คือ ผลงานของแกเบียล อัลมอนด์ เนื่องจากพื้อฐานการมองระบบการเมืองโดยพิจารณาโครงสร้าง หน้าที่ประกอบกันไปและนำเอาวัฒนธรรมทางการเมืองมาเกี่ยวข้องรวมอยู่ด้วย ทำให้สามาถเปรรยบเทียบการเมืองหนึ่ง ๆ กับการเมืองอื่นๆ ได้อย่างเห็นข้องแตกต่าง โดยอาศัยกรอบการวิเคราะห์เดียวกัน

  การวิเคราะห์หน้าที่ของระบบการเมืองนี้ก็เป็นวิธีการศึกษาโดยอาศัยกจิกรรมหน้าทที่ของระบบเป็นเกำณฑ์  ระบบการเมืองแต่ละระบบจะประกอบด้วย หน้าที่ ของระบบการเมืองระบบการเทืองทุกระบบมีหน้าที่อะไรบ้างที่ต้องทำและแจกแจงว่ามีหน้าที่ใดเป็ฯหน้าที่ท้างด้าน input และปัจจัยใดเป็ฯปัจจัยทางด้าน  output เท่ากับเป็นการเน้นว่าหน้าที่ต่าง เป็ฯหน้าท่ีซึ่งระบบการเมืองจะต้องกระทำ แต่โครงสร้างใดสถาบันใดจะเป็นผู้กระทำหน้าที่นั้น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างกันไปในแต่ละสังคม คือ หน้าที่เป็นตัวยืน ส่วนโครงสร้างนั้นเป็นตัวแปรผันไปตามลักาณะของแต่ละสังคม โครงสร้างที่กระทำหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใดอาจแตกต่างไปจากสังคมอื่นก็ได้ โดยมิได้แสดงว่าระบบสังคมหรือระบบการเมืองของสังคมนั้นมีข้อด้อยในตัวของมันเองแต่อยางใด
  หน้าที่ในการนำเข้าสู่ระบบการเมือง input ได้แก่
- การกล่อมเกลาและเลือกสรรทางการเมือง
- การเรียกร้องผลประโยชน์
-  การรวบรวมจัดระบบผลประโยชน์
- การสื่อสารทางการเมือง
      หน้าที่ในการนำออกจากระบบการเมือง
- การสร้างกฏระเบียบ
- การนำกฏระเบียบไปใ้ช้
- การตีความ /ตัดสินใจความในกรณีต่าง ๆ
       ความสามารถของระบบ
- ความสามารถในการ ควบคุมสมาชิกในสังคม
- ความสามารถในการดึงทรัพยากรมาใช้
- ความสามารถในกาตจัดสรรทรัพยากร หรือสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม
- ความสามารถในการสร้างผลผลิตเชิงสัญลักษณ์
- ความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของระบบ

หน้าที่ในการนำเข้าสู่กระบวนการทางการเมือง (input)
    1 การกล่อมเกลาหรือการให้การเรียนรู้ทางการเมืองและการสรรหาคนเข้าระบบ คือการที่สภาบันต่อง ๆ ของสังคม ร่วมกันปลูกอบรมสั่งสอนให้สมาชิกของชุมชนการเมืองมีค่านิยม ทัศนคติ ความจงรักภักดีต่อระบบสังคม การเมือง และเศรษฐกิจที่ตนเป็ฯสมาชิกอยู่ ซึ่งกระบวนการนี้เป็นหลักประกันที่สำคัญที่จะให้สมาชิกของชุมชนการเมืองมีความจงรักภักดี มีความรู้สึกนึกคิดใกล้เคียงกัน ทั้งนี้เืพ่อให้สังคมและระบบการเมืองนั้นมีความาั่นคง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาและความขัดแย้งหรือความระสำ่ระสาย ซึ่งอาจถึงขั้นทำลายระบบการเมืองทั้งหมด
  - กระบวนการกล่อมเกลาทางการเมืองมี 3 ขั้นตอน
      การให้การเรียนรู้ที่เจตนาให้สมาชิกชุมชนได้เข้าใจว่าตนเป็นใคร
      การให้เรียนรู้ที่มุ่งจะสร้างความรู้ึสึกผูกพันทางอารมณ์ต่อวัตถุทางการเมือง เช่น ผูกพันต่อธงชาติฯ
      การประเมินและการมีพฤติกรรม เช่น เมื่อเกิดสึกสงครามก็อาสาเข้าเป็นทหารฯ
  - กระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง  คือระบบราชการนั้นยึดหลักใหญ่ๆ คือ
      หลักความสามรถ และ หลักชาติกำเนิด ซึ่งมีความสัมพันกันที่ว่า แม้จะมีความสามารถแค่ไหน แต่จะต้องเข้าระบบได้ ซึ่งระบบส่วนใหญ่ต้องการรับคนที่มีค่านิยม แนวคิดความภักดีแบบที่ระบบตอ้งการ
    2 การแสดงออกซึ่งผลประโยชน์หรือการเรียกร้องผลประโยชน์ คือ การแสดงออกต่อระบบการเมืองว่า ต้องการให้ระบบการเมืองตอบสนอง เช่น การยื่นคำร้องทุกข์ การเรียกร้องผ่านสื่อ การเรียกร้องโดยการแสดงออกในทางลบ  เช่น การประท้วง ในทุกระบบการเมืองจะต้องมีการแสดงออกซึ่งผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดรูแบบหนึ่งก็ตาม แต่ในสังคมที่เจริญแล้ว การแสดงออกมักจะออกมาในรูปการจับกลุ่ม หรือที่เรียกว่า "กลุ่มผลประโยชน์"
    กลุ่มผลประโยชน์นั้นถ้ามองในแง่โครงสร้างจะมี 4 กลุ่มคือ
          -กลุ่มผลประโยชน์ในสถาบัน
          - กลุ่มผลประโยชน์ที่ไม่ได้อยู่ในรูปสมาคม
          - กลุ่มผลประโยชน์ที่รวมตัวกันชั่วคราว
          - กลุ่มผลประโยชน์ที่ตั้งเป็นสมาคม
    3 การรวบรวมผลประโยชน์ ได้แก่การที่นำเอาการเรียกร้องประเด็นที่ชัดเจนนำมาเป็นนโยบายเพื่อเพิ่มน้ำหนักในการเรียกร้อง กลุ่มที่ทำหน้ารวบรวมผลประโยชน์ทีเห็นได้ชัด คือ พรรคการเมือง
  การผนวกการเรียกร้อง ในมุมหนึ่งเท่ากับทำหน้าที่รักษาประตู (gate keeper) เพื่อไม่ให้การข้ามจจากนอกระบบการเมืองไปสู่ระบบการเมืองตามแนวทางระบบมีมากเกินกว่าเหตุ

    4 การสื่อสารทางการเมือง ในระบบการเมืองหรือในแนวทางระบบนั้น ข้อมูลย้อมกลับก็มาจากการสื่อสารซึ่งแบบแนวโครงสร้างปน้าที่ก็จำเป็นต้องมีข้อมูลย้อนกลับเช่นเดียวกัน การสื่อสารในแนวทางโครงสร้างหน้าที่คือการแสดงหน้าที่คือการแสดงออกซึ่งผลประโยชน์ หรือการเรียกร้องผลประโยชน์ วิธีการสื่อสารทางการเมือง
        - การสื่อสารโดยผ่านสภาบันทางการเมือง เช่น ระบบราชการ
        - การสือสารโดยผ่านสื่อสารมวลชน
        - การสื่อสารโดยผ่านกลุ่มผลประโยชน์หรือพรรคกการเมือง
        - การสื่อสารโดยการเรียกร้องโดยตรง
        - การเรียกร้องโดยสัญลักษณ์ เช่น การประท้วง
  การสื่อสารทางการเมืองมีผลโดยตรงต่อประสิทธภาพของการปฏิบัตินโยบายของระบบการเมืองเพราะการเมืองที่มีข่าวสารข้อมูลจากการสื่อสารครบถ้วย การแก้ปัญหาหรือการตอบสนองต่อการเมืองขาดตกบกพร่องหรือได้รับข่าวสารที่บิดเบื่อน จะทำให้เกิดนโยบายที่ผิดพลาด ซึ่งมีผลทำให้ระบบสามารถตอบสนองความต้องการหรือการเรียกร้องผลประโยชน์สำฤทธิ์ผลไ้ด้



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)