metropolitan

การกระจายอำนาจ
การปกครองประเทศไทยแบ่งออกเป็นส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวงทบวง กรม(centralization การรวมอำนาจ)
ส่วนภูมิภาค ได้แก่ อำเภอ จังหวัด(Decentralization การแบ่งอำนาจ)
ส่วนท้องถ่ินได้แก่ อบจ. อบต. เทศบาลฯ การปกครองแบบพิเศษ (Decentralizationการกระจายอำนาจ)
รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น
-หน่วยการปกครองท้องถิ่นประเภทมหานคร เช่น มหานครโตเกียว มหานครนิวยอร์ก กรุงเทพมหานคร
-หน่วยการปกครองท้องถิ่นของชุมชนที่เป็นเมือง เช่น เทศบาล Countrt เป็นต้น
-หน่วยการปกครองท้องถิ่นของชุมชนขนาดเล็ก เช่น Villege อบต.เป็นต้น
การปกครองส่วยท้องถิ่นของไทย
     ช่วงแรกตั้งแต่การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 กระทั้งถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475มีการตราพระราชบัญญัติสุขาภิบาล ร.ศ. 127 จัดการหัวเมืองเพื่อรองรับการจัดตั้งสุขาภิบาลแก่หัวเมืองที่มีความพร้อม แต่มีการจัดตั้งน้อยมาก มีการจัดตั้งเพียงที่กรุงเทพมหานคร และหัวเมืองไม่กี่แห่ง
     ช่วงที่สอง ตั้งแต่การเปลี่ยแปลงการปกครอง จนถึง พ.ศ.2540 ุ 65 ปีแห่งการวิวัฒนาการของการปกครองท้องถิ่นไทย หรือการกระจายอำนาจ เร่ิมจากการจัดตั้งเทศบาลในปี 2476 สภาจังหวัด ปี 2481 สุขาภิบาลในปี 2495 องค์การบริหารส่วนตำบลในปี 2499 เป็นการเริ่มให้มีรุปแบบการปกครองท้องถิ่นในเขตเมืองก่อน  แม้จะมีการเลือกตั้งสภาท้องถิ่น แต่ผู้บริหารของสุขาภิบาลและองค์การบริหารส่วนจังหวัดยังมาจากข้าราชการ และอบต.มาจากกำนัน ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งของราษำร การมีส่วนร่วมของประชาชนจึงไม่สามารถทำได้อย่างเต็มี่ นอกจากนั้นเริ่มมีการจักการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เช่น กรุงเทพมหานครปี 2518เมืองพัทยา2521 ต่อมามีการปรับรูปแบบขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
      ช่วงที่สาม ปี 2540ถึงปัจจุบัน เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 กำหนดเรื่อการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นอย่างชัดเจน โดยให้ท้องถิ่นมีอำนาจอิสระในการบริหารตนเองมากขึ้น  ผู้บริหารและสภาท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง โดยมีกฎหมายรองรับให้มีเป้าหมายในการกระจายอำนาจที่ชัดเจน เช่นใน้ท้องถิ่นมีรายได้ 20% ของรายได้รัฐบาล ภายในปี 44 และ35% ภายในปี 2549 ดำเนินการถ่ายโอนภารกิจหน้าที่ที่มีความซ้ำซ้อนระหว่างส่วนกลาง ภูมิภาค กับท้องถิ่นแบบต่าง ๆ ...

- ทฤษฎีเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ
เงื่อนไขและประเด็นปัญหาที่มีผลต่อความสำเร็จของการกระจายอำนาจจากการศึกษาค้ัอนคว้าผลงานวิจัยและการทบทวนวรรณกรรมหลายชิ้นทั้งใน และต่างประเทศมีข้อค้นพบองค์ความรู้ที่คล้ายกันว่า การกระจายอำนาจจะประสบความสำเร็จได้นั้น มีเลื่อนไขหลายประการ เช่นธรรมชาติองท้องถ่ิน สถาบันระดับชาติ สมรรถภาพและความสามรถของท้องถ่ินฯลฯ ซึ่งเงื่อนไขเหล่านี้สามารถเป็นทั้งปัญหาหรือเครื่องส่งเสริมการดำเนินการตามนโยบาย
    -เงื่อนไขที่เกี่ยวกับนโยบายภาคการเมือง รวมทั้งที่เกียวกับภาคราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมภาค เช่น การที่นโยบายของรัฐขาดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ฝ่ายการเมืองไม่มีความจริงใจต่อการกระจายอำนาจ
             นโยบายในการบริหารประเทศแยกเป็น 3 ระดับ
นโยบายหลักหรือยโยบายระดับชาต เป็นนดยบายที่มีลักษณะเป็นแนวทางกว้าง ๆ ที่ใช้เป็นกรอบในการกำหนดนโยบายระดับอื่นต่อไป
นโยบายการบริหาร เป็นนโยบายระดับกระทรวง ทบวง กรมโดยผู้บริหารเป็นผู้กำหนดขึ้นตามกรอบของนโยบายหลักหรือนโยบายระดับชาติ แต่มีขอบเขตที่แคบลง มีความละเียดและเจาะจงมากขึ้น ตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและภารกิจของหน่วยงาน
นโยบายเฉพาะกิจ เป็นนโยบายระดับล่างสุดซึ่งกำหนดขึ้นโดยผู้บริหารระดับกองหรือระดับฝ่าย โดยยึดถือนโยบายหลักหรือนโยบายระดับชาติและนโยบายการบริหารในเวลาเดียวกันย หรืออาจจะเป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
    จากกรอบความคิดนี้ โดยที่รัฐบาลไม่ได้กำหนดกลยุทธ์และเง่อนไขที่ชัดเจนเพียงพอ รวมถึงกรารขาดความมุ่งมั่นในการกระจายอำนาจ การขาดเจตนารมณ์ในการดำเนเนการตามกระบวนการกระจายอำนาจอย่างจริงจัง ของนักการเมืองและพรรคกาเมือง การที่ภาคราชการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคไม่สนับสนุนให้เกิดการกระจายอำนาจไปสู้ท้องถ่ินอย่างเต็มที่ เนื่องจากความำม่ชัดเจนเรื่องบทบาทของตนเอง และสถานภาพที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดความไม่เต็มใจในการถ่ายโอนอำนาจไไปสู่ท้องถ่ิน และเกิดความไม่ไว้ใจต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากการกระจายอำนาจ เป็นต้น

     - เงื่อนไขที่เกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะรองรับการกระจายอำนาจ ความรู้ และโอกาสในการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงความสามารถในด้านบริหารจัดการการเงินการคลังของท้องถิ่น   ความไม่พร้อมในเรื่องการบริหารและจักการที่ดี ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่มีความโปร่งใสที่สามารถตรวจสอบได้ การดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลหลายแห่งยังเป็นการดำเนินงานของกลุ่มผู้นำ ผู้มีอิทธิพล หรือกลุ่มที่แสงหาผลประโยชน์ ทำให้เกิดปัญหาทุจริต และคอรับชั่น ปัญหาการขาดความเข้าใจของบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์ในระดับท้องถิ่น ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายในการดำเนินงาน ระเบียบราชการที่จะต้องปฏิบัติ และการดำเินินบทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลที่กฎหมายกำหนด...

      - เงื่อนไขภาคประชาชน ความเข้มแข็งของชุมชนรวมถึงความพร้อมของชุมชนในการบริหารจัดการในหน้าที่ของตนปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะเกี่ยวกับการขาดความสนใจการไม่สนใจที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น การขาดข้อมูลความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยงกับนโยบายกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่น ระบบอุปถัมภ์ในท้องถิ่น เป็นต้น


จังหวัดจัดการตนเอง


กรอบคิดในการสร้างรูปแบบที่เหมาะสมกับการบริหารท้องถิ่นของไทย ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จในระดับจังหวัด เป็นการแก้ไขปัญหาในเชิงพื้นที่ มองพื้นที่เป็นตัวตั้งมากกว่าศูนย์กลาง ซึ่งในประเทศไทยก็มีแนวคิดเรื่องพื้นที่เป็นตัวตั้งในลักษณะรูปธรรมคือ ท้องถิ่นและภูมิภาค เช่น อบต. เทศบาล อบจ. เป็นต้น ซึ่งมีอำนาจเบ็ดเสร็จน้อยมาก จึงเห็นว่า ท้องถิ่นควรจะขยายอำนาจให้ใหญ่ขึ้นไปสู่ ระดับจังหวัด


คือการจะจัดการบริหารส่วนท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องขยายอำนาจท้องถิ่นให้ใหญ่ขึ้นไปสู่ระดับจังหวัด ทั้งนี้และทั้งนั้น การปกครองส่วนภูมิภาค คือ อำเภอ และจังหวัด จะยุบสลายไป จะคงอยู่ในสภาพใด จะให้อยู่ตรงไหน ซึ่งตรงนี้คือความต้องการความชัดเจนจากภาคการเมือง   ข้าราชการอำเภอและจังหวัดจำนวนกี่อัตรา และความพร้อมกับความต้องการการกระจายอำนาจนั้นมีความพร้อมและมีความต้องการจริงๆ หรือ ในส่วนนี้เป็นความคุลุ่มเคลือ คือไม่ชัดเจน ทั้งภาคประชาชน ภาคราชการและภาคการเมือง 












ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)