วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ธรรม

 พระพุทธองค์ไม่ทรงแต่งตั้งผู้ใดให้ดำรงตำแหน่งแทนพระองค์พระองค์ทรงตรัสกับพระอานนท์ว่าในปัจฉิมโอวาทว่า "...อานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นองค์ศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว..."




   พระธรรมและพระวินัย ในสมัยแรกเริ่มทรงท่องจำโดยวิธีมุขปาฐะ เรื่อยมากระทั่งหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน การสังคยนาก็ยังคงใช้วิธีมุขปาฐะ กระทั่งภายหลังเปลี่ยนมาเป็นการบันทึกเป็นอังษรเนื่องจากเพื่อความถูกต้องและไม่เลือนไปตามกาลเวลา

 พระธรรมพระวินัย จากพระโอษฐ์พระพุทธองค์ เมื่อครั้งตั้งแต่สมัยพุทธกาล ที่รวบรวมและรักษากันได้ทั้งหมด แบ่งเป็น  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันปิฎก  และพระอภิธรรมปิฎก  ทั้งหมด 45 พระคัมภีร์(ในทางฝ่ายหินยาน)




   ในการทำสังคยนาแต่ละครั้งจะต้องมีประธานและคณะสงฆ์ผู้ทรงคุณ เป็นจำนวนมากน้อยไม่กำหนดในแต่ละครั้ง เพื่อจะไม่ให้เกิดการคลาดเคลื่อนไปจากคำสอนของพระพุทธองค์ ในการทำสังคยนาในครั้งที่1-3 นั้นเป็นการทำกันที่ชมพูทวีป โดยเหตุแห่งการสังคยนาแต่ละครั้งแตกต่างกันไป อาทิ เมื่อสังคยนาครั้งที่นั้น เหตุเกิดจากการกล่าวจาบจ้วงพระผู้มีพระภาค ครั้งที่สองอันเป็นเหตุแห่งการแตกเป็นนิกายนั้นเกิดจากเรื่องศีลในข้อเล็กน้อย กล่าวคือ พวกหนึ่ง ในถือปฏิบัติย่อหย่อนจากคำที่พระพุทธองค์ตรัสเพราะไม่เห็นว่าเป็นความผิดที่ทำใ้ห้เกิดการเสียหายแก่หมู่สงฆ์ ทั้งพระพุทธองค์ทรงไม่กำชับในข้อศีลเล็กน้อยเหล่านี้ ที่รู้จักกันในนาม วัตถุ 10 อันมีเรื่องการจับเงิน การสะสมเกลือ เป็นต้น และอีกพวกหนึ่งถือเคร่งครัดในคำสอนของพระพุทธองค์  ในครั้งที่ 3 ทำในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เนื่องจากพวกอลัชชีปลอมบวชในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก  โดยพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นประธานในฝ่ายคฤหัสถ์ ในครั้งนั้นมีการฆ่าพวกอลัชชีเป็นจำนวนมาก




วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Caliphate

    เคาะลีฟะฮ์ มาจากคำว่า “เคาะลีฟะฮ์ อัรเราะซูล”
คือคำที่ใช้เรียกประมุขของอาณาจักรอิสลามต่าง ๆ เมื่อกาหลิฟที่ 3 ถูกลอบสังหารอาลีบุตรเขยของท่านนบีได้เป็นกาหลิฟที่ 4 แต่อีก 6 ปีต่อมาก็ถูกปลงชีพ และได้เกิดความขัดแย้งรุนแรงในเรื่องการสืบทอดตำแหน่ง
   ฝ่ายหนึ่งระบุว่า ควรจะเป็นผู้ที่ได้รับเลือกโดยซูระ ผู้ได้รับเลือกโดยมุสลิมหรือผู้แทน อีกฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าอิมามผู้สนืบเชื่อสายมาจากอะฮฺลุลบัยตฺตั้งแต่สมัยมุฮัมมัด อิสลามจึงแตกออกเป็นสองนิกายคือชีอะฮ์ และซุนนีย์
  ซีอะฮ์ เป็นนิกายซึ่งมีความแตกต่างกับซุนนีย์
การปกครองในระบบเคาะลีฟะฮ์(กาหลิฟ)นั้นเป็นระบบเดียวที่ได้รับการอนุมัติจากเทววิทยาอิสลามและเป็นปรัชญาการปกครองหลักของ “ซุนนีย์”ในเรื่องของผู้นำสูงสุด หรือตัวแทนนบีมุฮัมมัด ว่าจะต้องมาจากการแต่งตั้งของอัลลอฮ์ และนบีมุฮัมมัดเท่านนั้น นั้นคืออิมามสิบสองคน อันได้แก่อิมามอะลีย์และบุตรหลานอีก 11 คน

   ซุนนีย์ เป็นนิกายที่ชาวมุสลิมส่วนใหญ่นับถือ ซึ่งยึดถืออัลลอ-กุรอาน จริยวัตรของท่านศาสดามุฮัมมัด และแบบอย่างของสาวกเป็นหลัก แนวความคิดของนิกายซุนีย์ คือ เชื่อว่าท่านศาสดาฮัมมัอมิได้แต่งตั้งตัวแทนไว้ก่อนที่ท่านจะจากไป ดังนน หลังจากท่านจากไปแล้วตำแหน่งผู้ปกครองหรือผู้นำสืบต่อจากท่านจึงเป็นหน้าที่ของมุสลิม ต้องเลือกสรรกันเองตามความเหมาะสม

   หลังจากท่านอาลี เคาะลีฟะฮ์อัรรอชิดูน คนที่ 4 เสียชีวิต ท่านหะสัน บุตรของท่านอาลีได้รับเลือต้งเป็นเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป แต่ดำรงตำแหน่างเคาะลีฟะฮ์ได้ไม่กี่เดือนก็ยอมสละตำแหน่งให้แก่ท่านมุดาวียะฮั อิบนุ อบี สุฟยาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในรัฐอิสลาม พร้อมกับหลีกเลีย่ยงความแตกแยกและการสูญเสียเลือดระหว่างชาวมุสลิมด้วยกัน
  ท่านมุอาวิยะฮ์เป็นเคาะลีฟะฮ์องค์แรกในราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ท่านสืบเชื่อสายจากตระกูบ อุมัยยะห์ บุตรของอับดุซซัม ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “ราชวงศ์อมัยยะฮ์”ในสมัยการปกครองของราชวงศ์อมัยยะฮ์  ได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากสาธารณรับเป็นราชอาณาจักร ท่านทำให้ตำแหน่างเคาะลีฟะฮ์กลายเป็นตำแหน่างกษัตริย์โดยการสืบสันติวงค์ ท่านได้ทรางแต่งตั้งยะซิด โอรสของท่านให้เป็นกษัตรย์ ต่อมาการแต่งตั้งแบบนี้ได้กลายเป็นตัวอย่างการแต่งตั้งเคาะลีฟะฉัมาตลอดราชวงค์อุมัยยะฮ์ ทั้งราชวงศ์อับบสียะฮ์และอื่นๆ อีกด้วย  การปกครองแบบประชาฑิปไตยระหว่างเผ่าของเคาะลีฟะฮ์ท่านก่อนๆก็หมดสิ้นไป กลายเป็นการปกครองแบบกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราช

  ราชวงศ์อุมัยยะฮ์มีเคาะลีฟะฮ์ทั้งหมด 14 องค์ ซึ่งปกครองค.ศ.661-750 มีอาณาเขตการปกครองครอบคลุมทั้ง 3 ทวีป คือ
- ทวีปเอเซียถึงเมืองจีน และเมืองกาบูล
-ทวิปยุโรป ถึงเมืองอัดาลุส ประเทศสเปนในปัจจุบัน
- ทวีปแอฟริกา ถึงประเทศที่ติดอยู่กับทะเลแอตแลนติก
โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ชาม หรือประเทศซีเรียในปัจจุบัน
ซีเรีย

st.paul

St.-Paul
   เปาโลเกิดที่เมืองทาร์ซัส ในแคว้นซีลีเซีย ในทศวรรษแรกของคริสตกาล จากครอบครัวชาวยิวเผ่าเบนยามิน มีสัญชาติโรมันเมือเป็นหนุ่ม เปาโลศึกษาพระคัมภีร์อย่างละเอียดตามแบบของฟาริสีผู้เชี่ยวชาญโดยเน้นธรรมบัญญติของโมเสสเป็นพื้นฐาน
   เปาโลศึกษาเล่าเรียนทีกรุงเยรูซาเล็มกับกาลาลิเอล ซึ่งเป็นอาจารย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในยุคนั้น เปาโลเบียดเบียนพระศาสนจักรยุคเริ่มต้นมีส่วนรู้เห็นในการตายเป็นมรณสักขีของสเทเฟน เบียดเบียนคริสตชนชาวยิวที่พูดภาษากรีก ซึ่งแยกตัวจากลัทธิยิวที่เน้นพระวิหารกรุงเยรูซาเล็มเป็นศูนย์กลาง
 StStephen                                                                                                            สเตเฟนผู้เผร่แพร่คำสอน ศาสนาคริสต์
                                                                                                
   แต่ขณะเดินทางไปยังเมืองดามัสสกัส พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคื่นพระชนชีพปรากฎพระอง๕ให้เปาโลเห็นและเปลี่ยนแปลงชีวิตของเปาโล พระผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพทรงทำให้เปาโลเข้าใจความจริงของความเชื่อคริสตชน และทรงแจ้งว่าพระองค์ทรงเลือกสรรเขาให้เป็นอัครสาวกของคนต่างชาติ นับแต่นั้นมา เปาโลอุทิศชีวิตเพื่อรับใช้พระคริสตเจ้าผู้ทรงเลือกท่านให้ติดตามพระองค์…
   สิบสีปีหลังจากการกลับไจ เปาโลขึ้นไปกรุงเยรูซาเล็มท่านกับบารนาบัสได้รับการยอมรับว่าเป็นอัครสาวกของคนต่างชาติจากผู้นำพระศาสนจักรที่นั้น ซึ่งเป็น “อัครสาวกที่ของผู้ที่เข้าสุหนัต”
  
    เปาโลเป็นบุคคลที่อุทิศตนอยางมาก มุ่งมั่นจะบรรลุถึงอุดมการณ์ไม่จะลำบากเพียงใดสิ่งเดียวที่สำคัญที่สุดสำหรับท่านคือพระเจ้า และใฐนะผู้รับใช้ของพระเจ้าเปาโลปฏิเสธการประนีประนอมทุกชนิด เพราะความเด็ดเดี่ยวท่านจึงเบียดเยียนผู้ที่ท่านถือว่าเป็นศัตรูของพระเจ้า และต่อมาได้เทศน์ประกาศพระคริสตเจ้าเป็นพระผู้ไถ่บาปสากลโลกแต่พระองค์เดียว
   หลังจากกลับใจท่านรู้ตัวดีว่าท่านได้รับมอบหมายให้ทำงานใด และไม่ยอมให้สิ่งใดมาขัดขวางการงานนั้น ไม่ว่าจะเป็นความยากลำบาก ความเหน็ดเหนือย ความทุกข์ทรมาน ปรืการเสี่ยงตาย ความยากลำบากเหล่านี้มิได้ทำให้ความรักของท่านต่อพระเจ้าหรือต่อพระคริสลดน้อยลง ตรงกันข้ามกลับทำให้ยินดีรับความยากลำบากดังกล่า เพราะช่วยท่านให้คล้ายกับพระผู้ไถ่ฯผุ้ทรงรับทรมานและถูกตรึงบนไม้กางเขน ท่านรู้ดีว่ากระแสเรียที่ท่านได้รับนั้นไม่เหมือนของผู้ใดทำให้ท่านมีความใฝ่ฝันอย่างมาก แต่ไม่ทำให้ท่านหญิ่งยโส ท่านภูมิใจในความับผิดชอบดูแลกลุ่มคริสตชนหลายกลุ่มแต่ยังมีความถ่อนตนโดยจริงใจ ท่านไม่เคยลืมว่าตนเป็นอัครสาวกที่ไม่สมควรที่สุด..
   เปาโลเป็นคนมีอารมณ์อ่อนไหวแสดงความอ่อนไหวต่อผู้ที่ท่านสอนให้กลับใจมีความจริงใจต่อคริสตชนชาวฟีลิปปี
   มีความรักล้ำลึกสำหรับคริสตชนชาวเอเฟซัส
   แสดงความเกรี้ยวกราดต่อคริสตชนชาวกาลาเทียซึ่งกำลังจะละทิ้งความเชื่อ
   และความรู้สึกผิดหวังเมื่อรู้ว่าคริสตชนชาวโครินธ์เริ่มทะนงตนถือดีและมีความโลเล บางครั้งเปาโลพูดประชดคนที่ท่านเห็นว่ามีความเชื่อไม่ลึกซึ้ง บางครั้งพูดตรงไปตรงมา และหลังจากแสดงอารมณ์เหล่านั้นแล้วท่นจะแสดงความอ่อนโยนใหม่อีกครั้งหนึ่ง
มีความรู้สึกเหมือนบิดาหรือเหมือนมารดาก็ว่าได้ ปรารถนาอย่างมากที่จะแสดงความรักเหมือนแต่ก่อน…

80ปีประชาธิปไตย

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Institution approach

                          แนววิเคราะห์สภาบัน

สถาบันคือ โครงสร้างและกระบวนการที่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่เป็นทางการไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย ประเพณี และพิธีกรรมใดๆ ซึ่งสามารถช่วยรักษามาตรฐานค่านิยมทางสงคมและช่วยสร้างกระบวนการเพื่อการควบคุมในสังคม
  สถาบันทางสังคมอาจพิจารณาได้หลายลักษณะ ลักษณะแรกเป็นหน่วยงานและสถานที่ สถาบันในลักษณะที่สองคือสถาบันที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์์แทนสิ่งซึ่งมีความสำคัญในสังคม และสถาบันในลักษณะที่สามคือสถาบันทีเป็นนามธรรมและเป็นการแบ่งแยกสังคมออกจากกัน เพื่อสะด่วกในการศึกษาส่วนประกอบของสังคม เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันทางเศรษฐกิจ และสถาบันการเมืองการปกครอง
  การเืมืองเป็นสถาบันหนึ่งของสถาบันทางสังคม ซึ่งหมายถึงสถาบันที่เคลื่อนไหวเป็นกระบวนการอยูในระบบการเมือง ซึ่งสามารถทำหน้าที่สือบเหนื่องกันและเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป
     ลักษณะที่สำคัญของสถาบันทางการเมือง
1 มีโครงสร้างแน่นอนหรือค่อนข้างแน่นอนคือศึกษาได้นั้นเอง
2 มีหน้าที่หรือกิจกรรมที่สืบเนื่องต่อกันไปนานพอสมควร
3 เป็นแบบแผนของพฤติกรรมทางการเมืองอย่างหนึ่งที่คนทั่วไปยอมรับ
4 แสดงถึงการมีความสัมพันธ์ต่อกันระหว่างมนุษย์ในทางการเมือง
    ค.ศ.ที่ 20 การศึกษาวิชารัฐศาสตร์ในลักษณะที่เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลได้เริ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกา การค้นคว้านี้ได้เริ่มต้อนด้วยการศึกษารูปแบบต่าง ๆของรัฐบาล โดยอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์สถาบัน และในขณะเดียวกันการค้นคว้านี้ก็ครอบคลุมไปถึง แนวความคิดต่าง ๆ ตลอดจนการคำเนินงานของรัฐบาล แนวความคิดสำคัญ ๆ ที่สนใจกัน ได้แก่ รัฐ กฎหมาย อำนาจอธิปไตย สิทธิความยุติธรรม เป็นต้น นักวิชาการเหล่านี้ได้หเริมให้ความสนใจกับหน้าที ต่าง ขององค์กรทางการเมืองและ กระบวนการทางการเมือง แต่อย่างไรก็ตามนักวิชการเหล่านั้นก็ยังถูกจำกัดอยู่ในกรอบของสถาบันทางกฎหมาย
  ปัจจัยหลักที่นักวิเคราะห์แนวสถาบันให้ความสนใจ
ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยของปวงชนเป็นเงื่อนไขของระบอบ รัฐบาลจะต้องปกครองโดยได้รับความยินยิมจากประชาชน แต่ในการปกครองนี้ รัฐบาลจะต้องมีอำนาจที่มีขอบเขตจำกัน และต้องมีการวางกรอบกำหนดของเขตของอำนาจอย่างชัดเจน นักรัฐศาสตร์แนวนี้จึงให้ความสำคัญกับรัฐธรรมนูญ ทั้งยังรวมถึงให้ความสำคัญกับการจัดรูปแบบของรัฐ ว่าควรเป็นแบบใด..และให้ความสำคัญกับอำนาจอธิปไตยทั้งสาม "นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ"
  ปัญหาที่สำคัญคือ ทำอย่างไรจึงจะจำกันอำนาจของรัฐบาลมิให้มีมากจนเป็นผลเสียต่อปัจเจกบุคคล
  ปัญหาที่ สอง จะมีวิธีการจัดความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันปกครองของรัฐอยางไรจึงจะก่อให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุล ระหว่างกันได้
 ดังนั้น การวิเคราะห์ระบบจึงในความสำคัญกับ
 - กฎหมายรัฐธรรมนูญ และ
 - โครงสร้างทางการเมือง
        กฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายแม่บทอื่นไดที่เกี่ยวสถาบันทางการเมือง จะเห็นได้ว่า แนวทางการศึกษาการเมืองเช่นนี้ มีรากฐานความคิดมาจากทฤษฎีประชาธิปไตยซึ่งตระหนักว่า อำนาจ เป็นรากฐานของการเมืองและในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น การใช้อำนาจจะต้องเป็นไปตามหลักการของความเสมอภาค และความยุติธรรม ซึ่งหลักการนี้ได้แก่ การปกครองโดยกฎหมาย ก่อให้เกิดอำนาจที่ชอบธรรมและประชาชนสามารถเลือกผู้แทนให้ไปเป็นผู้ัออกกฎหมายได้ การเป็นตัวแทนนั้นก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพระบอบอประชาธิปไตยจึงปกป้องเสรีภาพด้านต่าง ๆซึ่งแสดงออกด้วยการประกันสิทธิด้านต่้างๆ
   โดยปกติแล้วนักวิเคราะห์เชิงสถาบันจะศึกษาตัวบทกฎหมายเพื่อสำรวจดูว่าในสังคมนั้น ๆ มีการแบ่งสันปันส่วนการใช้อำนาตอย่างไร การศึกษาการใช้อำนาจทางการเมืองย่อมเท่ากับเป็นการแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ และความเสนมอภาคของเอกชน ซึ่งเอกชนในที่นี้หมายรวมถึงปัจเจกบุคคลและกลุ่มบุคคลที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่สามารถกระทำการใด ๆ ได้ดังบุคคล
       โครงสร้างทางการเมือง  แนววิเคราะห์เชิงสถาบันมุ่งสำรวจกลไกต่าง ๆ อันเป็นโครงสร้างสถาบันทางการเมืองที่กอรปกันเข้าเป็นระบบการเมืองในสังคมประชาธิปไตยโครงสร้างเหล่านี้มีความสลับซับซ้อนและเป็นความพยายามของสังคมมนุษย์ชาติที่ต้องการจัดระเบียบในทางการเมืองทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลในการใช้อำนาจของส่วนต่าง ๆ ในสังคมการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองจึงเป็นแนวทางแรก ๆ ที่เป็นที่ยอมรับในวงการรัฐศาสตร์ ในการมองปัญหาเชิงสถาบันจึงวิเคราะห์ในระดับต่าง ๆ ดังนี้
  - ระดับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครอง
  - ระดับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองด้วยกันเอง
  - ระดับความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐบาล
  - ระดับความสัมพันธ์ระหว่างการปกครองระดับชาิติกับการปกครองท้องถิ่น

        ความสัมพันธ์ระหวางผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครอง
   อำนาจของรัฐบาลและสิทธิเสรีภาพของเอกชนเป็นสิ่งที่มักสวนทางกันเสมอการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครองเท่ากับเป็นการสำรวจดูว่าในสังคมนั้น ได้จัดความสัมพันธ์ระหวางผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้อการปกครองเท่ากับเป็นการสำรวจดูว่าในสังคมนั้น ได้จัดความสัมพันธ์ดังกล่าวอย่างไร มีความสมดุลหรือไม่ หรือได้ให้น้ำหนักแก่ฝ่ายใดมากกว่ากัน โดยหลักการแล้วสิทธิเสรีภาพของเอกชนเป็นสิ่งที่มีคุณค่าตามคตินิยมในระบบประชาธิปไตย แต่ในขณะเดียวกันอำนาจของรัฐก็เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ไม่อาจหลักเลี่ยงได้ ดังนั้นสิทธิเสรีภาพของเอกชนจึงไม่ควรมีมากเสียจนเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของรัฐบาลและในขณะเดียวกันรัฐบาลก็ไม่ควรมีมากเสียจนเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของเอกชนและเสรีภาพของเอกชนด้วย
   ในแง่นี้ระบบประชาธิปไตยสร้างหลักประกันที่สำคัญให้แก่ผู้อยู่ใต้ปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อที่ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานที่ให้เอกชนเข้ามามีบทบาททางการเมือง โดยทั่วไปแล้วกฎหมายต้องให้หลักประกันแก่เอกชนในเรื่องต่าง ๆ อาทิ การพูด การเขียน สิ่งตีพิมพ์ และการโฆษณาเป็นต้น
  โดยจะให้ความสำคัญกับกลไกต่างๆ ที่ทำให้ผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครองสัมพันธ์ใกล้ชิดกันกลไกดังกล่าวคือ
  การเลือกตั้งและการมีส่วนร่วมของประชาชน
  การทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐบาล
นักวิเคราะห์ให้ความสำคัญกับสถาบันอันเป็นตัวแทนของประชาชน เพราะเป็นสถาบันที่เชื่อมประชาชนเข้ากับกลไกต่่างๆ ของรัฐ โดยกระบวนการในการเลือกตั้งจะทำหน้าที่ในการกลั่นกรองนโยบายและตัวบุคคลที่จะเข้าสู่ตำแหน่งอำนาจหน้าที่ในการบริหารบ้านเมือง
  ในระดับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองอันเป็นมิติการเมืองในแนวดิ่ง นักวิเคราะห์ให้ความสำคัญแก่องค์กรอันเป็นกลไกของรัฐที่ทำหน้าเชื่อมโยงโครงสร้างสถาบันการเมืองเบื้องบนกับประชากรเบื้องล่างเข้าด้วยกัน มิติเช่นนี้เป็นสิ่งที่เกิดคู่กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและแนวความคิดเช่นนี้เป็นแนวความคิดที่มีอิทธิพลมาโดยตลอด

     ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองด้วยกันเอง
ระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มี 2 รูปแบบคือรูปแบบประธานาธิปดี และ รูปแบบรัฐสภา รูปแบบประธานาธิปดี จะเป็นการแบ่งอำนาจ ส่วนในระบบรัฐสภาจะเรียกเป็นรูปแบบการหลอมรวมอำนาจ ผู้กุมเสียงข้างมากในรัฐสภา คือผู้กุมอำนาจฝ่ายบริหาร
   การจัดความสัมพันธ์ระหว่างสภาบันทางการเมืองหลักๆ เพื่อก้อให้เกิดหลักประกันมิให้ผู้เข้ามาทำหน้าที่รัฐบาลมีอำนาจล้นพ้นอาจเป็นการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของเอกชนรวมตลอดทั้งเป็นการระดมความคิดจากฝ่ายต่าง ๆ ที่อยู่ต่างสถาบันเืพื่อทำหน้าที่ในการบริหารบ้านเมืองให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นอกจากความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันแล้ว นักวิเคราะห์เลิงสถาบันยังให้ความสนใจแก่การจัดโครงสร้างถายในมัเกเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดองค์กรภาพใการแบ่งงานและอำนาจหน้าที่และการวางขั้นตอนในการปฏิบัติหน้าที่สิ่งเหล่านี้จะเป็นที่สนใจของนักรัฐศาสตร์แนวสถาบัน เพราะจะเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความพร้อมในด้านองค์กรในการตอบสนองปัญหาและความต่องการเฉพาะด้าน
   ในระบบการเมืองการปกครองในปัจจุบันนอกจากสถาบันทางการเมืองที่อยู่เบื้องบนในโครงสร้างสามเหลี่ยมพีระมิดแล้ว ก็มีองค์การหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้ คือ ระบบราชการ ถ้าสังคมมีความซับซ้อนมากเท่าใด ระบบราชการจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้น เพราะวาระบบราชการจะเป็นแหล่งรวมของผู้ชำนนาญการ หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเฉพาะสาขา ดังนั้น ระบบราชการในเกือบทุกประเทศจะมีแนวโน้มในการแยกตัวเป็ฯอิสระจากองค์กรอื่น ซึ่งจะมีแนวโน้มในการขัดแย้งกบสถาบันทางการเมืองอยู่เสมอที่สำคัญ คือ มักขัดแย้งกับฝ่ายบริหารเพราะจำต้องอาศัยระบบราชการในฐานะกลไกของรัฐเพื่อการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย  เพราะนักการเมืองทีเป้าหมายในการสะท้อนให้เห็นถึงผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามบรรทัดฐานในทางวิชาชีัพของข้าราชการดังนั้นดลาวได้ว่านักการเมืองเป็นผู้มีความรอบรู้กล่าง เพื่อสะท้อนให้เห็นภาพระบบเศรษฐกิจและสังคมในขณะที่ข้าราชการจะมีความชำนาญเฉพาะด้านของตนเอง ลักษณะความขัดแย้งนี้ได้เกิดขึ้นตลอดมาในระบบประชาธิปไตยเพื่อควบคุมระบบราชการ
       
   ความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐบาล
ในทัศนะของนักวิเคราะห์เชิงสถาบันนอกจากสถาบันทางการเมืองตาง ๆ หน่วนงานราชการและประชาชนทั่วไปแล้ว อีกมิติหนึ่งที่ควรแก่การสนใจคือ ความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐบาล สิ่งสำคัญที่ท้าทายความอยู่รอดของระบอบประชธิปไตยคือผลประโยชน์ของภาคเอกชนที่มีแนวโน้มในการรวมกลุ่มกันเพื่อผลักดันให้รัฐบาลมีนโยลบายหรือกระทำการอันใดที่อาจเอื้ประโยชน์ให้แก่กลุ่มของตนเอง เพราะผลประโยชน์ในทางธุรกิจของภาคเอกชนในระบบทุนนิยมนั้นมีปริมาณมูลค่าที่มหาศาลแบะมีแนวโน้มที่จะเพิ่มพูนรายได้ให้แก่รัฐ โดยการขยายฐารนตัวเลขกับภาษีอากรให้แก่รัฐ ดังนั้นพฤติกรรมของรัฐบาลมักเอื้อประโยชน์ให้แก่ภาคเอกชนอยู่เสมอ
  ผลประโยชน์ของภาคเอกชนนั้นต้องแสวงหาอำนาจในทางการเมืองเพื่อผลักดันให้นโยบายของรัฐเอื้ประโยชน์ให้แก่ตน ซึ่งเห็นว่ามแ้ระบบประชาธิปไตยแบบอเมริกาจะมีกลไกต่า ๆ ในการกลั่นกรองไม่ให้ผลประโยชน์ภาคเอกชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเข้าครอบงำนโยบายของรํบเอื้อประโยชน์ภาคเอกชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเข้าครอบงำใโยบายของรัฐก็ตา แต่กลไกเหล่านี้ไม่มีประสิทธิภาพในการสกัดกั้นอิทธิพลของกลุ่มเอกชนบางกลุ่มไม่ ซึ่งในความเห็นของนักรฐศาสตร์ตะวันตกที่ต้องการสำควจความสัมพันธ์ระหวางภาคเอกชนกับภาครัฐบาลของระบบการเมืองอเมริกายอมรับกลไก ลอบบี้ เท่ากับเป็ฯการสะท้อนให้เห็นว่านักการเมืองกับกลุ่มผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มจะต้องแยกจากกัน ในทางทฤษฏีนักการเมืองจะต้องฟังความคิดเห็นของ ทุก ๆ กลุ่มหาามีส่วนพัวพันโดยตรงกับกลุ่มผลประโยชน์ใดโดยเฉพาะนักการเมืองผู้นั้นย่อมล่อแหลมต่อสถานะทางการเมืองของตน ซึ่งลักษณะเช่นนี้ตรงกันข้ามกับสภาพในอังกฤษ
 
   ความสัมพันธ์ระหว่างระดับชาติกับระดับท้องถ่ิน
เป็นสิ่งหนึ่งท่นักวิเคราะห์เชิงสถาบันให้ความสนใจในแง่นี้ก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองการปกครองในระดับชาติกับการเมืองการปกครองในระดับท้องถ่ิน ซึ่งมี 2 รูปแบบ
           การจัดความสัมพันธ์แบบรัฐเดี่ยว เน้นการรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางเช่นประเทศฝรั่งเศส ประเทศไทย ในรูปแบบนี้มุ่งก่อให้เกิดเอกภาพในการปกครอง ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างของอินโดนีเซีย เมือได้รับเอกราชไม่เพียงกี่เดือนก็ปฏิเสธรูปแบบของสหพันธรัฐที่ฮอลันดาได้ทิ้งไวให้ โดยหันไปยึดเอาแบบรัฐเดี่ยวเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะนำไปสู่ความแตกแยกระหว่างภูมิภาคหรือเกาะต่าง ๆ ได้
            การจัดความสัมพันธ์แบบสหพันธรัฐ ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดรูปแบบของรัฐแบบนี้ ตคือขนาดของดินแดนหรืออาณาบริเวณของประเทศและความแตกต่างในภาษาและวัฒนธรรมของท้องถ่ินการจัดรูปแบบของรัฐเช่นนี้มัีกให้อำนาจแก่ท้องถ่ินในการปกครองตัวเองค่อนข้างมาก ดังนี้นประเทศที่มีอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่จึงมักใช้รูปแบบของแบบสหพันธรัฐ ทั้งนี้เพื่อเป็ฯการแบ่งเบาภาระของรัฐบาลกลาง เช่น สหรัฐอเมริก รัฐเซีย อินเดีย บราซิล ..

                        สถาบันทางการเมืองกับการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง
โดยปกติแล้วสถาบันทางการเมืองจะดำรงอยู่ในสังคมในฐานะสุญญากาศไม่ได้สถาบันจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่น ๆ ของสังคมอยู่เสมอ ทั้งนี้เป็นเพราะสถาบันเป็นตัวแทนของประชาชนในการสร้างกลไกต่าง ๆ ภายในระบบการเมืองให้เป็นไปยอ่างปกติสุขฉะนั้นการมีส่วนร่วมทากการเมืองจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่นเป็นตัวกำหนดด้วย
  ปัจจัยเรื่องความเป็นสถาบันทางการเมืองมีสองระดับ คือ ระดับสูง และระดับต่ำ
  ปัจจัยด้านการมีส่วนรวมทางการเมืองมี 3 ระดับ คือ
-ระดับต่ำคือ สังคมหรือระบบการเมืองที่ยินยอมให้เฉพาะชนชั้นขุนนางฯ หรือผู้นำเก่าๆเท่านั้นเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง
-ระดับกลาง  คือ ระบบที่การเมืองที่เริ่มให้ชนชั้นกลางเข้ามีส่วนรวมทางการเมือง
-ระดับสูง คือ ระบบการเมืองที่ให้ชนทุกชั้นในสังคมเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง
ระบบการเมือง
  1 ระบบการเมืองแบบ civic polities หมายถึงที่ี่มีระดับของความเป็นสถาบันสูงเมื่องเทียบกับอัตราเพิ่มของระบบการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองในสังคม
  2 ระบบการเมืองแบบ praetorian หมายถึง ระบบการเมืองที่มีระดับของความเป็นสถาบันต่ำเมืองเทียบกับระดับของการเช้ามีส่วนร่วมทางการเมืองที่สูง สังคมนี้ผู้คนจะเข้าไปมีส่วนร่วมโดยใช้พลังหรือวิธีการของตนเอง ไม่ยอมรับในกระบวนการทางการเมืองที่เป็นอยู่ ความชอบธรรมของสถาบันทางการเมืองที่มีอยู่ต่ำมาก
    การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนมีความสำคัญยิ่งเพราะนั่นคือการที่ประชาชนมีอิทธิพลต่อสภาบันการเมืองต่าง ๆ และทำให้อำนาจไม่ตกอยู่ในสถาบันใดสถาบันหนึ่ง


วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

31 ภพภูมิ :

ในความเชื่อทางพุทธศาสนามีความเชื่อที่ว่าเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนี
และสถานที่สิ่งมีชีวิตทุกรูปนามเวียนว่ายตายเกิดนั้นเรียกว่า"วัฎสงสาร หรือ สังสารวัฎ"
ด้วยอำนาจกิเลส กรรม วิบาก

  อันประกอบด้วย อรูปพรหม 4 รูปพรหม 16 เทวดา 6 โลกมนุษย์ 1 สัตว์เดรัจฉาน 1  เปรต 1 อสุรกาย 1 และนรก 1

แบ่งเป็น โลกเบื้องต่ำได้แก่ นรกภูมิ อสุรกายภูม เปรตภูม เดรัจฉานภูมิ
               โลกเบื้องกลาง ได้แก่เทวภูมิ 6 และมนุษย์ภูมิ 1
               โลกเบื้องสูงได้แก่ อรูปพรหม 4 รูปพรหม 16






โลกเบื้องต่ำ
นรกภูมิ ประกอบด้วยมหานรกหลัก มี 8 ขุม อยู่ห่างกัน โดยมียมโลก320 ขุมล้อมรอบทั้งสี่ทิศของทั้ง 8 ขุม นรกขุมที่ลึกที่สุดเรียกว่า "โลกันตนรก" มืดมนไม่มีแสง เต็มไปด้วยทะเลน้ำกรดเย็น
นรกทั้ง8 ขุมนี้ผู้ำกระผิดศีล 5 เป็นอาจิณ ผู้มัวเมาในอบายมุข รวมทั้งผู้ทำกรรมหนัก หรือ อนันตริยกรรม มีฆ่าบิดา มารดา ฆ่าพระอรหันต์ เป็นต้น ย่อมมีนรกเป็นอำนาจแห่งกรรมที่จะส่งผลให้ไปเกิดในแดนนรก
เดรัจฉานภูมิ โลกของสัตว์ที่มีความยินดีในเหตุ 3 ประการ คือ กิน นอน และสืบพันธ์บุพกรรมที่นำให้มาสู่ภพภูมินี้คือ เมื่อเป็นมนุษย์จิตไม่บริสทธิ์  ประพฤติอกุศลหยาบช้าลามกทั้งหลาย หรือเพราะอำนาจเศษบาปอกุศลกรรทที่ทำไว้ให้ผล หรือ เพราะเมื่อใกล้ตายจิตประกอบด้วยโมหะ หลงผิด ขาดสติ ไม่มีสรณะเป็นที่พึงจะยึดให้มั่นคง คตินิมิตชี้บอกถึงโลกเดรัจฉานจิตยึดเหนียวเมื่อดับจิตตายขฯะนั้นต้องเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
เปรตภูมิ โลกที่อยู่ของสัตว์ที่ห่างไกลความสุข เปรตเป็นผีตามความเชื่อไทย มีรูปร่างสูงเท่าต้นตาล ผมยาว คอยาว ผอมโซ ผิวดำ ท้องโต มือเท่าใบตาล ปากเท่ารูเข็ม และจะหิวอยู่ตลอดเวลา ชอบมาขอส่วนบุญในงานบุญตาง ๆ ประเภทของเปรตนั้น ในพระพุทธศาสนาแบ่งเป็นหลายแบบในแต่ละคัมภีร์ กรรมที่ส่งผลให้มาเกิดในภพภูมินี้คือ ประพฤติอกุศลกรรมบท 10 ประการ เมื่อขาดใจตายจากโลกมนุษย์ หากอกุศลกรรมนั้นนำไปสู่นิรยภูมิได้ต้องไปเสวยทุกข์โทษในนรกก่อน พอสิ้นกรรมพ้นจากนรกแล้ว เศษปาปยังมีก็ไปเสวยผลกรรมเป็นเปรตต่อภายหลัง  หรือมีอกุศลกรรมที่เกิดจากโลภะนำมาเกิด คตินิมิต บ่งยอกถึงโลกเปรต เช่น เห็นหุบเขา ถ้ำอันมือมิดทีวังเวงและปลอดเปลี่ยว หรือเป็นเป็นแกลบและข้าวรีบมากมาย แล้วรู้สึกนิวโหยและกรหายน้ำบ้าง ..แล้วจิตยึดหน่วงเป็นอารมณ์ เมื่อดับจิตตายขฯะนั้น ต้องบังเกิดเป็นเปรตเสวยทุกขเวทนาตามสมควรแก่กรรม

อสุรกายภูมิ ภูมิอันเป็นอยู่ของสัตว์อันปราศจากความเป็นอิสระและสนุกรื่นเริง แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
- เทวอสุรา มี 6 จำพวก ห้าจำพวกแรกเป็นปฏิปักษ์ต่อเทวดาชั้นตาวติงสา สงเคราะห์เข้าในพวกเทวดาชัวติงสา ส่วนอีกจำพวกมีรูปร่างเล็กกว่าและอำนาจน้อยกว่าเทวดาชั้นตาวติงสา อาศัยอยู่ในโลกมนุษย์สงเคราะห์เข้าเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกา
-เปตติิสุรา มี 3 จำพวก เป็นเปรตที่ประหัตประหารกันด้วยอาวุธต่าง ๆ
- นิรยอสุรา เป็นเปตจำพวกหนึ่งที่เสวยทุกขเวนาอยู่ในนรกขุมที่ 8

โลกเบื้องกลาง เทวภูม 6 โลกมนุษย์ 1
โลกมนุษย์ เป็นที่อาศัยของสัตว์ผู้มีใจสูงในเชิงกล้าหาญที่จะประกอบกรรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล แบ่งเป็น 4 จำพวก
  - ผู้มืดมาแล้วมืดไป  ผู้เกิดในตระกูลต่ำต้อยและกลับประพฤติทุจริตในกาย วาจาและใจเมื่อตายไปย่อมเข้าสู่ทุคติอบาย
  -  ผู้มืดมาสว่างไป  ผู้เกิดในตระกูลต่ำต้อยแต่เป็นผู้มีศรัทธา ไม่ตระหนี่เป็นคนมีความดำริประเสริฐ มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมให้ทาน ย่อมลุกรับสมณะชีพราหมณ์ ...เมื่อตายไปย่อมถึงสคติภูมิ
  - ผู้สว่างมาแล้วมืดไป ผู้เกิดในตระกูลสูง เป็นคนมั่งคั่งมั่งมี แต่กลับเป็นไม่มีศรัทธา ตระหนี ไม่มีความเอื้อเฟื้อ... เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงทุคติอบาย
  - ผู้สว่างมาแล้วสว่างไป เป็นผู้เกิดในตระกูลสูงและเขาย่อมประพฤติสุจริตกาย วาจ และใจ ตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
  กรรมของมนุษย์ที่ทำในกาลก่อน ส่งผลให้มีปฏิปทาต่างกัน เช่น บางคนเป็นคนดี บางคนบ้า ยางคนรวย บางคนจน นั้นล้วนมีเหตุปัจจัยต่างๆ กัน
เทวภูมิ 6
- จาตุมมหาราชิกาภูมิ(สวรรค์ชั้นที่ 1 ) เมื่อเป็นมนุษย์ ชอบทำความดี สันโดษ ยินดีแต่ของๆ ตน ชักชวนให้ผู้อื่นประกอบการกุศล ชอบให้ทาน เป็นผู้มีความวหังในทาน มีจิตผู้กพันแห่งทานแล้วให้ทาส มุ่งการสั่งสมให้ทานให้ทานด้วยความคิว่า "เราตายแล้วจักได้เสวยผลแห่งทานนี้"และเป็นผู้มีศีลญ
- ตาวติงสาภูมิ หรือ ดาวดึงส์(สวรรค์ชั้นที่ 2) เมื่อเป็นมนุษย์มีจิตบริสทฺุธิ์ ยินดีในการให้ทาน มให้ทานด้วยความคิดว่า"การให้ทานเป็นการกระทำดี" งดงามด้วยพยายามรักษาศีล ไม่ดูหมิ่นผู้ใหญ่ในตระกูลฯ
- ยามาภูมิ(สวรรค์ชั้นที่ 3) เป็นที่อยู่ของเทพยาดาผู้มีแต่ความสุขอันเป็นทิพย์ เมื่อเป็นมนุษย์มีจิตบริสุทธิ์ พยายามสร่้างเสบียง ไม่หวั่นไหวในการบำเพ็ญบุญกุศล ให้ทานด้วยความคิดที่ว่า"เป็นประเพณีที่บรรพบุรุษกระทำม่เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี" รักษาศีล มีจิตขวนขวายในธรรม ทำความดีด้วยใจจริง
-ตุสิตาภูมิ(สวรรค์ชั้น 4) เป็นที่อยู่ของเทพเจ้าผู้มีความยินดีแช่มชื่นเป็นนิจ เมื่อเป็นมนุษย์มีจิบรุสุทธิ์ ยินดีมากในการบริจาคทาน ให้ทานด้วยความคิดที่ว่า"เราหุงหากิน แต่สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายไม่ได้หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหากิน ย่อมเป็นการไม่สมควร " ทรงศีล ทรงธรรม ชอบฟังพระธรรมเทศนา หรือเป็นพระโพธิสัตว์รู้ธรรมมาก
-นิมมานรตีภูมิ(สวรรค์ชั้น5) เป็นที่อยู่ของเทพเจ้าผู้ยินดีในกามคุณอารมณ์ ซึ่งเนรมิตขึ้สมาตามความพอใจ เมื่อเป็นมนุษย์ให้ทานด้วยความคิดว่า"เราจักจำแนกท่านเช่นเดียวกับฤาษีทั้งหลายในกาลก่อน
" ประพฤติธรรมสมำ่เสมอ พยายามรักษาศีลไม่ให้ขาด มีใจสมบูรณ์ด้วยศีล และมีวิริยะอุตสาหะในการบริจาคทานเป็นอันมาก
- ปรนิมมิตวสวัตีภูมิ(สวรรค์ชั้น 6 ) เป็นที่อยู่ของเทพเจ้าซึ่งเสวยกามคุณอารมณ์ เมื่อเป็นมนุษย์อุตส่าห์ก่อสร้างกองการกุศลให้ยิ่งใหญ่เป็นอุกกฤษฏ์ อบรมจิตใจสูงส่งไปด้วยคุณธรรม เมื่อจะให้ทานรักษาศึลก็ต้องบำเพ็ญกันอย่างจริงๆ มากไปด้วยความศรัทธาปสาทะอย่างยิ่งยวด ให้ทานด้วยคิดว่า "เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตของเราจะเลื่อมใส จะเกิดความปลื้มใจและโสมนัส"เพราะวิบากแห่งทาน และศีลอันสูงส่งยิ่งเท่านั้น จึงอุบัติในสวรรค์ชั้นนี้


โลกเบื้องสูง
ปฐมฌานภูมิ 3 ทุติยฌารภูมิ 3 ตติยฌารภูมิ3 และ พรหมภูมิตั้งแต่ชั้นที่ 1-20
โสดาบันโลกุตรภูมิ ผู้ถึงภูมินี้ได้ชื่อว่าพระอริยบุคคลโสดาบัน แบ่งเป็น
- เอกพีชีโสดาบัน เกิดอีกชาติเดียว และ้วก็บรรลุพระอรหัตผล ปรินิพพาน
- โกลังโกละโสดาบัน เกิดอีก 2-6 ชาติ เป็นอย่างมากแล้ก็บรรลุพระอรหัจผล ปรินิพพาน
- สัตตักขัตตุปรมะโสดาบัน จะเกิดอีกอย่างมากไม่เกิด 7 ชาติ

สกทาคามีโลกุตรภูมิ
ผู้ถึงภูมินี้ได้ชื่อว่าพระอริยบุคคลสกทาคามี ซึ่งจะเกิดอีกพียงชาติเดียว....

อนาคามีโลกุตตรภูมิ
ผู้ถึงภูมินี้ได้ชื่อวาพระอนาคามี จะไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีก....

อรหัตโลกุตรภูมิ
มี 2 ประเภท คือ เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ผู้ถึงภูมินี้ เป็นผู้ที่สมควรแก่การบูชาของเหล่าเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะสิ้นกิิเลสโดยตัดสังโยชน์ 10 ประการได้ สามารถเข้าอรหัตผลสมัติ เสวยอารมณ์พระนิพพานได้ตามปรารถนา และไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกในวัฏสังสาร เมื่อถึงอายุขัยก็ดับขันธ์ปรินิพพาน





วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Power Approach

แนววิเคราะห์เชิงอำนาจ

  ความหมายของอำนาจ "คือ สมรรถภาพในความสัมพันธ์ของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นจากการตัดสิน และมีผลต่อความสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์"

 มิติ ของ อำนาจ
พิสัยอำนาจ คือ ชนิดของประเด็นปัญหาที่การตัดสินใจส่งผลไปถึง
ทรัพยากรอำนาจ แหล่ง สิ่งใดๆ ที่บุคคลหรือปัจเจกบุคคลนำมาใช้เพื่อให้เกิดอำนาจ
ความสามรถในการแผ่อำนาจ อำนาจสามารถขยายตัว หรือหดตัวได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและ
                                       และระบบการเมือง   
การกระจายอำนาจ  คือ การจัดให้อำนาจแพร่ออกไปสู่มวลสมาชิกของสังคม

 ลักษณะ ของ อำนาจ
อำนาจจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อบุคคลมีความสัมพันธ์กันทางสังคมเท่านั้น
อำนาจทำให้เกิดการต้านทาน ลักษณะเช่นเราเรียกว่าการควบคุม
การใช้อำนาจไม่เกิดผลเสมอไป การใช้อำนาจแต่ละครั้งจะเป็นเพียงความน่าจะเป็นเท่านั้น
เป็นทั้งความจริง และจินตนาการ
การบังคับ
ภาวะครอบงำ
ความต้องตาต้องใจ ความผูกพันทางจิตใจ

        การใช้อำนาจในทางการเมือง
มี ผู้กล่าวว่าอำนาจคือหัวใจของการเมือง การเมืองเป็นเรื่องการต่อสู้และแข่งขันชนิดหนึ่งเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ หรือ เืพื่ออุดมการณ์ อย่่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างพร้อมกัน
       วิธีทางการเมือง มีลักษณะสำคัญ อยู่สองอย่าง คือ เป็นกระบวนการที่ต้องตัดสินใจเลือกและเป็นกระบวนการของการขับเคี่ยวและต่อสู้
       "การตัดสินใจที่ทำให้ทุกคนในระบบการเมืองนั้นพอใจนั้นมีอยู่น้อย ทั้งการคากการณ์การล่วงหน้าว่าจะเกิดผลใดตามมานั้นเป็นเรื่องยาก นักการเมืองจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำให้ผู้ไม่เห็นด้วย หรือผู้ไม่ปฏิบัติตามมติการตัดสินใจนั้นยอมรับให้มากที่สุด   การพยายามใช้อิทธิพลกับผู้อื่นทำในสิ่งที่ตนอยากให้ทำนี้ คือการใช้อำนาจ จึงมีผู้กล่าวว่าอำนาจคือหัวใจของการเืมือง"
 
   ผู้นำและอำนาจ
แนว คิดเรื่องผู้นำ-ผู้ตาม จะอิงอยู่กับอำนาจ อำนาจของผู้นำคือการกระทำที่ตอบสนองความต้องการของผู้ครองอำนาจ โดยการกระทำไม่ใช่ความปรารถนาของตนเอง แต่มาเห็นชอบในภายหลัง
   การใช้อำนาจบังคับในรูปแบบใช้กำลัง เป็นเครื่องชี้ถึงสภาพที่ ประชาชนในระบบการเมืองไม่มีความสอดคล้องต้องกันในเป้าหมายขั้นพืั้นฐาน
   การใช้กำลังบังคับแสดงถึงการไม่ปรารถนาจะปฏิบัติตามผู้ครองอำนาจดังนั้นการวิเคราะห์ในเชิงอำนาจส่วนหนึ่งจึงมักมุ่งไปที่"อิทธิพล"
   อำนาจที่ชอบธรรม คือ อำนาจหน้าที่ ซึ่งตรงข้ามกับอำนาจบังคับ ในการใช้อำนาจในทางการเมืองนักการเมืองจึงมุ่งที่สร้างความชอบธรรมในการใช้ อำนาจให้มากทีุ่สุด หรือกล่าวอีกนัยคือ นักการเมืองจะต้องทำอำนาจให้เป็นอำนาจหน้าที่ โดย
  ทำให้เป็นขนบธรรมเนียมประเพณี คือให้ปฏิบัติตามจนเป็นความเคยชิน เช่น อำนาจของพระสงฆ์ อำนาจผู้สูงอายุ
  ทำให้เป็นกฎหมาย  เป็นวิธีที่ระบอบยอมรับ
  ทำให้มีลักษณะชอบด้วยเหตุผล
  การโน้มน้าวโดยบุคลิกลักษณะพิเศษ เช่น ฮิตเลอร์ เหมาเจ๋อตุง คานธี
อำนาจหน้าที่จึงประกอบด้วย
   บทบาทและตำแหน่ง
จุด อ่อนของการวิเคราะห์เชิงอำนาจนั้น คือ การวัดอำนาจว่าใครมีมากกว่าใคร และ การจำกัดความ คำว่าอำนาจ ซึ่งมีคำจำกัดความใกล้เคียงกับอิทธิพล และข้อจำกัด คือ ปัจจัยอันหลากหลายในสังคม และข้อสังเกตอิทธิพลซ้อนเร้นและอิทธิพลชัดแจ้ง

  อำนาจ และ อิทธิพล
อำนาจอันเกิดจากแหล่งอำนาจ ดังนี้
-อำนาจหน้าที่ เป็นอำนาจเกิดจาก กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ขนบประเพณี กฎหมาย ฯ ซึ่งบุคคลส่วนใหญ๋ในการยอมรับ
- อำนาจบังคับ เกิดจากใช้กำลัง ทั้งจากร่างกายและอาวุธ
- อำนาจในการให้รางวัลหรือลงโทษ ต้นกำเนิดอำนาจชนิดนี้อยู่ที่ทรัีพยากร หรือสิ่งมีค่าในสายตาของผู้ถูกใช้อำนาจ อำนาจในการลงโทษคือสิ่งที่ตรงข้าม
- อำนาจอ้างอิง อำนาจชนิดนี้เกิดจากผู้ถูกใช้อำนาจ ชอบและเกิดความศรัทธาในตัวผู้ใช้อำนาจ
- อำนาจในฐานะผู้เชี่ยวชาญ อำนาจชนิดนี้เกิดจากความรู้ คุณวุฒิ ความเชี่ยวชาญ

  อิทธิพล
    หมายถึงสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในลักษณะทีฝ่ายหนึ่งได้กระทำการลงไปอันมีผล เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้เป็นไปตามความมุ่งหมายของตน
    โดยปกติอิทธิพลจะเกิดขึ้นโดยมีอำนาจหนุนหลัง ไม่ว่าจะมีอำนาจจริงหรือผู้ถูกใช้อิทธิพลเชื่อว่ามีจริง อิทธิพลจะเกิดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือทัศนคติของเป้าหมาย

 ลักษณะของอิทธิพล
ไม่มีอิทธิพล เช่น นายอำเภอสั่งให้ชาวบ้านรื้อเขื่อนที่ชาวบ้านสร้างขึ้นมา ชาวบ้านได้ยินแต่ไม่ทำตาม
อิทธิพลเบี่ยงเบน เช่น ลูกจ้างเรียกร้องให้ขึ้นเงินเดือนแต่นายจ้างกลับเพิ่มสวัสดิการให้
อิทธิพลทางบวก เช่น ลุกจ้างนัดหยุดงาน นายจาก สั่งให้ทำงานถ้าไม่ทำจะไล่ออก ลุกจ้างปฏิบัติตาม
อทิธิพลทางลบ เช่น ถ้าบอกลูกชายให้อยู่บ้านอ่านหนังสือในวันหยุด ลุกจะออกไปเที่ยวเล่นกับเพื่อนใน    กรณีนี้มีอิทธิพลทางลบ

 วิธีการใช้อิทธิพล
   การใช้อิทธิพลในแง่อำนาจ
อำนาจ หน้าที่ การสร้างอิทธิพลโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ มีลักษณะไม่ขึ้นกับตัวบุคคล มักไม่มีผลกระทบเป้าหมายโดยส่วนตัว เว้นแต่ ผู้ใช้อำนาจจะเลือกปฏิบัติ
     อิทธิพลจากอำนาจหน้าที่นั้นมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ สิ่งสำคัญสองประการ คือ การยอมรับของบุคคลหรือเป้าหมายมีต่อกฎเกณฑN ประเพณี และหลักกาีรที่นำมาอ้าง
  การใช้อำนาจในการให้รางวัล และลงโทษ การสร้างอิทธิพลในรูปแบบนี้โดยอาศัยสิ่งที่มีคุณค่าในสายตาเป้าหมายมาเป็น แรงกระตุ้นให้เป้าหมายกระทำไปตามเจตนารมณ์ของผู้ใช้อำนาจ หรือ จะในรูปแบบภัยคุกคาม เช่นการ จะตัดเงินเดือน ฯ
   ถึงแม้ว่าการสร้างอิทธิพลในรูปแบบนี้จะมีผลต่อเป้าหมายอย่างมาก แต่ก็มีผลสะท้อนด้วย กล่าวคือ การให้รางวัลหรือลงโทษนั้นยอ่มขึ้นอยู่กับการปฏิบัติงานของเป้าหมาย ซึ่งควรจะให้ร่างวัล หรือลงโทษ แต่ตราบใดที่ยังไม่มีมาตรวัดทางวัตถุ การสร้างอิทธิพลในรูปแบบนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับผู้ใช้อำนาจและเป้าหมายโดยตรง คือ เกิดจากการชอบพอเป็นการส่วนตัว หรือ เกิดจากการเกลียดชัง เป็นต้น
  การใช้กำลัง  เป็นวิธีการสร้างอิทธิพลด้วยวิธีรุนแรง หรือ คุกคามว่าจะใช้วิธีรุนแรง จะใช้วิธีนี้เมือไม่มีวิธีอื่นที่ดีกว่า
  การใช้อำนาจอ้างอิง วิธีการสร้างอิทธิพลรูปแบบนี้ เป็นในแบบชักชวนมากกว่าคุกคาม จุดสำคัญอยู่ที่เป้าหมายและสิ่งอ้างอิง อาจเป็นผู้ใช้อำนาจ หรือผู้อื่นก็ได้ เป็นเรื่องที่อาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัว

      โครงสร้างอำนาจ
โครงสร้างอำนาจแบบชนชั้นนำนิยม
    แนวคิดพื้นฐานทีว่า ในแต่ละสังคมประกอบด้วย ชนชั้นนำ และปวงชน ชนชั้นนำนั้นมีอำนาจมีน้อย ปวงชนเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคมแต่ไม่มีอำนาจ คำกล่าวของนักสังคมชาวอิตาลี "ทุกๆคนล้วนถูกปกครองโดยชนชั้นนำ ที่ประชาชนเลื่อกขึ้นมา" ทรรศนะแนวคิดของชนชั้นนำนิยม เชื่อว่าจะต้องมีคนหรือกลุ่มคนที่เป็นผู้ตัดสินใจแทนคนหมู่มาก ซึ่งเป็นมาแต่โบราณ ชนชั้นนำเป็นผู้ตัดสินใจแทนคนหมู่มากเสมอ การที่จะอธิบายระบบสังคมในเป็นที่เข้าใจอาจทำได้โดย พิจารณาว่าบุคคลในสังคมมีความแตกต่างกัน ในด้าน สถานภาพ เกียรติภูม และอิทธิพลที่มีต่อบุคคลอื่นในสังคม
  แนวคิดแบบชนชั้นนำนิยม ถือว่าโครงสร้างด้านสถานภาพเป็นกลุ่มของชั้นทางสังคม ในกรอบแนวคิดเช่นนี้จึงถือว่าปัจจัยต่างๆ ที่มาเป็นตัวกำหนดสถานภาพอย่างหนึ่งสูง อย่างอื่นก็จะสูงไปด้วยและมองว่าสังคมต่างๆ แบ่งเป็นชนชั้น อันประกอบด้วย ชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และชนชั้นตำ่


โครงสร้างอำนาจแบบพหุนิยม
แนวคิดแบบพหุนิยม ถือว่าอำนาจเกิดขึ้นจากการเข้ามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บุคคลจะมีอำนาจก็ต่อเมืองเขาได้เข้ามีส่วนร่วมต่อการตัดสินใจอย่างใดอย่าง หนึ่งเท่านั้น การครองตำแหน่งในสถาบันสังคมถือว่าเป็น"ศักยภาพ"ที่จะมีอำนาจเท่านั้น แต่อำนาจจะไม่เกิดขึ้นจริง จนกว่าเขาจะตัดสินใจ...
 

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...