แนววิเคราะห์เชิงอำนาจ
ความหมายของอำนาจ "คือ สมรรถภาพในความสัมพันธ์ของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นจากการตัดสิน และมีผลต่อความสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์"
มิติ ของ อำนาจ
พิสัยอำนาจ คือ ชนิดของประเด็นปัญหาที่การตัดสินใจส่งผลไปถึง
ทรัพยากรอำนาจ แหล่ง สิ่งใดๆ ที่บุคคลหรือปัจเจกบุคคลนำมาใช้เพื่อให้เกิดอำนาจ
ความสามรถในการแผ่อำนาจ อำนาจสามารถขยายตัว หรือหดตัวได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและ
และระบบการเมือง
การกระจายอำนาจ คือ การจัดให้อำนาจแพร่ออกไปสู่มวลสมาชิกของสังคม
ลักษณะ ของ อำนาจ
อำนาจจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อบุคคลมีความสัมพันธ์กันทางสังคมเท่านั้น
อำนาจทำให้เกิดการต้านทาน ลักษณะเช่นเราเรียกว่าการควบคุม
การใช้อำนาจไม่เกิดผลเสมอไป การใช้อำนาจแต่ละครั้งจะเป็นเพียงความน่าจะเป็นเท่านั้น
เป็นทั้งความจริง และจินตนาการ
การบังคับ
ภาวะครอบงำ
ความต้องตาต้องใจ ความผูกพันทางจิตใจ
การใช้อำนาจในทางการเมือง
มี
ผู้กล่าวว่าอำนาจคือหัวใจของการเมือง
การเมืองเป็นเรื่องการต่อสู้และแข่งขันชนิดหนึ่งเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ
หรือ เืพื่ออุดมการณ์ อย่่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างพร้อมกัน
วิธีทางการเมือง มีลักษณะสำคัญ อยู่สองอย่าง คือ เป็นกระบวนการที่ต้องตัดสินใจเลือกและเป็นกระบวนการของการขับเคี่ยวและต่อสู้
"การตัดสินใจที่ทำให้ทุกคนในระบบการเมืองนั้นพอใจนั้นมีอยู่น้อย
ทั้งการคากการณ์การล่วงหน้าว่าจะเกิดผลใดตามมานั้นเป็นเรื่องยาก
นักการเมืองจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำให้ผู้ไม่เห็นด้วย
หรือผู้ไม่ปฏิบัติตามมติการตัดสินใจนั้นยอมรับให้มากที่สุด
การพยายามใช้อิทธิพลกับผู้อื่นทำในสิ่งที่ตนอยากให้ทำนี้ คือการใช้อำนาจ
จึงมีผู้กล่าวว่าอำนาจคือหัวใจของการเืมือง"
ผู้นำและอำนาจ
แนว
คิดเรื่องผู้นำ-ผู้ตาม จะอิงอยู่กับอำนาจ
อำนาจของผู้นำคือการกระทำที่ตอบสนองความต้องการของผู้ครองอำนาจ
โดยการกระทำไม่ใช่ความปรารถนาของตนเอง แต่มาเห็นชอบในภายหลัง
การใช้อำนาจบังคับในรูปแบบใช้กำลัง เป็นเครื่องชี้ถึงสภาพที่
ประชาชนในระบบการเมืองไม่มีความสอดคล้องต้องกันในเป้าหมายขั้นพืั้นฐาน
การใช้กำลังบังคับแสดงถึงการไม่ปรารถนาจะปฏิบัติตามผู้ครองอำนาจดังนั้นการวิเคราะห์ในเชิงอำนาจส่วนหนึ่งจึงมักมุ่งไปที่"อิทธิพล"
อำนาจที่ชอบธรรม คือ อำนาจหน้าที่ ซึ่งตรงข้ามกับอำนาจบังคับ
ในการใช้อำนาจในทางการเมืองนักการเมืองจึงมุ่งที่สร้างความชอบธรรมในการใช้
อำนาจให้มากทีุ่สุด หรือกล่าวอีกนัยคือ
นักการเมืองจะต้องทำอำนาจให้เป็นอำนาจหน้าที่ โดย
ทำให้เป็นขนบธรรมเนียมประเพณี คือให้ปฏิบัติตามจนเป็นความเคยชิน เช่น อำนาจของพระสงฆ์ อำนาจผู้สูงอายุ
ทำให้เป็นกฎหมาย เป็นวิธีที่ระบอบยอมรับ
ทำให้มีลักษณะชอบด้วยเหตุผล
การโน้มน้าวโดยบุคลิกลักษณะพิเศษ เช่น ฮิตเลอร์ เหมาเจ๋อตุง คานธี
อำนาจหน้าที่จึงประกอบด้วย
บทบาทและตำแหน่ง
จุด
อ่อนของการวิเคราะห์เชิงอำนาจนั้น คือ การวัดอำนาจว่าใครมีมากกว่าใคร และ
การจำกัดความ คำว่าอำนาจ ซึ่งมีคำจำกัดความใกล้เคียงกับอิทธิพล และข้อจำกัด
คือ ปัจจัยอันหลากหลายในสังคม
และข้อสังเกตอิทธิพลซ้อนเร้นและอิทธิพลชัดแจ้ง
อำนาจ และ อิทธิพล
อำนาจอันเกิดจากแหล่งอำนาจ ดังนี้
-อำนาจหน้าที่ เป็นอำนาจเกิดจาก กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ขนบประเพณี กฎหมาย ฯ ซึ่งบุคคลส่วนใหญ๋ในการยอมรับ
- อำนาจบังคับ เกิดจากใช้กำลัง ทั้งจากร่างกายและอาวุธ
-
อำนาจในการให้รางวัลหรือลงโทษ ต้นกำเนิดอำนาจชนิดนี้อยู่ที่ทรัีพยากร
หรือสิ่งมีค่าในสายตาของผู้ถูกใช้อำนาจ อำนาจในการลงโทษคือสิ่งที่ตรงข้าม
- อำนาจอ้างอิง อำนาจชนิดนี้เกิดจากผู้ถูกใช้อำนาจ ชอบและเกิดความศรัทธาในตัวผู้ใช้อำนาจ
- อำนาจในฐานะผู้เชี่ยวชาญ อำนาจชนิดนี้เกิดจากความรู้ คุณวุฒิ ความเชี่ยวชาญ
อิทธิพล
หมายถึงสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในลักษณะทีฝ่ายหนึ่งได้กระทำการลงไปอันมีผล
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้เป็นไปตามความมุ่งหมายของตน
โดยปกติอิทธิพลจะเกิดขึ้นโดยมีอำนาจหนุนหลัง
ไม่ว่าจะมีอำนาจจริงหรือผู้ถูกใช้อิทธิพลเชื่อว่ามีจริง
อิทธิพลจะเกิดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือทัศนคติของเป้าหมาย
ลักษณะของอิทธิพล
ไม่มีอิทธิพล เช่น นายอำเภอสั่งให้ชาวบ้านรื้อเขื่อนที่ชาวบ้านสร้างขึ้นมา ชาวบ้านได้ยินแต่ไม่ทำตาม
อิทธิพลเบี่ยงเบน เช่น ลูกจ้างเรียกร้องให้ขึ้นเงินเดือนแต่นายจ้างกลับเพิ่มสวัสดิการให้
อิทธิพลทางบวก เช่น ลุกจ้างนัดหยุดงาน นายจาก สั่งให้ทำงานถ้าไม่ทำจะไล่ออก ลุกจ้างปฏิบัติตาม
อทิธิพลทางลบ เช่น ถ้าบอกลูกชายให้อยู่บ้านอ่านหนังสือในวันหยุด ลุกจะออกไปเที่ยวเล่นกับเพื่อนใน กรณีนี้มีอิทธิพลทางลบ
วิธีการใช้อิทธิพล
การใช้อิทธิพลในแง่อำนาจ
อำนาจ
หน้าที่ การสร้างอิทธิพลโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ มีลักษณะไม่ขึ้นกับตัวบุคคล
มักไม่มีผลกระทบเป้าหมายโดยส่วนตัว เว้นแต่ ผู้ใช้อำนาจจะเลือกปฏิบัติ
อิทธิพลจากอำนาจหน้าที่นั้นมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ
สิ่งสำคัญสองประการ คือ การยอมรับของบุคคลหรือเป้าหมายมีต่อกฎเกณฑN ประเพณี
และหลักกาีรที่นำมาอ้าง
การใช้อำนาจในการให้รางวัล และลงโทษ
การสร้างอิทธิพลในรูปแบบนี้โดยอาศัยสิ่งที่มีคุณค่าในสายตาเป้าหมายมาเป็น
แรงกระตุ้นให้เป้าหมายกระทำไปตามเจตนารมณ์ของผู้ใช้อำนาจ หรือ
จะในรูปแบบภัยคุกคาม เช่นการ จะตัดเงินเดือน ฯ
ถึงแม้ว่าการสร้างอิทธิพลในรูปแบบนี้จะมีผลต่อเป้าหมายอย่างมาก
แต่ก็มีผลสะท้อนด้วย กล่าวคือ
การให้รางวัลหรือลงโทษนั้นยอ่มขึ้นอยู่กับการปฏิบัติงานของเป้าหมาย
ซึ่งควรจะให้ร่างวัล หรือลงโทษ แต่ตราบใดที่ยังไม่มีมาตรวัดทางวัตถุ
การสร้างอิทธิพลในรูปแบบนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับผู้ใช้อำนาจและเป้าหมายโดยตรง
คือ เกิดจากการชอบพอเป็นการส่วนตัว หรือ เกิดจากการเกลียดชัง เป็นต้น
การใช้กำลัง เป็นวิธีการสร้างอิทธิพลด้วยวิธีรุนแรง หรือ คุกคามว่าจะใช้วิธีรุนแรง จะใช้วิธีนี้เมือไม่มีวิธีอื่นที่ดีกว่า
การใช้อำนาจอ้างอิง วิธีการสร้างอิทธิพลรูปแบบนี้
เป็นในแบบชักชวนมากกว่าคุกคาม จุดสำคัญอยู่ที่เป้าหมายและสิ่งอ้างอิง
อาจเป็นผู้ใช้อำนาจ หรือผู้อื่นก็ได้
เป็นเรื่องที่อาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัว
โครงสร้างอำนาจ
โครงสร้างอำนาจแบบชนชั้นนำนิยม
แนวคิดพื้นฐานทีว่า ในแต่ละสังคมประกอบด้วย ชนชั้นนำ และปวงชน
ชนชั้นนำนั้นมีอำนาจมีน้อย ปวงชนเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคมแต่ไม่มีอำนาจ
คำกล่าวของนักสังคมชาวอิตาลี "ทุกๆคนล้วนถูกปกครองโดยชนชั้นนำ
ที่ประชาชนเลื่อกขึ้นมา" ทรรศนะแนวคิดของชนชั้นนำนิยม
เชื่อว่าจะต้องมีคนหรือกลุ่มคนที่เป็นผู้ตัดสินใจแทนคนหมู่มาก
ซึ่งเป็นมาแต่โบราณ ชนชั้นนำเป็นผู้ตัดสินใจแทนคนหมู่มากเสมอ
การที่จะอธิบายระบบสังคมในเป็นที่เข้าใจอาจทำได้โดย
พิจารณาว่าบุคคลในสังคมมีความแตกต่างกัน ในด้าน สถานภาพ เกียรติภูม
และอิทธิพลที่มีต่อบุคคลอื่นในสังคม
แนวคิดแบบชนชั้นนำนิยม
ถือว่าโครงสร้างด้านสถานภาพเป็นกลุ่มของชั้นทางสังคม
ในกรอบแนวคิดเช่นนี้จึงถือว่าปัจจัยต่างๆ
ที่มาเป็นตัวกำหนดสถานภาพอย่างหนึ่งสูง
อย่างอื่นก็จะสูงไปด้วยและมองว่าสังคมต่างๆ แบ่งเป็นชนชั้น อันประกอบด้วย
ชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และชนชั้นตำ่
โครงสร้างอำนาจแบบพหุนิยม
แนวคิดแบบพหุนิยม
ถือว่าอำนาจเกิดขึ้นจากการเข้ามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
บุคคลจะมีอำนาจก็ต่อเมืองเขาได้เข้ามีส่วนร่วมต่อการตัดสินใจอย่างใดอย่าง
หนึ่งเท่านั้น
การครองตำแหน่งในสถาบันสังคมถือว่าเป็น"ศักยภาพ"ที่จะมีอำนาจเท่านั้น
แต่อำนาจจะไม่เกิดขึ้นจริง จนกว่าเขาจะตัดสินใจ...
วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น