Institution approach

                          แนววิเคราะห์สภาบัน

สถาบันคือ โครงสร้างและกระบวนการที่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่เป็นทางการไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย ประเพณี และพิธีกรรมใดๆ ซึ่งสามารถช่วยรักษามาตรฐานค่านิยมทางสงคมและช่วยสร้างกระบวนการเพื่อการควบคุมในสังคม
  สถาบันทางสังคมอาจพิจารณาได้หลายลักษณะ ลักษณะแรกเป็นหน่วยงานและสถานที่ สถาบันในลักษณะที่สองคือสถาบันที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์์แทนสิ่งซึ่งมีความสำคัญในสังคม และสถาบันในลักษณะที่สามคือสถาบันทีเป็นนามธรรมและเป็นการแบ่งแยกสังคมออกจากกัน เพื่อสะด่วกในการศึกษาส่วนประกอบของสังคม เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันทางเศรษฐกิจ และสถาบันการเมืองการปกครอง
  การเืมืองเป็นสถาบันหนึ่งของสถาบันทางสังคม ซึ่งหมายถึงสถาบันที่เคลื่อนไหวเป็นกระบวนการอยูในระบบการเมือง ซึ่งสามารถทำหน้าที่สือบเหนื่องกันและเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป
     ลักษณะที่สำคัญของสถาบันทางการเมือง
1 มีโครงสร้างแน่นอนหรือค่อนข้างแน่นอนคือศึกษาได้นั้นเอง
2 มีหน้าที่หรือกิจกรรมที่สืบเนื่องต่อกันไปนานพอสมควร
3 เป็นแบบแผนของพฤติกรรมทางการเมืองอย่างหนึ่งที่คนทั่วไปยอมรับ
4 แสดงถึงการมีความสัมพันธ์ต่อกันระหว่างมนุษย์ในทางการเมือง
    ค.ศ.ที่ 20 การศึกษาวิชารัฐศาสตร์ในลักษณะที่เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลได้เริ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกา การค้นคว้านี้ได้เริ่มต้อนด้วยการศึกษารูปแบบต่าง ๆของรัฐบาล โดยอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์สถาบัน และในขณะเดียวกันการค้นคว้านี้ก็ครอบคลุมไปถึง แนวความคิดต่าง ๆ ตลอดจนการคำเนินงานของรัฐบาล แนวความคิดสำคัญ ๆ ที่สนใจกัน ได้แก่ รัฐ กฎหมาย อำนาจอธิปไตย สิทธิความยุติธรรม เป็นต้น นักวิชาการเหล่านี้ได้หเริมให้ความสนใจกับหน้าที ต่าง ขององค์กรทางการเมืองและ กระบวนการทางการเมือง แต่อย่างไรก็ตามนักวิชการเหล่านั้นก็ยังถูกจำกัดอยู่ในกรอบของสถาบันทางกฎหมาย
  ปัจจัยหลักที่นักวิเคราะห์แนวสถาบันให้ความสนใจ
ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยของปวงชนเป็นเงื่อนไขของระบอบ รัฐบาลจะต้องปกครองโดยได้รับความยินยิมจากประชาชน แต่ในการปกครองนี้ รัฐบาลจะต้องมีอำนาจที่มีขอบเขตจำกัน และต้องมีการวางกรอบกำหนดของเขตของอำนาจอย่างชัดเจน นักรัฐศาสตร์แนวนี้จึงให้ความสำคัญกับรัฐธรรมนูญ ทั้งยังรวมถึงให้ความสำคัญกับการจัดรูปแบบของรัฐ ว่าควรเป็นแบบใด..และให้ความสำคัญกับอำนาจอธิปไตยทั้งสาม "นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ"
  ปัญหาที่สำคัญคือ ทำอย่างไรจึงจะจำกันอำนาจของรัฐบาลมิให้มีมากจนเป็นผลเสียต่อปัจเจกบุคคล
  ปัญหาที่ สอง จะมีวิธีการจัดความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันปกครองของรัฐอยางไรจึงจะก่อให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุล ระหว่างกันได้
 ดังนั้น การวิเคราะห์ระบบจึงในความสำคัญกับ
 - กฎหมายรัฐธรรมนูญ และ
 - โครงสร้างทางการเมือง
        กฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายแม่บทอื่นไดที่เกี่ยวสถาบันทางการเมือง จะเห็นได้ว่า แนวทางการศึกษาการเมืองเช่นนี้ มีรากฐานความคิดมาจากทฤษฎีประชาธิปไตยซึ่งตระหนักว่า อำนาจ เป็นรากฐานของการเมืองและในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น การใช้อำนาจจะต้องเป็นไปตามหลักการของความเสมอภาค และความยุติธรรม ซึ่งหลักการนี้ได้แก่ การปกครองโดยกฎหมาย ก่อให้เกิดอำนาจที่ชอบธรรมและประชาชนสามารถเลือกผู้แทนให้ไปเป็นผู้ัออกกฎหมายได้ การเป็นตัวแทนนั้นก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพระบอบอประชาธิปไตยจึงปกป้องเสรีภาพด้านต่าง ๆซึ่งแสดงออกด้วยการประกันสิทธิด้านต่้างๆ
   โดยปกติแล้วนักวิเคราะห์เชิงสถาบันจะศึกษาตัวบทกฎหมายเพื่อสำรวจดูว่าในสังคมนั้น ๆ มีการแบ่งสันปันส่วนการใช้อำนาตอย่างไร การศึกษาการใช้อำนาจทางการเมืองย่อมเท่ากับเป็นการแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ และความเสนมอภาคของเอกชน ซึ่งเอกชนในที่นี้หมายรวมถึงปัจเจกบุคคลและกลุ่มบุคคลที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่สามารถกระทำการใด ๆ ได้ดังบุคคล
       โครงสร้างทางการเมือง  แนววิเคราะห์เชิงสถาบันมุ่งสำรวจกลไกต่าง ๆ อันเป็นโครงสร้างสถาบันทางการเมืองที่กอรปกันเข้าเป็นระบบการเมืองในสังคมประชาธิปไตยโครงสร้างเหล่านี้มีความสลับซับซ้อนและเป็นความพยายามของสังคมมนุษย์ชาติที่ต้องการจัดระเบียบในทางการเมืองทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลในการใช้อำนาจของส่วนต่าง ๆ ในสังคมการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองจึงเป็นแนวทางแรก ๆ ที่เป็นที่ยอมรับในวงการรัฐศาสตร์ ในการมองปัญหาเชิงสถาบันจึงวิเคราะห์ในระดับต่าง ๆ ดังนี้
  - ระดับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครอง
  - ระดับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองด้วยกันเอง
  - ระดับความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐบาล
  - ระดับความสัมพันธ์ระหว่างการปกครองระดับชาิติกับการปกครองท้องถิ่น

        ความสัมพันธ์ระหวางผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครอง
   อำนาจของรัฐบาลและสิทธิเสรีภาพของเอกชนเป็นสิ่งที่มักสวนทางกันเสมอการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครองเท่ากับเป็นการสำรวจดูว่าในสังคมนั้น ได้จัดความสัมพันธ์ระหวางผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้อการปกครองเท่ากับเป็นการสำรวจดูว่าในสังคมนั้น ได้จัดความสัมพันธ์ดังกล่าวอย่างไร มีความสมดุลหรือไม่ หรือได้ให้น้ำหนักแก่ฝ่ายใดมากกว่ากัน โดยหลักการแล้วสิทธิเสรีภาพของเอกชนเป็นสิ่งที่มีคุณค่าตามคตินิยมในระบบประชาธิปไตย แต่ในขณะเดียวกันอำนาจของรัฐก็เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ไม่อาจหลักเลี่ยงได้ ดังนั้นสิทธิเสรีภาพของเอกชนจึงไม่ควรมีมากเสียจนเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของรัฐบาลและในขณะเดียวกันรัฐบาลก็ไม่ควรมีมากเสียจนเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของเอกชนและเสรีภาพของเอกชนด้วย
   ในแง่นี้ระบบประชาธิปไตยสร้างหลักประกันที่สำคัญให้แก่ผู้อยู่ใต้ปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อที่ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานที่ให้เอกชนเข้ามามีบทบาททางการเมือง โดยทั่วไปแล้วกฎหมายต้องให้หลักประกันแก่เอกชนในเรื่องต่าง ๆ อาทิ การพูด การเขียน สิ่งตีพิมพ์ และการโฆษณาเป็นต้น
  โดยจะให้ความสำคัญกับกลไกต่างๆ ที่ทำให้ผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครองสัมพันธ์ใกล้ชิดกันกลไกดังกล่าวคือ
  การเลือกตั้งและการมีส่วนร่วมของประชาชน
  การทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐบาล
นักวิเคราะห์ให้ความสำคัญกับสถาบันอันเป็นตัวแทนของประชาชน เพราะเป็นสถาบันที่เชื่อมประชาชนเข้ากับกลไกต่่างๆ ของรัฐ โดยกระบวนการในการเลือกตั้งจะทำหน้าที่ในการกลั่นกรองนโยบายและตัวบุคคลที่จะเข้าสู่ตำแหน่งอำนาจหน้าที่ในการบริหารบ้านเมือง
  ในระดับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองอันเป็นมิติการเมืองในแนวดิ่ง นักวิเคราะห์ให้ความสำคัญแก่องค์กรอันเป็นกลไกของรัฐที่ทำหน้าเชื่อมโยงโครงสร้างสถาบันการเมืองเบื้องบนกับประชากรเบื้องล่างเข้าด้วยกัน มิติเช่นนี้เป็นสิ่งที่เกิดคู่กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและแนวความคิดเช่นนี้เป็นแนวความคิดที่มีอิทธิพลมาโดยตลอด

     ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองด้วยกันเอง
ระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มี 2 รูปแบบคือรูปแบบประธานาธิปดี และ รูปแบบรัฐสภา รูปแบบประธานาธิปดี จะเป็นการแบ่งอำนาจ ส่วนในระบบรัฐสภาจะเรียกเป็นรูปแบบการหลอมรวมอำนาจ ผู้กุมเสียงข้างมากในรัฐสภา คือผู้กุมอำนาจฝ่ายบริหาร
   การจัดความสัมพันธ์ระหว่างสภาบันทางการเมืองหลักๆ เพื่อก้อให้เกิดหลักประกันมิให้ผู้เข้ามาทำหน้าที่รัฐบาลมีอำนาจล้นพ้นอาจเป็นการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของเอกชนรวมตลอดทั้งเป็นการระดมความคิดจากฝ่ายต่าง ๆ ที่อยู่ต่างสถาบันเืพื่อทำหน้าที่ในการบริหารบ้านเมืองให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นอกจากความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันแล้ว นักวิเคราะห์เลิงสถาบันยังให้ความสนใจแก่การจัดโครงสร้างถายในมัเกเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดองค์กรภาพใการแบ่งงานและอำนาจหน้าที่และการวางขั้นตอนในการปฏิบัติหน้าที่สิ่งเหล่านี้จะเป็นที่สนใจของนักรัฐศาสตร์แนวสถาบัน เพราะจะเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความพร้อมในด้านองค์กรในการตอบสนองปัญหาและความต่องการเฉพาะด้าน
   ในระบบการเมืองการปกครองในปัจจุบันนอกจากสถาบันทางการเมืองที่อยู่เบื้องบนในโครงสร้างสามเหลี่ยมพีระมิดแล้ว ก็มีองค์การหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้ คือ ระบบราชการ ถ้าสังคมมีความซับซ้อนมากเท่าใด ระบบราชการจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้น เพราะวาระบบราชการจะเป็นแหล่งรวมของผู้ชำนนาญการ หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเฉพาะสาขา ดังนั้น ระบบราชการในเกือบทุกประเทศจะมีแนวโน้มในการแยกตัวเป็ฯอิสระจากองค์กรอื่น ซึ่งจะมีแนวโน้มในการขัดแย้งกบสถาบันทางการเมืองอยู่เสมอที่สำคัญ คือ มักขัดแย้งกับฝ่ายบริหารเพราะจำต้องอาศัยระบบราชการในฐานะกลไกของรัฐเพื่อการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย  เพราะนักการเมืองทีเป้าหมายในการสะท้อนให้เห็นถึงผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามบรรทัดฐานในทางวิชาชีัพของข้าราชการดังนั้นดลาวได้ว่านักการเมืองเป็นผู้มีความรอบรู้กล่าง เพื่อสะท้อนให้เห็นภาพระบบเศรษฐกิจและสังคมในขณะที่ข้าราชการจะมีความชำนาญเฉพาะด้านของตนเอง ลักษณะความขัดแย้งนี้ได้เกิดขึ้นตลอดมาในระบบประชาธิปไตยเพื่อควบคุมระบบราชการ
       
   ความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐบาล
ในทัศนะของนักวิเคราะห์เชิงสถาบันนอกจากสถาบันทางการเมืองตาง ๆ หน่วนงานราชการและประชาชนทั่วไปแล้ว อีกมิติหนึ่งที่ควรแก่การสนใจคือ ความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐบาล สิ่งสำคัญที่ท้าทายความอยู่รอดของระบอบประชธิปไตยคือผลประโยชน์ของภาคเอกชนที่มีแนวโน้มในการรวมกลุ่มกันเพื่อผลักดันให้รัฐบาลมีนโยลบายหรือกระทำการอันใดที่อาจเอื้ประโยชน์ให้แก่กลุ่มของตนเอง เพราะผลประโยชน์ในทางธุรกิจของภาคเอกชนในระบบทุนนิยมนั้นมีปริมาณมูลค่าที่มหาศาลแบะมีแนวโน้มที่จะเพิ่มพูนรายได้ให้แก่รัฐ โดยการขยายฐารนตัวเลขกับภาษีอากรให้แก่รัฐ ดังนั้นพฤติกรรมของรัฐบาลมักเอื้อประโยชน์ให้แก่ภาคเอกชนอยู่เสมอ
  ผลประโยชน์ของภาคเอกชนนั้นต้องแสวงหาอำนาจในทางการเมืองเพื่อผลักดันให้นโยบายของรัฐเอื้ประโยชน์ให้แก่ตน ซึ่งเห็นว่ามแ้ระบบประชาธิปไตยแบบอเมริกาจะมีกลไกต่า ๆ ในการกลั่นกรองไม่ให้ผลประโยชน์ภาคเอกชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเข้าครอบงำนโยบายของรํบเอื้อประโยชน์ภาคเอกชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเข้าครอบงำใโยบายของรัฐก็ตา แต่กลไกเหล่านี้ไม่มีประสิทธิภาพในการสกัดกั้นอิทธิพลของกลุ่มเอกชนบางกลุ่มไม่ ซึ่งในความเห็นของนักรฐศาสตร์ตะวันตกที่ต้องการสำควจความสัมพันธ์ระหวางภาคเอกชนกับภาครัฐบาลของระบบการเมืองอเมริกายอมรับกลไก ลอบบี้ เท่ากับเป็ฯการสะท้อนให้เห็นว่านักการเมืองกับกลุ่มผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มจะต้องแยกจากกัน ในทางทฤษฏีนักการเมืองจะต้องฟังความคิดเห็นของ ทุก ๆ กลุ่มหาามีส่วนพัวพันโดยตรงกับกลุ่มผลประโยชน์ใดโดยเฉพาะนักการเมืองผู้นั้นย่อมล่อแหลมต่อสถานะทางการเมืองของตน ซึ่งลักษณะเช่นนี้ตรงกันข้ามกับสภาพในอังกฤษ
 
   ความสัมพันธ์ระหว่างระดับชาติกับระดับท้องถ่ิน
เป็นสิ่งหนึ่งท่นักวิเคราะห์เชิงสถาบันให้ความสนใจในแง่นี้ก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองการปกครองในระดับชาติกับการเมืองการปกครองในระดับท้องถ่ิน ซึ่งมี 2 รูปแบบ
           การจัดความสัมพันธ์แบบรัฐเดี่ยว เน้นการรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางเช่นประเทศฝรั่งเศส ประเทศไทย ในรูปแบบนี้มุ่งก่อให้เกิดเอกภาพในการปกครอง ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างของอินโดนีเซีย เมือได้รับเอกราชไม่เพียงกี่เดือนก็ปฏิเสธรูปแบบของสหพันธรัฐที่ฮอลันดาได้ทิ้งไวให้ โดยหันไปยึดเอาแบบรัฐเดี่ยวเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะนำไปสู่ความแตกแยกระหว่างภูมิภาคหรือเกาะต่าง ๆ ได้
            การจัดความสัมพันธ์แบบสหพันธรัฐ ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดรูปแบบของรัฐแบบนี้ ตคือขนาดของดินแดนหรืออาณาบริเวณของประเทศและความแตกต่างในภาษาและวัฒนธรรมของท้องถ่ินการจัดรูปแบบของรัฐเช่นนี้มัีกให้อำนาจแก่ท้องถ่ินในการปกครองตัวเองค่อนข้างมาก ดังนี้นประเทศที่มีอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่จึงมักใช้รูปแบบของแบบสหพันธรัฐ ทั้งนี้เพื่อเป็ฯการแบ่งเบาภาระของรัฐบาลกลาง เช่น สหรัฐอเมริก รัฐเซีย อินเดีย บราซิล ..

                        สถาบันทางการเมืองกับการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง
โดยปกติแล้วสถาบันทางการเมืองจะดำรงอยู่ในสังคมในฐานะสุญญากาศไม่ได้สถาบันจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่น ๆ ของสังคมอยู่เสมอ ทั้งนี้เป็นเพราะสถาบันเป็นตัวแทนของประชาชนในการสร้างกลไกต่าง ๆ ภายในระบบการเมืองให้เป็นไปยอ่างปกติสุขฉะนั้นการมีส่วนร่วมทากการเมืองจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่นเป็นตัวกำหนดด้วย
  ปัจจัยเรื่องความเป็นสถาบันทางการเมืองมีสองระดับ คือ ระดับสูง และระดับต่ำ
  ปัจจัยด้านการมีส่วนรวมทางการเมืองมี 3 ระดับ คือ
-ระดับต่ำคือ สังคมหรือระบบการเมืองที่ยินยอมให้เฉพาะชนชั้นขุนนางฯ หรือผู้นำเก่าๆเท่านั้นเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง
-ระดับกลาง  คือ ระบบที่การเมืองที่เริ่มให้ชนชั้นกลางเข้ามีส่วนรวมทางการเมือง
-ระดับสูง คือ ระบบการเมืองที่ให้ชนทุกชั้นในสังคมเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง
ระบบการเมือง
  1 ระบบการเมืองแบบ civic polities หมายถึงที่ี่มีระดับของความเป็นสถาบันสูงเมื่องเทียบกับอัตราเพิ่มของระบบการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองในสังคม
  2 ระบบการเมืองแบบ praetorian หมายถึง ระบบการเมืองที่มีระดับของความเป็นสถาบันต่ำเมืองเทียบกับระดับของการเช้ามีส่วนร่วมทางการเมืองที่สูง สังคมนี้ผู้คนจะเข้าไปมีส่วนร่วมโดยใช้พลังหรือวิธีการของตนเอง ไม่ยอมรับในกระบวนการทางการเมืองที่เป็นอยู่ ความชอบธรรมของสถาบันทางการเมืองที่มีอยู่ต่ำมาก
    การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนมีความสำคัญยิ่งเพราะนั่นคือการที่ประชาชนมีอิทธิพลต่อสภาบันการเมืองต่าง ๆ และทำให้อำนาจไม่ตกอยู่ในสถาบันใดสถาบันหนึ่ง


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)