วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Greco - Persian Wars

          
   สงคราม  เป็นสมบัติของมนุษยชาติ เป็นสิ่งคู่กับอารยธรรม ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์จวบจนปัจจุบัน และสู่อนาคต  ไม่มีจบสิ้น อุบายการทำสครามจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยก็คือ อาวุธยุททโธปกรณ์ และอาวุธยุทโธปกร์นั้นก็วิวัตณน์ไปตามอารยธรรมและเทคโนโลยีของของมนุษยชาติ ซึ่งจะพิจารณาได้จากสงครามหรือการรบตามภูมิภาคต่างๆ ในอายุของเรา….
   การใช้กำลังเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ เป็นเครื่องมือของการดำเนินความสัมพันธ์แบบสุดท้าย หลังจากวิธีการแบบอื่นๆ ไม่ได้ผลแล้วแต่ในบางยุคบางสมัย ก็มีผู้นำที่นิยมใช้สงครามเป็นเสมือน   “เกมส์(พระราชา)”เท่านั้น
   ร้อยละแปดสิบถึงเก้าสิบของกิจกรรมของมนุษยชาตินั้น ออกมาในรูปของการใช้กำลัง ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หมายความว่า มนุษย์ใช้เวลาไปในการสู้รบ มากว่าเวลาที่เอาไปใช้เพื่อการสร้างสรรค์  สิ่งประดิษย์อันยิ่งใหญ่ของมนุษย์จำนวนมาก เกิดขึ้นด้วยแรงผลักดันในความพยายามที่จะทำลายล้างกัน…

 เทพแห่งสงคราม


              สงคราม กรีก-เปอร์เซีย  คือสงครามของพวกกรีกกับชาวเปอร์เซียที่บุกมาจากทางฝั่งอาหรับเข้ามาทางตอนเหนือ ประวัติศาสตร์ได้จดบันทึกวีรกรรมของชาวสปาร์ตา Spsrta ที่ไปรบขวางพวกเปอร์เซียที่มีเป็นแสนด้วยกำลังคนไม่กีพันที่ช่องเขา”เทอร์โมพีเล”หยุดพวกเปอร์เซียได้หลายวันก่อนถูกทำลาย ถ่วงเวลาให้ชาวกรีกมีเวลาตั้งตัวต่อกรกับชาวเปอร์เซียได้สำเร็จในภายหลัง
            สงครามเปโลโปนีเซีย  สงครามกลางเมือง  ระหว่างรัฐของชาวเอเธนส์มหาอำราจทางทะเลกับชาวสปาต้าร์
          ชาวสปาร์ตาได้ขอความช่วยเหลือจากพวกเปอร์เซียให้ช่วยต่อเรือสู้กับชาวเอเธนส์ ตัดเสบียงทางทะเลกระทั่งชาวเอเธนส์อดอย่ากยอมแพ้ไปในที่สุด… หลังจากสงครามครั้งนี้รัฐกรีกก็เริ่มทำสงครามกันเรื่อยมาทำให้เสื่อมอำนาจลงอย่างรวดเร็ว และการมาถึงของชาว มาซีดอน
           อเล็กซานเดอร์มหาราช
ในขณะที่รัฐของกรีกแตกกระจัดกระจาย ชาวมาซีดอนทางตอนเหนือก็เรืองอำนาจขึ้นมา ฟิลลิปป์ เป็นผู้ที่เริ่มสร้างฐานอำนาจนำกองทัพบุกรัฐกรีกขึ้นเป็นผู้นำสมาพันธ์กรีกกุมอำนาจไว้ในมือ
      หลังจากสงครามกับพวกเปอร์เซียชาวกรีกก็ยังแค้นไม่หาย พยายามอย่างย่งที่จะบุกเข้าไปบ้าง ฟิลลิปป์สร้างกองทัพของเขาบ้างหลังจากที่รวมกรีกไว้ได้ แต่ก็มาถูกสัหาร อเล็กซานเดอร์ลูกชายเพียงคนเดียวขึ้นครองอำนาจ นำทัพสู้กับชาวเปอร์เซียบุกลงไปถึง”อียิปต์” จนชาวเปอร์เซียที่เคยรุ่งเรืองมากที่สุดอาณาจักรหนึ่งต้องมาเสื่อมอำนาจไป…
  pelopwarmap
           กรีก ในสมัยก่อนคริสตศักราช 600-500ปี กรีกยังไม่ได้รวมกันเป็นประเทศ หรือชาติรัฐ แต่แยกกัน เป็น นครรัฐ ต่างเป็นอิสระแก่กัน ในคาบสมุทรกรีก แต่ละรัฐมีคุณลักษณะ ความสามารถโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไป
          เปอร์เซีย มีแสนยานุภาพ และยิ่งใหญ่มาก สามารถปราบปรามและยึดครองอาณาจักรต่าง ๆ  ไว้ในอำนาจ เป็นที่ครั้นคร้ามยำเกรงแก่กลุ่มชาติต่าง ๆ ในย่ามนั้น ยุคนั้น โดยทั่วไป มีอาณาเขตกว้างขวาง
    สงครามกรีก-เปอร์เซีย ครั้งที่ 1
ในปี 492 ก่อนคริสตกาล กษัตริย์ดาริอุสที่ 1 แห่งเปอร์เซีย ให้มาร์โดนิอุส เป็นแม่ทัพ ยกกองทัพข้ามช่องเฮิลสปอนต์..และเรือเดินทัพมายังคาบสมุทรกรีกถูกพายุใหญ่ เรื่อส่วนใหญ่อัปปางจึงต้องเลิกทัพกลับ เมือชนะด้วยกองทัพไม่ได้กษัตริย์ดาริอุสที่ 1 จึงส่งคณะทูตไปยังรัฐต่างๆ ของกรีกเจรจาให้ยอมส่งส่วย แต่มีบางรัฐไม่ยอม อาทิ เอเธนส์ สปาร์ตาร์ เป็นต้น
     สงครามกรีก-เปอร์เซีย ครั้งที่ 2
สงครามมารรธอน
    ในฤดูร้อน 490 ปีกอ่นคริสตกาล กษัตริย์ดาริอุสที่ 1 จึงให้ ดาติส และ อาร์ตาเปอร์เนส ซึ่งเป็นหลาน เป็นแม่ทัพยกทัพไปปราบรัฐกรีก
     โดยปกติ รัฐต่างๆ ของกรีกมีจะรบพุ่งกันตามเขตแดนเสมอ คาดกันว่า เมื่อได้รับข่าวศึกนั้น รัฐเอเธนส์จะสามารถรวบรวมทหารและจัดเป็นกองทัพที่สามาถทำการรบได้ไม่เกินหนึ่งหมืน คน
ความช่วยเหลือจากรัฐอื่นๆ
        สปาร์ตา สัญญาว่าจะช่วยรัฐเอเธนส์สู้รบ แต่เมือกองทัพเปอร์เซียขึ้นฝั่งที่อ่าวอาราธอนนั้น เป็นวันขึ้น 6 คำ ซึ่งตามความเชื่อของชนชาติกรีกยุคนั้นต้องรอให้พระจันทร์เต็มดวงก่อน จึงจะเดินทัพได้ สปาร์ตาจึงยังไม่สามารถส่งกองทหารไปช่วยได้
       พลาตาเอ รัฐเล็กๆ ในแค้วนโบเอเตีย ได้ส่งกำลังทหารที่มีอยู่ไปช่วรัฐเอเธนส์ กำลังทหารของรัฐพลาตาเอที่ส่งไปช่วยรบที่ทุ่งมาราธอนนี้ มีจำนวน 1,000 คน ถึงแม้ว่ากำลังทหารจากพลาตาเอจะมีจำนวนเพียงน้อยนิด เทียบไม่ได้กับกองทัพมหาศาลของฝ่ายรุกราน แต่เก็มไปด้วยความมุ่งมั้น และจิตวิญญาณที่จะมาช่วยเหลือในยามคับขัน ทำให้ชาวเอเธนส์รู้สึกว่า ไม่ต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว
        ทุ่งมาราธอน อยุ่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้นอัตติกา เหนืออ่าวมาราธอน ห่างจากกรุงเอเธนส์ประมาณ 25 ไมล์ มีลักษณะเป็นครึ่งวงกลม จกาชายฝั่งเป็นที่ราบไปถึงเชิงเขาระยะประมาณ 6 ไมล์ กว้างประมาณ 2 ไมล์ สองข้างกระหนาบด้วย ลำน้ำ ภูเขา และหนองน้ำ รอบทุ่งราบนี้เป็นป่าสน มะกอก ซีดาร์ และไม้พุ่มเตี้ยมีกลิ่นหอ

plain_of_marathon_resize(1)

       ความมุ่งหมายของกองทัพทั้งสองที่เผชิญหน้ากันอยู่นั้น ฝ่ายหนึ่ง ต้องการชัยชนะเพื่อแผ่ขยายอำนาจ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่ง ต่อสู้เพื่อความอยู่รอด เมื่อกาลเวลาผ่านไป ปรากฎว่า ผลของการรบคราวนี้ไม่ได้เป็นแต่เพียงการพ่ายแพ้ หรือชัยชนะของกองทัพ เท่านั้น แต่มีผลไปถึงความเจริญก้าวหน้า และอารยธรรมของมนุษยชาติมาตราบปัจจุบัน
    กรีก กองทัพเล็กๆ มีทหารราบไม่เกิน 11,000 ไม่มีพลธนู ไม่มีทหารม้า ต้งอค่ายอยู่บนเนินเขา สามารถมองเห็นการเคลื่อไหวของข้าศึกได้ทุกระยะ
   เปอร์เซีย กองทัพมีรี้พลมากมายมหาศาล ถึง 250,000 คน พลากหลายเชื่อชาต ในเครื่องแต่งกายหลากหลายสีสัน กางเต็นท์เรียงรายกันอยู่รอบอ่าวมาราธอน
กองทัพเปอร์เซียนอกจากจะแตกต่างกันในเรื่องดังกล่าวแล้วยังแตกต่างกันในเรื่อง ภาษา วัฒนธรรม ศรัทธา ความเชื่อ และหลักนิยมในทางทหาร แต่กองทัพเปอร์เซียนั้นคุ้นเคยกับชัยชนะ คือเป็น กองทัพที่ไม่รู้จักแพ้

      การวางแผนการรบ เนื่องจากกำลังของกรีกน้อยกว่ายี่สิบห้าเท่าจึงต้องพิจารณาแผนอย่างมาก กลุ่มหนึ่งเห็นว่าควรตั้งค่ายอยู่บนที่สูง ตามทานการบุกโจมตี รอกองกำลังจากสปาตาร์..
   อีกกลุ่มเห็นว่า ควรรีบเข้าโจมตีก่อนที่ฝ่ายเปอร์เซียจะพร้อมเต็มที่ แต่การโจมตีก่อน เปจะเป็นการเสียงอย่างสูง ฉะนั้น กรีกจึงต้องพยายามเอาชนะทางปีกให้ได้ก่อน ก่อนที่ส่วนกลางจะปราชัย หรือก่อนถูกทหารม้าเปอร์เซียโอบหลัง และเมือเอาชนะด้านปีกได้แล้ว รีบโอบเขช้าด้านหลังกองทัพเปอร์เซีย
   ส่วนทางฝ่ายเปอร์เซีย เป็นกองทัพที่ไม่รู้จักแพ้และมีกำลังมากกว่า จึงพิจารณาได้ว่าแทบจะไม่มีการวางแผนเป็นพิเศษ
          marathon_bettlefield_resize(1)
   ฝ่ายเปอร์เซียถูกจู่โจมด้วยการเข้าตีในรูปแบบที่ไม่เคยประสบมากอ่น กองทัพอันใหญ่โตถูกจำกัดให้อยู่ในพ้นที่แคบ ไม่สามารถใช้กำลังรบให้เป็นประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ จึงปราชัยอยางง่ายดายตามหลักฐานว่าต้องสูญเสียทหารเป็นจำนวน 6,400 คนส่วนที่เหลือถอยลงเรือกลับไปได้  ผ่ายกรีก สูญเสีย 192 คน ซึ่งชัยชนะที่ได้รับจากทุ่งมาราธอนในวันนั้น ทำให้ขวัญและกำลังใจของฝ่ายกรีกเข้มแข้ง เลิกกลังความยิ่งใหญ่จากทางฝ่ายเปอร์เซีย

      สงครามกรีก-เปอร์เซีย ครั้งที่ 3
ในปี 481 ก่อนคริสตกาล กองทัพเปอร์เซีย เคลื่อนทัพจากเอเซียไมเนอร์ โดยใช้ทางเรื่อในครังแรก เรือรบ 600 ลำ สนับสนุนด้วยเรืออื่นๆ อีก 3,000 ลำ ทางบกเคลื่อนทัพในครั้งที่สองเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นดังครั้งก่อนๆ
   เมือฝ่ายกรีกได้รับข่าวสงคราม จึงทิ้งเรื่องบาดหมางระหว่างกัน จัดตั้งสหพันธรัฐกรีก เพื่อรวมพลังต่อต้านเปอร์เซีย
   ในขั้นแรกไม่มีแผนการที่ชัดเจนที่จะสู้รบกับกองทัพเปอร์เซีย ทางเลือกที่ได้ตกลงกันคือ เคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือ และสกันกั้นกองทัพเปอร์เซียทางบก ที่ช่องทางผ่านเทือกเขาทางเหนือ ในขณะที่ กำลังทางเรือผสมของกรีกต้องพยายามดึงกองเรือของเปอร์เซียเข้ามาในพ้อนที่จำกัด

       ผู้นำสปาร์ตา “ลีโอนิดัส”นำกำลังทหารสปาร์ตา 300 คน ขึ้นเหนือไปยึดช่องเขาเทอร์โมพเล โดยรัฐต่าง ๆ ส่งกำลังมาร่วมด้วยอีก 6,000
       ส่วนกองเรือพันธมิตรกรีก เลือกใช้น่านน้ำอาร์ที่มีซีอุมเป็นพื้นน้ำทำการรบ แผนของกรีกได้ผลดี ฝ่ายเปอร์เซียไม่สามารถทำอะไรได้ที่เทอร์โมพิเลได้ ฝ่ายเปอร์เซียจึงพยายามใช้กองเรือล้อมเกาะยูบัว เพื่อเป็นการสกัดกองเรือฝ่ายกรีกให้อยู่ในช่องยูบัว แต่โชคร้ายกองเรือเปอร์เซียถูกพายุทำลายอีก

   การรบที่ช่องเขาเทอร์โมพิเล ลิโอนีดัสได้ต่อสู้ต้านทานทัพเปอเซียอยู่ได้หลายวัน เพราะภูมิประเทศเกื้อกูลแก่ฝ่ายตั้งรับ ทหารเปอร์เซียหาทางล้อมฝ่ายกรีกได้ทหารทั้ง 300 คนของสปาร์ตาจึงพลีชีพที่ช่องเขาเทอร์โมปิเลนั้น และกองทัพเปอร์เซียก็มุ่งสู่ เอเธนส์

การรบทางเรื่อที่ซาลามิส
  ทัพเรือกรีกมีจำนวนน้อยกว่าจำเป็นที่จะต้อง “ต้อน” ทัพเรือเปอร์เซียเข้าที่แคบ เพื่อจะใช้ “ความสามารถในการรบชดเชยจำนวนที่น้อยกว่า” เพื่อให้แผ่นสำเร็จ จึงทำการเปิดช่องโหว่ทางด้านหลังไม่มีการปอ้งกันระวัง พร้อมปล่อยข่าว ว่ากองเรือกรีกเกรงกลังเปอร์เซียและไม่ลงรอยกันและยังหาทางหนีทัพ เมือข่าวไปเข้าหู้ฝ่ายตรงข้ามพร้อมกับรูปการที่ไม่มีการระวังหลัง ฝ่ายเปอร์เซียจึงเห็นเป็นการจริง จึงเร่องกองเรือเปอร์เซียเข้าบทขยี้กองเรือกรีก…ติดกับ เมือกองเรือที่ยิ่งใหญ่เข้าไปอยู่ในพื้อนที่ที่จำกัด
salamis_and_vicinty_resize(6)
  
   เรื่อเอเธนส์มีขนาดใหญ่กว่าแต่มีจำนวนน้อยกว่าจึงสามารถดำเนินกลยุทธได้ง่ายกว่า กองเรือเปอร์เซียเหมือนถูกตรึงอยู่ในพื้นที่จำกัด กองเรือกรีกจึงใช้ขนาดเบียดและทำลายพายของฝ่ายกองเรือเปอร์เซียทำให้ไม่สามารถควบคุมเรือได้… ผลของการรบทางการรบทางเรือที่ซาลามิส เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของกรีก 
ลาตาเอ การรบครั้งสุดท้ายของ กรีก-เปอร์เซีย
มาร์โดนิอุสเลือการถอยเข้าไปในแค้วนแสซาลี ในฤดูหนาว เมือหมดฤดูหนาวแล้วก็จะนำทัพมุ่งลงใต้เตรียมทำศึกกับกรีกต่อไปดีก
   ทางฝ่ายกรีก นั้นเมือพิจารณาและถกกันอย่างกว้างขวางแล้ว สรุปได้วา จะเข้ารุกต่อกองทัพเปอร์เซียของมาร์โดนิอุส ปรากฎว่า รัฐกรีกรวบรวมรี้พลได้ 8 หมืน เป็นทหารราบล้วนไม่มีทหารม้า แม่ทัพสปาร์ตาเป็นแม่ทัพ นำกองทัพกรีกขึ้นเหนือ สู พลาตาเอ
        กองทัพทั้งสองเผชิญหน้ากัน ได้ 8 วัน กองทัพกรีกได้อยู่ในภูมิประเทศที่ได้เปรียบ และฝ่ายเปอร์เซียก็หวังที่จะใช้ทหารม้าตีโต้ตอบ แต่ในสนามรบสิ่งที่ไม่คาดคิดอาจจะเกิดขึ้นได้เสมอ มาร์โดนิอุสได้รับรู้ถึงการย้ายที่ตั้งของฝ่ายกรีก จึงสังห้เข้าโจมตี ทหารกรีกสู้รบอยางกล้าหาญยิ่ง การบดำเนินอยู่นานไม่มีฝ่ายใดแพ้ชนะกระทั่งมาร์โดนิอุสถูกสังหารในการรบ กองทัพเปอร์เซียขากการควบคุม และบังคับบัญชาที่มีประสิทธิภาพ จึง พ่ายแพ้อย่างราบคาบ กำลังส่วนที่รอดชีวิตต้องล่าถอยขึ้นไปทางเหนืออย่างรวดเร็ว


วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Turks

       
          คาบสมุทรอาราเบียอยู่ทางตะวันตกสุดทวีปเอเซีย เป็นคาบสมุทรยื่นออกไปในมหาสมุทรอินเดีย ล้อมรอบด้วยทะเลแดง ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่ราบสูงอาร์เมเนียและอ่าวเปอร์เซียปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกลุ่มอาหรับ แต่เดิมดินแดนนี้ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย การดำเนินชีวิตมี 2 แบบคือ
           พวกเร่ร่อนตามทะเลทราย มีอาชีพเลี้ยงสัตว์ ต้องเร่ร่อนหาทุ่งหญ้าและแหล่งน้ำ ทำให้ไม่สามารถหนุดตั้งหลักแหล่งได้ ดำเนินชีวิตอยู่ในกระโจมเรียงรายเป็นกลุ่มเพื่อสะดวกในการโยกย้าย  และพวกอาหรับชาวเมืองซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพคาขายมีสำพชีวิตสะดวกสบาย อุดมสมบูรณ์ มั่งคั่ง คุมอำนาจทั้งด้านการเมืองและเศษฐกิจ เมืองใหญ่ๆ เหล่านี้ได้แก่ เมกกะ ยาเทรปซึ่งปัจจุบันคือเมืองเมอินา ในคาบสมุทรอราเบีย
           ชาวอาหรับไม่เคยรวมกันได้ ไม่มีบทบาททั้งทางการรบและอารยธรรมแต่กลับมีความสำคัญขึ้นอย่างมากเพราะศาสนาอิสลามเป็นสำคัญ
          อาณาจักรมุสลิม   แบ่งการปกครองออกเป็น 3 ระยะ ระหว่าง ค.ศ. 632-1258
                  - สมัยการปกครองของเคาะรีฟะหฺ ค.ศ. 632-661 มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเมดินา ในประเทศซาอุดิอาระเบียปัจจุบัน
                  - สมัยปกครองราชวงศ์อุมัยยัค  ค.ศ. 661-750 มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองดามัสกัส ในประเทศซีเรียปัจจุบัน
                  - สมัยปกครองราชวงศ์อับบาสิค  ค.ศ. 750-1258 มีศูนย์กลางอยู่ที่แบกแดด ในประเทศอิรักปัจจุบัน
         ในศตวาษที่ 11 พวกเซลจุค เติร์ก(เติร์กชนเผ่าหนึ่ง) ภายใต้การนำของ เตอร์โก มัน คุซซ์ ได้ตีเมืองแบกอดดได้ กาหลิบราชวงศ์อับบาสิดได้ประทานตำแหน่างผู้สำเร็จราชการให้กับห้วหน้าพวกเติร์ก เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้พวกเซลจุคเติร์ก มีอำนาจในอาณาจักรมุสลิมเกือบสองศตวรรษ
            ชัยชนะของพวกเซลจุค เติร์ก ครั้งนี้สร้างความหวาดกลัวให้กับอาณษจักรบิแซนไทน์และสัตะปาปาที่กรุงโรม ในที่สุดพวกคริสเตีนได้จัดกองทัพมาปราบพวกเตร์ก กลายเป็นสงครามครูเสด พวกเซลจุค เติร์ก ได้ยึดดินแดนเหนือซีเรียที่เรียว่า อนาโตเลีย หรือพวมุสลิมเรียกว่า “แผ่นดินโรม” ได้เป็นการถาวร ให้เป็นรัฐขึ้นตรงต่อกาหลิบราชวงศ์อับบาสิด มีชาวเตอร์จากดินแดนอื่น ๆ อพยพเข้ามาอยู่ในรัฐที่ตั้งขึ้นใหม่เพิ่มมากขึ้น เท่านกับเป็นการเริ่มต้นของขบวนการทำให้เป็นเติร์ก “Turkification”
            ในระยะต้น สุลต่านของพวกเซลจุค เติร์ก แม้จะป่าเถื่อน ขาดการศึกษา แต่ได้ปกครองประเทศอย่างชาญฉลาด โดยอาศัยชาวเปอร์เซียดำรงตำแหน่างเป็นวิเชียร์ เป็นผู้ทำหน้าที่สำคัญ อาณาจักรมุสลิมได้แผ่ขยายอิทธิพลอย่างกว้างใหญ่ไพศาล การปกครองของพวกเซลจุคเติร์ก ได้ให้สิ่งใหม่แก่ศาสนาอิสลาม คือความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ที่รับมาจากทวีปเอเซียตอนกลางนอกจากนี้ได้นำลัทธิอัศวิน ของพวกยุโรปยุคกลางมาสู่โลกอิสลามด้วย
           ต่อมาในกลางศตวรรษที่ 13 พวกมองโกลภายใต้การนำของจักรพรรดิเจงกิสข่าน เดินทางมาจากตะวันออก และรุรานดินแดนต่าง ๆ ของอาณาจักร มุลสิมอย่างทารุณโหดร้าย เรียกค่าไถ่ตามเมืองต่างๆ ที่ผ่านมาเมืองใดที่คิดสู้รบถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง แต่โชคคดีของอาณาจักรมุสลิมที่รอดพ้นมาได้จากการยึดครองของพวกมองโกล
          นัดดาของเจงกิสข่าน ได้นำทัพมารุกรานอาณาจักรมุสลิมและตีเมืองแบกแดดได้ ในที่สุด ราชวงอับบาสิคถูกกวาดล้างอย่างสิ้นเชิง



ในกลางศตวรรษที่ 13 พวกออตโตมาน เติร์ก เริ่มมีอำนาจรุ่งโรจน์ท่ามกลางความยุ่งยากของพวกมุสลิมที่แตกแยกกันเอง ในที่สุดพวกออตโตมาน เติร์กได้รวบรวมพวกเติร์กและมุสลิมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอยู่ภายใต้การปกครองเดียวกัน แต่สมัยของอาณาจักร ออตโตมาน เติร์ก โลกอิสลามได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ประวัติศาสรต์สมัยกลางของอาณาจักรมุสลิมยุติลงในลักษณะของความปั่นป่วนพวกออตโตมาน เติร์กได้เข้ายึดกรุงคอนสแตนติโนเปิล ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ และตั้งเป็นอาณาจักร ออตโตมาน เติร์ก แทนจักรวรรดิโรมันตะวันออก ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์บางกลุ่มเชื่อว่าเป็นการสิ้นสุดยุคกลางด้วย

  มหาวิหารอาร์เทมีส

ความสัมพันธ์ระหว่างชาวเติร์กและโลกอาหรับ



.
    ในปี ฮ.ศ.22(ค.ศ.642)กองทัพอิสลามยกทัพเพื่อไปพิชิตหัวเมืองต่าง ๆ ในเขตที่ชาวเติร์กอาศัยอยู่มีการเผชิญหน้าระหว่างแม่ทัพอิสลาม กับ กษัตริย์ชาวเติร์ก กษัตริย์ได้ยื่นข้อเสนอขอทำสัญญาสงบศึก พร้อมกับแสดงท่าทีว่ากองทัพของเขาพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับกองทัพอิสลามในการทำศึก ดังนั้นแม่ทัพจึงพากษัตริย์เติร์กไปพบกษัตริย์ของตน กษัตริย์เติร์กเขียนสารเพื่อแสดงเจตนาของตน ทางฝ่ายอิสลามมีความเห็นตรงกันจึงเขียนสารทำสัญญาสงบศึกหลังจากนั้นกองทัพทั้งสองจึงเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองอัรมันเพื่อร่วมกันโจมตี
          เติร์กกับศาสนาอิสลาม
ร้อย 99 ของประชาชกรในประเทศตุรกีนับถือศาสนาอสลาม ชาวเติร์ก ซึ่งแต่เดิมอยู่ในเอเซียกลางเริ่มมีการติดต่อสัมพันธ์กับคนที่นับถืออิสลาม โดยผ่านทางกองคาราวานสินค้าชาวอาหรับเมือศตวรรษที่ 8 และในศตรวรรษที่ 10 ชาวเติร์กส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
      กองทัพอิสลามคงเดินหน้าต่อไปเพื่อเผยแผ่อิสลามและพิชิตเมืองต่างๆ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอาณาจักรเปอร์เซียกรทั่งการเรียกร้องเชิญชวนสู่อิสลามได้แพร่สะพัดจนครอบคลุมพื้นที่ส่วใหญ่ของบริเวณดังกล่าว และหลังจากที่อาณาจักรเปอร์เซียอันเป็นกำแพงที่สกัดกั้นการเดินหน้าของการเรียกร้องเชิญชวนสู่อิสลามของชาวมุสลิมถูกพิชิตลงอย่างราบคาบโดยกองทัพอิสลาม ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมชาวมุสลิมกับพลเมืองแห่งอาณาจักรเปอร์เซีย ซึ่งมีชาวเติร์กรวมอยู่ด้วย จึงเริ่มขึ้นและทยอยกันเข้ารับอิสลามอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับเสนอตัวเข้าเป็นแนวร่วมของอกงทัพอิสลามในฐานะมุสลิมคนหนึ่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการเผยแผ่อิสลามและพิชิตเมืองต่าง ๆ ต่อไป “มีคำกล่าวคำกล่าวที่ว่า อิสลามเผยแพร่ด้วยดาบ”
          สมัยการปกครองของเคาะลีหฺ มุอาวียะฮฺ ฯ กองทัพอิสลามสามารถพิชิตเมืองต่างๆ ในเขตพ้นทะเลกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอิสลาม
          ชาวเตริก์เริ่มเข้ามามีบทบาทในอาณาจักรอิสลามเนื้องจากเคาะห์ลีฟะหฺต้องการคานอำนาจชาวเปอร์เซีย กระทั่งชาวเติร์กสามารถสร้างอาณาจักรเคียงข้างอิสลาม คือ อาณาจักรของพวกเซลจุก และสภาปนาอาณาจักรของตนนั้นคือพวก ออตโตมาน เติร์ก ในเวลาต่อมา

            บัลกาเรีย ตั้งอยู่ด้านเหนือของ กรีซและตุรกี ด้านใต้ ของโรมาเนีย ประเทศในภาพนี้เกือบทั้งหมดเคยตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิมุสลิมออตโตมานเติร์กราว 400-500 ช่วศตวรรษ14-19

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Poet (โคลง…)

          ตีนงูงูไซร้หาก          เห็นกัน
นมไก่ไก่สำคัญ                  ไก่รู้
หมู่โจรต่อโจร                    เห็นเลห์  กันนา
เชิงปราชญ์ฉลาดกล่าวผู้     ปราชญ์รู้  เชิงกัน…


           จระเข้คับน่านน้ำ          ไฉนหา  ภักษ์เฮย
รถใหญ่กว่ารัถยา                      ยากแท้
เสือใหญ่กว่าวนา                     ไฉนอยู่  ได้แฮ
เรือเขื่องคับชเลแล้                   แล่นโล้ไปไฉน
           ทณฑกทำเทียบท้าว      ราชสีห์
แมวว่ากูพยัคฆี                         แกว่นกล้า
นกจอกว่าฤทธี                         กูยิ่ง  ครุฑนา
คนประดากขุกมีข้า                   ยิ่งนั้นแสนทวี
           หิ่งห้อยส่องกันสู้           พระจันทร์
ปัดเทียบเทียมรัตนอัน               เอี่ยมข้า
ทองเหลืองหลู่สุวรรณ               ธรรมชาติ
พาลว่าตนเองอ้า                      อาจล้ำเลยกวี
           เสือผอมกวางวิ่งเข้าหา  โจมขวิด
ไป่ว่าเสือมีฤทธิ                        เลิศล้ำ
เล็บเสือดังคมกฤช                    เสือซ่อน  ไว้นา
ครั้นปาปามล้มคว่ำ                    จึงรู้จักเสือ….


          เสียสินสงวนศักดิ์ไว้        วงศ์หงส์
เสียศักดิ์สู้ประสงค์                     สิ่งรู้
เสียรู้เร่งดำรง                            ความสัตย์ ไว้นา
เสียสัตย์อย่าเสียสู้                     ชีพม้วยมรณา…


         พระสมุทรสุดลึกล้น          คณนา
สายดิ่งทิ้งทอดวา                      หยั่งได้
เขาสูงอาจวัดวา                        กำหนด
จิตมนุษย์นี้ไซร้                         ยากแท้หยั่งถึง
        ไม้ล้มความข้ามได้            โดยหมาย
คนล้มจักข้ามกราย                    ห่อนได้
ทำชอบชอบห่อนหาย                ชอบกลับ สนองนา
ทำผิดผิดจักให้                         โทษแม้ถึงตน…


         รักกันอยู่ขอบฟ้า              เขาเขียว
เสมออยู่หอแห่งเดียว                ร่วมห้อง
ชังกนบ่แลเหลียว                     ตาต่อ กันนา
เหมือนขอบฟ้ามาป้อง               ป่าไม่มาบัง…


          นารายณ์วายเว้นจาก      อาภรณ์
อากาศขาดสุริยจร                    แจ่มหล้า
เมืองไดบ่มีวร                           นักปราชญ์
แม้ว่างามล้นฟ้า                        ห่อนได้งามเลย
          เจ็ดวันเว้นดีดซ้อม          ดนตรี
อักขระห้าวันหนี                        เนิ่นช้า
สามวันจากนารี                         เป็นอื่น
วันหนึ่งเว้นล้างหน้า                   อับเศร้าศรีหมอง…


        โทษท่านผู้อื่นเพี้ยง           เมล็ดงา
ปองฉินนินทา                           ห่อนเว้น
โทษตนเท่าภูผา                       หนักยิ่ง
ป้องปิดคิดซ่อนเร้น                   เรื่องร้ายหายสูญ…


           อย่าเอื้มเด็ดดอกฟ้า        มาถนอม
สูงสุดมือมักตรอม                      อกไข้
เด็ดแต่ดอกพยอม                      ยามยาก ชมนา
สูงก็สอยด้วยไม้                        อาจเอื้อมเอาถึง
          ถึงจนทนสู้กัด                 กินเกลือ
อย่าเที่ยวแล่เนื้อเถือ                  พวกพ้อง
อดอย่างเยี่ยงเสือ                      สงวนศักดิ์
โซก็เสาะใส่ท้อง                       จับเนื้อกินเอง…


         เบิกทรัพย์วันละบาทซื้อ    มังสา
นายหนึ่งเลี้ยงพยัคฆา                ไป่อ้วน
สองสามสี่นายมา                      กำกับ  กันแฮ
บังทรัพย์สี่ส่วนถ้วน                   บาทสิ้นเสือตาย…


       เพื่อนกินสิ้นทรัพย์แล้ว        แหนงหนี
หาง่ายหลายหมื่นปี                    มากได้
เพื่อนตายถ่ายแทนชี                  วาอาตม์
หายากฝากผีไข้                         ยากแท้จักหา…

                                             “บางส่วนจากโคลงโลกนิติ”          
    
    
     โคลงโลกนิติเป็นสุภาษิตเก่าแก่ มีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นาราชธานี นักปราชญืในครั้งนั้นได้สรรหา คำสุภาษิตที่เป็นภาษาบาลีและสันสกฤต ที่มีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ คือ คัมภีร์โลกนิติ คัมภีร์โลกนัย ตลอดจนคัมภีร์พระธรรมบท แล้วนำมาแปลเป็นภาษาไทย โดยแต่งเป็นคำประพันธ์ คำโคลงทุกคาถา รวามเรียกว่าโคลงโลกนิติ เป็นสุภาษิตที่บรรพบุรุษไทยนับถือ นำไปเล่าเรียน สั่งสอน และประพฤติปฏิบัติกันอย่างกล้างขวาง เป็นที่รู้จักกันดี ในหมู่ประชาชนคนไทยทุกหมู่เล่าทุกสถานะอาชีพต่อเนื่องกันมาช้านานกระทั้งถึงปัจจุบัน


วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Political Philosophy


ปรัชญาคือ...
 
      วิลเลี่ยม เจมส์ นักจิตวิทยา นักปรัชญาชาวอเมริกา ให้อธิบายว่า หมายถึง"หลักการที่ใช้อธิายความเป็นมา ของสรรพสิ่งทั้งปวง โดยไม่มีการยกเว้นสิ่งใด องค์ประกอบร่วมกันที่มีอยู่ในเทพเจ้า มนุษย์ สัตว์และดวงดาว จุดเริ่มต้น และจุดจบของความเป็นไปในจักรวาลทั้งหมด สภาวะการณ์แห่งความรู้ทั้งปวง และหลักเกณฑ์ทั่วไปของการประพฤติปฏิบัติของมนุษย์"

     หรืออาจกล่าวได้ว่า เรื่องที่ศึกษา ทำความเข้าใจกับปรากฎการณ์เพื่อให้ได้มซึ่งความรู้ หรือ ขอบเขตของความคิดที่อยู่เหนือปรากฎการณ์ของสภาวะทั้งหลายของชีวิต หรือ ขอบเขตของความคิดที่พยายามเพื่อจะทำความเข้าใจในสรรพสิ่งทั้งปวง
  
     คือเรื่องที่ทำความเข้าใจข้อเท็จจริงทางการเมือง มีค่านิยม มาเกี่ยวข้องสิ่งที่นักปรัชญาศึกษา คือ การพยายามตอบคำถามว่า รัฐและผู้ปกครองที่ดี ความเป็นอย่างไร ซึ่งความคิดในเรื่องรัฐที่ดี หรือผู้ปกครองที่ดีในแต่ละยุคแต่ละสมัยต่างก็มีค่านิยมเชื่อว่าเป็นรูปแบบที่ดีที่สุดในยุคสมัยนั้น ๆ ซึ่งอาาจจะเหมือนกันหรือไม่เหมือนกันก็ได้ ดังแนวคิดของนักทฤษฎีแต่ละยุคสมัย หรือแนวทางการร่างรัฐธรตรมนูญของไทยแต่ละฉบับ เป็นต้น

           แนวคิดในเชิงปรัชญา ของนักทฤษฎีทางการเมือง ยุคเพลโต
     เพลโตเป็นลูกศิษย์ขอโสเครตีสเพลโตเป็นผู้ก่ตั้งสำนักอเค็ดเดมี่ ACADEMY ซึ่งเป็นวิทยาลัยแห่งแรกของโลก ได้แก่
       - อุดมรัฐ THE REPUBLIC
       - กฎหมาย THE  LAWS
       - รัฐบุรุษ   THE  STATESMAN
       -ไครโต    CRITO

   ธรรมชาติของคนและรัฐ
คนเป็นสัตว์สังคมไม่สามารถจะมีสภาพเป็นที่สมบูรณ์ได้หากใช้ชีวิตโดดเดี่ยวภายนอกสังคม คนเราเกิดมาเพื่อที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การช่วยเหลือเพื่อมนุษย์นั้น จะกระทำเฉพาะอยูภายในรัฐเท่านนั้น การมีชีวิตที่ดีและการเป็นพลเมืองที่ดีมีความหมายคลายคลึงกันมากที่สุด เพลโตเชื่อว่าการที่จะมีชีวิตที่ดีนั้น ในเบื้องต้นต้องเป็นพลเมืองที่ดีก่อน รัฐเกิดจากความจำเป็นของคนและรัฐจะต้องประกอบด้วยคนอยางน้อย 4 หรือ 5 คนขึ้นไป เพลโตกล่าวว่าสังคมได้สร้าง "กฎหมาย" ขึ้นเป็นัฐธรรมนูญการปกครองกฎหมายจึงเป็นสิ่งที่สอนให้คนในรัฐได้เรียยรู้ถึงระเบียบ กติกาการอยู่ร่วมกัน และการที่จะดำรงชีวิตที่ดี นอกจากนี้กฎหมายังเป็นสิ่งที่ทำให้โครงสร้างทางสังคมและการเมืองของรัฐคงอยู่ได้ มนุษย์จะโต้แย้งหรือฝ่าฝืนกฎหมายไม่ได้ ในด้านจริยธรรม เพลโตมีทรรศนะว่า คนโดยปกติแล้วมักจะแสวงหาสิ่งที่ดีเลือกประพฤติแต่สิ่งดี จิตใจของคนสำคัญกว่าร่างกาย ความชัวนั้นเบยกว่าความตายและความไม่ยุตธรรมเลวกว่าการทุกข์ทรมาน....
 
      รัฐในอุดมคติ เพลโต เชื่อว่ารัฐที่ดีที่สุด คือรัฐที่มีความยุติธรรมสถิตญืเป็นหลักของรัฐ นั้นคือชนในรัฐทุกคนทำหน้าที่ตามที่คุณธรรมประจำจิตของตนกำหนดให้ไม่ก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกันโดยเขากำหนดให้ราชปราชญ์ ผู้ทรงปัญญาสามารถรู้ซึ้งถึงความจริงเป็นผู้ปกครอง

   รูปแบบการปกครอง เพลโตได้นเชียนรูปแบบการปกครองในหนังสือ Republic ดังนี้
- รูปแบบการปกครองอื่นๆ ไม่อาจเทียบได้กับรูปการปกครองในรัฐอุดมคติที่ปกครอง โดยราชาปราชญ์
- ในหนังสือ The Stateman เพลโตได้บอกถึงรูปแบบการปกครองว่า เป็นการเกี่ยวกับกฎหมาย แบ่งเป็น การปกครองในรัฐที่มีกฎหมาย และการปกครองในรัฐที่ไม่มีกฎหมาย


                        ยุคอริสโตเติ้ล
       อริสโตเติ้ล เป็นบุตรนายแพทย์ประจำราชสำนักมาเซโดเนีย เป็นศิษย์เอกของเพลโต เป็นนักรัฐศาสตร์คนแรกของโลก ได้ก่อตั้งสำนักศึกษาที่ชื่อว่า ลิเซียนม มีผลงานที่สำคัญดังนี้
- รัฐธรรมนูญของกรุงเอเธนส์ The Constitution of  Ahens ถือเป็นรากฐานของการศึกษาแบบรัฐศาสตร์เปรียบเทียบ
- การเมือง Politice

         ธรรมชาติของคนกับรัฐ
  มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีธรรมชาติที่ต้องการอยู่ในเมืองหรือในรัฐ มีสัญชาตญาณที่จะแสวงหาอำนาจและสิ่งที่จะสนองความปรารถนาของเขา รัฐเป็นสถาบันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและเป็นสิ่งจำเป็น คนสามารถค้นพบจุดหมายปลายทางแห่งชีวิตที่แท้จริงได้ภายในรัฐเท่านั้น คนเป็นสัตว์โลกที่มีเหตุผล หากปราศจากรัฐ มนุษย์ก็ไม่ต่างอะไรกับสัตย์ป่า...
       รูปแบบการปกครอง จะเป็นรูปการรปกครองปสมระหว่าคณาธิปไตย กับประชาธิปไตย ซึ่งจะหลายเป็ฯรูปการปกครอง คือมัชฌิมวิถีอ
ธิปไตย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นประชาธิไตยสายกลาง จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นรูปการปกครองที่ให้ความสำคัญแก่ทุกๆคน โดยการมีสิทธิในการลงคะแนนเสียงแลืกผู้ปกครองได้ทุกๆชนชั้น แต่ผู้ปกครองนั้นมาจากชนชั้นสูงเพียงชนชั้นเดียว นอกจากนั้นเขาให้ความสำคัญแก่คนรวยมีสิทธิเป็นผู้ปกครองได้ชนชั้นเดียว คือ ชนชั้นสูง



วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Dark Age

           อนารยชน เป็นคำที่ชาวโรมันเรียกคนป่าเถื่อนหรือคนต่างด้าว ที่มีวัฒนธรรมด้อยกว่าอารยธรรมกรีกและโรมัน พูดภาษาละตินไม่ได้ และเข้ามาอาศํยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไรน์และแม่น้ำดานูบซึ่งเป็นดินแดนของจักรวรรดิโรมันอันยิ่งใหญ่ การเขามารุกรานและตั้งถ่นฐานใหมีในดินแดนของจักรวรรดิโรมันโบราณในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ซึ่งถือเป็นจุดสิ้นสุดยุคโบราณและเริ่มต้นยุคกลาง
        พวกอนารยชนเยอรมันกลุ่มต่าง ๆ เคลื่อนไหวกและย้ายถิ่นฐานเข้าไปในดินแดนของจักรวรรดิโรมันตะวันตก และมีผลต่อการขนายการปกครองของพวกโรมัน ไปยังยุโรปภาคกลางด้วย
        ทัศนะของพวกโรมันที่มีต่อการเข้ามาของพวกอนารยชน กล่าวโดยทั่งไป คือชาวโรมันไม่พอใจดูถูกพวกฮั่นและพวกอนารยชนเยอรมันเป็นพวกป่าเถื่อน ที่ไม่สามารถพูดภาษาละตินได้ มีขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมความเป็ฯอยู่ที่ด้อยกว่าพวกโรมัน อ่านและเขียนหนนังสือไม่ได้ มีความโหดร้ายทารุณ แต่อยางไรก็ตาม ชาวโรมันอาจจะให้การสนับสนุนพวกอนารยชนเยอรมนอยู่บ้างในระยะแรก เพราะในปลาจักรวรรดิโรมันตะวันตก ชาวโรมันระดับล้างถูกเรียเก็บภาษีสูงมาก จึงคิดว่าถ้าให้พวกเยอรมันเข้ามาอาศัยอยู่ พวกตนอาจจะไม่ต้องเสียภาษีสูงมากก็ได้
         ส่วนสันตะปาปา และศาสนจักร ก็มีความยินดีอย่างลับๆ ที่มีพวกเยอรมันเข้ามาทำลายอำนาจของจัรวรรดิโรมันตะวันตก เพราะศาสนจักรจะได้มีอิสระทางการเมือง แต่ในทัศนะทางศาสนาสันตะปาปา พอใจจักรพรรดิโรมันตะวันตกที่เป็นคาทอลิก มากว่าอนารยชนเยอรมันที่เป็นพวกนอกศาสนา
         อาณาจักรแฟรงค์
อารยชนเผ่าแฟรงค์มี 2 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์เมโรวิงเจียน และราชวงศ์คาโรลิงเจียน ซึ่งแต่ละราชวงศ์มีผู้นำที่ความสามารถมาก อาณาจักรถูกแบ่งหลายครั้ง แต่ที่สำคัญคือตามสนธิสัญญาแวร์ดัง ค.ศ. 843 อาณาจักรแฟรงค์ถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน ต่อมาดินแดนเหล่านี้ได้พัฒนามาเป็น ประเทศผรังเศส อิตาลี และเยอรมัน
 330px-843-870_Europe
      พวกแฟรงค์เป็นอนารยชนเผ่าที่มีความสำคัญมาเผ่าหนึ่ง พวกแฟรงค์มีรูปรางสูงใหญ่ ผิวขาว ตาสีฟ้า หรือสีเทา ผมสีทอง มีภูมิลำเนาอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำ ไรน์และแม่น้ำมอแซลส์ ได้รับอนุญาตจากจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันตะวัออกให้เข้ามรตั้งถิ่นฐานในแค้วนกอล
           กษัตริย์โคลวิส เป็นกษัตริย์ที่มีความสามารถมาก เสริ่มสร้างอำนาจอาณาจักรแฟรงค์จนเป็นปึกแผ่นเข้มแข็งในแคว้นกอล และทำให้ชนชาติแฟรงค์มีความสำคัญมากในยุโรปตะวันตก ได้สถาปนาราชวงศ์เมโรวิงเจียนขึ้น ปกครองพวกแฟรงค์ได้สำเร็จ อาณาจักรแฟรงค์เป็นปึกแผ่นมากกว่าดินแดนของพวกอนารยชนเยอรมันอื่นๆ
         ในค.ศ.486 กษัตริย์โคลวิสมีชัยชนะเหนือกองทัพโรมันที่ปกครองบริเวณแม่น้ำเซนถึงแม่นำลัวร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแค้วนกอล กษัติย์โคลวิสได้ครอบครองดินแดนกว่างใหญ่บริเวฯนี้ ได้ตั้งเมืองปารีสซึ่งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเซนให้เป็นเมืองหลวง ในการทำสงครามครั้งสำคัญครั้งหนึ่งได้ทรงสาบานกับพระผู้เป็นเจ้าของมเหสีพระนางโคลทิลดา ที่นับถือศาสนคริสต์ว่า ถ้าพระองค์ชนะศึกนี้พระองค์จะหันมานับถือศาสนคริสต์ด้วย
         เมื่อกษัตริย์โคลวิชชนะศึก จึงหันมานับถือศาสนาคริสต์ และประชาชนในอาณาจักรแฟรงค์กลายเป็นคริสต์ศาสนิกชนด้วย เหตุการณ์ครั้งนี้มีผลทางการเมือง คือ ได้รับการสนับสนุนจากสันตะปาปา และพระในคริสต์ศาสนาตามดินแดนตางๆ ในยุโรป เหตุการณ์การครั้งนี้มีความสำคัญต่ออาณาจักรแฟรงค์ซึ่งเป็นดินแดนของพวกอนารชนมาก
         นอกจากนี้กษัตริย์โคลวิสยังได้รับการยอมรับจากจักรพรรดิอนาสตาซิอุสแห่งจักรวรรดิโรมตะวันออก ให้อยู่ในตำแหน่างกงสุล ดังนั้นพวกแฟรงค์จึงได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของจัรวรรดิโรมันตะวันออก ซึ่งมีผลดี คือ ทำให้ง่ายต่อการเป็นไม่ตรีกับพวกกัลโล-โรมัน ซึ่งเป็นคนพื้นเพ ทำให้ภาษาละตินเข้ามาแทนที่ภาษาเยอรมันเดิม ต่มาได้พัฒนาเป็นภาษฝรั่งเศษในที่สุด
        กษัริย์โคลวิสสิ้นพระชน อาณาจักรแฟรงค์ที่มีความเป็นปึกแผ่น และมีฐานะเป็นรัฐนำในยุโรปตะวันตก ถูแบ่งตามกฎและประเพณีของชนเผ่าแฟรงค์ อาณาจักรจึงถูกแบ่งเป็น 4 ส่วนตามจำนวนวโอรส 4 พระองค์ ซึ่งต่อมาทำการสู้รบกันเหลือโอรสองค์เดียวมีผลให้อาณาจักรแฟรงค์กลับมารวมกันอีกครั้ง
       ในระหว่าง ค.ศ.613-629กษัตริย์โลธาร์ที่ 2 ซึ่งเป็นโอรสองค์สุดท้ายได้รวบรวมอาณาจักรทั้งสองและแค้วนเบอร์กันดีเข้าด้วยกัน ปกครองอาณาจักรแฟรงค์ในฐานะกษัตริย์เพียงพระองค์เดียว เมื่อสิ้นพระชนม์ ราชสมบัติตกเป็นของกษัตริย์เมโรวิงเจียนผู้สามารถองค์สุดท้าย คือ กษัติย์แดโกเบิร์ต ได้ปกครองอาณาจักรแฟรงค์ตามลำพัง พระองค์เป็นกษัตริย์ที่เข้มแข็งและมีผู้ช่วยที่สามารถ คือ บิชอปอานูฟ แห่ง เมทซ์ และเปแปงแห่งแลนเดน ซึ่งอยู่ในตำแหน่างสมุหราชสำนัก
        ในตอนปลายศตวรรษที่ 7 กษัตริย์ราชวงศ์เมโรวิงเจียนไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดมีความสามารถ ทรงเป็นประมุขแต่ในนาม(Do-Nothing King) อำนาจการปกครองที่แท้จริงอยู่ที่ข้าราชการชั้นสูง คือ สมุหราชสำนัก ซึ่งเป็นงานที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราชสำนัก
         กล่าวกันตามเหตุการณ์ กษัตริย์ไม่มีอำนาจที่แท้จริงประกอบกับการได้รับชัยชนะจากพวกมัวร์ ทำให้มีกษัตริย์แต่ในนาม ทั้งนี้ทั้งนั้นการจะยกสมุหราชสำนักเป็นกษัตริย์นั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากหลายฝ่ายในยุคเปแปงที่สองทางศาสนจักรได้ขอความช่วยเหลือ มายังอาณาจักแฟรงค์ ให้ปราบพวกลอมบาร์ดที่คุคามโรม แต่เนื่องจากความมิตรที่ดีเมืองครั้งปราบพวกมัวร์ จึงปฏิเสธคำของต่อศาสนาจักร ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรแฟรงค์กับศาสนจักรเมื่อสิ้นสมัยชาร์ลส์ มาร์เดล จึงไม่กระชับนัก
         เปแปงที่ 3 สถาปนาเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์คาดรลิงเจียนสำเร็จน ค.ศ. 751 เนื่องจากความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมุหราชสำนักสกุลคาโรลิงเจียนกับสถาบันศาสนจักรที่โรมผลประโยชน์ผูกพันที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทำให้เปแปงที่ 3 สามารถสร้างสิทธิธรรมของสกุลคาโรลิงเจียนในการยกฐานะจากสมุหราชสำนักมาเป็ฯกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่โดยอาศัยความเห็นชอบของราชอาณาจักร…
          อาณาจักรและศาสนจักร
          อาณาจักร เปแปงที่ 3 ได้รับความนิยมจากประชาชนน้อยมาก เปแปงที่สามเป็นสามัญชน ถ้าจะสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ก็จะไม่ศักดิ์สิทธิ์ จึงคิดให้สันตะปาปา และศาสนจักรสนับสนุน
          ในค.ศ. 750 ศาสนจักรที่โรมถูกคุกคามจากพวกลอมบาร์ด สันตะปาปาซาคาเรียสได้ของความช่วยเหลือมายังเปแปงที่ 3  เปแปงที่ 3 ทูลถามปัญกาสันตะปาปาว่า “ในระหว่างบุคคลสองคน คือ ผู้ที่มีตำแหน่งเป็นกษัตริย์กับผู้ที่มีอำนาจในการปกครองแท้จริงใครสมควรจะได้ปกครองแผ่นดิน”สันตะปาปา ตอบสนับสนุนเปแปงที่ 3 ให้ยึดอำนาจและสถาปนาเป็นกษัติย์องค์แรกของราชวงศ์คาโรลิงเจียน
         ศาสนจักร สันตะปาปาตกอยู่ในสภาวะไม่ต่างกัน ในเรื่องความเหลือ่มล้ำระหว่าตำแหน่างกัอำนาจที่แท้จริง กล่าวคือ สันตะปาปา ถึงแม้ว่าจะทำหน้าที่เป็ฯผู้นำของคริสต์ศาสนิกชนในยุโรปตะวันตก แต่โดยนิตินัย สันตะปาปา ทรงมีตำแหน่งเป็นเพียงตัวแทนของจักรพรรดิแห่วคอนสแตนติโนเปิเท่านั้น จักรพรรดิแห่งคอนสแตนติโนเปิล ยังคง่ำรงตำแหน่างเป็น “จัรพรรดิของชาวโรมัน”
         ต่อมาในศตวรรษที่ 8 ข้าหลวงซึ่งทำหน้าที่ต่างพระเนตรพระกรรณของจักรพรรดิแห่งคอนสแตนติโนเปิล ต้องประสบภัยคุกคามจากพวกลอมบาร์ค ประกอบกับกรุงคอนสแตนติโนเปิลก็ถูกโจมตีจากพวกมุสลิม ทำให้การติดต่อระหว่างกรุงคอนสแตนติโนเปิลกับยุโรปตะวันตกเป็นไปได้ยาก อำนาจการปกครองดินแดนจึงค่อยๆ ตกอยู่ในมือสันตะปาปา

         สันตะปาปาแห่งโรมต้องการจะผูกมิตรกับผู้ทรงอำนาจของอาณาจักรแฟรงค์ กล่าวคือความขัดแย้งระหว่างสันตะปาปากับจัรพรรดิแห่งคอนสแตนติโนเปิลในปัญหาศาสนา
       การกระทำของสันตะปาปา ครั้งนี้ได้รับผลคุถ้มค่า กษัตริย์เปแปงที่ 3 ได้ทำสัญญาวิต้าฉาเดรียนี กับสันตะปาปาในการช่วนเหลือให้พ้นจากการคุกคามของพวกลอมบาร์ด กษัตริย์ตีดินแดนของพวกลอมบาร์ดและราเวนนาได้ ทรงมอบกุญแจเมืองในอิตาลีภาคเหนือ บริเวฯไต้ภูเขาแอลป์และแม่น้ำโป ให้แก่สันตะปาปา ต่อมาเรียกว่า “การบริจาคของเปแปง”ซึงเป็นการทำตามสัญญาวิต้า ฉาเดรียนี
       “การบริจาคของเปแปง”
-เป็นการแสดงว่าอาณษจักรไม่มีเจตนาจะรวมศาสนจักรเข้ามาไว้ในอำนาจ
-กษัตริย์เปแปงที่ 3 อาจจะมีความรู้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับภูมิศาสตร์อิตาลี จึงไม่เห็นความสำคัญของอิตาลีภาคเหนือ เพราะพวกแฟรงค์พยายามเอาอิตาลีมาขึ้นกับอาณาจักรแฟรงค์ในเวลาต่อมา
-เป็นรัฐภายใต้อำนาจสันตะปาปามีผลทำให้สันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขทางศาสนาได้เป็นประมุขของรัฐสันตะปาปาด้วย สันตะปาปามีอำนาจทั้งทางศาสนาและการเมืองการปกครอง
-ในสมัยกลางกฎกหมายคือ จารีตประเพณีที่เชื่อถือกันมา แล้วนำมาปฏิบัติ หรือเขียนขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร”การบริจาคของคอนสแตนติน”และ”การบริจาคของเปแปง”มีผลทำให้สันตะปาปา ที่โรมมีอำนาจสูงสุดเหนือกว่าบิชอบอื่นๆ มีอำนาจเหนืออิตาลีและเหนือศาสนิกชนทุกคนรวมทั้งกษัตริย์ด้วย
-“การบริจาคของเปแปง”ยังเป็นที่มาของปัญหาสำคัญในการรวมอิตาลีในสมัยต่อมา เพราะสันตะปาปาต้องการมีอำนาจเหนืออิตาลี

           กษัตริย์เปแปงที่ 3 สิ้นพระชนม์ อาณาจักรแฟรงค์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนในที่สุด ชาร์ลเลอมาญได้ปกครองอาณาจักรแฟรงค์แต่เพียงผู้เดียวและได้สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่อาณาจักรแฟรงค์ของราชวงศื คาโรลิงเจียน กระทั้งกลายเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของยุโรปตะวันตก

          สันตะปาปาลีโอที่ 3 ได้รับตำแหน่งต่อจากสันตะปาปาเอเดรียและต้องประสบกับความวุ่นวายในสำนักสันตะปาปา ซึ่งไม่อาจจะขอความช่วยเหลือจากจักรพรรดิซีโน แห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออกได้ จึงหันมาขอความช่วยเหลือจากจักรพรรดิชาร์ลเลอมาญ ซึ่งได้เสด็จมาอิตาลี สันตะปาปาถือเป็นโอกาสดี ด้วยการสวมมงกุฎให้กับจักรพรรดิชาร์ลเลอมาญ ขณะที่พระองค์คุกเข่ากับพื้นและสวดมนต์อยู่ในโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ ในขระเดียวกันเจ้าขุนนางที่เข้ามาร่วมประชุมได้เปล่งเสียงถวายพระพร สันตะปาปาบังได้ทำพิธีราชาภิเษกทางศาสนา แบบที่เคยปฏิบัติต่อจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันตกในอดีต เท่านกับว่าเป็นการรื้อฟื้นจักรวรรดิโรมันขึ้นมาใหม่ทางตะวันตก
western-and-eastern-roman-empire600px-Raphael_Charlemagne
         เหตุการณ์ครั้งนี้มีความสำคัญมากต่อประวัติศาสตร์ทั้งทางด้านอาณาจักรและศาสนจักร เพราะต่อไปสถาบันสันตะปาปา จะอ้างอำนาจสิทธิขาดในการแต่งตั้งและถอดถอนผู้นำของดินแดนต่าง ๆ จนทำให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างสถาบันสันตะปาปา กับสถาบันกษัตริย์ และแตกแยกกันในที่สุด
        จักรพรรดิชาร์ลเลอมาญได้เสนอมอบสิทธิเหนือดินแดนเวนีเทีย และดาลเมเทีย คืนให้แก่จักรพรรดิบิแซนไทน์ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลจะรับรองตำแหน่งจักรพรรดิโรมันของพระองค์ ซึ่งประสบผลสำเร็จใน ค.ศ. 812 พระองค์ได้จัดตั้งเมืองหลวงและสร้างพระราชวังถาวรขึ้นที่เมืองอาเคน หรือเมือง เอกซ์ ลา ซาเปล และกลายเป็น “กรุงโรมใหม่”ที่อยู่ในดินแดนเยอรมัน
        การที่สันตะปาปา สวมมุงกุฏจักรพรรดิให้แก่จักรพรรดิชาร์ลเลอมาญทำให้มีปัญหาภายหบังว่า อำนาจอาณาจักรกับอำนาจศาสนจักร ใครจะใหญ่เหนือกว่าใคร เพราะการกระทำเช่นนี้ของสัจตะปาปาเหมือนว่า ตำแหน่างจัรพรรดิชาร์ลเลอมาญได้มาโดยากรมอบให้ของสันตะปาปา ซึ่งทำให้จักรพรรดิโรมันตะวันตกได้กลายเป็นจัรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งนับเป็นก้าวแรกของทฤษฎีการเมืองแบบใหม่ ที่ถูกยึดถือมาตลอดสมัยกลาง คือ ทฤษฎีดาบ 2 เล่ม กล่าวถึง อำนาจอาณาจักรและอำนาจศาสนจักร เน้นความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาณาจักรคริสเตียน รวมกล่าวโดยทั่วไปได้ว่า จักพรรดิชาร์ลเลอมาญเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกอีกครั้งหนึ่งทำให้แนวความคิดของยุโรปถูกแบ่งเป็นละตินโรมันซึ่งเป็นยุโรป และ กรีกไบแซนไทน์ซึ่งไม่ใช่ยุโรป

       ระบบฟิวดัล ระบบแมนเนอร์ และระบบวีรคติ
       ระบบฟิวดัล หมายถึง ระบบที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเจ้า Lord หรือ ผู้มีสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินกับข้า Vassal หรือผุรับมอบให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยมีที่ดิน เป็นพื้นฐานของความผูกพันและภาระหน้าที่ที่มีต่อกัน
       คำว่า ระบบฟิวดัล เป็นคำที่มาจากภาษาละตินว่า Feudum ซึ่งตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า  Fief แปลว่า ที่ดิน ซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมต่อมาได้พัฒรากลายเป็นระบบการปกครอง การทหาร เศรษฐกิจและสังคม ที่สำคัญมากของยุโรปยุคกลาง
       ระบบฟิวดัล เกิดขึ้นในครึ่งหลังของคริสตศตวรรษที่ 9 พร้อมๆ กับความเสื่อมของอาณาจักรแฟรงค์แห่งราชวงศ์คาโรลิงเจียน
       ระบบฟิวดับเน้นการปกครองที่กระจายอำนาจจากศูนย์กลางออกไปยังส่วนภูมิภาคจากกณัติย์ไปยังขุนนางตามแค้วนต่างๆ เพราะเมือได้รับมอบกรรมสิทธิ์ที่ดอนแล้ว มักจะได้รับมอบหมายอำนาจในการปกครองด้วย  เนื่องจากความผูกพันระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้รับมอบหมายในกรรมสิทธิ์ที่ดิน ได้กำหนดไว้อย่างมีระเบียบแบบแผน ทั้งสองฝ่ายมีสิทะและหน้าทีทีจะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด การปกครองที่กระจายอำนาจลดหลั่นกันตามลำดับขั้น จึงเป็นการปกครองที่มีระเบียบและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในดินแดนที่กว้างใหญ่จนเกินกำลังการปกครองของส่วนกลาง

       ระบบแมนเนอร์ หมายถึง ระบบเศรษซกิจแบบพึงตนเองในยุคกลางที่มีการเกษรตกรรมเป็นหลักสำคัญ ในแต่ละแมนเนอร์ ประกอบด้วย
       คฤหาสน์แมนเนอร์ หรือปราสาท เป็นที่อยู่ของขุนนางเจ้าของแนเนอร์และครอบครัว ส่วนใหญ่คฤหาสน์แมนเนอร์แต่ละแห่งจะใหญ่มาก มีห้องจำนวนมากแต่ละห้องจะตกแต่งประดับประดาด้วยอุปกรณืเครื่องใช้ที่สวยงามหรูหราทำเลที่ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่ดีเหมาะสม ในสมัยต่อมาสร้างด้วยหินดย่างแข็งแรง เพื่อเป็นป้อมปราการ มีคูน้ำล้อมรอบปราสาท เมือมีการเดินทางเข้าออกจะมี สะพานชัก ในยามสงคราม ผู้คนจะเข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณรอบปราสาทอันมีคูน้ำล้อมรอบ
      หมู่บ้าน ประกอบด้วย วัด โบสถ์ บ้านเรื่อน ร้านช่างฝีมือ และอื่นๆ ตั้งอยู่บริเวณรอบนอกคูน้ำ …
     420px-Edmund_blair_leighton_accolade_0
     ระบบวีรคติ หมายถึง คุณธรรมหรือธรรมะของอัศวิน การที่จะเป็นอัศวิน หรือนักรบที่ดีของยุคกลางนั้น จะต้องมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการอาทิ ความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า และขุนนางเจ้านาย ให้ความช่วยเหลือพิทักษ์คุ้มครองผู้อ่อนแด รักษาความยุติธรรม ป้องกันศาสนา …
    อัศวิน ในภาษาอังกฤษตรงกับคำว่า Chivalry ในภาษาฝรั่งเศษ หมายถึง นัรบในยุคกลางที่ได้รับการเลี้ยงดูอบรม เพื่อเตรียมตัวเป็นนักรบที่ดี และอาจจะได้เป็นขุนนางในวันข้างหน้า
   ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัศวิน ซึ่งจะกระทำพิธีการเป็นอัศวินในโบสถ์ ผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นอัศวินจะเข้าไปคุกเข่าต่อหน้ากษัตริย์หรือขุนนางผู้ที่จะใช้ดาบแตะบนบ่าของอัศวินใหม่ทั้งสองข้าง พร้อมกับกล่าวว่า
    “ในนามของพระเป็นเจ้า เซ็นต์ ไม่เคิล และเซ็นต์ ยอร์ช เราขอแต่งตั้งเจ้าให้เป็นอัศวินเจ้าจงเป็นคนกล้าหาญ จงรักภกดีต่อเจ้านาย และสุภาพอ่อนโยนต่อทุกคน”
         อัศวินจะสวมเสื้อกราะ …และมีดาบแขวนไว้ที่เอว ดาบเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเป็นอัศวิน และถือว่าเป็นสมบัติที่มีค่าสูงสุด

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Constantine

   จักรวรรดิโรมันเคยมีดินแดนที่อยู่ได้การปกครองมากมาย อาทิ อังกฤษ เวลส์ ยุโนรปส่วนใหญ่ (ฝั่งตะวันตก แม่น้ำไนล์ และทางใต้ของเทือกเขาแอลป์) ชายฝั่ง แอฟริกาเหนือ บริเวฯมณฑลใกล้เคียงของอียิปต์แถบบอลข่าน ทะเลดำ เอเชียไมเนอร์ และส่วนใหญ่ของบริเวณลีแวนท์ ปัจจุบันได้แก่ โปรตุเกศ สเปน อังกฤษ ผรั่งเศส อิตาลี แอลเบเนียและกรีซ แถบบอลข่าน ตุรกี ภาคตะวันออกและภาคตะวันตกของเยอรมัน ทางใต้อาณาจักรรวบรวมตะวันออกกลาง ซึ่งปัจจุบันได้แก่ซีเรีย เลบานอน อิสราเอล จอร์แดน ภาคตะวันตกเฉียงใต้รวบรวมอียิปต์โบราณทั้งหมด และทำการยึดครอง ไปถึง บิเบีย ตูนีเซีย อแลจีเรีย และโมร็อกโก จนถึงตะวันตกของยิรอลตาร์ ประชาชนนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในจักรวรรอิโรมันเรียกว่าชาวโรมัน และดำเนินชีวิตภายใต้กฎหมายโรมัน อิทธพลของโรมันได้ส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านภาษา ศาสนา สภาปัตยกรรม ปรัชญา กฎหมายและระบบการเมืองจนถึงปัจจุบัน
โรมันมีจักรพรรดิ์ปกครองพระองค์เดียวรวมเก้าพระองค์กระทั้ง จักรพรรดิ์คอนสแตนตินที่ 1 “ในบรรดาผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก” คอนสแตนตินมหาราชหรือนักบัญคอนสแตนติน “ในบรรดาผู้นับถือนิกายอิสเติร์นออร์โธดอกซ์”
     ก่อนขึ้นครองราชย์มีฐานะเป็น “ออกัสติ”และได้ขึ้นเป็นพระจักรพรรดิต่อจากพระบิดา ซึ่งในขณะนั้นมีคู่แข่งถึง 5 พระองค์ คอนสแตนตินทรงกำจัดคู่แข่งเหล่านั้นและได้เป็นจักรพรรดิโรมันตะวันตกเพียงพระองค์เดียว จากนั้นทรงแผ่อำนาจเข้าสู่โรมันตะวันออก และเป็นพระจักรพรรดิของทั้งสองจักรวรรดิ พระองค์ทรงได้รับการยอย่องว่าเป็นมหาราช
    ทรงย้ายเมืองหลวงจากโรมไป ไบแซนไทม์ เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “คอนสแตนติโนเปิล”ตามพระนามของพระองค์(ปัจจุบันคือเมืองอิสตันบูล)โดยเจตนาจะให้เป็นศูนย์กลางของการปกครองดินแดจทั้งภาคตะวันตกและตะวันออก แต่การทั้งนี้กลับทำให้ประชาชนเริ่มรู้สึกแบ่งแยกทางจิตใจ ทางตะวันตกซึ่งมีอิตาลี สเปน ยังยึดอารยธรรมโรมันอยู่ แต่ทางตะวันออกซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล และเอเชียไมเนอร์ต่างรับอารยธรรมกรีก
    ทรงประกาศ “กฎษฎีกาแห่งมิลาน” เป็นจดหมายเวียนลงชื่อโดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 และจักรพรริดลิซินิอุส ซึ่งประกาศให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาต่อประชาชนในจักรวรรดิโรมัน จดหมายฉบับนี้ออกหลังจากสมัยของการปราบปรามผู้นับถือ ศาสนาคริสต์โดยจัรกพรรดิไดโอคลีเชียน
  เป็นจดหมายที่ลงชื่อโดยจักรพรรดิสองพระองค์เป็นจดหมายเวียนในกลุ่มเจ้าเมืองทางจักรวรรดิโรมันตะวันออกซึ่งประกาศว่าจักรวรรดิจะทำตัวเป็นกลางในการนับถือศาสนาของประชาชน ซึ่งเป็นการยกเลิกอุปสรรคต่าง ๆ ในการนับถือคริสต์ศาสนาและศาสนาอื่น ๆ จดหมาย”ประกาศอย่างจะแจ้งว่าผู้ลงชื่อของกฎนี้ไม่มีความประสงค์จะลงโทษผู้นับถือลัทธินิยมที่ไม่ใช่คริสต์สาสนา”

ฮั่น

     ราชวงศ์ฮั่นสถาปนาโดยหลิวปัง หรือ จักรพรรดิฮั่นเกาจู่ ซึ่งถือเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่องค์ที่ 2 ของชนชาติจีน ที่สามารถรวมประเทศจีนเป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนี่ง ราชวงศ์ฮั่น แบ่งเป็น 2 ช่วง คือตอนต้นเมืองหลวงตั้งอยู่ที่นครฉางอัน จึงได้รับการขนามนามว่า ฮั่นตะวันตก เมือถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นตอนปลายได้ย้ายเมืองหลวงมายังนครลั่วหยังเรียกว่าฮั่นตะวันออก
     หลิวปังผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นนั้น แต่เดิมเป็นเพียงชนชั้นขุนนางผู้น้อย เมื่อฉินสือหวงตี้หรือจิ๋นซีฮ่องเต้สิ้นพระชนม์ลงอำนาจของราชวงฉินเริ่มสั่นคลอน หลิวปังได้กรีฑาทัพเข้าเสียงหยางปิดฉากยุคสมัยของราชวงศ์ฉิน และส่งมอบนครเสียนหยางให้กบเซี่ยงอี่ว์หรือฌ้อปาอ๋องซึ่งมีฐานอำนาจอยู่ในแคว้นฉู่และมีกำลังเข้มแข็งที่สุดในขณะนั้น หลิวปังจึงได้รับการอวยยศขึ้นเป็นฮั่นจงอ๋อง  หลังจากสะสมกำลังกล้าแข็งขึ้น จังเปิดศึกแย่งชิงบัลลังก์กับเซี่ยงหวี่
     ปี 202 ก่อนคริสต์ศักราช หลิวปังได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ก้าวขึ้นสู่บัลลังก์จักพรรดิ สถาปนาราชวงศ์ฮั่น
     ในสมัยพระเจ้าฮั่นอู่ตี้(หลิวเช่อ)ฮ่องเต้องค์ที่ 5 ได้มีการบุกเบิก ทางสายไหม (Silk Road) ซึ่งเป็นทางสู่ตะวันตกของจีน การค้าขายต่าง ๆ ได้นำพาประเทศเข้าสู่สงคราม และความงมงายต่างๆ การท่องเที่ยวอย่างสิ้นเปลือง..กระทั้งเกิดกบฎชาวนา  พุทธศาสนาเข้าสู่จีนในราชวงศ์ฮั่น พระเจ้าหมิงตี้ทรงส่งคาราวานไปอัญเชญพระคัมภีร์ต่างๆ มาประดิษฐาน และยังทรงเป็ฯพุทธมามกะด้วย ราชวงศ์นี้มีความเจริญมากในสาขาต่าง ๆ มีการทำกระดาษ พิมพ์หนังสือได้แล้ว
    หลังสมัยเหอตี้ บรรดาเชื้อพระวงศ์และขุนนางชั้นสูงต่างก็มีอำนาจที่เข้มแข็งมากขึ้น มักปรากฎว่าเชื้อพระวงศ์และขุนนางผลัดกันหรือร่วมมือกันเข้ากุมอำนาจในระหว่างการผลัดแผ่นดินอยู่บ่อยครั้ง…  ภายหลังยุคกลางของฮั่นตะวันออก กลุ่มครอบครัวตระกูลใหญ๋เข้ากุมอำนาจทางการเมือง ทำให้เกิดสภาพเป็นขั้วการเมืองแบบผูกขาด
     ยุคปลายของฮั่นตะวันออก ได้เกิดกระแสวิพากษ์การเมืองจากกลุ่มปัญญาชนและขุนนางผุ้น้อยส่วนหนึ่ง ที่ต้องการแสดงวามไม่พอใจต่อระบบการเมืองการปกครองในสมัยนั้น จนเกิดวิกฤตการทางการเมือง
     เมื่อสิ้นสมัยเหิงตี้ เหล่าขุนนางก็ยิ่งฮักเหิมในอำนาจถึงกับมีการซื้อขายตำแหน่งทางการเมืองกับอย่างเปิดเผย อำนาจบ้านเมืองล้มสลาย เกิดความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้าเมือถึงรัชสมัยหลิงตี้ เกิดกบฎโพกผ้าเหลืองทางภาคเหนือนำโดยเตียวก๊ก  เข้าล้มล้างราชวงศ์ฮั่นตะวันออก บรรดาเจ้าที่ดินที่กำลังกล้าแข็งต่างก็ฉวยโอกาสนี้พากันตั้งตนเป็นใหญ่ ต่อสู้แย่งชิงอำนาจ จนท้ายสุดหลงเหลือเพียง 3 กลุ่มอำนาจใหญ่นั้นคือ วุ่ย สู และอู๋ หรือที่รู้จักกันในนาม “สามก๊ก”นั้นเอง

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...